อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ


สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
- อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวมทั้งเห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเข้าบัญชีเงินสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และเพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ข้าราชการและผู้รับบำนาญ จึงเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว รวมทั้งเงินบำนาญส่วนเพิ่ม จากการดำเนินการตามแนวทางที่ให้ข้าราชการและผู้รับบำนาญซึ่งเป็นสมาชิก กบข.โดยสมัครใจสามารถเลือกกลับไปรับบำนาญตามระบบเดิม
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... การแก้ไขปัญหาสมาชิก กบข. ในเรื่องบำนาญ มีดังนี้
๑) ข้าราชการ (สมาชิก กบข.ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และสมัครเป็นสมาชิก กบข.)
(๑) สมาชิก กบข.ซึ่งประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ และให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลง ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
(๒) ผู้ซึ่งจะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ยกเว้นกรณีถึงแก่ความตาย ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อวันออกจากราชการ
(๓) การแสดงความประสงค์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ หรือวันออกจากราชการ และให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ทั้งนี้ การแสดงความประสงค์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๔) ข้าราชการตามข้อ (๑)-(๓) ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว โดยให้ กบข.ส่งเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินสำรอง สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว กบข.จะจ่ายคืนให้แก่ข้าราชการผู้นั้น
(๕) การส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรองและการจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ให้เป็นไป ตามที่ กบข. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะกำหนดให้ กบข. นำเงินประเดิม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับคืนจากสมาชิกส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง ทั้งนี้ กบข. จะต้องจัดทำรายงานการนำเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวส่งเข้าบัญชีเงินสำรองต่อกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ กบข. จะต้องรายงานให้กรมบัญชีกลางทราบ
(๖) หากข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ หรือก่อนวันออกจากราชการ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ

๒) ผู้รับบำนาญ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และสมัครเป็นสมาชิก กบข. แต่ได้ออกจากราชการแล้ว)
(๑) หากประสงค์จะขอกลับไปรับบำนาญตามสูตรเดิม (พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔) ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ และผู้รับบำนาญจะต้องคืนเงินก้อน (เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว) ที่ได้รับไปแล้วแก่ทางราชการ โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญตามสูตรเดิม ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ โดยวิธีหักกลบลบกัน
(๒) การหักกลบลบกัน หากมีกรณีที่ผู้รับบำนาญต้องคืนเงิน ให้ผู้รับบำนาญคืนเงินแก่ส่วนราชการผู้เบิกภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ เพื่อนำส่งให้กรมบัญชีกลาง โดยเงินที่ส่วนราชการได้รับคืน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ หากมีกรณีที่ต้องคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ กรมบัญชีกลางจะคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ หากมีเงินเหลือจะนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง
(๓) ผู้รับบำนาญที่ได้แสดงความประสงค์แล้ว เป็นผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการ แต่หากผู้รับบำนาญมีกรณีที่ต้องคืนเงิน ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ จึงจะได้รับสิทธิดังกล่าว
(๔) หากผู้รับบำนาญซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ และหากมีกรณีต้องคืนเงินให้ส่วนราชการผู้เบิกแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อถอนเงิน ที่ผู้รับบำนาญคืนให้แก่ส่วนราชการผู้เบิก เพื่อคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด จะกำหนดเรื่องการดำเนินการถอนเงินคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญ ที่ตายไปก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ

ที่มา เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ

 

ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
20130424190732.doc


คำสำคัญ (Tags): #กบข
หมายเลขบันทึก: 533783เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2013 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องขอบคุณข้อมูลดี ๆ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ

พอดีกำลังศึกษารายละเอียดกับชีวิตในวัยเกษียณ ระหว่าง
1, รับบำนาญ ในฐานะสมาชิก กบข.
2. รับบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔
แบบไหนเป็นประโยชน์ที่สุด ลองพิจารณาดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท