การทำวิจัยในชั้นเรียน


คุณครูอึดอัด ท้อใจกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี

  การทำวิจัยในชั้นเรียน

การทำวิจัยในชั้นเรียน  ง่ายกว่าที่คุณคิด

คุณครูอึดอัด ท้อใจกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี 
                     
 อยากให้คุณครูมองว่า การวิจัยในชั้นเรียนมิใช่เป็นงานพิเศษ หรือการทำงานตามกระแส แต่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ ในหน้าที่ของความเป็นครู ที่จะต้องค้นหาคำตอบมาแก้ปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่ (งานการจัดการเรียนการสอน) เพื่อนำผลมาใช้ปรับปรุง การเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน (เพราะผู้เรียนสำคัญที่สุด) หากคุณครูสามารถทำได้ กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนนอกจากจะเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นการพัฒนาวิชาชีพคร ูให้มีมาตรฐาน สามารถใช้เป็นผลงานทางวิชาการ และใช้เป็นข้อมูลเผยแพร่ความ รู้จากการปฏิบัติจริงสู่ผู้อื่น เพื่อพัฒนาการศึกษาโดยรวมของประเทศ และคุณครูเองก็เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนและวิเศษสุด
                      การวิจัยในชั้นเรียนมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อปรับปรุงสภาพการสอนในห้องเรียนให้ดียิ่งขึ้น มิใช่เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ดังนั้น คุณครูจึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเป็นนักวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนไม่จำเป็นต้องยึด รูปแบบที่เคร่งครัดเหมือนการวิจัยเชิงวิชาการ ขอบเขตในการพัฒนา งานจะให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรม (สื่อการเรียนการสอน/ กิจกรรมการเรียนการสอน/เทคนิควิธีการสอน) เพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามกระบวนการทำวิจัยฯ จำเป็นต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เป็นระบบ เริ่มต้นด้วยการสำรวจวิเคราะห์ปัญหา กำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา พัฒนานวัตกรรม นำนวัตกรรมไปใช้ และสรุปรายงานผล ซึ่งใคร่อธิบายพอสังเขปแต่ละขั้นตอน ส่วนรายละเอียดคุณครูสามารถศึกษาได้จากเอกสารตำรามากมาย
                     
1. ที่มาของปัญหาการวิจัยฯ มาจาก 2 แนวทาง คือจากสภาพการปฏิบัติงานของคุณครู เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พฤติกรรมนักเรียน ผลการเรียนการสอน การใช้สื่อ วิธีสอน ฯลฯ ที่เป็นปัญหา อีกแนวทางหนึ่งมาจาก การที่คุณครูได้ศึกษาแนวคิด/การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาทดลองใช้กับนักเรียนของตนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการสอนที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
                    
2. เมื่อได้สภาพปัญหาแล้วขั้นต่อไปเป็นการกำหนดวิธีแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ วางแผนแก้ปัญหา/พัฒนางานเพื่อลงมือปฏิบัติ (Action) ขั้นตอนนี้คุณครูจะต้องศึกษาเอกสาร ผลงานวิจัย แนวคิดต่างๆตลอดจนประสบการณ์ของคุณครูเอง ว่ามีใคร เคยใช้วิธีการใดแก้ปัญหา ผลการแก้เป็นอย่างไร จะทำให้สามารถเลือกแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างถูกต้อง
                   
3. การพัฒนานวัตกรรม เมื่อเลือกนวัตกรรมที่จะนำมาแก้ปัญหาแล้ว ขั้นตอนนี้จะเป็นการสร้างนวัตกรรมและหาคุณภาพ ก่อนนำไปใช้จริง โดยนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ/เพื่อนครู/ศึกษานิเทศก์/นักวิชาการ ให้ความเห็นด้านต่างๆ เช่นด้านเนื้อหา เทคนิคการนำเสนอ เพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไข
                  
4. นำนวัตกรรมไปใช้จริงกับนักเรียน ซึ่งต้องมีเครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อตอบคำถามว่านวัตกรรมที่นำไปใช้นั้น ทำให้นักเรียน พัฒนาการเรียนรู้หรือไม่ เพียงใด
                  
5. สรุปและเผยแพร่ ถ้านวัตกรรมนั้นยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตามที่ต้องการก็ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไข หานวัตกรรมใหม่ไปใช ้จนสามารถ แก้ปัญหาได ้ตามที่ต้องการ ก็เขียนสรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่ข้อ 1-4 เพื่อเผยแพร่ต่อไป
                  
ไม่ยากเกินไปใช่ไหมคะ เชื่อว่าคุณครูทุกคนเมื่อสอนนักเรียนไปแล้ว ก็อยากเห็นผลสำเร็จของการสอน ที่เกิดขึ้นกับ นักเรียนเมื่อผลครั้งแรก ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ คุณครูก็น่าที่จะพยามหาสิ่งใหม่ที่ดีกว่า เพื่อผลที่ออกมามีคุณค่าเป็นที่ภาคภูมิใจ ในความเป็นครูใช่ไหมคะ ขอเป็นกำลังใจให ้คุณครูทุกคนในการทำวิจัยในชั้นเรียนค่ะ

 ที่มา   http://www.singarea.moe.go.th/manystory/manystory5.htm

หมายเลขบันทึก: 53228เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท