อนุทินล่าสุด


กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

พรุ่งนี้ ตี4 เริ่มต้นเดินทาง จาก กทม ไป หัวหิน และไปต่อที่ อัมพวา ด้วยการปั่นจักรยานครับ ! ระยะทางรวมทั้งสิ้น 400 กิโลเมตร 

วันแรกเดินทาง 200 กิโลเมตร จาก กทม ไป หัวหิน 

วันสองเดินทาง 130 กิโลเมตร จาก หัวหิน ไป อัมพวา 

วันสามเดินทาง 70 กิโลเมตร จาก อัมพวา ไป กทม 

แล้วผมจะ Update การเดินทางเป็นระยะๆ นะครับ :) 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ทำไม เหมือนผมเห็น การแพร่ virus (หลอกให้กด link) บนบันทึก Gotoknow ล่ะครับเนี่ย ???? 

หรือมันไม่ใช่ Virus ครับ (web cbswu)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ไม่ได้บันทึกอะไรไว้นานมากแล้ว เนื่องจาก ช่วงฝนตกเลยไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย (ปั่นจักรยาน) ใช้ช่วงลาพักร้อนเพื่อมาพักผ่อนที่บ้าน แต่ก็ออกไปไหนไม่ค่อยได้ เนื่องด้วยฝนตกอีก 

ใกล้ถึงเวลาที่ผมจะต้อง ปลดปล่อยภาระจากที่ทำงานเดิมแล้วครับ เพื่อไปสู่หนทางใหม่ที่ดีกว่า เรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเองให้มากกว่านี้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากภายนอกให้มากขึ้น เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นำอดีตทั้งดีและไม่ดี เป็นประสบการณ์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป 

หลายคนมองว่า การเปลี่ยนงาน เป็นอะไรที่ยุ่งยากและอาจจะมีความเสี่ยงสูงมาก แต่ผมมองว่า ถ้ายังอยู่ที่เดิม ผมจะได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นหรือไม่ มั่นใจได้อย่างไรว่าอนาคตจะมีความก้าวหน้ามากกว่านี้ ผมทำงานที่นี่มาปีกว่า ก็รู้สึกมาตลอดว่า ไม่ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มมากมายนัก สิ่งที่ได้เรียนรู้ก็ได้เรียนรู้แค่ไม่กี่เดือนหลังจากได้ทำงาน เลยมองว่า ถ้ายังอยู่ที่เดิมอาจจะมีแต่ถอยหลังอย่างเดียว จึงตัดสินใจออกมาเพื่อได้อยู่กับตัวเองมากขึ้นดีกว่า 

แน่นอนครับว่า ผมได้สร้างทางเลือกเอาไว้แล้ว แผนที่ ok คือได้เป็นครูตามโรงเรียนต่างๆ แผนที่พอยอมรับได้คือ รับงานสอนพิเศษ บันทึกการเรียนรู้ และเร่งเรียน ป.โท ให้จบ 

ในเดือนหน้าคงจะเป็นการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ตามหลัก จิตตปัญญาศึกษา อย่างแท้จริงครับ 



ความเห็น (1)
กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ความคิดเริ่มออกมาเป็นรูปร่างบ้างแล้วครับ :) 

สมุดเล่มที่ชื่อว่า "บันทึกอดีตแห่งการเรียนรู้" 

ผมเชื่อว่าหลายๆคน คงมีประสบการณ์การเรียนการสอน ทั้งดีและไม่ดี ทั้งน่าจดจำและไม่น่าจดจำ แต่สิ่งเหล่านี้เองที่จะเป็นการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นสำหรับอนาคตด้านการศึกษาของผมต่อไปครับ

สมุดเล่มนี้จะเขียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ ในสมัยอดีตของผมตั้งแต่ จำความได้ จนกระทั่ง ปัจจุบัน ว่าได้เรียนรู้เรื่องราวมาในลักษณะใด อย่างไรบ้าง จะมีการเชื่อมโยงกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ และ จิตวิทยาการศึกษา แทรกไว้เป็น Keyword เป็นตัวหนาด้วยครับ

ติดตาม บทนำ - จุดเริ่มต้นการใคร่ครวญ เรียนรู้ตลอดชีวิต ได้ที่นี่ครับ http://www.gotoknow.org/posts/548134

สามารถ ติชม ได้ครับ ผมเขียนขึ้นมาจากการใคร่ครวญจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมทั้งหมด ซึ่งอาจจะเขียนออกมาได้ไม่ดีนัก ต้อง ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ :) 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ต่อจากอนุทินที่แล้ว http://www.gotoknow.org/journals/129158

วันนี้เป็นวันพักผ่อน ชิวๆ หลังจากผ่านช่วงจิตตกมานานสักพักแล้ว ช่วงนี้เริ่มที่จะจัดการงานเก่า เพื่อพร้อมส่งต่อ (ให้ใครสักคน) จะเริ่มกลับมาเขียนงานใหม่อีกที

หลังจากอ่านหนังสือมาหลายๆ เล่มแล้ว เริ่มมีความคิดอยากเขียนหนังสือสักเล่มเหมือนกันแฮะ เริ่มต้นอาจจะไม่ได้เป็นแผนอะไรมาก นอกจากถอดบทเรียน ทำสรุป AAR (After Action Review) เพื่อรวบรวมประสบการณ์ Tacit Knowledge ของตัวเอง และเชื่อมโยงกับทฤษฎีที่เป็น Explicit Knowledge 

สัก 2-3 ปี อาจจะรวบรวมอะไรออกมาได้บ้างมั้ง :P



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ต่อจาก อนุทิน http://www.gotoknow.org/journals/129138 

ผมเองก็ได้ใช้เวลาเพื่อปล่อยให้ร่างกายได้เศร้าได้ทุกข์ไปเรื่อยๆ สังเกต ตามดูตามรู้ของอาการเหล่านั้นไปเรื่อยๆ ในระหว่างที่รู้สึกเศร้า รู้สึกทุกข์ ตัวกระผมเองอาจจะไม่ได้ทำให้มันหายไปได้ดีนัก เพราะจิตใจอาจจะยังยึดติดอยู่กับเหตุการณ์ในอดีตเหล่านั้น และอาจเป็นเพราะ ยังไม่สามารถสนองความต้องการขั้นที่สองได้สมบูรณ์นัก ซึ่งมันก็ต้องใช้เวลาในการแก้ไขกันต่อไป 

ส่วนตัวผมชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาอยู่แล้ว บวกกับ สภาวะอารมณ์ช่วงนี้ จึงทำให้หยิบหนังสือเล่มนึงขึ้นมา โดยมีชื่อว่า "ล้มแล้วไม่ลุก ไม่สนุกหรอก" โดย จตุภัทร หาญจริง  

หนังสือเล่มนี้ จะแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หมดแรง หมดกำลังใจ ทำให้เกิดการมองโลกในแง่ลบมากขึ้น คิดลบมากขึ้น คิดบวกน้อยลง แต่ละสถานการณ์จะให้แง่คิดด้านบวก ลองปรับมุมมองของตัวเองดู แล้วจะรู้ว่าการมองโลกในแง่ลบมันไม่ได้ช่วยอะไรหรอก 

บางสถานการณ์ทางแก้ปัญหาก็แนะนำแค่ว่า ให้ใช้เวลาอยู่กับตัวเองให้นานพอ ถ้าทำงานอยู่อาจจะใช้เวลาพักร้อนบ้าง ออกไปผ่อนคลายนอกโต๊ะทำงานบ้าง อาจจะไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรงแต่อย่างน้อยให้ใจเราได้พักบ้าง เพื่อพร้อมที่จะแก้ปัญหาตรงหน้าต่อไป 

แปลกที่ว่า ผมเองชอบอ่านหนังสือแนวนี้มาเยอะมาก ปรับนำมาใช้กับตัวเองได้บ้างไม่ได้บ้าง มันก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด บางครั้งอาจจะต้องลองใช้และเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตัวเอง เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ช่วงนี้ อารมณ์กระผมค่อนข้างแปรปรวน ในบางเวลาก็ไม่อยากทำงานอะไร หรืออยากเรียนรู้อะไรเลย คงเป็นเพราะช่วงนี้คงยังไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นครั้งใหญ่

การเปลี่ยนแปลงที่ว่านั่นคือ การต้องปรับเปลี่ยนงานที่กำลังทำอยู่ !!! เหตุผลความผิดพลาดนั้นก็อยู่ที่ตัวกระผมด้วยส่วนนึงคือ เรื่องของการสื่อสารภายในองค์กร ที่เกิดขึ้นน้อยมากถึงมากที่สุด เลยทำให้ผลงานไม่เป็นไปตามความต้องการขององค์กรและผู้บริหาร เรื่องนี้ไม่มีผลกระทบแค่กระผมคนเดียว แต่เกิดขึ้นเกือบทั้งองค์กร มีการปรับเปลี่ยนและย้ายการทำงานออกไปจำนวนพอสมควร 

กระผมมองว่า มันอาจจะเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้และฝึกจิตใจของตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น พัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ 

เรื่องนี้ผมเชื่อมโยงกับทฤษฎีทางจิตวิทยานึง คือ ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslows's hierarchy of need) โดยเฉพาะในความต้องการที่สอง เรื่องของความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัย จะหมายถึงความปลอดภัยและความมั่นคงในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านการงาน ถ้าสิ่งนี้ยังไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัย ก็จะไม่สามารถหวังไปถึงอนาคตต่อไปได้มากนัก 

ฐานะของผมเองก็ไม่ได้ร่ำรวยมาก ถ้าคนที่ร่ำรวยมากก็อาจจะไม่ได้มาพะวงเรื่องความมั่นคงต่างๆ 

ภาพจาก http://eppicinc.files.wordpress.com 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

ช่วงนี้ได้มีโอกาส ศึกษาพวกกระบวนการของ Flip-Classroom ในรายวิชาหนึ่ง ซึ่งได้ผลลัพท์ที่ไม่ค่อยน่ารื่นรมสักเท่าไหร่ จะเป็นยังไงนั้น เดี๋ยวจะว่ากันในรายละเอียดในสมุดบันทึกครับ 

ห้องเรียนกลับทาง หรือที่เรียกกันว่า Flip-Classroom นั้นถ้าว่ากันคร่าวๆ คือ การนำเนื้อหาบทเรียนไปไว้นอกห้องเรียน จากนั้นนำการบ้านหรืองานเดี่ยวงานกลุ่มมาเรียนในห้องเรียนแทน โดยมีความคิดว่า เนื้อหา บทเรียนทั้งหลายนั้นผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ง่าย ค้นคว้า ค้นหาได้ตาม Internet จากนั้นเมื่อค้นคว้าและเรียนรู้ระดับนึงแล้วจะนำมาทำกิจกรรมและทำโจทย์ร่วมกันในห้องเรียน 

โดยปกติ นักการศึกษาอาจจะดูเหมือน น่าจะเป็น นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่สุดยอดมาก ทำตามนี้รับรองเด็กเรียนเก่งขึ้นแน่นอน แต่......ตัวมันเองมีจุดบอดบางอย่างที่เกิดจากการคิดไปเองของผู้สอนเองว่า ผู้เรียนคงเรียนรู้เองได้ ผู้เรียนคงมีพื้นฐานที่แน่นมาแล้วทุกคน แต่ถ้ามันไม่เป็นเช่นนั้น จะหมายถึงว่า ภาระอันหนักหน่วงผู้เรียนจะเกิดขึ้นทันที เนื้อหาผู้เรียนก็ต้องเรียนเอง เรียนในห้องก็ไม่รู้เรื่อง ตามไม่ทัน ผู้เรียนจะเกิดความสับสนว่าควรจะต้องทำอย่างไร แล้วจะต้องเรียนยังไงดี เพื่อให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่เมื่อไม่เกิดผลดีใดๆ ผู้เรียนจึงเกิดอาการ "ความสิ้นหวังในการเรียนรู้" (Learned Hopelessness) คือท้อแท้ ยอมแพ้กับการเรียนไปเลย ??? 

แล้วแบบนั้นจะบอกว่า ผู้เรียนมีปัญหา หรือว่า ผู้สอนมีปัญหา หรือไม่ ??? 

กระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งหลายนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในตัวมันเอง อยู่ที่ว่าเราๆ ใช้กระบวนการเหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่ เท่านั้นเอง 

ภาพจาก http://campustechnology.com/



ความเห็น (3)

ไม่มีเทคนิคการสอนใดที่ดีที่สุดในโลกอย่างแน่นอนครับ มีแต่เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม กับบริบทบางบริบท เท่านั้นเอง ;)…

จริงค่ะ ประยุกต์ให้เหมาะกับบริบทของเรา ดีที่สุด

เสริมคำว่า "บริบท" ละกันครับ เผื่อใครอาจจะ งง กับ คำนี้ 

บริบท ตามที่เข้าใจ คือ คุณลักษณะทางด้านการเรียนและพื้นฐานต่างๆ ของผู้เรียน 

คุณลักษณะทางการเรียน จะประกอบไปด้วย ความรู้เดิมของผู้เรียน, ทัศนคติทางการเรียน, ทักษะการคิดและการเรียนรู้, วิธีในการเรียนรู้ส่วนบุคคล, และอื่นๆ 

พื้นฐานต่างๆ ของผู้เรียน จะประกอบไปด้วย ฐานะทางบ้าน, อาชีพทางบ้าน, โรงเรียนเก่า, และอื่นๆ 

การตรวจสอบบริบทนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลบริบททั้งหมดของผู้เรียนก็ได้ เพียงแต่ว่าการมีข้อมูลบริบทที่มากพอ จะสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ที่เคยใช้มาเทียบเคียง ในกรณีที่บริบทใกล้เคียงกันได้ดีขึ้น :) 

ปล.ขอบคุณความคิดเห็นข้างบนด้วยครับ

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

กิจกรรมค่ายโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน รุ่นที่ 15 ค่ายที่ 3 

วันที่ 2 เมษายน 2556 มีการดำเนินกิจกรรมดังนี้

1. กิจกรรมทัศนศึกษากลุ่มเลี้ยงโคพื้นเมืองบ้านปลักจอก เป็นการบรรยายในการเลี้ยงวัวชน และดูการซ้อมชนวัว





2. กิจกรรมบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับ การเลี้ยงวัว 



สามารถติดตามภาพกิจกรรมอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.550144285008998.1073741826.100000402943738&type=3 ครับ :) 



ความเห็น (2)

จังหวัดทางภาคใต้ใช่ไหมครับ...

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

กิจกรรมค่ายโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน รุ่นที่ 15 ค่ายที่ 3 

วันที่ 1 เมษายน 2556 มีการดำเนินกิจกรรมดังนี้

1. ทัศนศึกษาสำนักงานพระมหาธาตุมูลนิธินครศรีธรรมราช โดยมีวิทยากรคือ ร.ศ.วินัย ผู้นำพล 




2. บรรยายพิเศษกลางคืนเรื่อง สยามกับภาคพื้นมหาสมุทรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ร.ศ.วินัย ผู้นำพล 



สามารถติดตามภาพกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.549975805025846.1073741825.100000402943738&type=1&l=0ff48a59ea 


ความเห็น (2)
กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

อ๊ากกกกก ทำไม Gotoknow ทำกระผมแบบนี้ logout ตอนเขียนเสร็จอีกแล้ว ไม่เขียนแระ -.-' 




ความเห็น (3)

ขอบคุณที่แจ้งครับ ทีมงานกำลังหาทางแก้ปัญหาอยู่ครับ

แนะนำให้สามารถ save ข้อความได้ระหว่างการเขียนครับ :) 

คุณกิตติเขียนบันทึกใน "โน้ตส่วนตัว" ก่อนก็ได้ครับ เขียนไปแล้ว save ไปก็ได้ครับ หลังจากเขียนเสร็จแล้วกดปุ่ม "ส่งเป็นบันทึก" แล้วค่อยตกแต่งและใส่รูปก็ได้ครับ

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

เอิ่มมมมม นั่งพิมพ์บันทึกการเรียนรู้อยู่ดีๆ ก็ Logout เฉยเลย แล้วที่เขียนมาทั้งหมดก็หายไปในทันที O_O TT_TT 

ขอนั่งทำใจแปปนึงนะ 




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

การบันทึกการเรียนรู้เรื่อง Outcome Based Education 

โดยวิทยากร อ.บัณฑิต ทิพากร อธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

สถานที่บรรยาย สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

กระผมได้บันทึกการเรียนรู้โดยวิธีการ Parallel Notes และ T Method เอาภาพการบันทึก Notes ลงไว้ก่อนแล้วเดี๋ยวจะเรียบเรียงแล้วสรุปออกมาอีกครั้งครับ :) 


ภาพที่ 1 : การจัดบรรยากาศภายนอกห้องบรรยาย 


ภาพที่ 2 : คุณลักษณะของการสร้าง Outcome 


ภาพที่ 3 กระบวนการสร้างหลักสูตรเพื่อให้เกิด Outcome และภาพสรุปพร้อมคำถามตามรูปแบบ T Method 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

Copy จากข้อความบน Facebook เพื่อนำมา Share กันครับ :) กับกระบวนการเพลิน (Plearn)

มานั่งคิดเล่นๆ กับทฤษฎีของเพลิน (Plearn = Play + Learn) โดย ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช 
อาจารย์ชัยอนันต์ บอกว่า การเรียนของเด็กก็เช่นเดียวกัน หากปล่อยให้เด็กได้มีเวลาทำอะไรต่อมิอะไร เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ไม่ใช่เปิดแต่หนังสือ แล้วสอนวิธีคิดว่า วิธีคิดจะต้องอธิบาย วิเคราะห์ และสังเคราห์ โดยที่เด็กๆ ไม่มีเวลาเป็นของตนเองในการไปทำอะไรเลย นอกจากเรียนๆ เมื่อเรายอมเสียเวลาเรียนไปเล่นดนตรี ปั้นดิน วาดรูป เล่นกีฬา เราจะได้สิ่งที่เราไม่รู้ นี่คือกระบวนการเพลิน
อ้างอิงจาก http://share.psu.ac.th/blog/pisan-surat/4816
กระบวนการเพลิน จะเน้นคำสำคัญที่การใช้เวลากับมัน ไม่เน้นการสอนหรือหลักการหรืออะไรทั้งนั้น แต่ครูนั้นคือผู้กระตุ้นและทำให้นักเรียนฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ 
หลักการดังกล่าวทำให้นึกถึง โรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งเคยเข้าไปสัมผัสอยู่ช่วงเดียว แต่มีบรรยากาศบางอย่างที่เพิ่งนึกขึ้นได้และน่าสนใจไม่น้อย คือ การทำ Lesson Study และ Open Approach ซึ่งสังเกตเห็นว่ากลุ่มครูทั้งหมดจะใช้เวลากับการประชุมเป็นส่วนใหญ่ในการ Discussion และ Dialogue ถึงกระบวนการสอน สิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนจริงๆมันคือการทำ เตรียมสอน / ดำเนินการสอน / สรุปผล แต่มีเพิ่มส่วนการ Sharing ของคณะครูกันด้วย (เห็นว่ามีทุกสัปดาห์) ที่โรงเรียนเห็นใช้คำว่า "การนิเทศ" ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ครบวงจร มีส่วนร่วมเกือบทุกแง่มุม ต่อเนื่อง ทั่วถึง เจาะลึก ครบทีม หลักการเฉพาะชัดเจน แนวระนาบ 
อ้างอิงจาก http://www.gotoknow.org/posts/443349
สุดท้ายแล้วกระบวนการ KM มันก็เกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องเป็นงานชิ้นใหม่แต่อย่างใด เพียงแค่การทำไปพร้อมกันแค่นั้นเอง อย่างครูคนนี้ครับ (หลายบทความน่าสนใจเยอะแยะเหมือนกัน)
ครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านการจัดการความรู้ หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๑ โรงเรียนเพลินพัฒนา
http://www.gotoknow.org/user/krumai/posts

ที่นำส่วนนี้มาลงเพราะที่สถาบันการเรียนรู้ จะดำเนินการ นำเสนอกระบวนการใหม่ Plearn Approach ให้กับนักเรียนและครู ที่สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2556 เวลาประมาณ 09.00 น. - 15.00 น. 
ถ้าได้เข้าบันทึกส่วนนี้จะนำมาเรียบเรียงให้ใหม่ครับ :) 


ความเห็น (1)

ปกติผมใช้วิธีนี้อยู่ครับ เพลิน...

กิตติ ชูวัฒนานุรักษ์
เขียนเมื่อ

วันนี้นั่งฟังกิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง "หลากวิธีการสอนและการเลือกสื่อการสอน" โครงการพัฒนาบุคคลากรใหม่สายวิชาการ (New Academic Staff) ในสถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

ลำดับกิจกรรม
1. เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการสอนของอาจารย์แต่ละท่าน
2. กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Problem-Based Learning 
3. ตัวอย่างสถานการณ์การใช้ Problem-Based Learning โดยใช้เทคนิค FILA 
4. การถอดบทเรียนและสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) 
5. การบรรยายหัวข้อ "Rich Learning Environment" 
6. การออกแบบการสอน (Bloom Taxonomy, Experiential Learning Cycles) 

>_<' อาจจะมีสรุปกิจกรรมอีกครั้งออกมาเป็นบันทึกการเรียนรู้อีกที 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท