The Dalcroze Method การเคลื่อนไหว ดนตรี และการสร้างสรรค์ : เรียนรู้ดนตรี เพื่อสัมผัสถึงความงาม (Part 1)


การเคลื่อนไหว

เป็นส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่งของดนตรีศึกษาในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ถูกพัฒนาอย่างเชื่องช้า การสังเคราะห์ของ ความคิด อารมณ์ และร่างกาย ได้รับการเข้าใจว่าเป็นพื้นฐานของทุกการเรียนรู้ แต่มันก็ไม่ได้ถูกถ่ายทอดอย่างเพียงพอในศตวรรษนี้ ในปี 1905 Emile Jaques-Dalcroze ศาสตราจารย์ทางด้านดนตรี ที่มีแนวคิดของตัวเองชัดเจน ได้พูดถึงหัวข้อเรื่อง "ข้อเสนอ การเปลี่ยนแปลงของการสอนดนตรี ในโรงเรียน" ในงานสัมมนาดนตรี ด้วยการนำเสนอของเขา เมล็ดพันธุ์วิธีการสอน ต่อดนตรีศึกษาของเขาได้ถูกหว่านลง ซึ่งเขาได้ทำการทดลองและพัฒนาแนวคิดทางการสอนของเขาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตของเขา 

Emile Jaques-Dalcroze เกิดปี 1865ในครอบครัว ชาวสวิตเซอร์แลนด์  เขาสำเร็จการศึกษาที่ Paris Conservatory และ ในกรุงเวียนนา ได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ทางด้าน Harmony Solfege และ Composition ที่ Geneva Conservatory ในช่วงเริ่มต้นของชีวิตการสอนนั้น Dalcroze มีคำถามเกิดขึ้นเสมอ ในการสอนทั้งในโรงเรียน และ วิทยาลัย เขาเป็นห่วงโดยเฉพาะนักเรียนวิชา Solfege  เขาประหลาดใจที่ได้พบความจริงบางอย่างในการศึกษาดนตรีว่า นักเรียนส่วนมากศึกษาทฤษฎีดนตรี โดยกฎ และ การเขียน แต่ไม่ใช่โดย เสียง  ทั้งนักดนตรีและนักร้องสอนการอ่านโน้ต และเทคนิคในการแสดงเครื่องมือนั้นๆ แต่ไม่เคยสอนให้ฟัง หรือ สอนว่าควรได้ยินอย่างไร บ่อยครั้งที่คุณภาพในการแสดงออกทางดนตรีของนักเรียนมักจะเลือนหายไป Dalcroze เริ่มที่จะสร้างแบบฝึกหัดโสตทักษะสำหรับนักเรียนในชั่วโมงวิชา Solfege ของเขา และเพราะว่าเขาตระหนักถึงความสำคัญ และศักยภาพของการเริ่มต้นฝึกนี้ตั้งแต่ต้นๆ Dalcroze พยายามนำแนวคิดนี้มาใช้ในชั่วโมงเรียนดนตรีของเด็กๆ ในปี 1898 เรียงความของ Dalcroze ชื่อ "The Place of Ear training in Musical Education"Dalcroze ตั้งคำถามว่า

" มันจะเป็นไปไม่ได้หรือ? ที่จะสร้างการสื่อสารโดยตรงระหว่าง ความรู้สึกและความเข้าใจ ระหว่างประสาทสัมผัสกับจิตใจที่แสดงออกขณะที่เกิดการเคลื่อนไหวทางกายภาพ  "

Dalcroze คาดหวังถึง แบบฝึกหัดในการร้องโน้ตที่เขาสร้างนี้ ซึ่งเขาคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถที่จะได้ยินดนตรีจากภายใน สิ่งที่โดดเด่นนี้ของ Dalcroze เรียกว่า "Inner hearing" ความสามารถในการได้ยินดนตรีตัวอย่างนั้น ภายในหูหรือภายในจิตใจ เข้าใจอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเราตระหนักถึงความสามารถในการระลึกถึงทะเลสาบที่งดงามแห่งหนึ่ง ภายในจิตใจด้วยดวงตา หรือ การได้ยินท่อนเริ่มของบทเพลง "Hallelujah Chorus"ภายในจิตใจของเรา ผ่านทางการได้ยิน Dalcroze เชื่อในการพัฒนาการได้ยินเสียงในความคิด ซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการร้องระดับเสียง การตระหนักรู้ต่อความรู้สึกของระบบประสาทจะกระตุ้นกระบวนการทางความคิด ความเข้าใจ และการรับรู้ภายในที่มีต่อเสียงดนตรีให้ดีขึ้น




หมายเลขบันทึก: 517708เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2013 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท