แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการใช้กระบวนการ 6 ขั้น พัฒนานักเรียนให้อ่านออกเขียนได้


           การประชุมอบรมครูระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-3  พฤษภาคม  2556 ที่สพป.มค.1 โดยท่าน  ศึกษานิเทศก์ที่ดูแลคือ  คุณสุรางค์  เพชรกอง ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนคือ คุณครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านหินลาด  ตำบลท่าสิงคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

            รู้สึกดีใจและเป็นความโชคดีที่ได้รับโอกาสจากท่านศึกษานิเทศก์ ให้นำกระบวนการที่ใชัดูแลนักเรียน

พิเศษเรียนร่วมไปแลกเปลี่ยนกับคณะคุณครู จากอำเภอเมือง  อำเภอบรบือ  อำเภอแกดำ  และอำเภอกันทรวิชัย

แต่ก็มีความกังวนว่าสิ่งที่ทำจะนำไปแลกเปลี่ยนในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์หรือเปล่า เพราะคุณครูทุกท่านล้วนเป็น

ผู้ที่มีประสบการณ์

              การอ่านไม่ออกเขียนสะกดคำไม่ได้เป็นปัญหาที่ได้ยินมานาน  และเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา

เรียนรู้ตลอดชีวิต ยิ่งในยุคโลกไร้พรมแดน สื่อเทคโนโลยี ข่างสารข้อมูล องค์ความรู้ขยายขอบเขตแบบเท่า

ทวีคูณ แล้วเด็กยังขาดเครื่องมือที่เป็นทักษะต่อการเรียนรู้อะไรจะเกิดขึ้น  ใครจะช่วยเด็กเหล่านี้  จะช่วย

อย่างไร  และที่สำคัญจะช่วยได้สำเร็จไหม

           การดูแลนักเรียนพิเศษเรียรร่วมมาแล้ว  4-5 ปี จากการสังเกตความก้าวหน้าในการอ่านการเขียน

ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ  เพราะมีการพัฒนาน้อยมากแสดงว่าครูก็เป็นครูพิเศษเมือนกัน ต้องทำอะไรให้เป็นระบบ

มากกว่านี้ จึงคิดออกแบบเครื่องมือในการช่วยเหลือ  มีคนนำเครื่องมือนี้ไปใช้  เด็กพิเศษเรียนร่วมต้องร่วมมือ 

 การดูแลต้องต่อเนื่องเพื่อดูผลการพัฒนา ดูแลอย่างใกล้ชิด ดูแลด้วยความเอาใจใส่  ใส่ความรักความเมตตา

ลงไปในกระบวนการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ให้เวลาให้โอกาสให้เขาได้พัฒนาเรียนรู้อย่างมีความสุข กระบวนการ

เรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เพราะเขาเรียนรู้อย่างเต็มใจ

            การใช้กระบวนการ 6 ขั้นในการพัฒนานักเรียนให้อ่านออกเขียนได้

 ขั้นที่ 1 การอ่าน

ขั้นที่ 2 การเขียนคำ

ขั้นที่ 3 การคัดลายมือ

ขั้นที่ 4 นำคำไปแต่งประโยค 

ขั้นที่ 5 นำคำไปจำแนกส่วนประกอบของคำ

ขั้นที่ 6 การเขียนอิสระ

(รายละเอียดอยู่ในถอดบทเรียนครูตุ๋ม)

กระบวนการ 6 ขั้นมีการเจริญเติบโตตามพัฒนาการของนักเรียน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ

         ระยะที่ 1 ฝึกให้อ่านออกเขียนได้

         ระยะที่ 2 ฝึกให้อ่านคล่องเขียนคล่องและรู้หลักภาษาโดยใช้แผนภาพความคิด

         ระยะที่ 3 ฝึกให้มีทักาธการอ่านการเขียนในระดับสูงขึ้นโดยใช้สมุดเล่มจิ๋วทำเป็นชิ้นงาน

 (การทำสมุดเล่มจิ๋วแบบต่างๆตามความสามารถของนักเรียนลงให้แล้วในบันทึก "ห้องเรียนแสนสุข"

          กิจกรรมแลกเปลี่ยนทั้ง 3 วันคุณครูตั้งใจรับฟังกระบวนการ 6 ขั้นและการทำสมุดเล่มจิ๋มอย่างตั้งใจ 

และมีการซักถามเพิ่มเติมแต่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ที่จริงแล้วกระบวนการ 6 ขั้น อย่างน้อยครึ่งวันหรือหนึ่ง

วันจึงจะเห็นกระบวนการเพราะมี 3 ระยะ  และทำสมุดเล่มจิ๋วอีกหนึ่งวันเพราะสมุดเล่มจิ๋วก็มี 3 ระดับ

 คือชุดพื้นฐาน 3 เล๋ม ชุดพัฒนาระดับ 2 มี 1 เล่ม ชุดพัฒนาระดับ 3 มี 2 เล่ม คือชุดคิดเชื่อมโยง 

 และชุดประสมคำ เป็นการฝึกคิดและเขียนให้รู้คำศัพท์เพิ่มตามบริบทนักเรียนเป็นสำคัญ 

         คุณครูหลายท่านสะท้อนความคิดเห็นน่าชื่นใจว่าครูทำได้อย่างไร ในเวลาพักเที่ยงและมีคุณครูผู้ชาย

ท่านหนึ่งได้รับมอบหมายให้สอนภาษาไทย ป.3 จะขอเปลี่ยนว่าจะสอนอย่างไร  แต่พอฟังกระบวนการดูแล

เด็กพิเศษจบท่านยกมือขอพูดความในใจ  บอกว่าผมจะสอนต่อเพราะได้แรงบันดาลใจจากคุณครูตุ๋ม

ว่าสอนเด็กพิเศษท่านก็ยังสอนได้   และสอนอย่างมีความสุขสอนด้วยหัวใจของครู ผมจะสอนต่อ วันนั้น

การแลกเปลี่ยนมีความสุขมาก  และอยากเห็นคุณครูนำกระบวนการต่างๆไปช่วยเหลือดูแลให้เขาหายหรือ

ลดจำนวนเด็กบกพร่องด้านการอ่านการเขียนลง  

            คุณครูค่ะการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ระดับประถมศึกษา)เป็นเหมือนรากแก้วของต้นไม้  ถ้ารากแก้วแข็งแรงสมบูรณ์ย่อมหาอาหารไปเลี้ยงลำต้นให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติและผลิดอกออกผลทำประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่นได้  แต่ถ้ารากแก้วอ่อนแอไม่มีใครเหลียวแลเอาใจใส่ต้นไม้เหล่านั้นจะเจริญเติบโตได้อย่างไร 


                    ท่านศึกษานิเทศก์สุรางค์  เพชรกอง กล่าวตอนรับ 

   

                                                                                

                            คุณครูซักถามปัญหาและวิธีช่วยเหลือเด็ก

      


                                    คุณครูใส่ใจกับการช่วยเหลือมาก                 


                                         คุณครูจากอำเภอบรบือ                      


                                              คุณครูจากอำเภอเมือง            


                      นักเรียนจิตอาสาร่วมอธิบายการทำสมุดเล่มจิ๋ว      


                                ครูอธิบายจิตอาสาร่วมสาธิตตามขั้นตอน


                               จิตอาสาช่วยทำให้คุณครูดูอย่างต้ังใจ


 

                                                          



       ฝากความหวังเล็กๆๆอยากเห็นครู  PLC  เกิดขึ้นในพื้นที่ สพป.มค.1


หมายเลขบันทึก: 535203เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท