ถักทอเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของจังหวัด



          โครงการของ สสค. โครงการนี้  เราเรียกตาม ศ. นพ. ประเวศ วะสี ว่า “โครงการสามดรุณี”  เป้าหมายคือ ยกระดับการเรียนรู้ของทั้งจังหวัด  โดยการจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาของจังหวัดเสียใหม่  ให้มันเชื่อมโยงและเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน  และนำทรัพยากรไปใช้ในกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อการยกระดับ Learning Outcome จริงๆ  ซึ่งก็คือ เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ในจังหวัดด้วย  ให้เด็กได้เกิด 21st Century Skills ด้วยการเรียนแบบ Active Learning   และครูก็เกิด PLC ที่เรียนรู้วิธีเป็น โค้ช ของ PBL และ active learning แบบอื่นๆ  รวมทั้งฝึก 21st Century Skills ของตนไปพร้อมๆ กัน 

          โดยเรามีสมมติฐาน จากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ว่าทรัพยากรในจังหวัดมีเพียงพอ หากมีการจัดการที่ดี  จะนำมาใช้ยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดได้  โดยพลังจาก สสค. ไม่ใช่เงิน  แต่เป็นตัว “สามดรุณี” นั่นเอง  ได้แก่ ดร. ศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นส. วลัยรัตน์ ศรีอรุณ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, และ ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ อดีตเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา 

          ในการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางครั้งที่ ๑ ของโครงการ เมื่อวันที่ ๒๒ ก.พ. ๕๖  เราตกลงกันชัดเจนว่า  จะทำใน ๓ จังหวัด  คัดเลือกจากจังหวัดที่เราเชื้อเชิญ ๖ จังหวัด (โดยทราบความตั้งใจของผู้นำในจังหวัด)  โดยดูจากการเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของโครงการ ที่เห็นได้ว่าเอาจริง  มีทีมงานและเครือข่ายที่เข้มแข็ง  และจะสามารถพัฒนาความเข้มแข็งให้เกิดการดำเนินการต่อเนื่องได้ 

          แรงจูงใจต่อจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการนี้ คือการสนับสนุนด้านการจัดการ  ที่จะช่วยให้ฝันของประชาคมในจังหวัดเป็นจริง  คือเกิดระบบการพัฒนาการศึกษาของจังหวัด ที่ได้ผลดี เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในทุกระดับ 

          อย่างหนึ่งคือ เกิดระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่ดีในจังหวัด  อีกอย่างหนึ่งคือ เกิดการพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสถาบันการศึกษาทุกระดับในจังหวัด  ไม่ต่างสถาบันต่างทำอีกต่อไป  และอีกอย่างหนึ่งคือ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการเรียนรู้  จากวิธีการแห่งศตวรรษที่ ๒๐  ไปเป็นวิธีการแห่งศตวรรษที่ ๒๑  ที่ผมเคยบันทึกไว้แล้ว ที่นี่


วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.พ. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 533147เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2013 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2013 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

             บทความสระของท่านมีค่ากับทุกชีวิตทุกฝ่าย  ผมติดตามอ่านของท่านตลอด  เพราะผมอยู่ในแวดวงการศึกษา  ผมขอยกข้อความจากบันหนึ่งของท่านมาเป็นหลักฐานคือ  "ระบบและวิธีการจัดการศึกษาต้องเป็นไปตามความเป็นจริงในสังคม ต้องฝึกฝนเด็กและเยาวชน ให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งความเป็นจริง ไม่ปฏิเสธความเป็นจริงในสังคม ทักษะนั้นเรียกว่า “ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑” ซึ่งเป็นทักษะที่ซับซ้อนมาก"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท