วันวิสาขบูชาวันสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา และเป็นวันสำคัญของโลก


วันวิสาขบูชาวันสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา และเป็นวันสำคัญของโลก ในปีพุทธศักราช 2556 เป็นปีมะเส็ง ปีนี้วันวิสาขบูชาตรงกับวันศุกร์ที่ 24 เดือนพฤษภาคม 2556 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ วันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะว่าเป็นวันอัศจรรย์ที่สำคัญวันหนึ่งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 3 เหตุการณ์ในวันเดียวกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้ว่า "วันวิสาขบูชาหรือวิสาขปูรณมีบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเป็นวันสำคัญของโลก" ของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เป็นวันหยุดราชการของประเทศไทย ในหลายประเทศก็ถือโอกาสวันนี้เป็นวันหยุดราชการเช่นกัน ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตามและในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กล่าวโดยสรุป...ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน.

รูปภาพ

รูปภาพ

ถูกใจ · 

คำสำคัญ (Tags): #วันสำคัญของโลก
หมายเลขบันทึก: 535205เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตถามความเห็นท่านอาจารย์ครับ

ผมเพิ่งมาสังเกตว่าในปีที่แล้ว วันวิสาขบูชา เฉพาะในประเทศไทย ไปจัดไว้ในเดือน ๗ (และ วันมาฆบูชา ไปไว้เดือน ๔) ไม่ใช่ในประเทศอื่นๆ เช่น ศรีลังกา พม่า ฯลฯ ซึ่งผมเช็คดูแล้ว เขาก็ไว้เดือน ๖ (และเดือน ๓) เหมือนปกติ เห็นว่าไม่ถูกต้อง แม้จะอ้างว่าเป็นปีที่มีเดือนแปดสองหนก็ตาม แต่ว่า มาฆบูชาและวิสาขบูชา มาก่อนเดือน ๘ ก็ไม่น่าจำเป็นต้องไปเลื่อน ผมว่าคนจัดทำปฏิทินในเมืองไทยทำผิดในปีที่แล้ว ไม่ทราบว่า ท่านอาจารย์เห็นอย่างนั้นหรือเปล่าครับ

พระอุปัชฌาย์ผมที่อีสานท่านบวชมากว่า ๕๐ พรรษา ท่านถือตามเดิมของท่าน มาฆะ อยู่เดือน ๓ วิสาขะ อยู่เดือน ๖ ปรากฎว่าญาติโยมไม่รู้กัน คนบางส่วนมาทำบุญที่วัดช้าไป ๑ เดือน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท