The Dalcroze Method การเคลื่อนไหว ดนตรี และการสร้างสรรค์ : เรียนรู้ดนตรี เพื่อสัมผัสถึงความงาม (Part 2)



ในขณะที่ Dalcroze ทำการทดลองกระบวนการต่างๆด้วยแบบฝึกหัดในการร้องโน้ตที่เขาสร้าง เขาพบข้อสังเกตกับนักเรียนของเขา ถึงสัญชาตญาณที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว นักเรียนในชั้นร้องเพลงนี้ดูเหมือนว่าจะมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่างๆที่ตอบสนองคล้ายกัน การตบเท้านับจังหวะ การขยับหัว การแกว่งไปมาจากด้านข้าง หรือการแสดงท่าทางของจังหวะหรือประโยคของบทเพลงด้วยมือ

  วันหนึ่ง ขณะที่ Dalcroze กำลังเหม่อมองไปทางหน้าต่าง ครุ่นคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนของตน เขาก็สะดุดตากับลักษณะการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติของนักเรียนที่กำลังเดินอยู่ในบริเวณนั้น เขาจึงเริ่มต้นคิดถึงความเป็นไปได้ของการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นจังหวะอย่างธรรมชาติ และความสม่ำเสมอของการหายใจของมนุษย์ ที่อาจเป็นหัวใจหลักของการตอบสนองทางดนตรี ในชั่วโมงเรียนถัดไป Dalcroze ให้นักเรียนของเขาเดินตามจังหวะไปรอบๆห้อง ในขณะที่ร้องแบบฝึกหัดการร้องโน้ตไปด้วย เขาเห็นสิ่งที่สำคัญในการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบและการผสมผสานเข้ากับการรับรู้ของร่างกาย ระบบกล้าเนื้อและระบบประสาท ซึ่งสามารถปลดปล่อยจินตนาการและจิตวิญญาณเพื่อการแสดงออกทางดนตรี



การเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติของร่างกายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ Dalcroze ให้นักเรียนของเขาเดิน ควบคุมจังหวะ แกว่งแขน หรือแสดงออกถึงจังหวะของดนตรีที่ร้อง แบบฝึกหัดที่ดูคล้ายเกมเหล่านี้มีเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง นั้นคือการพัฒนาการตอบสนองทางดนตรี การสื่อสารทางดนตรีที่ถูกต้อง การทำงานร่วมกันของการรับฟัง ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และความคิด สิ่งเหล่านี้ทำให้ Eurhythmics เกิดขึ้น ผลของการแสดงออกทางดนตรีในการเคลื่อนไหว คือการรับรู้ของจิตใจที่สัมพันธ์กับการจดจำของระบบประสาท ในเรื่องเวลา ความสั้น-ยาวของเสียง พลังงาน ความสั้น-ยาวของโน้ต การเน้น และเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับดนตรีอีกมากมาย

  การสอนตามวิธีของเขาบางส่วน ล้วนเป็นที่สงสัยในเวลานั้น นักเรียนจะยืนด้วยเท้าทั้งสองข้าง ปราศจากร้องเท้า และวิ่งไปรอบๆห้อง ผู้หญิงจะสวมกระโปรงยาวยกสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อความคล่องตัวเวลาเคลื่อนไหว เขาให้นักเรียนของเขามีประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวที่เขาออกแบบมาเพื่อความตื่นตัวอย่างมากมาย เต็มไปด้วยเรื่องของเวลา และพลังงาน Dalcroze เรียกการศึกษาดนตรีผ่านการเคลื่อนไหวแบบนี้ว่า Eurhythmics ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษา กรีก สองคำคือ คำว่า Eu  และ Rhythmos ความหมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างไม่ติดขัดหรือการเคลื่อนไหวที่ดีนั่นเอง เขาพยายามอย่างต่อเนื่องในการค้นหาตัวอย่าง ที่จะช่วยนักเรียนให้ตระหนักอย่างเต็มที่ถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง เวลา และ พลังงาน หรือความดัง-เบาในดนตรี ระหว่าง เสียง-ทำนอง และ การเคลื่อนไหวในพื้นที่ และระหว่างดนตรี กับ ลักษณะอารมณ์  การเคลื่อนไหวจะค่อยๆนำไปสู่ ความเป็นอิสระ และเต็มไปด้วยการแสดงออกเป็นรายบุคล

  Dalcroze เริ่มนำความคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการสอน การประสานเสียง รูปแบบทางดนตรี และการศึกษาเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด เขาตระหนักดีว่านักเรียนย่อมมีความต้องการการศึกษาทางดนตรีที่หลากหลาย และ มีความเข้าใจที่สดใหม่ สิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ด้วย การเคลื่อนไหวอย่างอิสระทันทีทันใด หรือ โดยใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องของเขาเหล่านั้น Dalcroze สนับสนุนให้ใช้เครื่องดนตรี Piano สำหรับการสร้างสรรค์เพราะว่า สามารถแสดงออกถึงรูปแบบต่างๆทางดนตรีได้ง่าย แสดงออกถึงทำนอง จังหวะ และเสียงประสานได้ในเวลาเดียวกัน  Dalcroze เชื่อว่าการสร้างสรรค์อย่างฉับพลัน(Improvising)นั้นเป็นโอกาสที่ดีของนักเรียนในการสังเคราะห์ การฝึกโสตประสาทและประสบการณ์การฝึก Eurhythmics ด้วยจินตนาการและการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ของนักเรียนเข้าด้วยกัน และการสร้างสรรค์ (Improvisation) คือการรวมกันเข้าระหว่าง การเคลื่อนไหวและ การฝึกทักษะการอ่านโน้ต(Solfege) รวมกันเป็นรูปแบบที่สามของการสอนตามแบบ Dalcroze ในระบบดนตรีศึกษาทั่วไป



หมายเลขบันทึก: 517712เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2013 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท