ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

หลักเกณฑ์ในการจัดองค์กร (Organizing Principle)


ข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมของนักศึกษา นำมาเผยเพร่เพื่อเป็นธรรมทาน หาก น.ศ.นำข้อมูลมาจากแหล่งใด ๆ โดยไม่ได้อ้างอิง ขออภัยต่อเจ้าของข้อมมูลทุกท่าน และขอนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ด้วย

หลักเกณฑ์ในการจัดองค์กร (Organizing Principle)

โดย พระยุทธศักดิ์   สิริจนฺโท


หลักเกณฑ์ในการจัดองค์กร (Organizing Principle) คือหลักแนวคิดที่เป็นหลักการที่เป็นเกณฑ์พื้นฐาน หรือข้อเท็จจริงที่มีการยอมรับและมีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถทำให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสูงสุด มีนักวิชาการเสนอทัศนะไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้

๑. ตามความเห็นของ Herbert Hicks ได้ให้ทัศนะไว้ว่าการจัดองค์กรเป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ

สิ่งสำคัญ ๓ ประการ[1] คือ

๑) กำหนดกิจกรรมเฉพาะอย่างที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปโดยทำให้สำเร็จตามเป้าหมายทีกำหนดได้

๒) จัดกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นระบบ หรือเป็นโครงสร้าง

๓) มอบหมายกิจกรรมต่าง ๆ ให้แก่ตำแหน่งต่าง ๆ และแก่บุคคลที่กำหนดไว้

๒. ตามความเห็นของ เฮนรี ฟาโยล์ ได้ให้ทัศนะไว้ว่า การจัดองค์กรจะต้องประกอบไปด้วยหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่เรียกว่า OSCAR มี ๕ ประการ[2] คือ

๑) Objective หรือ วัตถุประสงค์ คือ การจัดองค์กรจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ขององค์กร และเมื่อแบ่งงานออกไปแล้ว องค์กร หรือ หน่วยงาน จะต้องปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น

๒) Specialization หรือ ความชำนาญเฉพาะอย่าง คือ การจัดองค์กรจะต้องคำนึงถึงความชำนาญเฉพาะอย่าง หรือความเชี่ยวชาญของพนักงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

๓) Coordination หรือ หลักการประสานงาน คือ การจัดองค์กรจะต้องคำนึงถึงการประสานงาน เพื่อให้การทำงานได้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน

๔) Authority หรือ หลักของอำนาจหน้าที่ คือ การจัดองค์กรจะต้องคำนึงถึงการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับการแบ่งงานด้วย ตามสายการบังคับบัญชา

๕) Responsibility หรือ หลักความรับผิดชอบ คือ อำนาจหน้าที่ควรจะได้สัดส่วนกับความรับผิดชอบ เมื่อได้รับการมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรที่จะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอด้วย

๓. วุฒิชัย จำนง เห็นว่าหลักการจัดองค์กรที่ดีจะต้องคำนึงถึงหลักการปฏิบัติ ๘  ประการ คือ

๑) วัตถุประสงค์ (objective) ขององค์กรต้องชัดเจน

๒) ความชำนาญเฉพาะอย่าง (Specialization)

๓) การรวมอำนาจบังคับบัญชา (Unity of Command)

๔) สายการบังคับบัญชา (Hierarchy)

๕) เอกภาพในการบริหาร (Unity of Administration)

๖) การประสานงาน (Coordination)

๗) อำนาจหน้าที่ (Authority)

๘) ความรับผิดชอบ (Responsibility)

จากทัศนะของนักวิชาการที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถสรุปเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการจัดองค์กร เพื่อใช้เป็นแนวทางในศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกับ พุทธวิธีการจัดองค์กรคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลได้ ๕ ประการ คือ

๑) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายในการทำงานภายในองค์กร

๒) หลักการแบ่งงานกันทำ (Divide of work) หมายถึง การแบ่งแยกกิจกรรมภายในองค์กรออกเป็นลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้มีการทำงานร่วมกัน

๓) หลักการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Delegation of Authorityand Responsibility) หมายถึง การกระจายอำนาจหน้าที่ไปยังส่วนต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

๔) หลักการจัดสายการบังคับบัญชาและช่วงของการบังคับบัญชา (Command andSpan of control) หมายถึง ลำดับขั้นของสายงานที่มีการมอบอำนาจหน้าที่ไปยังส่วนต่าง ๆขององค์กรและขนาดการควบคุมของผู้บังคับบัญชาแต่ละคน

๕) หลักการประสานงาน (Coordination) หมายถึง การติดต่อสื่อสารในองค์กรอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจในจุดมุ่งหมายและวิธีการดำเนินงานในองค์กร ซึ่งจะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่ในการจัดการ (The Function of Management)นักวิชาและนักบริหารได้มีการวิเคราะห์ว่า การจัดการเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ ดังนั้นจึงได้จัดการศึกษาหน้าที่ของการจัดการ โดยแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท[3] ดังนี้คือ

๑) การวางแผน (Planning) 

๒) การจัดองค์การ (Organization)

๓) การจัดหาคนเข้าทางาน (Staffing)

๔) ภาวะผู้นำ (Leading)

๕) การควบคุม (Controlling)

สำหรับ Luther Gulick และ Lymdall Urwick ได้กำหนดหน้าที่ของผู้บริหารในการจัดการไว้ 7 ประการด้วยกันคือ

P = Planning การวางแผน

O = Organizing การจัดองค์การ

S = Staffing การจัดการคนเข้าทางาน

D = Directing การอำนวยการ

CO = Co-ordinating การประสานงาน

R = Reporting การรายงาน

B = Budgeting งบประมาณ

ระดับของผู้บริหารแบ่งออกเป็น ๓ ระดับด้วยคือ

๑) ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ทาหน้าที่นาองค์การไปสู่ความสำเร็จ โดยกำหนดนโยบายต่าง ๆขององค์การ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

๒) ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) ทาหน้าที่ควบคุมประสานงานกับผู้บริหารระดับต้นให้ดาเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้ และนาผลสำเร็จรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง

๓) ผู้บริหารระดับต้น (First – Line Manager) เป็นผู้บริหารที่ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติการและมีโอกาสรับรู้ปัญหาที่จริง

ทรัพยากรในการบริหารการจัดการ  ทรัพยากรหรือปัจจัยที่นักบริหารต้องให้ความสนใจ เพื่อให้การดาเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์การประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้คือ

คน (Man) คือทรัพยากรบุคคลที่เป็นหัวใจขององค์การ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการจัดการ

เงิน (Money) คือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การดาเนินการต่อไปได้

วัสดุ (Materials) คือวัตถุดิบซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น จาเป็นต้องมีคุณภาพและมีต้นทุนที่ต่ำเพราะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต

เครื่องจักร (Machine) เครื่องจักรอุปกรณ์ ที่มีศักยภาพที่ดีจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิตเช่นกันวิธีการบริหารหรือวิธีการปฏิบัติ (Managementor Method)

การจัดการหรือการบริหารในองค์กรธุรกิจประกอบด้วยระบบการผลิตหรือระบบการให้บริการต่าง ๆ หากมีระบบที่ชัดเจนตลอดจนมีระเบียบขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ในการทางาน ย่อมส่งผลให้องค์การประสบความสำเร็จได้ดี

แนวคิดและกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารของผู้บริหาร ดังนี้

กระบวนการบริหารจัดการ (Management Process) มีผู้ให้นิยามและความหมายหลากหลายของคำว่า การบริหารจัดการ” อาจหมายถึงกระบวนการที่ผู้บริหารดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หรืออาจหมายถึงกลุ่มความรู้ ความเข้าใจอันลึกซึ้งในเรื่องวิธีการบริหารจัดการ คำว่า “การบริหารจัดการ” ยังหมายถึงกลุ่มบุคคลที่นำพาและชี้แนวทางแก่องค์การCerto, Samuel C. (2549) ได้ทำการเปรียบเทียบคำนิยามทั้งหลายของการบริหารจัดการ แล้วสรุปว่าการบริหารจัดการมีลักษณะพิเศษ ๓ ประการ[4] ได้แก่

๑) การบริหารจัดการ เป็นกระบวนการหนึ่งหรือหลายๆ กระบวนการของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่อง

๒) การบริหารจัดการรวมถึงและเน้นการบรรลุเป้าหมายขององค์การ

๓) การบริหารจัดการสามารถมุ่งสู่เป้าหมายเหล่านั้นได้โดยการทำงานร่วมกันและโดยการทำงานผ่านบุคลากรและทรัพยากร อื่นๆ ขององค์การ 

จากความหมายนี้ จะเห็นว่าการบริหารจัดการ เป็นสิ่งที่ผู้เป็นผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน จะต้องกระทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากหลีกเลี่ยงหรือละเลยหน้าที่ในการการบริหารจัดการนี้ จะทำให้งานที่แต่ละบุคคลในฝ่ายต่างๆ ดำเนินการไปนั้นกระจัดกระจายและไม่เกิดผลสำเร็จขึ้นมา ดังนั้น โดยสรุปแล้ว การบริหารจัดการ จึงเป็นเรื่องของกระบวนการทำงานของนักบริหาร เพื่อให้งานต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นๆ



[1] เรื่องเดียวกัน เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม ๒๕๕๖ 

[2]เรื่องเดียวกัน เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม ๒๕๕๖ 

[3] หน้าที่ในการจัดการ (ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://portal.in.th/i-dhamma/pages/15618/.เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 มกราคม ๒๕๕๖

[4] แนวคิดและกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหาร(ออนไลน์). สืบค้นจาก::http://budmgt.topcities.com/budman เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม ๒๕๕๖


หมายเลขบันทึก: 530705เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2013 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท