อ้อยดำ 7 ข้อใบเตย 3 ใบ ล้างพิษในเส้นเลือดฝอย


น้ำอ้อยดำกับใบเตยล้างพิษในเส้นเลือดฝอย

 ปกติก็ทราบแต่ว่าการลดไขมันในเลือดใช้สมุนไพรที่หาได้ไม่ยากและรู้จักทำดื่มได้ง่ายเช่น  กระเจี๊ยบ  ขิง  ชา คำฝอย ตะไคร้  มะขามป้อม ทับทิม สตรอเบอร์รี่ มะนาว  ฯ การทำน้ำอ้อยดำกับใบเตยนั้นหลายท่านอาจจะได้เคยทำดื่มบ้างแล้ว พอดีพึ่งได้ทราบค่ะว่ามีการนำสมุนไพร 2 อย่างนี้มารวมกันแล้วล้างพิษในเส้นเลือดฝอยได้ สูตรโดย อ.สุทธิวัสส์ คำภา  จึงทดลองทำดื่มดูและนำมาฝากนะคะ

 

 

สำหรับสูตรการทำพร้อมคำอธิบายที่มีการเผยแพร่มี ดังนี้นะคะ

สูตรล้างพิษในเส้นเลือดฝอย

เส้นเลือดฝอยของคนเราเมื่อใช้ไปนานๆก็ย่อมมีอาการตีบตัน ทั้งจากอาหารไขมัน ของหวาน หรือสารพิษต่างๆ สะสมจนกลายเป็นขยะพิษ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก แขนขาชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็ให้มั่นล้างเส้นเลือดฝอยให้สะอาดด้วย

น้ำอ้อยดำ+ใบเตย อ้อยดำ 7 ข้อ (นับตามข้อที่นูนออกมา )ใบเตย 3 ใบ 

นำอ้อยดำมาสับเป็นท่อนๆเติมน้ำตาสะอาดพอท่วมอ้อย ใส่ใบเตยลงไป ต้มจนเดือดสักพัก (ห้ามใส่น้ำตาลโดยเด็ดขาด) ดื่มได้ทั้งร้อนท้ั้งเย็น ดื่มติดต่อกันจนกว่าจะรู้สึกตัวเบาโล่งสบาย สูตรนี้ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ดีเยี่ยม

( บางทีก็เรียกอ้อยแดงหรืออ้อยขม เป็นไม้มงคลปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยดูดโชคลาภเข้าบ้าน)

 ขอบคุณสูตรอ้อยดำกับใบเตย โดยอ.สุทธิวัสส์ คำภาจากหนังสือสูตรเด็ด (ฉบับสีเขียว)

 


 

 

 วิธีทำ   ตัดแบ่งเป็นข้อ 7 ข้อ แล้วผ่าเป็นชิ้นเล็กๆหรือจะทุบ ตำให้ข้อแตกแล้วแต่สะดวก ใบเตย 3 ใบล้างบิดขย้ำให้ช้ำแล้วใช้กรรไกรหรือมีดซอยชิ้นเล็กๆ ใส่หม้อ นำน้ำสะอาดใส่ท่วมอ้อย (ขนาดปล้องอ้อยที่มาทำแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน) แล้วตั้งไฟน้ำเดือด ไฟปานกลาง เคี่ยวประมาณ 30 นาที ไม่ใส่น้ำตาล น้ำจะมีรสหวานเล็กน้อยจากอ้อย กลิ่นหอมจากใบเตยดื่มแบบอุ่นหรือเย็นแล้วแต่ชอบ

 

อ้อยดำและใบเตย มีสรรพคุณประโยชน์เป็นยาตามโบราณ ดังนี้

 

เตยหอม     หวานข้าวไหม้, ปาแนะวองิง (มาลายู), พังลั้ง(จีน) 

ใบ      รสหวานหอมเย็น      บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง

ราก,ต้น รสหวานเย็นหอม   แก้กระษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ

             แก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้พิษตานซาง แก้ร้อนในกระหายน้ำ

 

อ้อยแดง      อ้อยดำ, อ้อยตาแดง, อ้อยขม ,Suger Cane

เปลือกต้น  รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย

ชานอ้อย    รสจืดหวาน  แก้แผลเรื้่อรัง แก้ฝีอักเสบบวม

ลำต้น ,น้ำอ้อย  รสหวานขมชุ่ม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หืดไอ

                       แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ ขับนิ่ว แก้ช้ำรั่ว

                        แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก

ตา    รสหวานขม แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง

 

( ขอบคุณสรรพคุณอ้อยและเตยหอมจากหนังสือเภสัชกรรมไทยฯ โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช )

 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา  แสนมณี

 

หมายเลขบันทึก: 526698เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2013 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2014 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะ คุณกานดามีความสามารถพิเศษนะคะ

เขียนอะไรมาดูง่าย น่าทำทั้งนั้นเลย

กำลังสนใจการใชน้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร แต่หาซื้อไม่ค่อยมีนะคะ

น่าสนใจมากและเป็นประโยชน์มากค่ะ..

ชาใบเตยก็หอมดีค่ะเมื่อใส่อ้อยลงไปคงหวานนะะคะ เพราะเคยกินชาใบเตยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ


ดารินทร์ จิตนุยานนท์

ส่วนที่เป็นยาของอ้อยดำคือตรงข้อหรือคะ บางคนบอกว่าที่เปลือก ช่วย ให้ ความกระจ่างด้วยค่ะ

ผมดื่มแล้วมีผื่นขึ้นและคันด้วยตามร่างกายแขนขาลำตัวคล้ายๆลมพิษ สาเหตุอะไรครับ ผมเลยหยุดดื่ม นี่คือผลข้างเคียงรึเปล่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท