ระบบอุปถัมภ์ ตอนที่ 4 ข้อเสีย


ข้อเสียของระบบอุปถัมภ์

  เจิมศักดิ์ ปิ่นทองให้ความเห็นว่าข้อเสียของระบบอุปถัมภ์ก็คือระบบนี้ช่วยให้

   1.สภาพปัญหาใหญ่ประการหนึ่ง ที่รู้สึกมานาน และขอจัดลำดับความสำคัญไว้อันดับต้นๆ คือ "ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย" ความ เหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย  ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในเมืองกับคนต่างจังหวัด มี ความเหลื่อมล้ำทั้งเงินทอง ทรัพยากร อำนาจ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และโอกาส ฯลฯ สภาพความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ นำมาซึ่งปัญหาการเมือง สังคม ความยากจน คุณภาพของคน และยังเป็นอุปสรรคสำคัญที่หน่วงรั้งการพัฒนาประเทศมาหลายทศวรรษ 
    2. "ความเห็นแก่ตัวของคนในสังคม" เป็นสภาพสังคมที่เป็นปัญหาหนักหน่วง รุนแรงมากขึ้นทุกวัน เมื่อ ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับผลประโยชน์ส่วนรวม คนจำนวนมากก็มักจะเลือกผลประโยชน์ส่วนตัวต้องมาก่อน ทุก วันนี้ คนไทยจำนวนไม่น้อย ถึงกับแสดงออกถึงความเห็นแก่ตัวอย่างเปิดเผย โดยไม่รู้สึกอาย หรือเกรงใจสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคม 
     มีการ เรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่สนใจว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น หรือต่อส่วนรวม มีการช่วยเหลือพวกพ้องของตัว เพื่อหวังผล หวังส่วนแบ่งผลประโยชน์ หรือหวังสร้างบุญคุณกับพวกพ้อง โดยไม่สนใจว่าจะผิดหลักการ ผิดกฎหมาย หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อส่วนรวม  สิ่ง เหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้สึกสะทกสะท้าน เพราะวิธีคิดของผุ้ที่อยู่ใน "ระบบอุปถัมภ์" เกิด จากการที่คนไทย เชื่อว่า ตนจะประสบความสำเร็จในชีวิต ก็ต้องหวังพึ่งผู้อุปถัมภ์ ที่จะช่วยค้ำชูให้ชีวิตดีขึ้น ใน ความเป็นจริงระบบอุปถัมภ์ ก็คือ ระบบตอบแทนผลประโยชน์แก่กัน ระหว่างคนต่างสถานะ หรือผู้ที่มีอำนาจไม่เท่ากัน โดยยึดระบบตอบแทนบุญคุณ เรา จึงเห็นการช่วยคนโกง ช่วยคนผิด เพียงเพราะผู้อุปถัมภ์คนนั้น เป็นผู้มีพระคุณ 
เรา จึงพบ การช่วยพวกพ้องของตัวเอง เอาเปรียบคนอื่น เพียงเพราะคาดหวังว่า "วันนี้ เราช่วยพรรคพวกวันหน้า พรรคพวกก็จะช่วยเราตอบแทน" เรา ยังเห็น วิธีคิดที่น่าตกใจในสังคมบางส่วน ที่คิดว่า "นักการเมืองจะโกงก็ได้ แต่ขอให้แบ่งด้วย" ระบบ อุปถัมภ์ เป็นระบบในการคุมคนที่มีประสิทธิภาพมาก และดำรงอยู่ได้อย่างแนบเนียนและฝังลึกในประเทศไทย ผล ประโยชน์ส่วนรวมจึงสำคัญไม่เท่าผลประโยชน์ของพรรคพวก เพราะผลประโยชน์ของพรรคพวกจะเจือจานแบ่งปันมาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว นี่เองที่ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ 
      3.การกระจายอำนาจมีปัญหา ไม่ใช่เพียงอำนาจกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง แต่เป็นเพราะอำนาจที่แท้จริงยังกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่ม "ผู้อุปถัมภ์"ไม่ ว่าจะเป็นนักการเมือง นายทุน ข้าราชการระดับสูง ฯลฯ ราชการ ส่วนภูมิภาค จะทำอะไรก็ต้องอ่านใจนายใหญ่ มากกว่าจะรับฟังความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพราะระบบอุปถัมภ์ทำให้ความก้าวหน้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลงาน แต่ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บังคับบัญชา 

     4. ระบบข่าวสารข้อมูลยังไม่สมดุล โทรทัศน์ และวิทยุ ส่วนใหญ่ยังถูกควบคุมและกำหนดโดยกลุ่มผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น นักการเมืองและราชการผู้กุมอำนาจรัฐ นักธุรกิจผู้กุมอำนาจสัมปทาน หรือแม้แต่กลุ่มทุนที่ควบคุมผ่านการสนับสนุนรายการหรือโฆษณา  ด้วย เหตุนี้ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งผ่านโทรทัศน์และวิทยุ จึงเป็นข้อมูลที่ผู้มีอำนาจต้องการจะให้สังคมรับรู้ เช่น การโฆษณามอมเมา การปกปิดบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้มีอำนาจ ฯลฯ มิใช่ เสียงความต้องการของผู้ด้อยอำนาจ หรือเสียเปรียบในสังคม แม้ ปัจจุบัน จะมีสื่ออินเทอร์เน็ต ที่ทำให้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ในรูปของสังคมสื่อสารออนไลน์ แต่การเข้าถึงดังกล่าวก็ยังจำกัดอยู่กับคนรุ่นใหม่ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีระดับหนึ่ง น่า เสียดาย ที่คนเราได้ความรู้ในโรงเรียนเพียง 20 ปีของชีวิต หรือน้อยกว่า 1 ใน 5 ของชีวิต สื่อจึงควรมีบทบาทที่สำคัญในการให้ความรู้และสาระเพื่อพัฒนาคนไทยให้รู้เท่า ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกของสังคม เพียงแต่ติดปัญหาที่โครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อ ที่กระจุกตัวอยู่ภายใต้อำนาจของผู้มีอิทธิพลและผลประโยชน์ส่วนตัว สภาพ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมดุล นอกจากจะทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมดำรงอยู่ต่อไปแล้ว ยังทำให้เกิดช่องว่าง ถูกใช้ก่อการเคลื่อนไหว บิดเบือนข้อมูล หลอกลวงประชาชน ปลุกปั่นปลุกระดม สร้างความแตกแยก นำไปสู่ความรุนแรงในสังคม 
     5.ระบบราชการ และวัฒนธรรมการทำงานของราชการ ก็ยังคงเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์อย่างชัดเจน ทำให้ ข้าราชการส่วนใหญ่ทำงานเพื่อสนองนาย มากกว่ารับใช้ประชาชน ยิ่ง กว่านั้น ข้าราชการบางส่วนยังพร้อมจะกระทำผิด หากมั่นใจว่านายจะสามารถปกป้องดูแลตนเองได้ และแบ่งผลประโยชน์ให้ ไม่ว่าจะผ่านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน 
ระบบ อุปถัมภ์ ทำให้ข้าราชการต้องวิ่งเข้าหานายเป็นผู้อุปถัมภ์ 
      6.รัฐวิสาหกิจ อันเป็นสมบัติของสาธารณะ ก็ถูกใช้เป็นแหล่งผลประโยชน์ส่วนตัวของคนเฉพาะกลุ่ม เสมือน เป็นโบนัส หรือเครื่องมือตบรางวัลให้แก่ลูกน้องหรือพรรคพวกในกลุ่มอุปถัมภ์ของนักการเมืองบางคน การจะเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร หรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น จึงเป็นเสมือนการ "ทุบหม้อข้าว" ของคนเหล่านี้ ที่ผ่านมา บางกรณี จึงถูกต่อต้านอย่างหนัก และตรงกันข้าม รัฐวิสาหกิจหลายแห่งกลับถูกนักการเมืองที่เข้ามามีอำนาจ ร่วมมือกับคนในกลุ่มอุปถัมภ์ของตน พยายามขายทรัพย์สินของแผ่นดินไปให้เอกชน เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มพวกตน 
      7. โครงสร้างการเงินการคลังของประเทศ ก็เป็นอีกตัวการที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ระบบ ภาษีอากรที่เป็นรายได้หลักของรัฐบาลก็มาจากภาษีทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีสรรพาสามิตต่างๆ (เช่น ภาษีเหล้า บุหรี่ น้ำมัน ฯลฯ) ซึ่งผู้รับภาระที่แท้จริงคือผู้บริโภค และเมื่อพิจารณาบนฐานรายได้ของผู้บริโภคแล้ว จะพบว่า คนจนได้จ่ายภาษีในอัตราที่มากกว่าคนรวย 

    8. ระบบการศึกษา ที่ไม่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจท้องถิ่นของตน แต่ผลักดันให้คนต้องเดินทางออกจากถิ่นฐาน ทำให้ชนบทสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูง 

     9.กระบวนการยุติธรรม ที่มีปัญหาตั้งแต่ต้นธารไปจนถึงปลายทาง โดย เฉพาะตำรวจ และอัยการ ที่มีระบบอุปถัมภ์เข้มข้น เล่นพรรคเล่นพวกในระบบอุปถัมภ์ ความยุติธรรมจึงไม่เกิด จึงมีภาษิตว่า "คุกมีไว้ขังคนจน" ซึ่งสะท้อนความจริงได้แจ่มแจ้งในระดับหนึ่ง 

     โดยสรุประบบอุปถัมภ์ทำให้คนไทยไม่สนใจผูกพันธ์ในแนวราบหรือแนวนอน ไม่เป็นที่นิยมทำให้ขาดพลังแนวร่วมทางสังคม และก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสังคมและพฤติกรรมโดยรวม ดังนี้

    1 ทำให้ยึดตัวบุคคลเป็นหลัก (Personalism) ทำให้ไม่สามารถแยกระหว่าง Public (สาธารณ์) กับ Private (ส่วนตัวได้)  ได้เช่น คนที่รับใช้นายใกล้ชิดนาย จนกลายเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัว มีการปกปิดความผิดของกันและกันเจ้านายจะเสนอความดีชอบให้ การใช้ของหลวงเป็นของส่วนตัวการทะเลาะในเรื่องส่วนตัวแต่กลับไปโกรธในเรื่องงานด้วย  

   2.ทำให้ขาดหลักการและอุดมการณ์  ดังเช่น การเห็นแก่ตัวมากขึ้น และระบบการสื่อสาร ดังที่กล่าวมาแล้ว

   3. ขาดความยุติธรรม  เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา เช่น การเลือกระหว่างลูกน้องกับคนอื่น เช่นเกิดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม

   4.ขาดความเสมอภาค ไม่เท่าเทียมกัน เช่น การให้โอกาสแก่คนอื่น จนหลงลืมไปว่าอะไรได้ประโยชน์แก่คนหมู่มากมากที่สุด

   5..ทำให้คนไทยขาดจิตสาธารณะ เห็นอะไรเป็นเรื่องส่วนตัวไปหมด ไม่เข้าใจสังกัปเรื่องสาธารณะ เช่น Public good สิ่งที่ดีสำหรับส่วนรวม Public interest ผลประโยชน์ส่วนรวม Public responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคม (สำนึก) Public accountability การมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ ประเมินได้ ขาด Public spirit จิตสำนึกต่อส่วนรวมไม่เกิด

    6. มีการประจบสอพลอ เพราะนายไม่สามารถจะดูแลลูกน้องทุกคนได้ ทำให้ต่างคนต่างแย่งกัน ประจบนาย จนทำให้ผู้ใหญ่หลงตัวเอง 

หนังสืออ้างอิง

ไม่มีชื่อผู้แต่ง. ระบบอุปถัมภ์. http://dc401.4shared.com/doc/HqI5aRHM/preview.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556

ไม่มีชื่อผู้แต่ง. ปัญหาโครงสร้างประเทศไทย: ระบบอุปุถัมภ์. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=art19&date=09-04-2009&group=2&gblog=1 เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2556

ลิขิต ธีรเวคิน. ระบบอุปถัมภ์กับการเมืองการบริหารในสังคมไทย. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000135236 เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2556

สามหนุ่ม.ปัญหาระบบอุปถัมภ์ (Spoil System) มีผลประทบต่อกเมืองไทย. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=385823 เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2556

Aum Neko. ระบบอุปถัมภ์ : ความสัมพันธ์ในสายงานราชกาการเมืองของคณะรัฐศาสตร์. http://prachatai.com/journal/2012/11/43706 เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2556

อำพัน  ถนอมงาม.ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยhttp://amphuntha.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2556

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง.ปฏิรูป ประเทศไทย ปฎิรูปอะไร?.  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=619854 เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2556



หมายเลขบันทึก: 532527เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2013 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2013 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท