Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

หญิงสัญชาติไทยมีบุตรกับชายสัญชาติมาเลเซียอยู่ในมาเลเซีย : ถูกสามีทำร้าย อยากพาลูกกลับไทย - ทำไงดี ?? !


ตอบคุณเบญเรื่องการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมายให้แก่บุตรที่เกิดในประเทศมาเลเซียจากชายสัญชาติมาเลเซีย

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151593633473834 

--------

คำถาม

--------

เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

คุณเบญได้เข้ามาตั้งคำถามใน http://www.gotoknow.org/posts/466823  ว่า

“เรียนถามอาจารย์หน่อยนะค่ะ เบญแต่งงานกับคนมาเลอิสราม ได้สองปี ตอนนี้ลูกชายได้ขวบพอดีปัญหาคือตั้งแต่เบญท้องเขาไม่ทำงานเลยจนลูกได้ขวบ ใช้แต่เงินเบญที่ได้นำมาจากเมืองไทยตั้งใจจะเก็บไว้ให้ลูก แต่ก็หมดไปกับค่าไช้จ่ายในบ้านและค่าผ่อนรถยนย์ พอเงินหมดเริ่มออกลายทุกครั้งทะเลาะจะตบตีตลอด เบญอยากกลับไปอยู่เมืองไทย ขอให้เขาไปแจ้งเกิดไทยที่สถานฑูต เขาก็ไม่ไปทำให้ เขาเป็นคนเจ้าอารมย์ชอบกร่างกับผู้หญิงและคนแก่ภายในบ้าน

“อยากจะหย่าต้องทำเรื่องยังไง พ่อแม่เขาไม่ช่วยในเรื่องการหย่า ลูกก็ยังไม่มีใบเกิดไทยเลย แต่มีใบเกิดมาเล ต้องทำยังไงค่ะ ตัวคนเดียวค่ะเลี้องลูกอย่างเดียว เงินไม่มี งานไม่ได้ทำ”

--------

คำตอบ

--------

ในประการแรก การแจ้งเกิดทำได้ด้วยต้วแม่เองที่สถานทูตไทยค่ะไปติดต่อกงสุลนะคะ

ในประการที่สอง ถูกทุบตีก็บอกกงสุลด้วยค่ะ

ในประการที่สอง คุณควรทราบว่า บุตรของคุณเป็นคนที่มีสิทธิในสัญชาติไทยนะคะ

ในประการที่สี่ บุตรของคุณเป็นคนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยโดยการเกิด กล่าวคือ เขามีมารดาสัญชาติไทย ดังนั้น แม้เขายังไม่ได้แสดงตนว่าเป็นคนสัญชาติไทย ก็ใช้วีซ่าครอบครัว เดินทางเข้าประเทศไทยได้ค่ะ

สำคัญที่สุด คุณต้องไปพบกงสุลแล้วค่ะ ใจเย็นๆ ค่อยๆ คิดค่ะ(ให้เบอร์ติดต่อกงสุลไทย ด้านล่างนะคะ)

นอกจากนั้น คุณปรานม สมวงศ์ ทนายความสตรีซึ่งทำงานในประเทศมาเลเซีย ให้คำแนะนำว่า “หากการแต่งงานได้รับการจดทะเบียนรับรองตามกฎหมายอิสลาม Islamic family law  แล้วอยู่ที่ว่าเค้าอยู่รัฐไหนด้วยนะคะ อยู่รัฐไหนก็ให้ดำเนินการที่รัฐนั้น อาจจะเป็นรัฐที่ภรรยาหรือสามีอยู่ก็ได้ หากแต่งกับมุสลิมจริงๆ ต้องไปแจ้งที่กรมศาสนาก่อน เค้าจะประนีประนอม ให้สามีภรรยามารับคำปรึกษา สามครั้ง ภายในระยะเวลา สองถึงสามเดือน หากไม่ได้จึงให้ฟ้งศาล Syariah ตอนฟ้องหย่าก็ให้ฟ้องขอเป็นผู้ดูแลบุตรด้วย การหย่าก็ต้องเลือกว่าจะหย่าแบบไหน เพราะกฎหมายอิสลบามมีหย่าสี่แบบ มีรายละเอียดอีกเยอะเลยนะคะ แนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือที่ legal aid center คะ” ซึ่งคุณปรานมแนะนำให้ไปหารือ Kuala Lumpur Legal Aid Centre ซึ่งให้ที่อยู่มาด้านล่างนะคะ หากว่า อาศัยอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และหากคนไทยที่ไปประสบความเดือดร้อนในมาเลเซีย ก็อีเมลล์มาหารือคุณปรานมได้ค่ะ ตามอีเมลล์นี้นะคะ [email protected]

คุณปรานมยังเล่าอีกว่า “ปัญหาของมาเลเซียเรื่องกฎหมายครอบครัวมีมาก เช่นหากมีการหย่้าหรือคู่้สมรสเสียชีวิต สถานะของวีซ่าจะขาดตามไปด้วย หากไม่มีถิ่นที่อยุ่ฐาวร ถึงแม้จะมีลูกที่มีสัญชาติมาเลเซีย คนเป็นแม่ไม่มีสถานะที่จะอยู่กับลูกได้ ต้องขอให้ศาลสั่งให้อยู่ได้ แต่ได้ชั่วคราว”

--------

องค์กรที่อาจให้ความช่วยเหลือ

--------

Thai Embassy KL

Consular Section.

Tel: 60-3-21432107, 60-3-21432125, 60-3-21432127

Kuala Lumpur Legal Aid Centre

Tingkat 9, Wisma Kraftangan

No.9, Jalan Tun Perak

50050 Kuala Lumpur

Tel: 03 2691 3005 / 03 2693 2072

Fax: 03 2693 0527

Email: [email protected]

รายละเอียดของสภาทนายความมาเลเซียในรัฐต่างๆ

http://www.malaysianbar.org.my/legal_aid_centres.html

http://www.malaysianbar.org.my/

คุณปรานม สมวงศ์

ทนายความสตรีสัญชาติไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย

[email protected]

--------

อ่านต่อ:บันทึกความเห็นเกี่ยวกับคนมาเลเซียโดย อ.แหวว

--------

๑.ตอบคำถามแม่ลูกหนึ่งเรื่องสิทธิของบุตรที่เกิดในประเทศมาเลเซียจากมารดาสัญชาติไทยและบิดาสัญชาติมาเลเซีย,บันทึกความเห็นทางกฎหมายเพื่อตอบคำถามของประชาชนเรื่องการจัดการประชากร, เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/466823

๒.กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง  :การเลือกกฎหมายที่กำหนดปัญหาการรับบุตรนอกสมรสเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามข้อเท็จจริง แต่มารดาเป็นคนสัญชาติมาเลเซีย,กรณีศึกษาในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, มาจากข้อมูลภายใต้โครงการศึกษาวิจัยและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนจังหวัดตากและชุมชนกลุ่มจังหวัดชายแดนในประเทศไทย”, เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖, ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

http://www.learners.in.th/blogs/posts/535406

๓.หญิงแรงงานไทยมีบุตรนอกสมรสกับชายสัญชาติมาเลเซียในประเทศมาเลเซีย : จัดการสถานะบุคคลตามกฎหมายให้บุตรอย่างไรดี ????,ตอบคุณวรรณเรื่องปัญหาการจดทะเบียนคนเกิดให้แก่บุตรที่เกิดในประเทศมาเลเซียจากบิดาสัญชาติมาเลเซียและมารดาซึ่งเป็นแรงงานสัญชาติไทย,บันทึกความเห็นทางกฎหมายเพื่อตอบคำถามของประชาชนเรื่องการจัดการประชากร, เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

http://www.gotoknow.org/posts/532768

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151592871678834

๔.หญิงสัญชาติไทยตั้งครรภ์กับแฟนคนจีนมาเลได้เกือบ ๒ เดือน : จดทะเบียนสมรสตามกม.มาเลเซียมีผลต่อบุตรอย่างไร ?,ตอบคุณนภัทรเรื่องการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมายให้แก่บุตรที่เกิดในประเทศมาเลเซียจากชายสัญชาติมาเลเซีย, เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

http://www.gotoknow.org/posts/532817

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151593628088834

๕.หญิงสัญชาติไทยมีบุตรกับชายสัญชาติมาเลเซียอยู่ในมาเลเซีย : ถูกสามีทำร้าย อยากพาลูกกลับไทย - ทำไงดี ?? !,ตอบคุณเบญเรื่องการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมายให้แก่บุตรที่เกิดในประเทศมาเลเซียจากชายสัญชาติมาเลเซีย,บันทึกความเห็นทางกฎหมายเพื่อตอบคำถามของประชาชนเรื่องการจัดการประชากร, เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

http://www.gotoknow.org/posts/532819

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151593633473834


หมายเลขบันทึก: 532819เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2013 02:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2013 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท