กฎหมายไทยว่าด้วยการประกันสิทธิเด็กที่ถูกทอดทิ้ง


        

        ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งในไทยเป็นอีกสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กที่ขยาย วงกว้างขึ้นทุกวัน  เนื่องจาก เด็กทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษยก็มีสิทธิพื้นฐาน 4 ประการคือ

1. สิทธิในการอยู่รอด (

 - สิทธิในการมีชีวิตรอดและส่งเสริมชีวิต

 - ได้รับโภชการที่ดี

 - ได้รับความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม

 - ได้รับการบริการด้านสุขภาพ

 - การให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง

 - การให้ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู

2. สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง

 - การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ

 - การล่วงละเมิดการทําร้ายการกลั่นแกล้งรังแก

 - การถูกทอดทิ้งละเลย

 - การลักพาตัว

 - การใช้แรงงานเด็ก

 - ความยุติธรรมต่อผู้เยาว์

 - การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ

3. สิทธิในการพัฒนา 

 - ได้รับการศึกษาทั้งใน/นอกระบบ

 - เข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม

 - เสรีภาพในความคิด มโนธรรม และศาสนา

 - พัฒนาบุคลิกภาพทั้งทางสังคมและจิตใจ

 - พัฒนาสุขภาพร่างกาย

4. สิทธิในการมีส่วนร่วม

 - แสดงทัศนะของเด็ก

 - เสรีภาพในการติดต้อข่าวสารข้อมูล

 - มีบทบาทในชุมชน

 - แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก

        การทอดทิ้งเด็กจึงเป็นการละเมิดต่อเด็กที่เห็นได้ชัดคือการละเมิดต่อ  สิทธิในการอยู่รอดและสิทธิในการถูกปกป้องคุ้มครอง นอกจากนี้อาจส่งให้เกิดการละเมิดสิทธิอื่นๆอีก

        การคุ้มครองเด็กที่ถูกทอดทิ้งให้มีสิทธิข้างต้นนั้นได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายทั้งกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี  คืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และกฎหมายภายใน ทั้งกฎหมายทั่วไป และกฎหมายเฉพาะต่อไปนี้

         บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองเด็กที่ถูกทอดทิ้งโดยเฉพาะ คือ มาตรา ๕๔วรรค๔เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสม จากรัฐ

         เมื่อเด็กทุกคนเกิดมาก็ย่อมมีสภาพบุคคล ตาม บทบัญญัติในประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕ บัญญัติว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก กล่าวคือเมื่อเด็กทุกคนเกิดมาย่อมมีสภาพบุคคล และเป็นผู้ทรงสิทธิ

         เมื่อเกิดมาแล้วและมีสภาพบุคคลตามมาตรา๑๕ เด็กที่ถูกทอดทิ้งต้องได้รับการรับรองสถานะทางทะเบียนตามบทบัญญัติ ในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔  มาตรา ๑๙  ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำตัวเด็กไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปฏิบัติงานในท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้แล้วให้บันทึกการรับตัวเด็กไว้ ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรับเด็กไว้ ให้นำตัวเด็กพร้อมบันทึกการรับตัวเด็กส่งให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในเขตท้องที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้หรือได้รับตัวเด็กจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแล้ว ให้แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งและให้นายทะเบียนออก ใบรับแจ้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบและแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด

         มาตรา ๑๙/๑ เด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้งซึ่งอยู่ในการอุปการะของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่จดทะเบียนตามกฎหมายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ถ้าเด็กยังไม่ได้แจ้งการเกิดและไม่มีรายการบุคคลในทะเบียนบ้านให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ และให้นายทะเบียนออกใบรับแจ้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบและแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด

         นอกจากนี้เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ยังได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติใน  พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖  มาตรา ๒๘ ในกรณีผู้ปกครองตกอยู่ในสภาพไม่อาจให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือผู้ปกครองกระทำการใดอันน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพหรือขัดขวางต่อความเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบ หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือป้องกันมิให้เด็กได้รับอันตรายหรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้การสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามพระราชบัญญัตินี้

         มาตรา ๒๙ ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า

          มาตรา ๓๒ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่

(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า

(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง

(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

(๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

(๖) เด็กพิการ

(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๒ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่

(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า

(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง

(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

(๕) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

(๖) เด็กพิการ

(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 


หมายเลขบันทึก: 532007เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2013 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท