เลี้ยงโคแบบพอเพียง


การเก็บเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์เป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค

การเก็บเมล็ดพันธุ์หญ้าอุบลพาสพาลัม

วันนี้ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานแปลงขยายพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกรรมวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์หญ้าพันธุ์อุบลพาสพาลัม โดยปกติแล้วการเก็บเมล็ดพันธุ์จะเก็บในช่วงปลายของฤดูฝน หรือต้นฤดูหนาว โดยมีวิธีการดังนี้

-   เมื่อช่อดอกติดเมล็ดและแก่เต็มที่ สังเกตจากช่อดอกมีเมล็ดเหมือนๆ กับเมล็ดข้าว ใช้มือบีบแล้วเมล็ดแข็งถือว่าใช้ได้ และมัดตรงใต้ช่อดอกในกอเดี่ยวกันรวมเป็นหนึ่งมัด

-     ให้ใช้ตาข่ายสีฟ้า (มีขายตามท้องตลาดทั่วไป) เย็บเป็นถุง ขนาด 30x40  เซนติเมตร ครอบลงในช่อดอกที่มีเมล็ดพันธุ์และมัดปากถุง  ป้องกันการหลุดล่วงของเมล็ดพันธ์ลงในแปลงและสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ในปริมาณมาก

-   เมื่อเมล็ดพันธุ์เริ่มแห้งให้เคาะช่อเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในถุงตาข่าย  เมล็ดพันธุ์จะล่วงลงในถุง และนำมาเทออกจากถุง  ซึ่งช่อที่มัดรวมกันไว้ในถุงนี้สามารถเคาะเก็บเมล็ดได้  2 -3  ครั้ง เนื่องจากในหนึ่งช่อที่มัดรวมนั้นเมล็ดพันธุ์จะแห้งไม่พร้อมกัน การเก็บหลาย ๆ ครั้งนี้จะทำให้เก็บเมล็ดพันธุ์ได้หมด  การเก็บด้วยวิธีนี้จะใช้แรงงานมาก  แต่จะดีในแง่ได้ตากเมล็ดพันธุ์ให้แห้งตามธรรมชาติและเก็บเมล็ดพันธุ์ที่แห้งไม่พร้อมกันในหนึ่งช่อเป็นช่วง ๆ     

-    การเก็บเมล็ดพันธุ์โดยการตากเมล็ดพันธุ์ในช่อดอกที่มัดรวมกันให้แห้งหมดก่อนแล้วตัดช่อดอกมาเคาะเมล็ดพันธ์  วิธีนี้จะใช้แรงงานน้อย  แต่จะมีปัญหาในกรณีที่เมล็ดพันธุ์ที่แก่เต็มที่และร่วงก่อนจะหล่นลงไปกองรวมกันอยู่ก้นถุง  ถ้าหากมีฝนตกจะทำให้เมล็ดพันธุ์มีความชื้นสูง อัตราการงอกจะต่ำ

จากวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการเก็บเมล็ดพันธุ์ของหญ้าชนิดอื่นได้ตามความเหมาะสม หรือถ้าหากไม่ใช้ถุงตาข่ายครอบช่อดอก ก็อาจจะปรับใช้กระด้ง หรือกะละมัง  รองใต้ช่อดอกแล้วเคาะเมล็ดพันธุ์ลงในกระด้งได้ แต่อาจจะสูญเสียเมล็ดพันธุ์เพราะเมล็ดอาจจะหลุดล่วงตามธรรมชาติก่อนที่เราจะเก็บก็ได้

  ถ้าเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเลี้ยงโคสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้เอง จะสามารถลดต้นทุนในการผลิต  และคัดสายพันธุ์หญ้าที่ดีและเหมาะสมกับการเลี้ยงโคของตนเอง และอาจจะพัฒนาจนกลายเป็นผู้ผลิตเมล็ดที่มีคุณภาพจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนอีกทางหนึ่ง <p align="left">              ขอบคุณค่ะ</p><p align="left">              พันดา  เลิศปัญญา</p>

หมายเลขบันทึก: 51915เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท