มหิดลสุขภาพโลก



          ผมเขียนรำพึงรำพันเรื่องวิชาการด้านสุขภาพโลกไว้ ที่นี่  และที่ , ,    บัดนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้ง มหิดลสุขภาพโลก (MUGH – Mahidol University Globl Health)  ขึ้นมาทำงานวิชาการด้านสุขภาพโลก  โดยเน้นทำงานเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล  และร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ 

          เนื่องจากทีมของ MUGH จะไปประชุม CUGH ที่วอชิงตัน ดีซี ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ มี.ค. ๕๖  และถือโอกาสไปเยี่ยมศึกษาดูงานที่ George Washington University, Johns Hopkins University, NIH และ USAIDระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ มี.ค. ๕๖โดยมีผมร่วมในคณะด้วย  ผมจึงต้องเตรียมทำความเข้าใจเรื่อง Global Health เสียหน่อย 

          เริ่มจากเข้าไปอ่านเรื่องราวของ UCSF Global Health Sciencesก็พบว่าเป้าหมายของ UCSF GHS คือ พัฒนาสุขภาพและลดความไม่เท่าเทียมทั่วโลก  โดยทำงาน ๕ ด้านคือ (๑) การศึกษาและฝึกอบรม  (๒) หน่วยปฏิบัติการ  (๓) การป้องกัน และสาธารณสุข  (๔) ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  (๕) ภาวะผู้นำด้านสุขภาพโลก  โดยเข้าใจว่า เขานำเอางานเก่าด้านสุขภาพที่เคยดำเนินการใน UCSF มาจัดรูปแบบการทำงานใหม่ และดึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ UCSF Global Health Sciences

          มองอีกมุมหนึ่ง UCSH GHS เป็นกลไกให้ UCSF ทำงานด้านการพัฒนาสุขภาพ ในมิติของโลก  ซึ่งต้องทำแบบร่วมมือกับหลายฝ่าย   และที่สำคัญ ทำในฐานะที่ สรอ. เป็นประเทศที่เก่งทางด้านวิทยาศาสตร์  และเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก  

          หวนกลับมาคิดที่ MUGH เราก็ต้องทำงานในมิติของโลกเหมือนกัน  แต่คงจะทำบนฐานจุดแข็งของไทย  ที่เรามีระบบสุขภาพที่ดี  มีสถานะ Good health at low cost  ประเทศไทยเรามีสถาบันวิชาการด้านสุขภาพที่เป็นที่ยอมรับนับถือทั่วโลก  ในฐานะที่มีส่วนขับเคลื่อนระบบสุขภาพโลกสมัยใหม่  เช่นเรามี IHPP, HITAP, สวรส., สช., สปสช. และองค์กรภาคีเครือข่ายของ สวรส.  เรามี รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล  การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล  เหล่านี้เป็นกลไกการทำงานสุขภาพโลกทั้งสิ้น 

           เราจะไปประชุม4th Annual Meeting ของCUGHระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ มี.ค. ๕๖ ที่โรงแรม Marriott Wardman Park  ผมจึงเข้าไปหาความรู้ใน เว็บไซต์  และพบว่า เขาจัดกิจกรรม GH เป็น ๗ กลุ่ม ได้แก่

    • Education and Capacity Building in Global Health
    • Global Burden of Disease: Achievements, Outcomes, Metrics
    • Global Health Justice: Human Rights, Law, Policy and Ethics
    • Innovative Approaches and Technologies for Global Health
    • Innovative Financing for Global Health: Opportunities and Challenges
    • Global Environmental Change and Socio-Economic Determinants of Health
    • Enabling Systems for Effective Global Health Programs


          ผมจึงได้แนวความคิดว่า เขาตีความเรื่อง GH ว่า เกี่ยวข้องกับอะไรก็ได้ ที่มีผลทำให้ผู้คนในโลกมีสุขภาพดี  ผมจะไปฟังและทำความเข้าใจให้ชัด ว่าต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนมากหรือกว้างขวางแค่ไหน เขาจึงจะนับรวมเข้าเป็นเรื่อง GH

          สิ่งที่ผมตระหนักก็คือ เรื่องนี้หนีไม่พ้นผลประโยชน์หลายหลายรูปแบบ  ที่ไม่ใช่ผลต่อสุขภาวะอย่างแท้จริง ทั้งทางตรงและทางอ้อม  เวที GH ก็ย่อมมีมุมของการเข้าไปปกป้องผลประโยชน์  แสวงหาผลประโยชน์ ของฝ่ายต่างๆ   คือ GH ย่อมมีทั้งด้านบวกและด้านลบเมื่อมองจากมุมผลประโยชน์ของประเทศไทย 

          ผมลองเข้า เว็บไซต์ของ CUGH  เพื่อศึกษาว่าเขาทำอะไร  ได้มาดังนี้จึงได้แนวทางว่า GH ต้องมีลักษณะสหวิทยาการ  และต้องร่วมมือกันหลายแบบ หลายมิติ  เพราะ GH เป็นเรื่องซับซ้อน  และในขณะเดียวกัน  วิชาการด้าน GH ยังเพิ่งเริ่ม เพิ่งก่อตัว  ยังไม่เป็นสาขาวิชาการที่มีความชัดเจน  ฝ่ายต่างๆ ที่ริเริ่ม GH ต่างก็ยังคลำหาเอกลักษณ์ของ GH กันอยู่  ดังแสดงในเว็บไซต์ส่วน membership ดังนี้

          ทำให้ผมตระหนักว่า ในโลกส่วนที่พัฒนาแล้ว มีการขับเคลื่อนขอบฟ้าใหม่ของวิชาการไม่หยุดยั้ง  GH น่าจะพัฒนาขึ้นสนองโลกาภิวัตน์  และทำหน้าที่สร้างความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียม ระหว่างประเทศรวยและประเทศยากจน 

          ผมค้นพบ Global Health Europeแสดงว่าทางยุโรปก็มีการเคลื่อนไหวด้าน GH เช่นเดียวกัน

          นี่คือบันทึกเพื่อเตรียมตัวก่อนไป หรือ BAR ของการไปดูงานและร่วมประชุม ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๖ มี.ค. ๕๖


วิจารณ์​  พานิช

๑๐ มี.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 533974เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2013 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2013 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณหมอหลายคน อาจไม่รู้ว่า 

หน่วยงานแพทย์ที่ตัวเองมาประจำอยู่ มีเครื่องมืิออะไรบ้างที่อาจได้ใช้เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม และคนไข้

อาจมี ที่คนสั่งซื้อเครื่องมือ ไม่ทันได้ใช้ คนก็ย้ายไปที่อื่น คนใหม่มา ก็รู้ว่ามีเครื่องมือ หรือรู้่ แต่ใช้ไม่เป็น

ระบบต่างๆ มี  มาใหม่ เก่าย้าย อาวุโสมาก อาวุโสน้อย  อาจมีความสมถะ จนไม่กล้าเอ่ยปาก พูดไป2ไฟเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

ทำให้ทรัพยากรบางอย่างที่  ได้มา  ไม่ได้ใช้  ใช่ได้ไม่คุ้มค่า หรือ กลายเป็นขยะ  ไปเลย

เห็นแต่ข่าวประชุมวิชาการ  ยังไม่เคยได้เห็นข่าวเรื่องแบบนี้  หรือดิฉันมีเวลาอ่านข่าวน้อยไปก็ไม่รู้นะคะ

Innovation | Implementation | Impact.

ชอบความกระชับ จับใจของ theme งานประชุมนี้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท