561. "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ของ "เจงกิสข่าน"


ผมมีโอกาสอ่านหนังสือดีๆมากผมไม่ได้อ่านเท่านั้น แต่พยายามนำไปตกผลึกและใช้งาน ว่าสุดหนังสือที่สร้างความมึนส์ให้กับผม คือเรื่องที่ผมพยายามรู้จักมานาน และได้มีโอกาสกลับมาอ่านอีกรอบ นั่นคือยูโทเปีย ของโทมัส มัวร์ ที่พูดถึงสังคมในอุดมคติ.. คำถามคือจะตกผลึกและเอาสังคมอุดมคติไปใช้อย่างไร... ยิ่งอ่านคำวิจารณ์หลังปก นักวิจารณ์ก็บอกว่า ... “เป็นอุดมคติที่ยากจะทำให้เกิดขึ้นจริง”

                     

... จริงหรือ ในมุมมองของผมนั้นคิดต่าง... เมื่ออ่านถึงตอนว่า

“ชาวเมืองยูโทเปีย จะมีความคิดที่จะปกป้องชีวิตทหารของตนเองทุกวิธี ไม่ให้ตายง่ายๆ”... เนื้อเรื่องดูเข้มข้นจริงจัง นอกจากนี้ยังการบรรยายถึงว่าในภาวะสงคราม ชาวเมืองทำสงครามโดยพยายามประหยัดชีวิตคนอย่างไร... มันสะท้อนถึงการพยายามปกป้องกำลังคนของตนเองอย่างสุดๆ...

ดูอุดมคติ.. ไม่เหมือนสงครามที่เราเห็นรอบๆตัว คนตายกันมาก .. เนื้อหาส่วนใหญ่ดูสุดขั้วเป็นไปไม่ได้... แต่ในเรื่องสงคราม ประเด็นเรื่องการรักษาชีวิตทหาร ทำให้ผมนึกถึงประเด็นสองสามประเด็น...

ประเด็นแรกคือ จริงๆ แล้วในประวัติศาสตร์ มีกษัตริย์ที่มีนโยบายทางการทหารชัดเจนมากๆ ในเรื่องนี้ คือมีความโดดเด่นมากๆ.. นั่นคือเจงกิส ข่าน.. แนวคิดการนำทัพของเจงกิส ข่านเน้นการวางกลยุทธ์ การวางนโยายที่จะรักษาชีวิตของทหารของตนเองอย่างสุดๆ ซึ่งต่างจากชาวจีน ที่มองว่าคนเหลือเฟือ... แล้วมันต่างอย่างไร...  เจงกิสข่านนำเข้าเทคโนโลยีที่จะทำให้รักษาชีวิตคนครับ เมื่อรบกับชาวจีนช่วงแรกๆ ก็ยังไม่มีอะไรมากนอกจากม้าและกลยุทธ์แบบชาวมงโกล ที่โบราณและเถื่อนสุดๆ เทคโนโลยีของข่านด้อยกว่าชาวจีนก็จริง แต่เมื่อรบชนะที่ใด สิ่งที่ข่านจะมองหาคือเครื่องมือ อาวุธที่จะทำให้สามารถเอาชนะศัตรูได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญสามารถประหยัดชีวิตคนได้มากขึ้น.. เราจะเห็นเรื่องนี้ชัดเจน เจงกิส ข่านเปิดใจรับเทคโนโลยีจากศัตรู ... ที่สุดกองทัพข่านก็ก้าวล้ำนำหน้าศัตรูไปเรื่อยๆ

                                

แนวคิดนี้ยังตกทอดถึงลูกหลานของเจงกิส ข่าน เช่นในรุ่นหลานคือกุบไลข่าน ที่เข้ามาตั้งตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงค์หยวน ก็ยังยึดนโยบายเดียวกัน... ตอนแรกยังยึดจีนไม่ได้ทั้งหมด.. คนจีนร่นถอยไปตั้งเมืองหลวงอยู่ทางภาคใต้.. ยันอยู่หลายปี สิ่งที่ป้องกันเมืองหลวง มีเพียงอย่างเดียวคือกำแพงเมืองที่หนา และสูงมากๆ.. เกินกว่าเทคโนโลยีของข่านจะสู้ไหว.. กุบไลข่านจึงขอความช่วยเหลือไปยังข่านอีกคน ที่ปกครองอาหรับอยู่ (ตอนนั้นมงโกลสามารถยึดอาหรับได้ทั้งหมด) โดยข่านท่านนั้นก็ได้ส่งนายพลชาวมุสลิมเปอร์เซีย ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการทำลายกำแพงเมืองยักษ์  นายพลคนนี้เข้ามาพร้อมกับปืนใหญ่ที่ทรงพลานุภาพเหนือกว่าที่ใช้ในเมืองจีนกันในขณะนั้น  ที่สุดก็สามารถทำลายกำแพงเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของชาวจีนได้ แล้วก็ครอบครองเมืองจีนอย่างเบ็ดเสร็จในเวลาต่อมา...

จะเห็นว่าวิธีคิดของข่านต่างจากแนวคิดของศัตรูคนจีนมากๆ ด้วยแนวคิดที่ต้องการรักษาชีวิตทหารของตนเองที่มีน้อยมากๆ.. ทำให้ต้องแสวงหา นำเข้าเทคโนโลยีมาให้มากที่สุด ไม่ว่าจะมาจากใคร ก็ตาม จากแห่งหนใดของโลกก็ตาม นอกจากทำให้กองทัพแข็งแกร่งมากขึ้น ยังทำให้คนศรัทธาในกองทัพ ในขณะที่คนจีนโบราณ กับรู้สึกว่าคนมีมากๆ ทหารเยอะ ตายไปเท่าไหร่ ก็หาแทนได้ ที่สุดก็ไม่สามารถดึงพลังอำนาจจากเทคโนโลยี ที่เคยเหนือกว่าชาวเผ่าเร่ร่อนอย่างมงโกลมาใช้อย่างถูกที่ถูกทางได้ ที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้อย่างราบคาบ...

มงโกลพิชิตโลก กลายเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลก  กินอาณาเขตจากจีน ถึงฮังการี่ ไปถึงอาหรับ.. ..ลูกหลานยังขยายไปถึงอินเดีย ตั้งราชวงค์โมกุล ที่ต่อมาได้สร้างทัชมาฮาลอีก

ว่ากันว่าจำนวนคน กำลังทหารหลักจริงๆ ที่มงโกลใช้ปกครองโลกทั้งโลกนั้น มีจำนวนรวมกันประมาณ 40,000 คน คือ เมื่อเอาทหารมงโกลที่ครองโลกมารวมกันนั้น สามารถบรรจุทั้งหมดลงไปในสนามบอลขนาดใหญ่ได้เพียงสนามเดียวเท่านั้น.. น่าทึ่งไหมครับ...​

มองจากมุมมองของ OD จะเห็นเรื่องหนึ่งคือเรื่อง Guiding Ideas (หรือแนวคิดชี้นำ) ที่เป็นหัวใจสำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ชัดเจน ด้วยแนวคิดที่แจ่มจ้าเรื่องการรักษาชีวิตทหาร.. ทำมีการระดมความคิด หาวิธีการ ... ที่สุดนำมาสู่การพัฒนาอาวุธ ยุทธวิธี ที่เราเรียกรวมๆ ว่านวัตกรรมโครงสร้าง... ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การลองผิดลองถูกในทิศทางใหม่ จนทำให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถ และทำให้เกิดผลสำเร็จตามที่เคยคิดใหญ่คิดไกลๆ ได้ (วิสัยทัศน์)  ...เราจะเห็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เผยตัว และยกระดับจากคนเร่ร่อน ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีอะไร จนก้าวไกลมาเป็นกองทัพที่ทันสมัยเกรียงไกรที่สุดในโลกในเวลาไม่กี่ปี... จนมี “ข้าราชการ” เพียง 40,000 คนก็ครองได้ทั้งโลก ประเทศหลายๆประเทศ ส่วนใหญ่มีข้าราชการเป็นล้าน ครองประเทศเล็กๆ ยังวุ่นวายแทบฆ่ากันตาย จะเห็นว่าประเทศที่มีแนวคิด Guiding Ideas ดีๆ สามารถพลิกผันให้มาเป็นผู้ครองโลกได้ในเวลาไม่กี่ปี ด้วยกำลังคนที่น้อยที่สุด (แถมส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออกด้วย) แต่ประเทศที่ขาดแนวคิดชี้นำดีๆ (Guiding Ideas) แม้มีข้าราชการที่รู้หนังสือเป็นล้านคน.. ก็ยังเสียงต่อความล่มสลายได้.. น่ากลัวไหมครับ..

                         

จะว่าไปงานยูโทเปีย ก็ทำให้เราได้นึกเชื่อมโยงเห็นอะไรมากมาย หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่พูดถึงเรื่องอุดมคติเกินไปนัก.. และดูเป็นไปไม่ได้เลย.. ลองดูดีๆ ในบางประเด็นทำให้เราต้องคิดอะไรใหม่ได้เหมือนกัน..

มาตอนนี้ผมว่าผมคงมีแนวทางในการอ่านหนังสือเล่มนี้ได้สนุกมากขึ้น ตกผลึกได้มากขึ้น.. ผมจะเขียนมาเล่าให้ฟังอีกครับ..

วันนี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

อ้างอิง

Utopia

เจงกิสข่าน มหาบุรุษผู้เปลี่ยนโลก

Outlearning the Wolves : Surviving and Thriving in a Learning Organization, Second Edition

Cr ภาพ: 
รูปแรก http://www.dezeen.com/2011/04/07/competition-five-copies-of-utopia-forever-to-be-won/
รูปสอง http://www.epicasiafilms.com/
รูปสาม http://intelligenttravel.nationalgeographic.com/2012/11/14/happy-850th-genghis/


หมายเลขบันทึก: 537495เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข้าน้อยขอน้อมรับในคำชี้แนะจากพี่ท่าน จะนำไปพิจารณาดู เจ้าค่า..า..า มาให้กำลังใจเช่นเดิมค่ะเพื่อน 

จะรออ่านตอนต่อปครับอาจารย์

อ่านแล้วให้ข้อคิดชวนค้นคว้าต่อนะครับ

อยากให้วิเคราะห์ต่อนะครับว่า ทำไมอาณาจักรเจงกิสข่านจึงล่มสลาย  และปัจจุบัน มองโกลเป็นชนชาติที่เล็ก  

มีพลังและความหมายครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท