ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 35


สรรพนามบุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3

1. สรรพนามบุรุษที่ 2 (ท่าน ท่านทั้งสอง ท่านทั้งหลาย) คำศัพท์หลักคืออะไรนั้นบอกยาก แต่ตำราว่า ตฺวทฺ และ ยุษฺมทฺ (คงจะดูจากรูปที่แจกแล้ว ซึ่ง ตฺว- และ ยุษฺม- เป็นแกน) สรรพนามบุรุษที่ 2 ไม่แบ่งเพศ และไม่มีอาลปนะเช่นเดียวกับบุรุษที่ 1 (ถ้าจะเรียก ก็เรียกด้วยคำนามที่แสดงถึงบุรุษผู้นั้น)


..

เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรฺตฺฤ

ตฺวมฺ

  ยุวามฺ

  ยูยมฺ

กรฺม

ตฺวามฺ, ตฺวา

  ยุวามฺ, วามฺ

  ยุษฺมานฺ, วสฺ

กรฺณ

ตฺวยา

  ยุวาภฺยามฺ

  ยุษฺมาภิสฺ

สมฺปฺรทาน

ตุภฺยมฺ, เต

  ยุวาภฺยามฺ, วามฺ

  ยุษฺมภฺยสฺ, วสฺ

อปาทาน

ตฺวตฺ

  ยุวาภฺยามฺ

  ยุษฺมตฺ

สมฺพนฺธ

ตว, เต

  ยุวโยสฺ, วามฺ

  ยุษฺมากมฺ, วสฺ

อธิกรณ

ตฺวยิ

  ยุวโยสฺ, วามฺ

  ยุษฺมาสุ

2. ตฺวา, เต, วามฺ, วสฺ นั้นไม่มีเสียงเน้น จึงไม่สามารถขึ้นต้นประโยค และไม่สามารถนำหน้า จ เอว วา ได้

3. สรรพนามบุรุษที่ 3 นักไวยากรณ์อินเดียว่าศัพท์หลักคือ ตทฺ แต่นักไวยากรณ์ฝรั่งว่า ต บางตำราก็บอกเค้าแยกตามเพศ เนื่องจาก สรรพนามบุรุษที่ 3 แบ่งเพศ จึงมีเค้า 3 ตัว คือ ส(ชาย) สา(หญิง) และ ตทฺ (กลาง) การแจกรูป ดูพร้อมกัน 3 เพศดังนี้

..

..

ชาย

.

.

.

หญิง

.

.

.

กลาง

.

..

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

.

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

พหูพจน์

.

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

พหูพจน์

1

 สสฺ

  เตา

  เต

.

 สา

  เต

  ตาสฺ

.

 ตทฺ

  เต

  ตานิ

2

 ตมฺ

  เตา

  ตานฺ

.

 ตามฺ

  เต

  ตาสฺ

.

 ตทฺ

  เต

  ตานิ

3

 เตน

  ตาภฺยามฺ

  ไตสฺ

.

 ตยา

  ตาภฺยามฺ

  ตาภิสฺ

.

 เตน

  ตาภฺยามฺ

  ไตสฺ

4

 ตสฺไม

  ตาภฺยามฺ

  เตภฺยสฺ

.

 ตสฺไย

  ตาภฺยามฺ

  ตาภฺยสฺ

.

 ตสฺไม

  ตาภฺยามฺ

  เตภฺยสฺ

5

 ตสฺมาตฺ

  ตาภฺยามฺ

  เตภฺยสฺ

.

 ตสฺยาสฺ

  ตาภฺยามฺ

  ตาภฺยสฺ

.

 ตสฺมาตฺ

  ตาภฺยามฺ

  เตภฺยสฺ

6

 ตสฺย

  ตโยสฺ

  เตษามฺ

.

 ตสฺยาสฺ

  ตโยสฺ

  ตาสามฺ

.

 ตสฺย

  ตโยสฺ

  เตษามฺ

7

 ตสฺมินฺ

  ตโยสฺ

  เตษุ

.

 ตสฺยามฺ

  ตโยสฺ

  ตาสุ

.

 ตสฺมินฺ

  ตโยสฺ

  เตษุ

สรรพนามบุรุษที่ 3 ยังมีอีกมาก แต่ ที่ยกมาข้างนเป็นตัวหลัก ยังมีลูกคำอีก ดังนี้

1). เอษสฺ (ชาย เอษสฺ, หญิง เอษา, กลาง เอตทฺ) การแจกนั้นเหมือนข้างบน เพียงแต่มีคำว่า เอ- อยู่ข้างหน้า ให้นักเรียนไปฝึกแจกเองในกระดาษ

2).  เฉพาะเพศชาย เอกพจน์ กรรตุการก (สสฺ และ เอษสฺ) มีข้อยกเว้นเรื่องสนธิ กรณีที่นำหน้าพยัญชนะ จะลบ สฺ ท้ายทิ้งไป เป็น ส และ เอษ เช่น

  • สสฺ คจฺฉติ > ส คจฺฉติ. (ลบ สฺ ทิ้ง เพราะอยู่หน้าพยัญชนะ ค) ข้อยกเว้นเรื่องสนธิ กรณีที่นำหน้าพยัญชนะ ให้ลบ สฺ ท้ายทิ้งไป
  • สสฺ ติษฺฐติ > ส ติษฺฐติ. (ลบ สฺ ทิ้ง เพราะอยู่หน้าพยัญชนะ ต) ข้อยกเว้นเรื่องสนธิ กรณีที่นำหน้าพยัญชนะ ให้ลบ สฺ ท้ายทิ้งไป
  • สสฺ อสฺยติ > โส’สฺยติ.(สนธิตามปกติ เปลี่ยน สฺ เป็น โอ เมื่อ อสฺ มีสระอะ ตามมา)
  • คจฺฉนฺติ สสฺ > คจฺฉนฺติ สสฺ (สนธิตามปกติ เปลี่ยน สฺ เป็นวิสรคะ เมื่ออยู่ท้ายประโยค)

3). สรรพนามบุรุษที่สามนั้น มักจะใช้แบบไม่เจาะจง คือ แปลว่า เขา พวกเขา. ไม่ใช่ เขาคนนั้น พวกเขาเหล่านั้น ยกเว้น เมื่อใช้ในประโยคความซ้อน จะแสดงความเน้นถึงบุรุษนั้นๆ

 

4. คำที่แจกเหมือน ต ข้างต้น มีดังนี้

คำหลัก

  ปุลฺลิงฺค

  สฺตฺรีลิงฺค

  นปุงฺสกลิงฺค

  ความหมาย

เอต

  เอษษฺ

  เอษา

  เอตทฺ

  สิ่งนี้, คนนี้

  ยสฺ

  ยา

  ยทฺ

  สิ่งใด คนใด

  (เป็นสรรพนามใช้เชื่อมประโยค จะได้อธิบายต่อไป)

5. สรรพนามใช้เปรียบเทียบ

คำหลัก

   ปุลฺลิงฺค

   สฺตฺรีลิงฺค

   นปุงฺสกลิงฺค

  ความหมาย

กตร

   กตรสฺ

   กตรา

   กตรทฺ

  สิ่งไหน (จากสองสิ่ง)

กตม

   กตมสฺ

   กตมา

   กตมทฺ

  สิ่งไหน (จากสิ่งทั้งหลาย)

ยตร

   ยตร

   ยตรา

   ยตรทฺ

   สิ่งใด (จากสิ่งสอง)

ยตม

   ยตม

   ยตมา

   ยตมทฺ

   สิ่งใด( จากสิ่งทั้งหลาย)

เอกตม

   เอกตม

   เอกตมา

   เอกตมทฺ

   หนึ่งในหลายสิ่ง

อนฺย

   อนฺย

   อนฺยา

   อนฺยทฺ

   อื่น

อนฺยตร

   อนฺยตร

   อนฺยตรา

   อนฺยตรทฺ

   อีกสิ่งหนึ่ง สิ่งอื่น(ในสองสิ่ง)

คำต่อไปนี้แจกเหมือนข้างบน แต่ ปนุงสกลิงค์ เอกพจน์ กรรตุ กรรม อาลปนะ แจกแบบนามอะการานต์ ได้แก่

  • สรฺว   ทั้งปวง
  • วิศฺว   ทั้งปวง
  • เอก   หนึ่ง (พหูพจน์ แปลว่า บางสิ่ง)
  • อุภย   คู่, ทั้งสอง. สฺตฺรี. ใช้ อุภยี แจกเฉพาะเอกพจน์และพหูพจน์ (บางตำราว่าสตรี.ก็แจกได้ทุกพจน์เหมือนกัน)

6. สรรพนามใช้ถาม “ก” (ตำราอินเดียว่า กิมฺ) แจกเหมือน ต คือ กสฺ (ปุ) กา (ส.) แต่ นปุ เอก กรรตุ, กรรตุ ใช้ กิมฺ

..

   เอกพจน์

   ทวิพจน์

   พหูพจน์

1

   กสฺ/กา/กิมฺ

   เกา//เก

   เก/กาสฺ/กานิ

2

   กมฺ/กามฺ/กิมฺ

   เกา//เก

   กานฺ/กาสฺ/กานิ

3

   เกน//กยา

   กาภฺยามฺ

   ไกสฺ//กาภิสฺ

4

   กสฺไม//กสฺไย

   กาภฺยามฺ

   เกภฺยสฺ//กาภฺยสฺ

5

   กสฺมาตฺ//กสฺยามฺ

   กาภฺยามฺ

   เกภฺยสฺ//กาภฺยสฺ

6

   กสฺย//กสฺยาสฺ

   กโยสฺ

   เกษามฺ//กาสามฺ

7

   กสฺมินฺ//กสฺยามฺ

   กโยสฺ

   เกษุ//กาสุ

*ลำดับเพศ ปุ/ส/นปุ, และ ปุ,นปุ//ส.

7. สรรพนามเปรียบเทียบต่อไปนี้แจกตามสรรพนาม (กระจายได้ 3 เพศเช่นข้างบน)

  •   อธร (ต่ำกว่า,)
  •   อธม(ต่ำที่สุด
  •   ปร (สูงสุด)
  •   ปูรฺว (ก่อน)
  •   อุตฺตร (สูงสุด)
  •   ทกฺษิณ (ทางทิศใต้)

  (เฉพาะนาม ปุ. และ นปุ. วิภักติที่ 5, 7 เอก. และ 1 พหุ อาจแจกแบบนาม อะ การานต์)

8. นามบางตัว แจกแบบสรรพนาม หรือนามปกติ ก็ได้ (กระจายได้ 3 เพศเช่นข้างบน)

  อลฺป (เล็กน้อย), อรฺธ (ครึ่ง)


ทดสอบ

แปล "มยิ ตฺวยิ ปิตเรา สฺนิหฺยตะ."


ป.ล.

1.ค่อยมาเติมสีสัน เว้นวรรคให้สวยงาม เพราะตะกี้เข้ามาเขียนแล้ว โปรแกรมบอกว่าเข้าระบบแล้ว พอจัดหน้าเสร็จ กดบันทึก หา่ยหมดเลย ต้องเข้าระบบใหม่.... ขี้เกียจแล้ว

2. บทที่ 35 คงเป็นครึ่งทาง เพราะเรียนสรรพนามครบ และจะได้เรียนประโยคความซ้อนด้วย

หมายเลขบันทึก: 520847เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (97)

...... ตามมาให้กำลังใจท่านอาจารย์ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

- เรื่องที่ว่าให้เข้าระบบใหม่หนูเจอประจำค่ะ ปกติหนูจะพิมพ์สดในนี้แล้วกดส่งเลย

แต่เดี๋ยวนี้ประมาทไม่ได้ค่ะ ต้อง copy ไว้ก่อน แอบเสียวๆอยู่เหมือนกัน เจอมาหลายครั้งละ


ตอนนี้ก็รออีกเรื่องคือการสมาสอยู่ค่ะ คิดว่ามันสำคัญมากๆ เพราะเอาพวกนามาวลีมาดูก็สมาสทั้งนั้น ไหนจะมนต์บางส่วนที่เอามาถามอาจารย์ก็สมาส ไปทางไหนก็เจอแต่สมาสๆ ถ้าได้รู้บ้างแล้วก็คงจะหายคัน นี่ก็สรรพนามหมดแล้ว ต่อไปอาจารย์ก็คงให้ลุยสมาสต่อ แต่ก็หวังว่าคงจะไม่ยากไปนะค่ะ

ว่าแต่เผลอแป๊บเดียวก็เดินกันมาถึงครึ่งทางแล้ว รู้สึกดีใจจัง เรียนอาจารย์ตามตรงว่าช่วงแรกๆเคยท้อ คิดจะเลิกเรียนอยู่สองครั้งสองครา ครั้งแรกก็เจอเรื่องกริยาไปก็มึนเหมือนกัน ครั้งที่สองเจอเรื่องสนธิพอมากๆเข้ายิ่งมึนใหญ่ทำให้ท้อได้ง่าย แต่หนูก็ทนคะ จนตอนนี้รู้สึกเริ่มชินและ หวังว่าคงจะไม่มีอะไรที่ยากกว่านี้อีกแล้วใช่ไหมค่ะอาจารย์ 

ก็เพิ่งรู้ว่าทำไปเรื่อยๆนานๆก็จะเกิดความเคยชิน ยอมรับว่าครั้งแรกๆที่มาเรียนทรมานมากๆเปิดจนเมื่อยมือ  กว่าจะได้สักประโยคหนึ่ง  อีกอย่างหนูก็ไม่เคยเรียนภาษาในตระกูลนี้มาก่อน ที่มีเพศ มีการแจกรูปที่เยอะแยะมากมาย ส่วนตัวคิดว่าจริงอยู่เราก็รับสันสกฤตมาบ้างบางส่วนในภาษาไทยแต่ก็คิดว่าไม่ใช่ทั้งหมดหรือเปล่าค่ะ โดยเฉพาะกับไวยากรณ์ไทยของเราที่ก็ง่ายเหลือเกิน ไม่ยุ่งยากเท่าสันสกฤตหรืออังกฤษ หนูว่าเทนส์ของภาษาพวกนี้ยิบย่อยยุ่งยากเยอะกว่ามาก

ตอนนี้ว่างๆก็หันกลับไปอ่านปรัชญาอินเดียอีกรอบ ยิ่งทำให้ตระหนักว่าเราตัดสินใจถูกแล้วที่มาเรียนสันสกฤต

ได้อ่านหนังสือ Power of Myth ( พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม ) แนวๆศาสนาศาสตร์และเทววิทยา คนเขียนคืออาจารย์โจเซฟ แคมพ์เบลล์ เจ้านี้เห็นว่าลงทุนมาเรียนสันสกฤตที่อินเดียกับท่านสวามี นิขิละนันทะเลย

เลยคิดว่า โห ..ฝรั่งยังบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเรียนกัน ส่วนเรานี่แสนจะสะดวกสบาย แถมยังพอมีพื้นในส่วนของภาคศัพท์ในภาษาไทยที่พอจะคลำๆทางไปได้ ง่ายกว่าเขาตั้งเยอะ ถ้าไม่ขยันและตั้งใจก็ไม่รู้ว่าจะพูดอะไรแล้ว

เพราะมันเป็นประโยชน์กับการศึกษาด้านภารตวิทยามากๆจริง ตอนนี้คือว่าหนูก็ทิ้งทุกอย่างมาจับสันสกฤตเพราะคิดว่าปีหน้าอาจจะไม่มีเวลาว่างเช่นนี้อีกแล้ว อย่างช้าสุดน่าจะสิ้นปีนี้เนื้อหาคงจะครอบคลุมหมดไหมค่ะอาจารย์

อย่างไรแล้วก็ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆนะค่ะที่อุตส่าห์สละเวลามาสอน มาเขียนบทเรียน ให้คำแนะนำพร้อมทั้งตรวจการบ้าน ถ้าไม่ได้อาจารย์เลยหนูคงจะแย่คะ 

คิดว่าอีกสักสองปีถ้าเคลียอะไรในชีวิตได้ลงตัวแล้ว คงจะได้เรียนโทสันสกฤตที่ศิลปากรเป็นแน่ ไว้อย่างไรแล้วจะขอหลังไมค์ไปขอคำแนะนำอาจารย์ทีหลังนะค่ะ

ขอบพระคุณมากๆคะ 

อาจารย์ลองอ่านนี่ดูคะน่าสนใจดี http://www.thefridaytimes.com/beta3/tft/article.php?issue=20130208&page=16

แถวบ้านอาจารย์อากาศร้อนไหมค่ะ ?

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ พี่เปิ้ล

น่าจะใช้เวลาอีกเท่ากับที่ผ่านมา ก็จะหมดเรื่องไวยากรณ์และศัพท์พื้นฐานครับ

จริงอย่างที่ว่า เราใช้ประโยชน์จากศัพท์ภาษาไทยมาก

การเรียนสันสกฤตจะยากในช่วงแรก เพราะมีไวยากรณ์มาก ดังนั้นถ้าท้อก็ไม่ไม่ได้

ส่วนมากจะเป็นอย่างนั้น แม้ในมหาวิทยาลัย สอบเข้า 10 คน จบไม่ถึง 5 คน เป็นอย่างนี้ทุกรุ่น

(และที่จบไป อาจใช้ภาษาสันสกฤตจริงๆ สัก 1 คนเท่านั้น)

ปีนี้ศิลปากรไม่เปิดสอบครับ เตรียมตัวดีๆ ไว้สอบเข้าปีหน้า ถ้าตั้งใจแล้วก็อย่าให้พลาด 

ที่นี่เหมาะกับคนที่ต้องการเรียนจริงๆ จังๆ เพราะอาจารย์ท่านเชี่ยวชาญและมีตำรามากจริงๆ

เรื่องสมาส ตามตำราจะว่าตอนท้ายๆ

แต่ไว้มีโอกาสอาจเขียนแยกบทไว้ต่างหากก็ได้ เพราะสมาสนั้นสำคัญจริงๆ

ที่บ้านร้อนมากครับ คิดไม่ออกว่า มีนา เมษา พฤษภา จะร้อนแค่ไหน ;)


จะลองเข้าไปดูตามลิงก์ครับ ขอบคุณครับ

ป.ล. ช่วงนี้้เหมือนพักให้หายเหนื่อยเรื่องกริยา

ไปวุ่นวายเรื่องนาม เรื่องอาการนาม หลังจากนั้นก็ยุ่งกับกริยาอีก(ยากกว่าเดิม)

รวมทั้งอนาคตกาล และอดีตกาล(ทั้ง7) เป็นต้น อิๆๆ

1). เอษสฺ (ชาย เอษสฺ, หญิง เอษา, กลาง เอตทฺ) การแจกนั้นเหมือนข้างบน เพียงแต่มีคำว่า เอ- อยู่ข้างหน้า ให้นักเรียนไปฝึกแจกเองในกระดาษ

- ก็เช่นว่า  เอสสฺ - เอเตา- เอเต , เอสา - เอเต  - เอตาสฺ , เอตทฺ - เอเต - เอตานิ แบบนี้เหรอค่ะ ?


6. สรรพนามใช้ถาม “ก” 

- ใช้ถามอย่างไรคะ จะว่าไปอ่านผ่านๆมาเห็นประโยคที่ขึ้นต้นว่า กิมฺ เยอะมาก หรืออาจารย์จะยกตัวอย่างในบทต่อไป 


7. สรรพนามเปรียบเทียบต่อไปนี้แจกตามสรรพนาม (กระจายได้ 3 เพศเช่นข้างบน)

- ข้างบนนี่ข้างบนไหนค่ะอาจารย์ แจกตามนี้หรือเปล่า

กตร

  กตรสฺ

  กตรา

  กตรทฺ

คำที่ให้ไว้ในข้อเจ็ดนี้ไม่ค่อยจะเหมือนสรรพนามสักเท่าไหร่เลยอะค่ะ คล้ายๆกับพวกคุณศัพท์และนิบาตมากกว่า อิอิ




 


กิมฺ อตฺร? อะไรอยู่ตรงนั้น

กิมฺ กฺฤตมฺ ตฺวยา? อะไรถูกทำโดยฉัน (ฉันจะทำอะไำรดี)

กา วทติ? ใคร(หญิง)พูด


ในข้อ 7 แจกแบบสรรพนาม บุรุษที่ 3 (ไม่ใช่แบบ ก)

ทดสอบ

แปล "มยิ ตฺวยิ ปิตเรา สฺนิหฺยตะ."

= อันว่าบิดามารดาต่างก็รักในเราในท่าน

 สรุปคือคำสรรพนามพวกเราและท่านอะไรทั้งหลายนี่ ใส่ จ ไม่ได้เลยเปล่าคะ ทำไมไม่เป็น( มยิ ตฺวยิ จ )

จ ใช้ก็ํได้ ไม่ใช้ก็ได้ครับ ไม่บังคับ

(เฉพาะ มา เม เนา นสฺ, ตฺวา เต วามฺ วสฺ ที่นำหน้า จ เอว วา ไม่ได้)

สฺนิหฺ จะใช้กับกรรมในรูป สัมพันธหรืออธิกรณการก จึงไม่ต้องแปลว่า "ใน" ก็ได้

ภย   = ความกลัว

อภย = ความไม่กลัว

ที่ผ่านมาพบเห็นเทวรูปและพระพุทธรูปในหลายๆปางแสดงท่าพระหัตถ์อยู่ในท่า ''อภยมุทรา'' ซึ่งมีความหมายว่าจงอย่ากลัวไปเลย

คำถาม ..อภย นี้จะมีความหมายเดียวกันกับคำไทย ''อภัย'' ที่แปลว่า ขอโทษหรือยกโทษให้ไหมค่ะ

ขอบคุณคะ..


แล้ว อภย ในสันสกฤต มีความหมายอื่นใดนอกจากที่ว่ามานี้อีกไหมค่ะ อาจารย์

-  ลูกคำของสรรพนามที่แตกออกมาอีกมีขึ้นเพื่ออะไรค่ะ หรือเพื่อความหลากหลาย อยากจะทราบเหตุผลคะ ?

- เอษสฺ และ เอษา ที่เป็นลูกคำ ทำไม ส เปลี่ยนเป็น ษ ละคะ ?

- नमस्तस्यै नमस्तस्यै नमस्तस्यै नमो नमः - ตสฺไย ในบทนี้คือสรรพนามเพศหญิงหรือเปล่าคะ แล้วจะแปลว่าอะไรอะค่ะอาจารย์  '' ขอนอบน้อมแด่เธอ '' อย่างนี้หรือเปล่าคะ ?

- तस्मैनकारायनमःशिवाय - ตสฺไม ในประโยคนี้ก็แปลว่า แด่เขา ใช่ไหมค่ะ ? หรือแดเขาผู้มีอักษร น อาจารย์ช่วยลองแปลให้นิดนึงคะ อิอิ

จะว่าไปก็เจอสรรพนามเหล่านี้ในบทมนต์เยอะแยะเลย

อภัย ในภาษาไทย มาจาก อภย แน่นอน แต่ความหมายคงจะเปลี่ยนไป

ให้ อภัย คืิอยกโทษ ไม่ถือว่าเป็นโทษ ไม่ถือว่าเป็นภัย.. น่าจะเป็นอย่างนั้น

อภัย เป็นชื่อเฉพาะอีกหลายชื่อ ทั้งของเทพเจ้า (พระศิวะ) ฤษี แม่น้ำ ต้นไม้ เป็นชื่อสวดก็มี


นมสฺ ตสฺไย เข้าใจถูกแล้วครับ

ที่ยกมา ไม่ได้สนธิ จึงน่าจะเขียนแยกกัน ตสฺไม นการาย นมะ ศิวาย ฯ

ตสฺไม, นการาย, ศิวาย เป็นการกเดียวกัน

แปลว่า ขอนอบน้อมแต่พระศิวะ ผู้มีอักษร น พระองค์นั้น. 

ถ้ามี ต เมื่อไหร่ ก็แปลว่า นั้น นี้ ได้เลย เพราะมีคำที่ถูกขยายตามมาอยู่แล้ว (ตสฺไม ศิวาย, ตสฺไม นการาย)

สสฺ คจฺฉติ > ส คจฺฉนฺติ - ทำไมคำหลังอาจารย์เป็นพหูพจน์ละคะ ?

เอ+ส เปลี่ยน ส เป็น ษ เพราะสระื่อื่นที่ไม่ใช่อะ-อา

คำอื่นๆมีความหมายแตกต่างไปเล็กๆ น้อยๆครับ ไม่เหมือนกันทีเดียว

อ้าว เขียนผิด แก้แล้วครับ

โทษทีคะ อาจารย์ลบสองความเห็นข้างบนนี้ได้เลยคะมันเบิ้ล

อาจารย์ขึ้นบทใหม่เลยคะ อิอิ

ashtotram


นี่แปลว่าอะไรอะค่ะอาจารย์ มาจากคำใด

น่้าจะเป็นภาษาฮินดี อษฺโฏตรมฺ มาจากภาษาสันสกฤต अष्टोत्तर

अष्ट (แปด) + उत्तर (ยิ่งกว่า) = มากกว่า 8

ถ้าตามด้วย ศตนาม ก็แปลว่า พระนามหนึ่งร้อยกับอีก 8 (108)

เรียกสั้นๆ ว่า อษฺโฏตรมฺ

1). เอษสฺ (ชาย เอษสฺ, หญิง เอษา, กลาง เอตทฺ) การแจกนั้นเหมือนข้างบน เพียงแต่มีคำว่า เอ- อยู่ข้างหน้า 

กับ

4.) คำที่แจกเหมือน ต ข้างต้น (คำหลัก - เอต - สิ่งนี้,คนนี้ )

สองข้อนี้เหมือนกันไหมค่ะ ในแง่ความหมาย เพราะแจกรูปเหมือนกันเลย เพียงแต่ข้อหนึ่งนั้น ไม่มี -เอ นำหน้า 

ถ้าจะบอกว่า สิ่งนี้ ,คนนี้  .สามารถใช้ สสฺ แทนกันได้ไหมค่ะ เพราะก็เป็นบุรุษที่สามเหมือนกัน น่าจะหมายถึงสิ่งนี้คนนี้ได้ งงคะ  

คือว่าลูกคำของสรรพนามบุรุษที่สามเพศชายเอกพจน์ (เอษสฺ)

 ก็จะไม่เหมือนกับ เอต - สิ่งนี้ คนนี้เพศ ,ชายเอกพจน์  เอษษฺ ใช่ไหมค่ะ ?

อีกสองเพศเวลาแจกรูปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเหมือนกันหรือเปล่า

1) กับ 4) คำแรก เหมือนกัน ยกมาเทียบให้เห็นระหว่าง คำที่มีี ต กับคำที่มี ย(ในบทต่อไป)

สสฺ เป็นเพศชาย ถ้าสิ่งนั้น หรือคนนั้นเป็นเพศชาย ก็ใช้ได้เหมือนกัน

เอต (เพศชาย) - สามพจน์แรกในการกที่ 1 คือ  เอษษฺ - เอเตา - เอเต ?

ย (เพศหญิง) - สามพจน์แรกในการกที่ 2 คือ  ยามฺ -    -  ? 

ได้คะนี้คะ อาจารย์ลองยกตัวอย่างให้ดูหน่อย กันสับสน


เพศหญิง ย

2.ยามฺ  เย ยาสฺ

3.ยยา ยาภฺยามฺ ยาภิสฺ ฯลฯ

จบบทนี้ก็เป็นอันว่า สรรพนามหมดเกลี้ยงแล้วใช่ไหมค่ะ อาจารย์ ^ - ^

หรือยังมีต่ออีก

  •  ( ลองกระจายตามเพศมาให้ตรวจก่อนคะ เรียง ชาย - หญิง - กลาง)

  •   อธร (ต่ำกว่า,) = อธรสฺ - อธรา - อธรทฺ

  •   อธม(ต่ำที่สุด = อธมสฺ - อธมา - อธมทฺ

  •   ปร (สูงสุด) = ปรสฺ - ปรา - ปรทฺ

  •   ปูรฺว (ก่อน) = ปูรวสฺ - ปูรฺวา - ปูรฺวทฺ

  •   อุตฺตร (สูงสุด) = อุตฺตรสฺ - อุตฺตรา - อุตฺรทฺ

  •   ทกฺษิณ (ทางทิศใต้) = ทกฺษิณสฺ - ทกฺษิณา - ทกฺษิณทฺ

ถูกไหมค่ะ ?

ไปเจอบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษาสันสกฤตมาค่ะอาจารย์..


ส่วนเรื่องพัฒนาสมองนั้นนักจิตวิทยาฝรั่งคนหนึ่งทำได้สำเร็จ เขาเขียนหนังสือเล่าให้ฟังว่าเขาไปที่อินเดียแล้วเจอปราชญ์อินเดียท่านหนึ่งเล่นกายกรรมสมองโดยการนั่งอยู่ตรงกลาง แล้วให้คนสิบกว่าคนล้อมรอบตัวเขาเป็นวงกลม แล้วแต่ละคนเดินมาทีละคนมาถามปัญหาให้ปราชญ์ท่านนั้นต้องใช้สมอง เช่นเอาหมากรุกกลมาให้แก้ เอาเลขยาวๆหลายๆล้านให้บวกลบคูณหารในใจหรือให้ถอดรูท 13 ในใจ หรือแม้กระทั่งแก้สมการคณิตศาสตร์ในใจ หรือทำโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากกว่านั้นในใจ บางคนก็เดินมาพูดภาษาต่างชาติที่ปราชญ์ท่านนั่นไม่เคยเรียนแล้วให้พูดเลียนแบบแล้วจำเหมือนนกแก้วนกขุนทแง หรือเอาโคลงยาวๆมาให้จำ หรือเอาวัตถุต่างๆหลายๆอันมาให้จำ เอาข้อความในเชิงตรรกะมาให้คิดคำนวณในใจ พอเดินวนมาอีกรอบปราชญ์อินเดียท่านนั้นทำโจทย์หมากรุกกับคณิตศาตร์ ความจำ และโจทย์ตรรกะถูกหมดราวกับมีสมองเป็น computer และ มี photographic memory

^
นักจิตวิทยาฝรั่งคนนั้นศึกษาภาษาสันสกฤตแตกฉานจนอ่านภาษาสันสกฤตแบบเป็นภาษาแขกได้ และเขาค้นคว้าเจาะลึกพบว่า

"โครงสร้างภาษาสันสกฤตมีอะไรบ้างอย่างที่สร้างเป็น mnemonic codes (สูตรเพื่อช่วยความจำ) ได้เป็นอย่างดี" 

เขาจึงพยายามทำแบบเดียวกันกับภาษาอังกฤษ คือเอาตัว a ถึง z มาเขียนใหม่ให้มีรูปร่างประหลาดๆ ซึ่งสร้างความสัมพันธ์กับวัตถุอะไรบางอย่างซึ่งสื่อกับแนวคิดอะไรบางอย่าง และสร้างกติกาขึ้นมาว่า ให้คำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งประกอบไปด้วยตัวอักษรต่างๆเพื่อเป็น mnemonic codes ที่จะจำอะไรบางอย่างหรือใช้คิดคำนวณอะไรบางอย่าง ซึ่งมันจะทำหน้าที่เป็นเหมือน "ลิ้นชัก" และ "ลิ้นชัก" เหล่านี้ จะเป็นที่ "พักตัวเลข (หรือกระดาษทดเลข)" กรณีที่ต้องทำการคำนวณตัวเลขที่ซับซ้อนในใจหลายๆขั้นตอน ตามหลัก Vedic Mathematics (เวทคณิต)

ที่นักจิตวิทยาฝรั่งพยายามทำเช่นนี้ก็เพราะเห็นแขกอินเดียหลายคนมีความสามารถพิเศษเรื่องคิดเลขยาวๆในใจกับเรื่อง photographic memory นั่นเอง นั่นก็เพราะว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของชนชาติที่มีอารยธรรมชั้นสูงที่เล่นกายกรรมกับสมองได้สำเร็จมาแล้วเป็นเวลาหลายชั่วคน

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/05/K12102842/K12102842.html




สุดท้ายนี้ถ้าอาจารย์พอมีเวลาว่างก็อยากจะให้เพิ่มเติมข้อดีของการศึกษาภาษาสันสกฤตหน่อยคะ ว่ามีอะไรที่นอกเหนือจากนี้บ้าง ถ้าความเห็นเด็กน้อยอย่างหนูก็ได้ฝึกสมองอย่างว่าจริงๆ ช่วยความจำ ความละเอียดรอบคอบมากขึ้น ที่สำคัญคือต้องถึกและอดทนอย่างมากคะ ฮ้าๆ

           เอษษฺ  - เอเตา - เอเต

เอต  }  เอษา - เอเษ - เอตาสฺ

           เอตทฺ - เอเต - เอตานิ

ถูกไหมเอ่ย ?

ที่แจกรูปมาถูกแล้วครับ 

การเรียนภาษาสันสกฤตน่าจะฝึกสมองได้มาก และช่วยให้แยกแยะอะไรได้ดี

สังเกตว่าการอธิบายเรื่องต่างๆ นั้นปราชญ์สันสกฤตจะแยกแยะเป็นส่วนๆ ได้ชัดเจนมาก

การสร้างสูตรช่วยจำของอินเดียนั้นประหยัดเวลามาก กล่าวกันว่าการย่ออักษรได้ตัวหนึ่ง น่าดีใจพอๆ กับการได้ลูกชายหนึ่งคนเลยทีเดียว ;)

สำหรับ vedic math นั้น ก็คือคณิตศาสตร์ทั่วไป เพียงแต่ชาวอินเดียเป็นผู้ศึกษา และใช้วิธีการคิด จำในใจเป็นส่วนมาก ตามแบบการศึกษาสมัยโบราณนั่นเอง

สูตรสันสกฤตหลายเล่มน่าสนใจ ผมเห็นว่ามีหลักการคล้ายการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เลย ไว้จะมาเล่าให้ฟังครับ

ป.ล. ตอนนี้อย่าลืมรวบรวมศัพท์ จำแนกชนิดคำ และท่องให้ได้มากๆ

ฝึกทบทวนโจทย์เก่าๆ ตลอดเวลาด้วย

ข้อ 5

กตร  เพศชาย = กตรสฺ -  กตเรา - กตเร - ( กรรตุการก )

กตรา เพศหญิง = กตรา - กตเร - กตราสฺ   (กรรมการก )

กตรทฺ  เพศกลาง = กตรทฺ - กตเร - กตรานิ ( กรรตุการก )

ถูกไหมค่ะ 

ยตร ( เพศชาย เอกพจน์ กรรตุการก )

ยตรสฺ - ยตเรา - ยตเร ?


โอมฺ นโม ศฺรีปรมอีศวรฺไย นมะ  !!

ถูกไหมค่ะอาจารย์ ?  หนูสงสัยว่าถ้าเป็นประโยคแบบนี้ ทั้งศรี  ปรม และอีศวรี ต้องสนธิกันไหม

แต่โดยมากเท่าที่เห็นมาถ้าเป็นรูปแบบนี้มักจะไม่สนธิ เลยสับสนคะ

แจกถูกแล้ว..

ควรจะเป็น ศฺรีปรเมศฺวรฺ-- นะครับ

โอมฺ นโม ศฺรีปรมอีศวรฺไย นมะ ก็ไม่ถูก

ต้องเป็น โอมฺ นมะ ศฺรีปรเมศวรฺไย นมะ

ศัพท์สมาสต้องสนธิ ศรีกับ ปรม ไม่มีอะไรให้สนธิ ก็เขียนติดกันธรรมดา

แต่ ปรม มีอะข้างท้าย ม, และ อีศฺวร มี อี ข้างหน้า, อะ กับ อี ต้องสนธิกัน

แต่ถ้าเป็นคำต่างหาก เช่น อีศฺวราย อสฺตุ แบบนี้ อาจไม่สนธิได้ เพราะสนธิระหว่างคำ ไม่บังคับ แต่โดยทั่วไปมักจะสนธิ เว้นแต่ในร้อยกรอง ซึ่งเว้นบ้างเพื่อให้ได้่ตำแหน่งตามฉันทลักษณ์

ปกติแล้วกริยาบอกเหตุในพจนานุกรมจะมีบอกไว้ไหมค่ะ

    '' ผมว่าถึงแม้คำในภาษาไทยก็ยืมมาจากภาษาสันสกฤตเป็นส่วนมาก
    แต่โครงสร้างทางภาษาต่างกันอยู่มาก ภาษาไทยไม่ใช่ระบบที่มีวิภัตติ
    ปัจจัยเหมือนสันสกฤต จะว่าภาษาไทยเหมือนกับสันสกฤตก็กว้างไป
    ต้องลงรายละเอียดนิดนึงว่าอะไรบ้างที่เหมือน อะไรบ้างที่แตกต่าง
    เวลามีใครถามเกี่ยวกับภาษาไทย ผมจะบอกว่าเราเอาวิธีการสะกดคำ
    พยัญชนะวรรค และคำศัพท์มาจากอินเดียโบราณ ส่วนหลักภาษาจะ
    เป็นตระกูลคำโดดเหมือนภาษาจีนครับ ''

อาจารย์เห็นด้วยกับความเห็นข้างบนนี้ไหมค่ะ  คือหนูสงสัยว่าแล้วไวยากรณ์ภาษาไทยของเราได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอะไร เช่นพวกบทอาศีรวาทนี่ก็มาจากสันสกฤตไม่ใช่เหรอค่ะ ?


ถ้ามีรูปพิเศษ พจนานุกรมจะบอกไว้ครับ

พอดีไปเจอภาพการเทียบคำในภาษาฟินิเขียน กรีกและโรมันมาค่ะ ดูชุดเขาน่ารักดี อิอิ

อยากให้สันสกฤตทำแบบนี้บ้าง..



ถ้าพูดถึงไวยากรณ์ อธิบายง่ายๆ ก็หมายถึง การสร้างประโยค

ภาษาไทย มีการสร้างประโยคคล้ายจีน เขมร มอญ อินโด คือ เรียง ประธาน กริยา กรรม

และไม่มีการแจกรูป ซึ่งต่างจากภาษาสันสกฤตมาก

ที่กล่าวมาข้างต้นก็ถูกแล้ว

ไทยเรารับมาใช้เฉพาะคำศัพท์ บางครั้งยังประสมคำแบบไทย

เช่น วิชา(เกี่ยวกับ)ภาษา(ของ)ไทย แทนที่จะเป็น ไทยภาษาวิชชา


อาศีรวาท ในภาษาไทย คือ บทร้อยกรองแต่งสำหรับสดุดี เป็นแบบแผนในการแต่งบทร้อยกรอง

ฉันท์ เราก็ได้มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่เราไม่ได้ใช้ไวยากรณ์ของเขามาเขียน

เราไม่ได้เขียนว่า ราโช ชเยตฺ  แต่เขียนว่า ขอพระราชาจงมีชัยชนะ ฯลฯ


ไวยากรณ์ หรือแบบประโยคในภาษาไทยจึงไม่ใกล้เคียงกับสันสกฤต

"ผมเขียนหนังสือ" อาจพูดว่า "หนังสือผมเขียน" ได้, แต่บอกว่า "หนังสือเขียนผม" ไม่ได้

ทั้ง "ผม" "เขียน" และ "หนังสือ" ไม่มีการเปลี่ยนรูป  เปลี่ยนแ่ต่ตำแหน่ง

นักภาษาอาจไม่ใช้คำว่าไวยากรณ์ (grammar) แต่ใช้คำว่าวากยสัมพันธ์แทน (syntax)

เพราะไวยากรณ์นั้นรวมทั้งหมดในภาษา แต่วากยสัมพันธ์มองเฉพาะการสร้างประโยค


ตัวการ์ตูนน่ารักดี ;)

 - ทำให้พอใจ (satify) ที่เป็นกริยาบอกเหตุมีไหมค่ะอาจารย์

สารภาพว่าตอนนี้หนูยังแจกรูปสรรพนามไม่หมดเลยคะ แฮะๆ เฉพาะคำสรรพนามทั้งหมดในบทนี้ที่อาจารย์ให้มานับได้ 21 คำ แบ่งเป็น 3 เพศ และ 3 พจน์ รวมแล้วหนูต้องเขียนถึง 1,323 คำ แต่ก็ใกล้เสร็จแล้วคะ

ที่เหลือก็คือว่าต้องท่องให้จำได้ แอบเห็นว่าบางคำบางเพศบางการกนั้นแจกรูปคล้ายกันมากเลย อย่างนี้จะไม่สับสนเหรอค่ะ


- สรรพนามที่ไม่กำหนดเพศ ทุกเพศใช้ได้เหมือนกันหมดนี้คือสรรพนามบุรษที่หนึ่งและสองใช่ไหมค่ะ แต่ตั้งแต่สรรพนามบุรุษที่สามเป็นต้นไปและอื่นๆอีกนี้คือแบ่งเพศหมด

- รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจประโยคนี้ให้ด้วยคะ  ตทฺ มา นสฺนิหฺยตฺ -  เขาไม่รักฉันแล้ว ?

- อีกคำถามคือว่าอาจารย์จบสันสกฤตจากศิลปากรมาได้กี่ปีแล้วคะ 

ช่วงนี้มือหนูนั่งเขียนการบ้านไป หูก็ฟังนิทานสันสฤตไปให้คุ้นหูเพลินดี อิอิ

http://www.youtube.com/watch?v=AEWFbi0H84k



สับสนได้บ้าง พอสมควร เช่น เต นี้มีหลายการก หลายเพศด้วย

แต่แปลไปเรื่อยๆ ก็จะมีความคุ้นเคย แยกแยะได้

ทำให้พอใจ ใช้ ตุษฺ > โตษฺยติ, หรือ มุทฺ > โมทยติ/เต ได้

ตทฺ มา นสฺนิหฺยตฺ. เขา(ชาย) ใช้ สสฺ, เขา(หญิง), เขา(ไร้เพศ) ใช้ ตทฺ. เลือกเอา

อ้าว ตอบไปแล้ว หายอีกแล้ว

งั้นตอบสั้นๆ ก่อนนะครับ

รูปตรงกันมีเยอะ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ภาษาไหนๆ ก็มีคำพ้อง

เราต้องอ่าน ทบทวนอยู่บ่อยๆ จะจำได้ และทราบว่าอันไหนเหมาะกับประโยคนั้นๆ

ไม่ต้องแจกให้หมดทุกการกหรอกครับ จำหัวขบวนไว้ให้ได้ก็พอ

ทำให้พอใจ ใช้ ตุษฺ และ มุทฺ ในรูปบอกเหตุได้ คือ โตษยติ และ โมทยติ

บุรุษที่ 3 แยกเพศ ถูกแล้วครับ

บุรุษที่ 1 หรือ 2 ถ้าจะบอกเพศ ต้องทำเป็นคำนาม ไม่ใช่สรรพนาม

ประโยคนี้ ตทฺ มา นสฺนิหฺยตฺ. ควรใช้ ส(สสฺ) หรือ สา แทน ตทฺ เพราะประธานเป็นบุคคล ต้องมีเพศชาย/หญิง (ตุ๊ด ทอม ดี้ อะัไรนี้ คงว่าตามเพศกำเนิด... อิๆ)

จบมาไม่กี่ปีเองครับ ร้อนวิชา เลยมาปล่อยแถวนี้

ดีมากครับ ฝึกฟังอ่านเขียนให้ครบ แลเห็นอนาคตรำไร...

สสฺ มา นสฺนิหฺยตฺ. ทำสนธิก็เป็น สะ มา นสฺนิหฺยตฺ 

แบบนี้เหรอค่ะ

เรื่องเขียนแล้วหายหนูเจอประจำคะ ทุกครั้งจึงต้องล็อกอินให้แน่ใจเสียก่อน.. อิอิ

เอ.. ต้องเปลี่ยนเป็น โส ไหมค่ะ เพราะ -ม เป็นพยัญชนะเสียงก้อง.. 

เปิดดูมาและคะ ข้อยกเว้นสำหรับสรรพนามบุรุษที่สาม สสฺ นำหน้า พยัญชนะ ต้องลบ สฺ หลังนั้นทิ้งไป

โห อยากงี้งงแน่ๆ หนูจำไปจำแต่ คำนามทั่วไปที่ผัสแล้วมี สฺ อยู่ท้าย

สสฺ เอษสฺ ต้องจำให้ได้ เจอบ่อยมาก

वागेस्वरि स्तवं


- วาเค นี่มาจาก วาค + อีศวรี =วาเคศวรี เหรอค่ะอาจารย์  แล้วทำไมข้างหลังถึงมีสระอิ ตรง ร ปกติเคยได้ยินแต่วาคีศวรี


 ( ปญฺจากฺษรมิทํ ปุณฺยํ ยะ ปเฐจฺฉิวสํนิเธา ฯ )

ปเฐจฺฉิว คือ  ปเฐจฺฉฺ + อิว = ปเฐจฺฉิว เหรอค่ะ มั่วเอา ฮ้าๆ 

แล้วท่อนนี้มันแปลว่าอะไรอะคะ ปเฐจฺฉิวสํนิเธา ฯ (ปฐ)

น่าจะเป็น วาเคศฺวรี ครับ คงเป็นการเขียนแบบอื่น หรือไม่ก็แบบฮินดี

ปเฐจฺเฉว- เป็นสนธิ ปเฐตฺ พึงท่อง + ศิวส... ตฺศ> จฺศ > จฺฉ

ปญฺจากฺษรมฺ อทมฺ ปุณฺยมฺ ยะ ปเฐจฺฉิวสํนิเธา(ตรงนี้ต้องติดกันหมด)

ผู้ใดพึงท่องอักษรทั้งห้าอันเป็นมงคลนี้ (ขอจง)เข้าใกล้พระศิวะ

อ๋อ สนธิ ตฺ นี่เองเรียนมาแล้วด้วย อิอิ

อาจารย์รอแป๊บนึงนะค่ะ หนูแจกรูปสรรพนามอยู่ เป็นพันเลยคะ

ไหนๆทำมาแล้วก็ต้องทำให้หมด ดีสะอีกเขียนจดจะจำได้ละ ใช้กระดาษตีตารางหน้าหลังเป็นสิบแผ่นเลย อยากจะถ่ายมาให้ดูจริงๆ ฮ้าๆ

ดีๆ ครับ แจกเสร็จจะแปลมหาภารตะใ้ห้ดูสักโศลก สองโศลก

มีข้อสงสัยอยากจะเรียนถามอาจารย์คะ

    เอถ ตุเมฺห กาลามา              ดูก่อน กาลามชน
    มา อนุสฺสเวน                     ท่านอย่าได้ถือโดยฟังตามๆกันมา
    มา ปรมฺปราย                     อย่าได้ถือโดยเข้าใจว่าเป็นของเก่าๆสืบกันมา
    มา อิติกิราย                       อย่าได้ถือโดยตื่นข่าว
    มา ปิฏกฺสมฺปทาเนน             อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา (ปิฎก)
    มา ตกฺกเหตุ                       อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา
    มา นยเหตุ                         อย่าได้ถือโดยใช้คาดคะเน
    มา อาการปริวิตกฺเกน            อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ
นี้เป็นกาลามสูตร อยากถามว่า คำว่า ''มา''  ในบทนี้ก็เหมือนสันสกฤตที่แปลว่า ''ไม่'' ใช่ไหมค่ะ

แล้วก็จะนำหน้าเฉพาะพวก อาชญมาลา 

ถ้างั้นคำบาลีที่หนูยกมานี้ก็คืออาชญมาลาทั้งหมดใช่หรือเปล่าเอ่ย ?


ดูเหมือนจะเป็นส่วนที่ต้องโยงไปหากริยา

คำศัพท์หลัง มา ไม่ใช่กริยา แต่เป็นนามในวิภักติต่างๆ ที่สามบ้าง สี่บ้าง .
มา ตัวนี้คงจะโยงไปหากริยา(อาจปรากฏรูปหรือไม่ก็ได้) ที่หมายถึง ยึดถือ หรือ เชื่อ
โดยความหมายก็เป็นได้ทั้งอาชญะ และวิธิ ครับ

อุภย   คู่, ทั้งสอง (สฺตฺรี. ใช้ อภยี, เฉพาะเอกพจน์และพหูพจน์)

แจกยังไงค่ะ งง เอกพจน์และพหูพจน์ หรือว่าแจกตามนามเพศหญิงอีการันต์

อาจารย์แสดงตัวอย่างให้ดูสักสองสามการกหน่อยคะ

6. สรรพนามใช้ถาม “ก” (ตำราอินเดียว่า กิมฺ) แจกเหมือน ต คือ กสฺ (ปุ) กา (ส.) แต่ นปุ เอก กรรตุ, กรรตุ ใช้ กิมฺ

เพศกลางแจกแบบนี้เหรอค่ะ..

กิมฺ - เก - กานิ

กทฺ - เก  - กานิ

เกน - กาภฺยามฺ - ไกสฺ

ปุ., นปุ. แจก อุภย แบบนามปกติ (ยกเว้น การก 5,7 แจกแบบสรรพนามก็ได้)

สตรี แจก อุภยี (แบบนามปกติ)

ปุ. อุภยสฺ อุภเยา อุภเย...

นปุ. อุภยมฺ อุภเย อุภยานิ


พวกพยัญชนะการันต์ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไรอะคะ อาจารย์

กรรม ..ข้อ 5 นี้แจกแบบ ต หรือแจกแบบนามทั่วไปปกติคะ

กรรมข้างบนของหนูนี่คือคำอุทานนะค่ะอาจารย์ มิใช่กรรมการก กลัวว่าอาจารย์จะเข้าใจผิด อิอิ

อภยี - อภเยา - อภยสฺ

อภยีมฺ - อภเยา - อภยีสฺ 


เหรอค่ะ

หลักแกรมม่าทั้งหมดที่เราเรียนกันอยู่นี้ก็คือที่อยู่ในอัษฐธยายีเกือบสี่พันกว่าสูตรนั่นใช่ไหมค่ะอาจารย์

แล้วยังมีกฎอื่นๆอีกไหมที่อยู่นอกเหนือจากอัษฐธยายีเล่มนี้

ขอบคุณคะ

न चोरहार्यं न च राजहार्यं
न भ्रातृभाज्यं न च भारकारी ।
व्यये कृते वर्धते एव नित्यं
विद्याधनं सर्वधन प्रधानम् ॥

ชอบสุภาษิตบทนี้จังเลยคะอาจารย์ หนูลองอ่านคำแปลภาษาอังกฤษดูแล้วความหมายก็ดีมากๆ

อยากให้อาจารย์ช่วยลองแปลแบบสันสกฤต ใส่ศัพท์และอธิบายไวยากรณ์ด้วยคะ

ถ้าไม่รบกวนอาจารย์มากไปนะค่ะ เกรงใจ อิอิ


อุภยี -- อุภยฺยสฺ

อุภยีม -- อุภยีสฺ ... แบบนี้ครับ (บางตำราว่า แจกได้ 3 พจน์ ครับ)

ในอัธยายี มีส่วนที่เป็นไวยากรณ์เกือบครึ่งหนึ่ง อีกส่วนใหญ่ๆ ก็คือ การเติมปัจจัย กฤต และตัทธิต กับเรื่องสมาส นอกจากนี้ก็เป็นไวยากรณ์ในภาษาพระเวท

อัธยายีอาจจะยากสักนิด เพราะวิธีการเขียนสูตรแบบประหยัด ทำให้เราต้องหาวิธีถอดสูตรอีกที ;)

ที่เราเรียน น่าจะอยู่ในอัธยายีกว่าครึ่ง ไวยากรณ์นอกเหนืออัธยายี ก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย

ไ้ว้จะแปลให้ครับ... อันที่จริง คุณศรีฯ แปลเองก็ได้นะ ติดศัพท์แล้วมาถาม ได้ฝึกไวยากรณ์ด้วย

โอเคคะ หนูแปลเองก่อนดีกว่า เพราะดูไปดูมาศัพท์ก็ผ่านมาแล้วทั้งนั้น

แล้วไว้ค่อยอาจารย์มาตรวจให้หนูอีกที ^-^

อุภยี เพศหญิง ยังไม่เข้าใจคะ  ขอให้อาจารย์แจกให้ดู ทั้งกรรตุและกรรมการก ทั้งสามพจน์เรียงกันเลยคะ

มาแบบนี้หนูงง


รู้สึกว่าในตัวอย่างคำว่า อุภยี อาจารย์จะตกสระอุไปนะค่ะ

นาทีที่ 3.17 แอบได้ยินคำว่า ''ปฺรตีกฺษ'' ที่เราเรียนมาแปลว่าคาดหวัง

 คำถามคือที่พูดเป็นภาษาฮินดีในหนังนี้คือคำเดียวกันความหมายเดียวกันไหมค่ะอาจารย์ 

http://www.youtube.com/watch?v=62IxIzm4erM


ลืมบอก พยัญชนะการานต์ = consonant declension

อุภยี แจกอย่างนี้ (สามพจน์)

स्त्रीः एकः द्वौ बहवः
प्रथमा उभयी उभय्यौ उभय्यः
सम्बोधनम् उभयि उभय्यौ उभय्यः
द्वितीया उभयीम् उभय्यौ उभयीः
तृतीया उभय्या उभयीभ्याम् उभयीभिः
चतुर्थी उभय्यै उभयीभ्याम् उभयीभ्यः
पञ्चमी उभय्याः उभयीभ्याम् उभयीभ्यः
षष्ठी उभय्याः उभय्योः उभयीनाम्
सप्तमी उभय्याम् उभय्योः उभयीषु

อาจารย์ค่ะ หนูไม่แน่ใจว่าจะมีแจกรูปสรรพนามผิดบ้างหรือเปล่า เพราะมันเยอะมากจนเบลอไปหมด

แต่ผิดหรือถูกเดี๋ยวตอนทำแบบฝึกหัดก็คงรู้คะ อิอิ แต่ถ้าผิดก็มิเป็นไรเพราะใช้ดินสอเขียนไปก่อน

ไว้ค่อยกลับมาแก้ใหม่ได้ ตอนนี้แจกเสร็จเรียบร้อยหมดแล้วคะ โล่งจัง

ลุยแบบฝึกหัดต่อ

อาจารย์คะเครื่องหมายวิรามะกับมหาวิรามะนั้น ใช้ขีดบทจบในเฉพาะร้อยกรองทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้นเหรอค่ะ

แล้วในพวกร้อยแก้วและแบบอื่นๆใช้ยังไงค่ะ

ร้อยแก้วใช้วิรามะ ขีดเดี่ยว ครับ

ร้อยกรอง ใช้ทั้งขีัดเ้ดียวและขีดคู่ครับ(จบบท)

ร้อยแก้ว (ในบทละคร) บางทีก็ใช้มหาวิรามะ คั่นระหว่างภาษาสันสกฤตกับภาษาปรากฤต ครับ

อาจารย์คะ จัดขึ้น ใช้กริยาตัวไหนดีคะ เหมือนกับพิธีถูกจัดขึ้น ประมาณนี้คะ

แล้วอย่างพวกศัพท์เฉพาะบางคำที่ไปเปิดหาในพจนานุกรมไม่เจอ เช่นมุรารี หรือ ไวกุณฺฑ พฺรหฺมโลก พวกนี้ก็ต้องเดาๆเองตามสระหลังเหรอคะ เช่น มุรารี ก็น่าจะเป็นนามเพศหญิง

(เฉพาะนาม ปุ. และ นปุ. วิภักติที่ 5, 7 เอก. และ 1 พหุ อาจแจกแบบนาม อะ การานต์)

อันนี้คือไม่บังคับใช่ไหมค่ะ จะแจกตามนามอะการันต์ก็ได้หรือไม่แจกก็ได้

อาจารย์คะสองประโยคนี้เป็นภาษาฮินดี แปลว่าอะไรบ้างค่ะ ?

मेरे जीवन के बारे में सोचते है

मैं कैसे कह सकता

จัดพิธี ประกอบพิธี ใช้ √กฺฤ (กโรติ) นี่แหละครับ

√รจฺ (รจยติ) แปลว่า จัดการ จัดให้เป็นระเบียบ (รจนา แปลว่า การแต่งคำประพันธ์ การร้อยมาลัย)

√กฺฦปฺ (กลฺปเต) ที่เรียนไปแล้ว ก็ใช้ได้


หาศัพท์ไม่เจอ ก็ต้องเดา อิๆ

ลองเปลี่ยนสระ สั้นยาวดู มุรารี ไม่เจอ เจอแต่ มุราริ

मुरारि มุร+อริ ผู้มีมุระเป็นศัตรู (พระกฤษณะ)

ब्रह्मलोक พฺรหฺมโลก น่าจะหาเจอ (ดูตัวสังโยค ว่าตัวไหนมีสระ ตัวไหนไม่มี)

ไวกุณฺฑ เขียนผิด ต้องเป็น ไวกุณฺฐ  वैकुण्ठ 


5.7 เอก. และ 1 พหุ. ใช้ได้สองแบบ ครับ


मेरे जीवन के बारे में सोचते है  ฉันคิดถึงชีวิตของฉัน

मैं कैसे कह सकता ฉันจะทำยังไงดี

ขับไล่ใช้กริยาตัวนี้ได้ไหมค่ะอาจารย์ { √धाव्  + अनु } ได้ไหมค่ะ ?


ลองแต่งมาดูก่อนคะ ไม่รู้ว่าจะใช้ได้หรือเปล่า

- อหํ ตวํ ตานิ จ นฺฤปตินา นคเรรนุธาวฺยนฺเต / ทั้งฉัน เธอ และเขาทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็ถูกพระราชาขับไล่ให้ออกไปจากเมือง


- กิมฺ คฺฤเห เต ปุเตฺรน / ใครอยู่ในบ้านกับลูกของเธอ ?


- ปกติแล้วอาจารย์สอนว่าต้องเอาคำบอกสถานที่ไว้ข้างหน้าก่อน แล้วค่อยตามด้วยประธาน

แต่นี่ประธานเป็นสรรพนาม ดั่งนั้นเราสามารถเอาคำบอกสถานที่พวกนี้มานำหน้าสรรพนามเหล่านั้นได้ไหมค่ะ


- หนูลองแว็บไปดูบทโศลกที่อาจารย์ทิ้งลิ้งไว้ให้ตามไปดูแล้วคะ ปัญหาหนูคือจะติดศัพท์เยอะมาก

ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากๆคะ สมัยอาจารย์เรียนก็ตามท่องตามเก็บสะสมคำศัพท์ที่พบเห็นในโศลกต่างๆไปเรื่อยๆเหรอค่ะ ?



ดูรูปนี้มาแล้วเลยเกิดคำถามคะว่า กลุ่มอิตาลีและเยอรมันนี่แตกย่อยออกมาเยอะที่สุดเลยเหรอค่ะ

ทั้งยังมีส่วนที่เชื่อมโยงกันให้ก่อเกิดภาษาอังกฤษอีกแน่ะ

สรุปตอนนี้หนูก็ยังไม่ทราบว่าภาษาอังกฤษแต่เดิมนั้นพัฒนามาจากภาษาอะไร ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่นๆอีกบ้างไหมนอกจากละติน เพราะดูในแผนภาพนี้โยงกันยุ่งวุ่นวายไปหมดคะ ทั้งยังมีอังกฤษเก่ากลางใหม่อีก



แล้วก็อีกคำถามคะ อ้างอิงจากรูปภาพเช่นเคย

อยากทราบว่าตารางนี้เขาต้องการจะเทียบจะวัดอะไรให้ดูค๊ะ  รูปคำ หรือการออกเสียง 

ถ้าเป็นเรื่องของเสียงหนูก็ไม่รู้อีกว่า กรีก ละติน โรมัน สโลโวนิก เขาออกเสียงกันอย่างไร


ขอบพระคุณมากคะ ถามเยอะเลย อิอิ 

หนูว่าความสัมพันธ์กันระหว่างภาษาและอารยธรรมต่างๆมันมีความน่าสนใจมากๆนะค่ะอาจารย์

ทั้งยังเกี่ยวพันในเรื่องของศาสนา ปรัชญาและเทพปกรณัมวัฒนธรรมประเพณีที่เคยใช้ร่วมกันมาอย่างมากมาย

ยิ่งอ่านก็ยิ่งสนุก ถือว่าภาษาสันสกฤตช่วยให้เปิดโลกกว้างนำพาเราให้ได้ไปรู้จักภาษาในตระกูลเดียวกัน.

ทำให้นึกถึงหอคอยบาเบลในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเลยคะ ที่ว่ามนุษย์แต่เดิมนั้นพูดภาษาเดียวกันมาก่อน เอิ้กๆ



รูปที่สองคือรูปนี้นะค่ะ เมื้อกี้พิมพ์เพลินจนลืมใส่รูป ^-^


ได้ครับ ใช้ คมฺ+อนุ ก็ได้

จากนคร ทำไมไม่ใช้ นคราตฺ

โก(กสฺ) คฺฤเห เต ปุเตฺรน (ภวติ)

วางตำแหน่งการกอื่นไม่สำคัญ เท่ากับการก 6 ต้องอยู่หน้านามที่มันขยายครับ

ส่วนมาก ตามเก็บกริยามากกว่า ศัพท์จะจดเฉพาะที่แปลก แจกผิดรูป เพราะศัพท์เปิดพจนานุกรมได้ เจอบ่อยก็จำได้ จำไม่ได้็ก็เปิดไปเรื่อยจนกว่าจะจำได้... ลองเอามาถอดดูสักโศลก


ภาษาอังกฤษนั้นไม่ได้เป็นอินเดีย-ยุโรปแท้ แต่เป็นเยอรมานิก ผสมกับอังโกล-ซักซอน

แล้วตอนหลังได้รับอิทธิพลภาษานอร์ส(ไวกิ้ง) และละตินอีกระลอก

แตกเยอะที่สุดน่าจะเป็นอิตาลิก (ไม่เรียกอิตาลี เดี๋ยวสับสน) แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ เพราะแผนผังมักจะแสดงภาษาที่เรารู้จัก ยังมีภาษาอื่นๆ อีก อันที่จริงอินเดีย-ยุโรป มาตั้ง 10 สาขาหลักครับ

การแยกภาษา มักยึดเอาไวยากรณ์ (การสร้างประโยค การสร้างนาม กริยา) เป็นสำคัญ คำศัีพท์เ็ป็นลำดับรอง เพราะคำศัพท์นั้นยืมกันง่าย แต่ไวยากรณ์ยืมกันยาก

เพราะภาษาสันสกฤตนี่แหละครับ ทำให้เกิดวิชาภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (สมัยก่อนเรียกว่า comparative philology) เพราะฝรั่งมาเจอภาษาสันสกฤตแล้วไปเทียบกับกรีกละตินที่เคยเรียนมา ก็ให้ตะลึง ว่าเอ๊ะ ทำไมคล้ายกัน แต่อยู่กันคนละทวีป ศึกษาเปรียบเทียบกันมา กระทั่งได้ตำรา ได้หลักการมากมาย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17-18 ฝรั่งเขียนตำราไวยากรณ์สันสกฤตเยอะกว่าคนอินเดียอีก...

วันหลังอย่าถามทีเยอะๆ เพราะจะตอบไม่หมด อิๆๆๆ

อาจารย์ค่ะหนังสือนิทานเวตาลฉบับที่มีภาษาสันสกฤตด้วยแล้วก็ภาษาไทยด้วยมีไหมค่ะ

เล่มไหนของใครเอ่ย หนูมีแต่เล่มเก่าๆนานแล้วคะ แต่เขียนเป็นภาษาไทยไม่มีสันสกฤตเลยสักตัว

นี่ว่าจะไปหาซื้อของอาจารย์ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา อักษร ฯ จุฬาฯ อยู่

แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีภาษาสันสกฤตอยู่ด้วยหรือเปล่า 

รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยคะ



ชื่นชมอาจารย์มากครับ...ขอเรียนรู้ด้วยนะครับ

คุณศรีฯ ที่มีสันสกฤตด้วย ไทยด้วย ไม่เคยเห็นครับ

ฉบับของอาจารย์ศักดิ์ศรี น่าซื้อครับ ท่านแปลขยายความเล็กน้อย

(ฉบับนี้มีให้โหลดในเว็บด้วย)

ส่วนต้นฉบับสันสกฤตจากเว็บสันสกฤตก็น่าจะได้


คุณทิมดาบครับ

ยินดีครับ มาเรียนด้วยกัน มีปัญหาก็ถามได้นะครับ... ตอบได้หรือเปล่า ก็อีกเรื่องหนึ่ง ;)

รบกวนขอลิ้งนั้นได้ไหมค่ะอาจารย์ อิอิ

อัปโหลดมาแล้ว

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/886/436/original_Vetala-Saksri.pdf?1363074120

ส่วนภาษาสันสกฤตไม่แน่ใจว่าอาจารย์ใช้ฉบับไหนครับ


ขอบพระคุณมากๆคะ ว่าแต่ที่เป็นสันสกฤตอ่านยากไหมค่ะอาจารย์ พอๆกับปัญจตันตระไหมเอ่ย


เรียนเรื่องสรรพนามเลยทำให้นึกถึงประโยคคลาสสิกในอุปนิษัทต่างๆเลยคะ 

'' ตตฺ ตฺวมฺ อสิ '' จากฉานโทคะยะอุปนิษัท  

 อสิ นี้แปลว่าอะไรค่ะ เดาว่า ''เธอเป็น'' 

เหมือนกับ อสฺมิ ใน '' อหมฺ พฺรหฺมาสฺมิ '' จากพฤหทารัณยกะอุปนิษัท ไหมเอ่ย


'' อยมฺ อาตฺมา พฺรหฺม ''

ประโยคนี้ก็สงสัยคำว่า ''อยมฺ'' ดูคำแปลมาว่าหมายถึงสิ่งนี้ (อาตมัน)

อยมฺ นี้จะคล้ายกับสรรพนามเชิงเปรียบเทียบในข้างต้นที่อาจารย์ให้มาไหมค่ะ , เอต = สิ่งนี้ คนนี้ 


ขอบคุณคะ..

เวตาล ภาษาไม่ถึงกับยาก แต่มีไวยากรณ์ที่เรายังไม่ได้เรียน คือพวกพยัญชนะการานต์กับธาตุอีกกลุ่มครับ. พอๆ กับปัญจตันตระครับ

ตตฺ ตฺวมฺ อสิ. เธอเป็นสิ่งนั้น, เธอเป็นอย่างนั้น. อหมฺ พฺรหฺมา อสฺมิ = ฉันคือพรหม. ก็ทำนองเดียวกันครับ

อยมฺ อาตฺมา พฺรหฺมา.  อาตมันนี้คือพรหม ที่ว่า ที่ว่าอาตมันนี้ก็เพราะว่าอาตมันเป็นส่วนที่อยู่กับเรา (อาตมัน และพรหมัน ก็คือสิ่งเดียวกัน แต่ึคนละสถานะ) ฯลฯ

อสิ เธอเป็น (อสฺ)

प्रथम   अस्ति  स्तः  सन्ति
मध्यम   असि  स्थः  स्थ
उत्तम   अस्मि  स्वः  स्मः
(ในตาราง เรียงบุรุษ 3,2 1)

อยมฺ ปุ. สิ่งนี้ (บางทีแปลว่า ที่นี่ก็ได้) เป็นสรรพนามเน้นเฉพาะ (this, this here) ไม่ใช่สรรพนามเปรียบเทียบ

อ่านคัมภีร์อุปริษัทให้จับใจความสำคัญก่อน อย่าเพิ่งยึดศัพท์เสียทีเดียว พอได้ใจความหลักๆ แล้วค่อยมาแยกแยะศัพท์โดยละเอียด เพราะหลายๆ ครั้งศัพท์มีความหมายที่หลากหลาย และไม่ตายตัว ไม่งั้นจะงง ว่าอะไรหมายถึงอะไร. จำไว้ว่า ภาษา ไม่ใช่คณิตศาสตร์ แม้จะมีความหมายชัดเจน แต่อาจไม่ตายตัวตลอดเวลา.

สถาปน สถาป- ต่างๆ ก็คือรูปบอกเหตุจาก สฺุถา นั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท