Garfield
ทิพย์ผกา ทิพย์ ทิพย์มณเฑียร

เกมคอมพิวเตอร์กับวัยเด็ก


               เกมคอมพิวเตอร์กับวัยเด็ก

        การเล่นเกมกับเด็กๆ เป็นของธรรมดา คู่กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

แต่ทว่าในสมัยโบราณไม่มีเกมคอมพิวเตอร์เล่นเหมือนปัจจุบันสมัยก่อนจะเป็นเกมที่คิดเล่นกันโดยช้อุปกรณ์จากธรรมชาติ

หรือของใช้ที่หาได้ในครัวเรือนมาประกอบการเล่นเท่านั้น แต่ปัจจุบันพ่อแม่บางคนนอกจากเลี้ยงลูกด้วยทีวีแล้วยังเลี้ยงด้วยเกมคอมพิวเตอร์อีกต่างหาก

         การเล่นเกมคอมพิวเตอร์มีส่วนกระตุ้นระบบประสาทอย่งดี คือทำให้ชีพจรเร็วขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้นและหายใจเร็วขึ้นเป็นการฝึกเรื่องการตอบสนองที่ดีในเรื่องของ มือ นิ้ว สายตา แต่ขอให้ไขมันเป็นปััจจัยอย่างหนึ่งที่พอดีๆ ไม่เช่นนั้น แทนที่ลูกจะฉลาดขึ้น เก่งขึ้น กลับกลายเป็นโง่ลงได้

         การนั่งหน้าจอนานๆจะส่งผลต่อระบบประสาทตา ทำให้สายตาเมื่อยล้าและมึนงงโดยไม่รู้ตัว สมองจะตื้อได้ง่าย หากติดนิสัยนั่งเล่นเกมหน้าจอคอมหรือทีวีเกมนานๆ นอกจากนี้ประเภทของเกมนั้น ก็จะส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกให้ก้าวร้าวมากขึ้นเพราะลักษณะเกมทุกเกมคือต้องชนะ หรือทำคะแนนสูงๆมากๆ จึงจะผ่านเกมตามเงื่อนหขของเกมได้แม้จะเป็นเรื่องดีในแง่ การฝึกให้มีควาพยายาม แต่ถ้าเล่นมากๆเกินไป เขากลายเป็นคนก้าวร้าวไร้เหตุผลอารมณ์เสียง่ายและมีความจำลดลง

          เรื่องเกมนี้ พ่อแม่ต้องคอยดูเป็นพิเศษกว่าเรื่องดูทีวี คืออย่าสร้างเงื่อนไขการเล่นเกมให้ลูก เช่น เมื่อทำสิ่งนั้นเสร็จจะให้เล่น หรือหากจะเล่นควรมีเวลาจำกัดในการเล่นไม่ควรเล่นเกิน 1 ชั่วโมง และอย่าให้ลูกเล่นเกมก่อนนอน เพราะภายหลังเล่นเกม ระดับความดัน

เลือดยังมีสูง เลือดยังสูบฉีดเพราะความตื่นเต้นอยู่ทำให้คุณภาพในการนอนลดลง เขาจะนอนหลับได้ช้าและจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในวันถัดไป ภายหลังการเล่นเกมแล้วหากเป็นเวลาใกล้นอน ก็อย่าเพิ่งให้นอนในทันที ไปเดินเล่นกับลูกอย่างน้อย 5-10 นาที หายใจลึกๆ ช้าๆ สักพักเพื่อให้สมองมีเวลา "เบาเครื่อง" (Warm-down) ดื่มน้ำและล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดเนื่องจากเชื้อโรคหลายชนิดชอบหลบๆซ่อนอยู่อยู่แถวๆ คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด และแป้นเล่นเกม หรือจอทีวีแล้วจึงเข้านอนได้




คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 521205เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2013 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2013 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท