I am a Facilitator: The Integration of Training and Coaching


I am a Facilitator: The Integration of Training and Coaching

บทความโดย ศิริรัตน์ ศิริวรรณ

ผู้เขียนทำหน้าที่วิทยากรในหลักสูตรต่างๆมาหลายปี ทั้งลูกค้าและผู้เข้าอบรมต่างเรียกผู้เขียนว่า ‘อาจารย์’ หรือ ‘วิทยากร’ แต่ผู้เขียนกลับรู้สึกว่าบทบาทหลักของตนเองคือการเป็น ‘Facilitator’ มากกว่า หรือเป็นโค้ชในรูปแบบ Group Coaching อาจเป็นเพราะผู้เขียนทำงานในบริษัทฝึกอบรมชั้นนำระดับโลกมาหลายปี ทำให้คุ้นเคยกับการ ‘Facilitate Workshop’ และโดยส่วนตัว เชื่อว่าการ Facilitate ช่วยกระตุ้นผู้เข้าอบรมให้ได้ใช้ความคิด และทำให้เกิดการตระหนักรู้ได้มากกว่าการบรรยายทั่วไป

Facilitator หมายถึง ผู้ส่งเสริม หรืออำนวยการให้เกิด ในการฝึกอบรม Facilitator จะช่วยกระตุ้น และส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้ความคิดด้วยตนเอง อันเป็นผลให้เกิดความเข้าใจในแนวคิด รวมถึงทักษะ ผ่านการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย การระดมสมอง การอภิปราย การทำกรณีศีกษา เกมส์ การเขียน การทำแบบฝึกหัด การสาธิต การแสดงบทบาทสมมติ การให้ Feedback


ในการฝึกอบรมทุกโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาผู้นำ การโค้ช การสื่อสาร การนำเสนองาน ผู้เขียนจะ Facilitate กิจกรรมต่างๆที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์สูงสุด สิ่งสำคัญอยู่ที่การวางลำดับขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมในแต่ละช่วงเวลา กิจกรรมที่เลือกใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น การทำ Case Study เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกการประยุกต์ใช้ทักษะในสถานการณ์จำลอง เกิดความเข้าใจการนำแนวคิดที่เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ หลังจากนั้น จึงให้แสดงบทบาทสมมติ เพื่อช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในสถานการณ์จริง

เนื่องจากการ Facilitate คือการส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ซึ่งหลักการนี้คือหลักการเดียวกันกับการโค้ชที่ผู้เขียนใช้อยู่ การโค้ชคือการกระตุ้นและส่งเสริมให้โค้ชชี่ใช้ความคิด ทำให้เกิดการตระหนักรู้ (Awareness) และแสวงหาทางเลือกต่างๆที่เป็นไปได้ รวมถึงกำหนดวิธีดำเนินการที่สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ในห้องฝึกอบรม ผู้เขียนจะใช้รูปแบบการโค้ชกลุ่ม (Group Coaching) โดย Facilitate ความคิดของผู้เข้าอบรมผ่านการถาม การฟัง บนพื้นฐานของบรรยากาศแห่งความร่วมแรงร่วมใจ และความไว้วางใจ รูปแบบการฝึกอบรมแบบนี้ เหมาะกับกลุ่มผู้เข้าอบรมจำนวนไม่เกิน 20 คน จึงจะเกิดประสิทธิผลสูงสุด และผู้เข้าอบรมได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่


ดังนั้น ผู้เขียนเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตการทำงานของคนเราไม่ว่าในอาชีพใดๆก็ ตาม คือความสามารถในการผสมผสาน (Integration) องค์ความรู้ ทักษะ จุดแข็ง และคุณสมบัติต่างๆที่เรามีอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ไม่มีอะไรเป็นกฏเกณฑ์ตายตัว แต่แก่นแท้อยู่ที่เราให้ความสำคัญกับอะไร สำหรับผู้เขียนคือ ผลประโยชน์สุงสุดของผู้เข้าอบรม อาจมีการฝึกอบรมรูปแบบอื่นๆที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความสนุกสนาน แต่ไม่นานผู้เข้าอบรมก็ลืมเลือน ไม่ได้นำไปใช้ ผู้เขียนขอเลือกใช้วิธีการที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้คิดด้วยตนเอง เพราะคนเรามักจดจำสิ่งที่ตนเองเป็นคนคิดได้มากกว่าคนอื่นบอกให้ ขณะเดียวกันก็ได้รับความสนุกสนานและเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆไปด้วย ในฐานะวิทยากร ไม่มีใครตอบได้ว่า ความรู้และทักษะที่ผู้เข้าอบรมได้ใช้จะอยู่กับผู้เข้าอบรมไปนานเพียงใด อาจต้องมีการติดตามผล หรือมีการวางระบบภายในองค์กรเพื่อรักษาทักษะนั้นไว้ หรืออาจต้องจัดให้มีการโค้ชเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มย่อยต่อไป ซึ่งแน่นอนผู้เขียนก็จะรับบทบาทนั้นอย่างดีที่สุด โดยยึดหลักการปรับตน ให้ลื่นไหล และสอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ผู้เข้าอบรม หรือโค้ชชี่เป็นสำคัญ



หมายเลขบันทึก: 538330เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท