เรื่องเล่าจากสพท.


การพัฒนาสมองของเด็กไทย

บันทึก: จากการวิเคราะห์สถานการณ์ สุขภาพของเด็กไทยวัย 0 – 3 ขวบ  ที่ผ่านมาพบว่ามีสัญญาณที่ไม่ดีต่อคุณภาพเด็กหลายประการ  โดยเฉพาะความฉลาดทางปัญญาหรือไอคิว  และความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว  ในปี  2544  ผลการวิจัยไอคิวเด็กไทยอายุ 6 – 12  ขวบ  มีค่าเฉลี่ย  88.01  ส่วนในวัยรุ่นอายุ 13 – 18 ปี  มีค่าเฉลี่ยลดลงเหลือ  86.72  มีเด็กไทยไม่ถึงร้อยละ ที่มีไอคิวสูงกว่าปกติ คือ 110  ส่วนการพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะภาษาซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมากพบว่าเด็กวัย 1 ขวบ  มีการพัฒนาการด้านปกติร้อยละ  77  ลดลงเหลือร้อยละ 52  เมื่ออายุ 4  ขวบ  จึงต้องเร่งพัฒนาให้เด็กไทยมีพัฒนาการสมดุลทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ  อารมณ์และสังคม  ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลในการให้ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กไทย  โดยการใช้ความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง  เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้  และกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ (Brain-Based Learning)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน  เขต  1  มีความตระหนักในเรื่องการพัฒนาสมองและศักยภาพของเด็กไทย  ให้เป็นเยาวชนไทยที่มีคุณภาพ  ประกอบกับเป็นปีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ  จึงได้จัดได้สมัครใจนำร่องจัดทำโครงการนี้ขึ้น
ผลสำเร็จ
     1.   ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการในสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอ มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาสมองและศักยภาพของเด็กไทย
     2.   โรงเรียนอนุบาลต้นแบบ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแนวคิด   BBL 
     3.   เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาสมองให้มีศักยภาพตามกระบวนการ  BBL
 ผลการได้รับการยอมรับ
 ระดับกรม
     -  สพฐ.  สั่งการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต  ดำเนินการพัฒนาสมอง และศักยภาพ ของเด็กไทย  ตามฐานความรู้  BBL  ซึ่ง สพท.มส.เขต โดยท่านผอ.สพท.มส.เขต ได้ดำเนินการแล้ว  อำเภอ ละ  1  โรง
              
ระดับจังหวัด
     - ผู้เข้ารับการพัฒนามีผลการประเมินคุณภาพที่ดีขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ  70
     - ผู้เข้ารับการพัฒนามีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพผลก้าวหน้า อย่างน้อย 75  %
 กิจกรรม / วิธีการ / ขั้นตอนที่สำคัญ
     1.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
     2.แต่งตั้งคณะกรรมการ/ประชุม
     3.ดำเนินการอบรม และนำกลุ่มเป้าหมายศึกษาดูงาน ร.ร.นำร่อง
     4.สรุปผล  รายงาน การดำเนินงาน เป็นรูปเล่ม 
     5.กำกับ  ติดตามผล  
     6.ศึกษานิเทศก์ ดำเนินการต่อยอด
 ข้อจำกัดในการนำไปใช้
     1.เดิมเป็นเรื่อง ที่รัฐบาลกำลังรณรงค์ร่วมกับ สถาบันวิทยาการเรียนรู้  ( สวร.)  นำร่อง  2  จังหวัดเท่านั้น คือ  จังหวัดศรีสะเกษ  และจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบัน สพฐ.ได้สั่งการให้ดำเนินการทุกเขตพื้นที่แล้ว 
 สนองยุทธศาสตร์   สพฐ.ข้อ 1   ข้อ  2    สพท.มส. ข้อ  2  ข้อ 3   จ.แม่ฮ่องสอน ข้อ

หมายเลขบันทึก: 53794เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2006 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจค่ะ   อาจารย์ลองเขียนแบบสั้นๆ แยกเป็นประเด็น แล้วใส่ความคิดเห็นของอาจารย์เข้าไป น่าจะทำให้เกิดเรื่องเล่า km ได้ดีทีเดียวนะคะ

 

                                    

   ขอบคุณค่ะ    ดิฉันเห็นด้วยในการที่จะพัฒนาสมองของเด็กไทย  ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา  เพราะมีประสบการณ์จากตัวดิฉัน และเพื่อนบ้าน คือจะชอบฟังเพลง และร้องเพลง ให้ลูกฟัง  บางครั้งก็จะอ่านการ์ตูน  หรือบทความบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะแบบสบายๆ ปรากฏว่า ลูกมีสุขภาพจิตดี อารมณ์แจ่มใส ไม่ก้าวร้าว ค่ะ  ถือว่ามีส่วนลดความรุนแรงของสังคมปัจจุบันได้บ้าง   จริงมั๊ยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท