Priyapachara
นางสาว ปรียาพัชร ตุลาเนตร

จากข่าว "การสอบบรรจุครู อีสานปี 2556 ส่อเค้าวุ่น "


          ผู้เขียน :: ปรียาพัชร ตุลาเนตร

         ข่าวนั้นกล่าวถึง การรับสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย ที่อยู่ในเขต ความรับผิดชอบของ สพม.หนึ่งในโคราช ซึ่งก็มีหลายจังหวัดรวมอยุ่ในเขตที่ว่านั้น บรรยากาศการรับสมัคร เป็นวันที่ 3 ค่อนข้างคึกคัก โดยเฉพาะวิชาเอกคอมพิวเตอร์ ในข่าวรายงานว่า ปัญหาคือ ไม่มีหน่วยงานในการจัดการออกข้อสอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว มี 4 ราชภัฏ 4 จังหวัด แต่ราชภัฏโคราชใหญ่ที่สุด ปฏิเสธการจัดออกข้อสอบเพราะอยู่ในช่วงจะต้องเปลี่ยนอธิการบดีพอดี  ส่วนราชภัฏอื่นๆแจ้งว่าไม่มีบุคลากรที่พร้อมในการจัดออกข้อสอบ ท้ายข่าวมีแจ้งว่าหน่วยงานรับสมัครนั่น จะเป็นผู้จัดออกข้อสอบเองได้ เพราะก่อนนั้นก็เคยออกข้อสอบ พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดครู โรงเรียน และทราบสภาพปัญหาดีที่สุด

           ทีนี้ พอฟังท้ายข่าว มันสะท้อนอะไรไหมคะ  .....สำหรับผู้อยากเข้าสอบ...กลุ่มผู้เข้าสอบคงแบ่งหยาบๆเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ  คือ อ่านหนังสือทั้งปีทั้งชาติ รอสอบบรรจุ อยากเป็นครู  กลัวข้อสอบยาก  กับอีกกลุ่ม ที่อยากเป็นครู พร้อมเป็นครู มีความรู้ พร้อมทุกเมื่อ ใครจะออกข้อสอบก็ได้ ไม่กลัวข้อสอบยากง่าย  ถ้ายึดเอากลุ่มแรกจะชอบมากทีเดียว ถ้าหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษาจะจัดออกข้อสอบเอง ทั้งที่พวกเขาไม่รู้หรอกว่าข้อสอบจะยากหรือง่าย  แต่กลุ่มแรกจะยิ้มมาแล้ว  แต่ทีนี้มาว่าถึงกลุ่มที่สอง กลุ่มมีความพร้อม และมีความรู้จริงที่จะไปสอนคนเนี่ย ฟังข่าวนี้แล้วจะเริ่มหนักใจบ้างถึงมาตรฐานข้อสอบถูกไหม ในเมื่อสถาบันการศึกษาหลักๆที่ปลุกปั้นบุคลากรทางการศึกษายังไม่พร้อม  ไม่กล้าออกข้อสอบให้ได้ แล้ว หน่วยงานที่ว่านั้น จะเอาบุคคลากรจากไหน มาทำการออกข้อสอบได้ทุกรายวิชา การคัดเลือกอาจจะมาจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ระดับมัธยมในเขตนั้น ก็ทำได้ค่ะ ปกติดั้งเดิมก็น่าจะทำกันแบบนั้น ..แต่ทีนี้ เมื่อมีการรับสมัคร จะสอบ กระบวนการทุกอย่างต้องพร้อมถูกไหมคะ เพราะสนามสอบครูประจำปี ถือเป็นการสอบใหญ่ ไม่ใช่เทศบาล หรอเพิ่มเติม  หรือรอบพิเศษ กระบวนการออกข้อสอบให้ได้มาตรฐาน มีอีกมากมาย หลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอน ล้วนต้องใช้เวลา รวมทั้งต้องเก็บตัวผู้ออกข้อสอบให้มั่นใจได้ว่าข้อสอบไม่รั่ว ( ซึ่งส่วนใหญ่ก็รั่ว)

         สำหรับรายวิชาหนึ่งๆ คงต้องใช้อาจารย์  ผู้เชี่ยวชาญในสาชานั้นๆ หลายคน เพราะก็จะเป็นการป้องกันข้อสอบรั่ว คนนึงอาจจะออกเพียงไม่กี่ข้อ หรือออกข้อสอบไว้เท่ากันแล้วไปทำการเทสข้อสอบ หาค่าประสิทธิภาพ  ความยากง่ายของข้อสอบ แล้วคัดเลือกข้อสอบ คงใช้เวลาไม่น้อยเลย แล้วถ้าเกิดข้ามไป ไม่ใช้กระบวนการเหล่านี้ล่ะ  ก็คงแล้วแต่การรับได้ของศูนย์สอบนั้นแล้วล่ะ  แต่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญมากๆ มาทำการออกข้อสอบ ถ้าไม่อย่างนั้น คงได้เกิดปัญหา งง ข้อสอบ  งง  กับภาษาที่ใช้กับวิชาเอกนั้นๆ  

        อย่างเช่น การสอบวิชาเอกคอมพิวเตอร์ปีหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาษาคอมพิวเตอร์ มาถึงยุคก้าวหน้ามาก  มีโปรแกรมรองรับการเรียนรู้ การสร้างงานจากคอมพิวเตอร์มากมาย  หลากหลาย แต่ข้อสอบ ยังเป็น เพียงภาษาสมัย โลตัส 123 และการใช้ฟังก์ชั่นในโปรแกรมพื้นฐาน อย่างออฟฟิช คนออกข้อสอบ  ก็ไปแปลมันออกมาเป็นภาษาไทย  จนหมดจนสิ้น  เวลาเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เราไม่แปลค่ะ มันเป็นคำศัพท์เฉพาะ นะคะที่ต้องใช้ทับศัพท์ แต่เพียงแค่บังเอิญที่สถาบันคนออกข้อสอบต้องแปล  เพราะเด็กจะไม่รู้เรื่อง เป็นต้น  มาดูภาษาไทย กับภาษาอังกฤษกันบ้าง แน่นอนว่า มาถึงปัจจุบัน ปี 2556 วิวัฒนาการข้อสอบมาถึงขั้น การคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย คงไม่ใช่เพียงแค่ข้อสอบ คำถูก คำผิด เรียงประโยค ประเภทของคำ ตามหลักไวยากรณ์ และราชาศัพท์ เพียงเท่านั้น ข้อสอบทุกส่วนราชการ ทุกสนามสอบ มาถึงขึ้นวิเคราะห์บทความกันแล้ว แล้วบุคลากรที่จะออกข้อสอบด้านนี้ล่ะมีหรือยัง ดิชั้นคงยังขี้เกียจเข้ามาเสริชหาข้อมูลมาอ้างอิงให้ค่ะ  แต่ระดับหน่วยงานทางการศึกษามีข้อมูลอยู่แล้ว เกี่ยวกับ การสอบวัดความรู้ของครูแต่ละรายวิชา ทั่วประเทศ เขามีอยู่แล้ว  จากข้อมูลตรงนั้นล่ะค่ะ ต้องไปหาดูว่า  ทั้งจังหวัดคุณมีครูที่สามารถออกข้อสอบได้ถึงขั้นนี้หรือไม่  หรือมี  แล้วมีกี่คน 

         จากข้อมูลที่ยกมาข้างต้นนั้น มันทำให้คนฟัง อย่างประชาชนทั่วไป พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กที่มีลูกกำลังเรียน รวมทั้งตัวผู้จะเข้าสอบเองเป็นกังวล ถึงคุณภาพและมาตรฐานครูที่ได้ สอบสนามใหญ่ควรจะมีมาตรฐานเดียวกัน ...ถึงวันนี้ ปี 2556 ที่คิดจะยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู รวมทั้งออกระเบียบมากมาย หลายขั้นตอน ในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้มันดูยุ่งยาก  และพากันเอาระเบียบต่างๆมากาง ตอบคำถามกันเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกันเป็นตุเป็นตะนั่นน่ะ ....มันกี่ปีแล้วนะ  อันนี้เรียนตามตรงไม่ได้นับ อยากรู้จริงจึงถาม ...และมันสูงขึ้น และมีคุณภาพและมาตรฐานหรือยัง  ...

         ลองมองและคิดในมุมของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกกำลังเรียนบ้างนะ.....เมื่อจะหาครูสอน คอมพิวเตอร์ให้ลูก พ่อแม่ต้องถามจบคอมพิวเตอร์มาไหม คณะอะไร, ถ้าจะหาครูสอนภาษาไทย แน่นอนต้องจบเอกภาษาไทย และมีทั้งมาจากคณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาตร์ คณะศิลปกรรม  อักษรศาสตร์ เป็นวิชาที่หาได้จากหลากหลายคณะ  ถามพ่อแม่ต้องการแบบไหนกันดีจึงจะเก่งพอจะสอนลูกเขาได้, มาวิชาภาษาอังกฤษ ก็มาจากหลายคณะเช่นเดียวกับภาษาไทย พ่อแม่มักถาม  มาจากคณะมนุษยศาสตร์รึป่าวคะ  อักษรศาสตร์รึป่าวคะ, วิชา คณิตศาตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องจากคณะอะไร....ไม่ชี้นำ  ไม่อธิบายต่อ  ....แค่ฝากให้คิด...ว่านโยบายทางการศึกษา มาถูกทางแล้วจริงหรือ? ...

หมายเลขบันทึก: 534619เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีนะ

ภาพบล็อก น้ำตกที่ไหน ครับ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ...เป็นน้ำตกที่เซพมาจากเน็ตทั่วไปค่ะ  มันมีลายน้ำอยู่นะคะ  อ้างอิงมัน...แต่พอเอาลงแล้วไม่รู้เห็นรึป่าว  แต่เต้าไม่บอกน้ำตกที่ไหนค่ะ

เป็นบันทึกที่สะท้อนการศึกษาในสังคมไทยได้น่าสนใจ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์หมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท