การเรียนรู้บนโต๊ะทานข้าว


ในช่วงปิดเทอมชีวิตของมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ
จะต้องเอาลูกน้อยไปฝากไว้ที่ใดที่หนึ่งในช่วงเวลากลางวัน
ครอบครัวผมเอาลูกทั้งสองคนไปฝากเลี้ยงไว้ที่ศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่ง

เมื่อวานตอนเย็นหลังกินข้าวเสร็จ
ได้ยินคุณแม่ถามคุณลูกสาววัย 9 ขวบว่า “เมื่อตอนเที่ยงลูกไปไหนกับพี่ ป.”
คิดว่าประโยคต่อไปที่คุณแม่จะพูดคือ “ต่อไปลูกไม่ควรไปไหนมาไหนกับพี่ ป. อีก”
ไม่ทันที่คุณแม่จะได้พูดประโยคนี้ ผมชิงคุยเรื่องนี้กับคุณลูกเสียก่อน....
ความเป็นพ่อแม่มักจะเป็นห่วงลูกและใช้ความคิดของตัวเองตัดสินแทนลูกโดยไม่สนใจความคิดของลูก...สิ่งนี้ทำให้ความคิดเราไปปิดกั้นความคิดของลูก
ๆ โดยไม่รู้ตัว....

ภายหลังจากการซักถามลูกแทนคุณแม่ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…
(คุณแม่นั่งอยู่ด้วย) ได้ทราบว่าลูกไปซื้อของกินกับพี่ ป.ตอนเที่ยงที่ 7-Eleven ห่างจากศูนย์เลี้ยงเด็กประมาณ
300 เมตร (สถานที่ไม่ได้อันตรายอะไรแต่แม่เป็นห่วงไปต่าง ๆ นา ๆ ) ก่อนออกไปกับพี่
ป. คุณลูกเล่าว่าได้ขออนุญาตหัวหน้าศูนย์เลี้ยงเด็กและได้รับอนุญาตแล้ว
สิ่งที่ทราบจากการซักถามคือคุณลูกอยากไปเป็นเพื่อนพี่ ป. เพราะอยากช่วยเหลือเขาและไปเป็นเพื่อพี่
ป.(ความคิดดี ๆ แบบนี้น่าจะรักษาไว้)

ภายหลังจากพูดคุยเสร็จจนทราบรายละเอียด ผมจึงถามคุณลูกว่า
“ลูกคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นลูกทำถูกไหม ?”
คำตอบที่ได้รับคือ “ถูก” จึงถามด้วยอีกคำถามว่า
“ลูกคิดว่าพ่อคิดว่าลูกทำถูกไหม?”
คำตอบคือ “ไม่ถูก” ???
(ลูกหน้าเสีย) “แต่พ่อคิดว่าลูกทำถูกแล้ว !!!”
(ลูกหน้าตาดีขึ้น) เพราะลูกได้ขออนุญาตหัวหน้าศูนย์แล้วและเขาอนุญาต
(คุณแม่เห็นด้วย!!!)

ท้ายสุดได้สอนคุณลูกให้ได้เห็นภาพที่กว้างขึ้นว่า
ลูกทำดีแล้วที่ขออนุญาตหัวหน้าศูนย์ก่อนออกไปข้างนอก เพราะหากเกิดอันตรายกับลูกหัวหน้าศูนย์คือคนที่ต้องรับผิดชอบและหากเกิดอะไรขึ้นกับลูกเขาอาจต้องถึงขั้นออกจากงานที่เขารัก...
ลูกคิดว่าพ่อกับแม่รักลูกไหม!!!
และหากเกิดอันตรายกับลูกพ่อกับแม่คือคนที่จะเสียใจมากที่สุด...พ่อกับแม่เป็นห่วงลูกไม่อยากให้ลูกได้รับอันตราย
จะไปไหนมาไหนระวังตัวน่ะลูก.....(ลูกพยักหน้าพร้อมกับคำว่า ค่ะ)

ผมคิดว่านี่คือการเรียนรู้ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง....
ลูกได้เข้าใจว่าผลกระทบของการตัดสินใจจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับตัวเองและคนรอบข้าง
เขายังมีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเองได้แต่เขาจะระวังตัวมากขึ้น เขาได้รับรู้ว่าพ่อกับแม่รักเขาและนี่แหละคือสิ่งที่พ่อกับแม่อยากบอกที่สุด
ส่วนพ่อกับแม่ได้เรียนรู้ว่าเราไม่ควรจะตัดสินใจอะไรบนความคิดของตนเองและตามด้วยคำว่า
“อย่า”


วันนี้ครอบครัวผมพยายามเป็นอย่างมากที่จะทำให้
“บ้านเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก” กล้าที่จะเล่าเรื่องต่าง ๆ
ให้เราฟัง....เราคุยกันว่าเราจะเปิดพื้นที่ให้ลูกอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงหลังทานข้าวเย็นและจะรับฟังอย่างตั้งใจ...
วันนี้เขา 9 ขวบ วันข้างหน้าอีก 3-4 ปีเขาจะเป็นวัยรุ่น
เขาจะมีความคิดเป็นของตนเอง เขาจะไม่ฟังเรา เขาจะไม่เล่าอะไรให้เราฟัง
หากเราไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้วันข้างหน้าก็จะไม่มี

หมายเลขบันทึก: 536441เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท