ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 32


  • นาม เอา การานฺต
  • นาม อา อี อู กากรานฺต (พิเศษ)

1. นาม เอา การานฺต

คำแบบนี้มีไม่เยอะ และแจกรูปตามแบบปกติ (ตามแบบ สฺ เอา อสฺ ฯลฯ) ยกตัวอย่าง เนา nāú नौ ส. เรือ ดังนี้

..

   เอกพจน์

   ทวิพจน์

   พหูพจน์

อาลปนะ

   เนาสฺ

   nāu+s

   นาเวา

   nāu+āu

   นาวสฺ

   nāu+as

กรฺตฺฤ

   เนาสฺ

   nāu+s

   นาเวา

   nāu+āu

   นาวสฺ

   nāu+as

กรฺม

   นาวมฺ

   nāu+am

   นาเวา

   nāu+āu

   นาวสฺ

    nāu+as

กรฺณ

   นาวา

   nāu+ā

   เนาภฺยามฺ

   nāu+bhyām

   เนาภิสฺ

  nāu+bhis

สมฺปฺรทาน

   นาเว

   nāu+e

   เนาภฺยามฺ

   nāu+bhyām

   เนาภฺยสฺ

  nāu+bhyas

อปาทาน

   นาวสฺ

   nāu+as

   เนาภฺยามฺ

   nāu+bhyām

   เนาภฺยสฺ

   nāu+bhyas

สมฺพนฺธ

   นาวสฺ

   nāu+as

   นาโวสฺ

   nāu+os

   นาวามฺ

   nāu+ām

อธิกรณ

   นาวิ

   nāu+i

   นาโวสฺ

   nāu+os

   เนาษุ

   nāu+su

สระเอา คือ āu นะครับ ดังนั้น เมื่อ เนา ประสมด้วยสระของวิภักติ ก็จะเป็น นาว+ เมื่อประสมกับพยัญชนะของวิภักติ ก็ยังคง เนา ดังเดิม. อีกคำที่ลง เอา ก็คือ เคฺลา glāú ग्लौ ปุ.ดวงประทีป ตะเกียง พระจันทร์ โลก ฯลฯ

2. อา อี อู การานฺต (พิเศษ)

เราได้เรียนการแจกรูปนาม ลงท้ายสระ อา อี อู กันมาแล้ว ในที่นี้จะสรุปให้เห็นภาพชัด

  • 2.1 นามลงท้าย สระ อา อี อู ทั่วไป (หลายพยางค์) ซึ่งเป็นนามเพศหญิง
  • 2.2 นามลงท้าย สระ อา อี อู ที่ไม่ใช่นามเพศหญิง มี 2 แบบ คือ
  • นามพยางค์เดียว (ไม่จำักัดเพศ)แจกรูปตามแบบแผนปกติ (ยกเว้น การก 4-5-6-7 เอก สตรี, และแืีทรก น ก่อนเติม อามฺ ในการก 6 พหุ.)
  • นามพยางค์เดียวนั่นแหละ แต่ไปประสมคำอื่นเป็นคำหลายพยางค์

     อา การานฺต แบบพิเศษ คำอาจะเป็นส่วนท้ายของสมาส(ส่วนใหญ่พยางค์เดียว และมาจากธาตุ)

  • ตัวอย่าง  -ปา ในคำ วิศฺวปา víśvapā विश्वपा ปุ.,ส. ผู้คุ้มครองทุกสิ่ง
  • นาม อา นี้ เมื่อนำไปแจก จะลบ อาทิ้งก่อน(วิศฺวปา ก็เหลือแค่ วิศฺวปฺ víśvap विश्वप्)
  • ยกเว้น หน้าวิภักติแข็งและกรรม พหุ. (คือสองการกแรก และวิภักติที่เป็นพยัญชนะ) ให้คงสระอาไว้ แล้วสนธิกับวิภักติเลย
  • สัมพันธการก พหุ. ให้แทรก -นฺ ก่อนลงวิภักติ อามฺ (มิฉะนั้นจะไปพ้องกับกรรมการก เอก. แต่บางตำราว่าไม่แทรก นฺ ก็ได้ แต่ผมเข้าใจว่าคงเป็นบางคำ)
  • อาลปนะ แจกเหมือนกรรตุการก ตามปกติ

..

   เอกพจน์

   ทวิพจน์

   พหูพจน์

อาลปนะ

   วิศฺวปาสฺ

   víśvapā+s

   วิศฺวเปา

  víśvapā+āu

   วิศฺวปาสฺ

   víśvapā+as

กรฺตฺฤ

   วิศฺวปาสฺ

   víśvapā+s

   วิศฺวเปา

  víśvapā+āu

   วิศฺวปาสฺ

   víśvapā+as

กรฺม

   วิศฺวปามฺ

   víśvapā+am

   วิศฺวเปา

   víśvapā+āu

   วิศฺวปาสฺ

   víśvapā+s

กรฺณ

   วิศฺวปา

   víśvap

   วิศฺวปาภฺยามฺ

   víśvapā+bhyām

   วิศฺวปาภิสฺ

   víśvapā+bhis

สมฺปฺรทาน

   วิศฺวเป

   víśvap+e

  วิศฺวปาภฺยามฺ

  víśvapā+bhyām

  วิศฺวปาภฺยสฺ

   víśvapā+bhyas

อปาทาน

   วิศฺวปสฺ

   víśvap+as

  วิศฺวปาภฺยามฺ

  víśvapā+bhyām

  วิศฺวปาภฺยสฺ

  víśvapā+bhyas

สมฺพนฺธ

   วิศฺวปสฺ

   víśvap+as

  วิศฺวโปสฺ

  víśvap+os

  วิศฺวปานามฺ

  víśvapā+n+ām

อธิกรณ

   วิศฺวปิ

   víśvap+i

  วิศฺวโปสฺ

  víśvap+os

  วิศฺวปาสุ

   víśvapā+su

อาจจะงงๆ ก็ตรงที่หลายการกจะเหมือนกัน เช่น กรรตุ เอก. และ พหุ. ใช้รูปเดียวกัน ;)


อี การานฺต แบบพิเศษ การแจกใช้หลักเดียวกัน แต่เมื่ออยู่หน้าวิภักติที่้เป็นสระ

  • ถ้าหน้า อี มีพยัญชนะ1 ตัว ให้เปลี่ยน อี เป็น ยฺ y
  • ถ้าหน้า อี มีพยัญชนะมากกว่า 1 ตัว ให้เปลี่ยน อี เป็น อิยฺ iy

ตัวอย่าง ยวกฺรี yávakrī यवक्री (ยว+กฺรี, √กฺรี=ซื้อ ขาย) ปุ., ส. คนซื้อข้าวโพด/ข้าว (ให้จดอัีกษรโรมันและเครื่องหมายเน้นเสียงด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนภาษาพระเวทต่อไป, อักษรเทวนาครีก็มีเครื่องหมายบอกระดับเสียง แต่พิมพ์ไม่สะดวก จึงใช้โรมันแทน) 

อนึ่ง ยวกฺรี มีพยัญชนะ 2 ตัวข้างหน้า อี, จึงเปลี่ยน กฺรี > กฺริยฺ ก่อนลงวิภักติสระ

..

   เอกพจน์

  ทวิพจน์

   พหูพจน์

อาลปนะ

   ยวกฺรีสฺ

  ยวกฺริเยา

  ยวกฺริยสฺ

กรฺตฺฤ

   ยวกฺรีสฺ*

  ยวกฺริเยา

  ยวกฺริยสฺ*

กรฺม

   ยวกฺริยมฺ

  ยวกฺริเยา

  ยวกฺริยสฺ

กรฺณ

   ยวกฺริย

  ยวกฺรีภฺยามฺ

  ยวกฺรีภิสฺ

สมฺปฺรทาน

   ยวกฺริเย

  ยวกฺรีภฺยามฺ

  ยวกฺรีภฺยสฺ

อปาทาน

   ยวกฺริยสฺ

  ยวกฺรีภฺยามฺ

  ยวกฺรีภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

   ยวกฺริยสฺ

  ยวกฺริโยสฺ

  ยวกฺริยามฺ

อธิกรณ

   ยวกฺริยิ

  ยวกฺริโยสฺ

  ยวกฺรีษุ

*โปรดสังเกต ยวกฺรี+สฺ = ยวกฺรีสฺ, ยวกฺรี+อสฺ = ยวฺกฺริยสฺ, เอกพจน์ และพหูพจน์จึงมีรูปต่างกัน


อู การานฺต แบบพิเศษ การแจกใช้หลักเดียวกัน แต่เมื่ออยู่หน้าวิภักติที่เป็นสระ

  • ถ้าหน้า อู มีพยัญชนะ1 ตัว ให้เปลี่ยน อู เป็น วฺ v
  • ถ้าหน้า อู มีพยัญชนะมากกว่า 1 ตัว ให้เปลี่ยน อู เป็น อุวฺ uv

ตัวอย่าง ขลปู (ขล+ปู) खलपू khálapū ปุ.,ส. คนกวาดถนน (ถือเป็นคนชั้นต่ำ งานกวาดขยะเป็นงานชั้นต่ำ บางครั้งเราไปสถานที่ต่างๆ ที่สกปรก ก็เพราะคนกวาดขยะไม่ว่าง คนอื่นๆ ก็ไม่ยอมทำงานนี้ เพราะเป็นงานต่ำ... อาจารย์เล่ามาอีกที) [√ปู แปลว่า ทำให้สะอาด, ขล แปลว่าพื้น]

โปรดสังเกต. ขลปู มีพยัญชนะ 1 ตัวหน้า อู, ขลปู khálapū จึงเปลี่ยนเป็น ขลปฺวฺ khálapv (ไม่ใช่ ขลวฺ)

..

   เอกพจน์

   ทวิพจน์

   พหูพจน์

อาลปนะ

   ขลปูสฺ

   ขลปฺเวา

   ขลปฺวสฺ

กรฺตฺฤ

   ขลปูสฺ

   ขลปฺเวา

   ขลปฺวสฺ

กรฺม

   ขลปฺวมฺ

   ขลปฺเวา

   ขลปฺวสฺ

กรฺณ

   ขลปฺวา

   ขลปูภฺยามฺ

   ขลปูภิสฺ

สมฺปฺรทาน

   ขลปฺเว

   ขลปูภฺยามฺ

   ขลปูภฺยสฺ

อปาทาน

   ขลปฺวสฺ

   ขลปูภฺยามฺ

   ขลปูภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

   ขลปฺวสฺ

   ขลปฺโวสฺ

   ชลปฺวามฺ

อธิกรณ

   ขลปฺวิ

   ขลปฺโวสฺ

   ขลปูษุ

ศัพท์

นาม

  • อุทฺยาน นปุ. สวน (บาลี อุยฺยาน)
  • กฺฤษิ ส. การเกษตร การทำนาทำไร. มาจาก √กฺฤษฺ (ไถ) เกฺษตฺร มาจากคำนี้แหละ
  • ชีวิต นปุ. ชีวิต, (√ชีวฺ +(อิ) ต = มีชีวิตแล้ว, ปัจจัย ต จำไว้ให้ดี เติมหลังธาตุ กลายเป็นนาม, คุณศัพท์ได้ง่ายๆ)
  • นิเทศ ปุ. คำสั่ง (นิ+√ทิศฺ(ชี้))
  • ปาศุปาลฺย นปุ. การเลี้ยงสัตว์(คำหลัก ปศุ+ปาล มีการเปลี่ยนแปลงเสียง)
  • ปุโรหิต นปุ. พราหมณ์ผู้ทำพิธีในตระกูล (ปุรสฺ + หิต, หิ มาจาก √ธา+ต เป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงเสียดแทรก dh>h)
  • ภกฺษณ นปุ. การกิน
  • ภฺฤตก ปุ. คนรับใช้(รับจ้าง) √ภฺฤ (จ้าง) + ต ปัจจัย ที่เล่าไปข้างบน, + ก อีกที แปลว่าอะไรที่เล็กๆ น้อยๆ หรือต่ำต้อย
  • มรณ นปุ. ความตาย คงมาจาก √มฺฤ (ทำให้ตาย) แล้วเติม –อน (ไว้ค่อยเรียน แต่ให้จำแบบเอาไว้ ต่อไปเห็นศัพท์ก็จะนึกออก)
  • มิตฺร นปุ. เพื่อน (บาลี มิตฺต) 
  • ยุทฺธ นปุ. สงคราม (คงมาจากธาตุ 4อา√ยุธฺ)
  • วาณิชฺย นปุ. การค้า การแลกเปลี่ยน (เพราะอย่างนี้ พาณิชย จึงต้องใช้ ณ เณร)
  • วิธิ ปุ. กฎ ชะตากรรม (ไทยใช้ว่า พิธี)
  • ศฺวศุร ปุ. พ่อตา พ่อสามี (บาลี สสุร)

คุณศัพท์

  • ภทฺร ปุ.,นปุ. ภทฺรา ส. ดี ที่รัก, ใช้เป็นนามว่า โชคลาภ สมบัติ ก็ได้
  • สํทิคฺธ ปุ.,นปุ. สํทิคฺธา ส. น่าสงสัย ไม่มั่นคง

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

नाभिनन्देत मरणं नाभिनन्देत जीवितम्।

कालमेव प्रतीक्षेत निदेशं भृतको यथा॥

  • भ्रातरि स्तेनाः शरानमुञ्चन्। 1
  • यदि नराः श्रुतेः स्मृतेश्च विधीननुतिष्ठेयुस्तदा साधुभिः शस्येरन्। 2
  • वैश्याः कृष्या वाणिज्येन पाशुपाल्येन वा वर्तेरन्। 3
  • संदिग्भां नावं नारोहेत्। 4
  • यदि गङ्गाया वारिणि म्रियेध्वं तदा स्वर्गं लभेध्वम्। 5
  • जामातरः श्वशुरान्स्नुषाः श्वश्रूर्दुहितरश्च पुत्राश्च पितरौ सेवेरन्। 6
  • ब्राह्मणैर्नावोदधिर्न तीर्येत। 7
  • शत्रुभिस्न पराजयेथा इति नृपतिं प्रजा वदन्ति। 8
  • नृपती अरिभिस्युध्येयाताम्। 9
  • नौषु युद्धमभवत्। 10
  • बालावुद्याने रमेयाताम्। 11

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. ฟางพึงถูกนำไป(วิธิ หรือ อาชฺญ) โดยพี่ชายเพื่อม้าทั้งหลายของพระราชาผู้คุ้มครองทุกสิ่ง
  2. ขอท่านจงได้เห็นโชคดี(พหูพจน์), ขอท่านจงได้รับ(√ลภฺ)ชื่อเสียง
  3. พระราชาพร้อมด้วยนักรบทั้งหลายข้ามทะเลด้วยเรือ
  4. ท่านจงบอก(วิธิ หรือ อาชฺญ)ว่า เพื่อนทั้งหลายพึงพบกับพี่ชายทั้งหลายที่ใด
  5. ท่านพึุงสนุกอยู่ในสวน แต่จงเว้นจากการกินแห่งผลไม้ทั้งหลาย
  6. ท่านจงถูกนำไปจากความทุกข์ โดยผู้โดยผู้ึุคุ้มครองทุกสิ่ง
  7. วันนี้ โอรสทั้งสองของพระราชาพึงถูกบวชโดยปุโรหิต
  8. ท่านทั้งสองจักต้องไหว้บิดามารดา(ทวิพจน์)
  9. หากเราทั้งสองพึงกล่าวความเท็จ เราจักถูกทำโทษโดยพระราชา
  10. ความปรารถนาของพระราชามีว่า "ขอข้าจงชนะศัตรูด้วยนักรบผู้กล้าทั้งหลาย" (ใช้กรรมวาจก. มันถูกปรารถนาโดยพระราชา ฯลฯ)
  11. ขอเราทั้งหลายได้รับผลแห่งธรรมะ





หมายเลขบันทึก: 518430เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (72)

อุย.. เห็นอาจารย์ไปกด like หนูด้วย เขินจัง อิอิ

อิๆ, ดีแล้วครับ ฝึกให้แม่น

- เอาการันต์นี่แจกได้สองเพศหรือสามเพศค่ะ

- นี่หมดสระการันต์หรือยังค่ะ และยังเหลือพยัญชนะการันต์อีกเยอะไหมเอ่ย ?

- เฉพาะ อีการันต์ จะรู้ได้อย่างไรว่าคำไหนเป็นอีการันต์พิเศษ เพราะก็เห็นคำศัพท์ในอีการันต์ปกติที่อาจารย์ให้มาเป็นเหมือนกันเลย เช่น ปุตฺรี นครี หฺรี กรณีของอูการันต์ก็เช่นเดียวกันคะจะดูอย่างไร


เอา เป็นศัพท์ที่มีน้อย ไม่แน่ใจว่ามี นปุ หรือเปล่า. แต่ เอา ก็แจกตามวิภักติปกติ ถ้าเป็น นปุ ก็ ลง มฺ อี อิ สองวิภักติแรก ที่้เหลือก็เหมือน ปุ ครับ

สระการานต์ หมดแล้ว เหลือพยัญชนะอีกอื้อเลย...

อา อี อู พิเศษ 1.คำพยางค์เดียว 2.ถ้าหลายพยางค์ก็ที่ไม่ใช่เพศหญิง 3. คำหลายพยางค์ ดูพยางค์ท้าย ว่้าเป็นส่วนที่มาจากธาตุหรือเปล่า 4.ดูในพจนานุกรม จะเขียนแยก - เอาไว้ ว่าเป็นการประสมคำ (http://www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de/monier/) ลองค้นด้วยคำว่า วิศฺวปา (เขียนแบบนี้นะ vizvapA)

มรณ นปุ. ความตาย คงมาจาก √มฺฤ (ทำให้ตาย) แล้วเติม –อน (ไว้ค่อยเรียน แต่ให้จำแบบเอาไว้ ต่อไปเห็นศัพท์ก็จะนึกออก)  อน เป็น มรณ ต้องเปลี่ยน น เป็น ณ ด้วยเหรอค่ะอาจารย์

อาจารย์ค่ะ ของอาจารย์เป็นหลักสูตรนี้หรือเปล่าค่ะ เห็นรายวิชาศาสนาฮินดูแล้วน้ำลายไหลเลยคะ ..อิอิ

บรรดาคณาจารย์ที่คณะโบราณคดีทั้งหลายคงจะสุดยอดมากๆ

http://www.graduate.su.ac.th/Curriculum/C/06.pdf

เปลี่ยน น เป็น ณ ครับตามหลักสนธิ

ใช่แล้ว เรียนไหมๆ อาจารย์ที่นั่นจบเอกจากอินตะระเดียทุกท่านครับ



พยัญชนะพิเศษนี่ก็ดูยากเหมือนกันนะค่ะ มาถึงเอาไปผันไม่ได้เลยต้องเช็คก่อน อิอิ

แต่ปกติแล้วก็ไม่ค่อยได้พบเจอเท่าไหร่ใช่ไหมค่ะ

แล้วพวกพยัญชนะการานฺตนี่เราจะเจอเยอะไหมในประโยคทั่วไป ถ้าเทียบกับสระการานฺตแล้วแบบไหนจะเจอเยอะกว่า

ปู นี่ เหมือนคำไทยที่เราพูดๆกันไหมค่ะ เช่น ปูพื้น ปูเสื่อ ปูผ้า เพราะก็มีความหมายว่าเคลียพื้นที่นั้นให้สะอาดก่อนเช่นกัน ^^

พยัญชนะการานตน่าจะน้อยกว่าครับ บางโศลกอาจจะไม่มีพยัญชนะการานตเลย

แต่ยังมีพยัญชนะการานตที่มาจากการเติมปัจจัยอื่น เช่น เติม อตฺ วตฺ มตฺ อนฺตฺ วำสฺ ฯลฯ

ตอนผมเรียนก็เคยถามอาจารย์อย่างนี้แหละ แต่อาจารย์บอกแค่ว่ามีเยอะเหมือนกัน เลยไม่ได้ถามต่อ ;)

ปู คล้ายกันเนอะ. แต่ ปู มีหลายความหมาย เช่น ทำให้บริสุทธิ์ คล้ายๆ purify ในภาษาอังกฤษ

หรือพัดผ่าน ระบายอากาศ (เทียบกับ √ปวฺ) 

อาจารย์ค่ะแล้วเรื่องสนธินี่หมดแล้วเหรอค่ะ

ขลปู + เอา = ขลปฺวฺ + เอา = ขลปฺเวา (อันนี้พอเข้าใจคะ) 

แต่ที่ไม่เข้าใจคือ อาจารย์บอกว่าให้ดู พยัญชนะที่หน้าสระอู คำตัวอย่างคือ ขลปู อาจารย์ว่ามีพยัญชนะหนึ่งตัวหน้าสระอู มันหนึ่งตัวตรงไหนค่ะ หนึ่งตัวนี้คือ ป หรือ ข ล คะ หนูมองว่ามันมากกว่าหนึ่งตัวอะคะ ฮ่าๆ

อย่างคำนี้ก็เหมือนกัน ยวกฺรี  อาจารย์บอกว่าหน้าสระอีมีพยัญชนะหนึ่งตัว หนึ่งตัวนี้คือ กฺ เหรอค่ะ

ภทฺรา กาลี ถูกไหมค่ะ แปลว่าเทวีกาลีผู้ดีงาม หรือเทวีกาลีที่รักเหรอค่ะอาจารย์

ส่วนใหญ่เห็นเขียนภาษาอังกฤษกันว่า ภทฺร กาลี แบบนี้ผิดใช่ไหมค่ะเพราะคนละเพศกัน

หรือคำว่า ภทฺร นี้ยังมีหน้าที่อื่นๆอีกนอกจากจะเป็นนามและคุณศัพท์

อาจารย์อย่าลืมเมธาสูกตัมหนูนะค่ะ อิอิ

หนูขำคำอธิบายเรื่องคนกวาดขยะชั้นต่ำ พูดสะเห็นภาพเลยคะ ฮ่าๆ


ดูตัวโรมัน ง่ายกว่า khalapū พยัญชนะหน้าสระ อู ก็คือ ป. ตัว ข ตัว ล ถือว่าอยู่หน้าสระ อะ

yavakrī ย และ ว อยู่หน้า อะ. ก และ ร อยู่หน้าสระ อี

ควรเป็น ภทฺรกาลี เป็นสมาสคำเดียวกัน แปลทำนองนั้นแหละครับ แปลว่า เทพกาลีผู้ประเสริฐ ก็ได้

เกือบลืม เมธาสูกตะ...

ผมพยายามนึกว่าตอนที่เรียน อาจารย์สอนอะไรบ้าง จะได้เอามาเล่าให้ครบถ้วน ;)


เวลาดูหนังอินเดียแล้วจะได้ยินคำฮินดีว่า รักชะกะโร บ่อยมาก เลยสงสัยว่าจะเป็นคำเดียวกับ รกฺษติ ในสันสกฤตหรือเปล่าค่ะอาจารย์

http://www.youtube.com/watch?v=tt-H3hSBUCM

 นาทีที่ 00.48.13 ตอนพระแม่ปาราวตีพูด  '' ปติ ปรเมศวราย นโม นมะ '' 

นี้แปลว่า '' ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระปรเมศวรผู้ยิ่งใหญ่ '' เหรอค่ะ

ปติ นี้ใช้แบบไหน วางเดี่ยวๆไม่ต้องผันเลยเหรอค่ะอาจารย์


อาจารย์ดูหนังเรื่อง life of Pi หรือเปล่าค่ะ ?

อาจจะเป็น रक्ष करो, รักษะ แปลว่า ดูแล รักษา คุ้มครอง, กโร แปลว่า ทำ,

ปติ คงเป็นอาลปนะครับ, ข้าแต่พระผู้ยิ่งใหญ่

Life of Pi ยังไม่ได้ดูครับ แต่มีแผ่นแล้ว,

ว่าจะเขียนเล่าเรื่อง मुन्ना भाई เคยดูไหมครับ สนุกดี (ภาค 1 ภาค 2) มีข้อคิดดีๆ ด้วย

วิดีโอ ถ้าเป็น ปติปรเมศฺวราย ก็ใช้ได้ แต่ก็แปลกๆ, น่าจะใช้แบบภาษาฮินดี

อาจารย์หมูชอบทานขนมอินเดียไหมค่ะ

ไม่ค่อยได้ทานขนมอินเดียเท่าไหร่

ส่วนมากเจอแต่อาหารคาว แต่ที่เคยทาน รสหวานๆ ก็โอเคครับ อร่อยดี ;)

ป.ล. เมธาสูกฺต หาเจอแล้ว เสาร์อาทิตย์ทันไหม

ทันคะ แต่เกรงใจอาจารย์จังเลย ถ้าอาจารย์ยุ่งๆไม่ต้องแปลก็ได้นะค่ะ 

อย่างสนธินี่อาจารย์ใช้สายตากวาดไปกวาดมาก็แยกออกเลยหรือเปล่าค่ะ หรือต้องมีเปิดตำราบ้าง

อ่านไปสักพักก็จะรู้สึกว่าไม่ยากครับ ;)

ลองฝึกแยกสนธิก็ดีนะครับ ทำแล้วส่งมา เดี๋ยวตรวจให้

Narasimha is known by the epithet "Mriga-Sharira" in Sanskrit which translates to Animal-Man. From a philosophical perspective, Narasimha thus is a symbol of Advaita with man half representing the Jeevatma and the Lion half the Paramatman.


Mriga-Sharira คำนี้ในสันสกฤตคือคำว่าอะไรค่ะอาจารย์  หนูเดาไม่ได้เลย

แต่จะลองเดาดู มฤค - ศรีร เปล่าค่ะ อาจารย์แปลให้ด้วยนะค่ะ อิอิ

ภาษาอังกฤษพวกนี้เขียนแล้วทำให้งงนะค่ะ อไทฺวต ชีวาตฺมนฺ ปรมาตฺมนฺ

คือเขียนพออ่านและเดาได้ แต่จะปริวรรตออกมาแล้วลำบาก ยิ่งกับคำที่เราไม่เคยเจอเลย ยิ่งยาก

หนูเลยอยากทราบว่าMriga-Sharira   นั้นมันแปลว่าอะไร

อ่อ เจอแล้วคะ มฺฤค = สัตว์

ศรีร = ร่างกาย น่าจะหมายถึง สรีระ ในคำไทยของเรานั่นเอง

แปลว่าครึ่งคนครึ่งสัตว์ถูกไหมค่ะอาจารย์ 

ศรีร = สรีระ

มฺฤค แปลว่าสัตว์ป่าก็ได้ แต่แปลว่า กวางก็ได้ครับ

อังกฤษเขียนหลายแบบมากเลยครับ โดยเฉพาะช่วงอังกฤษเข้ามาอินเดียใหม่ๆ ยังใช้อักษรไม่เป็นระบบต้องเดากันเลย หรือที่เป็นระบบแล้ว แต่คนละระบบกับที่เราใช้ ก็น่างง (ดูงานของ Max Muller สมัยแรกๆ)

อ่านเยอะๆ ครับ จะได้ชินตา

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย (ขออนุญาตแยกสนธิบางข้อเฉพาะที่ไม่ค่อยแน่ใจ )

  • भ्रातरि स्तेनाः शरानमुञ्चन्। 1
  • = อันว่าโจรทั้งหลายได้ปล่อยซึ่งลูกศรทั้งหลาย(ใส่)ในบรรดาพี่ชายน้องชาย ( ภฺราตริ สฺเตนาสฺ ศรานฺ {อมุญฺจ + อนฺ} )

  • यदि नराः श्रुतेः स्मृतेश्च विधीननुतिष्ठेयुस्तदा साधुभिः शस्येरन्। 2
  • = ถ้ามนุษย์ทั้งหลายนึกถึงและปฎิบัติตามซึ่งกฎจากคัมภีร์พระเวทและเมื่อนั้นเขาทั้งหลายถูกประกาศจากนักบุญ ( ยทิ นราสฺ ศฺรุเตสฺ {สฺมฤต + อีศฺ } จ  วิธีนฺ  {อนุติษฺฐ + อียุสฺ} ตทา สาธุภิสฺ {ศสฺย + อีรนฺ} ) 

  • वैश्याः कृष्यावाणिज्येन पाशुपाल्येन वा वर्तेरन्। 3
  • = กสิกรทั้งหลายดำรงอยู่กับการเกษตรโดยการค้าขาย,ด้วยการเลี้ยงสัตว์ (สงสัย วา มาจากไหน )
  • ( ไวศฺยาสฺ กฤษยาสฺ วาณิชฺเยน ปาศุปาลฺเยน วา {วรฺต + อีรนฺ} )

  • संदिग्भां नावं नारोहेत्। 4
  • = สํทิคฺภามฺ นาวมฺ นาโรเหตฺ { โรห + อีตฺ } ข้อนี้ติด นา ค่ะ

  • यदि गङ्गाया वारिणि म्रियेध्वं तदा स्वर्गं लभेध्वम्। 5
    • = ถ้าเธอทั้งหลายตายจากแม่น้ำคงคาในบรรดาแม่น้ำทั้งปวง,เมื่อนั้นก็จะได้ลุ (รับ) ซึ่งสวรรค์

  • जामातरः श्वशुरान्स्नुषाः श्वश्रूर्दुहितरश्च पुत्राश्च पितरौ सेवेरन्। 6
  • = อันว่าลูกเขยทั้งหลายควรเชื่อฟังซึ่งพ่อตา,ลูกสะใภ้ทั้งหลายควรเชื่อฟังซึ่งพ่อสามี, และลูกสาวกับลูกชายทั้งหลายควรเชื่อฟังซึ่งพ่อแม่

  • ब्राह्मणैर्नावोदधिर्न तीर्येत। 7 = แยก นาโวทธิรนฺ ตีรฺเยต ไม่ได้คะ หาไม่เจอ อิอิ

  • शत्रुभिस्न पराजयेथा इति नृपतिं प्रजा वदन्ति। 8
  • = ประชาชนพูดว่าพระราชาทรงพ่ายแพ้(ต่อ)เหล่าศัตรู

  • नृपती अरिभिस्युध्येयाताम्। 9
  • = พระราชาทั้งสองคงจะสู้รบอยู่กับศัตรูทั้งหลาย

  • नौषु युद्धमभवत्। 10
  • อันว่าสงครามได้เกิดขึ้นแล้วที่บนเรือ

  • बालावुद्याने रमेयाताम्। 11
  • ขอให้เด็กๆจงสนุกอยู่ในสวน (  งงว่า วุทฺ ว นี้มาจากไหนค่ะ )

  • यदि नराः श्रुतेः स्मृतेश्च विधीननुतिष्ठेयुस्तदा साधुभिः शस्येरन्। 2
  • = ถ้ามนุษย์ทั้งหลายนึกถึงและปฎิบัติตามซึ่งกฎจากคัมภีร์พระเวทและเมื่อนั้น เขาทั้งหลายถูกประกาศจากนักบุญ ( ยทิ นราสฺ ศฺรุเตสฺ {สฺมฤต + อีศฺ }สฺมฤเตสฺ {สฺมฺฤติ} จ  วิธีนฺ  {อนุติษฺฐ + อียุสฺ} ตทา สาธุภิสฺ {ศสฺย + อีรนฺ})
  • ถ้ามนุษย์ทั้งหลายดำเนิน(พึง)ตามแบบแผน คัมภีร์พระเวท และธรรมเนียม (ศรุติ และสมฤติ) เมื่อนั้นเขาทั้งหลายพึงถูกประกาศจาก/โดยนักบุญทั้งหลาย
  • โปรดสังเกต วิธี ใช้กับประโยคเงื่อนไข (ถ้า) ได้ด้วย
  • वैश्याः कृष्यावाणिज्येन पाशुपाल्येन वा वर्तेरन्। 3
  • = กสิกรทั้งหลายดำรงอยู่กับการเกษตรโดยการค้าขาย,ด้วยการเลี้ยงสัตว์ (สงสัย วา มาจากไหน )
  • ( ไวศฺยาสฺ กฤษยาสฺ วาณิชฺเยน ปาศุปาลฺเยน วา {วรฺต + อีรนฺ} )
  • พิมพ์โจทย์ผิด ต้องเว้นวรรคหลัง กฺฤษฺยา 
  • กสิกรทั้งหลายพึงดำรงอยู่กับการเกษตร โดยกับการค้าขาย,หรือ ด้วยกับการเลี้ยงสัตว์
  • วา(หรือ) ก็เหมือน จ(และ), เขียนไว้ข้างหลังคำที่ต้องการเชื่อม
  • วิธิ ให้แปลว่า พึง คง ฯลฯ ตามเนื้อหา อย่าแปลแบบปัจจุบันกาลปกติ
  • संदिग्भां नावं नारोहेत्। 4
  • = สํทิคฺภามฺ นาวมฺ นาโรเหตฺ { โรห + อีตฺ } ข้อนี้ติด นา ค่ะ
  • สํทิคฺภามฺ(2 เอก. ส.) นาวมฺ(2 เอก. ส.) น อาโรเหตฺ (รุหฺ+อา +อีตฺ)
  • อย่าพึงลงเรือที่ไม่มั่นคง. อาโรห ควรจะแปลว่า ขึ้น แต่ในที่นี้เป็นเรือ จึงต้องแปลว่า ลงเรือ
  • यदि गङ्गाया वारिणि म्रियेध्वं तदा स्वर्गं लभेध्वम्। 5
  • = ถ้าเธอทั้งหลายตายในจากแม่น้ำคงคาในบรรดาแม่น้ำทั้งปวง,เมื่อนั้น(เธอทั้งหลาย)ก็จะได้ลุ (รับ) ซึ่งสวรรค์
  • คงฺคายาสฺ(6) วาีิีริณิ(7) เอกพจน์ ก็แปลว่า ในแม่น้ำแห่งคงคา  หรือ ในแม่น้ำคงคา นั้นเอง
  • โปรดสังเกตว่า อิ ปนุ.นั้น แตกตามแบบเป๊ะ แต่เพิ่ม นฺ ก่อนลงวิภักติฺ
  • जामातरः श्वशुरान्स्नुषाः श्वश्रूर्दुहितरश्च पुत्राश्च पितरौ सेवेरन्। 6
  • = อันว่าลูกเขยทั้งหลายควรเชื่อฟังซึ่งพ่อตา,ลูกสะใภ้ทั้งหลายควรเชื่อฟังซึ่งพ่อแม่สามี, และลูกสาวกับลูกชายทั้งหลายควรเชื่อฟังซึ่งพ่อแม่
  • ประโยคนี้ควรจำไว้ การใช้กริยาเพียงตัวเดียว กับประธาน/กรรมหลายตัว พบมากในภาษาสันสกฤต (เสวฺ อาจแปลว่า ปรนนิบัติ ก็ได้)
  • ब्राह्मणैर्नावोदधिर्न तीर्येत। 7 = แยก นาโวทธิรนฺ ตีรฺเยต ไม่ได้คะ หาไม่เจอ อิอิ
  • พฺราหฺมไณรฺ เป็น การกที่ 3 พหูพจน์ นึกไ้ว้ว่า โดย, ด้วย ทีนี้ กริยา เป็นอาตมเนบท ตฺฤ(ข้าม) ก็เป็นประโยคกรรมวาจก. 
  • นาโวทธิรนฺ ตีรฺเยต = นาวา อุทธิรฺ(อุทธิสฺ) น ตีรฺเยต.
  • ทะเลไม่พึงถูกข้ามโดยพราหมณ์ด้วยเรือ. พราหมณ์ไม่ึควรนั่งเรือข้ามทะเล/แม่น้ำ
  • อาจารย์เล่าว่า มีข้อห้ามเช่นนี้อยู่้ แต่สงสัยว่าพราหมณ์ออกมายังเอเชียอาคเนย์ได้ยังไง ถ้าไม่นั่งเรือมา ;)
  • शत्रुभिस्न पराजयेथा इति नृपतिं प्रजा वदन्ति। 8
  • = ประชาชนพูดว่าพระราชาทรงพ่ายแพ้(ต่อ)เหล่าศัตรู
  • "ศตฺรุภิสฺ น ปราชเยถาสฺ" อิติ นฺฤปติมฺ ปฺรชาสฺ วทนฺติ.
  • ประชาชนพูดกับพระราชาว่า "ท่านอย่าพึงแพ้ต่อ(กับ)ศัตรูทั้งหลาย"
  • ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ระวังเรื่องสนธิ

  • बालावुद्याने रमेयाताम्। 11
  • ขอให้เด็กๆจงสนุกอยู่ในสวน (งงว่า วุทฺ ว นี้มาจากไหนค่ะ )
  • พาเลา อุทฺยาเน ...
  • เด็กทั้งสองพึง/คงเล่นสนุกอยู่ในสวน
  • โปรดสังเกต สระ อี อู เอ ทวิพจน์ จะไม่ทำสนธิ (เช่น นฺฤปตี) แต่ "พาเลา" ทำสนธิ

'' โปรดสังเกต สระ อี อู เอ ทวิพจน์ จะไม่ทำสนธิ (เช่น นฺฤปตี) แต่ "พาเลา" ทำสนธิ ''

โห มีแบบนี้ด้วยเหรอค่ะ ข้อยกเว้นของข้อยกเว้น


'' อาจารย์เล่าว่า มีข้อห้ามเช่นนี้อยู่้ แต่สงสัยว่าพราหมณ์ออกมายังเอเชียอาคเนย์ได้ยังไง ถ้าไม่นั่งเรือมา ;) ''

ฮ้าๆ

จริงๆ แล้ว พาเลา เป็นกรณีปกติครับ เพราะลงสระเอา ไม่ใช่ สระ อี อู เอ

สำหรับโศลก ให้แยกสนธิมาตรวจก่อน

नाभिनन्देत मरणं नाभिनन्देत जीवितम्।

कालमेव प्रतीक्षेत निदेशं भृतको यथा॥


น {  อภินนฺท + อีต } มรณมฺ น { อภินนฺท + อีต } ชีวิตมฺ ।

กาล อิว { ปฺรตีกฺษ + อีต }  นิเทศมฺ  ภฺฤตกสฺ  ยถา  ॥


ถูกไหมค่ะ ?

กาลมฺ + อีว หรือเปล่าค่ะ ไม่แน่ใจ

कुक्कुर แปลว่าสุนัขเหรอค่ะอาจารย์ มันคล้ายกับ คำว่าไก่เลยคะ เกือบฟังผิดไปแน่ะ เสียงคล้ายกันมาก

เกือบหน้าแตก อิอิ  

หนูพอแยกสนธิได้แต่แปลไม่ค่อยรู้เรื่อง วิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น กับ วิชาวากยสัมพันธ์จะช่วยได้ไหมค่ะถ้าอ่านคู่กันไปด้วย อิอิ

อาจารย์ค่ะ ปายาซัม หรือ ปายาส หรือภาษาปัจจุบันเห็นเรียกกันว่าขีระ มันอย่างเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือเปล่าคะ

คือข้าวที่หุงด้วยนมและใส่เครื่องเทศต่างๆ หนูอ่านมานิดหน่อย อยากทราบว่ามีรากศัพท์มาจากสันสกฤตคำไหนบ้าง

Kheer is prepared in festivals, temples, and all special occasions. The term Kheer (used in North India) is derived from Sanskrit wordsKsheeram[1] (which means milk). Other terms like Payasa or Payasam (used in South India) or payesh (used in Bengal region) are derived from the Sanskrit word Payas which also means "milk". It is prepared using milkrice, ghee, sugar/jaggeryKhoya. Some also add a little bit of Heavy Cream to give it more richness in taste. It is often garnished using almonds, cashews, raisins and pistachios.

नाभिनन्देत मरणं नाभिनन्देत जीवितम्।

कालमेव प्रतीक्षेत निदेशं भृतको यथा॥


น {  อภินนฺท + อีต } มรณมฺ น { อภินนฺท + อีต } ชีวิตมฺ ।

กาลมฺ เอวอิว { ปฺรตีกฺษ + อีต }  นิเทศมฺ  ภฺฤตกสฺ  ยถา  ॥


แยกสนธิได้แล้ว ทีนี้ก็แปลได้ ;)

कुक्कुर  แปลว่าสุนัขครับ

ขีรมฺ ก็ กฺษีร นั่นแหละครับ น้ำนม

ปายสฺ น้ำ หรือน้ำนมก็ได้ แต่ ปายส คือ ข้าวหุงดวยน้ำนม, 

Khoya นี่ไม่ทราบอะไร

โชคดี มีหลายคำครับ เช่น दैवं, भाग्यं, भागधेयं, विधिः, अदृष्ट, सौभाग्यं, पुण्योदयः, भाग्योपचयः

วิธีแยกสนธิ 1. จำกฎสนธิ 2.จำศัพท์ 3.จำรูปแจกให้ได้ แค่นี้ก็พอครับ

เมธา สูกตัม ยากไหมค่ะอาจารย์ จริงๆมันยาวนะค่ะ แต่หนูเหลือมาแค่สองบท เห็นว่ากายาตรีบทท้ายๆก็เพราะดี

อาจารย์ช่วยแนะนำหนังสือสอนภาษาบาลีหน่อยคะ แบบที่เข้าใจง่ายๆ ศึกษาเองได้

เมธาสูกตะ ยากครับ ;) เทวนาครีีที่ผมได้มาก็ดูเหมือนจะแหว่งๆ ไปเช็คกับฉบับเต็มก็เหมือนจะไม่ตรง

พอดีได้มาเป็น pdf เลยค้นคำไม่ค่อยสะดวก

หนังสือบาลี ลองดูของอาจารย์แสง มนวิทูร (เก่ามากแล้ว) และอาจารย์จำลอง สารพัดนึก(น่าจะพอหาได้) สองเล่มนี้อ่านเข้าใจง่ายครับ


ขอนี้ขอโทษทีนะค่ะ เครื่องหนูคลิกขวาไม่ได้ เลยไม่สามารถยกโจทย์มาให้อาจารย์ดูได้ค่ะ

1.) ฆาสารฺภฺราตฺตรา อศฺเวภฺโย ราชสฺย วิศฺวโป นียนฺตามฺ

2.) ศฺรีรฺปศฺเยะ กีรฺติํ ลเภถาะ

3.) นฺฤปาะ กฺษตฺริยาะ สห อุทธิํ เนาภิะ ตรนฺติ

4.) มิตฺราณิ ภฺราตฺฤภิะ กุตฺร สมฺคจฺเฉรนิติ กถย

5.) อุทฺยาเน รเมสฺตุ ภกฺษณาตฺผลานามฺวิธเมะ

6.) ทุะขาทฺวิศฺวปาหฺฤยสฺว

7.) อทฺย ปุเตฺรา ราชสฺย ปุโรหิเตนุปนีเยยามตามฺ

8.) ปิตเรา นมตมฺ

9.) ยที อนฺฤตํ วเทว ราเชน ฑณฺเฑว

10.) '' ศตฺรูน ธีไรรฺกฺษตฺริไยรฺชเยยํ '' อิติ ราชสฺย โลภะ

11.) ผลํ ธรฺมสฺย ลเภม

น {  อภินนฺท + อีต } มรณมฺ น { อภินนฺท + อีต } ชีวิตมฺ ।

กาลมฺ เอว { ปฺรตีกฺษ + อีต }  นิเทศมฺ  ภฺฤตกสฺ  ยถา  ॥

= ท่านทั้งหลายอย่ามัวหลงชื่นชมยินดีอยู่กับความตาย ท่านทั้งหลายอย่ามัวหลงชื่นชมยินดีอยู่กับชีวิต

เวลานั้นแหละเป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายควรจะคาดหวัง ตามคำสั่งเล็กๆน้อยๆฉันใด


น {  อภินนฺท + อีต } มรณมฺ น { อภินนฺท + อีต } ชีวิตมฺ ।

กาลมฺ เอว { ปฺรตีกฺษ + อีต }  นิเทศมฺ  ภฺฤตกสฺ  ยถา  ॥

= ท่านทั้งหลายอย่ามัวหลงชื่นชมยินดีอยู่กับความตาย ท่านทั้งหลายอย่ามัวหลงชื่นชมยินดีอยู่กับชีวิต

เวลานั้นแหละ(เวลาเท่านั้น)เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายควรจะคาดหวัง ตามคำสั่งเล็กๆน้อยๆฉันใด

วรรคที่สองยังไม่ค่อยตรง... 

สังเกต อภินนฺเทต , คำนี้ ใช้ได้ทั้ง 2 บท เป็น บุรุษ 2 พหุ. กับบุรุษ 3 เอก. 

ท่านทั้งหลาย/บุคคลอย่าพึงยินดีกับความตาย ท่านทั้งหลาย/บุคคลอย่าพึงยินดีกับชีวิต

บุคคลพึงคาดหวังถึงเวลาเท่านั้น เหมือนคนรับใช้(พึงคาดหวัง)คำสั่ง 

(เมื่อพิจารณาคำแปลแล้ว ถ้า อภินนฺเทต เป็นอาตนเมบท คือ บุรุษที่ 3 เอกพจน์ จะแปลได้สนิทกว่า 

กาลมฺ ในที่นี้หมายถึง เวลาอันเหมาะสม ซึ่งก็คือความตาย. ในภาษาสันสกฤตและบาลี มีหลายครั้งที่ กาล หมายถึง ความตาย แต่ความหมายหลักก็คือ เวลา เหมือนเดิม เพียงมีส่วนขยายออกไป

อย่าลืม การใช้กริยาซ้ำ ปฺรตีกฺษ

เพราะฉะนั้นโศลกนี้ อาจแบ่งเป็น 4 ตอน

नाभिनन्देत मरणं नाभिनन्देत जीवितम्।

कालमेव प्रतीक्षेत निदेशं भृतको (प्रतीक्षेत) यथा ॥

ประธานเป็นเอกพจน์ทั้งหมด

copy ให้เอาเมาส์ลากแล้ว control+C

1.) ฟางพึงถูกนำไป(วิธิ หรือ อาชฺญ) โดยพี่ชายเพื่อม้าทั้งหลายของพระราชาผู้คุ้มครองทุกสิ่ง

ฆาสารฺภฺราตฺตรา อศฺเวภฺโย ราชสฺย วิศฺวโป นียนฺตามฺ

ฆาสาสฺ(1) ภฺราตฺรา(3) วิศวปสฺ(6) ราชสฺย(6) อศฺเวภฺโย(5) 

ฆาสา ภฺราตฺรา วิศวโป ราชสฺยาศฺเวภฺโย นียนฺตามฺ

สังเกตสนธิด้วย. ฆาส ควรใช้เอกพจน์

2.) ขอท่านจงได้เห็นโชคดี(พหูพจน์), ขอท่านจงได้รับ(√ลภฺ)ชื่อเสียง

ศฺรีรฺปศฺเยะ กีรฺติํ ลเภถาะ > ศฺรีะ ปศฺเยะ กีรฺตึ ลเภถาะ

นึกได้ว่าเคยถามศัพท์โชคดี ผมก็นึกว่าถามเรื่องอื่น, ในที่นี้่ควรใช้ วิธิ.


3.) พระราชาพร้อมด้วยนักรบทั้งหลายข้ามทะเลด้วยเรือ

นฺฤปาะ กฺษตฺริยาะ กฺษตฺริไยสฺ (สห) อุทธิํมฺ เนาภิะ ตรนฺติ.

นฺฤปาะ กฺษตฺริยาะ กฺษตฺริไยะ สโหทธึ เนาภิะ ตรนฺติ.

ไม่ต้องใช้ สห ก็ได้  

(อัีนที่จริงจะตั้งโจทย์ว่า พระราชาองค์หนึ่งพร้อมด้วยนักรบหลายคนข้ามทะเลแล้วด้วยเรือลำเดียว ;)

5.) ท่านพึุงสนุกอยู่ในสวน แต่จงเว้นจากการกินแห่งผลไม้ทั้งหลาย

อุทฺยาเน รเมสฺตุ ภกฺษณาตฺผลานามฺวิเมะ > อุทฺยาเน รเมสฺตุ ภกฺษณาตฺผลานามฺวิรเมะ

6.) ท่านจงถูกนำไปจากความทุกข์ โดยผู้โดยผู้ึุคุ้มครองทุกสิ่ง

ทุะขาทฺวิศฺวปา (เว้นวรรค) หฺฤยสฺว 

7.) อทฺย ปุเตฺรา ราชสฺย ปุโรหิเตนุปนีเยยามตามฺ > อทฺย ราชสฺย ปุเตฺรา ปุโรหิเตโนปนีเยยามตามฺ

9.) หากเราทั้งสองพึงกล่าวความเท็จ เราจักถูกทำโทษโดยพระราชา

ยทียทิ อนฺฤตํ วเทว ราเชน ฑณฺเฑวทณฺฑเยวหิ(อาตมเนบท) 

10.) '' ศตฺรูน ธีไรรฺกฺษตฺริไยรฺชเยยํ '' อิติ ราชสฺย โลภะ

dhīrais kṣatriyais śatrūn jayeyām iti iSyete nṛpatinā

ความปรารถนาของพระราชามีว่า "ขอข้าจงชนะศัตรูด้วยนักรบผู้กล้าทั้งหลาย" (ใช้กรรมวาจก. มันถูกปรารถนาโดยพระราชา ฯลฯ)

มันถูกปรารถนาโดยพระราชา => ราเชน อิษฺเยเต

ศตฺรูน ธีไรรฺกฺษตฺริไยรฺชเยยํ  อิติ ราเชน อิษฺเยเต > ศตฺรูน ธีไรรฺกฺษตฺริไยรฺชเยยมิติ ราเชเนษฺเยเต

11.) ผลํ ธรฺมสฺย ลเภม

ลภฺ เป็นอาตมเนบท, > ธรฺมสฺย(คำแสดงความเป็นเจ้าของ ผู้หน้าคำที่เป็นของ) ผลํ  ลเภมหิ.


ทบทวนเรื่องสนธิ, การใช้การกที่ 6, และการแจกกริยาทั้งหมด

ต่อจากนี้อีกหลายบท จะวุ่นวายกับการแจกนาม และกริยาพิเศษ พักเรื่องกาลเอาไว้ หมายความว่า จะใช้ปัจจุบัน อดีตกาล อาชญ และวิธิ ไปเรื่อยๆ จึงต้องท่องแบบกริยาให้แม่น ทั้ง 4 x 2 กาล

อาจารย์ค่ะ อย่างหนูนี่เรียกว่าได้เดินมาครึ่งทางแล้วหรือเกือบจะครึ่งทางหรือยังค่ะ อิอิ

ดูจากที่อาจารย์พูดแล้วเหมือนหนูยังไปไม่ถึงไหนเลยค่ะ หนทางยังอีกยาวไกล เนื้อหาเขาเยอะจริงๆ 

ยอมเขาเลย แต่ถ้าถึงครึ่งทางเมื่อไหร่แล้วรบกวนอาจารย์ช่วยบอกด้วยนะค่ะ จะได้มีกำลังใจคะ ^ ^

จริงๆตอนนี้ก็ไม่ท้อนะค่ะ  ก็สนุกดี แต่รู้สึกว่ามันจะเยอะไปไหนเนี่ยอะคะ

เกือบครึ่งทางแล้วครับ น่าผ่านสรรพนาม และกริยาพิเศษ(ธาตุ+ปัจจัย เป็นคุณศัพท์) ก็นับว่าได้ครึ่งหนึ่ง

แต่ก็ยังขาดบางเรื่องที่สำคัญ เช่น สมาส แต่ก็ค่อยๆ เรียนไป

อันนี้สอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ;) ถ้านักเรียนเรียนเร็ว ก็สอนเร็วครับ


เมธาสุกตัม นี่อาจารย์เริ่มแปลไปบ้างหรือยังค่ะ

แต่ถ้ายังไม่ได้เริ่มเปลี่ยนบทใหม่ดีกว่าไหมค่ะ เผื่อจะง่ายกว่านี้ อิอิ

ยังเลยครับ เปลี่ยนดีกว่า ต้นฉบับก็ไม่ครบถ้วนครับ ;)

เปลี่ยนเป็น กวจัม ดีกว่าคะ 

สองท่อนพอ อิอิ

http://wordpress.shreemaa.org/wp-content/uploads/saraswati_kavach.pdf

52 และ 53 คะ ยากไปไหมค่ะอาจารย์

ว่าแต่  กฺวจฺ ในสันสกฤตนี้แปลว่าอะไรค่ะ ฟังเขาเล่ามาอีกทีว่า เปรียบเสมือนอาวุธของเทพ หมายถึงบทสวดมนต์ต่างๆที่ใช้สวดในทางปกป้อง ป้องกัน ก่อนสวดบทใหญ่หรือทำพิธี หนูรู้มาแค่นี้ค่ะ

ไหนๆก็ถามเรื่องมนต์แล้ว ขอเพิ่มเติมคะ อยากทราบความหมายในทางสันสกฤตว่าคำเหล่านี้แปลว่าอะไร

เอาเท่าที่หนูเคยได้ยินมาคือ

 ชป ธยานมฺ นยาส

ชปฺ ธาตุ แปลว่า ท่อง บ่น ชป แปลว่า การสวดมนตร์แบบหนึ่ง (แบบไหนนี่ ไว้ต้องค้นอีกที)

ธฺยาน แปลว่า การเพ่ง การทำสมาธิ หรือ เข้าฌาน(บาลี) นั่นเอง

นฺยาส [(√อสฺ(ขว้าง)+นิ(ลง) > นฺยสฺ + อ]  แปลว่า วาง ลด, คงหมายถึง การสัมผัสร่างกายขณะสวดมนตร์ เพื่ออาราธนาเทพเจ้า

คำถามลึกมาก


กวจ หมายถึงเสื้อเกราะ เครื่องป้องกัน ครับ

ดูแล้ว ภาษาสันสกฤตครบ น่าจะได้ครับ 52-53

ฮ้าๆ ลึกหรือค่ะ ขอประทานโทษค่ะ หนูแค่อยากทราบ 

แต่อาจารย์ก็อธิบายได้กระจ่างขอบพระคุณมากๆคะ

ว่าแต่เสื้อเกราะ ''วรมัน''  นี่ก็ใช่ไหมค่ะ เห็นพระนามของกษัตริย์ขอมหลายพระองค์จะมีสร้อยนี้เสมอ

ว่าจะเขียนเรื่อง วรมัน อยู่พอดี เล่าตรงนี้ก่อน

วรฺมนฺ สะกดแบบนี้ นฺ การานฺต

มาจาก √วฺฤ แปลว่า ปิด กั้น ขวาง

วรฺมนฺ แปลว่า การห่อ หรือเสื้อเกราะสำหรับใช้ในการรบ แต่มีนัยหมายถึง การป้องกัน คุ้มครอง หรือที่พึ่ง

ชนชั้นปกครองหลายตระกูลของอินเดีย มีชื่อท้ายด้วย วรฺมนฺ 

กษัตริย์กัมพูชาอาจได้ธรรมเนียมนี้มาจากอินเดีย เพราะเขาเก่งสันสกฤตมากครับ มีจารึุกสันสกฤตเยอะมาก

(ประธาน เอก. เป็น วรฺมา, เทียบ พฺรหฺมนฺ > พฺรหฺมา, อาตฺมนฺ > อาตฺมา)

วรฺมนฺ ยังเป็นชื่อบทสวดที่ใช้ป้องกันตัวด้วย

หนูเคยอ่านเอกสารของอาจารย์จิรพัฒน์ เรื่อง  '' คำบรรยายเรื่องจารึกสันสกฤตในอินเดียและกัมพูชา ''

โอ้โห.. ต้องยอมเขาเลยคะอาจารย์หมู เก่งจริงๆ ทั้งเล่นเสียงเล่นคำเล่นความหมายซับซ้อนเสียจนเดาไม่ถูก

ถ้าไม่มีความรู้เรื่องฮินดูเลยนี่หนูว่าแปลลำบากแน่ๆ 


ปกติชอบอ่านอะไรทำนองนี้อยู่แล้ว แต่มาตอนนี้ได้มาเรียนสันสกฤตกับอาจารย์ก็ทำให้พอรู้เรื่องบ้างๆนิดๆหน่อยๆ

ยิ่งอ่านก็ยิ่งมันยิ่งทึ่งจริงๆคะ


ไม่รู้คิดกันได้ยังไงเรื่องการเปรียบเปรยอุปมาอุปไมย เห็นในเอกสารนั้นอาจารย์จิรพัฒน์พูดถึงเรื่องอลังการศาสตร์อยู่บ่อยๆ


เหล่านี้ทำให้เห็นถึงความสละสลวยสวยงาม ไพเราะและกินความหมายลึกซึ้งของภาษาสันสกฤตเลยนะคะ


ถ้าอาจารย์หมูว่างๆอยากให้นำเรื่องจารึกสันสกฤตในเขมรนี้มาเล่าสลับกับเรื่องสันสกฤตในอินเดียไป 

เพราะคงยังจะมีอะไรที่หนูไม่รู้อีกเยอะเรื่องสันสกฤตในเขมร ส่วนใหญ่พราหมณ์พวกนี้เขาก็เรียนสืบทอดกันมาเหรอค่ะ ตั้งแต่สมัยแรกที่อพยพกันมาจากอินเดียใต้


จำได้ลางๆว่าในจารึกของปราสาทพระขรรค์ กวีกล่าวเปรียบเปรยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ดเหมือนกับปาณินิตั้งแต่ยังเด็กๆ คือมีความหมายว่าเก่งเท่ากับปาณินิตั้งแต่ยังเด็ก



แต่ที่ทำหนูอึ้งไปเลยคือ ( อ้างอิงจากเอกสารของอาจารย์จิรพัฒน์เรื่องรามายณะ)  '' สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ดเสด็จขึ้นครองราชย์ กล่าวถึงบางตอนของรามายณะในลักษณะที่มีความด้อยกว่าพุทธ ฉันท์บทที่ 29 เปรียบเทียบกับพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด ในเรื่องการสร้างสะพาน โดยกล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ดทรงสร้างสะพานด้วยทองคำเพื่อพาสรรพสัตว์ข้ามสมุทรคือวัฎฎสงสาร ส่วนพระรามนั้นทรงสร้างด้วยหินเพียงเพื่อพาวานรและหมีข้ามมหาสมุทรไปยังเมืองลงกา ''

โอ้.. หนูอ่านเสร็จ ตกกะใจเลยคะ แรงมากๆ

ว่าแต่อาจารย์หมูอย่าลืมเขียนเล่าเรื่องจารึกสันสกฤตในเขมรนะค่ะ หนูจะตามอ่านคะ

พิมพ์มาสะเพลินเลยคงต้องพอแค่นี้เดี๋ยวอาจารย์จะหาว่าหนูเลอะเทอะ ^^ 


อ่อ อยากทราบอีกอย่าง ทำไมขอมพวกนี้ถึงเก่งสันสกฤตกันจังคะ

ภาษาสันสกฤตในกัมพูชาอาจจะได้ผ่านมาทางใต้ คือ ชวา ก็เป็นได้  เพราะชวา(หมายถึงเกาะชวา)เป็นศูนย์กลางศาสนาของอินเดีย(พุทธ/ฮินดู)มาตั้งแต่สมัยแรกๆ

เข้าใจว่าสมัยโน้น ภาษาสูงก็คือสันสกฤต ไม่ว่าพุทธหรือพราหมณ์ก็ใช้สันสกฤต ส่วนพราหมณ์ที่ใช้ภาษาสันสกฤตนั้น เผลอๆ จะเป็นพราหมณ์เข้ามาจากอินเดียโดยตรง

ไม่มีร่องรอยของคนอินเดียในเขมรให้เห็นมากนัก แต่คนแถวภาคใต้บ้านเราไม่ผิดเพี้ยนจากแขกใต้ๆ เลย

ความศรัทธาในศาสนา ทำให้คนทุ่มเทได้เต็มที่ครับ

สนใจเรื่องราวพวกนี้ ก็ติดตามความเคลื่อนไหวของศูนย์สันสกฤตฯ อาศรมไทย-ภารต และอื่นๆ ไว้เรื่อยๆ นะครับ มีงานสัมมนา วิชาการต่างๆ อยู่บ่อยๆ

อ้อ ปี 2015 เราจะจัดงานสันสกฤตโลกครับ (World Sanskrit conference ครั้งที่ 16) ติดตามความเคลื่อนไหวที่นี่ http://www.sanskritassociation.org/conferences.php (กำหนดการคงยังไม่ออก ยังอีกพักใหญ่)

สนใจเรื่องอะไร อย่าจับแต่ผิวเผินแล้วปล่อยให้ผ่านไปนะครับ จับให้มั่นคั้นให้ตาย จะได้ลงไปลึกๆ แล้วจะสนุกมากกว่านี้เยอะเลย ;)

มีโอกาสแล้วจะเล่าเรื่องจารึกนะครับ

บทสวดมนต์ขอก่อนวันที่สิบห้านะค่ะ หวังว่าคงจะไม่รบกวนเวลาอาจารย์มากเกินไป ฮิๆ

-  นกส่งเสียงร้อง นกร้องนี่ใช้กริยาตัวไหนดีค่ะอาจารย์ ?

- ห้องครรภคฤหะ ในเทวสถานต่างๆที่มีเทวรูปประธานประดิษฐานอยู่นั้น แท้ที่จริงคำนี้แปลว่าอะไรค่ะ มาจาก คฺฤห ด้วยหรือเปล่า แล้ว ครรภะ ละคะ แปลว่าอะไร จริงๆแล้วต้องเขียนอย่างนี้หรือเปล่าค่ะแบบสันสกฤต  ''ครฺภคฺฤห''

แล้วทำไมพอมาเขียนเป็นไทยถึงเป็น ร หัน ละค่ะอาจารย์ 

ขอบคุณคะ

ได้ครับ ถ้าไม่ทันจะหาสูกตะในฤคเวท สวดบูชาพระสรัสวตีให้แทน ;)

นกร้อง ใช้ 1ป. √กูชฺ (กูชติ) 

ครฺภคฺฤห ถูกแล้ว แปลว่า ห้อง/เรือน(คฺฤห) ข้างใน(ครฺภ)

ไทยเรา แปลง รฺ เป็น รร, อธิบายยังไงดี

คือ เรามีวิธีการเขียนตัวสะกด แบบนี้ -กก -นน -รร เรียก ก หัน น หัน ร หัน ตามลำดับ

ออกเสียง -ัก, -ัน, -ัร  เช่น รกก(รัก), กนน(กัน) บรร(บัร) กบบ(กับ)

ครฺภ ซึ่งออกเสียง คัรภะ จึงใช้ ครรภ 

ปัจจุบัน เหลือแต่ ร หัน, แต่หนังสือเก่าๆ ยังเห็น ก หัน น หัน บ หัน อยู่

ได้คะ บทไหนก็ได้แต่ไม่เอาในโหราฯ นะค่ะ .. อิอิ

คุณศรีดูหนัง English-Vinglish หรือยัง สนุกดี

อีกเรื่อง Kahaani ถ้าสะดวกลองหาดูนะครับ

ยังทั้งสองเรื่องเลยค่ะ หนูจะลองดู

อาจารย์ค่ะในลิ้งนี้ คือศิวสูตรเดียวกันในอัษฐธยายีหรือเปล่าค่ะ

http://www.scribd.com/doc/23474025/01-Siva-Sutra-Vimarsini-by-Kshemaraja

หูย เรื่องKahaani  น่าดูมากคะ เพิ่งจะเห็น trailer

คำว่าได้ยิน นี่ ใช้ธาตุอะไรค่ะอาจารย์ เปิดพจนานุกรม เจอ ศฺรุ หมวดห้าแต่ยังไม่ได้เรียน

- เจอคำว่าได้ยินแล้วคะ  { √भू 1 + अनु } ไม่รู้เขาจะนิยมใช้กันหรือเปล่า

ฉันได้ยินเหล่านกกาส่งเสียงร้องแซ่ซ้องกันอยู่ในป่า =  วเน วิหคาสนุภวามิ กูชนฺติ

จริงๆอยากได้คำว่าเสียงดังแซ่ซ้องมาขยายกริยา ส่งเสียงร้องจัง แต่ไม่รู้สันสกฤตมีคำขยายกริยาไหมค่ะ


- ทำไมอุปสรรค อนุ ถึงไม่สนธิกับ ธาตุ √ภู ละคะ หรือว่าเอาธาตุไปทำตามขั้นตอนก่อน ถ้าเสร็จแล้วเห็นว่าจะสนธิกับตัวอุปสรรคได้ก็นำมาสนธิกันเลย 


- √ สฺถา = stand เกี่ยวกันไหมค่ะ ?


-  น่าแปลกที่คำคุณศัพท์ในเว็บพจนานุกรมออนไลที่หนูใช้อยู่กลับไม่บอกเพศ ปกติเว็บอื่นๆเขาจะบอกเพศของคำคุณศัพท์ไว้ไหมค่ะ


- คำว่าครรภะ ในพระนามของพระกษิติครรภโพธิสัตว์นี้ความหมายเดียวกันกับที่อาจารย์บอกหนูมาในข้างต้นหรือเปล่าค่ะ


ขอบคุณคะ




อาจารย์พอจะมีข้อมูลเรื่องตัวอักษรขโรษฐีไหมค่ะ เขาว่ามีจุดกำเนิดมากับอักษรพราหมี

จากเอกสารและหลักฐานต่างๆนักวิชาการเขาว่ากันว่า ชื่ออักษรนี้ก็มาจากชื่อคนที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมา

คือ ขโลษฐะ บางแห่งก็บอกว่ามาจากสันสกฤต ขเราษฐ บางคนก็บอกมาจากภาษาปรากฤต ขโรษฐีแปลว่าปากของลา

หนูอยากทราบว่าแล้วไปเกี่ยวข้องอะไรกับปากของลา 

จริงๆหนูเคยดูสารคดีเกี่ยวกับพุทธประวัติของฝรั่งบอกว่าพระเจ้าอโศกก็ใช้อักษรอันนี้จารึกเหมือนกัน แถมยังมีต้นกำเนิดจากอินเดียทางเหนือแถบปากีสถาน ไว้จะลองหาวีดีโอมาให้อาจารย์ดูประกอบนะค่ะ อยู่ในยูทูปเนี่ยละ

แล้วก็อยากจะทราบอีกว่าสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนั้น เขาใช้ภาษาอะไรกัน 

ตัวอักษรเทวนาครีนี้กำเนิดหลังจากยุคนั้นแล้วใช่ไหมค่ะอาจารย์

แถมอีกสักนิด บางกระแสนักวิชาการว่า มหาภารตะนั้นเกิดก่อนรามายณะ แล้วไปรบกันอยู่ที่แถบอิหร่าน

แถมยังบอกว่าพระกฤษณะก็เป็นลูกครึ่งอิหร่าน ประเด็นของหนูคือตอนนั้นเขาใช้ภาษาอะไรกัน  ที่ใช้พูดกันสื่อสารกันในยุคนั้นอะคะ สมัยนั้นคงยังไม่มีตัวอักษรเป็นแน่

รูปด้านล่างนี้คืออักษรขโรษฐีนะค่ะ

ขอบคุณคะ




  • ศฺรุ ใช่แล้วครับ แจกพิเศษ แปลง ศฺรุ เป็น ศฺฤ, หมวด 5 ปัจจัย นุ (ทำคุณ นุ เป็น โน ที่เอกพจน์) สนธิ น เป็น ณ (วุ่นวายมาก) = ศฺฤโณติ


  • อนุภู เน้นความหมายว่า รับรู้ เข้าใจ จึงแปลว่าเห็น หรือได้ยิน ก็ได้

อุจฺจ แปลว่าเสียงดัง, แจกเป็นกรณการก ใช้ขยายกริยาได้

อุจฺไจสฺ  ด้วยเสียงดัง(หลายๆ เสียง)

- วเน วิหคาสนุภวามิ กูชนฺติ. สนธิผิด. วเน วิหคา อนุภวามิ... อาสฺ หน้า สระ, ให้ตัด สฺ ทิ้งไป

ประโยคนี้มีกริยาหลัก 2 ตัว ไม่ถูก.

วเน วิหคาะ กูชนฺติ อิติ อนุภวามิ. แบบนี้จะดีกว่า, ฉันได้ยินว่า นกร้องในป่า

วเน วิหคา อุจฺไจะ กูชนตีติ อนุภาวามิ. แทรก อุจฺไจสฺ เข้าไป

anu+bhū = anubhū ไม่มีอะไรให้สนธิ จับมาชนกันเฉยๆ


สถา กับ stand เกี่ยวกันครับ, สถาน ที่เป็นชื่อเมืองต่างๆ ก็ด้วย

คุณศัพท์ ส่วนมาก เพศชายและเพศกลางจะลงสระสั้น เพศหญิงจะลงสระยาว จึงไม่ต้องบอกก็ได้

แต่บางครั้งก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น พจนานุกรมส่วนมากจึงระบุไว้ชัดเจน แนะนำให้ใช้พจนานุกรมเล่มนี้ครับ http://www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de/monier/

พระกษิติครรภะ ความหมายทำนองนั้นครับ ครรภ แปลว่า ห้อง ท้อง กษิติครรภ มักแปลว่า คลังของแผ่นดิน (กษิติ แปลว่า แผ่นดิน


ประวัติศาสตร์เรื่องภาษาและอักษรของอินเดีย จริงๆ แล้วก็ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก

อักษรมีใช้มานานแล้ว ก่อนสมัยพระเจ้าอโศกแน่ๆ แต่จะเป็นอักษรแบบไหนก็ไม่ชัดอีกแหละ

เทวนาครีเกิดหลังพระเจ้าอโศกนานพอสมควร รูปอักษรมีความสละสลวยมีระเบียบ แบบแผน มีตัวสังโยค อะไรเรียบร้อย ก็แปลว่าผ่านพัฒนาการมานานทีเดียว ในนิทานหลายเรื่องก็พูดถึงการเขียนหนังสือเอาไว้ การเขียนจริงๆ จึงมีมานานมากๆ แล้ว หลักฐานเทวนาครีที่เก่าๆ ก็ถึงศตวรรษที่ 5 (มั้ง) ทีนี้

ขโรษฐีมีอายุราว 600 ปีเท่านั้นเอง คือในราวพุทธกาล น่าจะก่อนสมัยพระเจ้าอโศก แต่ใช้ระบบอักษรแทนพยางค์ ไม่ใช่ระบบประสมอักษรแบบพราหมีของพระเจ้าอโศก น่าจะคนละตระกูลกัน

เรื่องรามายณะ กับภารตะนั้น ถ้าแก่นเรื่องจริงๆ รามายณะน่าจะมาก่อน แต่การแต่งและกา่รเติมนั้น ไม่แน่ใจว่าจะลงเอยตอนไหน เพราะภารตะซับซ้อนและสับสนพอสมควร(เหมือนจับหลายเรื่องมาแปะๆ กัน) ส่วนรามายณะค่อนข้างเป็นแนวเดียวกันไปและร้อยกรองมีความประณีตกว่า (ทั้งสองเรื่อง ใช้ภาษาอ่านง่ายครับ ไว้จะเอามาให้ดู)

ศิวสูตร ในวรรณคดีสันสกฤต มีสองเรื่อง คือ ศิวสูตร ที่้เป็นปรัชญาไศวนิกาย

กับศิวสูตร ของปาณินิ  ที่ยกมาให้ดูเป็นแบบแรกครับ ผมไม่เคยอ่าน

ศิวสูตรของปาณินิ เกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์ (อาจไม่ใช่ของปาณินิ แต่ปาณินิใส่ไว้ในตำราของท่าน)

हनुमान्  คำนี้ถือเป็นพยัญชนะการันต์เหรอค่ะอาจารย์ ว่าจะหยิบมาแจกรูปสักหน่อย เห็น นฺ ข้างหลังทำไม่ได้เลย

แต่ปกติไม่ค่อยจะพบเห็น พยัญชนะการันต์สักเท่าไหร่เลย 

รูปเดิมคือ หนุมตฺ เป็นพยัญชนะการานต์ (รูป -มตฺ(แปลว่า มี) มีแจกหลายคำ))

หนุมานฺ เป็น ประธาน เอกพจน์


... एकः द्वौ बहवः
प्रथमा हनुमान् हनुमन्तौ हनुमन्तः
सम्बोधनम् हनुमन् हनुमन्तौ हनुमन्तः
द्वितीया हनुमन्तम् हनुमन्तौ हनुमतः
तृतीया हनुमता हनुमद्भ्याम् हनुमद्भिः
चतुर्थी हनुमते हनुमद्भ्याम् हनुमद्भ्यः
पञ्चमी हनुमतः हनुमद्भ्याम् हनुमद्भ्यः
षष्ठी हनुमतः हनुमतोः हनुमताम्
सप्तमी हनुमति हनुमतोः हनुमत्सु

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท