แสงแดดเสริมภูมิต้านทานโรค_ลดหอบหืด




.
สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Sunshine vitamin 'may treat asthma'
= "วิตามินแสงแดด (วิตามิน D อาจ) ช่วยรักษาหอบหืด , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
วิตามิน D ได้ชื่อว่า เป็นวิตามินแสงแดด เนื่องจากคนเราได้วิตามินนี้จากแสงแดดเป็นส่วนใหญ่ จากอาหาร เช่น ปลา นม (ที่ได้มากจากนม คือ นมที่เสริมวิตามิน D เข้าไป) ฯลฯ เป็นส่วนน้อย
.

.
ภาพที่ 1: น้องหมาเล่นคอมพิวเตอร์... 'I have no diea what I'm doing' = "ฉัน (ผม) ไม่รู้หรอกว่า กำลังทำอะไร"
.
การเลี้ยงสัตว์ หรือที่ดีมาก คือ เดินเล่นกับน้องๆ (walk a dog) ตอนเช้า-เย็น ช่วยให้อาการโรคภูมิแพ้บรรเทาเบาบางลงได้

ผิวหนังสร้างวิตามิน D จากรังสีอัลตราไวโอเล็ต B (UVB / ultraviolet B) ซึ่งผ่านกระจกไมได้... การรับแสงแดดอ่อนผ่านกระจก เช่น ในรถ ในอาคาร ฯลฯ จึงไม่ช่วยในการสร้างวิตามิน D
.
๊UV หรืออัลตราไวโอเล็ตในแสงแดดมีทั้งคุณและโทษ... โทษ คือ การได้รับแสงแดดจ้า หรือนานเกินไป เพิ่มเสี่ยงผิวหนังเสื่อม ดูแก่เร็ว เพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก
.

.
ภาพ: ใบหน้าส่วนที่โดนแดดมากที่สุด คือ พื้นที่ที่หน้ากาก (mask) รูป 4 เหลี่ยมปิดทับพอดี = จมูก แก้มรอบจมูก ริมฝีปากบน
.
การสวมหน้ากาก+หมวกกันน็อคตอนขี่มอเตอร์ไซค์ ช่วยป้องกันแสงแดดจ้าได้ดีมาก
.

.
อ.นพ.เกบ เมียคิน แนะนำให้ "เลือกรับ" ดังนี้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากวิตามินแสงแดด
.
(1). รับแสงแดดอ่อน เช่น ก่อน 9.00 น., หลัง 16.00 น. ฯลฯ
.
(2). หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า
.
(3). ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้,ให้กางร่ม ใส่หมวกมีปีก แว่นกันแดด เสื้อแขนยาว หรือทายากันแดด
.
(4). ให้โอกาสผิวหนังส่วนที่ได้รับแสงแดดน้อย รับแสงแดด เช่น ด้านหลัง ขาท่อนบน ขาท่อนล่าง ฯลฯ = สวมกางเกงขาสั้น เสื้อไม่หนามากรับแสงแดดอ่อน
.
(5). หลีกเลี่ยงส่วนที่ได้รับแสงแดดมาก ไม่ให้โดนแสงแดดมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่หน้า 4 เหลี่ยมที่ตรงกับตำแหน่งหน้ากาก (mask) รูป 4 เหลี่ยม + ใบหู
.

.
ทีมวิจัยจากสถาบันคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน อังกฤษ (UK) ทำการศึกษาพบว่า ระดับวิตามิน D ที่ต่ำลงทำให้อาการโรคหอบหืด (asthma) แย่ลง
.
ศ.แคตเตอรีน ฮอรีโลวิคซ์ กล่าวว่า การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนไข้หอบหืดที่มีระดับวิตามิน D ในเลือดสูง มักจะควบคุมอาการได้ดีกว่าคนที่มีระดับวิตามิน D ต่ำ
.
การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้ 28 คน พบว่า วิตามิน D ช่วยลดระดับสารก่อการอักเสบที่ชื่อ "อินเทอร์ลิวคิน-17/ไอแอว-17 (interleukin-17 / IL-17)"
.
คนไข้หอบหืดที่มีอาการไม่ค่อยดี คือ ตอบสนองต่อยาต้านการอักเสบชนิดสเตอรอยด์ (steroids) ไม่ดี, มีระดับสารก่อการอักเสบ IL-17 สูงกว่าคนไข้ทั่วไป 7 เท่า
.

.
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน และต้องรอผลการศึกษาทางคลินิก หรือการศึกษาในคนจริงๆ ก่อน
.
ทว่า... บอกเป็นนัยว่า การออกแรง-ออกกำลังกลางแจ้ง เพื่อรับแสงแดดอ่อน ตอนเช้า-เย็น น่าจะช่วยให้ระบบภูมิต้านทานโรคดีขึ้น
.
ภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลง เพิ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
.
ภูมิต้านทานโรคที่แรงเกินไป เพิ่มเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด ฯลฯ
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank BBC source > Journal of Allergy and Clinical Immunology.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 21 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 536609เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท