เนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพ เลือกซื้อเลือกทำให้เป็นอาหารอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกับร่างกาย


การบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพดี

 เนื้อสัตว์ มีสารอาหารโปรตีนที่ร่างกายได้ประโยชน์มาก โดยเฉพาะช่วงวัยกำลังเจริญเติบโต แต่การนำมาปรุงเป็นอาหารแต่ละอย่างก็ต้องระวังควรทำให้ถูกวิธีจะได้ไม่เกิดโรคได้ภายหลัง แต่ก็ยากที่จะรู้ได้ทุกคนทั้งหมดในทุกท้องถิ่นในแต่ละครอบครัว ผู้เจ็บป่วยเนื่องจากอาหารเป็นเหตุก็มากขึ้นทุกวัน

 นำข้อมูลจากการได้อ่านพบ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เห็นว่ามีประโยชน์ในการนำเนื้อสัตว์มาเป็นอาหาร ซึ่งผู้เขียนคอลัมน์หลากเรื่องราวนี้ได้ขออนุญาตนำมาเผยแพร่จากเว็ปไซต์กรมปศุสัตว์ มีดังนี้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพของร่างกาย  สรุปได้ คือ

1. เนื้อสัตว์เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง

เป็นโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนะสูง  และถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้เกือบหมด เนื้อสัตว์มีโปรตีนอยู่สูงถึง 20% และมีกรดอะมิโน  lysine  และ  taurine ในปริมาณสูง  เมื่อเทียบกับปริมาณโปรตีนที่ได้จากอาหารอื่น


2. เนื้อสัตว์ประกอบด้วยวิตามินหลายอย่าง

ได้แก่  B1, B6, B12, A, D, E, K และ C โดยเฉพาะวิตามิน C มี อยู่มากในผลิตภัณฑ์เนื้อ เช่น ไส้กรอก  แฮม  เป็นต้น นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์เนื้อกลุ่มหมักเปรี้ยวเช่น แหนม ซาลามี่ ยังมีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น แลคโตบาซิลัส


3. เนื้อสัตว์ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย 

และมักจะพบอยู่น้อยมากในแหล่งอาหารอื่น ๆ  แต่จะมีมากในเนื้อสัตว์ คือ ธาตุเหล็ก สังกะสี ซีลิเนียม


4. เนื้อสัตว์ที่จะนำมาปรุงอาหาร 

หากต้องการความนุ่มควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการบ่มเนื้อ (ageing)  เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเนื้อ  ได้แก่  การให้เอนไซม์ในเนื้อมีโอกาสมาย่อยโปรตีนบางส่วน  ทำให้เนื้อสัตว์พ้นสภาวะการหดตัวอย่างถาวรของเส้นใยกล้ามเนื้อ โดยในสุกรควรบ่มเนื้อประมาณ 2 วัน ในโคประมาณ 7-14 วัน เพื่อให้ได้เนื้อที่นุ่มน่ารับประทานมากขึ้น


5. การปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์

ควรมีไขมันเนื้อสัตว์ติดปนอยู่กับชิ้นเนื้อบ้าง เพราะจะทำให้เนื้อนั้นไม่กระด้างเมื่อถูกความร้อนขณะปรุงอาหาร โดยไขมันจะช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการสูญเสียน้ำไปได้โดยง่าย นอกจากนี้ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันติดมาบ้างจะมีกลิ่นและรสชาติที่ดีกว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่ ติดไขมันเลย



6. เนื้อสัตว์จะมีสารพิษตกค้างอยู่น้อยมาก 

เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารประเภทอื่น ๆที่มีโอกาสของการตกค้างของสารพิษสูงกว่าเช่น ผัก ผลไม้ และอาหารทะเล


7. เนื้อสัตว์ที่เลาะเอาไขมันและพังผืดออกแล้ว

จะมีไขมันเป็นองค์ประกอบในปริมาณต่ำคือ มีไขมันเป็นองค์ประกอบเพียง  1 – 2 % เท่านั้น ดังนั้นเนื้อสัตว์ที่แต่งเอาไขมันออกบ้างแล้วจึงเป็นอาหารที่มีองค์ประกอบ ทางโภชนะสูงและให้พลังงานต่ำ


8. การย่างเนื้อไม่ควรมีไขมันหรือคราบเก่าของไขมันจากสัตว์ที่หยดลงบนภาชนะ

ที่ ย่างครั้งก่อน ๆติดทิ้งไว้ หรือปล่อยให้ไขมันสัตว์หยดลงบนถ่านไฟ เนื่องจากควันไฟที่เกิดจากการที่ไขมันสัตว์ถูกเผาไหม้อาจจะมีสารก่อมะเร็ง ดังนั้นถ้าใช้เตาถ่านในการย่างเนื้อก็ควรเคาะถ่านให้หยดไขมันที่ไหม้ไฟหลุดออกไป หรือการป้องกันที่คือ เตาย่างไฟฟ้าแบบที่ให้ความร้อนจากด้านบน  นอกจากนี้การใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ปูพื้นเตาไฟฟ้าหรือเตาย่างแบบใช้ก๊าซให้ ความ ร้อน ก็ช่วยป้องกันการเกิดติดค้างของไขมันบนเตาย่างได้เป็นอย่างดี


9. การประกอบอาหารจากผลิตภัณฑ์เนื้อที่มีการเติมเกลือไนไตรต์

เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์  และช่วยให้ผลิตภัณฑ์เนื้อมีสีสันน่ารับประทานมากขึ้นนั้น  ไม่ควรให้ความร้อนสูงผ่านโดยตรงกับผลิตภัณฑ์เช่น วิธีการทอดโดยน้ำมันร้อนจัด  เพราะอาจมีโอกาสเกิดสารไนโตรซามีน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย จึงไม่ควรใช้เวลาในการทอดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนานเกินควร หรือใช้ความร้อนสูงเกินความจำเป็นในการทำให้สุก วิธีการที่เหมาะสมในการทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวร้อนควรใช้การลวกในน้ำร้อน หรือโดยการนึ่ง


10. เนื้อแช่เยือกแข็ง ( frozen  meat) 

หากผ่านการทำให้ละลายที่ถูกวิธีจะรักษาคุณภาพคงเดิมไว้ได้ตามปกติการเก็บ รักษาเนื้อสัตว์โดยวิธีการแช่แข็ง (-18 ถึง-30 องศาเซลเซียส) จะช่วยให้สามารถเก็บรักษาเนื้อไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ และหากนำเนื้อสัตว์แช่แข็งมาทำการละลาย (thawing) อย่างถูกวิธีจะไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนะของเนื้อสัตว์นั้นลดลงไป แต่ถ้านำไปละลายโดยไม่ถูกวิธี 

เมื่อนำเนื้อสัตว์นั้นไปประกอบอาหารจะทำให้คุณค่าทางโภชนะ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนลดลงได้ เนื้อที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งอย่างรวดเร็ว (quick  frozen) สามารถนำมาทำให้ละลายอย่างรวดเร็วได้ โดยการนำเนื้อที่ได้ดังกล่าวใส่ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทแล้วแช่ในน้ำอุ่น  แต่ถ้าเนื้อที่ผ่านการแช่แข็งแบบธรรมดา ควรนำมาทำให้ละลายอย่างช้า ๆ โดยการนำไปใส่ภาชนะแล้ววางไว้ในตู้เย็นซึ่งจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน

หากต้องการให้ละลายเร็ว ก็ควรนำมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง แต่ทั้งนี้ต้องระวังการปนเปื้อนจุลินทรีย์ด้วย ซึ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ถ้าอุณหภูมิในเนื้อนั้นเพิ่มขึ้น ส่วนเนื้อแช่แข็งที่ผ่านการละลายแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก เนื่องจากคุณค่าทางโภชนะได้ลดลง และเนื้อได้มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในระหว่างการละลายน้ำแข็ง




(ขอบคุณ  “การบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพ” จากหนังสือพืมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ หลากเรื่องราว )

ความเสี่ยงของร่างกายที่จะได้รับสิ่งที่ไม่ดีบางอย่างเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัวนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจากอาหารที่เรากินวันละหลายอย่าง หรือสิ่งอื่นๆรอบตัวเรา การรับทราบการเตือนการบอกเล่าเพื่อระวังป้องกันก็เป็นสิ่งที่ดี หากปฏิบัติได้เราก็ควรทำเพื่อป้องกันได้ระดับหนึงหรืออย่างหนึ่งก็ยังดีกว่าเราไม่ระวังเลย 

ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี

หมายเลขบันทึก: 522424เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2013 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2013 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่ใหญ่เลิกบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ๆแล้วค่ะ...ผักและปลาเป็นหลัก...มื้อเที่ยงนี้ส่งภาพข้าวแช่มาฝาก...


สวัสดีค่ะคุณพี่ใหญ่

ดาพึ่งอ่านเรื่องข้าวแช่เสร็จค่ะในนสพ.เดลินิวส์(ฉบับวันที่ 16 มีค.56) เปิดมาพบภาพอีก อะไรจะพอดีกับที่พึ่งชมอ่านเสร็จเลย ดีใจค่ะ อยากชิมมากเลย เมื่อตอนเที่ยงวันนี้ดาทานขนมจีนส้มตำไทยค่ะ เรื่องอาหารเนื้อสัตว์ใหญ่ดากำลังใช้ความพยายามที่จะงดค่ะ  เป็นอาหารที่ดาชอบมากมาตั้งแต่เด็กจนถึงเดี๋ยวนี้  ทำอาหารอะไรก็อร่อยไปหมด ขอบคุณมากนะคะ  ดาจะนึกถึงคุณพี่ใหญ่เสมอ ดาจะได้งดได้นะคะเพื่อสุขภาพได้แข็งแรงเหมือนคุณพี่ใหญ่นะคะ

ไม่ค่อยกินเนื้อสัตว์ใหญ่ครับ กินแต่ปลา  เลิกทำบาปแล้ว

ลด ละเลิก จะได้บุญนะครับ

เพิ่งจะเลิกทานเนื้อสัตว์เหมือนกัน.. เกือบแปดเดือนแล้วค่า 

สุขภาพแข็งแรงดี รู้สึกดีมากๆค่ะ Confirm

ถั่ว หลายร้อยชนิด มีโปรตีน เพียงพอ สำหรับคนทุกเพศวัย  ใข่ นม ก็มีโปรตีน สูงพอ  เนื้อสัตว์ อาจมีพยาธิ ไวรัส เชื้อโรค หลายร้อยชนิด และ ในสมัยนี้ อาจมี ฮอร์โมน สารปฎิชีวนะ สารแต่งสี น้ำ...

...4. เนื้อสัตว์ที่จะนำมาปรุงอาหาร 

หากต้องการความนุ่มควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการบ่มเนื้อ (ageing)  เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเนื้อ  ได้แก่  การให้เอนไซม์ในเนื้อมีโอกาสมาย่อยโปรตีนบางส่วน  ทำให้เนื้อสัตว์พ้นสภาวะการหดตัวอย่างถาวรของเส้นใยกล้ามเนื้อ โดยในสุกรควรบ่มเนื้อประมาณ 2 วัน ในโคประมาณ 7-14 วัน เพื่อให้ได้เนื้อที่นุ่มน่ารับประทานมากขึ้น...

So fresh meat is not good enough, rotting meat is better?

...5. การปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์

ควรมีไขมันเนื้อสัตว์ติดปนอยู่กับชิ้นเนื้อบ้าง เพราะจะทำให้เนื้อนั้นไม่กระด้างเมื่อถูกความร้อนขณะปรุงอาหาร โดยไขมันจะช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการสูญเสียน้ำไปได้โดยง่าย นอกจากนี้ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันติดมาบ้างจะมีกลิ่นและรสชาติที่ดีกว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่ ติดไขมันเลย...

So some animal fats is good, which fats and how much of them are good? And what are good for health --  apart from making meat tender,  moister and tastier to cook and to eat?

<I have eaten common super-market meats, uncommon bush/wild meats, many insects, many snails and molluscs, many fish and sea mammals,... I now see 'meats' as 'best avoided' in the same way I avoid 'sweets'. [Culturally, people award kids with 'sweets' -- which cause addiction and eventually kill kids in the final analysis. Historically, people showed power by killing wild animals (and other people) and by eating the victims' meat -- which is just a symbolic way of saying 'I win'. For the record I say: Growing own foods needs much more intelligence, efforts and courage than hunting or killing. ]

Metta is for all lives even plants and vegetables!


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท