การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง KMA นำไปสู่ LO ระยะที่ 1


วันที่ 20 มีนาคม 2556 ณ ห้องประชุม 50 ปี โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี

       KM คือการจัดการความรู้ ซึ่งหมายถึง การใช้ความรู้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในการทำงาน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งความรู้ที่เกิดจากการประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและความรู้จากทฤษฎี เป้าหมายพื่อให้เกิดการพัฒนางานให้ดีขึ้น และเกิดความต่อเนื่องในการพัฒนา

      วิธีการส่วนใหญ่ได้จากการสังเกตุหน้างาน เมื่อทำแล้วงานพัฒนาขึ้น

       KMA. = knowledge Management Assessment

       PMQA= public  sector management  quality Assurance  เป็นรางวัลด้านคุณภาพของประเทศเริ่มในปี 2001ทุกกระทรวงทบวงกรมต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฏีกา


PMQA Model

                                   ลักษณะสำคัญขององค์กรสภาพแวดความสัมพันธ์และความท้าทาย

                                    2. การวางผนเชิงยุทธศาสตร์                                     5.การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

       1. การนำองค์กร                                                                                                          7. ผลลัพธ์การดำเนินการ

                                 3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย   6. การจัดการกระบวนการ

                                                   4.การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้

สรุป PMQA


KMA = knowledge Management Assessment

เป็นการตรวจประเมินการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ เข้าใจในบริบทและสามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของหน่วยงานได้ การประเมินจะทำให้สามารถเห็นช่องว่าง ปัญหา แนวทางที่จะต้องแก้ไข

       กระบวนการนี้จะช่วยในการค้นหาแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด ถนอมรักษา ใช้และสร้างความรู้ ขององค์กรว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด

       KMA. เป็นเครื่องมือที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาตินำมาใช่้ สามารถใช้ได้ 2 ลักษณะ

1. เหมาะกับองค์กรที่นำTQA. มาใช้อยู่แล้ว

2. การตรวจประเมินโดยใช้ผู้เช่ยวชาญภายนอก

ควรใช้ทั้งสองรูปแบบ

องค์ประกอบ. 

1.เข้าใจความหมายของคำถามในการประเมิน

2.มีกระบวนการตรวจที่เป็นระบบและใช้ข้อมูลจริง

KMA มี 7 หมวด

1.Leader ship

2.strategic planning

3.Customer focus

4.Measurement, analysis and KM

5.workforce focus

6.Process Management

7.Result

สรุป

KMA จะนำไปสู่ LO : Learning Organization

วิสัยทัศน์กรม. แผน10 พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรสุขภาพจิตในการดำเนินงานให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี แผน 11 มุ่งเน้นองค์กรแห่งการเรียนรู้

เกณฑ์ KMA 7 หมวด

แบบตรวจมี. 2 องค์ประกอบย่อย

1. คำถาม

2. ระบบการให้คะแนน

หมวดที่ 1 เรื่องของผู้นำ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาการจัดการความรู้ด้วยตนเอง (นำพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เลยนะ)

หมวดที่ 2 รู้แล้ววางแผนกลยุทธ์อย่างไร เชื่อมโยงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย. เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งองค์กรอย่างไร

หมวดที่ 3 ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวของอย่างไร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

หมวดที่ 4 วัดและวิเคราะห์ ระบบการจัดการความรู้ ความคืบหน้า การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล วิธีบริหารจัดการด้าบุคลากร การสนับสนุนส่งเสริม. สร่้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง บริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้ความรู้สามารถนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน

หมวดที่ 7 ผลลัพธ์ที่มีต่อองค์กร ทั้งในด้านงาน ลูกค้า บุคลากร ภาวะการนำและความรับผิชอบต่อสังคม

การให้คะแนน มี. 5 ระดับ 

1.  แนวทางและหลักฐานที่แสดงไม่ชัดเจน(ปรับปรุง)

2. มีแนวทางบ้างแต่หลักฐานไม่ชัดเจน(พอใช้)

3.มีแนวทางชัดเจนในหลายเรื่องและหลักฐานที่ีแสดงมีความชัดเจนในบางเรื่อง (ค่อนข้างดี)

4. แนวทงส่วนใหญ่ดีมากและหลักฐานที่แสดงมีความชัดเจน เริ่มมีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ(ดี)

5. แนวทางส่วนใหญ่โดดเด่นและหลักฐานที่แสดงมีความชัดเจนมาก(ทั้งหารปฏิบัติจริงและเอกสาร)รวมทั้งมีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบจากภายนอก(ดีมาก)

การประชุมกลุ่มเพื่อการประเมิน




หมวด 1

1.1 ค่านิยมเขียนไว้ชัดเจน. มองไกล ไฝ่พัฒนา พาเรียนรู้ มุ่งผู้รับบริการ

      วิสัยทัศน์ เราจะเป็นโรงพยาบาลจิตเวชชั้นนำของไทยที่เป็นเลิศด้านโรคซึมเศร้าและจิตเวชชุมชน

      พันธกิจ 

ข้อดี ในค่านิยมเขียนไว้ชัดเจนถึงการนำที่ไผ่พัฒนา และพาเรียนรู้มีการเชื่อมโยงไปสู่พันธกิจที่ชัดเจนในเรื่องการพัฒนาความรู้แต่ในวิสัยทัศน์ยังไม่เห็นชัดเจน

1.2 ผู้บริหารระดับสูงเป็นแบบอย่างในแบ่งปันความรู้ และการมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้

1.3 ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุน ยกย่องชมเชย ให้รางวัล

1.4 ผู้บริหารระดับสูงมีการกระตุ้น จูงใจ สนับสนุนให้บุคลากรสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีและนวตกรรม

1.5 การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรทั้งที่อยู่ในระบบและไม่อยู่ในระบบ

1.6 ผู้บริหารระดับสูงส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆที่ใช้ฐานความรู้

1.7 ผู้บริหารมีการทบทวนผลการดำเนินการด้านการจัดการความรู้

1.8 KM ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงความสัมพันธ์กับชุมชนสำคัญขององค์กรอย่างไร

  มี Key Word. CSR คือ “Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี ...

การประเมินทั้ง7หมวดจะทำให้เราได้รู้ว่าระบบการจัดการความรู้มีความครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพเพียงใดและเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการแก้ไขพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับองค์กรและบุคลากรรวมทั้งชุมชน

คำสำคัญ (Tags): #kma#knowledge management
หมายเลขบันทึก: 530732เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2013 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2013 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรารู้จักตัวเองดีหรือยัง?...   KM เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆๆ เป็นกำลังใจให้ คุณอัครเดช ทำงานอย่างมีความสุขค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท