ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 33


กริยาบอกเหตุ

 

กริยาบอกเหตุ หรือกริยาที่เป็นสาเหตุให้เกิด (causative) หรือ ณิชันตะ (บาลีว่า เหตุกัตตุวาจก) เราเคยเรียนมาพอสมควรแล้ว

ทบทวนเล็กน้อย

  1. ธาตุลงปัจจัย อย áya
  2. ทำคุณเสียงสระต้นหรือกลาง อิ อุ ฤ (ถ้ามีพยัญชนะซ้อนตามมา ไม่ต้องทำคุณ)
  3. สระอะ ต้น หรือกลาง ยืดเสียงมั่ง ไม่ยืดมั่ง
  4. สระท้ายคำ ทำวฤทธิ ก่อนลง อยะ áya

 

ในที่นี้มีกติกาเพิ่มเติม ดังนี้

1. ธาตุที่ลงท้ายด้วย อา และ ฤ จะเติม “ปฺ p” ก่อนลงปัจจัย อย ตำราเก่าๆ แปลว่า “ยังให้” เราอาจใช้ตามไปก่อนก็ได้ หรือจะแปลว่า “ทำให้” “สั่งให้” แล้วแต่กรณี

  • √ทา >    ทาปยติ   ทำให้ให้ he causes someone to give
  • √คา >    คาปยติ   ทำให้(ใคร) ร้องเพลง
  • √ฤ >      อรฺปยติ  ทำให้ไป/ขว้าง
  • √ศฺรา >   ศฺราปยติ  ทำให้สุก/หุง ต้ม
  • √ชฺญา > ชฺญาปยติ (ชฺญปยติ ก็ใช้) ทำให้รู้(บอก)
  • √สฺนา >  สฺนาปยติ (สฺนปยติ ก็ใช้)ทำให้อาบน้ำ/พาไปอาบน้ำ
  • แต่.. √ปา > ปายยติ (สร้างเหมือนกับใช้รูป ปี ทำ วฤทธิ ปี => ไป + อย => ปายฺ+อย+ติ > ปายยติ

 

2. ธาตุที่ลงท้ายด้วย อิ และ อี จะเติม “ป” เช่นกัน แต่มีการเปลี่ยนเสียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น

  √อิ+อธิ =  อธฺยาปยติ (อธิ+อี= อธี => อธายฺ +ปฺ+อย+ติ = อธายฺปยติ => อธาปยติ>) รูปพิเศษ

3. สระอะ ที่ต้นหรือกลางธาตุ เมื่อเป็นเสียงเบา(ลฆุ) คือไม่มีพยัญชนะตามมา จะยืดเสียง แต่ไม่ยืดก็มี เช่น

  • √ปตฺ > ปาตยติ
  • √กมฺ > กามยเต
  • √จมฺ > จามยติ

  ธาตุส่วนใหญ่ที่ลงท้าย -อมฺ -ชนฺ -ตฺวรฺ -ปฺรถฺ -วฺยถฺ (อื่นๆ อีกเล็กน้อย) มักจะลง อะ ไว้ ไม่ยืดเป็น อา

  • เช่น √คมฺ > คมยติ

 

4. กริยาบอกเหตุบางคำ มาจากนาม (นามธาตุ) แต่นักไวยากรณ์อินเดียว่าเปลี่ยนรูปมาจากธาตุ

  • ปาลยติ  < ปาล   (มาจาก √ปา)
  • ปฺรีณยติ < ปฺรีณ   (มาจาก √ปฺรี)
  • ภีษยติ   < ภีษ     (มาจาก √ภี)
  • ฆาตยติ  < ฆาต    (มาจาก √หนฺ) *ห > ฆ เป็นการเปลี่ยนแปลงเสียง โดยที่เสียงฐานคอหายไป gh => h, dh => h พบได้มากในภาษาสันสกฤต

 

  *** กริยาที่ให้ไว้ในแต่ละบท ล้วนเป็นกริยาที่สำคัญ ทั้งรูปพิเศษต่างๆ ควรจำให้ได้***

5. กรรมวาจกของกริยาบอกเหตุ เราพูดกันไปแล้วในบทก่อนๆเช่น

  •   ราโม คฺรามํ คมฺยเต.  รามถูกยัง(ถูกสั่ง)ให้ไปบ้าน. 
  •   ศูทฺระ กฏํ การฺยเต.     ศูทรถูกยัง(ถูกสั่ง)ให้ทำเสื่อ.

6. รูปแบบกริยาบอกเหตุ มีสองแบบดังนี้

  • ใช้กรรมสองตัว เช่น วิหคานฺ(กรรม พหุ.) ปิณฺฑานิ(กรรม พหุ.) ขาทยติ. (เขายังนกทั้งหลายให้กินก้อนข้าวทั้งหลาย.)
  • ใช้กรรมตัวหนึ่ง กับเครื่องมือ(กรณการก)
    • วิหไคะ ปิณฺฑานิ ขาทยติ. (เขายังก้อนข้าวทั้งหลายให้ถูกกินโดยนกทั้งหลาย.) ความหมายเดียวกับข้างบน
    • ราโช วีเรณารึ(วีเรณ อริมฺ) ฆาตยติ. พระราชายังศัตรูให้ถูกฆ่าโดยผู้กล้า.
    • กรณีที่ใช้กรณการก มีความหมายเป็นกรรมวาจกกลายๆ ในส่วนของ"กรรม" (ปิณฺฑานิ และ อริมฺ) แต่ไม่มีการใช้กริยาอื่นเพิ่มเติมแล้ว ถ้ามีกรณการกตามมา ก็เข้าใจได้ว่ามีความหมายว่า "ถูก..."
    • อย่าสับสน.. กริยาบอกเหตุมีสองวาจก คือ "ยังให้ทำ"(กรรตุวาจก) กับ "ถูกยังใช้ทำ" (กรรมวาจก) ไม่มี "ยังให้...ถูกทำ" เพราะกรรตุหรือกรรมวาจก อยู่ที่ตัวประธานผู้สั่ง ไม่เกี่ยวกับกรรมผู้ถูกสั่ง
    • กรณีอย่างนี้พบได้ในโครงสร้างอื่นด้วย นั่นคือ ถ้ามีกรณการก รองรับกริยาใดๆ ก็ตาม ให้พิจารณาว่าอาจมีความหมายในเชิงกรรมวาจกก็ได้

 

กริยาในที่ควรรู้

  • อศฺ กิน.                [เหตุ] อาศยติ āśáyati  ทำให้กิน, ให้อาหาร
  • อิ+อธิ ศึกษา อ่าน. [เหตุ] อธฺยาปยติ adhāpáyati สอน
  • กฺฦปฺ कॢप् เตรียม    [เหตุ] กลฺปยติ, กลฺปยเต kalpáyate kalpáyati ทำ, กำหนด, แต่งตั้ง
  • ชนฺ เกิด                [เหตุ] ชนยติ janáyati, ให้เกิด
  • ชฺญา + อา รับรู้      [เหตุ] อาชฺญาปยติ ājñāpáyati, สั่ง
  • ทา1 ให้.               [เหตุ] ทาปยติ dāpáyati, ยังให้, จ่าย
  • ทฺฤศฺ เห็น              [เหตุ] ทรฺศยติ darśáyati, แสดง
  • ธา1+ปริ วางใกล้ๆ  [เหตุ] ปริธาปยติ paridhāpáyati, ให้สวมเสื้อผ้า(กรรมสองตัว)
  • นี+อป นำไป          [เหตุ] อปนายยติ apanāyáyati ให้นำไป
  • ปฺรถฺ กระจาย         [เหตุ] ปฺรถยติ pratháyati, แผ่ไป ประกาศ
  • มฺฤ ตาย.               [เหตุ] มารยติ māráyati, ทำให้ตาย, ฆ่า
  • ยชฺ สังเวย, บวงสรวง [เหตุ] ยาชยติ yājáyati,ทำพิธีสังเวยให้คนอื่น
  • วทฺ+อภิ พูด           [เหตุ] อภิวาทยติ abhivādáyati, ไหว้ ต้อนรับ
  • วิทฺ รู้                    [เหตุ] เวทยติ vedáyati, บอก(ใช้กับสัมประทานการก)
    • วิทฺ+นิ            [เหตุ] นิเวทยติ nivedáyati, บอก(ใช้กับสัมประทานการก)
  • วฺฤธฺ เติบโต วรฺธเต, [เหตุ] วรฺธยติ, วรฺธยเต vardháyati vardháyate, ทำให้เติบโต, เลี้ยงดู
  • วฺยถฺ เจ็บปวด         [เหตุ] วฺยถยติ vytháyati, ทรมาน
  • ศฺรุ ได้ยิน,              [เหตุ] ศฺราวยติ śrāváyati, ทำให้ได้ยิน นั่นคือ ท่อง สวดให้ฟัง ประกาศ (ตามด้วยกรรม)
  • สฺถา ยืน,                [เหตุ] สฺถาปยติ sthāpáyati, วาง, แต่งตั้ง, หยุด
    • สฺถา+ปฺร ปฺรติษฺฐเต pratiṣṭhate, ออกเดิน, [เหตุ] ปฺรสฺถาปยติ prasthāpáyati, ส่งไป

แบบฝึก
แปลสันสกฤตเป็นไทย
1. สฺถาปย 2.อาชฺญาปยติ 3.ศฺราวเยสฺ 4.ปริธาปเยยุสฺ 5.มารยนฺติ 6.ปฺราสฺถาปยนฺ

 

 

หมายเลขบันทึก: 519551เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ข้อ 2 ...

- {  อธิ (อุปสรรค)  + √อิ (ธาตุ) } = อธี (สนธิ)

ที่งงคือว่าแล้ว อธี กลายเป็น อธายฺ เพราะสนธิอะไรค่ะ หรือเอาอธีไปทำพฤทธิ์


อาจารย์ค่ะ มนต์พระสรัสวตีขอวันนี้นะค่ะ อิอิ

แล้วแต่อาจารย์จะสะดวกให้บทไหนก็ได้คะ ถ้าไม่ทัน กวจ

ขอบพระคุณคะ

सरस्वतीं देवयन्तो हवन्ते सरस्वतीमध्वरे तायमाने ।
सरस्वतीं सुकृतो अह्वयन्त सरस्वती दाशुषे वार्यं दात् ॥७॥
सरस्वति या सरथं ययाथ स्वधाभिर्देवि पितृभिर्मदन्ती ।
आसद्यास्मिन्बर्हिषि मादयस्वानमीवा इष आ धेह्यस्मे ॥८॥
सरस्वतीं यां पितरो हवन्ते दक्षिणा यज्ञमभिनक्षमाणाः ।
सहस्रार्घमिळो अत्र भागं रायस्पोषं यजमानेषु धेहि ॥९॥
ฤคเวท มัณฑละที่ 10 สูกตะที่ 17 มันตระที่ 7-9

7. เหล่าสาธุร้องเรียกพระสรัสวตี พวกเขาบูชาพระสรัสวดีขณะการสังเวยดำเนินไป

เหล่าสาธุร้องเรีบกพระสรัสวตีแต่ก่อน พระสรัสวตีประทานพรแก่เขาผู้ให้

8. พระสรัสวตี ผู้มาพร้อมบรรพบรุษ ขอสำราญกับเครื่องสังเวยของเรา

โปรดประทับบนหญ้าศักดิสิทธิ์โดยสำราญ และประทานอาหารเพื่อเราจักไม่เจ็บป่วย

9. พระองค์ เหล่าบรรพบุรุษได้ร้องเรียกพระสรัสวตี ผู้มาสู่พิธีของเรา

โปรดประทานอาหารและความมั่งคั่งแก่ผู้สังเวย ณที่นี้ อันเป็นส่วนค่านับพัน

อธี ทำพฤทธิตามข้อบังคับ สระท้าย ก่อนลงอยะ

เดี๋ยวว่างๆหนูจะลองมานั่งแยกสนธิ จากบทข้างบนนี้ดูนะค่ะ


ศัพท์ยาก ไวยากรณ์ยุ่ง แปลพอได้ความเฉยๆ ครับ

- { √อศฺ กิน.}  คำนี้ไม่ยืดเสียงก็ได้ใช่ไหมค่ะ เข้ากฎข้อสาม หรือว่าให้จำรูป อาศยติ ไว้เพราะนิยมใช้มากกว่า


- { กฺฦปฺ  เตรียม กลฺปยติ } ทำไมเป็น ล ละค่ะ ทำอะไรกับตัว ฦ หรือเปล่า


- { √นี+อป นำไป  [เหตุ] อปนายยติ } ทำไมถึงเป็น นาย เสียงอาละคะ

 อปนี ทำคุณ อปเน + อย = อปนยฺ


 - { √มฺฤ ตาย.  [เหตุ] มารยติ } ข้อนี้เข้ากฎข้อหนึ่งหรือเปล่าค่ะ ลงท้ายด้วย ฤ  ก็ทำคุณที่สระต้นธาตุ

แต่ มารยติ รูปนี้ของอาจารย์เหมือนเอาไปทำพฤทธิ์เลยคะ แถมไม่เติม ปฺ ตามกฎข้างบนอีก


- 3. สระอะ ที่ต้นหรือกลางธาตุ เมื่อเป็นเสียงเบา(ลฆุ) คือไม่มีพยัญชนะตามมา จะยืดเสียง แต่ไม่ยืดก็มี 

ข้อนี้เห็นว่าจะจำตามกฎไม่ได้แล้วมั้งคะ เพราะบางคำก็ไม่เป็นไปตามกฎ คงต้องจำรูปเค้ากริยาสำเร็จไปเลย

อาจารย์ว่าอย่างไรค่ะ อย่าง ยชฺ นี่ถือว่ามีพยัญชนะตามาไหมค่ะ คือว่าเดี๋ยวยืดเดี๋ยวไม่ยืดหนูงงค่ะ


- ควรจะจดธาตุทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในหมวดที่สิบใช่ไหมค่ะ แล้วเขียนกริยาบอกเหตุกำกับไว้ด้วย

- √ศฺรุ ได้ยิน,  [เหตุ] ศฺราวติ  ทำไมเป็น อา ละค่ะ ที่หนูยัง งง คือ ไอที่ยืด อะ เป็น อา เนี่ยละคะ สับสนจัง


- ไสยาสน์ , อนันตศายิน  มาจากคำใดในสันสกฤตคะอาจารย์ แปลว่านอนหรือเปล่าคะ  ทั้งยังมีคำอื่นที่คล้ายกันอีกไหมเอ่ย ?

- นึกออกว่าเขาพนมรุ้งมีอีกชื่อว่า “รมยคีรี '' (ภูเขาที่น่ารื่นรมย์- แก่การบำเพ็ญพรต)  เหมือนคำที่เรียนกับอาจารย์มาเลย

ป.ล. ช่วงนี้ดูหนังฮินดีแล้วสนุกมากคะ บางคำฟังพอรู้เรื่องบ้าง เพราะได้ศัพท์สันสกฤตที่มาเรียนกับอาจารย์

แม้จะไม่รู้เรื่องทั้งหมดก็ตาม มันขึ้นซับอิ้งตาเราก็ดู หูเราก็ฟังเสียงไปด้วย บางคำเหมือนสันสกฤตมาก 

ว่าแต่ในภาษาฮินดีนี่ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นแล้วมีสันสกฤตอยู่ประมาณเท่าไหร่ค่ะ ไม่นับคำยืมพวก อาราบิค เปอร์เซีย อังกฤษ 



กริยาบอกเหตุมีข้อยกเว้นมาก ส่วนหนึ่งคงเพราะต้องการหลบไม่ให้สับสนกับการเติม ย ในกรณีอื่น จึงต้องจำมาก

กติกานั้นให้ดูตามบทก่อนที่เคยพูดมาแล้ว ในบทนี้จะเป็นกรณีพิเศษ และเพิ่มเติม

อศฺ ต้องใช้ อาศยติ ครับ (ปกติทำวฤทธิ สระ อะ ที่ตามด้วยพยัญชนะตัวเดียว)

สระ ฦ ทำคุณเป็น อลฺ ทำวฤทธิเป็น อาลฺ

นี ทำ วฤทธิ เพราะเป็นสระท้่าย

มฺฤ ทำวฤทธิ เพราะเป็นสระท้าย นี่เป็นกรณีส่วนใหญ่, ส่วนที่ทำคุณแบบ ธาตุ ฤ นั้นมีน้อย 

ยชฺ yaj ถือว่าสระ อะ มี ชฺ ตามมา (แต่ไม่ใช่พยัญชนะซ้อน อะ เป็นสระกลาง.) กรณีที่อะ ตามด้วยพยัญชนะตัวเดียว ส่วนมากทำวฤทธิ กรณีนี้ดูเหมือนจะเขียนไว้แล้วในตอนที่พูดถึงกริยาบอกเหตุครั้งแรก บทก่อนๆ

(พยางค์หนักคือ สระเสียงยาว และสระสั้นที่ตามด้วยพยัญชนะซ้อน ที่เหลือเป็นพยางค์เบา)

ศฺรุ สระท้าย ทำวฤทธิ śru =>śrāu + aya = śrāvaya- ข้อนี้ปกติ (ภาษาไทยเขียนผิด แก้แล้ว)

จดไว้เป็น causative ดีกว่า เพราะถ้าจดเป็นหมวด 10 จะงง

ไสยาสน์, เทียบ ภาษาสันสกฤต มาจากธาตุ ศี แปลว่านอน, ไสยาสน์ เป็นคำสมาสจากคำบาลีครับ (เสยฺย + อาสน). เทียบสันสกฤตคงจะได้ ศาย+อาสน

ศายินฺ ก็แปลว่านอน มาจาก ศี เหมือนกัน คำคล้ายกันยังนึกไม่ออก

คำฮินดีน่าจะมีเกินครึ่งจากภาษาสันสกฤต แต่รูปและเสียงเปลี่ยนไปครับ

แบบฝึก


แปลสันสกฤตเป็นไทย


1. สฺถาปย = เธอจงหยุด 

2.อาชฺญาปยติ = เขาสั่ง 

3.ศฺราวเยสฺ = ท่านพึงได้ยิน

 4.ปริธาปเยยุสฺ = ท่านทั้งหลายควรจะสวมเสื้อผ้า

5.มารยนฺติ = เขาทั้งหลายฆ่า

 6.ปฺราสฺถาปยนฺ = เขาทั้งหลายได้ส่งไปแล้ว

ถูกหมดครับ ขึ้นบทใหม่เลย.

ข้อ  6 นึกว่าจะตอบไม่ถูกซะอีก ;)

 ปฺฤถิวฺยามีศฺวระ ชนาญชนยติ =  พระผู้เป็นเจ้ายังชนทั้งหลายให้เกิดมาบนโลกใบนี้

ชนา ธรฺมํ สาธุภิะ ศฺราวฺยนฺเต = ชนทั้งหลายถูกยังให้ได้ยินซึ่งธรรมะโดยเหล่านักบุญ

พอได้ไหมค่ะ ?

ปฺฤถิวฺยามีศฺวโร ชนาญฺชนยติ .

ชนา ธรฺมํ สาธุภิะ ศฺราวฺยนฺเต.

เก่งมากครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท