515. ปีรามิดแห่งการเรียนรู้


ผมเองมีโอกาสได้ไปก่อตั้งชุมชน AI Thailand หรือชุมชนนักปฏิบัติ Appreciative Inquiry (AI) มีโอกาสดูการเติบโตของ AI ตั้งแต่มีแต่คนพูดเฉยๆ ด้วยความตื่นเต้น จนกระทั่งมีการเริ่มทำ AI จริงๆ ขึ้นมาโดยเฉพาะในกลุ่ม AI Thailand เองที่มีการเติบโตจน ถ้าเป็นทางการแล้ว เรามีคนทำวิทยานิพนธ์ หรือการศึกษาอิสระเกี่ยวกับ AI ในระดับปริญญาโทกว่า 300 คน ระดับปริญญาเอก ตอนนี้จบไปสิบกว่าคน นี่ไม่รวมที่ผมและเพื่อนๆ ลูกศิษย์ไปสอนมาอีกนับพันนับหมื่นคนครับ ตอนหลังเริ่มมีบริษัทที่ปรึกษาด้าน AI เริ่มมีกลุ่มที่ปรึกษาธุรกิจ ที่ใช้ AI เป็นหลักในการให้คำปรึกษา วงของเราขยายจากไม่กี่คน  ออกไปไกลนับหมื่นคน จากการคลุกคลีกับชาว AI มานานหลายปีทำให้ผมเห็นพัฒนาการบางอย่างครับ

                                          


Cr: http://www.thestaffingstream.com/2012/08/06/the-buzz-about-talent-communities/


เริ่มจากการที่ผมตั้งข้อสังเกตครับว่า เอ๊ทำไมบางคนเป็น AI Consultant (เอไอ คอนซัลแต๊นท์ หรือ ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กรที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือหลัก) ที่มีความสามารถสูง สามารถออกแบบโครงการ AI ที่ยืดหยุ่นได้ เรียกว่าสร้างสรรค์มากๆ สามารถคิดผสมผสาน AI เข้ากับศาสตร์ต่างๆ เรียกว่าไปไกลมากๆ ในขณะที่บางกลุ่มยังใช้งาน AI ได้ไม่คล่อง ทั้งๆที่ทำ AI ประสบความสำเร็จพอควร 

ผมลองตั้งคำถาม ถามตนเองว่า คนที่ใช้งาน AI คล่องๆ ชนิดเล่นแร่แปรธาตุได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ที่กลุ่มเราเรียกว่า The Alchemist (ดิ อัลเคมิส: เป็นชื่อที่เราชาว AI Thailand ตั้งขึ้นมาเองครับ ใช้อธิบายสมาชิกในกลุ่มที่มีความสามารถสูงมากๆ The Alchemist  เป็นชื่อเดิมของนักวิทยาศาสตร์ครับ เพราะสมัยโบราณวิทยาศาสตร์เริ่มจากการเล่นแร่แปรธาตุ ประมาณแปรแร่ธรรมดาๆให้เป็นทองนั่นเอง แต่ไม่ได้ทองครับ ไปได้สารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมนุษย์เอง)  เรียกกันว่ามีความสามารถชนิด "เสกได้" 

                  

         Credit: http://www.wikipaintings.org/en/david-teniers-the-younger/the-alchemist


ผมมีโอกาสคุยกับ The Alchemist สองสามท่านในกลุ่มครับ พบว่าต่างกันดังนี้ครับ

The Alchemist เป็นพวกที่ทำ AI แบบประมาณโค้ชชิ่งครับ คือคล้ายๆผม ที่สอนคนอื่นให้ไปทำ AI ให้เป็น เป็น โครงการจริงๆเลยประมาณสามสิบคน หรือสามสิบโครงการขึ้นไป The Alchemist ไม่ได้แค่ทำ AI เป็น แต่สอนคนอื่นให้ทำเป็นด้วยครับ

นี่ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีการเรียนรู้ที่น่าจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ครับนั่นคือ Learning Pyramid (เลิร์นนิ่ง ปีรามิด หรือมีรามิดแห่งการเรียนรู้)

                     


มาดูตามลำดับขั้นการเรียนรู้ครับ จะเห็นเลย ต่ำสุดคือการฟังบรรยาย สูงสุดคือสอนคนอื่น ประมาณว่าถ้าผมไปเรียน AI จากในห้องเรียนมาอย่างเดียว ผมจะรู้น้อยมากๆ จึงไม่แปลกครับ เราเริ่มเจอคนหลายคนที่ไปเรียน กับศาสตราจารย์เดวิด คูปเปอร์ไรเดอร์ คนที่คิดค้น AI โดยตรง แต่กลับไม่สามารถทำ AI เป็นเรื่องเป็นราวได้เลย ก็เริ่มเข้าใจแล้วครับ ก็ถ้าดูตามทฤษฎี ก็เรียกว่ารู้นิดเดียว เอาหล่ะ หลายคนอาจบอกเข้า AI Workshop (การประชุมเชิงปฏิติการ) กับอาจารย์ เดวิดมาแล้ว หรือแม้กระทั่งในภาษาไทยคนที่เคยเรียนกับผมก็ตาม ก็พูดตรงๆ ส่วนใหญ่ก็ยังไปทำอะไรไม่ได้ อ๊อ ถ้าดูตามทฤษฎีการเรียนรู้นี้ ก็ใช่สิครับ มันก็ยังรู้ไม่มาก เพราแค่ทำ Workshop (อภิปราย สาธิต)

แหละถึงแม้ในกลุ่ม AI เองผมก็เจอคนเก่งมากๆ คือขยายผลไปได้ไกลมากๆ แต่ก็ยังเจอคนเก่งที่สุดในหมู่คนเก่งที่สุด แล้วจุดต่างก็คือ คนที่เก่งที่สุด คือคนที่เรียนแบบขั้น Pyamid (ปีรามิด) เลย คือเรียนในชั้น อ่านเอง ทำ Workshop เอาไปปฏิบัติ แล้วสอนคนอื่นให้ทำเป็นด้วย ส่วนคนเก่งที่ยังไม่สุด จะยังหยุดอยู่ตรงปฏิบัติ และสอนหน่อยๆ แต่ยังไม่มากพอ 

ผมเลยได้คิดครับว่าต่อไปจะทำ AI Project ระดับไหน ปรกติแล้ว ผมจะให้การบ้านไปทำครับ คือสอนบรรยาย ทำ Workshop แล้วให้ไปคิด AI Project (เอาไปทำจริง ในองค์กรจริง) ตอนนี้เพิ่มมาแล้วครับ ต้องไปสอนคนอื่นให้ทำ AI Project ครับ ล่าสุดไปทดลองใช้กับลูกศิษย์ที่ธนาคารแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าไปไกลมากกว่าเดิมหลายเท่า ตอนนี้เลยคิดใหม่ทำใหม่ครับ

                                          

Cr: http://wesleyanleadership.wordpress.com/2012/07/18/coaching-disciple-making/

ระยะหลังการออกแบบโครงการที่ปรึกษา OD ผมจะใช้ Learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบ เป็นตัวเช๊คครับ คือไม่ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร ที่สุดจะเช๊คว่า “มีการให้ลูกค้า นักเรียน หรือใครก็ตามที่เป็นลูกค้าเรา นำความรู้ที่ได้เป็นสอนให้คนอื่นทำ “เป็น” หรือไปสอนให้คนอื่น สอนต่อ “เป็น” หรือไม่” ถ้าไม่ก็ให้มีซะ

นี่แหละครับที่ผมตั้งข้อสังเกต และอยากเขียนมานานแล้วครับ

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง คุณละคิดอย่างไร ลองพิจารณาดูนะครับ


หมายเลขบันทึก: 519447เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2013 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โหท่านสุดยอดเลยนะคะ Learning Pyramid

เคยมองว่าอะไรที่เป็นกรอบจะรู้สึกอึดอัด 

แต่เมื่ออ่านบันทึกนี้แล้วกลับพบว่า

เราควรเปิดใจมั่งก็ดีนิ

กรอบดีๆมีมากมาย โดยเฉพาะกรอบLearning Pyramid

ที่สามารถเป็นไฟส่องทางให้่เดินไปจนถึงเป้าหมาย

อีกทั้งยังเป็นกรอบที่ใช้เพื่อตรวจสอบสมรรถนะการทำงาน และเป้าประสงค์ที่ต้องการ

เจ๋งค่ะ...ขอบคุณมากๆค่ะ

ชอบปิรามิดแห่งการเรียนรู้และพยายามจะสะท้อนให้นักศึกษาทำความเข้าใจด้วย ขอบคุณดร.ภิญโญ มากครับ และขอส่งความสุขวันแห่งความรักให้อาจารย์ด้วยครับผม

ขอบคุณมากครับสำหรับบันทึกที่ดีมากๆ ครับสำหรับปิรามิดแห่งการเรียนรู้ 

ชอบบันทึกนี้มากครับอาจารย์

ส่วนมากเราเรียนรู้จากอ่าน และ lecture ความรู้และทักษะจึงน้อยนิด

ขอบคุณค่ะอาจารย์

อ่านแล้วกำลังนึกถึงเรื่องงานในส่วนของ.  coaching และ. ระบบพี่เลี้ยง ค่ะอาจารย์

อ่านโค้ชเชิงบวกแล้วลงมือทำในเวที ค้นพบสิ่งดีๆ เวทีมีทางออก แล้วยังต่อดมาสู่การ"ยอน"  coaching  ได้เป็นอย่างดี

แบบนี้อาจารย์ให้คะแนนลูกศิษย์คนนี้กี่คะแนนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท