การราดสารลำไย ปัญหาที่พบบ่อยๆ ของเกษตรกรในเขตจังหวัดจันทบุรี ที่ราดสารฯ ในเดือนมีนาคม-เมษายน


แต่ในสภาวะที่ยอดที่ 3 เกิดอาการชงัก ไม่ยอมแทงยอด เนื่องจากกระทบกับอากาศหนาวที่ผ่านมา แม้ต้นลำไยจะไม่ออกยอด แต่ภาวะของการเก็บสะสมอาหารในใบชุดที่ 2 จะยังคงทำหน้าที่ตามปกติค่ะ นั้นหมายถึงสภาวะความพร้อมของใบในระยะที่ 2 จะมีความสมบูรณ์มากกว่าปกติ ดังนั้นเราจึงสามารถชักนำการออกดอกด้วยการราดสารฯได้ เสมือนกับการราดสารฯ ในช่วงใบเพสลาดของชุดที่ 3

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

ในปีนี้อากาศในบ้านเรา แปรปรวนมาก เกษตรกรหลายๆ รายบางรายในบางพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือตอนบน หรือในภาคตะวันออก เขตอำเภอสอยดาว หรืออำเภอโป่งน้ำร้อนจังหวัดจันทบุรี จะประสบปัญหาลำไยไม่แทงยอดชุดที่ 3 ซึ่งถ้าหากเกษตรกรที่มีลำไยอายุขนาด 4 - 7 ปี และได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคมไปแล้ว เกษตรกรหากยังคงต้องการทำผลผลิตลำไยในช่วงเวลาเดิม จำเป็นที่จะต้องตัดแต่งกิ่งให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นเดือนตุลาคม และให้ทำการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด+ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด+จุลินชีพชีวภาพ จะช่วยบำรุงต้นลำไย และเป็นลดต้นทุนในการใฃ้ปุ๋ยเคมี และอย่าลืมให้น้ำกับต้นลำไยอย่างสม่ำเสมอตามตารางปกติด้วย...นะคะ

ในช่วงนี้หากสภาพดินฟ้าอากาศเป็นไปตามธรรมชาติ ลำไยของเกษตรกรจะพัฒนายอดใบได้ทั้งสิ้น 3 ชุด และพร้อมจะทำการราดสารกระตุ้นได้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม - ปลายเดือนเมษายน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมราดสารฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว แม้จะได้ราคาขายน้อยที่สุด แต่ก็ถือได้ว่าไม่ต้องเดือดร้อนกับการหาน้ำมาลดต้นลำไยมากเหมือนช่วงอื่นๆ อาจจะมีปัญหาก็เพียงเรื่องโรคต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อราค่ะ

เรามาเริ่มเตรียมคำนวนระยะเวลาการราดสารฯ กัน

สมมุติว่าเกษตรกรตั้งใจจะราดสารในช่วงระยะใบแก่ ประมาณวันที่ 15-31 มีนาคม เกษตรกรจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งลำใยให้เสร็จพร้อมกันทั้งแปลงภายในเวลา 1-2 วัน คือประมาณวันที่ 30-31 ตุลาคม แต่ว่าการพัฒการของลำไยในช่วงใบชุดที่ 2 จะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ทำให้ระยะเวลาในการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 1 เท่าตัว ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องเผื่อเวลาการพัฒนาการที่ช้าลงนี้ โดยบวกเวลาเพิ่มขึ้นเข้าไปด้วย

ใบชุดที่ 1 จะพัฒนาตลอดเดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนธันวาคม ประมาณ 45 วัน

ใบชุดที่ 2 ถ้าอากาศไม่หนาว จะพัฒนาจากกลางเดือนธันวาคม - ปลายเดือนมกราคม ประมาณ 45 วัน

แต่ถ้ากระทบอากาศหนาว ลำไยต้องใช้เวลาพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 15-20 วัน รวมเป็น 60-65 วัน

กล่าวคือยอดใบชุดที่ 3 จะไม่ยอมแทงยอดออกมา จะนิ่งไปจนถึงช่วงกลางเดือน ถึงปลายเดือน

กุมภาพันธ์เลยทีเดียว

ใบชุดที่ 3 มีผลจากยอดชุดที่ 2

ถ้าอากาศในเดือนธันวาคม - มกราคม ไม่หนาวยาวนาน ยอดลำไยชุดที่ 3 จะพัฒนาตลอดเดือน

กุมภาพันธ์-กลางเดือนมีนาคม ประมาณ 45 วัน พร้อมจะทำการราดสารได้ในวันที่ 15-20 มีนาคม

แต่ถ้าอากาศหนาวต่อเนื่อง โดยยอดที่ 2 ใช้เวลาพัฒนาถึง 60-65 วัน เกษตรกรจะทำอย่างไร

ถ้าต้องการราดสารให้ได้ภายในช่วงวันที่ 15-31 มีนาคม

ประเด็นที่ต้องตัดสินใจ และหนทางทีจะต้องดำำเนินการ :

1. เราจำำเป็นจะต้องรอยอดลำไยชุดที่ 3 พัฒนาขึ้นมาก่อน หรือไม่

2. เราสามารถราดสารในช่วงกลางเดือนมีนาคม ถึงปลายเดือนมีนาคม ตามกำหนดตั้งใจเดิม ได้ หรือไม่

และจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้สามารถราดสาร ในช่วงเวลาดังกล่าว

3. เราสามารถ เลือก หรือจะราดสารฯ ในช่วงเพสลาดของชุดที่ 2 แทนการราดสารฯ เสมือนว่าลำไยได้มีการ

แทงยอดที่ 3 แล้ว ในช่วงระหว่างกลางเดือนมีนาคม - กลางเมษายน ได้หรือไม่

4. ถ้าเราเลือกราดสารฯ ในช่วงเพสลาดของกลางเดือนมีนาคม แต่ปรากฎว่ายอดที่ 3 พัฒนาการเป็นใบ

เพสลาดไม่ทัน จะทำอย่างไร

5. ถ้าราดสารฯ ไปแล้วลำไย ยังนิ่งเฉยอยู่ ไม่ออกดอกเราจะทำอย่างไรดี

6. ภาวะใด ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าเราควรตัดสินใจเปลี่ยนเวลาไปใช้ทำสารฯ ช่วงเวลาถัดไป (มิถุนายน)

7. ราดสารไปแล้วครั้งหนึ่ง ถ้าจะราดสารฯ อีกครั้งในเดือนมิถุนายน เราจะต้องทำอย่างไรกับสารฯ ตกค้างเดิม

8. เปลี่ยนช่วงเวลาราดสารฯ แล้วจะมีโอกาส ทำลำไยให้สำเร็จได้ หรือไม่

คำตอบ :

1. เราจำำเป็นจะต้องรอยอดลำไยชุดที่ 3 พัฒนาขึ้นมาก่อน หรือไม่

คำตอบคือ ไม่ต้องรอ...ค่ะ

2. เราสามารถราดสารในช่วงกลางเดือนมีนาคม ถึงปลายเดือนมีนาคม ตามกำหนดตั้งใจเดิม ได้ หรือไม่ และจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้สามารถราดสาร ในช่วงเวลาดังกล่าว

คำตอบคือ สามารถกระทำได้...ค่ะ โดยปกติการรอให้ใบลำไยออกถึง 3 ยอด เป็นการรอระยะเวลาการพัฒนาคุณภาพของใบ เพื่อประสิทธิภาพในการเปลี่ยนธาตุอาหารเป็นแป้ง และน้ำตาล และการเคลื่อนย้ายไปสะสมในผลไม้

ปกติในภาคทฤษฎีต้นลำไยที่ยังมีอายุน้อย 2- 5 ปี จำเป็นต้องรอให้ใบมียอดประมาณ 3 ยอดก่อน จึงจะทำการกระตุ้นการออกดอกด้วยการราดสารฯ ได้

แต่ในสภาวะที่ยอดที่ 3 เกิดอาการชงัก ไม่ยอมแทงยอด เนื่องจากกระทบกับอากาศหนาวที่ผ่านมา แม้ต้นลำไยจะไม่ออกยอด แต่ภาวะของการเก็บสะสมสารอาหารในใบชุดที่ 2 จะยังคงทำหน้าที่ตามปกติค่ะ นั้นหมายถึงสภาวะความพร้อม ลำต้นใบในระยะที่ 2 จะมีความสมบูรณ์มากกว่าปกติ จัดอยู่ในภาวะที่เรียกว่า "อั้นดอก" ดังนั้นเราจึงสามารถชักนำการออกดอกด้วยการราดสารฯได้ เสมือนกับการราดสารฯ ในช่วงใบเพสลาดของชุดที่ 3

แต่การราดสารในใบชุดที่ 2 นี้ ต้องไม่กระทำในช่วงใบเพสลาด เนื่องจากใบยังไม่มีความพร้อม เกษตรกรต้องปล่อยให้ใบชุดที่ 2 นี้ได้มีการพัฒนาคุณภาพใบให้แก่เต็มที่เสมือนว่าลำไยกำ่ลังเกิดใบชุดที่ 3 แ้ล้ว กล่าวคือ ต้องปล่อยให้ใบชุดที่ 2 แก่ไปเรื่อยๆ ระหว่างนี้สารอาหารที่มีจะถูกนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นไม้ อาทิราก และลำต้น ซึ่งจะทำให้สามารถดูดธาตุอาหารได้ดีขึ้น และสารอาหารส่วนหนึ่งก็พร้อมจะพัฒนาไปสู่การสร้างดอกค่ะ

สิ่งที่ควรปฎิบัติคือ

2.1 เมื่อถึงกำหนดยอดใบชุดที่ 3 ควรจะออก แต่ยังไม่ยอมออก ให้เราทำการใส่ปุ๋ยบำรุงยอดตามปกติ คือใช้ 64-0-0 + 15+15+15 + 0-0-60 ในอัตราส่วนปกติของแต่ละช่วงอายุ แ่ละขนาดทรงพุ่มของต้นลำไย ตามตารางดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ในแต่ละครั้งของการแตกใบอ่อน

เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) สูตรปุ๋ยเคมี (กรัมต่อต้น)

46-0-0 15-15-15 0-0-60

4 150 100 80

5 260 180 140

6 430 290 230

7 650 450 370

หมายเหตุ : ข้อมูลกรมวิชาการเกษตร

2.2 เมื่อผ่านไป 7 วัน ก็ยังไม่ปรากฎว่ามียอดอ่อนเกิดขึ้น หรือมียอดอ่อนเล็กๆ แต่ไม่มีการพัฒนาต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะการพัฒนาการของใบในยอดชุดที่ 2 เพิ่งกระทบหนาวในช่วงกลางเดือนธันวาคม - ปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมา แสดงว่าลำไยเกิดการชงักยอดแน่นอน ให้เราดำเนินการกระตุ้นการแตกยอดอีกครั้งด้วยปุ๋ยทางใบ 25-7-7 อัตราส่วน 1:1 หรือ 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ 2 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร หรือ 5 กิโลกรัม/น้ำ 1000 ลิตร กระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง

2.3 เมื่อครบ 7 วัน ทำอย่างไรลำไยก็ไม่ยอมออกยอด หรือไม่พัฒนายอดต่อสักที ก็ให้เริ่มใส่ปุ๋ยทางดิน 8-24-24 เพื่อเร่งให้ใบแก่พร้อมๆ กัน และเพื่อเป็นการสะสมอาหารให้อยู่ในใบชุดที่ 2 เพื่อให้พร้อมในต่อการออกดอก เสมือนว่าขณะนี้เป็นใบของยอดใบชุดที่ 3 แล้ว

โดยปริมาณการใส่ปุ่ย 8-24-24 ใำหรับทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ดังนี้

ครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ยปริมาณ 400 กรัม/ต้น

ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยปริมาณ 400 กรัม/ต้น และ

ครั้งที่ 3 ใช้ปุ๋ยปริมาณ 200 กรัม/ต้น

ใส่ปุ๋ยตามตารางข้างต้น แต่ละช่วงมีระยะห่าง 7 วัน เมื่อครบ 3 ครั้ง ก็เกษตรกรให้เตรียมทำการราดสารฯ ได้เลยค่ะ (ระยะเวลาจะตรงกับการราดสารฯ ตามปกติ เสมือนว่า ต้นลำไยได้มีใบชุดที่ 3 แล้ว)

2.4 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาราดสารฯ ให้ชักนำการออกดอกด้วยการราดสารฯ ในอัตราส่่วนสารฯ ต่อพื้นที่ตารางเมตร โดยใช้อัตราส่วนดังต่อไปนี้

ตารางที่ 2 อัตราการใช้โพแทสเซียมคลอเรตกับต้นลำไยที่มีขนาดทรงพุ่มต่างๆ

เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) พื้นที่ทรงพุ่ม (ตารางเมตร) อัตราการใช้ * (กรัม/ต้น)

3 7.1 50-150

4 12.6 100-250

5 19.6 150-400

6 28.3 250-500

7 38.5 300-750

8 50.2 400-1,000

9 63.6 500-1,250

10 78.5 600-1,500

* อัตราที่แนะนำ ใช้ 8-20 กรัมต่อตารางเมตร โดยคิดจากสารโปรตัสเซียมคลอเรส บริสุทธ์ิ 99%

หมายเหตุ : ข้อมูลกรมวิชาการเกษตร

การราดสารฯ อาจใช้วิธี

1. การชั่งน้ำหนักสารฯ และนำไปโรย รอบๆ ทรงพุ่ม และรดน้ำด้วยสปริงเกอร์

2. การผสมสารฯ ในถัง และนำไปราดรอบๆ ทรงพุ่ม

3. การผสมสารฯ ในถัง และใช้เครื่องพ่นรอบๆ ทรงพุ่ม

วิธีการคำนวณ แบบง่ายๆ เพื่อจะราดสารฯ หรือใช้เครื่องพ่นสารฯ รอบๆ ทรงพุ่ม

. การราดสารฯ ที่ละต้น : วิธีนี้ดี แต่เกษตรกร จะยกถัง 20 ลิตร เดินวนตลอดสวน เหนื่อยมาก...ค่ะ

ให้ใช้สารฯ ผสมน้ำในความเข้มข้นทุกๆ 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (ถ้าต้องการสารฯ 120 กรัม ก็ให้ใช้การผสม 2 ครั้ง แต่ถ้าสามารถหาถังน้ำมาตวงได้ปริมาตร 40 ลิตรได้ ก็ผสมสารฯ 120 กรัม ลงในครั้งเดียวเลยก็ได้นะคะ ถ้ามีแรงยกถังน้ำไหว)

. การเตรียมสารสำหรับพ่นครั้งละ หลายๆ ต้น : วิธีนี้สะดวก ไม่เหนื่อยมาก แ่ละเป็นที่นิยม

ใช้ถังน้ำ 200 ลิตร และใช้เ้ครื่องทำการพ่นสารฯ รอบๆ ทรงพุ่ม

ใช้สารฯ ผสมน้ำในความเข้มข้น 6 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร

สำหรับลำไย 25 ต้น (เฉลี่ยแต่ละต้นจะได้ประมาณ 120 กรัม)

30 ต้น (เฉลี่ยแต่ละต้นจะได้ประมาณ 100 กรัม

35 ต้น (เฉลี่ยแต่ละต้นจะได้ประมาณ 85 กรัม)

ใช้ถังน้ำ 1000 ลิตร และใช้เครื่องพ่นสารฯ

ใช้สารฯ ผสมน้ำในความเช้มข้น 30 กิโลกรัม/น้ำ 1000 ลิตร

สำหรับลำไย 250 ต้น (เฉลี่ยแต่ละต้นจะได้ประมาณ 120 กรัม)

300 ต้น (เฉลี่ยแต่ละต้นจะได้ประมาณ 100 กรัม

350 ต้น (เฉลี่ยแต่ละต้นจะได้ประมาณ 85 กรัม)

3. เราสามารถ เลือก หรือจะราดสารฯ ในช่วงเพสลาดของชุดที่ 2 แทนการราดสารฯ เสมือนว่าลำไยได้มีการแทงยอดที่ 3 แล้ว ในช่วงระหว่างกลางเดือนมีนาคม - กลางเมษายน ได้หรือไม่

คำตอบคือ ถ้าต้นลำไยยังเล็กอยู่ ก็จะไม่เหมะสมที่จะราดสารฯ ในช่วงนี้...ค่ะ

ถ้าต้นลำไยที่มีอายุน้อยอยู่ระหว่าง 3-7 ปี ความสามารถในการดูดอาหาร และแร่ธาตุ เพื่อเก็บสะสมในใบ จะยังไม่มีประสิทธิภาพมากเหมือนลำไยที่มีอายุ 8 -19 ปี ที่สามารถราดสารฯได้ แม้จะมีใบเพียง 2 ยอด หรือแม้กระทั่งต้นลำไยที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป ที่สามารถราดสารฯ ได้ แม้ว่าจะมียอดใหม่เพียงยอดเดียวก็ตาม

4. ถ้าเราเลือกราดสารฯ ในช่วงเพสลาดของกลางเดือนมีนาคม แต่ปรากฎว่ายอดที่ 3 พัฒนาการเป็นใบเพสลาดไม่ทัน จะทำอย่างไร

คำตอบคือ กรณีนี้หมายถึง ต้นลำไยของเกษตรกรได้มียอดที่ 3 แทงออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้พัฒนามาเรื่อยๆ ตามปกติ แต่ว่ายอดใหม่ที่เติบโตมานั้น มีการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ระยะใบเพสลาดไม่ทันตามกำหนดการเดิม.....อย่างแน่นอน

ดังนั้นสิ่งที่เกษตรกรควรทำก็คือ ให้ปล่อยให้ลำไยได้มีความพร้อมเต็มที่เสียก่อน.....จะดีที่สุดค่ะ

เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปราดสารฯ ก่อนที่ใบจะเพสลาด ตรงกันข้ามอาจจะทำความเสียหายให้กับเกษตรกรเอง เนื่องจากใบลำไยยังไม่พร้อมรับการกระตุ้นจากสารฯ ...ค่ะ

เวลาที่เลื่อนออกไปเพียงเล็กน้อย ย่อมส่งผลดี กล่าวคือทำให้ต้นลำไยพร้อมที่จะออกดอกมากกว่าค่ะ อีกประการราคาขายลำไยก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย...ค่ะ

5. ถ้าราดสารฯ ไปแล้วลำไย ยังนิ่งเฉยอยู่ ไม่ออกดอกเราจะทำอย่างไรดี

คำตอบคือ ให้เกษตรกรทำการให้สารอาหารทางใบเพื่อเป็นการกระตุ้นดังต่อไปนี้ค่้ะ

1. ใช้ปุ๋ยน้ำในกลุ่ม คีเลต (สามารถดูซืม และนำไปใช้ได้เลย โดยผ่านทางปากใบ) 5-25-30 (หรือสูตรใกล้เคีึยง) 1 ลิตร + ปุ๋ยน้ำที่มีธาตุเสริมต่างๆ และควรมี "ซิงค์" ผสมอยู่ด้วย 1 ลิตร /น้ำ 1000 ลิตร

ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไยมีการพัฒนาตาดอก พวกนักการค้าสารเคมี และชาวบ้านชอบเรียกการใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ว่า "การสะสมตาดอก"...ค่ะ และการใช้ธาตุเสริมเพื่อช่วยในกระบวณการขับเคลื่อนการดูดซืมแร่ธาตุ และซิงค์จะช่วยสร้างความทนทานต่อความแห้งแล้ง หรือการขาดน้ำที่ต่อเนื่องยาวนาน และป้องกันสภาวะการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน จากอากาศหนาวในตอนกลางคืน แต่ร้อนจัดในตอนกลางวัน หรือการกระทบกับน้ำฝนในช่วงพายุฤดูร้อน หรือน้ำฝน ในช่วงวันสงกรานต์ เดือนเมษายน จะช่วยให้ต้นลำไยสามารถปรับตัวได้ทันต่อสภาวะทีเ่ปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว...ค่ะ

ให้ฉีดพ่นทางใบหลังการราดสารฯ 3 ครั้ง ทุกๆ 7 10 และ 15 วัน หลังการราดสาร....ค่ะ

ในบางกรณี หากมีการแปรปรวนของอากาศมากเหมือน ปีที่กำลังเขียนบันทึกนี้ (มีนาคม 2556) เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณความเข้มข้นเป็น 2 เท่าค่ะ คือ ใช้อย่างละ 2 ลิตร/น้ำ 1000 ลิตร....ค่ะ

เกษตรกรควรให้น้ำทางดินอย่างสม่ำเสมอ ปริงเกอร์น้ำ 20-30 นาที/ต้น วัน เว้นวัน หรือ วันเว้น 2 วันก้ได้ แล้วแต่บริบทของแต่ละสวน...นะคะ ทั้งเพื่อช่วยรักษาระดับความชื่้นในดิน แ่ละความชื้นสัมพัทในอากาศที่อยู่บริเวณรอบๆ ภายในสวนลำไย เพื่อให้ต้นลำไยมีการพัฒนาของตาดอกอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันใบอ่อนไหม้ และช่วยให้ช่อดอกที่กำลังพัฒนาไม่แห้ง...ค่ะ

6. ภาวะใด ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าเราควรตัดสินใจเปลี่ยนเวลาไปใช้ทำสารฯ ช่วงเวลาถัดไป (มิถุนายน)

คำตอบคือ ตัวบ่งชี้คือ เมื่อครบ 30 วันหลังจากการราดสารฯ แล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรได้ดำเนินการกระตุ้นด้วยปุ๋ยทางดิน 8-24-24 (เพิ่มเติม) และใช้ปุ๋ยในกลุ่มคีเลตทางใบ ตามที่แนะนำข้างต้นมาแล้ว ต้นลำไยจะมีพัฒนาการแทงยอดใหม่ออกมาเป็นใบ และเมื่อเกษตรกรรอการแทงยอดครั้งถัดไปจากนี้ ซึ่งปกติจะเป็นตาดอกนั้น แต่ปรากฎว่ายอดที่พัฒนาใหม่นั้นกลับกลายเป็นใบ (ช่วงนี้เกษตรกรต้องใช้สารในกลุ่มคีเลต 5-25-30 หรือสูตรใกล้เคียง+ธาตุเสริม ที่มีซิงค์ กระตุ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว) แต่ถ้าเมื่อครบ 45 วันแล้ว เขายังเฉย แถมยอดใหม่ที่ออกมานั้น กลายเป็นเขียวสวยงาม ให้มั่นใจได้ว่า้ต้นลำไย เขาเลือกพัฒนาตนเองที่จะเป็นใบแล้ว...ค่ะ

เกษตรกร ไม่ต้องกังวลใจนะคะ เราควรดูแ่ลใบลำไยใหม่นั้นให้มีคุณภาพดีพร้อมที่จะให้ผลผลิตต่อไปในช่วงเดือนมิถุนายน ทั้งนี้เพื่อการเก็บผลผลิตในช่วงกลางเดือนธันวาคม..ค่ะ

และอีกประการ ถ้านับจากวันสิ้นเดือนเมษายน ถึงกลางเดือนมิถุนายน ที่เรากำหนดว่าราดสารฯ นั้น ก็จะครบ 45 วัน ตามระยะเวลาของการพัฒนาของใบลำไยพอดี....ค่ะ

หมายเหตุ : หากเราตั้งใจจะปรับเปลี่ยนเวลาไปราดสารฯ ใหม่ อีกครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายน เราจำเป็นจะต้องมีกระบวณการในการกำจัดสารฯ ที่ยังคงตกค้างอยู่ในลำต้น และในชั้นดิน ให้เหลือน้อยลงไปก่อน...นะคะ

7. ราดสารไปแล้วครั้งหนึ่ง ถ้าจะราดสารฯ อีกครั้งในเดือนมิถุนายน เราจะต้องทำอย่างไรกับสารฯ ตกค้างเดิม

คำตอบคือ เราจะต้องดำเนินการกำจัด หรือลดปริมาณสารฯ ตกค้างในดินก่อนค่ะ ด้วยวิธีการดังนี้

อ้าว....เขียนเยอะเกิน พอจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลส่วนท้ายเลยหาย....จ้อย

อ่านต่อในบทความถัดไป...นะคะ

ตามลิงค์ข้างล่างนี้..ค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/532770

หมายเลขบันทึก: 532437เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2013 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2015 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท