ความเป็นมา CSR ในประเทศไทย


ความเป็นมา CSR ในประเทศไทย

          การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหยั่งรากมานานหลายทศวรรษทั้งในตลาดสากลและในสังคมธุรกิจไทยเพียงแต่รูปแบบของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอนทแต่ละสังคม แต่ละเขตภูมิภาค มีปัญหา และ/หรือมีความต้องการที่ไม่เหมือนกันประเด็นทางสังคมก็ปรับเปลี่ยนไปตามโครงสร้างของธุรกิจและโครงสร้างทางสังคมที่พัฒนาตามยุคตามสมัย

         การพัฒนา CSR ในประเทศไทยเริ่มมีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า CSR เข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงใดแต่การขับเคลื่อนเรื่องการให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมเกิดขึ้นในกลุ่มเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือ Social Venture Network, Asia, Thailand ที่นำโดยคุณปรีดา เตียสุวรรณ์ อดีตประธานเครือข่าย และเครือข่ายสมาชิกชุดแรกๆแนวคิดตะวันตกในเรื่อง CSR ที่กล่าวมานั่นคือวิสัยทัศน์และพันธกิจเครือข่ายคือส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกทางธุรกิจที่นำไปสู่การเคารพสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงสิทธิของชุมชนและสังคม และการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่ยุติธรรมสำหรับทุกฝ่ายโดยตระหนักถึงความแตกต่างทางทรัพยากร โอกาสและศักยภาพที่เป็นจริงของแต่ละองค์กรบุคคลบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่การดูแลธุรกิจของตนเองแต่ยังต้องรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยหลักการทำการค้าที่มีความยุติธรรม
พร้อมๆกับการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีที่สุด และภายหลังจากการก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่นาน สภาองค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย(ECOT) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและกองเลขาในการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมและแนะนำหลักการ 10 ข้อ ของสัญญาโลกแห่งสหประชาชาติในหมู่สมาชิกของสภาและบริษัทไทยอื่นๆให้มีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งในปัจจุบันมีมากว่า 320 บริษัทไทย ที่เป็นสมาชิก สัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ

           ไม่มีแหล่งข้อมูลที่กล่าวถึงแรงจูงใจของบริษัทที่เป็นสมาชิกสัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ ถ้าวิเคราะห์ประเภทของธุรกิจบริษัทเหล่านี้แล้วส่วนใหญ่เป็นบริษัทส่งออกจึงอาจจะสรุปได้ว่าการเป็นสมาชิกสถาบันระดับสากลก็จะทำให้บริษัทเหล่านี้เทียบเคียงได้กับบริษัทในระดับโลกอื่นๆได้ แต่อย่างไรก็ตามบริษัทเหล่านี้กำลังเรียนรู้ที่จะเข้าใจ และสามารถนำหลักทั้ง10 ข้อมาใช้อย่างเข้าใจถ่องแท้ ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อมที่เริ่มจากองค์กรธุรกิจเชื่อมโยงเสริมสร้างห่วงโซ่ทางสังคมจนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ในปี พ.ศ. 2542 คำว่า
CSR ทำให้เกิดกระแสการทำ CSR พร้อมๆกับการเรียนรู้ค้นหาความหมายที่เหมาะกับสังคมไทย แม้ความรู้เรื่อง CSR จากอิทธิพลตะวันตก จะกล่าวถึงการสร้างสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญการของการทำตามกฎหมาย มาตรฐานแรงงานไทยการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มรส่วนได้ส่วนเสีย การบริหารจัดการที่โปร่งใสการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขุมชน และการส่งเสริมการให้ในภาคธุรกิจก็ตาม

           สังคมไทยอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญอันเป็นการเปลี่ยนวิกฤตความขัดแย้ง ความรุนแรง ฯลฯ มาสู่โอกาสความปรองดองและการปฏิรูปประเทศไทยภายใต้การทำงานของคณะกรรมการที่จัดตั้งโดยรัฐบาลทั้งสองชุดที่น่าสนใจคือ ผลจากการทำงานของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศด้วยการระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคม มีเรื่องภาคธุรกิจกับการปฏิรูปนำพลังจากทรัพยากรบุคคลที่มีพลังในภาคธุรกิจทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายภาคประชาสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญทั้งที่มีตัวแทนจากภาคธุรกิจเพียง 3 ท่าน จากคณะกรรมการทั้งหมด 27 ท่านการที่ประเด็นดังกล่าวได้รับการหยิบยกมาพิจารณาย่อมแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของภาคธุรกิจอันเป็นเสียงเรียกร้องให้ภาคธุรกิจแสดงบทบาทที่ไปไกลกว่าความอยู่รอดของธุรกิจโดยเชื่อมโยงการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการร่วมแก้ปัญหาสังคมในเวลาเดียวกัน




คำสำคัญ (Tags): #csr
หมายเลขบันทึก: 535719เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท