การประเมินหลักสูตร TQF


หลักสูตรฉบับปรับปรุงปี ๒๕๕๔ เผลอแป็บเดียวเกือบสองปีแล้วจะถึงครึ่งทางการประเมินหลักสูตร ที่คงต้องขอความรู้จากท่านทั้งหลายในการดำเนินการ โชคดีที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท่านอาจารย์ รศ ดร อรัญญา เชาวลิตและท่านอาจารย์ รศ ดร สุรศักดิ์ คชภักดี ในการประชุมสภาวิชาการ นำความคิดจากท่านอาจารย์ทั้งสองท่านมาสู่การปฏิบัติโดย ลปรร กับน้องๆทีมบริหาร ได้แนวทางการดำเนินงานดังนี้


แนวทางการประเมินหลักสูตร

หลักการ ใช้รูปแบบเดียวกับการประเมิน SAR งานประกันคุณภาพ หลักการ PDCA

1 สิ่งที่ต้องทำคือ การถ่ายทอดกลยุทธ์ที่ปรากฎในหลักสูตร จัดทำแผนปฏิบัติการรายปี พร้อมกำหนดค่าเป้าหมาย

2 นำตัวชี้วัดในการประเมินหลักสูตรมาขัดทำคู่มือการใช้และประเมินหลักสูตร

3 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งเป็นโครงสร้างการบริหารงา่นวิชาการ

4 ผู้รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน

5 ติดตามกำกับ การรายงาน SAR หลักสูตร ต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตร คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการประจำำคณะเป็นราย 9 ,12 เดือน

6 จัดให้มีการประเมินหลักสูตร โดยคณะกรรมการภายใน ซึ่งอาจเชิญระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมประเมินด้วย

7 เมื่อเสร็จสิ้นให้รายงานมหาวิทยาลัย สกอ และสภาการพยาบาลต่อไป

8 จัดทำแผนพัฒนาเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์


สำหรับ SAR หลักสูตร ประกอบด้วย

ปก ประกอบด้วย รายงานการประเมินหลักสูตร............ ปีการศึกษา .......... คณะ....................มหาวิทยาลัย............

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

สารบัญ

ส่วนนำ ประกอบด้วย ความเป็นมาของหลักสูตร ปรัชญา วัตถุประสงค์  มาตรฐานผลการเรียนรู้ Curriculum Mapping มคอ 7

ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการบริหารหลักสูตร ผลการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน จุดอ่อนจุดแข็ง แนวทางการพัฒนา


หมายเหตุ หลายคนกล่าว่าสิ่งที่ยากที่สุดเห็นจะเป็นการทวนสอบที่ต้องอาศัยผู้รู้และมากด้วยบารมีทุกครั้ง


การประเมินโดยคณะกรรมการ

ใช้หลักการสามเส้า โดย การสัมภาษณ์ สังเกต และตรวจสอบเอกสาร

การสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำและประชาชนจากชุมชน พยาบาลในโรงพยาบาลแหล่งฝึก เป็นต้น

ที่เห็นเป็นเพียงร่างที่ทีมบริหารวางแผนขึ้น ต้องขอให้ประชาคมช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกครั้งในที่ประชุม เป้นการกลับทางการบริหารงานตามหลักการห้อเรียนกลับทางที่สามารถกระตุ้นความคิดเห็นของอาจารย์โดยใช้หลักการมีส่วร่วมในการบริหารงานอีกแนวทางหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #happy ba#ครู
หมายเลขบันทึก: 517288เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2013 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อุดมศึกษาไทยกับแนวคิดใหม่ TQF ที่กำลังเป็นยาขมปี๋

หากคิดไม่ดี TQF คือ ระเบิดเวลาชั้นดี ที่รอเวลา ;)...

อย่างน้อย TQF  ก็เป็นหมุดหมายครับ
แต่ไม่ง่ายเลย 555 
ยาขมจริงๆ แหละ

มาชวนอาจารย์ไปทายปัญหามหาสนุกที่บ้านลุง วอ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท