ปัญหาการศึกษาไทยหนักกว่าที่รับรู้



ได้รับข่าวจาก สสค. ที่นำเสนอข้อมูลปัญหาการศึกษาของเยาวชนไทยว่า หากเปรียบเทียบจากจำนวนเยาวชนไทย 10 คนแล้วนั้น 

  • เยาวชนเพียง 1 คน หรือร้อยละ 13 ไม่สามารถศึกษาจนจบในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3  
  • เยาวชนอีก 3 คน หรือร้อยละ 30 ศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วไม่ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
  • เยาวชนอีก 2 คน หรือร้อยละ 21 ศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ไม่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 
  • และมีเพียง 4 คน หรือร้อยละ 36 เท่านั้นที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 
    • โดย 1 คนไม่สามารถศึกษาจนจบได้ 
    • อีก 3 คนสามารถศึกษาต่อจนจบอุดมศึกษา 
    • แต่มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่สามารถได้งานทำในปีแรก
อ่านแล้วเศร้าใจค่ะ หากมีอะไรที่ทางสมาชิก GotoKnow พอจะช่วยกันได้บ้าง ก็บอกฝากกันมาได้ค่ะ ดิฉันเชื่อว่าหลายๆ ท่านจะไม่นิ่งดูดายกับปัญหาเยาวชนของชาติหรอกค่ะ 


คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาไทย
หมายเลขบันทึก: 536862เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

แค่ข้อมูลเชิงปริมาณ ยังทำความวิตกกังวลให้กับคนในวงการศึกษาได้ขนาดนี้นะคะ "หนู ดร.จันทวรรณ"

ถ้าได้รับรู้ข้อมูลเชิงคุณภาพแล้วจะยิ่งน่ากังวลขึ้นไปอีกมากนัก ปัญหาคุณภาพการศึกษาของบ้านเรา เป็นปัญหาที่แม้ "ไอดิน-กลิ่นไม้" เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ก็ยังลุ้นยังอยากจะมีส่วนร่วมช่วยแก้ไข อย่างน้อยก็ด้วยการแสดงแนวคิดผ่าน GotoKnow นี่แหละค่ะ


 

ปัญหา การศึกษาไทย คงต้องวิเคราะห์ ตั้งแต่ นโยบาย ระบบ และ กลไก รวมทั้ง การกำกับดูแล กระมังครับ

ในฐานะที่คุณมะเดื่อเป็นครู ระดับประถมศึกษา ก็เห็นชัดเจนกับปัญหาดัง

กล่าวจะ  เด็กระดับประถม  จะจบ ป.6 เกือบทั้งหมด  (ที่ไม่จบก็ด้วยเหตุจำเป็น

อย่างสุดวิสัย  เช่น  ตาย   ย้ายตามผู้ปกครองแล้วไม่เข้าเรียนที่ไหนเลย  

เป็นต้น  ซึ่งก็มีน้อยมาก ๆ ) แต่พอขึ้นมัธยม ก็จะเหลือไม่เท่าเดิม  ครูประถม

อย่างคุณมะเดื่อก็ได้แต่มอง และรู้สึกห่วงใยเท่านั้น พยายามที่จะพูด จะเตือน 

แต่ก็ไม่มีอำนาจใด ๆ ไปจัดการได้  


มีบ้างที่พยายามให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษา  อย่างกรณีของ

น้องน้อย  กับน้องส้ม  และศิษย์เก่า ที่ไม่ได้ศึกษาต่อ  ก็พยายามให้กลับเข้าไป

อยู่ในระบบการศึกษานอกโรงเรียน

http://www.gotoknow.org/posts/503504

http://www.gotoknow.org/posts/498043

ในฐานะอาจารย์สอนระดับมหาวิทยาลัยอ่านแล้วเศร้าจริงๆ นะคะ จากเยาวชนสิบคนมีแค่หนึ่งคนสามารถจบมหาวิทยาลัยและได้งานทำในปีแรก :( อาจารย์มหาวิทยาลัยกี่คนที่ได้รับรู้ว่าเยาวชนที่ผ่านเข้ามาถึงมหาวิทยาลัยได้นั้นเป็นเพียงแค่ส่วนน้อยนิดเดียวของเยาวชนในรุ่นเดียวกันค่ะ

และที่สำคัญยิ่งกว่าคือนักศึกษาที่เราสอนไปนั้น เมื่อเทียบจากเยาวชนรุ่นเดียวกันแล้ว มีแค่หนึ่งคนเท่านั้นเหรอค่ะที่จบแล้วได้งานทำทันที :(

ขอรับข้อมูลก่อนนะครับ เดี๋ยวคิดตาม ;)...

ในฐานะที่คุณมะเดื่อเป็นครูผู้สอนระดับ " รากหญ้า" ได้เห็นเส้นทางการศึกษาของศิษย์

นับแต่บันไดขั้นแรก จนบันไดขั้นสุดท้ายของศิษย์ก็ว่าได้  ขอบอกว่า ที่อาจารย์จันท

วรรณรับรู้นั้น  " จริงจ้ะ "  แต่ก็มีบางส่วนที่จบอุดมศึกษาในระบบการศึกษานอก

โรงเรียนนะจ๊ะ  หรือจบในระบบการศึกษาระบบเปิด  ที่เปิดโอกาส  เปิดกว้างสำหรับผู้

ที่ประกอบอาชีพแล้วได้เข้าศึกษา  หนึ่งในนั้นก็คือ ไม่ใช่สายตรง เช่น  มสธ.จ้ะ แต่ก็มี

ส่วนน้อยอีกเช่นกัน

  • ท่านอาจารย์ครับ มีข้อคิดอย่างนี้นะครับ ไม่ได้เรียนจบ อุดมศึกษา แต่มีงานทำ คือทำนาสืบสานจากพ่อแม่และความรู้จากประสบการณ์ตลอดถึงการเรียนรู้อื่นๆเพิ่มเติม แม้จะไม่ได้จบปริญญา แต่ผมคิดว่าไม่น่าเศร้าใจนะครับ
  • มีข้อคิดเพิ่มเติมครับ นักศึกษาที่จบปริญญาบางคน ได้เรียนรู้อะไรมามากมาย แต่น่าเสียดาย เลือกที่จะทำงานที่ตนจบมาเท่านั้น งานนอกนั้นไม่สามารถทำได้
  • อย่างไรก็ตาม ผมก็คงไม่แตกต่างกันกับ "เศร้า" เมื่อคิดว่า คนที่จบปริญญาคือคนคุณภาพของสังคม ถ้าคนคุณภาพของสังคมมีเพียง ๑ ในร้อยเท่านั้น
  • ขอบคุณครับผม

และที่สำคัญยิ่งกว่าคือนักศึกษาที่เราสอนไปนั้น เมื่อเทียบจากเยาวชนรุ่นเดียวกันแล้วจำนวน 10 คนแล้ว มีแค่หนึ่งคนเท่านั้นเหรอค่ะที่จบแล้วได้งานทำทันที :(

เอ เท่าที่อ่านไม่มีข้อมูลว่าเยาวชนจำนวนนี้ไม่เรียนต่อแล้วไปทำอะไรนะคะ แต่เคยมีข้อมูลแจ้งว่าปัญหายาเสพติดและปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะ :(

อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า การศึกษาของไทย ควรเน้นไปในทางใด เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์อย่างมากที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องหาปัญญาแก่้ไขกันต่อไป บทสรุปว่า การศึกษาเราจะให้เป็นไปในลักษณะใด ก็อยู่ที่วิสัยของผู้บริหารการศึกษา

สวัสดีค่ะ ดร.จันทวรรณ...ก่อนอื่นประชาชนต้องเข้าใจในปรัชญาการศึกษาว่าคือการศึกษาตลอดชีวิตอย่างลึกซึ้ง ...เข้าใจกฎหมายการศึกษาอย่างถ่องแท้...การศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนอย่างต่อเนื่องให้จบอุดมศึกษา...ผู้เรียนสามารถทำงานและเรียนเพิ่มเติมได้...การรวบรวมเก็บข้อมูลทางการศึกษาต้องละเอียดเป็นข้อมูลการติดตามผลผู้เรียนที่ต้องมีครบถ้วนจึงจะสามารถนำไปพัฒนาการจัดการศึกษาได้ ต้องทราบมากกว่านี้ ว่าผู้เรียนที่จบไปไม่มีงานทำแล้วไปทำอะไรกันบ้าง? แล้วพวกที่เรียนไม่จบไปทำอะไรกันบ้าง?...มีปัญหาด้านใดที่ทำให้ไม่จบ...แต่อย่างไรก็ตามปัญหาใหญ่ของการศึกษามีมากมาย ตั้งแต่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กว้างมากเกินไป เรียนในเรื่องที่ไกลตัวมากกว่าการฝึกทักษะตนเอง และการใช้ทักษะต่างๆในชีวิตประจำวัน และหลักสูตรทุกระดับไม่เน้นทักษะการประกอบอาชีพต่างๆในชุมชน ในท้องถิ่น และในประเทศ โดยเฉพาะ ...หลักสูตรตามมหาวิทยาลัยต่างๆก็เป็นเชิงพาณิชย์...สอนเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก...ผู้เรียนจบไปไม่มีงานทำเพราะอะไร? มหาวิทยาลัยต้องทำวิจัยออกมานะคะ?...ส่วนตัวอยากเห็นโรงเรียนเกษตรกรรม จนถึงมหาวิทยาลัยเกษตรกรรมในแต่ละท้องถิ่น แต่ละชุมชน ของประเทศ เราเป็นประเทศเกษตรกรรมเป็นแหล่งอาหารที่ดีมากๆแต่ใช้ประโยชน์เพียงคนบางกลุ่มที่รวยมหาศาล ...การศึกษาไม่ต้องเน้นเรื่องไกลตัวมาก...ใครอยากรู้สามารถเรียนรู้เองได้ไม่ต้องสอนในโรงเรียน...เสียเวลา...***อยากให้นึกถึงการเรียนการสอนขับรถยนต์ ***การจัดการเรียนการสอนให้จัดเหมือนการเรียนขับรถยนต์ เรียนรู้กลไกในการขับ ฝึกขับ แล้วไปสอบทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ คุณสอบผ่านได้ใบขับขี่...สอบไม่ผ่านก็ไปกลับไปเรียนใหม่....และกลับมาสอบจนผ่าน...เรื่องประสบการณ์ในการขับ...เรื่องเครื่องยนต์ของรถคุณไปเรียนรู้เอง...ตามสภาพรถตามสภาพการใช้งานรถและตามสภาพถนนที่คุณใช้รถ...ขอบคุณค่ะ...

 

 

โอกาสของแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ บางคนไม่มีใรับรองการเกิดด้วยซ้ำ

ในฐานะที่วงการสาธารณสุขไทยทำงานในพื้นที่ชุมชน

เราจะพยายามช่วยดูแล-ช่วยเหลือ คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาค่ะ 

มีหลายคนที่ทีมงานของรพ.ได้ช่วยเหลือให้ได้เรียน 

บ้านเรามีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก..เพราะเราใช้ระบบสังคมนิยม และจัดการศึกษาที่คิดว่าระบบ Mass Product ที่ทำอยู่เป็นระบบที่มีมาตรฐาน เปรียบกับการตัดเสื้อโหลย่อมไม่เป็นที่พอใจของผู้ใส่

การศึกษาในบ้านเรามีระบบอื่น ๆ ที่จะช่วยให้คนที่หลุดจากระบบการศึกษาหลัก ได้มีโอกาสได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เพียงแต่การยอมรับและถ่ายโอนซึ่งกันและกันยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ต่อกันไม่ติด

ผมเสนอว่ารัฐควรให้ความจริงจังกับระบบการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น เช่น นอกระบบ และตามอัถยาศัย ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ โดยรัฐต้องเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ และเข้าใจมากกว่านี้

ผมมีคำถามค้างในใจให้ช่วยคิด ว่า ถ้ามีลุงคนหนึ่ง จบ ป.4 เป็นผู้นำชุมชน บริหารจัดการชุมชนของตัวเองจนเป็นที่ยอมรับ มีคนมาดูงานมากมายเป็นต้นแบบให้กับหลาย ๆ ชุมชน ได้รับรางวัลยกย่องมากมาย ลุงมีความรู้ความสามารถจนใคร ๆ เห็นว่าความสามารถด้านการจัดการของลุง สูงกว่าคนที่จบปริญญาตรีมาก เป็น ปราชญเลยทีเดียวiระบบการศึกษาในปัจจุบัน(รัฐ) มีวิธีการที่จะให้ปริญญาลุงไหม???? หากยังไม่มี จะทำอย่างไรให้ลุงได้ปริญญา

ผลสำรวจนี่ดูจากการศึกษาในระบบซึ่งน่าจะมีการติดตามว่า ส่วนที่หลุดออกไปจากระบบนี้ไปอยู่ตรงไหน ทำอะไรกันต่อด้วยนะคะ เพราะถ้าอยู่ในระบบแล้วจบมีงานทำเท่านี้ น่าจะถือเป็นการสูญเปล่าอย่างมาก คนที่ไม่ได้ทำงานไปทำอะไรกัน ถ้ามีข้อมูลตรงนั้นด้วยจึงจะเห็นภาพครบ ความจริงข้อมูลก็ดูจะมีให้หามาวางแผนได้นะคะ สำหรับคนดูแลนโยบายระดับประเทศ ทำไมเขาไม่คิดทำกันหนอ 

อยากภาวนาให้ส่วนที่ออกจากระบบที่มีข้อมูลนี้ไปอยู่ในส่วนที่หลายๆท่านให้ข้อมูลมา กลับไปอยู่ในพื้นที่ ศึกษางานในระดับชุมชน พัฒนาชุมชนตัวเอง เรียนรู้จากผู้รู้ในชุมชน น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะกับประเทศเรามากกว่าไปวิ่งตามมาตรฐานสากลกันเสียหมดนะคะ ปล่อยให้คนที่ไปได้ทำกันไป คนที่ควรอยู่ช่วยชุมชนพื้นที่ตัวเองก็ทำกันไปจะดีกว่า เรียนในระบบ เก่งๆแล้วก็ไปทำมาหาเลี้ยงตัวเองกันเสียหมด

..... เป็นปัญหาสังคมที่มีทั้ง ....ความกว้าง ...ความลึก.... และความชับซ้อน...  ส่งผลกระทบ... ต่อปัญหาอื่นๆตามมาอย่างมาก นะคะ....ท่านอาจารย์ ... ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ...

ปัญหานี้ยิ่งใหญ่นัก ทุกฝ่ายต้องช่วยกันจริงๆ เริ่มจากสถาบันครอบครัวค่ะ

วันนี้เปิดเรียนวันแรกค่ะ ได้นำเอาสถิติในบันทึกนี้พูดให้ผู้เรียนฟังเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนค่ะว่า "หากคุณอยากเป็น 1 ใน 10 คนนี้ ต้องมุมานะอุตสาหะในการเรียน โดยอาจารย์จะเป็นโค้ชให้คุณ" 

รู้สึกว่าผู้เรียนฮึกเหิมดีค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท