R2R ครั้งที่ 2 งานส่งเสริมเกษตรภาคใต้ (2)


“งานวิจัย เป็นการสร้างคน ให้รู้จักคิด รู้จักเขียน รู้จักวิเคราะห์”

     วันที่สาม ของการสัมมนา

    .........เริ่มจาก นำเสนอการบ้านจากที่ท่านวิทยากร ให้ทำโครงการวิจัย ใช้ตัวแทนของกลุ่มนำเสนอกลุ่มละ 5-10 นาที เริ่มด้วยกลุ่ม


   1. กลุ่มยุทธศาสตร์ นำเสนอโครงการด้านประชาสัมพันธ์ หัวข้อ แนวทางการพัฒนางานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดย คุณวีรพันธุ์ นิลวัตร จากจังหวัดนราธิวาส

   2. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นำเสนอโครงการวิจัย หัวข้อ  แนวทางส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันจังหวัด...........โดยคุณกฤษณชนม์ เทพเกลี้ยง จากจังหวัดพัทลุง

   3. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร นำเสนอโครงการวิจัย หัวข้อ  การพัฒนากระบวนการต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนของจังหวัด......โดยคณฐิติมา  เอี่ยมสวัสดิ์ จากจังหวัดพัทลุง

   4. กลุ่มศูนย์ปฏิบัติการ   นำเสนอโครงการวิจัย หัวข้อ การพัฒนาการใช้แทนข้าวฟ่างผลิตหัวเชื้อเห็ดฮังการี่  โดยคุณวรารัตน์ เกียรติเมธา จากศูนย์พืชสวนจังหวัดกระบี่

   5. กลุ่มอารักขาพืชนำเสนอโครงการวิจัย หัวข้อ การพัฒนาความรู้และทักษะในการถ่ายทอดความรู้และวินิจฉัยศัตรูพืชของเจ้าหน้าที่  โดยคุณซุฟเฟียน สะอะ จากจังหวัดยะลา

 

   เสร็จแล้ว ดร.แป๋ว ปริญญารัตน์ ภูศิริ จากกองวิจัยฯ ได้ให้มุมมองการนำเสนอครั้งนี้ว่า “เห็นว่าทุกกลุ่มมีความชัดเจนขึ้น ในเรื่องของกระบวนการคิดพัฒนาขึ้นมาก และอยากให้มองว่างานที่จะทำต่อ เป็นการพัฒนางานของตนเองหรือไม่ อยากเห็นการพัฒนากระบวนการคิดที่จะพัฒนางาน ไม่อยากให้กังวลเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบการวิจัยมากเกินไป ให้คิดเรื่องพัฒนางานมากกว่า เห็นว่าทุกกลุ่มที่นำเสนอ ทำได้ดี”.....

   หลังจากพักเบรกเช้า ดร.แป๋ว นำเสนอการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เริ่มจากทบทวนกระบวนงาน R2R ตั้งแต่เริ่ม ที่โจทย์ คำถาม วัตถุประสงค์ วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล (ยก ต.ย.งาน R2R ของ จ.ร้อยเอ็ด ที่พัฒนางาน GAP) ตามด้วย เครื่องมือในการเก็บข้อมูล (แบบสังเกต สัมภาษณ์ แบบบันทึก Mind Map การประชุมกลุ่ม) การวิเคราะห์  ( การจำแนก เปรียบเทียบข้อมูล วิเคราะห์ส่วนประกอบ วิเคราะห์ SWOT)  การสังเคราะห์  (ได้คำตอบโจทย์ สร้างความรู้ นำไปพัฒนางาน) โดยได้ยกตัวอย่างประกอบเป็นระยะๆ

   จากนั้น น้องอู๊ด จากกองวิจัยอีกท่านหนึ่ง ได้นำเสนอ การเขียนงานวิจัยแบบง่ายๆ ให้นักวิจัยได้ทราบ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับ นำไปใช้ในการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย

  1.  การเขียนรายงานการวิจัยในแผ่นเดียว

   2.  การเขียนรายงานการวิจัยแบเรื่องเล่า

   3.  การเขียนรายงานการวิจัยแบบเป็นทางการ 

โดยได้ยกตัวอย่างประกอบและแนะนำหนังสือ ที่จะใช้ค้นคว้าต่อด้วย

   ตามด้วย ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ได้แสดงความคิดเห็นในการนำเสนองานของนักวิจัยกลุ่มต่างๆว่า

     “ทุกกลุ่มมองงานวิจัย R2R ได้ชัดเจนมากขึ้น และบางกลุ่มมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว คาดว่าทุกคนจะทำงานวิจัยครั้งนี้สำเสร็จได้ อยากเสนอให้นักวิจัยจากภาคใต้ เขียนบทความการวิจัย ความยาว 3-5 หน้า นำเสนอ แล้วรวบรวมเป็นเล่ม และแต่ละเรื่องทำเป็นโปสเตอร์หน้าเดียว ประชาสัมพันธ์ ถ้าทำได้ เป็นการสังเคราะห์งานที่มีประโยชน์ของกรมส่งเสริมการเกษตรอย่างยิ่ง”

     และอาจารย์ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “งานวิจัย เป็นการสร้างคน ให้รู้จักคิด รู้จักเขียน รู้จักวิเคราะห์”

    ก่อนปิดกิจกรรมครั้งนี้ ผู้จัดได้ประกาศผลการนำเสนองานวิจัยครั้งนี้ และมอบรางวัลให้กับผู้นำเสนอผลงานเด่น 3 ชิ้นคือ กลุ่มอารักขาพืช กลุ่มยุทธศาสตร์ และกลุ่มส่งเสริมการผลิต

และได้กำหนดการทำงานวิจัยที่ต้องดำเนินการต่อ คือ

- ส่งโครงร่างงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 21 มิ.ย.

- ส่งสรุปผลความก้าวหน้า ภายในวันที่ 15 ก.ค.

- สัมมนาครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-2 ส.ค.

     สุดท้าย ผอ.สุพิท จิตรภักดี สรุปผลการสัมมนา และปิด

นักวิจัยทุกคนแยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ  แล้วพบกันในสัมมนาครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-2 ส.ค.นี้ สำหรับสถานที่ ยังไม่ได้กำหนด

                                                                                                             ชัยพร นุภักดิ์

หมายเลขบันทึก: 538464เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมมากค่ะ พัฒนากันต่อไปค่ะ

ขอเชิญส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (๋JPR2R)

เปิดรับบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารปีที่ 4 ฉบับเดือนสิงหาคม 2560


โดยเปิดรับบทความตั้งแต่บัดนี้ ถึง พฤษภาคม 2560

ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เป็นวารสารสำหรับเผยแพร่บทความ/ผลงานวิชาการของบุคคลทั่วไป
โดยเผยแพร่บทความออนไลน์และมีการควบคุมคุณภาพของบทความ (Journal Quality Evaluation)
โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินบทความก่อนรับรองให้เผยแพร่

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดวารสาร หรือ ส่งบทความผ่านระบบ Submission Online ได้ที่

http://www.en.mahidol.ac.th/jpr2r

หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0 2441 5000 ต่อ 2114

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท