รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

Diabetes care: Pharmacists are Indispensable


ระบบการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน

Diabetes care: Pharmacists are Indispensable

ตัวอย่างการพัฒนางานจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร

เป้าหมายและพันธกิจสำหรับการทำงานดูแลผู้ป่วยเบาหวานในงานเภสัชกรรมบริบาลผู้ป่วยเบาหวาน
โรงพยาบาลสมุทรสาคร คือ ทำงานและกำหนดทิศทางร่วมกันกับทีมโดยตั้งใจทำงานในหน้าที่รับผิดชอบของเภสัชกรให้ดีทั้งนี้เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่เป็นเบาหวานแล้วตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม


ในปัจจุบันการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสมุทรสาครร่วมกับ  สหสาขาวิชาชีพได้ปรับวิธีการทำงานดูแลผู้ป่วยโดยมีเป้าหมายสามารถให้การบริบาลเภสัชกรรมอย่างต่อเนื่อง”แม้ทีมงานหลักจะมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในงานต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย โดยพัฒนาแบบประเมิน การบันทึกติดตามผู้ป่วย ทั้งนี้มีระบบส่งต่อข้อมูลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อการติดตามเติมเต็มและกระตุ้นเตือน ความรู้ ทักษะ เจตคติให้กับผู้เป็นเบาหวานในเรื่องความรู้โรคเบาหวานทักษะและเจตคติการใช้ชีวิตอยู่กับเบาหวานและยาควบคุมเบาหวานทำให้การปฏิบัติงานมีแนวทางพัฒนาต่อเนื่อง ติดตามผู้ป่วยได้ แม้มีปัจจัยแปรปรวนเปลี่ยนแปลงภายนอกการบริบาลเภสัชกรรมยังสามารถดำเนินการต่อไปได้แต่คุณภาพอาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์

ระบบการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานจัดการดำเนินการดังนี้

1.การให้ความรู้เรื่องยาและการสนับสนุนการจัดการตนเองในการใช้ยา มีกิจกรรมการให้ความรู้ การให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม แบบชั้นเรียนและแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดให้มีบริการผู้ป่วยตามประเภท ผู้ป่วยทั่วไปได้เข้ากลุ่มเรียนรู้ซึ่งจะได้รับการให้ความรู้และพัฒนาทักษะการใช้ยาร่วมไปกับทักษะด้านอาหารและออกกำลังกายจากนักสุขศึกษาและนักโภชนาการทั้งหมด 4 ครั้ง

2. ระบบการปฏิบัติงานและการส่งต่อข้อมูล

2.1 การปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม ให้คำปรึกษาเรื่องยาติดตามป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องยานำเสนอข้อมูลให้แพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนและวางแผนการรักษา

2.2 การให้คำแนะนำเภสัชกรให้คำแนะนำที่ถูกต้องโดยแนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักยาที่ได้รับ วิธีการใช้ยาข้อควรระวัง อาการข้างเคียง การเก็บรักษายา อาการสำคัญที่ควรกลับมาพบแพทย์นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำที่จำเป็นอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องและนำไปปฏิบัติได้ในวิถีชีวิต

2.3 การบันทึกงานอย่างต่อเนื่องในประวัติผู้ป่วยเพื่อให้มีข้อมูลการบริการที่ผู้ป่วยได้รับ
ดังนี้  แผนการให้ความรู้ บันทึกกิจกรรมที่ผู้ป่วยได้รับ บันทึกจำนวนยาที่ผู้ป่วยได้รับและคงเหลือในแต่ละครั้ง บันทึกผลการให้ความรู้และผลการจัดกิจกรรมและแผนติดตามต่อไป

2.4 ระบบการส่งต่อข้อมูล เพื่อให้ผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลใช้เอกสารบันทึกพร้อม ๆ กันได้หลายคน หลาย ๆ
หน่วยงาน
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อป้องกันและชะลอการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน
3.1 ระบบเรียกข้อมูล โดยใช้ตัวแปรที่มีความสำคัญ เช่น
ค่าการทำงานของไต และรายการยาที่ต้องปรับขนาดเมื่อการทำงานของไตบกพร่อง

3.2 ระบบประสานรายการยา โดยการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่มานอนโรงพยาบาลตรวจสอบอาการสำคัญที่ทำให้ต้องมาโรงพยาบาล ด้วยภาวะฉุกเฉินน้ำตาลต่ำหรือน้ำตาลสูงสูงซึ่งอาจพบปัญหาการใช้ยาเกินขนาดหรือไม่ร่วมมือในการใช้ยาหรือมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะกับแผนการใช้ยา
4. ระบบการสร้างสรรค์มาตรฐานปรับปรุง มีการปรับแนวทางปฏิบัติทางคลินิกที่มีหลักฐานแสดงผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้นโดยปรับปรุงงานและแนวทางปฏิบัติ จัดทำผังงานและกำหนดบทบาทหน้าที่มีระบบสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการฝึกปฏิบัติ มีกลยุทธ์ในการดำเนินการและมีระบบที่ตรวจสอบทบทวนได้โดยสหสาขาวิชาชีพ
และจัดการความรู้มีการประชุมภายในหน่วยงานย่อยทุกสัปดาห์มีการประชุมทีมงานสหสาขาวิชาชีพต่างสายงานก่อนและหลังกิจกรรม
5. ระบบประเมินผลตัวชี้วัดกระบวนการและผลลัพธ์ ดังนี้

5.1 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่มีร้อยละเอวันซี และร้อยละที่เข้าเกณฑ์ของน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร จำนวนผู้ป่วยที่ขาดการติดตามจำนวนผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลด้วยภาวะฉุกเฉิน

5.2 ตัวชี้วัดกระบวนการ ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการใช้ยามากกว่าร้อยละ 85 จำนวนผู้ป่วยที่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ จำนวนผู้ป่วยที่พบปัญหาการใช้ยา

การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้นจากผู้ปฏิบัติงาน จะต้องสกัดประสบการณ์ในการทำงาน จดจำ ความผิดพลาดและความสำเร็จ และกระทำเรื่องที่สำเร็จซ้ำ ๆ ใช้ความรู้จากความผิดพลาดจัดให้เป็นระบบหรือวิธีซึ่งป้องกันได้ มองเห็นแนวทางปฏิบัติที่ดีขึ้น ลัด เร็ว สะดวก ปลอดภัย ปรับเป็นมาตรฐานงานทำงานแบบเชิงรุกมากขึ้นโดยใช้วิธีตามรอย หรือสัญญาณนำ กระตุ้นเตือน มาช่วย การรับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ การประสานส่งต่อร่วมมือร่วมใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานจึงมีประโยชน์มากในการสร้างระบบที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 530542เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2013 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2013 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท