สรุปประเด็นสำคัญการเสวนาเรื่อง Migration and human trafficking in Thailand-Current Issues and Main Concerns


      การเข้าเมืองในประเทศไทยที่เป็นปัญหาและ เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องการค้ามนุษย์แบ่ง ออกเป็น 2 รูปแบบคือ การเข้ามาในลักษณะของการอพยพและการเข้ามาในลักษณะของผู้ลี้ภัย

      การเข้ามาในลักษณะของการอพยพ เข้ามาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือ กัมพูชา ลาว พม่า นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆอีก และบางส่วนเป็นชนกลุ่มน้อย

      การเข้ามาในลักษณะของผู้ลี้ภัย คือ การเข้ามาเพราะหนีภัยความตายอันเนื่องมาจาก การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง และสงคราม ผู้ลี้ภัยที่ส่วนใหญ่เข้ามาในประเทศไทยจะเป็นชาวพม่า ชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า และ ชาวโรฮิงยาจัดอยู่ในกลุ่มนี้

      นอกจากนี้ยังมีการเข้ามาในอีกรูปแบบหนึ่งคือ การเข้ามาของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ เราจำเป็นต้องแบ่งการเข้าเมืองเป็นสามรูปแบบข้างต้น เนื่องจากการเข้าเมืองมาในสามรูปแบบข้างต้นจะได้รับการปฏิบัติที่ต่างกันกล่าวคือ

     หากเข้ามาโดยการอพยพ หรือการลี้ภัยเข้ามา กฎหมายที่นำมาพิจารณาการเข้าเมืองคือ พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ผลของการเข้าเมืองมาคือ ต้องถูกส่งกลับประเทศต้นทาง

     การเข้ามาในลักษณะของการลี้ภัยไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้ลี้ภัยแต่ก็ได้ปฏิบัติตามหลักสากลคือ  ไม่ส่งตัวพวกเขากลับประเทศต้นทางหากการส่งเขากลับไปจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ที่พักพิง สิ่งที่สามารถทำได้อีกประการการหนึ่งคือการส่งไปประเทศที่สาม

      การเข้าเมืองมาในรูปแบบของการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ กฎหมายที่นำมาพิจารณา คือ พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กรณีนี้ไม่นำ พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาใช้ จึงไม่มีความผิดในฐานหลบหนีเข้าเมือง เหยื่อจะถูกปฏิบัติเสมือนผู้เสียหาย ได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัย ที่อยู่อาศัย และมีสิทธิในการทำงาน เมื่อต้องส่งเหยื่อกลับ ต้องประสานงานกันระหว่างประเทศ ต้องมีกระบวนการเกี่ยวกับความปลอดภัย ให้เหยื่อกลับไปในที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย

ข้อเสนอในการจัดการกับปัญหาที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน

      -  จะเห็นว่าการเข้าเมืองมาในลักษณะที่ต่างกันจะผลที่ แตกต่างกัน จึงต้องมี

กระบวนการคัดแยกผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ออกมา โดยมีการเสนอให้ NGO มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลว่าเป็นเหยื่อ หรือ เป็นผู้ค้าเอง

     - กรณีบุคคลที่ลับลอบเข้ามาไม่มีสวัสดิการใดๆเลย มีเพียงการรอส่งกลับ เช่นชาวโรฮิงยาไม่สามารถส่งพวกเขากลับไปได้ เนื่องการส่งกลับอาจเป็นอันตรายต่อเขา ประเทศไทยจึงต้องปฏิบัติต่อเขาอย่างมีมนุษยธรรม

     - เสนอให้หลายประเทศร่วมกันตั้งกองทุนทำค่าย เพื่อเป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ลี้ภัยเพื่อรอการส่งไปประเทศที่สาม เนื่องจากหากประเทศไทยแบกรับประเทศเดียวก็จะเป็นภาระแก่ประเทศไทยมากจนเกินไป

โดยการร่วมมือกันในลักษณะข้อตกลง จะเกิดผลดีคือ จะเกิดการคุ้มครอง สวัสดิภาพของผู้หลบหนีเข้าเมือง

     - กรณีสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เมื่อคนในค่ายพักพิงมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย จัดให้มีนักกฎหมายแจ้งให้เขารู้ถึงสิทธิ และให้ความเป็นธรรมแก่เขา แต่กรณีนี้มีข้อจำกัดในเรื่องภาษา แม้ NGO จะเข้ามาช่วยแต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนบุคลากร จึงเสนอให้รัฐบาลไทยเข้าไปช่วย

    - ประเทศไทยควรจะมีการวางแผนยุทธศาสตร์ เพื่อมารองรับการถูกบังคับย้ายถิ่นฐาน

    - ประเทศไทยต้องออกกฎหมายภายในเพื่อรองรับ ข้อ 16 ปฏิญญาอาเซียน เรื่องสิทธิในการลี้ภัย


หมายเลขบันทึก: 522425เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2013 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2013 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ สำหรับสรุปประเด็นเพื่อสร้างการเรียนรู้ แต่บางประเด็นขอถามเล็กน้อยเพื่อเป็นความรู้ผมเองเพิ่มเติมครับ 

  1. นิยามที่ถูกต้องและตรง : สำหรับเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็น Migrant คืออะไรบ้างครับ ขอบเขตแค่ไหนอย่างไร 
  2. สำหรับข้อเสนอเรื่องการย้ายถิ่นหลายประเด็นน่าสนใจมากครับ และควรนำมาสู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์สำหรับการย้ายถิ่นนั้น สัมพันธ์เหมือนหรือคล้ายยุทธศาสตร์ผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ 2555 ครับ เพราะเนื้อหาบางส่วนยุทธศาสตร์นี้คล้ายแต่การทำงานต่อไปนั้นยังยากอยู่
ผมสอบถามประมาณนี้ครับเพื่อผมเข้าใจเอง ขอความรู้ด้วยนะครับ และชื่นชมบันทึกนะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท