ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

กรรมฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรค


กรรมฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

โดย พระมหาอกกวิน  ปิยวณฺโณ ( อะซิ่ม )

เลขที่ ๒ คณะศาสนาและปรัชญา สาขาพุทธศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

******

v อะไรเป็นสมาธิ ? 

ความมีอารมณ์เดียวแห่งจิตที่เป็นกุศล

v ที่ชื่อว่าสมาธิเพราะอรรถว่าอะไร ? 

vความตั้งมั่น คือ การดำรงอยู่ การตั้งอยู่อย่างสม่ำเสมอโดยถูกทางแห่งจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์เดียว

v อะไรเป็นลักษณะของสมาธิ ? 

ความไม่ซัดส่ายในอารมณ์ต่างๆของจิต

v อะไรเป็นปัจจุปัฏฐานของสมาธิ ? 

ความไม่หวั่นไหวในอารมณ์

vอะไรเป็นปทัฏฐานของสมาธิ ?  

ความสุขเป็นปทัฏฐานของสมาธิตามพระพุทธพจน์ว่า จิตของผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น


ประเภทสมาธิ

โดยลักษณะคือความไม่ซัดส่าย สมาธิมีอย่างเดียวเท่านั้น

มี ๒ อย่าง โดยเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ

  อุปจารสมาธิ คืออนุสสติฐาน ๖ มรณสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน และเอกัคคตาในส่วนเบื้องต้นแห่งอัปปนาสมาธิทั้งหลาย

  อัปปนาสมาธิ คือ เอกัคคตาในลำดับแห่งการบริกรรมแห่งปฐมฌานเป็นต้น


v มี ๒ อย่าง โดยเป็นโลกิยสมาธิและโลกุตตรสมาธิ

  โลกิยสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นกุศลใน ๓ ภูมิ

  โลกุตตรสมาธิ คือ เอกัคคตาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค


vมี ๒ อย่าง โดยเป็นสัปปีติกสมาธิและนิปปีติกสมาธิ

  สัปปีติกสมาธิ คือ เอกัคคตาใน ๒ ฌานในจตุกกนัย ใน ๓ ฌานในปัญจกนัย

  นิปปีติกสมาธิ คือ เอกัคคตาในฌาน ๒ ที่เหลือ


v มี ๒ อย่าง โดยเป็นสุขสหคตสมาธิและอุเบกขาสมาธิ

  สุขสหคตสมาธิ คือ เอกัคคตาใน ๓ ฌานในจตุกกนัย ใน ๔ ฌานในปัญจกนัย

  อุเบกขาสมาธิ คือ เอกัคคตาในฌานที่เหลือ


vมี ๓ อย่าง โดยจัดเป็นสมาธิอย่างทราม, อย่างกลาง, และอย่างประณีต

  สมาธิอย่างทราม คือ สมาธิที่สักว่าได้

  สมาธิอย่างกลาง คือ สมาธิที่อบรมแล้วแต่ยังไม่ดี

  สมาธิอย่างประณีต คือ สมาธิที่อบรมดีแล้วถึงความเป็นวสี

v มี ๓ อย่าง โดยจัดตามองค์คือวิตกวิจารมีสวิตักกสวิจารสมาธิเป็นต้น

  สวิตักกวิจารสมาธิ คือ สมาธิในปฐมฌานกับอุปจารสมาธิ

  อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ คือ สมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย

  อวิตักกอวิจารสมาธิ คือ เอกัคคตาใน ๓ ฌานในจตุกกนัยมีทุติยฌานเป็นต้น และในปัญจกนัยมีตติยฌานเป็นต้น

vมี ๓ ตามสภาวธรรมที่สหรคต มีปีติสหคตสมาธิเป็นต้น

  ปีติสหคตสมาธิ เอกัคคตาในฌาน ๒ ข้างต้นในจตุกกนัยและในฌาน ๓ ข้างต้นในปัญจกนัย

  สุขสหคตสมาธิ คือ เอกัคคตในตติยฌานและจตุตถฌานในจตุกกนัยและปัญจกนัย

  อุเบกขาสหคตสมาธิ คือ สมาธิ เอกัคคตาในฌานสุดท้าย

v มี ๓ ตามคุณานุภาพ เป็นปริตตะ มหัคคตะ และอัปปมาณะ

  ปริตตสมาธิ คือ เอกัคคตาในอุปจารภูมิ

  มหัคคตสมาธิ คือ รูปาวจรและอรูปาวจรที่เป็นกุศล

  อัปปนาสมาธิ คือ เอกัคคตาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค

vมี ๔ จำแนกตามความปฏิบัติและความรู้ มีทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญสมาธิเป็นต้น

v มี ๔ จำแนกตามอานุภาพและอารมณ์มีปริตปริตารัมณสมาธิเป็นต้น

  ปริตตสมาธิ คือ สมาธิซึ่งยังไม่เชี่ยวชาญไม่อาจเป็นปัจจัยแห่งฌานเบื้องสูงได้

  ปริตตารัมณสมาธิ คือ สมาธิที่เป็นไปในอารมณ์ซึ่งไม่ขยายตัว

  อัปปมาณสมาธิ คือ สมาธิที่เชี่ยวชาญอันอบรมดีแล้วสามารถเป็นปัจจัยแห่งฌานเบื้องสูงได้

  อัปปมาณารัมณสมาธิ คือ สมาธิที่เป็นไปในอารมณ์ขยายตัว

vมี ๔ โดยเป็นองค์แห่งจตุกฌาน

  ปฐมฌานสมาธิ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

  ทุติยฌานสมาธิ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

  ตติยฌานสมาธิ มีองค์ ๒ คือ สุขและเอกัคคตา

  จตุตถฌานสมาธิ มีองค์ ๒ คือ เอกัคคตาและอุเบกขาเวทนา

v มี ๔ โดยจำแนกตามฝ่าย มีหานภาคิยสมาธิเป็นต้น

  หานภาคิยสมาธิ คือ สมาธิที่ฟุ้งขึ้นด้วยอำนาจปัจจนีกธรรม

  ฐิติภาคิยสมาธิ คือ สมาธิที่หยุดอยู่แห่งสติอันเป็นสภาพควรแก่สมาธินั้น

  วิเสสภาคิยสมาธิ คือ สมาธิที่ได้บรรลุธรรมวิเศษเลื่อนชั้นขึ้นไป

  นิพเพธภาคิยสมาธิ คือ สมาธิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา

vมี ๔ โดยจำแนกตามภูมิ มีกามาวจรสมาธิเป็นต้น

  กามาวจรสมาธิ คือ เอกัคคตาชั้นอุปจารทั้งปวง

  รูปาวจรสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งกุศลจิตในรูปาวจรจิต

  อรูปาวจรสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งกุศลจิตในอรูปาวจรจิต

  อปริยาปันนสมาธิ คือ เออกัคคตาแห่งกุศลจิตในอปริยาปันนจิต

v มี ๔ โดยจำแนกตามตามอิทธิบาทที่เป็นอธิบดี

  ฉันทสมาธิ คือ สมาธิที่ได้ความเป็นอารมณ์เดียวแห่งจิตเพราะทำฉันทะให้เป็นใหญ่

  วิริยสมาธิ คือ สมาธิที่ได้ความเป็นอารมณ์เดียวแห่งจิตเพราะทำวิริยะให้เป็นใหญ่

  จิตตสมาธิ คือ สมาธิที่ได้ความเป็นอารมณ์เดียวแห่งจิตเพราะทำจิตให้เป็นใหญ่

  วิมัสาสมาธิ คือ สมาธิที่ได้ความเป็นอารณ์เดียวแห่งจิตเพราะทำวิมังสาให้เป็นใหญ่

vมี ๕ โดยเป็นองค์แห่งปัญจกฌานในปัญจกนัย ฌานเป็น ๕ อย่าง เพราะแบ่งเป็น ๒ โดยวิธี คือ ทุติยฌานที่กล่าวในจตุกนัยเป็นทุติยฌาน เพระวิตกล่วงไปอย่างเดียว เป็นตติยฌาน เพราะทั้งวิตกวิจารล่วงไป


ความเศร้าหมองและผ่องแผ้วแห่งสมาธิ

v อะไรเป็นความเศร้าหมองแห่งสมาธิ ? 

หานภาคิยธรรม คือสัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยกามที่ครอบงำผู้ได้ปฐมฌาน เป็นความเศร้าหมอง

v อะไรเป็นความผ่องแผ้วแห่งสมาธิ ?

วิเสสภาคิยธรรรม คือ สัญญาและมนสิการที่ไม่มีความวิตกเกิดขึ้นเป็นความผ่องแผ้ว

  อานิสงส์สมาธิ

v อานิสงส์แห่งสมาธิมี ๕ อย่าง

  ๑. ย่อมอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็น

  ๒. ย่อมรู้ชัดตามสภาวธรรมที่เป็นจริง

  ๓. มีอภิญญาเป็นอานิสงส์ ย่อมควรเป็นพยานในธรรมขั้นนั้นๆ

  ๔. ย่อมมีพรหมโลกเป็นที่หวังได้

  ๕. ย่อมมีนิโรธเป็นอานิสงส์


หมายเลขบันทึก: 530698เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2013 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท