น้ำรากหญ้าคาขุดเผาทิ้งชาวนาชาวสวน ฯไม่ต้องการนั้นสมุนไพรเป็นยาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยเฉพาะป็นยาที่ดีต่อกระเพาะปัสสาวะมาก


หญ้าคารักษากระเพาะปัสสาวะ ลดความดันโลหิตสูง

หญ้าคา


ตอนเด็กยังจำได้ว่าหญ้าคานั้นโดนขุดทิ้งหรือเผาเพื่อไม่ให้มีในไร่ในสวนแม้แต่ข้างทางเดิน เป็นต้นวัชชพืช ต้นหญ้าที่ต้องฆ่าให้เรียบนั่นเอง ซึ่งเดี๋ยวนี้คงมีไม่น้อยที่ชาวสวน ชาวนา ฯใช้ยาฆ่าหญ้าเพื่อให้มันหมดไปจากที่ทำมาหากิน หรือที่อยู่อาศัย เมื่อได้มาเรียนเภสัชกรรมไทยพืชไม่ว่าต้นอะไรเป็นสมุนไพรเป็นยาทั้งนั้น หญ้าที่เราเหยียบ ย้ำ เดินผ่านนั้นก็ล้วนเป็นยารักษาโรคได้ หากเรารู้จักชื่อและสรรพคุณใช้ให้ถูกส่วน  หญ้าคาก็เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่เมื่อนำมาเป็นยาใช้ได้ง่ายไม่ว่าจะดื่มหรือใช้แบบป่นเป็นผง เพราะมีรสจืด หญ้าคามีสรรพคุณเด่นเรื่องการรักษากระเพาะปัสสาวะ และลดความดันโลหิตสูง ฯ ทุกส่วนของต้นนำมาใช้ได้หมด ดังนี้


หญ้าคา    คา  คาหลวง ลาลาง ลาแล (มลายู)

ใบ    รสจืด  ต้มอาบ แก้ลมพิษ ผื่นคัน แก้ปวดเมื่อยหลังคลอด 

ดอกแก่   รสจืด  ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะอุจาระเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาไหล

                ห้ามเลือด ตำพอกแผลอักเสบบวม ฝีมีหนอง

ราก   รสหวานเย็น  รากหวานเย็น ขับปัสสาวะ แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะขุ่นข้น บำรุงไต ขับระดูขาว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร แก้ความดันเลือดสูง แก้บวมน้ำ แก้หนองใน แก้ประจำเดือนมามากผิดปกติ 

( ขอบคุณหญ้าคา จากหนังสือ เภสัขกรรมไทย ฯโดย วุมิ วุฒิธรรมเวช )


สารสกัดจากหญ้าคา ลดความดันโลหิตสูง มีการทดลองวิจัย จากประเทศไทย อินเดีย และ เดนมาร์ก

เหง้าหญ้าคา  ซึ่งนอกจากลดความดันโลหิตสูงได้แล้วยัง ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้  แก้ขัดเบา

วิธีใช้   นำเหง้าหญ้าคา มาต้มดื่มตอนเช้า

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ลดความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือด ต้านมะเร็ง ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด 


( ขอบคุณ หญ้าคาลดความดันโลหิตสูงจากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง 121 ชนิด โดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)


วิธีทำ น้ำรากหญ้าคา



รากหญ้าคาแห้ง



 1 กำ  ล้างน้ำให้สะอาด




ต้มในน้ำเดือด




ดื่มได้ง่ายเพราะมีรสจีด 



กระเพาะปัสสาวะไม่ปกตินำรากหญ้าคามาต้มดื่มแทนยาได้ ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ ถ้าไม่มีหญ้าคาให้ขุดได้เองถามหาซื้อได้ที่ร้านขายยาสมุนไพร มีทั้งเป็นรากแห้ง และแบบเป็นผงบางร้านก็มีขาย ส่วนใบและดอกหรือเหง้านั้นไม่แน่ใจ ว่ามีขายหรือไม่  ตามชนบทจะหาได้ง่ายเพราะโดยมากก็ขึ้นธรรมชาติ เก็บตากแห้งไว้ใช้ก็จะดีมากๆแต่ถ้าอยู่ใกล้บ้านก็เก็บสดๆมาทำได้เช่นกัน 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 521007เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ เพิ่งรู้หญ้าคาก็ีปีะโยชน์มากกว่าเอามาทำเป็นตับมุงหลังคา

สมัยเด็กๆ ผมเคยถอนรากหญ้าคามาดูดกินบ่อยนะครับ

รสชาติหวานและชุ่มคอมากๆ เลย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท