"เมาไม่ขับ"ไม่พอ_ต้องขอ(เป็น)หวัดไม่ขับ


สำนักข่าว Dailymail ตีพิมพ์เรื่อง Don't sniffle and drive: Driving with a cold can be as dangerous as drunk-driving = "อย่าจามและขับ: (การ)ขับรถตอนเป็นหวัดอันตรายพอๆ กับเมาแล้วขับ" = "หวัดแล้วขับ" อันตรายพอๆ กับ "เมาแล้วขับ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาใหม่พบว่า การเป็นหวัดทำให้ปฏิกริยาตอบสนอง (reaction times) ช้าลง 36 มิลลิวินาที = 36/1,000 วินาที มากกว่าการดื่มเบียร์ 3-4 ปายน์ (pint อังกฤษ = 0.568 ลิตร) ซึ่งทำให้ปฏิกริยาตอบสนองช้าลง 15 มิลลิวินาที = 15/1,000 วินาที

เบียร์ 3-4 ปายน์ = 1.7-2.3 ลิตร

ศัพท์ภาษาอังกฤษตอนนี้ได้แก่

  • [ drive with a cold ] = ขับรถตอนเป็นหวัด
  • [ drunk-driving ] = การขับรถตอนเมา
  • [ to be under the weather ] = (ซึ่ง)ไม่สบาย ทำท่าจะป่วย; น่าจะมาจากความเชื่อที่ว่า อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้คนเราเป็นหวัด [ vcharkarn ]
  • weather = ดินฟ้าอากาศ ภูมิอากาศ

ศ.แอนดี สมิต และคณะ จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นไข้หวัด 50 คน เทียบกับกลุ่มที่ไม่เป็นหวัด

ผลการศึกษาพบว่า คนที่เป็นหวัดมีแนวโน้มจะเอนตัวไปทางด้านหน้า ทำให้ส่วนหัว-หน้าอกอยู่ใกล้กระจกหน้า-พวงมาลัยเพิ่มขึ้น เสี่ยงแรงกระแทกมากกว่าการนั่งตรง (หลังพิงเบาะ)

การจาม 1 ครั้งจะทำให้ตามองไม่เห็นถนนนาน 3 วินาที

ความรู้สึกตัว หรือความตื่นตัว (alertness) ในคนที่เป็นหวัดลดลง 1/3 และไม่ขึ้นกับความรุนแรงของโรค คือ อาการเบาหรือหนัก จะลดลงพอๆ กัน

การศึกษาก่อนหน้านี้หลายรายงานพบว่า ช่วงที่ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค จะมีการหลั่งสารเคมีหลายอย่างเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้สารสื่อประสาท (neurotransmitters) ในสมองหลายชนิดเปลี่ยนแปลง

ผล คือ ทำให้อารมณ์ (mood), ความจำ (memory), และการเคลื่อนไหว (movement) แย่ลงไป

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้หวัด คือ ลดการติดเชื้อทั้งทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ, เชื้อที่ติดอยู่ตามวัสดุสิ่งของ ซึ่งผ่านจากสารคัดหลั่ง (น้ำตา-น้ำมูก-น้ำลาย-เสมหะ) ไปแบบ "มือ-สู่-มือ" และเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ได้แก่

(1). หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้องแอร์ที่มีคนอยู่กันมากๆ เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ

(2). ล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ถูกวิธี นาน 20 วินาทีขึ้นไป ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ-สัมผัสใบหน้า-เข้าบ้าน, หลังเข้าห้องน้ำ-สัมผัสของใช้ร่วมกัน (เช่น ลูกบิดประตู รถเข็นในห้างสรรพสินค้า คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ รีโมตคอนโทรล โทรศัพท์ ฯลฯ)

(3). ไม่สูบบุหรี่

(4). ไม่ดื่มหนัก

(5). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ อย่างน้อยเทียบเท่าการเดินสะสมเวลา 40 นาที/วัน, ขึ้นลงบันได 4 นาที/วัน, และไม่นั่งนิ่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง

(6). นอนให้พอ และไม่นอนดึก

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


หมายเลขบันทึก: 520635เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท