รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

ว่าด้วยเรื่อง..บทอาขยาน(บด-อา-ขะ-หยาน)



      วันนี้ทำความเข้าใจกับนักเรียนเรื่อง  การท่องบทอาขยาน  ตอบคำถามของ

นักเรียน  ว่า "ทำไม...นักเรียนต้องท่องบทอาขยาน" ซึ่งนักเรียนก็เข้าใจดี และเมื่อครู

จัดกิจกรรมให้นักเรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข ท้ายที่สุด นักเรียนรู้สึกสนุกกับการท่อง

บทอาขยาน สัญญากับครูว่าจะท่องบทอาขยานให้จำ และจะท่องให้ครูฟังทุกวันหลัง

เลิกเรียน


บทอาขยานที่กำหนดให้ท่อง  แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. บทหลัก เป็นบทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดให้นักเรียนแต่ละชั้น

ท่องในแต่ละภาคเรียนเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วประเทศ  บทหลักนี้ทุก

โรงเรียนจะต้องดำเนินการให้นักเรียนท่องทุกวัน 

๒.บทรอง เป้นบทอาขยานที่ครูผู้สอนหรือสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดให้นักเรียนท่อง  

อาจเป็นบทร้อยกรองที่แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก  

เพลงเรือ  หรือบทกวีร่วมสมัยที่มีคุณค่า  บทรองนี้ นักเรียนจะต้องท่องภาคเรียนละ ๑ 

บทเป้นอย่างน้อย

๓. บทอิสระ เป็นบทอาขยานที่นักเรียนสามารถเลือกสรรบทร้อยกรองมาท่องเองได้

ตามความชื่นชอบส่วนตัว อาจเป็นบทร้อยกรองที่นักเรียนหรือผู้ปกครองแต่งขึ้นเอง

ก็ได้ แต่ต้องมีความเหมาะสม ไม่หยาบโลน บทอิสระนี้ นักเรียนจะต้องท่องภาคเรียน

ละ 1 บทเป้นอย่างน้อย


รายการบทอาขยานบทหลัก ระดับประถมศึกษา

ช่วงชั้นที่ ๑ 

( ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑-๓ ) บทหลัก   มีดังนี้

  •  แมวเหมียว
  • ฝนตกแดดออก
  • กาดำ
  • รักษาป่า
  • เด็กน้อย
  • วิชาหนาเจ้า

 บทเลือก  มีดังนี้

  •  นี่ของของเธอ
  •  รักเมืองไทย
  •  ไก่แจ้
  •   สักวา
  •   ความดีความชั่ว
  •   ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน

  ช่วงชั้นที่ ๒

  ( ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔-๖ บทหลัก มีดังนี้

  •  พระอภัยมณี  ตอน สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
  •  สยามานุสสติ
  •  วิชาเหมือนสินค้า
  •  สังข์ทอง  ตอน กำเนิดพระสังข์
  • ขุนช้างขุนแผน  ตอน  กำเนิดพลายงาม
  •  โคลงโลกนิติ

    บทเลือก มีดังนี้

  • พฤษภกาสร
  • ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา
  • ไทยรวมกำลังตั้งมั่น
  •  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  •  ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
  •  ผู้ชนะ
  •  เป็นมนุษย์หรือเป็นคน
  •  วิถีเด็กไทย
  •  ฟังใดได้รู้เรื่อง
  •  ดวงตะวัน


หมายเลขบันทึก: 536177เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ครูอิงค์ครับ ตอนนี้การท่องอาขยาน กลับมาสู่หลักสูตรการเรียนของเด็กอีกแล้วหรือครับ ถ้าเป็นจริง นับว่าดีทีเดียว แต่ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ครูอิงค์ นำมาสอนเด็ก ๆ ผมก็ถือว่าเป็นบุญของเด็กที่จะมีโอกาสได้เรียนแบบนี้ อยากอ่านบทอาขยานที่ครูอิงค์สอนเด็ก ๆ ด้วยครับ รออ่านนะครับ

สวัสดีค่ะน้อง

  • ครูอิงเริ่มสอนภาษาไทยมาตั้งแต่ปี 2530 ไม่ว่าจะใช้หลักสูตรฉบับใด  หลักสูตรจะกำหนดให้เด็กท่องอาขยานหรือไม่ ครูอิงก็ให้เด็กท่องอาขยานทุกปี ตามระดับชั้น  ชั้นละ 3-5 บท นอกจากนี้ยังนำ "นิทานร้อยบรรทัด" ที่ทรงคุณค่า ทั้งด้านภาษาและด้านการปลูกฝัคุณธรรม มาให้เด็กอ่านเสมอ ๆ พร้อมจัดทำเป็นแผ่นป้ายขนาดใหญ่ ติดไ้ว้ที่ผนังห้องเรียน และห้องสมุด ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่ให้กำลังใจ 

อยากให้เด็กท่องเหมือนกันคะ

ถ้าเป็นไปได้ พี่ครูอิงเขียนบทอาขยานลงด้วยนะค่ะ

โดยเฉพาะในวรรณคดีต่างๆ 


เป็นการรำลึกถึงความหลัง เท่าที่ติกจำได้

"อิ่มเอ๋ยอิ่มก่อน รีบจะไปดูละครโขนหนัง

ทิ้งสำรับคับค้อนไว้รุงรัง ให้คนอิ่มทีหลังไว้ล้างชาม

..........................................

ชอบค่ะ และอยากให้อนุรักษ์ไว้สำหรับเด็กๆ ในปัจจุบันด้วยค่ะ

อ่านรายชื่อแล้ว เหมือนจะท่องออกมาได้เกือบหมดเลยค่ะ ครูอิง อยากให้ครูอิงเอามาลงเก็บไว้ใน GotoKnow สำหรับคนที่มีเด็กให้ดูแลนะคะ เป็นบทอาขยานที่สนุกน่าจำทั้งนั้นเลยค่ะ ดีใจที่ได้เห็น อยากอ่านอีกค่ะ ดูซิว่าตัวเองจำได้จริงไหม นานมากจริงๆแต่ยังอยู่ในใจเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท