ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๕๑. ชีวิตที่ติดหล่มกระบวนทัศน์



          เช้าวันที่ ๑๑ ม.ค. ๕๖ ผมนั่งฟังการระดมความคิดที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อเช้าวันที่ ๑๑ ม.ค. ๕๖ ด้วย learning mode  ตั้งใจเรียน กระบวนการคิด (metacognition process)ของผู้มาร่วมประชุม  ซึ่งถือได้ว่าเป็นมันสมองชั้นยอดของประเทศไทย

          ระหว่างนั่งประชุม นอกจากใช้ iPad บันทึกสาระ ผมยังใช้บันทึกความคิดไปด้วย  ต่อไปนี้คือบันทึกนั้น 


          “กระบวนทัศน์แยกส่วน
          นั่งประชุมไป สังเกต/เรียนรู้วิธีคิดของคนระดับผู้นำของประเทศไป  เห็นกระบวนทัศน์ "คิดแยกส่วน"  "คิดสองขั้ว"  เต็มไปหมด  โดยเฉพาะคิดเรื่องเป้าหมายการเรียนรู้ เรื่องเป้าเป็นคนดี หรือคนเก่ง  อะไรก่อน 
          แต่ผมเรียนรู้จาก 21st Century Learning ว่า ต้องทำไปพร้อมกัน และเป็น "๒ สิ่งเดียวกัน"  คือจริงๆ แล้วเรียนรู้พัฒนาไปพร้อมๆ กันได้
          ทุกคนมองการเรียนรู้แบบ ถ่ายทอดความรู้ ทั้งหมด
          ผมมองว่า คนในห้องประชุมมองภาพการเรียนรู้ เป็น 20th Century Education”


          นอกจากนั้น ผมมีบันทึกความคิดอื่นๆ ที่แทรกอยู่ในบันทึกสาระดังต่อไปนี้


  •  มีคนคิดว่าการเรียนรู้ด้านคุณธรรม เป็นคนละด้านกับทักษะ  วิชาการ เรียนแยกกัน  แต่ผมคิดต่าง  ผมคิดว่าทักษะ ๒ ด้านนี้ต้องเรียนด้วยกันแบบบูรณาการ  นี่คือความแตกต่างระหว่าง 20th Century Learning กับ 21st Century Learning  ผมไม่ทราบว่าคิดแบบไหนถูกต้อง
  • มีการพูดกันมากว่าเป้าหมายของการเรียน ต้องเน้นดีก่อนเก่ง  หากเน้นดี แล้วเก่งจะมาเอง  ผมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  ที่เห็นด้วยคือต้องไม่หลงเน้นเก่ง ละเลยดี  หรือเน้นเก่งก่อนดี  ที่ไม่เห็นด้วยคือความคิดแบบแยกส่วน  มองเก่งกับดีแยกกัน  ผมมองว่าดีกับเก่งควรเรียนไปพร้อมๆ กัน  และเรียนให้พลังทั้งสองส่งเสริมซึ่งกันและกัน  ผมไม่เห็นด้วยว่าดีกับเก่งขัดกัน
  • นำไปสู่ประเด็นการคิดแบบสองขั้ว ที่เรียกว่า either – or -  ที่ผมไม่เห็นด้วย  เพราะความคิดแบบนี้ทำให้เกิดการทอนพลังซึ่งกันและกันระหว่างขั้ว  ผมชอบ both – and -  มากกว่า  และหาวิธีดำเนินการแบบ chaordic เพื่อให้สองขั้วเสริมพลังซึ่งกันและกัน
  • มีผู้ใหญ่ที่คนนับถือ พูดแล้วผมมองว่าท่านยังอยู่ในกระบวนทัศน์ “สอนวิชา”  ยังเน้นที่ “รู้วิชา”  ยังไม่เข้าใจว่ายุคนี้การเรียนต้องไปให้ถึงการ “บรรลุทักษะ”  ซึ่งเป็นการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑
  • ยังเน้นที่ “การสอน” ไม่ค่อยพูดเรื่อง “การเรียน”
  • ยังมอง eLearning แบบผิวเผิน  ไปไม่ถึงการใช้ eLearning เพื่อให้เกิด mastery learning
  • ผมไม่ได้ยินการพูดเรื่องการเรียนรู้แบบผิวเผิน (Superficial Learning)  กับการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning)


          รวมแล้ว ผมสรุปว่า การประชุมพูดกันในกระบวนทัศน์ศตวรรษที่ ๒๐ : กระบวนทัศน์ ศตวรรษที่ ๒๑  = ๘๐ : ๒๐  เรายังหลงทางกันอยู่ 


วิจารณ์ พานิช

๑๑ ม.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 519646เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2013 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2013 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

From my own experience, it is very hard to extend my vision field and to reframe the way I look at the world. I was quite comfortable in the old-same-familiar environment I did not want big changes in my world (I may no longer fit in). I looked at Buddhism from a "web of relations" and see that change is inevitable, holding on leads to suffering, and only by looking at the web (of relations) I can see "others" in my world not just "I" (at the centre of my world). Now I learn about relations and try to influence relations rather than always make direct actions.

I think life in "21stC" is about learning and managing relations.

(Teaching --in the old way-- can be seen as Master-Slave relations ;-) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท