ภูมินามนิเวศน์วัฒนธรรม 6: บ้านหนองหลวง และบ้านเซอทะ



การก่อตั้งชุมชน  หมู่บ้านเซอทะ


มือ หนี่ หว่าผู้รวบรวม    



มู่บ้าน "เซอทะ"ตั้งอยู่ในตำบลหนองหลวง หมู่ที่ 2 อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก บ้านเซอทะเป็นภาษากะเหรี่ยง คำว่า "เซอ" เป็นขื่อไม้ตอง ส่วนคำว่าทะ หมายถึงสบลำห้วย รวมความแล้วคำว่า เซอทะ แปลว่าลำห้วยไม้ตอง  หมู่บ้านเซอทะนั้นเดิมเป็นที่ทำไร่ของหมู่บ้านหนองหลวง ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านมีดังนี้คือ

คนที่เข้ามาเป็นกลุ่มแรกชื่อ นายตูน  ปะนันและชาวบ้านรวมอีก 10 ครัวเรือน พากันมาปลูกบ้านเรือนอยู่ด้วยกันเป็นหย่อมบ้าน ต่อมามีหมู่บ้านอื่นย้ายติดตามมาอยู่ด้วย จากหมู่ 4 ประมาณ 5-6 ครอบครัวรวมกันตั้งหมู่บ้านขึ้นมาชื่อ “หมู่บ้านเซอทะ” ผู้ใหญ่บ่้านคนแรกคือนายจิแด ปัจจุบันนี้คือนายอิทธิกุล  อดุลรัตนชัย หมู่บ้านนี้มีโรงเรียน 1 โรง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 1 แห่ง ครอบครัวเป็นระบบเครือญาติครอบครัวขยาย และทั้งชุมชนก็พึ่งพาอาศัยกัน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการจัดกิจกรรมตามประเพณีพุทธศนา เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษา ลอยกระทง แต่ประเพณีดั้งเดิมก็ยังคงไว้คือ เลี้ยงผีบรรพบุรุษ อาชีพที่ทำรายได้หลักคือ การทำเกษตร ปลูกพืช ข้าวโพด รองลงมาคือเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย ทำสวน รับจ้าง รายได้เฉลี่ยของประชากร 25,500 บาท ต่อคนต่อปี รายได้หลักมาจากงานเกษตร  ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้านที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การจักสาน สมุนไพร และผลิตภัณฑ์จากใบตองตึง และการทอผ้า

บ้านหนองหลวง
อีกหมู่บ้านหนึ่งคือ บ้านหนองหลวง คนส่วนใหญ่เป็นคนเมืองเหนืออ ในอดีตพยพไปจากลลำพูน ลำปาางแพร่ น่าน ฯลฯ เพื่อไปหาทที่ทำกิินอันอุดมสมบูรณ์ หมู่บ้านนี้อยู่ติดชายป่า ถ้าถถามถึงความเสี่ยงต่อการเป็นนไข้มาลาเรีย่แล้วเเสี่ยงตลอดเเวลา อยู่ในบ้านก็เสี่ยงแล้วเพราะหมู่บ้านก็มีห้วยไหลผ่านอยู่บนบ้านก็มียุง เดินทางผ่านห้วยหนองก็มียุง คนส่วนใหญ่จึงตอบแกมหัวเราะว่ายุงกัดก็กัดไป เราอยู่ป่าก็เป็นเรื่องธรรมดาท่ี่จะต้องเป็นแบบนี้ สภาพบ้านยังเป็นป่ามากกว่าล้านเซอทะอันเป็นบ้านะเหรี่ยงด้วยซ้ำ


ติดตามการป้องกันมาลาเรีย

ผู้ให้ข้อมูลคือผผู้ปกครองนักเรียน ประกอบด้วย 

ชฎาพร ตะวันศรีธรรม อายุ 34 ปี จบอนุปริญญา (ซ้าย) วชิรญาณ์  ตาเครือ (ขวา) อายุ 32 ปี จบม.6 จากโรงเรียนอุ้มผาง  ทั้งสองคนแป็นแม่ครัวของโรงเรียนหนองหลวง  ประวัติการเจ็บป่วยามาลาเรีย ชฎาพรเคยเป็นเมื่อแด็ก ๆ และลูกสาวก็ป่วยด้วยมาลาเรียเมื่ออายุ 4 อายุ กินยา 1 เดือนก็หายขาด  วชิรญาณ์เองก็เคยเป็นเมื่อเมื่อเด็ก ๆ ตอนนี้มีความรู้ในการป้องกันยุงลายดีมาก และลูกไม่เคยป่วยเลย เพราะแม่กลัวลูกจะป่วยจึงป้องกันดีมาก

การสัมภาษณ์เพิ่มเติม จากพ่อค้าแม่ค้า คือ  นางนิชาภา  อุปนันท์ อายุ 33 ปี นายรุ่งรุช  ปานศิลา อายุ 32 


ทั้งสองคนเป็นคนเหนือ (คนเมือง) และต่างก็เคยเป็นไข้มาาเรียมาแล้ว นิชาภา เล่าว่าเมื่อเด็ก ๆ เธอเป็นทุกปี เพิ่งจะหายขาดเมื่อสิบกว่าปีนี่้เอง รุ่งรุชจำได้ว่าเมื่อเด็ก ๆ หมู่บ้านนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้ พวกเราก็อยู่กันมืด ๆ จึงถูกยุงกัดบ่อย ๆ และกัดมากก็เห็นว่เขาเป็นเรื่องธรรมดา เขาเป็นไข้มาเลเรียมาตั้งแต่เด็ก เพิ่งจะมาหายเมื่ออยู่ชั้นม.6 เขาเรียนจบเทคนิค ที่ชัยนาท เดี๋ยวนี้มาขายของในโรงเรียนและ ทำถั่วเป็นซองส่งขายทั่วไป บ้านอยู้กันแบบครอบครััวใหญ่ มีพ่อแม่ พี่สาวคนนี้และหลาน ๆ ลูกชายชองนิชาภา  ลูกของนิชาาก็เคยเป็นมาลาเรียเหมือนกัน

ติดตามมาลาเรียด้วยคำถาม 5 ข้อ ดังนี้

1.นักเรียนเคยมาพูดคุยเมาลาเรียและการป้องกันหรือไม่

ลูกไม่เคยพูดเลย และตนก็ไม่รูจัก ไม่รู้เรื่องมาลาเรียเลย

2.โรคมาลาเรียที่นักเรียนมาพูดคุยคุยด้วยมีความแตกต่างจากที่เคยรู้มาก่อน ไหม

ไม่มีทั้งเรื่องเก่าและเรื่องใหม่

3.รู้วิธีกอยนควรจะสอนวิธีป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียกับนักเรียน

ควรสอนเพราะ เมื่อมีความรู้จะได้ป้องกันตนเองและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น และเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ออกไป

5.เรื่องการป้องกันโรคมาลาเรียที่ควรสอนในในโรงเรียน เด็กจะนำมาประยุกกต์ใช้ในชีวิตจริงได้หรือไม่ เรื่องอะไรบ้าง

การสอนมาเรียนด้วยกระบวนการทักษะชีวิตป้องกันโรคมาเลเรียจะทำให้นักเรียน วางแผนได้ในการป้องกันตนเอง อยากให้ลูกปรับตัวได้  ตนเองนั้นปรับตัวไม่ได้เลย คิดไม่เป็น

10 มิถุนายน 2556

---------------------------------------------------------------------------

มื้อ หนี่ หว่า  เป็นชาวบ้านเซอทะ  เรียนอยู่ชันมัธยมปีที่  3 โรงเรียนบ้านหนองหลวง หมู่ 2 อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก



หมายเลขบันทึก: 538886เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2013 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ,มาก ๆ  คุนงนาทและDr. Ple ที่อ่านและให้กำลังใจ 

ขอบคุณค่ะ คณนงนาทและDr. Ple   ที่อ่านและะให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท