beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ขุมความรู้ : ข้อคิดจากการเลี้ยงผึ้ง (ผึ้งไทย คนไทย)


ผึ้งไทย กับคนไทยมีอุปนิสัยคล้ายกันหลายอย่าง

       ผึ้งสกุลเอพีส (Genus Apis) หรือ ผึ้งที่สะสมน้ำหวานไว้ภายในรัง ในประเทศไทยมีผึ้งที่ถือกำเนิดในประเทศไทย (native species) หรือผึ้งเชื้อชาติ/สัญชาติไทยอยู่ 4 ชนิด (เรียงตามขนาด) คือ

 

 ผึ้งหลวง

(Apis dorsata)

 

 ผึ้งโพรง

(Apis cerana)

 

 ผึ้งมิ้ม

(Apis florea)

 

 ผึ้งมิ้มเล็ก

(Apis andreniformis)

       ส่วนผึ้งที่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นผึ้งนำเข้า (Introduce Species) หรือเป็น ผึ้งเชื้อชาติ/สัญชาติฝรั่ง เราเรียกว่า ผึ้งพันธุ์ หรือ ผึ้งเลี้ยง

 

 ผึ้งพันธุ์

(Apis mellifera) 

     ผึ้งพันธุ์ เป็นผึ้งที่มีลักษณะการทำรังคล้ายผึ้งโพรงไทย คือ สร้างรวงรังหลายรวงในโพรงไม้ โพรงดิน เราเรียกอีกอย่างว่า "ผึ้งโพรงฝรั่ง" แต่ทำไมคนเลี้ยงผึ้งจึงไม่นิยมเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเป็นอุตสาหกรรม

     คำตอบที่เป็นไปได้ คือ ผึ้งโพรงไทยหนีรังเก่ง (รักความเป็นอิสระ), และไม่ค่อยสะสมน้ำหวาน

     ตอนที่ผมเลี้ยงผึ้งแรก ๆ ก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอเลี้ยงไป ๆ ก็เกิดความมีความคิดเห็น/ข้อคิด ดังต่อไปนี้ คือ ผึ้งไทยกับคนไทยมีอุปนิสัยคล้ายกันหลายอย่าง เนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีผลต่อการดำรงชีวิต และผมขอยกเอาคำพังเพยไทยมาเปรียบเทียบไว้ด้วย เป็นข้อ ๆ ดังนี้ (ที่เขียนเปรียบเทียบนี้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้แสดงออกว่าดีหรือไม่ดี)

 พฤติกรรมของผึ้งโพรง

    อุปนิสัยคนไทย  

สุภาษิต/คำพังเพย 

หนีรังเก่ง 

 รักความเป็นอิสระ

 ทำอะไรตามใจคือไทยแท้

 ไม่ค่อยสะสมน้ำหวาน

 หาเช้ากินค่ำ

 ในน้ำมีปลาในนามีข้าว/ตำข้าวสารกรอกหม้อ

 ตื่นรังง่าย

 ตื่นข่าวลือ

 สังคมตื่นข่าว/กระต่ายตื่นตูม

 ต้านทานต่อไรศัตรูผึ้ง

กล้าหาญอดทน

 กัดไม่ปล่อย/สู้ไม่ถอย

 กัดสู้กับมดแดง

 กล้าหาญอดทน

 กัดไม่ปล่อย/สู้ไม่ถอย

      ลองยกตัวอย่างมาเท่านี้ก่อน ท่านผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ 

หมายเลขบันทึก: 5317เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2005 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียนอาจารย์สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ ที่นับถือ

กระผมนายกนก อุไรสกุลทำงานที่มทร.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์หันตรา จ.อยุธยาได้เข้ามาค้นเรื่องผึ้งไทยในเวบgotoknow.orgที่อาจารย์ทำไว้ กระผมอยากชวนอาจารย์ทำวิจัยเรื่องผึ้งไทยแมลงผสมเกสรในบัวประดับหากอาจารย์สนใจโปรดติดต่อกลับที่[email protected]มือถือ081-5861573ภายใน

25เม.ย.50นี้ ทุนสนับสนุนงานวิจัยมาจากภาคกลางตอนบน

ขอเรียนเชิญด้วยความเคารพ

กนก อุไรสกุล

  • ขอบคุณ ท่านอาจารย์กนก อุไรสกุล มากครับ ที่ให้ความสนใจ
  • ผมได้ M2M กับ อ.กนก แล้ว ก็ OK ในการเขียน concept paper ก่อน พอฝ่ายให้ทุน OK เราค่อยมาว่ากัน ในรายละเอียด
  • ผมว่า งานวิจัยเรื่องนี้น่าสนใจดีครับ

เรียนอาจารย์

ลูกศิษย์ผมสนใจการทำโครงงานเรื่อง ผึ้ง

จึงความกรุณาอาจารย์ให้คำปรึกษาหรือให้ขอ้มูลที่เป็นประโยชน์แก้ลูกศิษย์ได้ไหมครับ

ขอบพระคุณอย่างสูง

  • ไม่น่าจะมีปัญหาครับ
  • ติดต่อทางบล็อกก็ได้ครับ
  • ลองให้รายละเอียดประวัติบุคคลและเหตุผลของความสนใจ
  • เป็นการทำความรู้จักกันก่อน
  • การทำงาน "ใจ" ต้องมาก่อน ถ้าจริงใจ งานก็ง่ายครับ

อยากทราบว่า ผึ้งยุโรป(Apis mellifera)ที่นำมาเลี้ยงในเมืองไทยเป็นเวลานานแล้ว เคยมีรายงานเจอพวกที่ปรับตัวจนสามารถออกไปทำรังในธรรมชาติได้บ้างหรือไม่ครับ?

แล้วมันจะผสมข้ามกับผึ้งโพรงได้ไหมครับ?(อย่างน้อยก็น่าจะมีความใกล้ชิดกันมากกว่าผึ้งหลวงหรือผึ้งมิ้ม)

  • ผึ้งยุโรปและแอฟริกา Apis mellifera เคยเห็น ว่าออกไปทำรังข้างนอก แต่ที่ปรับตัวจนสามารถอยู่ในธรรมชาติได้ ยังไม่เคยเห็น..
  • ผสมพันธุ์กับผึ้งโพรงไม่ได้...(๑) เวลาในการออกผสมพันธุ์ต่างกัน (๒) สถานที่ผสมพันธุ์ต่างกัน (๓) อวัยวะสืบพันธุ์อาจเข้ากันไม่ได้ (๔) โครโมโซมเข้าคู่กันไม่ได้....

หนูนักเรียนที่เรียนผึ้งกับอาจารย์ในเทอมนี้คะ หนูชอบเนื้อหาตรงนี้มากเลยคะ

ผึ้งไทยก็จะมักมีนิสัยคล้ายคลึงกับคนไทยใช่ไมคะ

ที่บอกว่า ตำข้าวสารกรอกหม้อ นิสัย หาเช้ากินค่ำ

ถ้าเทียบผึ้งโพรง ไม่ค่อยสะสมน้ำหวาน หนูคิดว่า

ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะ ว่า ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์มากคะ ทั้งทางด้าน

แหล่งอาหาร มันจึงไม่ต้องรีบเก็บอาหารไว้ก็ได้ใช่ไม่คะ เพราะอาหารมีตลอดฤดู อิอิ

เรียน น้องนักเรียน/นิสิต

  • ที่ให้ความเห็นหรือวิเคราะห์มา ไม่มีอะไรผิด ไม่มีถูก
  • เพราะเป็นความเห็นของคนเรา
  • ส่วนผึ้งเขาคงไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน..อิอิ
  • ยินดีครับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท