การใช้สารชีวภาพกำจัดโรคพืช โรคเน่าโคนเน่าทุเรียน


                                                                                                                                                                                                                                            คุณสัมพันธ์  ภุกาม   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชุมพร   ในฐานะผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลถ้ำสิงห์  อำเภอเมืองชุมพร  ได้พบเจอเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่มีความใส่ใจในการผลิตสินค้าเกษตรให้ปลอดภัย  โดยเฉพาะทุเรียน  คือ   คุณนรินทร์  เกตุพิมล  ผู้นำกลุ่มเกษตรปรับปรุงคุณภาพทุเรียน  ตำบลถ้ำสิงห์  ซึ่งคุณนรินทร์  ได้ใช้สารชีวภาพ  กำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน  และยังได้เผื่อแผ่ไปสู่เพื่อนเกษตรกรในกลุ่ม  โดยคุณนรินทร์เล่าว่า
  • ได้รับความรู้เรื่องการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันและกำจัดโรครากเน่า  และโคนเน่า      ของทุเรียน   ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอบเทอร์รา  ครั้งแรกเมื่อประมาณ  10  ปีมาแล้ว  โดยเกษตรตำบลขณะนั้น  (คุณเรณู  ยอดอุดม)  ได้นำเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดแห้ง  บรรจุอยู่ในถังขนาดบรรจุน้ำได้  20  ลิตร ซึ่งผลิตโดย  บริษัทยูนิเซพ  ภายในประกอบด้วย  เชื้อไตรโคเดอร์มา 1 ก.ก. ปุ๋ยหมัก 1 ถุง   (5  ก.ก.) รำข้าว    1  ถุง  (5  ก.ก.)  เวลาจะใช้จะต้องนำมาผสมกัน  โดยการคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหว่านบริเวณทรงพุ่ม  ปริมาณ  1  ถังใช้กับต้นทุเรียนอายุ 10 ปี  1  ต้น  ได้รับมาทั้งหมด 10 ถัง หลังจากใช้แล้วก็ไม่ได้ติดตามผล  เท่าที่สังเกตไม่มีความแตกต่างกับต้นที่ไม่ได้ใส่เชื้อ
  • หลังจากครั้งแรกประมาณ  1  ปี  ได้ไปร่วมงานวันสาธิตการป้องกันและกำจัดโรคทุเรียน  ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชุมพรจัดขึ้น      บ้านสระยักษ์  หมู่ที่  12  ต.บ้านนา  อ.เมืองชุมพร  ในงานได้มีการสาธิตการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันและกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่าทุเรียน  และนำเกษตรกรไปดูสวนทุเรียนที่ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา  (สวนนายสุพจน์  ใจสะอาด)
  •  หลังจากดูงานวันสาธิตแล้ว ได้ประสานงานกับเกษตรตำบล (คุณสัมพันธ์ ภุกาม) เพื่อขอสนับสนุนเชื้อไตรโคเดอร์มา จากศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้รวบรวมเพื่อนบ้านทำกันเป็นกลุ่ม  ประมาณ  15  คน  เชื้อที่ได้จากศูนย์บริหารศัตรูพืช  จ.สุราษฎร์ธานี  เป็นเชื้อสดเลี้ยงอยู่ในข้าวฟ่าง  การนำไปใช้จะต้องผสมกับรำข้าว  10 ก.ก.  ปุ๋ยหมัก  40  ก.ก. เชื้อ  1  ก.ก.(รวมประมาณ  51  ก.ก.)  นำไปหว่านบริเวณทรงพุ่มทุเรียน  ต้นละ  5  ก.ก.  รดน้ำพอชุ่มแล้วใช้เศษหญ้าปกคลุมไว้  การทำครั้งที่  2  นี้ก็ไม่ได้ติดตามผลใกล้ชิด  และเปรียบเทียบไม่ได้ว่าได้ผลหรือไม่  เจ้าหน้าที่ว่าให้ทำต่อเนื่องปีละ 2 ครั้ง แต่ไม่ได้ทำเพราะเชื้อต้องไปเอาด้วยตนเองที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี    ทางสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจะเป็นผู้ประสานและทำหนังสือขอสนับสนุนเชื้อ ให้เกษตรกรถือไปเอาด้วยตัวเอง  ประกอบกับรำข้าวราคาสูงและหายาก  จึงไม่ได้ทำต่อเนื่อง  ต่อมาปี  2545  สำนักงานเกษตรจังหวัดได้จัดฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการทำเชื้อไตรโคเดอร์มาสด โดยขยายเชื้อในข้าวสุก  โดยมี รศ.ดร.จีรเดช  แจ้งสว่าง  จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  เป็นวิทยากร  ได้รับความรู้แต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติ  เพราะไม่มีหัวเชื้อ  เมื่อปี  2547  ได้รู้จักกับเจ้าหน้าที่บริษัท ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า  ธกส.  (สกต.)  ได้นำเชื้อสดบรรจุขวดมาแนะนำการเพาะอีกครั้งหนึ่ง  ปรากฏว่าเชื้อเจริญงอกงามดี  จึงได้ทำให้ติดต่อกันประมาณ  1  ปี จากการสังเกต จะได้ผลดีมาก  ทุเรียนที่เป็นโรคจะหาย
  • จึงได้นำไปพูดคุยในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลถ้ำสิงห์  มีเพื่อนเกษตรกรนำไปปฏิบัติหลายท่าน  และได้ผลเป็นที่ยอมรับ  ได้แก่  คุณสุรินทร์  อินทร์วัฒนา  คุณปัญจะ  เทียนศรี  หมู่ที่ 3  ต.ถ้ำสิงห์  รวมทั้ง  ได้มีเกษตรกรมาดูวิธีการทำเชื้อที่บ้านหลายท่าน  และขอซื้อเชื้อไปทำ  (ขวดละ  200  บาท)
  • ปัจจุบันได้ลองนำเชื้อสดไปโรยบนกองปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าแล้วนำไปใช้  เพื่อประหยัดแรงงาน  คาดว่าจะได้ผล
  • จากการที่ปฏิบัติติดต่อกันมา 3 ปี ทำให้โรคโคนเน่าและรากเน่าของทุเรียน ระบาดน้อยลง  และลดต้นทุนการผลิตได้มาก
คำสำคัญ (Tags): #gap
หมายเลขบันทึก: 51739เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาทักทายได้รหัสคุณอำนวยหรือยังคับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท