ลำไย : "แมงมั่ว" แมงตัวจริงที่ก่อให้เกิดโรคพืช และโรคแมลง สร้างความเสียหายกับต้นลำไย ทุกระยะการพัฒนาการ


ว่ามาซะยาว จะสรุปว่า อาการที่เกิดขึ้นกับต้นลำไย หรือต้นไม้ชนิดต่างๆ นั้น มักจะมีปัจจัย หลายสาเหตุ ประกอบร่วมกัน ดังนั้นการสังเกตุบริบทภายในสวนของเกษตกรเอง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และถือว่าสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาได้ถูกจุด...จริงๆ

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

                มีคำถามมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับโรคลำไย  โรคพืช หรือไม้ผลชนิดอื่นๆ   ที่เกี่ยวกับอาการที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า  และสิ่งทีเ่กิดขึ้นคืออาการได้กำเริบแล้ว ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงกับต้นลำไยอย่างชัดเจน  แต่เมื่อได้ใช้แนววิธีการปฏิบัติในการป้องกัน กำจัด หรือเพื่อแก้ไขปัญหาเหมือนๆ คนอื่น   แต่ทว่าทำไมว่ามันกลับไม่สำเร็จ  มันเกิดจากสาเหตุใด.....กันแน่

               ส่วนมากเกษตรกร เมื่อพบอาการที่เกิดขึ้นกับส่วนใดของลำไย ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ก็จะนำปัญหานี้ไปปรึกษากับผู้มีประสบการณ์ หรือนักวิชาการ หรืออาตี้ อาหมวยร้านขายยา

               แต่ก่อนจะไป มักจะคำตอบที่มักจะเกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวของเกษตรกรเองเป็นส่วนใหญ่  ที่อาจเข้าใจ หรืออาจไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของโรค และแมลงที่กำลังสร้างปัญหาให้กับลำไยอยู่ในขณะนั้น  

                แ่ละก่อนจะมาปรึกษาหารือกับผู้รู้  หรือผู้มีประสบการณ์  ก็มักจะแวะเอาปัญหานี้ไปพูดคุยกับเพื่อนบ้าน ที่อาจทำสวนลำไย หรือไม่ได้ทำสวนลำไยเลยเช่นเดียวกัน  

                โชคดีเจอเพื่อนบ้านที่มีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องก็ดีไป แต่ถ้าดันไปเจอเพื่อนบ้านประเภทอยากมีส่วนร่วมในการออกความเห็น  กลัวว่าตนเองจะไม่เป็นที่สนใจ  กลัวว่าตนเองจะดูว่าโง่  หรือไม่รู้อะไรเลย  ก็ขอผสมโรงให้ความคิดเห็นด้วย   ก็อาจมีทั้งที่ รู้จริง  รู้งูๆ ปลาๆ  หรือทำนองว่า "ตูไม่รู้...แต่ขอทำเป็นรู้ไว้ก่อน"  เพื่อให้ได้รับความสนใจบ้าง  ในที่สุดความรู้ที่เกษตรกรได้รับ อาจไม่ถูกต้องไปเสมอไป....นั้นเป็นประเด็น  

               ชาวบ้านที่ให้ความเห็นเหล่านั้น  หลายคนไม่เคยปลูกลำไย (มีแต่ตัดไม้ลากมาขาย)  หลายคนไม่เคยมาที่สวนลำไยของเกษตรกรเลย  แต่กลับเอาปัญหาที่ได้รับฟัง  หรืออาจจะเคยได้พบเห็นสวน่ลำไยของตนเอง (ถ้าเคยปลูก) ยกเอามาเปรียบเทียบ แล้วก็ วินิจฉัยให้....เสร็จสรรพ  โดยไม่คำนึงถึงความรู้ของตนเอง หรือบริบทภายในสวนลำไยของตนเองเลยว่า  จะเหมือน หรือคล้ายคลึง กับบริบทสวนของเกษตรกรที่ได้นำปัญหามาปรึกษาด้วยเลย.....นั้นก็อีกประเด็น

               แต่ไม่ว่าจะเกิดจากอะไรขึ้นก็ตาม  ปัญหาเหล่านั้นจะเริ่มต้น สรุปคำตอบวิธีการแก้ปัญหา ที่ตัวของเกษตรกรเองก่อนเป็นอันดับแรก   ซึ่งมักจะคิดเอาเองเสมอว่า "เกิดจากสาเหตุ...อะไร"   บางคนมั่นใจเกินไป  "ตูว่า ตูคิดถูก....แระ"  ไม่ต้องไปปรึกษาใคร ไปถึงร้านก็สั่งยาเองเลย  กลัวเสียฟอร์ม  ไม่ยอมแม้แต่จะถามว่า ยานี้ใช้เพื่ออะไร และจะผสมอัตราส่วนการใช้ หรือช่วงเวลาก็ใช้....แต่อย่างใด

               เกษตรกรบางรายคิดเอาเอง และเิริ่มหาแนวร่วม หาคนรับผิดชอบ หากทำผิดพลาด  ด้วยการเดินสอบถามเพื่อหาแนวร่วมความคิดเห็นที่จะสนับสนุนความคิดของตนเอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ แต่พอได้รับคำตอบที่ไม่เหมือนกับใจที่ตัวเองคิด ก็พาลทะเลาะไม่รับฟัง  แล้วก็เดินไปถามหาความเห็นคนอื่น ต่อจนกว่าจะได้ความคิดที่สอดคล้องกับตนเอง  แบบว่าไม่ยอมรับความเห็นแตกต่าง  เกษตรกรที่ทำแบบนี้...ทำอย่างนี้ก็....อนาคต...คงไม่เจริญ....ค่ะ

               คนที่เกษตรกรไปปรึกษาด้วย ก็มักจะเริ่มจากคำถามที่ว่า "เกิดอะไรขึ้นกับสวนของ...ึง"  เล่ามาดิ  หลังจากรับฟัง ก็จะวินิจฉัยเอาตามประสบการณ์ของตนเอง  ที่เชื่อว่าตนเองคิดถูกต้อง ว่าอาการแบบนี้  มันเกิดจากสาเหตุอย่างนั้น....อย่างนี้  ทำตัวเป็น "กูรู...ผู้รู้ ผู้เจ๋ง" 

               มีหลายคน ที่ทำตัวเป็นหมอลำไย  ถ้าแบบว่าเรียนจบสาขาเกษตรมา แล้วเปิดร้านขายยา  มีใบปริญญาตรี โท หรือถึงขั้น ปริญญาเอก ว่าจบ "พืชสวน พืชไร่" มาแปะ อย่างนี้ก็จะดูเป็นนักวิชาการที่น่า่เชื่อถือ...มากๆ  

               แต่ก็มีหลายคนนะ ที่พอจบมหาลัยเกษตรศาสตร์มา...ปุ๊ป ก็เอาใบปริญญามาติดหน้าร้าน...ปั๊ฟ  ว่าฉันจบมหาลัยเกษตรศาสตร์  หรือมหาลัยแม่โจ้ มานะ ฯลฯ   แ่ล้วก็จะเปิดร้านขายยาได้ 

               ดูๆ  ก็น่าจะทำได้...นะคะ  ตามบ้านนอก ชายแดนอย่างบ้าน...ของหนู    แต่พอไปอ่านละเอียดในเอกสารการจบ  อ้าวพี่จบเศรษฐศาสตร์  จบคหกรรม  จบพละ จบ..... ฯลฯ  มาเหรอ  ไม่เห็นมีอะไร ที่เกี่ยวกับการเกษตร....โดยตรงเลย

               เอาเป็นว่า  ไปที่ร้านขายยา ขายปุ๋ยแล้ว  เ่ขาก็วินิจฉัย แล้วก็หยิบปุ๋ย หยิบยา หรือสารเคมี ที่ตนเอง (เน้นคำ..นะคะ ว่า "ตนเอง")  เชื่อว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้   ส่วนจะผิดหรือถูก  กว่าจะรู้ได้  ก็ต่อเมื่อได้นำมาใช้ในสวนของเกษตรกรแล้ว ว่าจะได้ผล หรือเสียเงินเปล่า

               อืม...ส์  เขียนถึงตรงนี้ ก็ให้ต้องหันทบทวนตัวเราเอง ว่า....

จะเข้าข่าย  เป็น....กูรู...หมอเจ๋ง หรือเป็นหมอลำไย...

ไปกับเขาด้วย..หรือเปล่านะ  

               เอาน่า.... มั่นใจหน่อย  อย่างน้อยก็เรียนในคณะเทคโนยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี  มาแถมได้  A พืชศาสตร์ และอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร....อีก ตะหาก 555

               ประวัติก็ดูน่าเชื่อถือ (คิดเอาเอง) ทำไร่ข้าวโพดมาตั้งแต่ ม.1  หาความรู้เรื่องลำไยมาตั้งแต่ ม.3 ขุดดิน...ปลูกต้นกล้าลำไย ตอนเรียน  ม.4  แต่เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ เลยทำต้นกล้าลำไยตายไปครึ่งสวน....ก็เคยมาแล้ว  (โห...อ่านถึงตรงนี้จะเชื่อ คนเขียน....ดีไหมเนี๊ยะ...555)  แต่หนูก็ไม่เคยยอมแพ้  หามาปลูกใหม่ก็ได้   ต่อมาก็ปลูกให้น้าอีกประมาณ 800 ต้น  คราวนี้ตายไป 3-4 ต้นเอง ผลผลิตปีเก็บขาย ก็เสียโง่ โดนคนรับซื้อโกง  ก็ถือเป็นประสบการณ์ เอาได้มาเล่าให้เกษตรกรมือใหม่ฟัง เพื่อให้รู้ และระมัดระวังกัน....เอาเอง   

               ปีนี้ทำ่ลำไยรุ่นใหม่ก็มาเจอกะพายุฤดูร้อน ก็หาวิธีป้องกันต้นลำไยของตนเองจนไม่เกิดความเสียหายแม้แต่ต้นเดียว   ทุกวันนี้มีแต่้คนทำตาม (จากที่เคยหัวเราะเยาะเด็กๆ อย่างเราว่าทำไร เว่อร์ๆ) 

               ปีนี้อากาศแปรปรวน ร้อนจัด ฝนกระหน่ำ แถมพายุฤดูร้อนอีก  พอตกดึกก็หนาวจัด  ลำไยที่ราดสารเดือนมีนาคม-เมษายน ปรับตัวกันไม่ัทัน   ทำให้สวนลำไยในเขตสอยดาว และโป่งน้ำร้อน ไม่ยอมออกดอก  ที่ออกมาได้แล้วดอกก็ร่วงไปมาก พ่อค้าที่มาเหมามืด  ก็เลยหน้ามืดกันเป็นแถวๆ  เพราะขาดทุนแน่นอน

               ปีนี้คงมีรายการมาขอล้วงเก็บลูกลำไย พอให้ขาดทุนน้อยที่สุด...ค่ะ  กล่าวคือเขาจะขอทะยอยเก็บลำไยไปก่อน แล้วสัญญาว่าจะมาเก็บใหม่ พร้อมทั้งจ่ายเงินเหมาที่เหลือให้  แต่เกษตรกรอย่าได้คิดว่าเขาจะยอมกลับเสียเงินให้ครบ...นะคะ   

               โชคดีถ้าเป็นคนรู้จักกัน ก็อาจจะเจอลูกออดอ้อนขอเปลี่ยนสัญญา เป็นชั่งกิโลขายแทน  ไม่ก็มาฟอร์มเฉยๆ พร้อมกับคำพูดที่สร้างความมั่นใจว่า  "ไม่เป็นไร ทุกอย่างเป็นไปตามสัญญา  แต่ว่าวันนี้จะขอทะยอยเก็บก่อนนะ" ว่าแล้วก็ล้วงไปแต่ลูกสวยๆ แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย ปล่อยให้เกษตรกรรอคอยจนลำไยร่วง เก็บไปขายต่อไม่ได้ราคา

                ยกเว้นเกษตรกรใจแข็ง บังคับให้คนเหมาจ่ายเงินสดทั้งหมดก่อนที่จะเข้าเก็บลำไย  ไม่อย่างนั้นก็ไม่ให้เก็บเลย แล้วก็ยึดเงินมัดจำด้วย   วิธีการนี้ดูโหดกับคนรับซื้อน่าดู   หลีกเลี่ยงการทะเลาะกัน....นะคะ   ถ้าคิดจะใช้วิธีนี้ ต้องพาพวกไปเยอะๆ ค่ะ  เผื่อว่ามีรายการมวยหมู่  หรือไม่ก็ให้ไปช่วยเก็บศพเกษตรกร หรือผู้รับเหมา...อะค่ะ 

               แต่ถ้าให้ดีเอาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยืนรับฟังเป็นพยาน และป้องกันการทะเลาะวิวาทหน่อยก็น่าจะดี   ส่วนมากเกษตรกรมักจะเห็นใจคนรับซื้อ ยอมผ่อนผันให้  แต่พอหวนคิดถึงเวลาลำไยราคาดี ผลผลิตจำนวนมาก เก็บได้มากมีกำไร ไม่เคยเห็นคนเหมาซื้อ จะจ่ายเงินเพิ่มให้เกษตรกรเลยแม้แต่....สักราย 

               ปีนี้ส่วนสวนลำไยของยุ้ยก็ราดสารเดือนมีนาคมค่ะ  ก็เจออากาศเหมือนคนอื่นๆ เขา  แต่ว่า มันก็ออกทุกต้นเลยค่ะ  แต่ว่า....มันดันไม่ยอมออกมาพร้อมค่ะ   ราดสารลำไยเที่ยวนี้มีออกดอก 3 รุ่้น  ปีนี้ก็เลยต้องทำลำไยหลายๆ รุ่น ไปพร้อมๆ กันภายในสวนเดียว    

               ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์สุดยอดเลย ทั้งแม่ ทั้งพ่อ ทั้งหนู....ต้องระมัดระวัึงอย่างมากในเรื่องของการดูแลลำไย ต่างรุ่นภายในสวนเดียวกัน  อย่างน้อยดอกลำไย....ก็ไม่ร่วงค่ะ 

              ตอนแรกๆ  ก็ว่าจะตัด่ยอดทิ้งทั้งหมดดีไหม เลี้ยงใหม่อีกสักยอดหนึ่ง แล้วค่อยราดสารฯ ใหม่   มันก็ทำได้...นะคะ ตามหลักการ แต่มันก็น่าเสียดายทุึนที่ได้ลงไปแล้ว  อย่างน้อยเขาก็ออกดอกมาให้เราแล้ว เยอะด้วยสิ  อีกประการผลผลิตแต่ละรุ่นถ้าขายก็รับเงินหมื่น เงินแสน...ทั้งนั้น  เรื่องนี้รอไว้สรุปว่าทำได้แค่ไหน คงได้นำมาเขียนเป็นบทความเล่าสู่กันฟังอีก...ค่ะ

              ได้ประสบการณ์อะไร ศึกษาอะไร ยุ้ยก็เอามาเล่าสู่กันฟัง ให้กับเกษตรกรมือใหม่กว่าเรา  ถ้ามีโอกาสได้อ่านก็จะรู้ว่าเราก็เกษตรกรมือใหม่  ได้พบเจออะไรมาบ้าง บอกให้รู้กัน จะได้เตรียมทำใจไว้ก่อน  แต่สำหรับคนที่ประสบการณ์การทำลำไยสูงกว่ายุ้ย  หรือมีความรู้มากกว่า  เขาอาจจะมองว่าเราไม่ได้รู้จริงอะไรนักหนา...ไม่ว่ากัน...ค่ะ  ยุ้ยก็เขียนไปตามที่คนเองได้เรียน ได้เคยทำมา ไม่ได้บอกว่าถูกทุกเรื่อง...ซะหน่อย

               ในความคิดของยุ้ย คนที่บอกว่าตนเองรู้ จะแสดงออก 3 ลักษณะ....คือ

                        1. พวกหลงตน  คิดว่าตัวเอง รู้จริงแต่ไม่ยอมเผยแพร่  แต่ชอบอ้างว่าผมเป็นคนรู้น้อย

                            พวกนี้ดูเหมือนคนถ่อมตัว แต่จริงๆ แล้ว น่าจะเป็นเพราะตัวเองกลัวว่า ท้ายที่สุด ตนเองไม่ได้รู้

                            อะไรจริงๆ...เลย

                        2. พวกขี้...งก  พวกนี้เก่ง และรู้จริงๆ  แต่...งกเงิน ทำอะไร เป็นการค้าไปหมด

                            พวกนี้ส่วนมากรวยมาแต่เกิด ถ้าเคยจน คงไม่ทำแบบนี้

                        3. พวกฟอร์มดี พวกนี้นิสัยไม่ดี ซึ่งความจริงพวกนี้โง่ไม่ได้รู้อะไรเลย ทำเป็นฟอร์มว่ารู้แต่ว่าไม่อยากพูด          

                 ส่วนพวกที่บอกว่าตนเองไม่รู้นั้น ก็แสดงออกอีก 3 ลักษณะ...คือ

                        1. พวกบอกไม่รู้ เพราะตนเองไม่รู้...จริงๆ  พวกนี้ นิสัยดีค่ะ ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ และไม่อยาก

                            แสดงความเห็นที่อาจผิดพลาดออกไป เพราะอาจทำให้คนอื่นเสียหาย

                        2. พวกบอกไม่รู้ เพราะอยากให้คนอื่นได้ทุกข์  ได้รับความรู้สึกที่ตนเองเคยเจ็บปวดมาก่อน 

                            พวกนี้มีความรู้่ มีประสบการณ์จริง แต่อยากให้คนอื่นได้เรียนรู้ ได้รับประสบการณ์อย่างที่ตนเอง

                            เคยได้รับมาแล้วบ้าง เช่น พวกนี้เข้าข่ายโรคจิต

                            การทำลำไยปีแรกไม่สำเร็จ  หรือการถูกโกง ต้องให้คนอื่นโดนโกงบ้าง

                        3. พวกบอกไม่รู้เพราะ กลัว  ไม่มั่นใจ  ไม่กล้าบอก  กลัวว่าใครจะมองว่าตนเอง

                            เป็นพวกอวดฉลาด พวกนี้ สมองเด็ก ลูกแหง่ ติดแม่ น่าเสียดายความรู้...ค่ะ

               แต่อย่างไรก็ตาม  ตัวเราไม่ได้อยู่้ในกลุ่มนี้หรอก  อาจจะอยู่ในกลุ่มพวกอยากดัง.... อยากให้คนรู้จัก  อืมส์ น่าจะใช่นะ   แต่อย่างไร เราก็ไม่ใช่คนหวงความรู้  และก็คงไม่ขี้ไก่...หรอกน่า  

               คิดเห็นผิด หรือถูก เราก็ยอมรับได้ตลอดเวลา   บทความเราก็พิมพ์ ก็แก้ไขปรับปรุงเสมอ  ก็บอกแล้วว่าเอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง  ว่าที่สวนบริบทแบบนี้  ฐานะเศรษฐกิจก็แบบนี้  ก็ต้องใช้วิธีการทำก็แบบนี้  ผลที่ได้ก็แบบนี้แหละ   อาศัยศึกษาหาความรู้  อ่านๆๆๆๆๆ ให้มากๆ   สังเกตมองหาปัญหา  ตั้งสมมุติฐานการแก้ปัญหา  ทดลอง จดบันทึก  วิเคราะห์เปรียบเทียบ  แล้วก็สรุป  แล้วก็กลับมาอ่านๆๆๆๆ ใหม่ วนไปเรื่อยๆ  

               เรื่องไหน ไม่แน่ใจก็เก็บไปถามท่านอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย  เลือกถามอาจารย์คนที่ท่านมีสวน และปลูกลำไยมาแล้ว....เหมือนกัน   แล้วก็เอากลับไปคิดๆๆๆๆ   วิเคราะห์ๆๆๆๆ  ปฏิบัติๆๆๆๆ  ได้ผลอย่างไร  ก็นำมาเขียน และปรับปรุงแก้ไขบทความตลอด  

               ตอนนี้ ก็อยู่ปี 3 แล้ว  รอว่า สักวันก่อน  เดี๊ยวจบ...ด๊อกเตอร์จะเขียนให้มากกว่านี้อีก  

                555....ว่าไป "จะจบป.ตรี" อ่ะป่าว.....ยังมะรู้...เล๊ย  

นอกเรื่องไปนาน ขอกลับเข้าเรื่องเดิมที่ตั้งใจจะเขียน

              พอเกษตรกรได้นำวิธีการ  นำปุ๋ย นำตัวยา หรือสารเคมี ตามที่ตนเองคิด  หรือที่ตนเองได้รับฟังจากผู้อื่น หรืออาเจ๊ก อาม๊า อาตี้ อาหมวยร้านขายยา ซึ่งผิวพรรณหน้าตาขาวจั๊ว (เนื่องจากตลอดชีวิต ไม่เคยออกแดดเดินเข้าสวนลำไยเลย  แต่กลับพูดรู้ดี ราวกับว่า ตนเองได้ทำสวนลำไยมาน๊าน...นาน ) หยิบมาให้เอาไปใช้ แล้วก็พูดว่า   เอ๊า..."เอาหนี้...ไป"  จากนั้นเกษตรกรก็นำไปใช้ แต่ว่าไม่ได้ผล  เมื่อกลับมาใหม่ ก็เล่าอาการใหม่  แล้วคนขายก็วินิจฉัยใหม่  แล้วก็ไปหยิบยามาแล้วบอกว่า อย่างนั้น เ๊อ๊า..."เอาหนี้...ไป"   ท้ายสุดแก้ปัญหาไม่ได้  ทำไม่สำเร็จ  ก็มีแต่หนี้สิน   ก็คงจะจริงอย่างเขาบอกตอนแรกๆ ที่ไปรับยามา คือเอามาแต่.."หนี้"..จริงๆ 

              เกษตรกรบางรายโชคร้าย ซ้ำสอง หลังจากเสียเงิน เสียเวลา เสียค่ารถไปซื้อยาผิดประเภทมาใฃ้แล้ว  และก็แน่นอนมันใช้ไม่ได้ผล  เพราะแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุดแล้ว  ยังลุกลามก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับต้นลำไย ของเกษตรกรทั้งในระยะสั้น เ่ช่นทำทำให้ผลผลิตเฉพาะในปีนั้นๆ เสียหาย   หรือว่าก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาว เช่นใช้แล้วกลับทำให้ลำไย มีแต่ใบหงิกงอทั้งต้น  ในที่สุดก็ต้องริดใบ หรือถึงขั้นตัิดกิ่งทิ้งกันเลย  แล้วยังต้องมาเสียค่าปุ๋ย หรือแรงงาน เพื่อบำรุงพื้นฟูกันอีกหลายปี  กว่าจะสามารถให้ลำไยออกผลผลิตในปริมาณที่เท่าเดิมได้

             ความเสียหายทีเ่กิดขึ้นนั้น  บางครั้งไม่ได้เกิดจากการเลือกใช้ปุ๋ย หรือยาผิดประเภท  แบบว่าได้ยามาถูกต้องตรงกับโรคภัยของต้นไม้แล้ว    แต่ว่ามันพลาดตรงเกิดจากการใช้่ยานั้นๆ  ผิดวิธี  หรือใช้ผิดช่วงเวลามากกว่า   นี่ก็เป็นอีกประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน

             ว่ามาซะยาวจะสรุปว่า  อาการที่เกิดขึ้นกับต้นลำไย หรือต้นไม้ชนิดต่างๆ นั้น  มักจะมีปัจจัย หลายสาเหตุ  ประกอบร่วมกัน  ดังนั้นการสังเกตุบริบทภายในสวนของเกษตกรเอง  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และถือว่าสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาได้ถูกจุด...จริงๆ

             ดังนั้น....เรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้  จะว่าด้วยเรื่อง "ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการ หรือโรคของพืช"  โดยจะเขียนรวมๆ ในภาพกว้างๆ  เชิงพูดคุยกัน  เพื่อให้เกษกรนำไปพิจารณาดูว่า แนวโน้มใดกันแน่ ที่จะทำให้เกิดโรคกับพืช หรือต้นลำไยของเกษตรกร"....ค่ะ

              แต่ถ้าเราไม่รู้การแก้ปัญหาจริงๆ  อย่างน้อย ก็สังเกตสภาพแวดล้อม หรือบริบทภายในสวนลำไย  ไปเล่าประกอบการขอรับคำปรึกษา เพื่อให้บรรดากูรู หรือหมอเจ๋ง หมอลำไย หรืออาเจ๊กร้านขายยาที่กล่าวมาทั้งหมด แต่ต้องหมายถึงผู้ที่มีความรู้จริงๆ...นะคะ เพื่อให้เขาเหล่านั้นใช้ได้ประกอบการวินิจฉัย เพื่ออาจจะหาทางแก้ปัญหาให้กับท่านเกษตรกรได้....อย่างตรงจุด...ก็แล้วกัน...ค่ะ

              แต่ถ้าไปเจอพวกให้ความเห็น แต่ไม่รู้จริง แล้วทำให้สวนลำไยท่านแย่ลงไปกว่าเดิมอีก ก็ขอให้ถือซะว่า ปีนี้เกษตรกรโดน"แมงมั่ว ลงสวนละกัน" ..... 555 

เฮ้อ... ขำไรนักหนา  เรื่องน่าเศร้า...จะตายไป        

แมงพวกนี้ จะใช้ยากำจัดประเภทไหน....ดีนะ

หลอกให้อ่านมาซะตั้งนาน  ข้างต้น...น่ะ  บ่น...ค่ะ...บ่น 

เจอ "แมงหลอกให้อ่าน" เ่้ข้าให้แล้ว...อิ..อิ..

 

ถัดจากไปนี้ไป  จะเป็นเนื้อหาส่วนของความรู้จริงๆ...ค่ะ  

"ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการ หรือโรคของพืช"

ติดตามต่อ...นะคะ  ไม่หลอกให้อ่านนาน เหมือนเที่ยวนี้หรอก

ยังไม่จบ...มีต่อ... แต่ขอพักก่อน...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 536436เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลุงทำสวนลำไยอยู่ที่ จ.พะเยา
สวนเพิ่งซื้อต่อคนอื่นมา ต้นลำไยอายุได้ประมาณ 10 ปีเศษ
ๆ แล้ว ก็ทำเกือบทุกอย่างหละ ทั้งราดสาร พ่นสาร ให้ฮอร์โมน ใส่ปุ๋ยทั้งเคมี
และอินทรีย์ ก็ได้ผลพอสมควรแหละครับ ตอนนี้เข้าสู่ระยะมะเขือพวงขนาดเล็กแล้วแหละ
แต่ที่อ่อนใจก็คือ แมลง กวนมาก บางต้นกินใบไปเกือบครึ่งต้น แต่ดีเท่าที่สังเกตดู
ผลลำไยไม่เป็นไร คิดว่านะ น่าจะเป็น แมงนูน(ภาษาทางเหนือ ประเภทแมงค่อมทอง) แมงแกง
(ตัวสีดำเล็ก ๆ ยาว ๆ) เนื่องจากว่ามันมาตอมไฟฟ้าที่บ้าน(อยู่ติดกับสวน)
แต่ไม่เคยเห็นที่ต้นลำไยสักที(น่าจะดูไม่ทัน) เลยมาขอคำปรึกษาจากคุณยุ้ยดู
ว่า มันเป็นผลงานของแมลงชนิดไหนกันแน่
หรือท่านใดพอทราบขอคำตอบเป็นวิทยาทานหน่อยนะครับ กลัวลำไยตายทั้งต้นก่อนจะได้ขาย

(อนบภาพไม่ได้ ไม่ทราบวิธีการครับ ใช้วิธีก็อปปี้ ก็ไม่ได้ผล เลยโพสต์มาแต่ข้อความ)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท