เป็ดเมืองหนาว


มีเรื่องราวกล่าวถึงมากมายทะเลสาบแห่งนี้เป็นแหล่งกระแสน้ำอุ่นที่กว้างใหญ่ บึงน้ำที่อยู่รอบๆ จึงอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้บรรดาสัตว์ต่างๆได้แวะเวียนมากินอาหาร และใช้เป็นถิ่นอาศัยตลอดทุกฤดูกาล

เป็ดเมืองหนาว       

 

 

      

  

  

                                                   เป็ดหลายชนิดที่ทะเลสาบเมือง Kelowna

 

 

                      เป็ดเมืองหนาวทั่วไปมีอยู่ 2 ตระกูล คือ พวกที่หาอาหารกินบนพื้นดินและตามผิวน้ำ(Dabbling Ducks) และ พวกที่ดำน้ำไปหาอาหารกินอาหารใต้น้ำลึก (Diving Ducks) ทะเลสาบ Okanagan ทะเลสาบที่สวยงามของเมือง Kelowna มีเรื่องราวกล่าวถึงมากมายทะเลสาบแห่งนี้เป็นแหล่งกระแสน้ำอุ่นที่กว้างใหญ่ บึงน้ำที่อยู่รอบๆ จึงอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้บรรดาสัตว์ต่างๆได้แวะเวียนมากินอาหาร และใช้เป็นถิ่นอาศัยตลอดทุกฤดูกาล โดยเฉพาะพวกเป็ดจำนวนมาก ที่มีให้เห็นทั่วไปตามริมทะเลสาบและบึงน้ำใหญ่น้อยตามสวนสาธารณะ เป็ดตัวผู้นั้นมีสีสันฉูดฉาดสดุดตาเห็นทุกวันก็ไม่เบื่อ จึงได้ภาพเป็ด Mallard หัวสีดำ ไล่ด้วยสีเขียวลงมาจนถึงลำคอ มีวงแหวนรอบคอสีขาว ปากสีเหลือง เป็ด American Wigeon ที่หัวเป็นแถบทางสีเขียวจากตาถึงบริเวณต้นคอ ปากสีดำ, เป็ดEurasian Wigeon  หัวสีน้ำตาล มีปากสีขาว  เป็ด Common Merganser ขนตามลำตัวสีขาว บริเวณหลังสีดำ หัวสีดำ มีปากสีแดง เป็นเป็ดตระกูล Diving Ducks ซึ่งโดยธรรมชาติจะอาศัยทำรังอยู่ตามโพรงดิน หรือโพรงไม้ริมน้ำ ในทะเลสาบน้ำเค็ม (Lagoons) และ อ่าว (Bays) และเป็ด Common Goldeneye เป็นเป็ดดำน้ำเช่นเดียวกับเป็ด Common Merganser แหล่งอาศัยอยู่ตามทะเลสาบ กินปลา และแมลงเป็นอาหาร เป็ดเหล่านี้จะเพิ่มสมาชิกใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จึงพบว่ามีลูกเป็ด duckling เกิดใหม่ตามสวนสาธารณะหลายแห่ง.; Cannings, Richard., Nehls, Harry., Denny, Mike., Trochlell, Dave. Birds of Interior BC and the Rockies: China, 2009.// Fisher, Chris C., Acorn, John., BIRDS OF ALBERTA, First printed: China,1998. // Gadd, Ben., Wildlife drawings by Wheeler , Matthew., Handbook of the Canadian Rockies : Second edition, Friesens,Altona,Manitoba,Canada., 2009.// Hempstead, Andrew., ALBERTA: sixth printing, Worzalla.United States, April 2007.// Sibley, David Allen.,The SIBLEY FIELD GUIDE TO BIRDS of Western North America,Eighth printing :Dai Nippon Printing Co.,Ltd.,China, April 2011.

หมายเลขบันทึก: 539014เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2013 01:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 07:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

  • สวัสดีครับอาจารย์ ดร.พจนา  อาจารย์สบายดีไหมครับ ไม่ได้เข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์นานแล้ว  ตอนนี้อยู่ที่ประเทศไหนครับ  อิจฉาจังได้เดินทางท่องเทียวไปทั่วโลก
  • ว่าแต่ที่นั่นมี "เป็ดไร่ทุ่ง" ไหมครับ?


สวัสดีค่ะ ' พี่หนาน ' สบายดีนะคะ ดิฉันก็ยังอยู่ที่ประเทศแคนาดาบ้าง ประเทศไทยบ้างค่ะ ว่าจะข้ามไปเท็กซัสไปเยี่ยมมาสเทอร์ที่สอนตั้งแต่เป็นเด็กมัธยมก็ยังไม่ได้ไป ขอบคุณที่อิจฉานะคะ...ตอบคำถาม เป็ดไล่ทุ่งที่นี่ไม่มีค่ะ

มีความรู้มาให้สะสมอีกแล้ว....ขอบคุณมากมายจ้ะท่าน ดร.

น่ารัก ๆ ๆ ๆ ๆ  โดยเฉพาะลูกเป็ดนะคะอาจารย์

ติดตามอ่านเกือบทุกตอนเลยค่ะอาจารย์

ได้อาหารตา อาหารใจ อาหารสมอง เสมอเลยค่ะ


สวัสดีค่ะคุณหมอธิรัมภา...เป็นความมหัศจรรย์ของ 'ลูก' นะคะ เกิดเป็นลูกที่ตัวเล็กๆน่ารักหมด...แม้แต่เสือ ที่น่ากลัว พอเกิดใหม่เป็น'ลูกเสือ ' ก็ดูแล้วน่ารักนะคะ


สวัสดีค่ะคุณ pakawan เหมือนรู้จักกันหรือเปล่าชื่อคุ้นๆนะคะ...

ชอบหลายรูปครับอาจารย์ รูปหนึ่งที่น่าจะถ่ายยากหรือรูปเปิดว่ายรวมกันเป็นกลุ่มเลย ภาพน่ารักมากครับ..อาจารย์ ..

สวัสดีค่ะคุณนิตยา...คนมาเยี่ยมชมก็สวยน่ารักนะคะ...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณลูกหมู...ตอนนี้ไม่ยากแล้วที่จะถ่ายรูปสัตว์...เพราะรู้จังหวะการเคลื่อนไหวของสัตว์แต่ละชนิด...แต่ต้องมีความไวในการกดถ้ามัวแต่เล็งก็ไม่ทันค่ะ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมทักทายกันนะคะ

สวัสครับ อาจารย์ ดร. ขออนุญาตเรียกอาจารย์นะครับ 

อาจารย์ครับ ทำไมบางตัวมีหัวสีเขียวๆ 

สวัสดีค่ะอาจารย์สมพงศ์...สีสันที่แตกต่างกันตามชนิดของเป็ดนะคะ...ที่เห็นหัวสีเขียวคือเป็ด Mallard ตัวผู้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามทะเลสาบ หนองน้ำ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท