การบันทึกการเรียนรู้ (Note Taking)


ความหมายและประโยชน์ของการบันทึกการเรียนรู้ (Note Taking)

การบันทึกการเรียนรู้หรือ Note Taking นั้นจะเกิดการผู้เรียนหรือผู้ศึกษาข้อมูลใดๆ มีความต้องการเขียน จด พิมพ์หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาข้อมูลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการอ่านหนังสือ, การเรียนในห้องเรียน, บันทึกหลังการสอน, การดูทีวี, การจดคะแนนของผู้เข้าแข่งขันในรายการประกวดร้องเพลง, การถอดเทปจากเพลงต่างๆ การบันทึกช่วยจำ, การบันทึกการประชุม, การรวบรวมองค์ความรู้ หรือแม้แต่การจดเนื้อหาเข้าห้องสอบ โดยมีรูปแบบที่ไม่ตายตัว มีอิสระในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของผู้บันทึกเอง ซึ่งมีรูปแบบทั้ง ข้อความ, การใช้สีต่างๆ, สัญลักษณ์, ตัวย่อ, ภาพ, วิดีทัศน์, บันทึกเสียงและการใช้รูปภาพตัดแปะ

ซึ่งประโยชน์ของการบันทึกการเรียนรู้จะช่วยทบทวนสิ่งที่ได้เรียนหรือศึกษามาแล้ว จะส่งเสริมประสิทธิภาพด้านความจำระยะยาวได้ดีขึ้น 


ภาพอ้างอิงจาก http://www.ellaz.com/AIV/

การทบทวนสิ่งที่ได้เรียนหรือศึกษามาแล้วจะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำระยะยาวได้ดีขึ้นโดยจะต้องมีการทบทวนอย่างต่อเนื่องในช่วงแรก

ข้อแนะนำการบันทึกการเรียนรู้ (Note Guideline)

  โดยเทคนิคต่างๆที่จะนำเสนอต่อไปนี้นั้นอาจไม่เป็นกฎตายตัวเสมอไป ขึ้นกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้บันทึกและสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้บันทึกเอง โดยมีข้อแนะนำจากหนังสือ “Effective Collage Learning” ในหัวข้อ “Note Taking: Your Task in Class”[1] ออกมาดังนี้

1.  การเลือกที่นั่งในการจดบันทึกขณะอยู่ในห้องเรียนหรือห้องการบรรยายต่างๆ ควรจะต้องเลือกที่นั่งด้านหน้าและอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางเสมอเพื่อให้สามารถมองเห็นการสอนของผู้สอนได้ชัดเจนขึ้น มีสมาธิอยู่กับผู้สอนได้มากขึ้น 


อ้างอิงภาพจาก http://www.brookings.edu

2.  การตรวจสอบการบันทึกกับผู้สอนหรือกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไปว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่อย่างไร

3.  การตั้งใจฟัง คิดตามและเริ่มลงมือบันทึก โดยอาจจะมีการตรวจสอบกับนักกระบวนกร (Facilitator)

4.  การเว้นวรรคและการแบ่งย่อหน้า เพื่อให้เกิดการแบ่งข้อมูลต่างๆ ออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

5.  การใช้คำสำคัญ (Key Point) ในบางครั้งผู้สอนจะมีการแนะนำคำสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนั้นแล้วการบันทึกคำสำคัญนั้นจะประโยชน์ในการทบทวนและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

6.  การบันทึกให้ผู้บันทึกเองอ่านได้ง่าย โดยอาจไม่จำเป็นต้องมีใช้หลักเกณฑ์ของแผนภาพมโนทัศน์หรือหลักเกณฑ์อื่นๆ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับลักษณะการอ่านของแต่ละคนให้เหมาะสม


ภาพอ้างอิงจาก http://www.netpresence.us

นอกจากข้อแนะนำต่างๆข้างต้นแล้วในหนังสือได้แนะนำวิธีการ (Method) ที่เป็นทางการขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 4 วิธีการดังนี้

1.  Cornell Method เป็นวิธีการที่คิดค้นโดย Dr. Walter Pauk จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ โดยมีสาระสำคัญในการบันทึกคือการสร้างส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือส่วนการบันทึกทั่วไป (ช่องหนึ่ง), ส่วนคำถาม ข้อสงสัย ในระหว่างการบันทึก (ช่องสอง) และส่วนสรุปสาระสำคัญหรือคำสำคัญ (Key Point) โดยส่วนสุดท้ายนี้จะนำไปใช้ในการทบทวนการเรียนรู้และสรุปสาระสำคัญอีกครั้ง (ช่องสาม)


ภาพอ้างอิงจาก http://jacktsengs.blogspot.com/2011/01/cornell-method.html

2.  Parallel Note เมื่อการเรียนการสอนนั้นผู้สอนมักจะใช้สื่อการสอนพวก Powerpoint, แผนภาพหรือรูปภาพอื่นๆ แต่ไม่ได้เกิดการขยายความของการนำเสนอเหล่านั้น การจดบันทึกด้วยวิธีนี้จะช่วยให้แยกส่วนระหว่างคำสำคัญของผู้สอนและส่วนขยายความตามความเข้าใจของผู้เรียน


ภาพแสดงการบันทึกในลักษณะ Parallel Notes โดยใช้สองหน้ากระดาษหรือสอง Column ในการบันทึกพร้อมกัน

  1. Discussion Column เมื่อการเรียนการสอนมีช่วงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน การบันทึกลักษณะนี้จะช่วยแยกส่วนระหว่าง ประเด็นคำถาม, ข้อคิดเห็นของผู้สอนและข้อคิดเห็นของผู้เรียนแยกแบ่งเขียนเป็นลำดับต่อๆกัน


ภาพแสดงการบันทึกในลักษณะ Discussion Column สำหรับช่วงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

  1. T-Method เป็นวิธีการบันทึกสำหรับการสรุปสุดท้าย โดยจะเป็นการรวบรวมสาระสำคัญต่างๆของการบันทึกนั้นๆ และคำถามสำหรับการทดสอบตนเอง (Self-Testing) ในภายหลัง


ภาพอ้างอิงจาก http://www.ccbcmd.edu/advising/probation_notetaking.html

การสนับสนุนให้เกิดการบันทึกการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)

  การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM) (อ้างอิงจาก Web Thaiall [2] ) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด 

  การบันทึกการเรียนรู้นั้นนอกจากจะได้ประโยชน์แก่ตัวเองเป็นหลักในการทบทวนความรู้ของตัวเอง นำความรู้กลับมาศึกษาใหม่ได้รวดเร็วขึ้นแล้วยังสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไปอีกด้วย แต่กระบวนการเหล่านี้จะต้องอาศัยบุคคลต่างๆ ที่จะต้องผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นตลอดเวลา ตั้งแต่ผู้บริหารที่เป็นผู้ริเริ่มและผลักดันให้เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ และบุคคลากรภายในองค์กรเองที่ต้องการรวบรวมองค์ความรู้ของตัวเองและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกันเพื่อให้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ตัวอย่างการบันทึกการเรียนรู้ของผู้เขียน

  ทางผู้เขียนเองได้เริ่มการบันทึกการเรียนรู้เพื่อต้องการทบทวนสิ่งที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมาในประเด็นต่างๆ เรื่องการจัดการ, เรื่องของกิจกรรมหรือวิธีการเรียนการสอน, เรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ และการบันทึกการบรรยายจากงานสัมมนาต่างๆ ตามตัวอย่างที่ผู้เขียนเองจะยกมานั้นจะเป็นการเขียนบันทึกเพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนการเขียนบทความนี้


ทางผู้เขียนเองชอบที่จะใช้กระดาษแบบไม่มีเส้น เพื่อให้สามารถเขียนตำแหน่งได้อย่างอิสระมากขึ้น แล้วใช้ปากกาสีต่างๆ เพื่อการแบ่งหมวดหมู่ออกให้ชัดเจน (จากมุมมองของผู้เขียนเอง) ทั้งนี้การบันทึกในลักษณะนี้จะไม่เน้นให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านหรือทำความเข้าใจได้ (ให้ผู้เขียนเข้าใจเองคนเดียวเป็นหลัก) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถอ่านองค์ความรู้ของคนเขียนได้จะต้องมีการเรียบเรียงและขยายความบางอย่างเพิ่มใหม่ ซึ่งอาจจะใช้เป็นลักษณะการเขียนบทความนี้ หรืออาจสร้างเป็น Poster ก็ได้เช่นกัน

สามารถติดตามบทความอื่นๆ ได้ใน Facebook ของผู้เขียนครับ https://www.facebook.com/rakrok12

เอกสารอ้างอิง

1.  Jodi Patrick Holschuh and Sherrie L. Nist-Olejnik Effective Collage Learning Second Edition. DK Education. Longman Publishers. 2011.

2.  การจัดการความรู้ (Knowledge Management). สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/km/indexo.html

หมายเลขบันทึก: 522248เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2013 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

..... เป็น KM ...... ที่ดีจริงๆ ค่ะ ขอชื่นชม นะคะ

ขอบคุณมากคะ เป็นบันทึกที่สวยงามข้อมูลครบถ้วน
ขออนุญาตอ้างอิงในการเขียนบทความใน gotoknow นะคะ :)

อ่านแล้วได้ความรู้มากๆ ขอนำไปเผยแพร่นะครับ

ชอบจังเลยค่ะ 

อ่านเข้าใจ

และขอนำไปใช้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับ ขอขอบคุณที่เยี่ยมชมครับ :) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท