ก้าวแรก......ก้าวสำคัญ


              การประกวดผลงานวิชาการประเภทเรื่องเล่า  (  Narrative  Medicine )

                              จังหวัดศรีสะเกษ  ประจำปี  2553

                                                     วันที่   7  กันยายน    2553

             เป็นครั้งแรกที่ฉันก้าวเข้ามาสู่เป็นกรรมการ การประกวด  Narrative  Medicine  ระดับจังหวัด  หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าใคร ๆ ก็เป็นได้  แต่สำหรับฉันมันคือหนึ่งความภาคภูมิใจที่ฉันได้นำความรู้ความสามารถที่ได้ไปฝึกอบรมกับท่านอาจารย์  ดร.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  มาใช้ประโยชน์และต่อยอดให้เกิดเรียนรู้กับอีกหลาย ๆ โรง พยาบาล   เพราะที่ผ่านฉันเป็นเพียงวิทยากรตามโรงพยาบาลต่าง ๆที่สนในเรื่องเล่าเป็นพิเศษเท่านั้น  สำหรับครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งท่านมา  เป็นครั้งแรกเหมือนกันที่จังหวัดศรีสะเกษมีการเพิ่มประเภทการประกวดจากเดิมที่มีแค่  3  รายการ  อันได้แก่  Poster  Presentation  ,  Oral  Presentation และนวัตกรรม  ส่วนเรื่องเล่าคือน้องใหม่ของการประกวดในปีนี้  แม้จะมีเพียง  22  อำเภอ  แต่จำนวนเรื่องที่ส่งเข้าประกวดมีทั้งหมด  102  เรื่อง  นี่คือสิ่งที่ยืนยันได้ว่าแม้เรื่องเล่าจะเป็นเรื่องใหม่แต่หลายๆ โรงพยาบาลก็ให้ความสนใจและส่งเรื่องเข้าประกวดอย่างล้นหลาม   ในที่สุด  20  เรื่องที่ผ่านการคัดเลือกก็ต้องเข้ามาเล่าเรื่องราวและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆให้คณะกรรมการได้ซึมซับดุจดังพบเจอเรื่องราวต่างๆ ด้วยตัวเอง

             พิธีเปิดเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา  09.00  น.  โดยท่านนายแพทย์วันชัย  เหล่าเสถียร  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดพร้อมให้โอวาท  นอกจากนี้ทีมผู้จัดยังได้เชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ซึ่งถือได้ว่าเป็นคนนอกวงการสาธารณสุขมาร่วมวิพากษ์วิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งการนี้ถือว่าผู้จัดได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ทั้งสามท่าน อย่างดี

         บรรยากาศภายในห้องประชุมใหญ่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน  ไม่น่าเชื่อว่าการประกวดการเล่าเรื่องจะมีคนนั่งฟังมากขนาดนี้  เมื่อท่านประธานให้โอวาทเสร็จก็เริ่มด้วยการเล่าเรื่องโดยผู้ผ่านการคัดเลือกในแต่ละระดับ

ระดับสถานีอนามัย

1. เพราะหนู.........ไม่อาจลิขิตชีวิตตนเอง   โดยศูนย์สุขภาพชุมชนสิ  อ.ขุนหาญ 

แม้จะเป็นการเล่าเรื่องครั้งแรกแต่ก็สามารถเปิดตัวละครออกมาราวกับนักเขียนมืออาชีพ 

       “  ซีบอ  เด็กหญิงอายุประมาณ 2 ขวบ  ผิวสีหมึก รูปร่างผอมบาง  ผมหยิกหย๋อง  สวมเสื้อยืดสีฟ้าตัวเก่า ๆ กางเกงขาสั้นสีเทา  แววตาดูเศร้าหมองแต่ก็ซ่อนเร้นด้วยความเฉลียวฉลาด  มักจะมายืนจดๆจ้องๆมองของเล่นและขนมหลากสี  ที่ถูกจัดวางไว้หน้าร้านขายของชำและเฝ้ามองผู้คนผ่านไปมาทุกเช้าที่บริเวณหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่ง …..”

      เป็นไงละ........นี่แค่เริ่มต้น  คนแรกที่เริ่มเล่าเรื่องก็ทำเอากรรมการอึ้งไปตามๆ กันเลย  แต่ที่ฉันชอบคงเป็นเพราะการนำทุกคนเข้าสู่เรื่องเล่าด้วยกลอนอันไพเราะ  บวกกับน้ำเสียงที่ใครๆได้ยินก็ต้องบอกว่า  ช่างเสนาะหูซะเหลือเกิน

 2.  ลมหายใจที่เลือกกายไม่ได้   โดยสถานีอนามัยคลี่กลิ้ง  อ.ศิลาลาด  อาจจะ  เนื่องมาจากการเล่าเรื่องโดยใช้ภาษาท้องถิ่นที่ผู้เล่าถนัด  จึงทำให้เจ้าตัวเล่าเพลินจนเลยเวลาที่คณะกรรมการกำหนด   แต่เรื่องเล่าก็ทำให้ผู้ฟังเข้าถึงวีถีชีวิตของคนอีสานได้อย่างแท้จริง

 3.  ลูกดีๆ เอาไว้ให้หมอ  โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลปราสาทเยอ  อ.ไพรบึง  ที่แอบมอบน้อยหน่าสด ๆ ให้คณะกรรมการก่อนเปิดเรื่อง  แต่ขอบอกว่าในฐานะกรรมการเราไม่อาจเพิ่มคะแนนให้ท่านเพียงเพราะน้อยหน่าเพียงหนึ่งลูก  แต่ถ้าหลายลูกก็ไม่แน่  55555555………

แต่บทสรุปสุดท้ายคือคำตอบของเรื่องราวทั้งหมด

         สิ่งสุดท้ายที่ชายชราผู้หนึ่งได้ฝากให้หมอนามัยไว้เป็นข้อคิด  โดยไม่มีรูปแบบและไม่มีแผนการสอน ว่า.......ถ้าเรามีศรัทธาในการให้ และมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเหมือนคุณตาสุบรรณ์ที่จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ  แต่ความสุขที่เราจะได้รับ คงจะเป็นสิ่งตอบแทนที่หาซื้อไม่ได้จากห้างไหนๆ และเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด เพราะมันจะอยู่ในความทรงจำที่เก็บไว้ในใจเสมอ ”

        ขอบคุณเพื่อนร่วมงาน  :  ที่ทำให้มีโอกาสมาเล่าสิ่งเล็กๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้หมออนามัยคนนี้

        ขอบคุณตาสุบรรณ์  :  ผู้ป่วยแผลเบาหวาน  ผู้มอบเรื่องราวน้อยหน่าลูกดีๆ เอาไว้ให้หมอ  และนี่คือน้อยหน่าแสนวิเศษ  ที่สอนหมออนามัยคนหนึ่งให้รู้จักการให้มากขึ้น  ซึ่งเป็นการสอนที่แยบยลอย่างหาที่เปรียบมิได้  สอนให้หมออนามัยรู้จัก  ให้ ด้วยหัวใจอย่างแท้จริง

            ขอบคุณความตาย  :  ที่สอนให้คนเห็นค่าของคนมากขึ้น  

        สิ้นเสียงพูดของเจ้าของเรื่องเล่า  เสียงตบมือก็ดังสนั่นหวั่นไหว  แม้เพียงแค่คำขอบคุณยังทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนถึงการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

4.  ชีวิตนี้.......มีความหวัง  โดยสถานีอนามัยเมืองแคน  อ.ราษีไศล  การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีน้องชายเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว  และแม่  หญิงชราผู้มีสามีติดการพนันแม้จะไม่มีข้าวกินก็ยังขอให้ได้เล่นการพนัน  แต่สุดท้ายลูกชายคนโตที่ดูเหมือนจะสมบูรณ์ทางด้านร่างกายมากกว่าคนอื่นจากที่ไม่เคยสนใจครอบครัว  หลังจากที่เจ้าหน้าได้เข้าไปพบเจอ  ก็เกิดจุดพลิกผันของชีวิตทำให้เขาคิดได้และกลับมาดูแลพ่อ – แม่  น้องทั้งสองคน

5.  รักที่พูดไม่ได้  โดยสถานีอนามัยหนองไฮ  อ.เมือง   หญิงชราอายุ  75  ปี  ดุแลลูกๆที่เป็นใบทั้ง  5  คน  หนำซ้ำลูกคนแรกนอกจากจะเป็นใบแล้วยังตาบอดอีกต่างหาก  ........ฮื่อๆ.....ฮื่อๆ......เรื่องนี้ทั้งเศร้าและรันทด  ......ยิ่งตอนผู้เล่านำเสนอภาพบ้านของหญิงชราผู้นี้ยิ่งทำให้ฉันเกิดคำถามกับตัวเองว่า.....นี่เหรอคือบ้านของคนที่อยู่ในชุมชนเมือง  บ้านที่ห่างไกลจากถนนลาดยางประมาณ  500  เมตร  มีเส้นทางแคบ ๆ เพียงทางเดียวที่จะใช้ในการเดินทางเข้า –ออก  พื้นเป็นดินที่มีน้ำขังเฉอะแฉะ  บางจุดเป็นโคลนตมยากแก่การสันจร  หากต้องเดินทางเข้าไปคงต้องสวมรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกันโรคฉี่หนูด้วย  น่าเสียดายไม่วันนี้ฉันไม่สามารถขอรูปบ้านหญิงชราผู้นี้มาให้ดูได้  ไม่งั้นคงเห็นภาพที่ชัดเจนมากกว่านี้ 

  

ระดับโรงพยาบาล  30  เตียง

1. ชีวิตใหม่.......  เพื่อเธอ   จากโรงพยาบาลไพรบึง  การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ขังตัวเองอยู่ในห้องนานถึง  7  ปี  ซึ่งผู้เล่าต้องใช้เวลานาน  4  ปี  กว่าผู้ป่วยจะยอมเปิดเผยตัวเองกับสังคม  ทำให้ฉันเห็นว่า  การที่เราจะเข้าถึงจิตใจคนๆ หนึ่งนี่เราต้องใช้เวลามาก  แล้วยิ่งคนคนนั้นมีความผิดปกติทางจิตแล้วยิ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติอีกหลายเท่าตัว  ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก

2.  ตราบาปน้องนวล   จากโรงพยาบาลวังหิน  เล่าถึงพยาบาลจิตเวชที่ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยพิการทางด้านสติปัญญา  เด็กหญิงอายุเพียงแค่  14  ปี  แต่มีรูปร่างที่สูงใหญ่เกินเด็กอายุเท่ากัน  ถาม-ตอบรู้เรื่อง  ดวงตาเธอเหม่อลอย  บ่อยครั้งที่มักจะไม่สนใจคู่สนทนา  เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด  เด็กหญิงที่มีเพียงพ่อดูแล  ไม่รู้ชาติที่แล้วเธอก่อกรรมทำเวรอะไรไว้  ชาตินี้เธอถึงต้องมารับกรรมที่ไม่ได้ก่อ  ชายวัยรุ่น  3  คนร่วมกันข่มขืน  จนเธอท้องโดยไม่รู้ตัว  และที่สำคัญไม่รู้ว่าใครคือพ่อของเด็ก  แม้ว่าเรื่องนี้ยังยังหาผลสรุปและนำนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎมายไม่ได้  แต่การช่วยเหลือก็ยังคงดำเนินต่อไป  ถือเป็นการทำงานที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบหลายอย่าง  แต่อย่างหนึ่งที่ฉันได้เรียนรู้ก็คือ  จะทำยังไงเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ตราบาปกับน้องคนอื่น ๆ อีกต่อไป  ...........เศร้าจริง ๆ เรื่องนี้.......

3.  คือเรื่อง.........มหัศจรรย์ จากโรงพยาบาลโนนคูณ  ความรู้สึกกับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบคือสิ่งที่ผู้เล่าต้องการนำเสนอสำหรับเรื่องนี้  แต่ด้วยลีลาท่าทางที่โยกพลิ้ว  บวกกับน้ำเสียงและการวางลำดับเหตุการณ์ได้อย่างเหมาะสมทำให้ผู้ฟังหลายคนทั้งหัวเราะและลุ้นไปตามๆ กันว่าตกลงคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดและคลอดลูกท่าก้นบนรถ  Refer  จะปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน  และทิ้งท้ายด้วยคำคมที่ว่า.............

ถ้าคุณแม่ให้ความสำคัญกับการมาฝากครรภ์ตามกำหนด  เราคงรู้ว่าตั้งครรภ์แฝด   และแพทย์ก็จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสม   มากกว่าที่เด็กจะต้องมาเกิดแบบรอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับโชคชะตา

 

4.  กว่าจะถึง  Holistic  Care   จากโรงพยาบาลภูสิงห์

5.  ส่งต่อด้วยหัวใจ  ดุจครอบครัว   จากโรงพยาบาลไพรบึง


ระดับโรงพยาบาล  60  เตียง

1. หัวอกพ่อ  เมื่อลูกหมอมีก้อนเนื้อในสมอง  จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

 2.  ถักทอใจ........ด้วยไหมพรม  จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

 3.  ธรรม.......ปาฏิหาริย์ ( สีทนได้   จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

 4.  แอร์โฮสเตสบนดิน  จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

 5.  การดูแลสุขภาพใจวัยรุ่น  จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

 6.  บ้านหลังที่สองของชายน้อย  จากโรงพยาบาลขุนหาญ

 7.  สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น  จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

 8.  ความประทับใจในการดูแลติดตามเยี่ยมผู้ป่วย  จากโรงพยาบาลกันทรลักษ์

  9.  การดูแลผู้ป่วย  CA  lung  brain  metastasis   จากโรงพยาบาลกันทรลักษ์

  10.ก้าวแรกที่ภาคภูมิใจ  จากโรงพยาบาลกันทรารมย์ 


หมายเลขบันทึก: 538966เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2013 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากมายนะค่ะสำหรับคำชม  พอดีพรุ่งนี้จะไปร่วมงานเดิม. จัดที่เดิม แต่เปลียนพ.ศ. เลยอยากลงเรื่องราวดีๆที่ได้ไปทำมาให้ชาว gotoknow ได้ up date ตัวผู้เขียนบ้าง อาจจะเก่าไปหน่อยแต่ก็ตั้งใจเขียนทุกตัวอักษร อีกอย่าง........ พรุ่งนี้ผู้เขียนจะต้องไปหน้าที่อีกหนึ่งบทบาท ซึ่งมีความแตกต่างจากเรื่องราวในวันนี้ อาจจะได้เค้าโครงเรื่องดีๆมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท