สุขภาวะ สุขภาพ ความสุขของคุณครูในโรงเรียนกับกิจกรรมบำบัด


ความสุขของเด็กพิเศษ เริ่มต้นที่ความสุขผู้ดูแล

โรงเรียนแห่งหนึ่ง อ.ดอนตูม จ.นครปฐม

26 มีนาคม 2556

เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัด

เมื่อวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปกับอ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคุณครู ครูพี่เลี้ยง และพี่เลี้ยง ที่ได้ดูแลเด็กพิเศษ ทั้งกลุ่มออทิสติก สมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียน และเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม โดยในการจัดอบรมเล็กๆ ในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการที่เอื้อเฟื้อสถานที่ เปิดโอกาสให้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครูทุกคน

ในวันนั้นมีคุณครูมาเข้าร่่วมการทำกิจกรรมทั้งหมดประมาณ 15 คน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ให้นิยามความสุขในการดูแลเด็กนักเรียนของตนเองดังนี้

  • การทำให้เด็กๆ มีความสุข และอยากมาโรงเรียน
  • ความสุขที่ได้อยู่กับเด็ก เด็กสามารถเรียนรู้ระเบียบวินัย ร่าเริง มีความรู้ และความสุข
  • ความสุขมีหลายบทบาทหน้าที่ ทั้งการเป็นครู เป็นพ่อแม่ เป็นหมอ เป็นนักวิจัย เพื่อพัฒนาความสามารถ และดูแลให้เด็กดีขึ้นในทุกๆ วัน
  • ความสุขในการดูแลเด็ก แม้น้องจะเป็นเด็กพิเศษ แต่ยังคงสามารถพัฒนาศักยภาพของน้องให้ดีขึ้นในทุกๆ วัน
  • การเป็นพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ ไม่เพียงทำงานแค่ดูแลเด็ก แต่ยังต้องช่วยเหลือครู ติดต่อประสานงานกับผู้ปกครอง แต่ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เด็กดีขึ้น และตนเองก็มีความสุข
จะเห็นได้ว่า ความสุขของครู หรือผู้ที่ทำงานในโรงเรียนนั้น คงมองที่เป้าหมายว่าต้องการให้เด็กนั้นดีขึ้นในทุกวัน และมีความสุข หากแต่ก่อนที่คุณครูจะสามารถพัฒนาความสามารถของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น วิทยากรได้ชักชวนให้ทุกท่านได้พัฒนาตนเอง รู้จักตนเอง และมีสติแบบเบิกบานกับตนเองก่อน โดยได้ร่วมทำกิจกรรมกับคุณครูจำนวน 3 กิจกรรม โดยเป็นการสื่อสารภายในใจ เป็นการสื่อสารทางจิตสังคม เนื่องจากเด็กจะเรียนรู้ได้ดีต้องสื่อสารจากภายในเพื่อสื่อสารออกมาเป็นภาษากายและการสื่อสารอื่นตามมา
โดยการจัดกิจกรรมกับเด็กนักเรียนของตนนั้นขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
  1. ต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ เช่น คุณครูเคลื่อนไหวมือตามจังหวะ 1-2-1-2 เป็นต้น สำหรับเด็กอาจจะต้องการจับมือทำ หรือจับประคองให้ทำ โดยควรช่วยจับไม่เกิน 3 ครั้ง เพื่อให้สมองได้ทำงาน ถ้าช่วยมากไป สมองก็ไม่ทำงานนั่นเอง
  2. จิตเบิกบาน เมื่อครูควบคุมจิตของตนให้เบิกบาน มีสติสมาธิ ปล่อยวางและอยู่กับขณะจิตของตนก็จะสามารถพัฒนาให้เด็กมีจิตเบิกบาน
  3. ประเมินผล การประเมินความสุขของตนเอง การประเมินผลของเด็ก ระดับความสุขที่มีขณะปัจจุบัน ขณะทำกิจกรรม ก่อน-หลังทำกิจกรรม
ปัญหาอาจมีเข้ามามากมาย มีคำถามหลากหลายคำถามที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น เด็กที่ผู้ปกครองไม่ยอมรับจะทำอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้ควรแก้ที่ผู้ปกครองก่อน เพราะหากพ่อแม่เครียด ลูกก็เครียด และไม่สามารถพัฒนาจิตสังคมของเด็กได้ต่อไป
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสุขภาวะ สุขภาพ ความสุขของเด็กพิเศษ จะต้องเริ่มต้นที่ความสุขของครู พ่อแม่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะความสุขของผู้ใหญ่จะเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนให้เด็กรับรู้ และเรียนรู้ และมีความสุขตามมา
ความสุข เสมือนเซลล์กระจกเงา หากอยู่ใกล้คนที่มีสุข จิตเบิกบาน ความสุขนั้นจะถูกถ่ายทอดส่งผ่านกันและกัน ผู้คนที่อยู่รอบข้างก็มีความสุขด้วยเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 531534เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2013 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ  กิจกรรม บำบัด 

ธรรมชาติบำบัด

ไปเห็นชาวบ้านที่ ตำบลไม้ขาวภูเก็ต เขาใช้ธรรมชาติบำบัด

ในการออกกำลังกาย รักษาโรค คือ "วารีบำบัด"

                    ... ครูมีความสุข .... นักเรียนมีความสุข นะคะ     


                                 

ชื่นชมโครงการดีๆ ครับ

ชื่นชมการทำงานครับ เห็นภาพน้องดร.Pop ด้วย

ขอบคุณมากครับอ.ติ๊ก เป็นบทเรียนที่ดีและนำไปใช้ต่อยอดได้น่าสนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท