EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 9 ระยะที่่ 1


"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

 

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 9 ทุกท่าน

ในวันที่ 29 มกราคม 2556 นี้ จะเป็นพิธีเปิดหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 9 (ปี 2556) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2013

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 9 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 5 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ อีก 2 ท่าน คือ ท่านไกรสีห์ กรรณสูต ท่านสมบัติ ศานติจารี และผู้ว่าฯ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ท่านผู้ว่าคนปัจจุบันที่เป็นลูกศิษย์รุ่น 2 ของผม ทุกท่านน่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 9 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

..............................................................................................

ติดตามข้อมูลย้อนหลังได้ที่

รุ่น 8: http://ec2-50-17-211-118.compute-1.amazonaws.com/posts/481480

รุ่น 7: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/438578

รุ่น 6: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/339639

รุ่น 5: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/266888

รุ่น 4: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/179282?page=2

รุ่น 3: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/95849

 http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/109820 (Study Tour in Sydney)

รุ่น 2: http://gotoknow.org/blog/chirakm/32392 (Study Tour in Melbourne)

อื่น ๆ  http://gotoknow.org/blog/casestudies









อาจารย์พจนาถ ซีบังเกิด

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์


อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และ ดร.กมล ตรรกบุตร


คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์


  ขอแสดงความยินดีกับ คุณพนา สุภาวกุล ประธานรุ่นหญิงEADP9

 


ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

รศ.สุขุม นวลสกุล
หมายเลขบันทึก: 517146เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2013 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2013 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (314)

ปฐมนิเทศ โครงการพัฒนาสมรรถนะ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (รุ่นที่ 9)EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2013

วันที่ 29 มกราคม 2556

คำกล่าวรายงานโดย คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากร

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เรียนท่านรองผู้ว่าการบริหาร

ท่านวิทยากร

ท่านผู้บริหารและผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน

             ในนามของฝ่ายพัฒนาบุคลากร ขอขอบพระคุณท่านรองผู้ว่าการบริหาร วันนี้ท่านมีภารกิจมาก ท่านให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการ EGAT Assistant Director Development Program (EADP) ในโอกาสนี้ ดิฉันขอเรียนรายงานความเป็นมาของโครงการอบรมดังนี้

             สืบเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงได้พิจารณาข้อมูลเพื่อวางแผนบุคลากรของกฟผ. และพบว่า ภายในปี 2558 ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปของกฟผ. จะมีการเกษียณอายุถึงร้อยละ 70 ข้อมูลนี้เป็นมาเมื่อเวลา 3 ปีและปัจจุบันข้อมูลได้มีการปรับเปลี่ยนระดับผู้อำนวยการฝ่ายที่จะเกษียณในอีก 3 ปีข้างหน้า ปัจจุบันเป็นร้อยละ 50 ของผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารจึงได้มอบหมายให้อพบ. เร่งรัดพัฒนาผู้บริหารทุกระดับ เพื่อสร้างความพร้อมให้แก่บุคลากรของกฟผ.

             สำหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีจำนวนที่เหมาะสมทันต่อความต้องการขององค์กรนั้น อพบ.จะเน้นการสร้างคนให้มีความเก่งที่สอดคล้องกับภาคกิจทางยุทธศาสตร์ของกฟผ. เป็นคนดีที่เป็นที่ยอมรับของสังคมรอบด้านและเป็นคนที่ทำงานอย่างมีความสุขโดยยึดหลักของผู้ว่าการที่ให้ไว้ของคุณลักษณะของคน 5 ประการ ไม่ว่าจะเป็น การมีธรรมะ คำนึงถึงผู้อื่น ใฝ่รู้เพื่อความเป็นเลิศ มองภาพรวมและคิดเชิงธุรกิจ  

             สำหรับโครงการ EGAT Assistant Director Development Program เป็นโครงการที่จัดขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า ซึ่งพัฒนาตามกรอบความจำเป็นขององค์กรโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมและพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งจะทำให้ผู้บริหารกฟผ.ได้รับแนวคิดและแนวทางในการบริหารจัดการที่ทันสมัยสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้เพื่อปรับมุมมองและวิธีการปฏิบัติให้เข้ากับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ ตามสมรรถนะ ตามตำแหน่งงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในระดับปัจจุบันและในอนาคตที่จะมีตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

             โครงการนี้ยังมุ่งเน้นสนับสนุนให้ผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมได้มีการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกัน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสานประโยชน์และสนับสนุนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต

              สำหรับปีนี้ มีผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าที่มีคุณสมบัติเข้ารับการอบรมในโครงการนี้รวมทั้งสิ้น 39 ท่าน

               ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม 2556 แบ่งจัดอบรมเป็นช่วง รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 วัน ประกอบด้วย 3 หลักสูตร

1.หลักสูตรผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม และ 1กุมภาพันธ์ 2556, 26 – 29 มีนาคม 2556 และ 15-18 พฤษภาคม 2556 รวมทั้งสิ้น 12 วัน ณ สำนักงานกลางกฟผ.

2.หลักสูตรรักษ์กาย – รักษ์ใจ กำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคม 2556 รวม 2 วัน ณ สถานที่ภายนอก

3.หลักสูตรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ 27-28กุมภาพันธ์ 2556 รวม 2 วัน ณ กองพัฒนาด้านเทคโนโลยีระบบส่ง ศูนย์ฝึกอบรมท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี

ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ภายใต้การอำนวยการโครงการของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และกรุณาให้เกียรติบรรยายในโครงการนี้ด้วย

  ขอเรียนเชิญท่านรองผู้ว่าการบริหารให้เกียรติกล่าวเปิดอบรมโครงการ EADP ประจำปี 2556 และกรุณาให้โอวาทผู้เข้ารับการอบรม

พิธีเปิด โดย คุณพิบูลย์ บัวแช่ม รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ผู้บริหารและผู้เข้ารับการอบรม

                  ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานเปิดการอบรมโครงการ EGAT Assistant Director Development Program (EADP) ในวันนี้

                  การที่จะผลักดันให้กฟผ.เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารกฟผ.ทุกระดับไม่เพียงแต่เพื่อภารกิจที่ต้องรับผิดชอบในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจที่อาจได้รับการมอบหมายในอนาคตอีกด้วย   ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล บูรณาการความรู้กับการทำงานร่วมกัน ตลอดจนหาแนวทางในการบริหารจัดการที่ทันสมัยและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของการเป็นผู้บริหารคือการเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ ผู้บริหารต้องหมั่นติดตามความก้าวหน้า กระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจกระทบการทำงานของกฟผ.

                 การจัดอบรมโครงการ EADP ครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้ข้อมูลหรือมุมมองใหม่ๆที่ได้รับจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกันและผู้ทรงคุณวุฒิมาประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการตามสถานการณ์ อีกทั้งมีโอกาสเสริมสร้างพัฒนาสมรรถนะ ความสามารถ ตาม Success Profile ทั้งในด้านกรอบแนวคิดเชิงธุรกิจ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การสร้างทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารและพัฒนาบุคลากร การเสริมสร้างจริยธรรม เครือข่ายสังคม Social Network และ Social Media สำหรับผู้บริหาร การดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

                  นอกจากจะได้รับความรู้และประสบการณ์แล้ว ผมหวังว่า ทุกท่านจะใช้โอกาสนี้ในการสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้ารับการอบรมตลอดจนวิทยากรดังที่ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรได้กล่าวไปแล้ว

                  ผมขอขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นอย่างสูงที่ให้เกียรติมาอำนวยการหลักสูตรและให้การบรรยายในครั้งนี้และครั้งที่ผ่านๆมา

                 ผมได้มีโอกาสเรียนกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เหมือนกับชีวิตนี้ถูกกำหนดมา ผมได้รับการไว้วางใจจากกฟผ.ให้มาเป็นรองผู้ว่าการบริหาร หนังสือเล่มแรกที่ผมหยิบขึ้นมาอ่านคือ HR Champions และผมก็เผื่อแผ่ให้เพื่อนผมที่ทำงานด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งถือว่าเป็นคนใหม่ ผมได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประมาณปี 2550 ได้มีโอกาสเปิดโลกกว้าง ท่านพาผมไปเข้า Camp ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หลังจากนั้นปีถัดมาก็ได้ไปมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ผมได้รับความรู้ มุมมอง โลกทัศน์ ผมเข้าใจว่าการที่จะเรียนรู้ (How to learn) เป็นอย่างไร ผมได้นำความรู้จากอาจารย์มาใช้จริงในการบริหาร ผมเป็นวิศวกรคนหนึ่ง เข้าใจระบบดี ถูกฝึกมาให้ทำงานเป็นระบบ ในช่วง 2 ปีสุดท้ายที่มาทำงานบริหารดูแลพวกเราและกฟผ.  ผมจะทำความรู้ที่ได้จากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ผสมผสานกับความรู้เรื่องระบบที่ผมมี ผมเชื่อมั่นว่า คนกับระบบ ถ้าผสมผสานบูรณาการแล้ว จะทำให้กฟผ.ไปสู่ความเป็นเลิศแน่นอน

                 ผมขอให้ผู้เข้ารับการอบรมในวันนี้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ผมจะสนับสนุนและเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆอีกหลายเรื่อง นำกลยุทธ์ที่ผู้ว่าการมอบหมายให้ตลอดจนบริบทของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปมาปรับใช้กับกระบวนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกลยุทธ์ต่างๆด้วย ผมคิดว่า มีปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนไป อยากให้เข้าใจบริบทที่เปลี่ยนไป กฟผ.เริ่มมีคู่แข่งแล้ว ปัญหาอุปสรรคที่ใหญ่หลวงของกฟผ.ก็ยังมี เพราะโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 5,000-6,000 เมกกะวัตต์ ถ้ากฟผ.ไม่สามารถส่งลูกหลานไปแข่งขันเพื่อจะพัฒนาสร้างโรงไฟฟ้าได้ ความเจริญก้าวหน้าของกฟผ.ก็จะไม่มี เราในฐานะผู้บริหารต้องเข้าใจและช่วยกันผลักดัน

                ขณะนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดการอบรม EADP ในปี 2556 ครับ และขอให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ทุกประการ

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

และ Learning Forum หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

โดย    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 

และ  ประธาน Chira Academy

 

·  แต่ก่อนนี้ สมัยที่ท่านพิบูลย์เรียน ก็จัดคล้ายๆมหรสพทางวิชาการ วันนี้ผมจะทำรายการโทรทัศน์ด้วย ออกช่อง TGN

·  ลูกศิษย์ผมได้เป็นผู้ว่าการกฟผ.และรองผู้ว่าการกฟผ.แล้วหลายรุ่น เช่นรุ่น 1 ท่านสมบูรณ์ อารยะสกุล ท่านวิวัฒน์ ท่านนพพล รุ่น 3 ดร.กมล ตรรกบุตร  อยากให้เรามีความภาคภูมิใจในการเป็นรุ่น

·  กฟผ.ผิดกับโลกภายนอกที่องค์กรส่วนใหญ่ ผู้หญิงจะเป็นผู้นำ แต่กฟผ. ผู้ชายยังเป็นผู้นำอยู่ ผมจะพยายามให้เกิดความสมดุลขึ้น

·  ผมต้องการจะทำโครงการรุ่น 9 ให้ดีที่สุด จะเห็นได้ว่าเราทำร่วมกันตลอดเวลา

·  หลักสูตรนี้ เวลาจะผ่านไปเร็ว ผมได้นำคนเก่งมาช่วย ผมมีหน้าที่เชื่อมโยง ขอให้นำประโยชน์สูงสุดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เน้น 2R’s ค้นหาความจริง

o  เราอยู่ตรงไหน สถานการณ์การไฟฟ้าเป็นอย่างไร

o  เราจะไปไหน

o  เราจะไปอย่างไร

o  จะเอาชนะอุปสรรคอย่างไร กฟผ.ต้องจัดการกับ NGOs ให้ได้

·  สมัยที่ท่านสุทัศน์และท่านสมบูรณ์เรียน จะมีการแปรรูปกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ แล้วกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ตอนหลังๆ เขาไม่ให้เราสร้างโรงไฟฟ้า เราก็ต้องจัดการจัด NGOs ให้ได้ รุ่น 3-5 ผมนำผู้นำ NGOs เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น รุ่นนี้ต้องรู้จักชุมชนให้มากขึ้น

·  ในรุ่น 9 นี้ ผมจะแบ่งผู้นำ 39 คนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ทำหนังสือประวัติความเป็นมาที่กฟผ.จัดการ NGOs ที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ อีกกลุ่มหนึ่งให้ทำหนังสือความสำเร็จและไม่สำเร็จของ International Corporation รวมทั้ง EGAT ด้วย

·  ในรุ่นนี้จะมีอีก 2 ตัวเสริมขึ้นมา

o  เรื่องแรกคือนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน ต้องทำให้ Regulator พึ่งพากฟผ.มากขึ้น EGATi ควรทำเรื่องการจัดการปัจจัยภาคการเมืองและนโยบายด้วย

o  อีกเรื่องคือ กฟผ.เป็นองค์กรหลักของประเทศต้องแสดงภาพลักษณ์เกี่ยวกับความโปร่งใส รุ่น 9 ควรมี Unity ในการรวมตัวกัน ให้แสดงบทบาทที่ดีต่อประชาชนบ้างในเรื่องการต่อต้านคอรัปชั่น ปกป้องประเทศเรา

·  เรื่องนโยบายพลังงานน่าจะมีบทบาทมากขึ้น

·  จอห์น เอฟ เคนาดี้ พูดว่า อย่าถามว่าทำอะไร คุณได้อะไรจากการพัฒนาประเทศ

·  โอกาสที่อยู่ด้วยกันในครั้งนี้ขอให้สลับงานประจำออกไปบ้าง

·  ในหลักสูตรนี้สาระสามารถหาความรู้ได้จากอินเตอร์เน็ต ประสบการณ์ และการดึงเอาความเป็นเลิศออกมา และการใช้ Social Media  ขอให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น

วัตถุประสงค์

1)  เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของ กฟผ. และเทียบเท่าให้มีความรู้  

  ทักษะ ภาวะผู้นำและทัศนคติที่พร้อมสำหรับการทำงานเชิงรุก

2)  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลร่างกาย – จิตใจให้มีความสุข มีสมดุลย์ พร้อมที่จะใช้ศักยภาพในการทำงานอย่างเต็มที่และมีความสุข

3)  เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ (ทั้งภายในและภายนอก) ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร

4)  เพื่อสร้างโอกาสจากการเรียนรู้ (Learning Opportunities) เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น และการปะทะกันทางปัญญา

5)  เพื่อฝึกการคิดโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางานของ กฟผ. ให้ก้าวไกล เป็นที่ยอมรับของประชาชนและสังคม

6)  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เห็นความสำคัญของการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ผลักดันการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาองค์กรและประเทศไทยไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างยั่งยืน

ทฤษฎีการเรียนรู้ 4Ls

  Learning Methodologyมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

  Learning Environmentสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

  Learning Opportunities  สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

  Learning Communitiesสร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้ 2 R’s

·  Reality - มองความจริง 

·  Relevance - ตรงประเด็น   

ทฤษฎีการเรียนรู้ 2 I’s

  Inspiration – จุดประกาย

  Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

ทฤษฎีการเรียนรู้ 3 L’s

·  Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

·  Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

·  Learning from listening  เรียนรู้จากการรับฟัง

C & E Theory

  Connecting

   Engaging

C-U-V

  Copy

   Understanding

   Value Creation/Value added

วิธีการเรียน

  การเรียนเป็นทีม (Teamwork)

  การทำ Workshop

  อ่านบทความดี ๆ ทุกวัน

  การทำการบ้าน (Assignment) ผ่าน Blog

  การร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Brain storming) จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง (Case study& Best Practice) เช่นที่ผ่านมามีการศึกษา เรื่อง Social Innovation, Change Management ฯลฯ

  มีการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (Evaluating) ตลอดโครงการฯ

  ทุกวันจะมีการเขียนรายงานสรุปว่าวันนี้ได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการเรียนรู้ – Lesson learn ของเรา คืออะไร?”

วิธีการประเมินผล

1)  การประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตามข้อกำหนดของ กฟผ. คือ

  1.1) ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมีระยะเวลาในการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า

  ร้อยละ 80 ของระยะเวลารวมของหลักสูตร

  1.2)  ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 90 จะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบหลังจบหลักสูตร 

  (Post – test) และได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

  เกณฑ์การทดสอบหลังจบหลักสูตร ประกอบด้วย

1. การทำงานที่ได้รับมอบหมาย (Assignment)  20% (อ่านหนังสือและบทความ)

  2. การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน Blog   20%

  3. รายงานและการนำเสนอผลงานต่อผู้บริหาร  30%

    4. การจัดกิจกรรม CSR    30%

อ่านหนังสือ

งานเดี่ยว ส่งผ่านทาง Blog : chiraacademy

1. เรื่อง 8K’s  และ 5K’s ส่งวันที่ 31 ก.พ. 56 ต้องรีบอ่าน ถ้าสำเร็จในอนาคต จะช่วยจัดการกับผู้นำได้อย่างไร

2. เรื่อง Mindset ส่งวันที่ 24-25 ก.พ. 56 (หนังสือเรื่องนี้เป็นนวัตกรรมจาก รุ่น 5  Mindset คือการฝังรากในความเชื่อบางอย่าง เป็นการวิเคราะห์คุณสมบัติของมนุษย์)

 

งานกลุ่ม (เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานต่างประเทศ เราจะจัดการกับทรัพยากรมนุษย์ในต่างประเทศอย่างไร)

1. Global HR Competencies

2. HR Outside in

ร่วมแสดงความคิดเห็นสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ

1.การคาดหวังในสิ่งที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในห้องเรียน ความรู้ที่ได้จากอินเตอร์เน็ต การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการใช้ Social Media  มากขึ้น

2. การใช้ Social Media มากขึ้น และคาดหวังเป็นผู้อำนวยการที่ดีต่อไป

3. คาดหวังจะทำงานอย่างมีความสุข ได้ยินผู้บริหารพูดถึงอาจารย์มามากก็อยากได้รับความรู้

4. ได้รับความรู้เกี่ยวกับอะไรที่ยังไม่ได้รู้ เช่นเรื่องการบริหารจัดการ  และได้ฟังวิทยุอาจารย์จีระตอนเช้าวันอาทิตย์ก็ชื่นชอบ

5.  ทราบจากรุ่นก่อน ๆ ว่า การบ้านเยอะมาก แต่คิดว่าเป็นผลดีถ้าสามารถช่วยให้เป็นฝ่ายฯ จะยินดีมาก  และยินดีที่จะเล่น Facebook มากขึ้น

6.  ความเป็นผู้นำต้องเรียนรู้อะไรบ้างที่ต้องมาปรับปรุงตัว

ดร.จีระ เสริมว่า

·  ผู้นำบางครั้งอยู่ที่ประสบการณ์

·  มีตัวอย่างเช่น ผู้นำนักการเมืองจะให้ไปดูที่โรงพยาบาลแผนกฉุกเฉิน

·  ทุกวินาทีที่สอนคือภาวะผู้นำ ไม่ได้เกี่ยวกับ Lecture 


การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ กฟผ.

29 มกราคม 2556

บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

Quotations

·  อิทธิพลสำคัญกว่าการสั่งการ

·  ผู้นำที่ดีต้องมองอะไรให้กว้างไว้ก่อน Think Global Act Local  อยากให้คนในห้องนี้มองกว้าง และมีความน่าสนใจมากขึ้น

ตัวอย่างการมองโลกาภิวัตน์

-  Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology

-  เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015, ฯลฯ

-  เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน

-  บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา

-  เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right

-  เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ 

-  เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย

-  เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน

-  เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

·  โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Fourth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

§  sustainability+

§  wisdom+

§  creativity+

§  Innovation+

§  intellectual capital.

·   ผู้นำต่างจากผู้จัดการ ผู้นำสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีกว่า

  ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร

ผู้นำ

  เน้นที่คน

  Trust

  ระยะยาว

  What , Why

  มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

  เน้นนวัตกรรม

  Change

ผู้จัดการ

  เน้นระบบ

  ควบคุม

  ระยะสั้น

  When , How

  กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน

  จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

  Static

ชนิดของผู้นำ

    -Trust / Authority

    - Charisma

    - Situational

    - Quiet Leader  ผู้นำไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง คิดเก่งก็พอ เช่น กฟผ.เน้นเรื่องการจัดการเทคโนโลยี กับ Stakeholders

เรื่อง Trust หรือ ศรัทธาของการเป็นผู้นำเกิดได้แก่ทุก ๆ คน ไม่ใช่แค่มีตำแหน่งเท่านั้น

Trust มี 3 ขั้นตอน

§   สร้าง (Grow)

§   ขยาย (Extend)

§   ดึงกลับ ถ้าหายไป  (Restore)

Trust มีหลายประเภท

(1)  Self Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

(2)  Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร แต่สังคมภายนอกยังอ่อนอยู่

(3)  Organization Trust – กฟผ. Reliability สูง

(4)  Social Trust – สังคมไว้ใจจริงหรือไม่

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคล (Relationship Trust)

1)  พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ

2)  ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

3)  ทำงานด้วยความโปร่งใส

4)  มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

5)  เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

6)  ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

7)  รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

8)  มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

9)  รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

10)  รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

วิธีการได้มาซึ่ง Organization Trust ในที่นี้หมายถึงชุมชนของเรา

1)  มี VISION – MISSION – Strategies + Core Value

2)  ไปสู่ความสำเร็จด้วยทุกกลุ่ม (Alignment)

3)  มี Shared Vision

วิธีการได้มาซึ่ง Social Trust หมายถึงสังคมวงกว้างออกไป

üมีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง

   ความมั่นคงของคนในประเทศ

·  ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันตก มีหัวข้อวิจัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำ

·  สำหรับตะวันออกยังมีน้อยอยู่จึงมักจะใช้ Role Model เป็นหลัก

** สิ่งสำคัญคือ Role Model ด้านผู้นำของกฟผ. ชื่นชมใคร ซึ่งเป็น Brand ของการไฟฟ้าต่อไป

8 Rules of Leadership (Nelson Mandela)

1.  กล้าหาญ

2.  ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท

3.  การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี

4.  ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักศัตรูให้ดี

5.  การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า

6.  มีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ

7.  ไม่เน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรือ ขาวหรือดำ 100% มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win - Win

8.  รู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย"

  8 Rules of Leadership (Obama)

1.  สร้างศรัทธาและความมั่นใจ Trust และ Confidence แก่ผู้ร่วมงานและแนวร่วม

2.  เป็นผู้นำต้องรู้ว่า จะพาประเทศไปทางไหนโดยสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Communicate your Vision Effectively)

3.  สร้างให้คนส่วนใหญ่ เข้าถึงประวัติ ความสำเร็จ ความสามารถที่สะสมมาในอดีต สร้างชื่อเสียง (Build Strong Reputation)

4.  สร้าง Networks ในทุกๆ แห่ง โดยเฉพาะในจุดที่ตัวเองอาจจะไม่มีโอกาสได้สัมพันธ์มาก่อน (Make Friends in Unusual Places)

5.  ทุกคนที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่มีแค่ High performance ของความสำเร็จของบางกลุ่ม แต่ต้อง All hands คือการให้ทุกๆ คนมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็คือการสร้างทีมงานที่ทุกคนทำงานร่วมกัน

6.  สร้างความหลากหลายให้เป็นมูลค่าเพิ่ม (Diversity to value added)

7.  ใช้ Technology ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน เช่นการสร้าง Social Network ก็ให้คน 2 ล้านคน ช่วยสนับสนุนการเงินในช่วงหาเสียง

8.  สร้างขวัญกำลังใจให้แก่เพื่อนร่วมงานทุกคน (Motivation and inspiration)

ขอให้ดูตัวอย่าง ลีโอนาโด ดาร์วินซี

คุณสมบัติของผู้นำของฮิลลารี คลินตัน

qเรียนรู้ตลอดชีวิต

q อย่าพอใจกับปริญญาเท่านั้น

q อย่าพอใจกับการเรียนในห้อง (Formal Learning)

q สนุกกับการคิดนอกกรอบ

q สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์

 ถึงจะเก่งอย่างไร? ก็ต้องรับฟังคนอื่น

คุณสมบัติของผู้นำ

ของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

4 E’s Leadership ( Jack Welch )

  Energy มีพลัง

  Energize สามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง

  Edgeเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ

  Executionลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ

4 Roles of Leadership (Stephen Covey)

-  Path finding  การค้นหาเส้นทางความก้าวหน้า/การพัฒนา

-  Aligning   กำหนดทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน

-  Empowering  การมอบอำนาจ

-  Role Model   การเป็นแบบอย่างที่ดี

ทฤษฎีล่าสุดของ  Jack Welch

Leader / Teacher

กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่นประยุกต์กับ EGAT?

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976)

เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ

ü รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก

ü ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก

üต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น 

o  ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคล

o  เศรษฐกิจ คือ รัฐเป็นคนกำหนด

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992)  คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

üเป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจแบบรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก – คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ

üเน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า “แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น” คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา – เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันและเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003)  คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

üเป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก

üเศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก

üจัดประชุม APEC 2003 ในจีน

üนำจีนเข้า WTO

üเปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น

üส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา

รุ่นที่ 4 (2003 2013) คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)

üเห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ

üแต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 2023) คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)

üผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน

จากการทำ Expert Opinions Survey ของผมกับผู้เชี่ยวชาญอีก 15 ท่านได้ร่วมกันในโครงการปริญญาเอก ค้นหาคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนบริบทของไทย มีหัวข้อที่สรุปได้ มีประโยชน์ต่อ EADP รุ่น 9 ที่จะนำไปปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. Integrity Leadership Style คือ เน้นเรื่องความซื่อสัตย์และมีหลักการ เห็นถูกเป็นถูก เห็นผิดเป็นผิด หรือ ทำตาม “หลักการ” ไม่ใช่ “หลักกู”

2. Transparency Leadership Style

ü  โปร่งใส

ü  ตรวจสอบได้เสมอ

ü  ผู้อื่นคาดเดาได้ว่าทำอะไรอยู่

3. Grooming Future Leaders

ü  Jack Welch..ทำได้ดี

ü  Steve Jobs..กำลังถกเถียงกันว่า Apple หลังยุค Steve Jobs ยังมีผู้นำรุ่นใหม่แทนหรือไม่?

ü  ท่านเองมองไปข้างหน้าหรือมองสูงขึ้นว่าจะถึงรองผู้ว่าการฯ ไหมไม่พอ ต้องคิดจะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Coaching หรือ Mentoring

ü  คนรุ่นใหม่ ๆ (ขาดมารยาท ขาดความสุภาพนอบน้อม ฯลฯ แต่เก่ง) มี Diversity แตกต่างกับคนรุ่นท่าน จะจัดการอย่างไร?

ü  มอบหมายงานให้คนอื่น ๆ ได้ทดลองทำ อย่าสอนงาน

ü  ถ้าลูกน้องผิดพลาด จะดูแลอย่างไรไม่ให้เขาตกรางหรือขาดกำลังใจ

ü  จะปกป้องลูกน้องให้กล้าทำงานยากหรืองานที่เสี่ยงได้อย่างไร?

ü  รับได้ไหมถ้าลูกน้องจะเก่งกว่าตัวเองหรือมีความไม่สุภาพต่อหน้า

4 Global Network Leadership

üในทฤษฎี 8K’s 5K’s ของผมเน้นคุณสมบัติเรื่อง Networking

üNetworking ในประเทศก็สำคัญ

üแต่งานวิจัยที่ผมได้พบ ก็คือ ผู้นำจะต้องเก่งเรื่อง Global Networking ซึ่งเหมาะกับ Theme ปีนี้ คือ รุ่นที่ 9 ต้อง Local / Global + ASEAN 2015

üคำถามคือทำอย่างไร?

§  ภาษา

§  รู้เขา (Know them)

§  รู้มากกว่า “วิศวะ” ต้องข้ามศาสตร์ รู้เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในภาวะผู้นำของคน กฟผ. ในยุคต่อไป

§  ใช้ ICT ในการหาความรู้ แต่วิเคราะห์ให้เป็น มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ หิวความรู้ที่สด ข้ามศาสตร์

5 Balancing Style Leadership

ü  คล้าย ๆ เน้นความสมดุลย์

ü  เน้นการเป็นวิศวะอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความสุข (Happiness) ในการทำงาน (8K’s+5K’s)

ü  บทบาทสตรีใน กฟผ. ต้องมากขึ้นหรือเปล่า? เพราะจะได้สมดุลมากขึ้น

ü  เดินสายกลางแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ü  WORK/LIFE Balance

ü  จากการวิจัยโดยเน้นปรัชญาของศาสนาพุทธ พรมวิหาร 4 คือ 1)เมตตา 2)กรุณา 3)มุทิตา 4)อุเบกขา

ü  สมดุลย์อย่างไรระหว่างมืออาชีพกับการเมืองแบบรุกคืบ

6 สุดท้ายผู้นำที่ดีต้องเป็น Leadership of Diversity and Innovations

ü  จะต้องบริหารความหลากหลายให้ได้

q  ในประเทศ / ต่างประเทศ

q  คนรุ่นใหม่ / คนรุ่นเก่า

q  วิศวะ / สาขาอื่น ๆ

q  แนวคิดที่ไม่เหมือนกัน

ü  มูลค่าเพิ่มจะมาจากความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากเดิม

ü  ผู้นำจะสร้างบรรยากาศให้เกิด Value Creation ได้อย่างไร?

Workshop

กลุ่มที่ 1  ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?  เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย และท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า.. ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

กลุ่มที่ 2.  ผู้นำรุ่นนี้จะต้อง “Grooming Future Leaders” ต้องทำอย่างไร ? อุปสรรค คืออะไร?

กลุ่มที่ 3  “Integrity Leadership “ และ “Transparency Leadership Style”  ต้องทำอย่างไร? อุปสรรค คืออะไร?

กลุ่มที่ 4 Leadership of Balancing ต้องทำอย่างไร อุปสรรค คืออะไร?

กลุ่มที่ 5 เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของ กฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

กลุ่มที่ 6 “Leadership of Diversity and Creativity” ต้องทำอย่างไร?อุปสรรค คืออะไร?

Workshop

กลุ่มที่ 1  ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?  เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย และท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า.. ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

ผู้ว่าการกฟผ.ที่ผ่านมาคิดไว้ว่าจะแบ่งเป็น 4 รุ่น

1.  รุ่นบุกเบิก คือรุ่นผู้ว่าฯ เกษม และท่านกำธน

2.  รุ่นรุ่งเรือง คือรุ่นผู้ว่าฯ เผ่าพันธุ์ สมบูรณ์ ปรีชา

3.  รุ่นวิกฤติปี 40 เป็นยุคผู้ว่าฯ วีรยุทธ์ สิทธิพร

4.  รุ่นปรับตัวไปสู่ตปท. ผู้ว่าฯ ไกรสีห์ สมบัติ สุทัศน์

ปัจจัยบวก คือมีความเชี่ยวชาญด้านนี้

ปัจจัยลบ คือบุคลากรขาดความต่อเนื่อง เครือข่ายไม่ค่อยดี (เพื่อนน้อย) การถ่ายทอดความรู้ KM ไม่ดีพอ

โอกาส คือความต้องการพลังงานในประเทศไทยมากขึ้น ไทยเป็นอาเซียนบริดจ์ได้

ดร.จีระ บอกว่าเรื่อง Networking สำคัญมาก แล้วเราอาจเด่นในอาเซียนได้ บางครั้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจสำคัญมากกว่า NGOs ก็ได้

กลุ่มที่ 2.  ผู้นำรุ่นนี้จะต้อง “Grooming Future Leaders” ต้องทำอย่างไร ? อุปสรรค คืออะไร?

กฟผ.มีจุดอ่อนนิดนึง คือบางครั้งมีช่วงรุ่นต่อรุ่นน้อยไป ผู้นำรุ่นใหม่ที่มองไว้จะเป็นอีก Generation นึง คือต้องทำอย่างไร ก่อนที่จะทำผู้นำรุ่นใหม่ต้องคัดThe Star ที่เป็นผู้นำก่อน แล้วปลูกฝังคุณธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรักองค์กร ความอดทน การสร้างการทำงานเป็นทีม การสอนงาน (รุ่นพี่สอนแบบ Coaching) เน้นการมองผลประโยชน์ขององค์กรให้มาก

อุปสรรค คือ

1.  มีวัยที่แตกต่างกันเยอะ นิสัยเป็นอุปสรรคในการทำงาน

2.  การสร้างทีมเวอร์กทำได้ยาก

3.  การมองผลประโยชน์ของตัวเอง

กลุ่มที่ 3  “Integrity Leadership “ และ “Transparency Leadership Style”  ต้องทำอย่างไร? อุปสรรค คืออะไร?

1. ในเรื่อง Integrity Leadership “ และ “Transparency Leadership Style”   มีความใกล้เคียงกัน

Integrity เป็นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ สิ่งที่จะทำคือต้องสร้างค่านิยมในองค์กรให้ดี และมียุทธศาสตร์ในการนำ

2. หาผู้นำที่เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ผ่านมาจะเป็นว่าผู้ว่าการจะมีทั้ง 2 ส่วนที่ดี

3. ความรับผิดชอบของสังคม มี Transparency มีความโปร่งใสต่อสังคม

คนโดยส่วนใหญ่นึกถึงความต้องการวัตถุมากอาจทำยากนิดนึง แต่กฟผ.สามารถทำได้ โดยต้องขัดเกลาให้เกิดทั้ง 2 สิ่งนี้

ดร.จีระ ขอชมเชยว่า กฟผ. มีข้อนี้ประมาณ 8 ใน 10 แต่อันตรายคือถ้าคนรุ่นใหม่ถูกกระทบจากความโลภ และค่านิยมข้างนอกอาจมีปัญหา ทำอย่างไรถึงจะรักษาแชมป์ได้ เห็นด้วยในเรื่อง Role Model

กลุ่มที่ 4 Leadership of Balancing ต้องทำอย่างไร อุปสรรค คืออะไร?

 1. ส่วนใหญ่ทำอยู่แล้วแต่เป็นเรื่องกระบวนการเช่น Balance Scorecard เรื่องการสร้างความสมดุล เรื่องคน และการจัดการต่าง ๆ สิ่งที่เราน่าจะทำเพิ่มคือ เรื่องบทบาทสตรี การวิเคราะห์ด้านบริหารสตรีมีบทบาทมากกว่าผู้ชาย แต่ทางด้านเทคนิค วิศวะ ผู้หญิงจะเหลือน้อย ดังนั้นการคัดเลือกบุคลากรทำงานผู้หญิงสมัครน้อย ส่งผลว่าผู้หญิงทำงานน้อยเหมือนไม่ให้บทบาท แต่ความจริงถ้ามีศักยภาพให้บทบาทอยู่แล้ว แต่ปรากฏ 4-5 ปีที่ผ่านมาผู้หญิงมากขึ้น แต่ไม่ได้กำหนดสัดส่วนตรงนี้อย่างไร ในอนาคตอาจมีกำหนดให้ผู้หญิงมากขึ้น

2. การใช้ธรรมะช่วยในการปฏิบัติงาน กฟผ.บังคับให้การประชุมมีหัวข้อหนึ่งคือเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มีการรายงานของคณะทำงาน เรื่องพรหมวิหารธรรม กฟผ. ก็พยายามทำอยู่

ดร.จีระ  Balance อาจเป็นเรื่อง Work Life Balance ใช้ชีวิตที่สมดุล

กลุ่มที่ 5 เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของ กฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

1.  ก่อนอื่นตั้งเป้าก่อนว่าให้มีทิศทางเดียวกันจะมุ่งไปทางไหน ให้มองในระยะยาว

2.  กำหนดสเป็คผู้นำ เรื่อง Fairness Integrity Respect

3.  ดูอายุงานด้วย

4.  พัฒนากลุ่มตามสเป็ค

5.  โปรโมทคนเหล่านี้ขึ้นมา

ดร.จีระ  เราจะพัฒนาผู้นำแบบไหน เราต้องเลือกจำนวนหนึ่งเป็น Target  แล้วลงทุนในสิ่งเหล่านี้ หรือฝึกอบรมแบบ HR ไปเรื่อย ๆ ใช้คนที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ เลือก Talent Management บางแห่งสมัคร บางแห่ง Qualify  พัฒนาหลักสูตร มี Coach & Mentoring

กลุ่มที่ 6 “Leadership of Diversity and Creativity” ต้องทำอย่างไร?อุปสรรค คืออะไร?

1. ต้องสร้างศรัทธา เพราะทุกคนมีความคิดหลากหลาย ทำอย่างไรให้ทุกคนคิดถึงเป้าหมายเดียวกันเป็นเรื่องยาก ต้องสร้างศรัทธาให้ผู้นำพูดชี้นำ และมีเป้าหมายเดียวกัน

2. ปรับทัศนคติให้ตรงกันเสียก่อน เช่นให้เห็นว่าต้องทำเพื่อสังคมด้วย

3.เอาบุคคลที่มีความรู้มาช่วย ให้เรียนรู้ทั้งเทคนิค และสังคม

4. เอาความรู้ IT มาช่วย

5. ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนคนรุ่นเก่า

ดร.จีระ บอกว่า ศรัทธาในเป้าหมายไม่ใช่ผู้นำอย่างเดียว Diversity ไทยมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เป้าหมายต้องตรงกัน ให้ข้างในรวมกลุ่มกันคือหลากหลายแต่ไปด้วยกัน แล้วเมื่อไปเจอข้างนอกต้องจัดการด้วย แต่ที่สำคัญข้างในต้องสามัคคีก่อนเพื่อจัดการกับ Diversity ข้างนอกด้วย ถ้าแข็งแรงจะสู้ข้างนอกได้ เมื่อทุกคนเห็นในแนวเดียวกัน การทำงานต้องพึ่งพาหลายส่วนเข้าด้วยกัน 


Leading People

วันที่ 29 มกราคม 2556

บรรยายโดย อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

·  สมัยก่อนคนจะรู้สึกไม่ชอบให้ใครมา Coach เรา

·  ผู้นำถ้าเราจะทำตามกฎ จะเป็นผู้นำที่ดีที่สุดไม่ได้ เพราะกฎถูกสร้างตามสถานการณ์นั้น ๆ 

·  Leader คือคนที่นำ Follower ไปในที่ที่ไม่เคยไป สามารถให้เดินออกจาก Boundery of Thinking เดิม

·  เวลาอ่านหนังสือให้อ่าน Summary และ  Keyword ที่สำคัญของหนังสือ อ่านหัวและท้ายของ Summary

·  ทุกเรื่องในชีวิตเป็นเรื่องง่าย อยู่ที่เราบอกจิตใต้สำนึกของเราเอง

·  ให้เรามองภาษาพูดและภาษากายไปในทิศทางเดียวกัน เราต้อง Train จิตใต้สำนึกของเรา ถ้านึกถึงสิ่งใด อย่าพูดคำว่าอย่า เพราะเราจะนึกถึงคำนั้น เช่น อย่าคอรัปชั่น ควรพูดว่า ให้ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม

·  สิ่งที่ Leader ขยันหล่อหลอมตนเองขึ้นมาเป็น External ทั้งนั้น ตราบใดที่เราไม่สามารถเป็น Leader  ของตัวเองได้ จะตกเป็นธาตุของ Model เช่น Quiet Leadership , Coaching Leader, Qualitative Leadership, Situational Leadership เราจะนำแบบไหนก็ได้ตามแต่ Follower ตามเราอยู่ เราต้องเข้าใจ Function ของมนุษย์ ถ้าเราไม่เข้าใจตัวเราจะไม่สามารถ Lead ใครได้

·  ถามตัวเองว่า Who am I? ตอบ ชื่ออะไร ทำงานอะไร บ้านอยู่ที่ไหน มีครอบครัวหรือยัง แต่เมื่อตำแหน่งหายไปจะเป็นใคร  ควรตอบสิ่งที่เป็นตัวตนของเขา เช่น เป็นคนอย่างไร ชอบงานอดิเรกอะไร  เพราะเมื่อเราไม่รู้ว่าเราเป็นใคร จะเป็นความคาดหวังคนอื่น อยากให้ถามตนเองว่าตั้งแต่เด็กขึ้นมาเดินตามความฝันของใคร ของเราเอง พ่อแม่ ของเพื่อน ของครู หรือของใคร ถ้าเดินตามความฝันของตนเองถือว่าโชคดีมาก  ถ้าเราไม่แข็งแรงพอเราจะไม่สามารถเลือกอะไรที่เป็นเราได้ แล้วเรารู้หรือยังว่าจริง ๆ เราเป็นใคร คือความเป็นธาตุแท้ที่อยู่ในตัวเรา แล้วบ่งบอกว่าเราเป็นคนอย่างนี้จะฉายแววชัดเมื่อเราโตขึ้น เราไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร เราสามารถเป็นแบบเราได้ นี่คือสิ่งที่เรา Lead ความเป็นผู้นำในตนเอง

·  คำว่าธาตุแท้คือ Being คือสิ่งที่เป็นเราและเราไม่เหมือนใคร จะมีเป็น ร้อยกว่าตัว  เมื่อเรารู้ว่าเราคือใครแล้วเราจะตั้งเป้าหมายได้

·  พอรู้ว่าเราเป็นใครแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Leader แบบไหน ให้เลือกจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง เช่น ซื่อสัตย์ โปร่งใส Creative Innovative Diversity และอันไหนที่เรา Develope ได้ ให้ Develope from Strange  การทำงานกับมาเล่นเหมือนกันจะมีความ Balance กัน  เรามี Need และ Fear  Need คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้ง 6 อย่างพร้อม ๆ กัน ถ้าตัวไหนขาดเราจะมีพฤติกรรมที่เติมเต็ม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ Leader  ที่ดีจะมีพฤติกรรมเติมเต็มทางด้านบวก  อะไรที่พลักดันให้เราพูดทั้ง ๆ ที่พูดแล้วเสียหายคือความกลัว (Fear) คือเราจะใช้ความกลัวเป็นเพื่อนหรือใช้ความกลัวเป็นตัวบั่นทอน

Need ตัวไหนเป็นตัว Lead เรา แล้ว Fear ตัวไหนเป็นตัวผลักดันให้เราเป็นเช่นนี้

วันนี้สิ่งที่จะเรียนรู้

1. หา Being หรือธาตุแท้ของตนเอง

2. หา Need และ Fear

3. ขจัดอุปสรรคที่ทำให้เราติดอยู่ตรงนี้

ทำไมถึงเรียกว่า Being หรือ ธาตุแท้

·  เราเป็นใครจะแสดงถึงสิ่งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางวัตถุ หรือสภาพแวดล้อมทางบุคคลที่เลี้ยงดูเรามา

·  สรุปคือต้องเป็นตัวเองก่อน คือต้องรู้ให้ได้ว่าธาตุแท้เรามีอะไร ธาตุแท้เหมือนเป็นหลักศิลา เราต้องใช้สมองในการเป็นตัวดึงขึ้นมา

·  สติ ปัญญา ส่วนใหญ่พ่อแม่เป็นตัวหล่อหลอมขึ้นมา การพัฒนาเด็กว่ามีสติปัญญาฉลาด เช่นพ่อแม่จะชอบชื่นชมในความฉลาดของลูก ส่วนใหญ่ส่งไปเรียนพิเศษกวดวิชาเป็นต้น

·  เราสนใจพัฒนาสติ ปัญญามากจนบางครั้งเกินความรู้สึก

ศูนย์ 5 ศูนย์ในตัวเรา

1.ธาตุแท้

2.สติปัญญา

3.ความรู้สึก เช่น เหงา รัก สะเทือนใจ โกรธ เสียใจ

สรุปคือ เราต้องกลับไปที่ธาตุแท้ว่าเราต้องเป็นคนให้ความรักเป็น

4. ร่างกาย ต้องรู้จักร่างกายของเราว่าสุขภาพเป็นอย่างไร ร่างกายส่งสัญญาณอย่างไร ถ้าร่างกายไม่ Perfect ทั้ง 4 ศูนย์จะตายได้

5. มโนธรรมลึกซึ้ง อยู่ใกล้กับ ธาตุแท้ เป็น Believe Conscious เช่นคุณธรรมทั้งหลาย

- มโนธรรมสังคม ตอนเกิดมาตอนแรกดูแลตัวเองไม่ได้ จนกระทั่ง 7 ขวบดูแลตนเองได้ ตอน 0-7 ปี จะ Depend on คนอื่น ใครสอนอะไรมาก็เชื่อ สิ่งนี้จึงกลายเป็น Value ตั้งแต่เด็ก เช่น ต้องเคารพผู้ใหญ่ บุญคุณต้องทดแทนแค้นต้องชำระ เป็นต้น

- มโนธรรมสมอง คือมโนธรรมส่วนตัวที่สร้างขึ้นมาได้

- มโนธรรมลึกซึ้ง คือสิ่งที่เราปรึกษากับธาตุแท้ว่าสิ่งนั้นดี และเชื่อได้ เราจะตัดสินใจอะไรก็ได้โดยไม่ต้องมีกฎระเบียบมา Guideline

·  ถ้าเราจะตัดสินใจอะไร อย่าเพิ่ง Take  Action ให้ลองดูก่อนว่าเรานิ่งไหม ?  ถ้าไม่นิ่งแสดงว่าไม่ใช่ Good Decision มีหลายครั้งที่การตัดสินใจแล้วรู้สึกหงุดหงิดแสดงว่า ธาตุแท้กับ มโนธรรมลึกซึ้งไม่ทำงาน

·  ความรู้สึกกับสติปัญญามาก่อน บางครั้งความรู้สึกจะพาเราไปที่นั่นที่นี่ การรู้จัก 5 ศูนย์จะช่วยให้เรารู้เป้าหมายของตนเอง

·  การมีพฤติกรรมแย่ ๆ ตลอดเวลา ไม่ใช่ธาตุแท้ แต่เรียกว่าเป็นแผลในชีวิต เช่นชอบไปกินอาหารนอกบ้าน  ชอบมีกิ๊ก

·  วิธีสัมภาษณ์ ให้เล่า Success Story ให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง ให้เล่าแบบ Star Model ว่า Situation ในตอนนั้นมีอะไรเกิดขึ้น ตอนนั้น Take  Action อะไรไป  มีเรื่องไหนอึดอัดใจ แล้วตัดสินใจว่าทำอะไรจะเจอมโนธรรมลึกซึ้ง ว่าเมื่อตัดสินใจนั้น Base on อะไร

·  ตัวอย่างการค้นหา Being ในตนเอง

1. เคยมีคนชมคุณว่าอะไร

2. ถ้าเลือกเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งจะเลือกสัตว์อะไร แล้วอธิบายคุณสมบัติของสัตว์เหล่านั้นว่าทำไมอยากเป็น

3. ถ้าวันนี้ให้เวลาพักร้อน 2 ปี แล้วกลับมายังมีงานเหมือนเดิม จะเอาเวลานี้ไปทำอะไร

4. เมื่อคราวที่ฉันทุกข์ที่สุด ฉันผ่านมาได้อย่างไร

5. กิจกรรมที่ทำให้ฉันมีความสุขเมื่อได้ทำคือ

ท้ายสุดให้เขียนบุคคลที่ฉันชื่นชมคือใคร (อาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้) แต่ให้เขียนว่าเพราะเหตุใดเราถึงชื่นชมเขา

การวิเคราะห์ (ให้วาดลงกระดาษรูปโขดหิน แล้วให้เขียนข้อมูลจากข้อ 1-5 ดังนี้)

1. อะไรก็ตามที่เราเป็นตลอดเวลา ใส่ไว้ที่โขดหินเลย

2. อะไรก็ตามที่เราเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง ให้ใส่ไว้ที่ตรงน้ำขึ้นน้ำลง

3. อะไรก็ตามที่เราไม่เคยเป็นแต่อยากเป็น ให้ใส่ไว้ที่ใต้น้ำ

ถ้าตอบข้อ 1 เยอะหมายความว่าเรามีบุคลิกอย่างนี้ชัดเจน คนมองเห็นเรา

ถ้าตอบข้อ 2 เยอะหมายความว่ามีสภาพแวดล้อมทางวัตถุและตัวบุคคลไม่เอื้อให้เราเติบโตทางด้านนี้ แต่เราสามารถเป็นได้โดยหาสภาพแวดล้อมให้สอดคล้อง  เราสามารถเลือก Take Action กับพฤติกรรมของนายได้

ถ้าตอบข้อ 3 ถ้าเราไม่มีตรงนี้เราจะไม่สามารถเห็นตรงนั้นในตัวคนอื่น

*** เขียนทั้งหมดลงในกระดาษ A4 แล้วชื่นชมว่าสิ่งนี้เป็นธาตุแท้ที่มีอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น ใครมาว่าเราก็ให้ยื่นกระดาษแผ่นนี้ให้ดู ถ้าเขาไม่ดูก็บอกว่าให้ไปรักตัวเองซะ เพราะทุกคนมีธาตุแท้ที่ดีอยู่

·  การคิดลบหรือคิดบวกอยู่ที่เราสร้าง Story ในหัวเรา  

·  ถ้าธาตุแท้เรานิ่งเราจะไม่หวั่นไหว หรือตกเป็น Effect ของใคร

·  วัน ๆ หนึ่งเราใช้เงินในการใด เราก็จะเป็นแบบนั้น วัน ๆ หนึ่งคบเพื่อนแบบใดเราก็จะเป็นแบบนั้น

·  มนุษย์ทุกคนไม่ว่ามีพฤติกรรมแบบไหน เขามี Good Intention Behind เสมอ ในโลกนี้ไม่มีใครอยากเป็นคนเลว แต่เขาเป็นคนเลวเพราะเขามี Resource ที่จำกัดมากจนคิดไม่ได้ว่าไม่ดีต่อสังคมโดยรวม เช่น มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย เห็นเป็นเรื่องธรรมดา  หน้าที่ของเรา คือต้องเป็น Leader ที่ดึง Resource ที่ดีออกมาให้ได้

·  ในเรื่องนี้ไม่มีเรื่องไหนที่ถูกต้องหรือจริง 100 % ทุกเรื่องอยู่ที่การให้ความหมาย แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน เราต้องไม่ Judge คนอื่น หมายถึงเราให้อภัยได้  เพราะความสามารถของสมองของเรารับข้อมูลได้จำกัด  พบว่า รอบ ๆ ตัวเรามีข้อมูลสองล้านบิตต่อวินาที สมองรับได้ 134 บิตต่อวินาทีเท่านั้น หมายความว่าสมองต้องลบข้อมูลไปเกือบสองล้านบิตที่ทิ้งไป แต่ละคนเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน สมองจะลบบางส่วนที่ไม่จำเป็น เราบิดเบือนบางข้อมูลให้เป็นอย่างที่เรารับรู้มัน

ดังนั้นขอเสนอว่าเวลาจะไป Present  อะไร ให้สรุปแค่ 2-3 เรื่องเท่านั้น เนื่องจากความจำของสมองมีจำกัด

·  Key Factor ของคนที่ประสบความสำเร็จ อารมณ์ต้องดีและร่างกายต้องดีอยู่ใน Stage ตลอดเวลา เราเจอกันด้วย Behavior  ข่าวสารบางข่าวสารทำให้มี Stage ที่ดี เมื่อไรก็ตามที่อารมณ์ไม่ดี ทางแก้ไขวันไหนก็ตามที่อารมณ์ไม่ดี จิตตก ให้ขับรถร้องเพลงตลอดเวลา หรือนึกถึงเรื่องที่ดี ๆ  ให้ใช้ลักษณะ Phisiology เข้าช่วย หรือ Phychology เข้าด้วย ให้เช็คว่าอะไรก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกว่าอารมณ์ดีให้ทำสิ่งนั้น จะทำให้เราอารมณ์ดีขึ้น ให้ดึง Resource สิ่งนั้นมา

บางครั้งเมื่อเกิดความประหม่าทำให้ Presentation ไม่ดี วิธีแก้ไขคือให้ฝังสิ่งที่เคย Present แล้วประสบความสำเร็จตรงนั้นออกมาให้ได้

·  Stage คือ Phychology เมื่อเราไม่สบายเราจะทำอย่างไรให้ร่างกายดีขึ้น  ทำใจให้เข้มแข็งอย่าจิตตก แล้วจะรอด

·  What People think about you is non of your business ขอให้รักษาธาตุแท้ของเราให้ดี จักรวาลจะ Take care เราเอง อย่าทำตัวเป็น Effect ของคนอื่น เพราะชีวิตเราเป็นของเรา แต่อย่ายโส

ความกลัวทางจิตวิทยา มี 3 สิ่ง

1.กลัวไม่ดีพอ

2.กลัวคนไม่รัก

3.กลัวไม่รับเป็นพวก

  *** ให้เลือกเราทำอะไรก็ตามที่เราตรงกับธาตุแท้ของตัวเอง เราจะเป็น Leader แบบไหน ให้เราทำสิ่งที่เราคุ้นเคยหรือถนัด

·  การมีธาตุแท้แล้วไม่ประสบความสำเร็จแสดงว่าเรามี Fear

·  คุณสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวคุณไหม

·  การเป็นผู้ว่าฯ ที่ดีต้องเป็นคนที่เด็ดขาดและตัดสินใจเรื่องที่สำคัญได้ ต้องตัดความ Fear ให้หมด  กล้าตัดสินใจ และกล้า Challenge

คำถาม

·  มีอะไรในชีวิตนี้ที่อยากทำแต่ไม่ได้ทำ กลัวอะไร เราเชื่ออะไรอยู่

ความเชื่อที่สกัดกั้นความเจริญเติบโต  เช่น ยังมีเวลาพอ และความกลัวต่าง ๆ  ความกลัวบางครั้งมาจากธาตุแท้

ผู้ชายเป็นเพศนักล่า แต่ปัจจุบันผู้หญิงทำงานด้วย แสดงว่าผู้หญิงกำลังแย่งซีนผู้ชายเล่นทำให้ผู้ชายไม่มีที่ยืน ทำให้ไปยืนบ้านอื่น หรือเป็นเกย์เยอะขึ้นเป็นต้น ดังนั้นให้ผู้หญิงเล่นบทผู้หญิงให้เป็น ให้ผู้ชายบริหารจัดการเอง ผู้หญิงมีหน้าที่ทำทุกอย่างที่ผู้ชายหามาเพื่อแบ่งปันกับคนในบ้าน ผู้หญิงจะทำหน้าที่เหมือน Queen เป็นผู้ปกป้อง แต่อย่าทำตัวเป็น King ด้วย

Identity ของผู้ชายคือการเป็นทัพหน้า

สรุป  ไม่ต้องกังวลว่ากลัวอะไรขอให้เรา Awareness

Ecology

ทำอะไรที่เรา Feel good แล้วรู้สึกดี คือ ดีกับเรา ? ดีกับคนอื่น? ดีกับสังคมมวลรวม ?

เราควรทำ

Feel good เมื่อ good for me,good for other,good for the better good

บางครั้ง not feel good แต่ควรทำ เมื่อ good for me, good for other, good for the better good

เราจะเป็น Leader จากข้างใน

การที่เราคิดบวกได้ให้เข้าใจว่า

The Map is not the Territory หมายถึงแผนที่ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพียงแค่อยากเข้าใจจังเลยว่าทำไมเขาถึงคิดอย่างนี้

Human 6 core needs

1. Certainty / Security

2. Uncertainty /Variety

3. Connection & Love

4. Significant

5.Growth

6.Contribution

** ถ้า 4 ข้อแรกมีครบ เติมเต็ม ข้อ 5,6 จะมาเอง และเป็นบวกแน่นอน ให้ตัดสินใจว่าถ้าเรามีคุณสมบัติอย่างนี้เราจะเป็นใครได้อีก

   สรุปคือ ต้องอ่านให้ขาดทั้งตนเองและผู้อื่นว่า 1. ธาตุแท้มีอะไร 2. Fear  อะไร 3 . Need อะไร


ความรู้ที่ได้วันนี้ ( 29 ม.ค.2556)

ช่วงเช้า บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

คุณสมบัติผู้นำในหลายๆมุมมอง ... ทั้งทางทฤษฏีและประสบการณ์..พร้อมตัวอย่างผู้นำในอดีตต่างๆ

ทั้งนอกและในประเทศ / รวมทั้งใน กฟผ.

คุณสมบัติของผู้นำในสภาวะ / สถานการณ์ต่างๆในช่วงเวลานึง ไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนกัน


ช่วงบ่าย บรรยายโดย อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด 

ทำให้รู้จักมุมมองในการมองตัวเอง โดยเฉพาะเรื่อง Being หรือ ธาตุแท้

การวิเคราะห์ตัวตนตัวเอง

ความกลัวทางจิตวิทยา

กลัวไม่ดีพอ / กลัวคนไม่รัก / กลัวไม่รับเป็นพวก

** ผมขอสรุปสั้นๆน่ะครับ   ขอไปอ่านหนังสือการบ้านก่อน **


ชัยรัตน์ เกตุเงิน

วันนี้ผมได้รับความรู้และคุณสมบัติการเป็นผู้นำ โดยควรจะต้องปรับเปลี่ยน function ของผู้จัดการมาเป็นfunction ของผู้นำ  ตลอดจนแนวความคิดและกลยุทธ์ที่จะต้องบริหารคน  ให้สามารถนำความรู้และความสามารถของแต่ละคนออกมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์  รวมถึงการพัฒนาตนเองในเรื่องของความรู้  การปฎิบัติตนให้เกิดความยอมรับและเกิดความศรัทราของทีม  ซึ่งในช่วงที่ได้ฟังอาจารย์ พจนารถ ชีบังเกิด ผมยังเริ่มได้รู้ว่า ผมยังไม่รู้ธาตุแท้ของตนเองจริงๆ  โดยอาจารย์ได้แนะนำเรื่องCoachและวิธีวิเคราะห์ตนเองในเรื่องของ  ธาตุแท้ของตนเอง  / ความกลัว 3 อย่างของคน / ความต้องการ 6 อย่างของคน


นายชวลิต อภิรักษ์วนาลี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  29 ม.ค. 56

ช่วงเช้า  โดยอาจารย์จีระ - โดยสรุปอาจารย์พูดถึงเรื่องการเรียนรู้และการสร้างผู้นำ

ช่วงบ่าย  โดยอาจารย์พจนารถ - โดยสรุปอาจารย์พูดถึงเรื่องการค้นหาตัวตนของตัวเรา

ขออนุญาตจบรายการแต่เพียงนี้ครับ

ชวลิต  29 / 1 / 56  เวลา  22.39 น.

สมคิด พงษ์ชวนะกุล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 29 ม.ค. 2556

หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

  ผู้นำมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และสถานการณ์ขณะนั้น ผู้นำที่พึงประสงค์ในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับ ควรมีคุณสมบัติดังนี้

1.  มีความซื่อสัตย์ และยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง

2.  มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

3.  มีการเตรียมพร้อม หรือสร้างผู้นำรุ่นต่อไป

4.  ต้องมีเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกประเทศ

5.  ต้องสร้างความสมดุลในทุกด้าน

6.  ต้องสามารถบริหารความหลากหลาย

หัวข้อ Leading people

  ได้เรียนรู้วิธีการสำรวจธาตุแท้ของคน ซึ่งเราเองไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองเป็นอย่างไร ทั้งยังได้รู้การวิเคราะห์ หรือการมองการกระทำของคนว่า ทำไมเขาจึงทำอย่างนั้น อะไรควรจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เขาทำเช่นนั้น ซึ่งมองได้หลายมุมมอง


นายสาเรศ อินทุเศรษฐ

สรุปความรู้จากสิ่งได้เรียน

  การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ นั้นจะต้องรู้ตนเองว่าตนเองเป็นอย่างไรและสามารถนำสิ่งที่เป็นสิ่งที่ดี เป็นจุดแข็งของตนเองมาใช้ให้ผู้อื่นศรัทธาทำตาม อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ มองการณ์ไกล ประสงค์ความสำเร็จของเป้าหมาย เข้าใจและรู้ความต้องการของบุคคลอื่นเป็นอย่างไร คิดอย่างไร

การเป็นผู้นำมาพร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ  แต่ไม่ควรเป็นผู้นำเพราะตำแหน่ง ต้องเป็นผู้นำจากความรู้สึกภายใน ซึ่งสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้


นายภูวดา ตฤษณานนท์ 302597

สรุปเนื้อหาการบรรยายหัวข้อ การสร้างผู้นำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ และ Learning Forum Topic การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษ

บรรยายโดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556 ภาคเช้า (เวลา 09.00 น.-12.00 น.)

          ในการบรรยายดังกล่าวฯนั้นสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

1.   ศ.ดร. จีระฯ ได้บรรยายถึงผู้นำของประเทศต่างๆที่ประสบความสำเร็จและมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

2.   บรรยายถึงเครื่องมือต่างๆที่ช่วยในการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย 4L’s, 2R’s, 2I’s และ 3L’s

*นอกจากนั้นยังมีประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ Leadership Value (คุณค่าของความเป็นผู้นำ) ซึ่งเกิดจาก “TRUST” หมายถึง ความไว้วางใจและความศรัทธาในตัวผู้นำนั้นๆ ซึ่งในอนาคตนั้นกฟผ.จะต้องตระหนักและเตรียมความพร้อมในการสร้างผู้นำในองค์กรรวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันหมายรวมถึงการเข้าสู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง High Performance Organization (HPO)

 

 

สรุปเนื้อหาการบรรยายหัวข้อ “Learning People 1, 2”

บรรยายโดย อ. พจนารถ ชีบังเกิด

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556 ภาคบ่าย (เวลา 13.30 น.-18.30 น.)

ในการบรรยายภาคบ่ายสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1.   ในการที่จะพัฒนาตนเองนั้นจะต้องสามารถค้นหาตนเองให้พบธาตุแท้ของตนให้ได้เสียก่อน Who am I? ในการค้นหาตนเองนั้น อาจารย์ พจนารถให้ทำ Workshop และ แนะนำวิธีการค้นหาตนเอง ซึ่งเมื่อพบธาตุแท้ของตนแล้วนั้น เราจึงจะทราบว่า ตัวเรานั้นเหมาะกับสิ่งใด เราควรจะดำเนินชีวิตและวางแผนการดำเนินชีวิตไปในทิศทางใด เป็นต้น

2.   อาจารย์ฯแนะนำศาสตร์ของ Life Coaching บางส่วน ซึ่งการ Coaching

(วิธีการสอนงาน) นั้นจะสามารถช่วยให้บุคคลตระหนักและใช้ขีดความสามารถและศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ มั่นใจ และ ภาคภูมิใจ

3.   อาจารย์กล่าวถึง ความต้องการ 6 อย่างของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย

3.1       Certainty – มนุษย์ต้องการหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตเพื่อรับประกันความอยู่รอด

3.2       Variety/ Uncertainty – มนุษย์ต้องการความหลากหลายและความไม่แน่นอนเพื่อการยืดหยุ่นของอารมณ์ ความรู้สึก ยิ่งรับมือกับความหลากหลายและความไม่แน่นอนได้มากเท่าใดยิ่งแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น

3.3       Love and Connection – ความรักและสัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งจะช่วยเติมเต็มความรู้สึก จิตใจให้มีชีวิตชีวา ซึ่งได้มาจากคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง รวมถึงเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3.4       Significance – เป็นอีกความต้องการหนึ่งที่จะต้องบริหารจัดการให้ดี มนุษย์เราต้องการเป็นคนสำคัญ ยิ่งอยากเป็นบุคคลสำคัญมากเท่าไหร่ก็จะเกิดการเปรียบเทียบและแข่งขันกับผุ้อื่นมากเท่านั้น

3.5       Growth – การเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆธำรงค์อยู่ได้ มนุษย์จึงต้องการให้สิ่งต่างๆที่มีผลต่อตนเองพัฒนาและเจริญงอกงาม

3.6       Contribution – มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่การที่จะอยู่รอดเข้ากับผู้อื่นได้นั้น การอุทิศตนถือเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ควรมีเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลเสียสละเพื่อความอยู่รอดของสังคม

นายภูวดา ตฤษณานนท์

สรุปเนื้อหาการบรรยายหัวข้อ การสร้างผู้นำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ และ Learning Forum Topic การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษ

บรรยายโดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556 ภาคเช้า (เวลา 09.00 น.-12.00 น.)

          ในการบรรยายดังกล่าวฯนั้นสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

1.   ศ.ดร. จีระฯ ได้บรรยายถึงผู้นำของประเทศต่างๆที่ประสบความสำเร็จและมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

2.   บรรยายถึงเครื่องมือต่างๆที่ช่วยในการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย 4L’s, 2R’s, 2I’s และ 3L’s

*นอกจากนั้นยังมีประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ Leadership Value (คุณค่าของความเป็นผู้นำ) ซึ่งเกิดจาก “TRUST” หมายถึง ความไว้วางใจและความศรัทธาในตัวผู้นำนั้นๆ ซึ่งในอนาคตนั้นกฟผ.จะต้องตระหนักและเตรียมความพร้อมในการสร้างผู้นำในองค์กรรวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันหมายรวมถึงการเข้าสู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง High Performance Organization (HPO)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปเนื้อหาการบรรยายหัวข้อ “Learning People 1, 2”

บรรยายโดย อ. พจนารถ ชีบังเกิด

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556 ภาคบ่าย (เวลา 13.30 น.-18.30 น.)

ในการบรรยายภาคบ่ายสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1.   ในการที่จะพัฒนาตนเองนั้นจะต้องสามารถค้นหาตนเองให้พบธาตุแท้ของตนให้ได้เสียก่อน Who am I? ในการค้นหาตนเองนั้น อาจารย์ พจนารถให้ทำ Workshop และ แนะนำวิธีการค้นหาตนเอง ซึ่งเมื่อพบธาตุแท้ของตนแล้วนั้น เราจึงจะทราบว่า ตัวเรานั้นเหมาะกับสิ่งใด เราควรจะดำเนินชีวิตและวางแผนการดำเนินชีวิตไปในทิศทางใด เป็นต้น

2.   อาจารย์ฯแนะนำศาสตร์ของ Life Coaching บางส่วน ซึ่งการ Coaching

(วิธีการสอนงาน) นั้นจะสามารถช่วยให้บุคคลตระหนักและใช้ขีดความสามารถและศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ มั่นใจ และ ภาคภูมิใจ

3.   อาจารย์กล่าวถึง ความต้องการ 6 อย่างของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย

3.1       Certainty – มนุษย์ต้องการหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตเพื่อรับประกันความอยู่รอด

3.2       Variety/ Uncertainty – มนุษย์ต้องการความหลากหลายและความไม่แน่นอนเพื่อการยืดหยุ่นของอารมณ์ ความรู้สึก ยิ่งรับมือกับความหลากหลายและความไม่แน่นอนได้มากเท่าใดยิ่งแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น

3.3       Love and Connection – ความรักและสัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งจะช่วยเติมเต็มความรู้สึก จิตใจให้มีชีวิตชีวา ซึ่งได้มาจากคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง รวมถึงเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3.4       Significance – เป็นอีกความต้องการหนึ่งที่จะต้องบริหารจัดการให้ดี มนุษย์เราต้องการเป็นคนสำคัญ ยิ่งอยากเป็นบุคคลสำคัญมากเท่าไหร่ก็จะเกิดการเปรียบเทียบและแข่งขันกับผุ้อื่นมากเท่านั้น

3.5       Growth – การเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆธำรงค์อยู่ได้ มนุษย์จึงต้องการให้สิ่งต่างๆที่มีผลต่อตนเองพัฒนาและเจริญงอกงาม

3.6       Contribution – มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่การที่จะอยู่รอดเข้ากับผู้อื่นได้นั้น การอุทิศตนถือเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ควรมีเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลเสียสละเพื่อความอยู่รอดของสังคม

เอกรัฐ สมินทรปัญญา

ทำให้ได้รู้จุดมุ่งหมายในการอบรม
คือการพัฒนาตนเองและการพัฒนาองค์กร โดยการใข้การอ้างอิงจากผู้รู้ทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ โดยวิทยาการผู้สอนคือ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และอ. พจนารถ ชีบังเกิด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่บรรยาย สูงมาก

ซึ่งการนำสิ่งที่ได้มาประยุกต์ใช้กับตนเอง และองค์กร นั้น
คือการได้ทราบว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำ (Leadership) ในรูปแบบค่างๆ
มีแบบไหนบ้าง และเนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง
หลังจากนั้นจึงจะคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งในมุมมองของผมคิดว่าควรมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งต่างๆ และมีการฝึกฝน และคัดสรร ผู้ที่มีศักยภาพ ในการที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว 



 

 

วันที่ 29 มกราคม 2556

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

1. ช่วงเช้า ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-  ได้รู้แนวคิดของผู้นำหลายๆคน ทั้งนอกและในประเทศ  รวมทั้งผู้นำของ กฟผ. ยกตัวอย่างผู้นำของจีนทั้งหมด 5รุ่น   และผู้นำของกฟผ. 11 ท่าน

-  ได้รู้ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร

-  ได้รู้ชนิดของผู้นำ ผู้นำที่ดีต้องเป็นอย่างไร

-  ได้รู้คุณสมบัติของผู้นำในสภาวะและสถานการณ์ที่ต่างกัน คุณสมบัติที่ใช้จะไม่เหมือนกัน

2. ช่วงบ่าย อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

-  ได้ทดลองหา Being หรือ ธาตุแท้ของตัวเอง

-  ได้รู้ศูนย์ 5 ศูนย์ในตัวเรา

  • ธาตุแท้
  • สติปัญญา
  • ความรู้สึก เช่น เหงา รัก สะเทือนใจ โกรธ เสียใจ
  • ร่างกาย ต้องรู้จักร่างกายของเราว่าสุขภาพเป็นอย่างไร ร่างกายส่งสัญญาณอย่างไร ถ้าร่างกายไม่ Perfect ทั้ง 4 ศูนย์จะตายได้
  • มโนธรรมลึกซึ้ง อยู่ใกล้กับ ธาตุแท้ เป็น Believe Conscious เช่นคุณธรรมทั้งหลาย

-  ได้รู้ความกลัวทางจิตวิทยา มี 3 สิ่ง

  • กลัวไม่ดีพอ
  • กลัวคนไม่รัก
  • กลัวไม่รับเป็นพวก

-  ความต้องการ 6 ประการของมนุษย์ (Human 6 core needs)

  • Certainty / Security
  • Uncertainty /Variety
  • Connection & Love
  • Significant
  • Growth
  • Contribution


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 29 ม.ค. 56

- การเป็นผู้นำที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

- แนวทางหรือวิธีการที่จะพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำ

-  ธาตุแท้ ความกลัว และความต้องการของตนเอง จะบ่งบอกว่ามีภาวะความเป็นผู้นำหรือไม่

กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สิ่งที่ได้รับจาก วันนี้ (29 ม.ค. 2556)  ของข้าพเจ้าพอสรุป ได้ ดังนี้

1.  รับทราบศาสตร์ด้านอื่นๆทางจิตวิทยา ปรัชญา  เกิดมิติมุมมองในหลายด้านมากขึ้น

2.  ได้รับทราบ การเป็นผู้นำมีทฤษฎีระบุมีได้หลายลักษณะ ต้องมีเครือข่าย และที่สำคัญ คือ ผู้นำสามารถสร้างได้  อีกเรื่องที่สำคัญ คือผู้นำต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นข้าพเจ้าจะอาศัยวิธี จากการฟัง ประสบการณ์ของผู้นำต่างๆ รวมทั้ง การอ่านหนังสือให้มาก  มาใช้ปรับตัวเอง

3.  ได้รับทราบว่าตัวเองเป็นใคร (Human being) ในมุมมองอีกด้าน ทำให้ทราบว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไร เมื่อออกจากงานมีจุดมุงหมายทำอะไรต่อไปหลังจากนั้น

4.  ได้ทราบถึงภาวะผู้นำ ปรับเปลี่ยนจากตัวเราก่อน เกิดความคิดด้านบวกต่อตนเอง และผู้อื่น จากการที่รับทราบถึงการรับรู้แต่ละบุคคลแตกต่างกัน จากการกรอง DDG ส่งผลให้เกิดการกระทำต่างๆ ขึ้น

5.  ได้รับทราบถึงความต้องการ 6 ด้านของคน คือ Certainty/Security , Uncertainty/Variety, Connection&Love , Significance ,  Growth และ Contribution ที่เมื่อมี 4 ข้อแรกแล้ว อีก 2 ข้อจะมีขึ้นมาเอง นอกจากนี้ยังมีเรื่องความกลัว 3 อย่าง คือ กลัวไม่ดีพอ กลัวไม่เป็นที่รัก และกลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง  จาก 6 Needs 3 Fear ทำให้ข้าพเจ้ารู้จักตนเองมากขึ้น  ว่ามีทั้ง 6 Needs 3 Fear แล้วแต่จะอยู่ในสถานการณ์ใด อะไรจะมากกว่า ทำให้เกิดการผลักดันให้เปลี่ยนแปลงไปในทางดี

6.  ได้พบปะกับบุคคลต่าง เกิดความสัมพันธ์ รับมุมมองในหลายด้าน 


สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 29 29 29/2929มกราคม 2556

ในช่วงเช้าหลังพิธีเปิดการอบรมและปฐมนิเทศเป็นเรื่อง “การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ” โดย อ.จิระฯ ได้รับทราบในคุณสมบัติที่ดีๆของผู้นำที่โดดเด่นหลายๆท่าน รวมทั้งแนวทางที่จะสร้างภาวะผู้นำในตัวเราในตัวเราเองที่เหมาะสมกับ กฟผ. และให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก กฟผ. และขอขอบคุณแต่ละกลุ่มที่วิเคราะห์เสนอแนะแนวคิดของผู้นำแบบต่างๆรวมทั้งแนวคิดในการสร้างผู้นำในอนาคตของ กฟผ.

ในช่วงบ่ายเป็นช่วงของ อ.พจนาถ ซีบังเกิด ได้ให้แนวคิดในการนำคนต้องเข้าใจคนเข้าใจธาตุแท้ เข้าใจความกลัว และเข้าใจความต้องการ ของคน จึงทำให้ได้รับทราบการค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเรา เข้าใจการมองตนเอง การนำธาตุแท้ของเราออกมาใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้เราเป็นผู้นำด้วยตัวตนที่แท้จริงของเราเอง รวมทั้งการสร้างความสุขในการทำงานหากทำงานแล้วสนุกและเพลิดเพลินกับสิ่งที่ทำ ได้รู้การวิเคราะห์พฤติกรรมโดยพิจารณาความกลัวของคนทั้ง3 อย่างคือ กลัวไม่ดีพอ กลัวไม่เป็นที่รัก และกลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ทำให้มีการบ้านต้องกลับไปทบทวนหลายๆเรื่องที่เป็นสิ่งที่ดีหากทำแล้วเรารู้สึกดี ดีต่อตัวเราด้วย และดีต่อผู้อื่น ดีต่อสังคมส่วนรวม แต่เรายังไม่ทำอีกไม่รู้ว่ากลัวอะไรถึงไม่ทำ

สุดท้ายได้รับฟังเพลงเพราะๆจากอาจารย์ ทีมงาน และเพื่อนๆในรุ่น....ร้องเพลงเก่งทุกท่านเลยครับ 


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 29 ม.ค. 56

หัวข้อการสร้างผู้นำแห่งทศวรราใหม่ที่ กฟผ.

ได้ทราบความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ  ชนิดของผู้นำ  คุณสมบัติที่ผู้นำควรมี เช่น การสร้างศรัทธา(Trust) มีความกล้าหาญ มองการณ์ไกล คิดนอกกรอบ คิดข้ามศาสตร์ ใฝ่รู้ อดทน  รับฟัง ให้เกีรติ มีเมตตา มีความซื่อสัตย์ จริยธรรมและคุณธรรม เป็นต้น  ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องรักษาความสมดุลของข้อดีในแต่ละประเภท รวมถึงความจำเป็นในการสร้างผู้นำรุ่นใหม่

หัวข้อ Leading People

ได้ข้อคิดที่ดีในการสรุปประเด็นว่าเรื่องที่เรียน สรุปได้ 3 เรื่อง คือเรื่อง ธาตุแท้ พื้นฐานความกลัวของมนุษย์ และความต้องการพื้นฐาน  ซึ่งจะทำให้เราค้นพบความสามารถ หรือความกลัวในตัวเรา ที่อาจยังค้นไม่พบ เพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเองต่อไป รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไป ตามพื้นฐาน(ธาตุแท้ มโนสำนึก สติปัญญา และการรับรู้ตามสภาพแวดล้อมที่ผ่านมา)


เรียน อาจารย์จิระ

สิ่งที่ได้จากการอบรมในวันที่ 29 มกราคม 2556

หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

key word ของอาจารย์ที่โดนใจวันนี้คือ  “ผู้นำที่ดี ต้องสร้างแรงบันดาลใจมากกว่าการสั่งการ”

และได้เรียนรู้ถึงวิธีที่จะเสริมสร้าง/เพิ่มพูนคุณสมบัติที่ดีในการเป็นผู้นำขององค์กร

เนื่องจากไม่เคยมีความคิดหรือคาดหวังว่าจะได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง  เพียงแต่ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดี  จึงไม่เคยคิดที่จะเสริมสร้างหรือพัฒนาคุณสมบัติในด้านความเป็นผู้นำ  แต่วันนี้ได้ตระหนักถึงการเตรียมตัวในด้านนี้ให้พร้อม  เนื่องจาก กฟผ. จะต้องดำเนินภารกิจในภาวะที่ยากกว่าเดิม  ดังนั้นถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูง  ก็ควนพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะช่วยงาน กฟผ. ได้ดีขึ้น

และสุดท้ายคือ ได้การบ้านมากมายค่ะ


หัวข้อ Leading People

ได้ค้นพบ ธาตุแท้ ความต้องการ และความกลัว ของตัวเอง  ซึ่งเป็นแนวทางที่จะดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้มากยิ่งขึ้น 

และจะนำวิธีค้นหาธาตุแท้  การวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ (6 Core Needs of Human Beings) และการวิเคราะห์ความกลัวของมนุษย์ (Universal FEARS of Human Being)  ไปเป็นแนวทางในการปฎิสัมพันธ์กับผู้คน  ทั้งในที่ทำงานและนอกที่ทำงาน

ขอบคุณค่ะ

พนา สุภาวกุล

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

  ผมขอสรุปความรู้ที่ได้เรียนวันนี้ ดังนี้

  จากเรื่องผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

  1.ได้รู้วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ โดยใช้ 4L,2R ,2I ,3L ,C&Eและ C-U-V

  2.ผู้นำและผู้ตามต่างกันอย่างไร

  ผู้นำให้ความสำคัญเรื่องคน ใช้วิธีสร้างศรัทธากับลูกน้อง มองอนาคตระยะยาวและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  ผู้จัดการให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นระบบ ใช้วิธีควบคุมลูกน้อง มองผลงานระยะสั้น และมักจะไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

  3.ผู้นำมีหลายแบบดังนี้

  - Trust/Authority

  - Charisma

  - Situation

  - Quiet Leader

  4.คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ ในประเทศไทย

  - Integrity Leadership Style

  - Grooming Future Leader

  - Global Network Leadership

  - Balancing Style Leaderchip

  - Leadership Of Diversity And Innovations

  4. การสร้างผู้นำ ใช้ 5 ทฤษฎี 5E

  - Example

  -Experience

  -Education

  -Environment

  -Evaluation

 

  ความรู้จากอาจารย์ พจนารถ เรื่อง Leading People

  1.ได้เรียนรู้ ศูนย์ทั้ง 5 ของมนุษย์ซึ่งประกอบไปด้วย ธาตุแท้ สติปัญญา ร่างกาย ความรู้สึก และมโนธรรมลึกซึ้ง และ ทำให้รู้วิธีค้นหาตัวเอง

  2.รู้ 6 Core Needs Of Human Beings

  - Certainty/Security

  - Uncertainty/Variety

  - Connection & Love

  - Significance

  - Growth

  - Contribution

  3. Fears Of Human Being

  - Not Good Enough

  - Not Being Loved

  - Not Belong To

อติชาติ  โซวจินดา

 


ความรู้ที่ได้ในการเรียนของวันที่ ๒๙ ม.ค.๒๕๕๖

ช่วงเช้า บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

สิ่งที่ได้รับ และร่วมออกความคิดเห็น

ได้เรียนรู้ การปรับเปลี่ยนจากผู้จัดการเป็นผู้นำ รวมถึงการพัฒนาตนเองในเรื่องของความรู้  การปฎิบัติตนให้เกิดความยอมรับและเกิดความศรัทราของทีม  คุณสมบัติและหลักการของผู้นำ ในหลายๆมุมมอง ... ทั้งทางทฤษฏีและประสบการณ์..พร้อมตัวอย่างผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ทั้งนอกและในประเทศ / รวมทั้งใน กฟผ.

คุณสมบัติของผู้นำในสภาวะ / สถานการณ์ต่างๆในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

เราอาจจะนำคุณสมบัติและหลักการของผู้นำเหล่านั้นมาวิเคราะห์ แล้วมากำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ แต่ต้องให้มีเป้าหมายไปในทางเดียวกันกับขององค์กร

ในช่วงบ่าย บรรยายโดย อาจารย์พจนารถ ชีบังเกิด ได้เรียนรู้การหาธาตุแท้ของตนเอง โดยอาจารย์ได้แนะนำเรื่อง Coachและวิธีวิเคราะห์ตนเองในเรื่องของ  ธาตุแท้ของตนเอง ศูนย์ 5 ศูนย์ในคน

/ ความกลัว 3 อย่างของคน / ความต้องการ 6 อย่างของคน

เราอาจจะนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ในหลายสถาณะการณ์ เช่น การจะคัดเลือกบุคคลเพื่อมาทำหน้าที่เป็นผู้นำในส่วนงานในสังกัด โดยใช้หลักการหาธาตุแท้มาเป็นปัจจัยหนึ่งในการคัดเลือกให้เหมาะสมกับภาระกิจที่จะมอบหมายไห้

สำหรับวันนี้ขอออกความเห็นโดยสรุปเพียงเท่านี้ก่อนครับ


สุทธิชัย จูประเสริฐพร

ขอสรุปความรู้และสิ่งที่ได้จากการเรียนในวันแรกอ.ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้เริ่มตั้งแต่ 4 L's 2 R's 2i's 3L's C & E Theory C - U - V  แนะนำรุ่นพี่ทั้ง 8 รุ่น แนะนำหนังสือดีให้การบ้านรู้สึกเหมือนกลับไปเป็นเด็กนักเรียนอีกครั้ง จากนั้นก็พูดถึงการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.ซึ่ง อ.ก็กรุณานำแนวคิดนักวิชาการต่างผู้นำยุคต่างๆ ตัวอย่างผู้นำประเทศไทย ประเทศอื่นๆ ผู้นำกฟผ.แต่ละสมัยซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง จากนั้นให้พวกเราทำ WORKSHOP เพื่อหลักการแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับการสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ซึ่งทำให้พวกเรามีความรู้ว่าผู้นำกับผู้จัดการมีความแตกต่างกันจริงๆนะสำหรับภาคบ่าย ต้องขอขอบคุณอ.Jimi ที่นำเรื่องที่ไม่ค่อยจะนำมาสอนพวกเราทำให้เรารู้ธาตุแท้ BEING ของตัวซึ่งทำแล้วก็รู้สึกว่าจะใกล้เคียงความจริงมากเลยคนอื่นๆผมไม่ทราบนะแต่สำหรับผมใกล้เคียงชีวิตจริงมากเลยภาคค่ำพวกเราสนุกสนานกันถึงแม้ว่าจะยังไม่ทั่วถึงแต่พี่ทินกรก็มาแสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมไม่จำเป็นต้องร้องเพลงก็ได้ ได้ยิน อ.จีระบอกว่าพวกเราต้องมีตลกบ้างผมก็เห็นด้วยนะแต่ในชีวิตการทำงานปัจจุบันเรามักจะตลกไม่ออกถ้ามีเพื่อนท่านจะแสดงก็ยินดีนะครับขอบคุณ กฟผ.ที่ส่งเราอบรมหลักสูตรดีๆเช่นนี้

สุทธิชัย จูประเสริฐพร

ขอสรุปความรู้และสิ่งที่ได้จากการเรียนในวันแรกอ.ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้เริ่มตั้งแต่ 4 L's 2 R's 2i's 3L's C & E Theory C - U - V  แนะนำรุ่นพี่ทั้ง 8 รุ่น แนะนำหนังสือดีให้การบ้านรู้สึกเหมือนกลับไปเป็นเด็กนักเรียนอีกครั้ง จากนั้นก็พูดถึงการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.ซึ่ง อ.ก็กรุณานำแนวคิดนักวิชาการต่างผู้นำยุคต่างๆ ตัวอย่างผู้นำประเทศไทย ประเทศอื่นๆ ผู้นำกฟผ.แต่ละสมัยซึ่งมีความเหมือนและแตกต่าง จากนั้นให้พวกเราทำ WORKSHOP เพื่อหลักการแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับการสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ซึ่งทำให้พวกเรามีความรู้ว่าผู้นำกับผู้จัดการมีความแตกต่างกันจริงๆนะสำหรับภาคบ่าย ต้องขอขอบคุณอ.Jimi ที่นำเรื่องที่ไม่ค่อยจะนำมาสอนพวกเราทำให้เรารู้ธาตุแท้ BEING ของตัวซึ่งทำแล้วก็รู้สึกว่าจะใกล้เคียงความจริงมากเลยคนอื่นๆผมไม่ทราบนะแต่สำหรับผมใกล้เคียงชีวิตจริงมากเลยภาคค่ำพวกเราสนุกสนานกันถึงแม้ว่าจะยังไม่ทั่วถึงแต่พี่ทินกรก็มาแสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมไม่จำเป็นต้องร้องเพลงก็ได้ ได้ยิน อ.จีระบอกว่าพวกเราต้องมีตลกบ้างผมก็เห็นด้วยนะแต่ในชีวิตการทำงานปัจจุบันเรามักจะตลกไม่ออกถ้ามีเพื่อนท่านจะแสดงก็ยินดีนะครับขอบคุณ กฟผ.ที่ส่งเราอบรมหลักสูตรดีๆเช่นนี้


วันที่ 29 มกราคม 2556 สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. อบรมภาวะผู้นำมาหลายหลักสูตร วันนี้ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหาร วันนี้ อ.จีระ มาแบบแรงเต็มร้อย ทำให้ดูน่าสนใจต้องติดตามครับ

เนื้อหาพอจับได้ว่า แนวทางพัฒนาผู้บริหารอย่างเป็นระบบมีอะไรบ้างและทำอย่างไร คือ ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนมุมมอง คิดนวัตกรรมสร้างสรรค์พัฒนา เสริมทักษะ สร้างทัศนะคติเชิงบวก เสริมสร้างคุณภาพกายและจิตใจให้มีความสุข เมื่อเติมพลังให้มีพลังในการทำงาน ปรับปรุงบุคลิกภาพเพื่อสร้าง Trust

ผมคิดว่าผู้นำควรจะ  คิดกว้าง คิดบวก มีฝัน สร้างศรัทธา กล้าคิดกล้าทำ มีมาตรฐาน กลัวบาป ใฝ่รู้ส่งเสริมความรู้ สร้างสัมพันธ์ภายในภายนอก  สร้างความไว้ใจเหมือนญาติมิตร ไม่ใช่แค่คนรู้จัก

เป็นการบ้านที่ต้องคิดต้องทำ เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นเพื่อรักษาองค์กรของเราให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนในโลกแห่งโลกาภิวัตน์  AEC การแข่งขัน การเติบโต

สิ่งที่ต้องกลับมามองตนเองว่าเราอยู่บนบทบาทไหนระหว่าง ผู้นำ / ผู้บริหาร เพื่อทิ้งระยะห่างในแต่ละบทบาทบนเส้นแบ่งได้ถูกต้องหรือยัง

2. พึงรู้ว่าคนเรากลัวอะไรและต้องการอะไร อาจารย์อธิบายได้หมดจดเห็นภาพ ฟังบรรยายไม่น่าเบื่อเรื่องธาตุแท้ของเรา ภาพที่เห็นยังเทาๆ แต่รู้วิธีค้นหา จะนำไปทบทวนใหม่ครับ


เกรียงไกร ไชยช่วย

-ผู้นำมีหลายประเภท  ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์  ที่สำคัญต้องเป็นคนดี  เพราะการเป็นคนดีจะทำให้สามารถโน้มน้าวผู้ตามให้ปฎิบัติตามได้อย่างยั่งยืน  บนพื้นฐานของความเชื่อถือ ความศรัทธา

-ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์  มีความใฝ่รู้ในทุกมิติ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ เทคโนโลยี

-ผู้นำสร้างได้  น้อยคนที่จะเป็นผู้นำแต่กำเนิด  (Champions are trained ,not bor n.)

-การสร้างผู้นำมีหลายวิธี เช่น  7L’s (4L’s+3L’s),2R’s,2I’s,C&E,C-U-V, etc.  ไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละบริบทนั้นๆ  การเรียนรู้อย่างบูรณาการ รู้จักคิด  รู้จักวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ  จะเป็นแนวทางทื่ดีในการเรียนรู้

-ความกลัว  เป็นอุปสรรคต่อภาวะการเป็นผู้นำ แต่ในเวลาเดียวกันก็สามารถเป็นแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ขึ้นอยู่กับว่า เรามีมุมมอง  มีวิธีจัดการความกลัวนั้นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร

-การค้นหาตัวตน(ธาตุแท้) ของตนเองให้พบ จะทำให้กระบวนการตัดสินใจได้ถูกต้อง สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์  หรือเป็นเบี้ยล่างของสติปัญญาที่ไร้ซึ่งมโนธรรมลึกซึ้ง

   เกรียงไกร  ไชยช่วย 

  30  มกราคม 2556


พลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

29 ม.ค. 56

ผู้นำต้อง

มองการณ์ไกล มีคุณธรรม และใฝ่รู้

ผู้นำมีหลายลักษณะ

ธาตุแท้ของคน

การเป็นผู้นำ คือต้องนำคนอื่นให้ได้ แลที่สำคัญ ต้องนำตนเองก่อน

Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

30 มกราคม 2556

โดย    อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

·  สีสันทำให้จดจำได้ดีขึ้น

·  Mind Map ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน

·  Mind Map ทำให้สรุปเรื่องได้ดี คิดแตกแขนงได้มากมาย

·  Mind Map สามารถเรียนรู้ได้ทุกวัย

·  ยึดหลักไคเซน เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องให้ดีกว่าเดิมด้วยตนเอง พัฒนา Mind Map ให้ดีขึ้น

· เราจดบันทึกเชิงเส้น ตัวหนังสือมากๆมาตลอด ซึ่งต่างจาก Mind Map

กิจกรรม1 อ่าน 16 จำให้ได้ภายใน 16 วินาที

ปัญหาคือจำไม่ได้แม้จะเป็นคำที่ง่าย สรุปแล้ว ตัวเลขและตัวหนังสือทำให้จำยาก
สมองไม่ชอบจำตัวหนังสือ

·  ไอน์สไตน์ บอกว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีอยู่แล้ว
แต่จะเพิ่มพูนเรื่อยๆถ้าฝึกใช้จินตนาการสร้างความรู้

วีดิโอ

·  สมองมาขนาดเท่ากับ2 กำปั้นของคน

·  สมองน้ำหนัก 2% ของร่างกายแต่ใช้พลังงาน 1 ใน 5 ของร่างกาย

·  คนประสบความสำเร็จใช้สมอง 2 ซีกพร้อมๆกัน เหมือนหยิน-หยาง

·  สมองซีกซ้าย เกี่ยวกับเรื่องวิชาการ ภาษา วิทยาศาสตร์ เหตุผล คิดเลข จัดลำดับ มองแยกส่วน

·  สมองซีกขวา เกี่ยวกับเรื่องผ่อนคลาย จินตนาการ อารมณ์ ดนตรี ศิลปะ มองภาพรวม

·  ใช้สมองเป็นการบำรุงสมอง

เนื้อหา (ต่อ)

·  เซลสมองมีแสนล้านเซล

·  ฝึกสมอง โดยคิดเลขในใจ เล่นเกมโซโดกุ อักษรไขว้ หมากฮอส

·  ได้รับความรู้แล้วนำความรู้มาใช้กลายเป็นประสบการณ์ บ่อยเข้ากลายเป็นนิสัยและธรรมชาติ

กิจกรรม 2 ฟังแล้วจำเป็นลำดับ

·  ปัญหาคือ จำลำดับต้นๆมาก แต่ท้ายๆได้นิดหน่อย เรียกว่า Recency Effect

·  ถ้ามีการพักเบรกจะทำให้กลับมาจำได้ดีขึ้น
·  การทบทวนทำให้จำได้ดี

· การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูลทำให้จำได้มากขึ้น
· อะไรที่เด่นก็ทำให้จำได้

· ครั้งแรกที่เราประทับใจ เราจะจำแม่นยำ

· เอาของที่มีมาจำเป็นหมวดหมู่ จินตนาการต่อยอดได้

· การมีอารมณ์ร่วมจะเป็นความจำระยะยาวได้

วีดิโอ

·  แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์โรจนสุนันท์ กล่าวว่า พ่อแม่ให้ดูหนังแล้วสรุปว่าได้บทเรียนอะไร ทำให้สรุปอะไรได้เร็ว

กิจกรรม จำภาพ

·  ภาพ สีทำให้จำได้เกินครึ่ง


ช่วงแสดงความเห็น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

· เมื่อวานนี้ ได้เรียน Balancing way

· อยากให้ทุกคนใช้ Mind Map ประกอบการทำงานให้ดีขึ้น ทำให้ผ่อนคลายในวิธีคิดและทำงาน

· เราต้องจับประเด็นหลักๆ 

· สมัยผมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเข้าประชุมไม่เกิน 2 ครั้ง ปัญหาคือประชุมมากเกินไป
จึงขาดการใช้ชีวิตแบบ Balancing way

· ต้องสร้างชีวิตให้มีความพอดีทุกๆด้าน

คำถาม

· บางทีสมองคิดเรื่อยๆจะทำให้นอนไม่หลับ วิธีปิดสวิตซ์สมอง ตอนนอนไหม

ตอบ

· ไม่ควรดูหนังผีหรือสยองขวัญตอนกลางวัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

· ควรคิดถึงธรรมะมองโลกในแง่บวก จะทำให้นอนหลับ

· ควรสอนเรื่อง Deep Sleep นอนหลับลึกไม่ฝัน

เนื้อหา (ต่อ)

· เวลาดู Mind Map ต้องเริ่มจากตรงกลาง (แก่นแกน) ก่อน

· ต่อมาดูที่กิ่งแก้ว (ประเด็นหลัก)

· ต่อมาดูที่กิ่งก้อย(ประเด็นรอง)

· ในการทำ Mind Map

· วางกระดาษแนวนอน

· เริ่มแก่นแกนก่อน เป็นหัวเรื่อง กลางหน้ากระดาษ

· เขียนกิ่งแก้วต่อออกมาจากแก่นแกนซึ่งเป็นประเด็นหลัก

· เขียนกิ่งก้อยซึ่งเป็นประเด็นรองต่อออกมาจากกิ่งแก้ว
 
ใช้ Keyword เขียนใน Mind Map และมีเส้นรองรับ อาจจะใช้ภาพประกอบก็ได้

· มองภาพรวม ก่อนคิดลึก

นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

วันที่ 29 มกราคม 2556
เป็นวันแรกที่เข้ารับการอบรม EADP รุ่นที่ 9
ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เข้ารับการอบรม
เนื่องจากเป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหารที่ผู้บริหารระดับสูงคัดเลือกพวกเราเข้ามาเรียน
ผมเตรียมตัวมาแต่เช้า



ช่วงเช้าเป็นเรื่องภาวะผู้นำและการเป็นผู้นำที่ดี
รวมทั้งทำงานกลุ่ม 3หัวข้อ Integrity Leadership Style และ Transparency Leadership Style โดยกลุ่มได้สรุปในเรื่องการทำยุทธศาสตร์,
คำนิยามในเรื่องหลักนิติธรรม, คุณธรรมและความโปร่งใส



พอตอนพักเที่ยงก็มีเจ้าหน้าที่มาเชิญให้ทานข้าวเป็นเพื่อนอาจารย์
(ศ.ดร.จีระ)  และอ.พจนาถ (Jini)
รู้สึกดีใจที่ได้นั่งร่วมสนทนากับท่านทั้ง 2 และเพื่อนร่วมรุ่นอีก 2
ท่าน (คุณมานิตย์, คุณพนา) พอตอนบ่ายเป็น อ.พจนาถ
ได้เรียนเรื่องการค้นหาธาตุแท้ของฉัน, ความต้องการ 6 ประการของมนุษย์และความกลัว (Fears)
1. Not good enough, 2. Not being Loved, 3. Not belong to



สรุปตอนเย็นมีงานเลี้ยง
ผมได้ขึ้นไปร้องเพลงคนสุดท้ายและเพลงที่ผมร้องคือ “รางวัลแด่คนช่างฝัน” จบงาน 2  ทุ่ม โอกาสหน้าพบกันใหม่
“สวัสดีครับทุกท่าน”




เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
วันที่
30 ม.ค. 56

หัวข้อ Mind Mapping สำหรับผู้บริหารฯ

   ได้ทราบแนวคิดในเรื่องการสร้างแผนที่ความคิดซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการจำ วางแผน และตัดสินใจ  และทำให้ทราบถึงธรรมชาติของความจำ  และวิธีที่จะทำให้จำเรื่องต่างๆได้ดียิ่งขึ้น เช่น เราจะจำเรื่องในช่วงต้นได้มาก แล้วน้อยลงเรื่อยๆ  และจะจำได้ดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้าย ในลักษณะท้องคลื่น จึงควรมีการแบ่งพักเป็นระยะ
นอกจากนี้ยังมีวิธีทำซ้ำๆ สร้างความเชื่อมโยง รวมถึงเรื่องที่เด่นหรือแปลก ก็จะทำให้จำได้ง่ายขึ้น
 


หัวข้อ Creative Thinking and Value Creation

   ได้มุมมองในเรื่องการคิดบวก คิดเป็นระบบ และความคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจหลายเรื่อง ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับ กฟผ.หากมีการนำไปดำเนินการ เช่น

   -การโฆษณายุคใหม่ แบบบอกต่อโดยให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาสัมผัสหน่วยงานของเราให้รับทราบจากประสบการณ์ตรง

   -การสนับสนุนหน่วยงานที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาวิจัยเรื่องนกเงือก

   -EGAT Tree โดยทำแผงโซลาร์เซล รูปต้นไม้ในอุทยานหรือสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้ไฟฟ้าตามความจำเป็น เช่น ชาร์จโทรศัพท์มือถือ

หัวข้อ การเลือกหัวข้อโครงการ

   ได้รับความรู้และคำปรึกษาในการทำโครงงาน



วันที่ 29 มกราคม 2556

หัวข้อ  การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

วัตถุประสงค์  :  เพื่อสร้างผู้นำใน กฟผ. โดยนำเสนอหลักการ,แนวคิดของ และ Style การทำงานของ

  ผู้นำ ที่ประสบความสำเร็จในโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน  โดยมี Case Study เพื่อฝึก

  การวิเคราะห์ ให้เป็นรูปธรรม 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

1.  Leader ต้องมองภาพใหญ่ แบบ Outside looking in โดยมองผลกระทบในมิติที่เป็น Global ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเดิมๆที่เคยทำอยู่

2.  Model ในการเป็นผู้นำมีหลายแบบ ในการสร้างและคัดเลือกผู้นำ ที่จะประสบความสำเร็จ  ต้องพิจารณาจากสถานการณ์ ทิศทางและความจำเป็นของธุรกิจเป็นหลัก

การ Apply ใช้กับ กฟผ. : 

ในการสร้างผู้นำ กฟผ.ควรมีการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคตและคุณสมบัติ  (Profile) ของผู้นำในแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจนทั้งในแง่ ความรู้  ขีดความสามารถและคุณลักษณะส่วนบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือก และกำหนดแผนการพัฒนาที่มีเป้าหมาย  รวมทั้งต้องมีการพัฒนาเตรียมผู้นำล่วงหน้าเพื่อทดแทนการเกษียณอายุโดยเฉพาะในตำแหน่งที่เป็น Key สำคัญ

หัวข้อ  Leading People

สิ่งที่ได้เรียนรู้  :  รู้ว่าความเป็นตัวเอง ประกอบด้วยหลายอย่างทั้งสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด (ธาติแท้) และ   

  อื่นๆเช่น สติปัญญา ร่างกาย มโนธรรม ความรู้สึก แต่สิ่งเหล่านี้จะถูกอิทธิพลจาก

  สิ่งแวดล้อมด้านวัถุและบุคคลซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือเบี่ยงเบนไป  แต่การที่รู้จัก

  และเข้าใจตนเอง ทำให้เราสามารถจะมีสติในการแก้ไขปัญหา และปรับตัวเองให้หมาะสม

  กับแต่ละสถานการณ์และแต่ละบุคคลได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน


Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนากฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

30 มกราคม 2556

โดย  อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

·  ผมเป็นนักวิจัย อาจารย์และนักธุรกิจ ทุกอย่างที่จะนำเสนอ ได้ทำและประสบความสำเร็จไปแล้ว

·  ผมถวายงานในหลวง

·  ผมถวายสิทธิบัตร 3 ใบคือ

·  Cottage Industry

·  Supply Chain Management สำหรับเรื่องหญ้าแฝก

·  การใช้ประโยชน์เยื่อหญ้าแฝก

·  ในหลวง  ตรัสว่า เราทำหลายอย่างเกี่ยวกับหญ้าแฝก แต่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือรักษาหน้าดิน ถ้าชาวบ้านไม่ทราบว่าหญ้าแฝกชนิดไหนใช้ทำอะไร ก็จะถอนกันหมด

·  ปัญหาของคนเก่งคือ อธิบายความคิดไม่ได้

·  ต้องคิดให้เป็นก่อน

·  วิธีคิดในสมัยนี้ไม่เหมือนในอดีตอีกแล้ว

·  หลายครั้งเราพยายามคิดหลายโครงการ ใช้เงินโฆษณามาก แต่บางเรื่องไม่ต้องใช้เงิน เพราะคนพูดต่อกันเอง

·  กระบวนการนำเสนอความคิด ใช้ภาพถ่ายเพราะเป็นผลสุดท้ายของความคิด

·  ดร.เดอโบโนสอนให้คิดอย่างเป็นระบบ แต่ต้องเริ่มต้นจากการคิดบวกก่อน

·  กฟผ.มีบทเรียนมากถ้าไม่ยึดทฤษฎีเพราะทฤษฎีมักตีกรอบความคิด

·  ชาวกฟผ.เป็น Creator (นักคิด นักสร้างสรรค์)

·  เวลาคิดสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ควรไปดูงานที่บ้านแม่กำปอง ที่ฟื้นฟูทุกอย่างเพราะเครื่องปั่นไฟเท่านั้น

·  ในอดีต บ้านแม่กำปองไม่มีป่าไม้เหลือ เคยผลิตใบเมี่ยง แต่คนในปัจจุบันไม่กินเมี่ยง ทำให้คนไม่มีงานทำ ต้องเข้าไปทำงานในเมือง ต่อมามีโครงการหลวงตีนตกมาช่วยเหลือ ทำโดยจินตนาการว่าฟื้นฟูแล้วจะเป็นอย่างไร แล้วใช้ความรู้ค้นหาว่า ถ้าปลูกใบเมี่ยงไม่ได้ แล้วจะปลูกอะไร ก็มีการปลูกกาแฟแทน ตอนนี้บ้านแม่กำปองมีสหกรณ์กาแฟและสหกรณ์ไฟฟ้าแม่กำปองขายไฟฟ้าคืนให้กับกฟภ.

·  บ้านแม่กำปองได้รางวัลที่ 1 ของโลกในด้านหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

·  เวลาคนแก่เจ็บป่วย ลูกหลานลางานมาเฝ้าไข้ก็ได้เงิน

·  บ้านแม่กำปองมีทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ

·  Knowledge-based Society สังคมที่ดีต้องมีพื้นฐานมาจากสังคมความรู้ก่อนแล้วค่อยมีความคิดสร้างสรรค์

·  อยากให้เกิดหมู่บ้านแบบบ้านแม่กำปองอีกหมื่นหมู่บ้าน

·  ถ้าคิดแบบไม่มีประโยชน์ ก็ไม่มีคุณค่า

·  ก่อนคิดต้องมี Value Exploration คุณค่าแท้ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการ

·  จากการวิจัยที่ผมทำร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะคนจีนกินเพราะความเชื่อ แสดงถึง Emotional ล้วนๆ ซึ่งเกินระดับ Functional แล้ว

·  ก่อนสร้างโรงฟ้านิวเคลียร์ ควรไปเที่ยวหมู่บ้าน แม่วาง แม่วิน จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกผักขายโครงการหลวง ได้โอกาสจากเครื่องปั่นไฟ แล้วส่งผักไปขายภูเก็ตทุกวัน

·  กฟผ.ควรสร้างพลังงานไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานเพื่อการเกษตร

·  กฟผ.ควรให้ความรู้แก่ NGOs เพราะ NGOs มีแต่ความคิดแบบตะวันตกมา ควรชี้แจงว่าทำไมจึงสร้างโรงไฟฟ้า จะมีเครือข่ายมหาศาล (Green Networking)

·  กฟผ.มีคน 3 หมื่นคน ก็มีอยู่แล้ว 3 หมื่นความคิด ก็ควรส่งเสริมให้เขาคิดดีๆ

·  ควรอ่านหนังสือ International Marketing เพราะกฟผ.ต้องคิดถึงไซต์งานใหม่เมื่อมี AEC การตลาดสากลจะช่วยพยากรณ์ Sense and Response ว่าในแต่ละอุตสาหกรรมต้องการการใช้พลังงานแบบไหนและจะหาได้จากที่ไหน

·  กฟผ.สามารถต่อยอดขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ

·  กฟผ.พยากรณ์และสร้างพลังงานสำหรับภาคการท่องเที่ยว

·  ต้องคิดแบบไม่เป็นระเบียบก่อน

·  คุณโชค บูลกุลกล่าวว่า ควรคิดแบบเด็ก คือคิดถึงสิ่งที่น่าจะมี แต่เวลาทำ ก็วางแผนและทำจริงจังแบบผู้ใหญ่

·  ทุนเดิม+ความรู้ใหม่+ความคิดใหม่แล้วพาองค์กรไปข้างหน้าได้

·  แม่เมาะควรจัดเทศกาลไดโนเสาร์แห่งประเทศ เป็นการเปิดบ้านกฟผ. ทำสิ่งดีๆให้แก่สังคม

·  โลกปัจจุบันกำลังเข้าสู่ Visual Culture เข้าถึงความรู้มากขึ้นมากกว่าที่อ่านหนังสือ

·  อยากให้ชาวกฟผ.เขียนประสบการณ์เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมทุกปี

·  กฟผ.ควรตั้งมหาวิทยาลัยเพราะมีองค์ความรู้เฉพาะอยู่แล้ว

·  ควรผลิตพลังงานไฟฟ้าให้นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ควรทำต้น EGAT สำหรับชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ โดยมีโซล่าร์เซลอยู่บนต้น ให้คนนำความคิดเห็นมาหยอด เพื่อนำความคิดมาทำต่อ ควรให้เด็กในชุมชนเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเล่าเรื่องเกี่ยวกับต้น EGAT ทำให้เด็กมีรายได้ทุนการศึกษาหลายปี

·  ความคิดสร้างสรรค์ต้องคิดอย่างเป็นระบบ คิดจะทำอะไรต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หาแรงจูงใจ แล้วจะประสบความสำเร็จ

·  ยุคปัจจุบันคือ Post-Modern เป็นยุคแห่งความเป็นไปได้ หมอก็เป็นนักร้องได้ ทหารก็เป็นดาราได้

·  Corporate Communication ถือว่าเป็นปัญหา เพราะลืมพูดเรื่ององค์กรให้คนอื่นฟัง ควรนำผู้รู้มาต่อยอดเรื่อง Corporate Communication ตอนนี้ที่แม่เมาะ เป็นรู้จักเรื่องเนินหญ้าสไลเดอร์ ซึ่งมีเด็กนิยมมาเล่น แสดงให้เห็นภาพลักษณ์แม่เมาะที่เป็นมิตรกับชุมชน

·  Experimental Marketing การตลาดประสบการณ์สำคัญ ต้องสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ไฟฟ้าให้ทราบว่าเขามีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อม แล้วพวกนี้ก็จะเป็นแนวร่วมกับกฟผ.

·  สิ่งที่ทั้งโลกต้องการคือ Demand Management ต้องบริหารจัดการความต้องการ แล้วเจาะกลุ่มลูกค้า ค้นหาคุณค่าแท้ที่ลูกค้าต้องการคือ ไม่อยากทำลายศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ทำให้เกิดแนวคิด Cita Slow เมืองเนิบช้า คือเมืองที่มีคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม

·  คนต้องการคุณค่าที่เป็น Functional (การนำมาใช้) และ Emotional เช่นต้องการพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควรนำความต้องการแบบนี้ของลูกค้ามาขับเคลื่อน

·  ต้องมีการหาเครือข่ายคือคนเก่งๆมาร่วมมือทำ

·  ควรมีความคิดที่แตกต่างจากที่อื่น เช่นเปลี่ยนโรงไฟฟ้าเป็นแหล่งเรียนรู้

·  กฟผ.ควรตั้งกองทุนและให้เงินสนับสนุนหมู่บ้านแบบบ้านแม่กำปอง

·  ควรศึกษาหาตัวตนของแต่ละบุคคล เพราะการอธิบายพฤติกรรมลูกค้า ตอนนี้ซื้อเพราะ Emotional

·  ควรทำหลังคาโซล่าร์เซลกับบ้าน คนจะได้ผ่อนไปพร้อมกับบ้าน

·  Utopia คือโลกอุดมคติ เช่นพลังงานต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผู้ใช้จะได้สบายใจ

·  ผมได้รับรางวัลสุดยอดซีอีโอ เพราะความคิดที่แตกต่าง นำสินค้าไทยไปขายประเทศ เซนต์ลูเซีย

·  ควรทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองไฟฟ้าสีเขียว มีหลังคาโซล่าร์เซลทุกบ้าน แล้วจะยืดระยะเวลาการมีไฟฟ้าใช้

·  ต้องเริ่มด้วยการคิดบวก คิดด้วยความสุข

·  โลกวันนี้เป็นสหวิทยากร เปิดใจรับแล้วต่อยอดทุนเดิมให้เพิ่มขึ้น

·  ควรตั้งโรงเรียนกฟผ. มหาวิทยาลัยกฟผ. เพราะมีองค์ความรู้มาก อย่าให้ความรู้หายไปพร้อมกับการเกษียณ


การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

30 มกราคม 2556

โดย  อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย

·  ควรทำโครงการใหม่ แล้วคนสนใจนำไปใช้ได้จริง

·  การทำโครงการเชิงนวัตกรรมมีเงื่อนไขอะไรบ้าง มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง สื่อสารอย่างไรให้คนคิดและมีส่วนร่วม โครงการนี้เกี่ยวข้องกับใคร ใครจะมาเป็นหุ้นส่วน

·  ต้องทำโครงการที่เกี่ยวกับกฟผ. ต้องเก็บ Keyword ไว้คือ เป็นกิจการไฟฟ้า และระดับสากล

·  ปีที่แล้ว ทุกกลุ่มมาคิดโครงการมีดังนี้

·  โครงการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ยังไม่ได้ทำ

·  Eco Energy ยังไม่ได้ทำ

·  โรงไฟฟ้าชุมชนกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ทำแล้ว

·  CSR กับจิตอาสาพัฒนาชุมชน ปัญหาคือทำ CSR มากเกินไป จึงมองไม่เห็น CSR ที่แท้จริงของ กฟผ.เป็นอย่างไร ควรสรร้างเอกลักษณ์ให้ชัด

·  CSR กับโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ของ EGAT ปีที่แล้วนำ CSR แม่เมาะมาหารือกัน มีการจัดงานท่องเที่ยวเล่นสไลเดอร์ ทำให้ชุมชนกับโรงไฟฟ้ามีปฏิสัมพันธ์ที่ดี แต่ปัญหาตอน Implement

·  โครงการปีนี้ต้องชัดเจนกว่าเดิม ไม่ต้องความคิดบรรเจิดมาก แต่ต้องนำไปใช้ได้จริง แต่ต้องทำภายใต้ Theme ต่อไปนี้

·  ภายใต้ Theme นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของกฟผ.ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015

·  ควรทำโครงการส่งบริษัทลูกไปทำโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ต้องดูจุดแข็งกฟผ.ก่อนคือความชำนาญ ความสัมพันธ์ด้านระบบส่งกับเพื่อนบ้านดี บุคลากรมีประสิทธิภาพ

·  ภายใต้ Theme วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม เพื่อการสร้างและบริหารทุนมนุษย์ของกฟผ.กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน

·  โครงการที่ทำต้องดูปัญหาทุนมนุษย์ของกฟผ. เกิดช่องว่างบุคลากร มีบุคลากรประสบการณ์มากตามอายุ ปัญหาสุขภาพ ผู้หญิงน้อยทำให้ผู้ชายผูกขาดการเป็นผู้บริหารระดับสูง

·  ภายใต้ Theme กลยุทธ์และแผนงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของกฟผ. “SEPA”

·  โครงที่ดูการประเมินประสิทธิภาพองค์กร

·  ภายใต้ Theme นวัตกรรมทางสังคมของกฟผ. สร้างศรัทธาที่แท้จริงจากปวงชน

·  ทำโครงการว่าการมีโรงไฟฟ้าดีไหม

·  โครงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและโรงไฟฟ้ากฟผ.

·  ภายใต้ Theme นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ของกฟผ.

·  รูปแบบโรงไฟฟ้าใดที่ดี แต่ไม่ควรเสนอโรงไฟฟ้าขยะเพราะไม่คุ้ม

·  ภายใต้ Theme ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2025

·  ปัจจุบัน กฟผ.มีปัญหาคือรัฐบาลไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้า จะทำอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า


วันที่ 30 มกราคม 2556

หัวข้อ  Mind Mapping

สิ่งที่ได้เรียนรู้  :  การจัดระบบความคิดโดยใช้แผนภาพ ซึ่งช่วยทำให้กระบวนการคิดเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุ

  มีผล และสามารถตรวจสอบความครบถ้วนของมิติต่างๆได้  Mind Mapping ช่วยเพิ่ม

  ทักษะในการวิเคราะห์และการนำเสนองาน  ซึ่ง กฟผ. ควรพัฒนารูปแบบในการ Present

  งานจากการที่เน้นการเขียนข้อความเยอะๆ เป็นการใช้ Diagram หรือภาพที่เชื่อมโยงกัน เพื่อ

  ช่วยให้ผู้ฟังสามารถเห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น

หัวข้อ  Creative Thinking and value creation

สิ่งที่ได้เรียนรู้  :  คนที่จะมี Creative Thinking ต้องเป็นคนช่างสังเกตุ มีความคิดเชิงบวก  และพยายาม

  หาทางการแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา  ไม่พอใจอะไรง่ายๆ  ใน

  องค์กร ควรมีการสนับสนุน และ Promote การคิดในเชิง Innovation  โดยให้ถือเป็นส่วน

   หนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร


วันที่ 30 มกราคม 2556 สิ่งที่ได้วันนี้ 

1.  Mind Mapping 

นำไปใช้แล้วได้ประโยชน์ คือได้ ฝึกคิด ทำให้จำ ใช้สมอง การสื่อสารนำเสนอง่าย คิดสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม วางแผน ตัดสินใจ ถ้าฝึกทบทวนทำซ้ำก็จะเพิ่มการรักษาความจำให้อยู่ได้นาน เป็นวิธีที่นำไปช่วยแก้ปัญหาได้งานมีขั้นตอน

2.  Creative Thinking

ฝึกให้คิดเป็นระบบรอบคอบ ที่สำคัญต้องคิดบวก  ในโลกปัจจุบันการทำงานต้องไม่ใช้ความรู้คิด ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์คิด จินตนาการว่าจะทำอะไรเมื่อได้แล้วค่อยนำความรู้มาขับเคลื่อน

ฝึกให้คิดบวกทำให้มีความสุข  ต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุดจะได้ไม่แก่ไว

3.  การเลือกโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนา

ให้รู้จัก Key Words ของประเด็น แนะนำแนวทางการคิดโครงการ เพื่อระดมความคิด


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 29 ม.ค. 56

·  หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรราใหม่ที่ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทำให้ได้ทราบว่า การเป็นผู้นำที่ดีควรต้องมีหลักการ แนวคิด และปฏิบัติตน ที่หลากหลาย โดยได้ทราบแนวทางของผู้นำที่สำคัญๆแต่ละท่าน อีกทั้งยังทราบความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ  ชนิดของผู้นำ  คุณสมบัติที่ผู้นำควรมี เช่น ความมีคนศรัทธา(Trust)  มองการณ์ไกล คิดนอกกรอบ คิดข้ามศาสตร์ ใฝ่รู้ อดทน  รับฟัง  มีเมตตา มีความซื่อสัตย์ จริยธรรมและคุณธรรม เป็นต้น  ซึ่งต้องจัดสมดุล Balancing ให้ดีเพื่อเป็นผู้นำรุ่นใหม่ และฝึกฝนตนเองอย่างมาก ให้ได้ตามลักษณะผู้นำในอุดมคติต่างๆเหล่านั้น

·  หัวข้อLeading Peopleโดย อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

ทำให้ได้ข้อคิด และแนวทางวิเคราะห์บุคคลจาก ธาตุแท้ ของแต่ละคน ได้รู้ถึงพื้นฐานความต้องการ และความกลัวพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เราค้นพบตนเองมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเองต่อไป รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคิดว่าเป็นศาสตร์และศิลปะในการอ่านคน ที่ควรนำไปเผยแพร่ต่อ เพื่อการอยู่ร่วมกัน หรือทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและเข้าใจกัน


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 30 ม.ค. 56

-  ได้ฝีกฝนการทำ Mind Map ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้จดบันทึกการทำงานของสมองสองซีก (สมองซีกซ้ายจะทำงานแบบรูปธรรม แต่สมองซีกขวาจะทำงานแบบนามธรรมหรือจินตนาการ)

-  Mind Map ที่ดี สามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานโครงการเชิงนวัตกรรม

-  ได้แนวคิดการออกแบบโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน


ขอรวบยอดความรู้ที่ได้รับจากการอบรม 2 วันครับ

วันที่ 29 ม.ค. 56

ช่วงเช้า บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.”

ได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ  ผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่  ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่ต้องคิดเก่งและจัดการเก่ง  ผู้นำต้องมีหลักการ  โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องมองไปว่าในอนาคตองค์การจะไปอย่างไร จะสร้างผู้นำรุ่นหลังๆได้อย่างไร โดยอาจจะนำ ทฤษี 5 E’ s มาใช้ นอกจากนี้ ยังได้เห็นความเป็นผู้นำของผู้มีชื่อเสียงของโลก เช่น Nelson Mandela Obama ผู้นำจีน 5 รุ่น

ในช่วงบ่าย บรรยายโดย อาจารย์พจนารถ ชีบังเกิด “Leading People ”

ได้เรียนรู้ศูนย์ทั้ง 5 ของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ สติปัญญา ความรู้สึก ธาตุแท้ ร่างกาย และมโนธรรมลึกซึ้ง ซึ่งเป็นรากฐานของตัวตนของเรา แต่ก็จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความมีสติ ความนึกคิดที่เราจะคิดทำอะไรต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ มุมมอง เพื่อทำให้กระบวนการการตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องและสมบูรณ์

วันที่ 30 ม.ค. 56

ช่วงเช้า บรรยายโดย อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ “My Mapping”

เรื่องนี้มีประโยชน์มากเลยครับ
เพราะทำให้ผมสามารถจัดระเบียบทางความคิดอย่างเป็นระบบได้ Mind Map
คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่างที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัดเรียงจากบนลงล่าง ยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่างเข้าหากันได้ง่าย คนเราจะมีสมองซีกซ้าย ทำหน้าที่เข้าใจด้านคำนวณ วิทยาศาสตร์ ความรู้ต่างที่เป็นหลักการ ที่ต้องใช้เหตุผล ส่วน สมองซีกขวาทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนามธรรมจริยธรรม ความถนัดด้านดนตรี การเต้นรำ ความถนัดด้านศิลปะ การสร้างจินตนา การคิดฝันแต่ทั้งสองส่วนก็จะต้องไปพร้อมๆกันกว่า

ช่วงบ่าย บรรยายโดย อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ “Creative Thinking”

การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยกระบวนการพัฒนา จิต การพัฒนาของมนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน
คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมองการพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จะต้องมีการใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้ายมีการคิดนอกกรอบ คิดเชิงบวก มีความคิดริเริ่ม ชอบที่ อาจารย์ ยกตัวอย่างหมู่บ้านแม่กำปองอ.แม่ออน จ.เชียงใหม่เพราะเป็นหมู่บ้านที่อยู่แบบพอเพียงและมีการดำรงชีวิตพึ่งพาตนเองชอบร้านกาแฟบนดอยครับ สวยงามมาก เชิญชวนเพื่อน EADP 9 ไปพักผ่อนนอนโฮมสเตย์ ที่นี่ครับ

ช่วงเย็น บรรยายโดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ”

การบ้านอีกแหละครับ ของเก่ายังไม่เสร็จ ของใหม่ก็มาอีกแล้วครับ หัวข้อที่กลุ่ม 3 เลือก “ นวัตกรรมทางสังคมของ
กฟผ. สร้างศรัทธาที่แท้จริงจากปวงชน ” อ่านชื่อเรื่องก็เริ่มงงๆพอเราระดมสมองทั้ง 7 ก็คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ กฟผ.ทำเพื่อจะให้เกิดความศรัทธาแก่ประชาชนคิดไปคนละทาง ดีว่าอาจารย์มาแนะนำว่า คิดมาสัก 1 Project เอาแบบหใม่ๆที่ยังไม่เคยมีการทำมาก่อนพวกเราก็ปิ๊ง Idea บรรเจิด เพื่อนๆในกลุ่มบอกสบายเลย เอาชื่อว่า “โรงไฟฟ้า กับ ชุมชน คนบ้านเดียวกัน ” โดยมีแนวทางว่าโรงไฟฟ้ากับชุมชน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน แล้วจะทำอย่างไรล่ะ 55555 โปรดติดตามพวกเรากลุ่ม 3 ครับ

ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ถ่ายทอดความรู้ให้พวกเรา
ขอบคุณผู้บังคับบัญชาที่เห็นความสำคัญ
ขอบคุณร่างกายและสมองที่ยังมีพลังให้ได้รับรู้ และขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ EADP 9

เจอกันในวันต่อไปครับ

พีรพล สุวิบูลย์  ช.อบง.

อาจารย์ครับ ผมมีเรื่องหนึ่งจะถามอาจารย์จีระครับว่า  เรื่อง 8K’s  และ 5K’s อาจารย์ Post  บอกว่าให้ส่งวันที่ 31 ก.พ. 56 ต้องรีบอ่าน ถ้าสำเร็จในอนาคต จะช่วยจัดการกับผู้นำได้อย่างไร  ถ้าเป็นการส่งการบ้านดังกล่าววันที่ 31 ก.พ. จริง อีกนานกว่าจะถึงวันที่ 31 ก.พ. ครับ แต่ผมว่า อาจารย์พิมพ์ผิดแน่เลย แบบนี้จะต้องไปแก้ไขที่อำเภอแบบบัตรประชาชนแล้วนะครับ

พลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 30 มกราคม 2556

Mind Map อ.ขวัญฤดี

การทำงานของสมอง การเก็บข้อมูลของสมอง จะมีการกรองออก ทำให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือได้ไม่นาน

รู้จักวิธีที่จะทำให้สมองเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เช่นการเก็บด้วยภาพดีกว่าตัวหนังสือ หรือการสร้างความสัมพันธ์

การเชื่อมโยง การจับประเด็น เป็นต้น นอกจากนั้นสมองอาจมีจินตนาการในการสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้

การทำให้จดจำได้นานจนเรียกว่าจำขี้นใจ ทำได้โดยการทบทวน 10 mim, 24 hr, 1 w, 1 m และ 6 m เป็นต้น

 

Creative Thinking and Value Creation อ.ณรงค์ศักดิ์

มีหลักคือการคิดอย่างเดียวไม่พอ ต้องจินตนาการด้วย คิดนอกกรอบ คิดบวก จึงจะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

การคิดอย่างเดียวอาจไม่สำเร็จต้องลงมือทำด้วย หรืออาจใช้การคิดโดยผู้ที่มีประสบการณ์ หรือเรียกว่า

Experialtal Marketing การตลาดจากผู้มีประสบการณ์

 

การเลือกหัวข้อโครงการ อ.กิตติ

ต้องจูงใจ ใหม่ ใช้ได้จริง เห็นผลได้เร็วภายใน 1 ปี

ต้องสอดคล้อง Vision, Mission และ Strategy

ต้องคำนึงถึง Value added, Value creation และ Value diversity

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 30 ม.ค. 56

·  หัวข้อ Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม โดย อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

ทำให้เข้าใจถึงกลไก ขีดจำกัดของความเป็นมนุษย์ ในการคิด  การจำ และรู้ถึงเทคนิคในการจดจำได้ดีขึ้น รวมถึงการบันทึกความคิด อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เครื่องมือ Mind Map รูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปพัฒนา และ ฝึกฝนตนเองให้มีความชำนาญ ในการวางโครงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานอยู่เป็นประจำ

·  หัวข้อ Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

ทำให้เข้าใจกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ที่ต้องเกิดขึ้นจากการคิดบวก และคิดอย่างเป็นระบบ และ การสร้างคุณค่าของความคิด ที่วิทยากร สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้เกิดการคิดสร้างสรรพัฒนาและปรับปรุงงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการ ที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้ทันต่อโลกการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งสร้างความแตกต่าง ให้เกิดคุณค่าในการปฏิบัติ

·  หัวข้อ การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

เป็นการกระตุ้นให้นำเอาความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ ให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่คงต้องใช้เวลาในการทำโครงการให้เสร็จสมบูรณ์  ซึ่งคงต้องฝึกฝนกันบ่อยๆให้เกิดความเชี่ยวชาญต่อไป


สรุปจากการได้เรียน

วันที่ 29 มกราคม 2556

-  ได้เรียนรู้มุมมองของผู้นำต่างๆทั่งโลก รวมทั้งในประเทศไทย  การเป็นภาวะผู้นำอยู่ที่มีอิทธิพลที่มองไม่เห็น อาจจะอยู่ที่การศรัทธา การเป็นผู้นำต้องมองให้กว้าง มองในทุกๆด้านที่เกิดขึ้นทั้งรอบตัวเราและรอบโลก ผู้นำไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่ควรจะต้องเป็นนักวิเคราะห์และนักคิดที่เก่งการเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องการเป็นผู้นำต้องกล้าหาญ ซื่อสัตย์มีหลักการ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องมี Networking ต้องมีควาหลากหลายในหลายๆด้าน

-  ได้เรียนรู้และวิเคราะห์ตัวของตัวเองว่าเป็นอย่างไร การเป็นตัวตนมาจากสภาพแวดล้มทั้งด้านบุคคล และด้านวัตถุ การดึงธาตุแท้ของบุคคลให้แสดงออกมา

ความรู้ที่ได้รับสามารถนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และนำไปถ่ายทอดให้ผู้ร่วมงานทราบ

วันที่ 30 มกราคม 2556

-  จากที่ไม่ได้เคยเรียนรู้เรื่อง Mind Mapping เลย พอได้มาเรียนรู้ถึงได้รู้ว่าถ้าเราใช้ Mind Map มาเขียนได้ทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งการเขียน Mind Map จะทำให้เราสามารถมองขั้นตอนการทำงานต่างๆบนแผ่นงานได้อย่างครบถ้วนก่อนเริ่มทำงาน

-  อาจารย์ได้สอนให้เริ่มต้นด้วยการคิดทุกวัน คิดในทางบวก คิดในเรื่องสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ คิดนอกกรอบ

-  ได้รู้ว่ารูปแบบและแนวในการคิดที่จะใช้ในการเขียนโครงการ

ความรู้ที่ได้รับจะเป็นแนวคิดในการวางแผนงานต่างๆได้อย่างเป็นระบบ ถ้าได้นำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานมาก


ความรู้ที่ได้เพื่อมาปรับใช้กับการทำงาน ของวันที่ 30 มค.

Mind Map

-  ช่วยการจำ ทั้งในเรื่องลำดับ ความหลากหลาย ไม่ซ้ำซ้อน

-  รวบรวมความคิดแบบ brain storm

-  ช่วยทำให้สรุปเรื่องตรงประเด็นได้ง่าย

-  ช่วยปรับความรู้ที่มีเป็นจินตนาการเพื่อเพิ่มช่องทางสื่อสาร

Creative thinking & Value creation

-  การคิดอย่างเป็นระบบ อย่างมีกระบวนการ

-  การคิดในกรอบทฤษฏีจะปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์

-  อย่าลืมเรื่องวัฒถุประสงค์ของงาน ไม่ใช่เพียงแค่เป้าหมาย

-  พิจารณาการตลาดแบบ sense and respond

-  กฟผ. ควรพิจารณา Coperate Comunication ให้เป็นรูปธรรม

การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการศึกษา

-  หัวข้อที่ได้รับของกลุ่มสำหรับงานนี้คือ “ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ.”


สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในวันที่ 30 มกราคม 2556

หัวข้อ  Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

ได้เรียนรู้เครื่องมือทางความคิด ที่ใช้ช่วยจำ  ช่วยในการตัดสินใจ  ช่วยในการวางแผนงาน  และช่วยในการสื่อสารข้อมูล  นอกจากนี้ยังได้เข้าใจการทำงานของสมองของมนุษย์ 

และจะใช้ Mind Mapping นี้ ในการทำงานต่างๆ ทั้งงานใน กฟผ.  เรื่องส่วนตัว และงานโครงการของอาจารย์ค่ะ

หัวข้อ  Creative Think and Value Creation และออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ได้เครื่องมือที่ดีในการออกแบบโครงการ  โดย  ใช้จินตนาการ  คิดบวก  คิดอย่างเป็นระบบ  คิดให้รอบด้าน  คิดโดยคำนึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่ (bottom upto the pyramid)  รับองค์ความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้  และเมื่อคิดแล้วต้องลงมือทำด้วยจึงจะเกิดผล

จะใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการคิดโครงการต่างๆ ของ กฟผ. รวมถึงงานโครงการของอาจารย์ด้วยค่ะ

หัวข้อ  การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

ได้เลือกหัวข้อโครงการของกลุ่ม ได้ทราบแนวทางที่ใช้จะดำเนินงาน  และกลุ่มได้ระดมความคิดและตกผลึกได้เค้าโครงเรื่องที่จะทำแล้ว  โดยเลือกเรื่องที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับ กฟผ.มากที่สุด


สมคิด พงษ์ชวนะกุล

หัวข้อ : Mind Mapping

  Mind Map เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสรุปความ จับประเด็น กระตุ้นจินตนาการ กระตุ้นให้ใช้สมองทั้งสองด้าน ทำให้คิดเป็นระบบ

   สามารถนำไปใช้ในการจดบันทึกต่าง ๆ  การจัดทำโครงงานต่าง ๆ  การวิเคราะห์และแก้ปัญหา ใช้ในการวางแผนเรื่องที่จะทำไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ใช้ในการทบทวน ปรับปรุงงานที่เคยทำแล้วให้ดีขึ้น

หัวข้อ : Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

  การคิดบวก หรือคิดนอกกรอบ (Creative thinking) เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือลูกค้า โดยต้องคิดแบบเป็นระบบ

   สามารถนำไปใช้ในงาน โดยการแก้ปัญหาเดิมแต่โดยวิธีที่แตกต่างแต่สร้างสรรค์ โดยหาให้ได้ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือลูกค้าต้องการอะไร แล้วหาแนวทางหลาย ๆ แนวทาง และวิเคราะห์ความเหมาะสม คุ้มค่าและยั่งยืน

หัวข้อ : การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

  การคัดเลือกโครงการต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  (Vision)  พันธกิจ (Mission)  และกลยุทธ์ (Strategy) ขององค์กร โดยการจัดทำโครงการต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความคุ้มค่า ความยั่งยืน และความเสี่ยงต่าง ๆ

  สามารถนำความรู้มาพิจารณาจัดทำโครงการ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์ ขอบเขต ผู้เกี่ยวข้อง งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ ความเสี่ยงที่มี และการนำไปดำเนินการ


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 29 ม.ค. 56

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้และLearning Forumหัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ โดย    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้ทราบความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการรวมทั้งผลที่เกิดตามมา โดยหากกฟผ.มีผู้นำที่ยังมีพฤติกรรมเป็นเพียงผู้จัดการ  โอกาสที่กฟผ.จะเติบโตอย่างยั่งยืนก็จะลดน้อยลง รับทราบชนิดของผู้นำ  การที่จะให้คนเกิด Trust  ในตัวผู้นำแต่ละประเภท คุณสมบัติของผู้นำจากชีวิตจริงของบุคคลที่ยกมาเป็นตัวอย่าง  รับทราบว่าผู้นำยุคนี้ควรต้องเก่งเรื่อง Global Networking  และต้องรู้ข้ามศาสตร์ อีกทั้งต้องหาความรู้ผ่านโลก IT ต้องหาความสมดุลย์ให้ได้ กอรปกับต้องรู้จักบริหารความหลากหลาย สำหรับผลการทำ Workshop ทำให้รู้จักการค้นหาปัญหา หาเหตุ หาผล หาปัญหาอุปสรรค และการที่จะบรรลุถึงจุดหมายต้องทำอย่างไร

Leading People

บรรยายโดย อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

การเป็น Leader ต้องตอบคำถาม Who am I ให้ได้ รับทราบวิธีการค้นหาธาตุแท้ (being) ของตนเอง หากรู้แล้วจึงจะตั้งเป้าหมายได้ว่าจะเลือกเป็นผู้นำแบบไหน รู้จัก Need 6 และ Fear 3 ค้นหา Need ของเราว่าตัวใดเป็นตัว  Lead และ Fear ของเราตัวใดผลักดันให้เรามีพฤติกรรมเช่นนี้ ซึ่งจะทำให้เราเห็นปัญหาและแก้ไขได้  รวมทั้งยังรับทราบศูนย์ทั้ง 5 ในตัวเรา  ซึ่งปกติ ความรู้สึกกับสติปัญญามักมาก่อน หากด่วนตัดสินใจอาจจะไม่ใช่ทางแก้ที่ดีที่สุดหรือถูกต้อง


รายงาน  EADP
9 ( 29/1/2556)

เรื่อง....ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้และ Learning Forum หัวข้อ การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

โดยศ.ดร.จีระ
หงส์ลดารมภ์ 
สรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม

เนื้อหาที่ อ.จีระ ได้กล่าวถึงทฤษฎีที่สำคัญๆหลายทฤษฎี
ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการทำงานมากคือ

ทฤษฎีการเรียนรู้ 2 R’s

· Reality - มองความจริง

· Relevance- ตรงประเด็น

ผมเองเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเพราะหากไม่มองความจริงแล้ว
การถ่ายทอดต่างๆก็จะผิดเพี้ยน  และหากเรียนรู้ไม่ตรงประเด็นก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือทำการปรับปรุงหน่วยงานให้ดีได้และเสียเวลาอีกต่างหาก

อีกทฤษฎีหนึ่งที่ผมประทับใจและชอบมากก็คือ

ทฤษฎีการเรียนรู้3 L’s

· Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด...ผมชอบข้อนี้มากที่สุดเพราะ
แม้จะเจ็บปวดก็ทำให้จำได้ไม่ลืมและเป็นบทเรียนให้ระมัดระวังไม่ผิดพลาดอีก

· Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

· Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

ทั้ง 3 วิธีการนี้สามารถนำไปใช้แกห้ไขปัญหาหรือปรับปรุงงานของหน่วยงานได้

 

 


การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่
กฟผ.

29 มกราคม 2556บรรยายโดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้จากการอบรม 
ได้ทราบว่า

· ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่ มองแบบโลกาภิวัฒน์

- Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น

- Nanotechnology , Biotechnology

- เรื่องการค้าเสรี ,WTO , FTA, AEC 2015

ฯลฯ

เพราะจะมีผลกระทบกับหน่วยงานหรือการปฏิบัติงานเสมอ
ไม่มากก็น้อย

- ผู้นำจะแตกต่างจากผู้บริหาร  
  - สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของผู้นำคือจะได้รับความศรัทธา(
trust)
จากผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย 
  - ผู้นำจะต้องใฝ่รู้ และต้องรู้ข้ามศาสตร์


 



Leading People

วันที่ 29 มกราคม
2556

บรรยายโดย อาจารย์พจนารถซีบังเกิด

สรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม

· สมัยก่อนคนจะรู้สึกไม่ชอบให้ใครมาCoach เรา

- ได้วิเคราะห์ตัวเองและทราบใน 3 เรื่องของตัวเองดังนี้

1. หา Being หรือธาตุแท้ของตนเอง

2. หา Need

3.หา Fear

นับว่าเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่อง
fear ของตัวเอง  ทำให้สามารถนำไปปรับปรุงและแก้ไขตัวเองได้เป็นประโยชน์ทั้งในงานและส่วนตัว

รู้ว่าความกลัวทางจิตวิทยามี 3 สิ่ง

1.กลัวไม่ดีพอ

2.กลัวคนไม่รัก

3.กลัวไม่รับเป็นพวก

ผมชอบคำถามนี้มาก

· มีอะไรในชีวิตนี้ที่ควรทำอย่างยิ่งแต่ก็ไม่ได้ทำ  ทำไม  ยังกลัวอะไรอยู่?.....ทำให้ผมกลับมาถามและทบทวนตัวเอง
รวมถึงหาวิธีแก้ไขปัญหาทั้งในงานและส่วนตัวได้เจาะลึกและตรงประเด็นมากขึ้น

และชอบวิธีการตรวจสอบว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำดังนี้คือ 
    ถ้าทำด้วยความรู้สึกว่าดี .....ให้ตรวจสอบ 3 เรื่องก่อนคือถ้า ดีกับตัวเอง
+ ดีกับคนรอบข้าง+ ดีกับสังคมสิ่งแวดล้อม
….ครบ
3 ข้อจึงสมควรทำ  หากไม่ครบ ไม่ควรทำ 
     แต่ในทางตรงข้าหากทำแล้วตัวเราเองไม่รู้สึกว่าดี แต่ตรวจสอบ 3
เรื่องข้างต้นแล้วปรากฏว่าดีหมด ....เช่นนี้สมควรทำ  แม้เราต้องฝืนใจทำ
แต่หากทำต่อไปเรื่อยๆจะเป็นการพัฒนาตนเองได้ในที่สุด

 
วิธีการดังกล่าวนี้ก็เป็นประโยชน์ทั้งในงานและส่วนตัวมากเช่นกัน

ได้ทราบ Human
6 core needs
คือ

1. Certainty / Security

2. Uncertainty /Variety

3. Connection & Love

4. Significant

5.Growth

6.Contribution




นายภูวดา ตฤษณานนท์

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายประจำวันที่ 30 ม.ค. 2556

การบรรยายช่วงเช้า (09.00น. - 12.00น.)หัวข้อ: Mind Mapping โดย อาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์

          Mind Mapping คือ เทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากความรู้เรื่องสมองและความทรงจำของมนุษย์ การได้ศึกษาในวิชานี้ทำให้เราทราบถึงทักษะการฟังและการมองหรือสังเกต หากไม่มีเครื่องมือในการบันทึกจดจำ มนุษย์เรานั้นไม่สามารถจะจดจำอะไรได้ทุกอย่าง แต่ Mind Mapping นั้นสามารถช่วยท่านในระบบการคิดคิดและการจำอย่างเป็นระบบ เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาประยุกตืใช้กับงานใน กฟผ.ได้ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนโครงการต่างๆ, การควบคุมต้นทุนของงาน เป็นต้น

การบรรายยช่วงบ่าย (13.00น. - 16.00น.)หัวข้อ: Creative Thinking and Value Creation โดย อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

          Creative Thinking (การคิดเชิงสร้างสรรค์) นั้นมีหลักสำคัญ คือ ต้องคิดเชิงบวก เมื่อเราคิดเชิงบวกแล้วจะทำให้เรามีกำลังใจ มีพลังในการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ กระทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลจากการคิด พัฒนาต่อยอดนั้น จะสามารถตอบรับความต้องการของตลาด ลูกค้า ได้เป็นอย่างดี

          Creative Thinking ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1.    Expertise – ความชำนาญ

2.    Creative Thinking Skill – ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

3.    Motivation – แรงบันดาลใจ

องค์ประกอบ 3 ส่วนข้างต้นนี้คือคุณสมบัติที่ผู้ที่จะเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และ บุคลากรควรมีไว้ เพื่อการปรับตัวและตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ในเนื้อหาสาระของการบรรยายช่วงบ่ายนี้สามารถนำไปปรับใช้กับภารกิจของ กฟผ. ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงเรื่อง ธรุกิจซ้อขายไฟ ธุรกิจการบำรุงรักษา เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต การพัฒนาด้านระบบส่งและจ่ายไฟ การพัฒนาโรงไฟฟ้า หรือ ภารกิจทางด้านอื่นๆขององค์กร

การบรรยายช่วงเย็น (16.00น. - 18.00น.)หัวข้อ: การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล

          ประเด็นสำคัญในหัวข้อการบรรยายนี้ คือ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจของ กฟผ. โดยมีหัวข้อโครงการให้พิจารณาด้วยกัน 6 โครงการ โดยแต่ละกลุ่มได้พิจารณาเลือกหัวข้อกิจกรรมและชื่อโครงการ เพื่อเตรียมนำเสนอในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ต่อไป

นายภูวดา ตฤษณานนท์

       30/01/2556

ผู้นำ (Leader) มีความแตกต่างจากผู้จัดการ (Manager) โดยผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วยและต้องมองภาพใหญ่ทั้งทางด้านโลกาภิวัฒน์และผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมของสถานะการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีนัยสำคัญต่อการบริหารงานในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ  คุณลักษณะของผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สิ่งสำคัญ คือการเรียนรู้ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ทั้งทางด้านทักษะ ความรู้ และ ทัศนะคติ โดยอาจจะศึกษาได้จาก ตัวอย่างแม่แบบ(Role Model)  หรือมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์  หรือการศึกษาและพัฒนาจากการอบรม และอ่านหนังสือตำราต่างๆ  ทั้งนี้ผู้นำจะเน้นศรัทธาแทนการสั่งการและเน้น Why มากกว่า How และที่สำคัญ ดังนั้น จะเป็นผู้นำที่ดีของ EGAT จะต้องมองภาพใหญ่ มี Vision มองอนาคตออก มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ และอีกสิ่งที่สำคัญมากก็คือ Trust หรือความศรัทธาในผู้นำนั้น  จึงจะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจและนำพา EGAT ไปสู่จุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จได้

Leading Peopleต้องถามตัวเองว่า Who am I? เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นใครแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Leader แบบไหน ให้เลือกจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง เช่น ซื่อสัตย์ โปร่งใส Creative Innovative Diversity และอันไหนที่เรา Develope ได้ ให้ Develope from Strange   เรามี Need และ Fear  Need คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้ง 6 อย่างพร้อม ๆ กัน ถ้าตัวไหนขาดเราจะมีพฤติกรรมที่เติมเต็ม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งถ้าเราเป็น Leader  ที่ดีจะต้องมีพฤติกรรมเติมเต็มทางด้านบวก


นายภูวดา ตฤษณานนท์

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายประจำวันที่ 30 ม.ค. 2556

การบรรยายช่วงเช้า (09.00น. - 12.00น.)หัวข้อ: Mind Mapping โดย อาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์

          Mind Mapping คือ เทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากความรู้เรื่องสมองและความทรงจำของมนุษย์ การได้ศึกษาในวิชานี้ทำให้เราทราบถึงทักษะการฟังและการมองหรือสังเกต หากไม่มีเครื่องมือในการบันทึกจดจำ มนุษย์เรานั้นไม่สามารถจะจดจำอะไรได้ทุกอย่าง แต่ Mind Mapping นั้นสามารถช่วยท่านในระบบการคิดคิดและการจำอย่างเป็นระบบ เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาประยุกตืใช้กับงานใน กฟผ.ได้ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนโครงการต่างๆ, การควบคุมต้นทุนของงาน เป็นต้น

การบรรายยช่วงบ่าย (13.00น. - 16.00น.)หัวข้อ: Creative Thinking and Value Creation โดย อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

          Creative Thinking (การคิดเชิงสร้างสรรค์) นั้นมีหลักสำคัญ คือ ต้องคิดเชิงบวก เมื่อเราคิดเชิงบวกแล้วจะทำให้เรามีกำลังใจ มีพลังในการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ กระทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลจากการคิด พัฒนาต่อยอดนั้น จะสามารถตอบรับความต้องการของตลาด ลูกค้า ได้เป็นอย่างดี

          Creative Thinking ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1.    Expertise – ความชำนาญ

2.    Creative Thinking Skill – ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

3.    Motivation – แรงบันดาลใจ

องค์ประกอบ 3 ส่วนข้างต้นนี้คือคุณสมบัติที่ผู้ที่จะเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และ บุคลากรควรมีไว้ เพื่อการปรับตัวและตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ในเนื้อหาสาระของการบรรยายช่วงบ่ายนี้สามารถนำไปปรับใช้กับภารกิจของ กฟผ. ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงเรื่อง ธรุกิจซ้อขายไฟ ธุรกิจการบำรุงรักษา เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต การพัฒนาด้านระบบส่งและจ่ายไฟ การพัฒนาโรงไฟฟ้า หรือ ภารกิจทางด้านอื่นๆขององค์กร

การบรรยายช่วงเย็น (16.00น. - 18.00น.)หัวข้อ: การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล

          ประเด็นสำคัญในหัวข้อการบรรยายนี้ คือ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจของ กฟผ. โดยมีหัวข้อโครงการให้พิจารณาด้วยกัน 6 โครงการ โดยแต่ละกลุ่มได้พิจารณาเลือกหัวข้อกิจกรรมและชื่อโครงการ เพื่อเตรียมนำเสนอในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ต่อไป

 นายภูวดา ตฤษณานนท์

      30/1/2556

       

ผู้นำ (Leader) มีความแตกต่างจากผู้จัดการ (Manager) โดยผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วยและต้องมองภาพใหญ่ทั้งทางด้านโลกาภิวัฒน์และผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมของสถานะการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีนัยสำคัญต่อการบริหารงานในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ  คุณลักษณะของผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สิ่งสำคัญ คือการเรียนรู้ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ทั้งทางด้านทักษะ ความรู้ และ ทัศนะคติ โดยอาจจะศึกษาได้จาก ตัวอย่างแม่แบบ(Role Model)  หรือมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์  หรือการศึกษาและพัฒนาจากการอบรม และอ่านหนังสือตำราต่างๆ  ทั้งนี้ผู้นำจะเน้นศรัทธาแทนการสั่งการและเน้น Why มากกว่า How และที่สำคัญ ดังนั้น จะเป็นผู้นำที่ดีของ EGAT จะต้องมองภาพใหญ่ มี Vision มองอนาคตออก มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ และอีกสิ่งที่สำคัญมากก็คือ Trust หรือความศรัทธาในผู้นำนั้น  จึงจะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจและนำพา EGAT ไปสู่จุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จได้

Leading Peopleต้องถามตัวเองว่า Who am I? เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นใครแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Leader แบบไหน ให้เลือกจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง เช่น ซื่อสัตย์ โปร่งใส Creative Innovative Diversity และอันไหนที่เรา Develope ได้ ให้ Develope from Strange   เรามี Need และ Fear  Need คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้ง 6 อย่างพร้อม ๆ กัน ถ้าตัวไหนขาดเราจะมีพฤติกรรมที่เติมเต็ม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งถ้าเราเป็น Leader  ที่ดีจะต้องมีพฤติกรรมเติมเต็มทางด้านบวก


นายภูวดา ตฤษณานนท์

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายประจำวันที่ 30 ม.ค. 2556

การบรรยายช่วงเช้า (09.00น. - 12.00น.)หัวข้อ: Mind Mapping โดย อาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์

          Mind Mapping คือ เทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากความรู้เรื่องสมองและความทรงจำของมนุษย์ การได้ศึกษาในวิชานี้ทำให้เราทราบถึงทักษะการฟังและการมองหรือสังเกต หากไม่มีเครื่องมือในการบันทึกจดจำ มนุษย์เรานั้นไม่สามารถจะจดจำอะไรได้ทุกอย่าง แต่ Mind Mapping นั้นสามารถช่วยท่านในระบบการคิดคิดและการจำอย่างเป็นระบบ เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาประยุกตืใช้กับงานใน กฟผ.ได้ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนโครงการต่างๆ, การควบคุมต้นทุนของงาน เป็นต้น

การบรรายยช่วงบ่าย (13.00น. - 16.00น.)หัวข้อ: Creative Thinking and Value Creation โดย อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

          Creative Thinking (การคิดเชิงสร้างสรรค์) นั้นมีหลักสำคัญ คือ ต้องคิดเชิงบวก เมื่อเราคิดเชิงบวกแล้วจะทำให้เรามีกำลังใจ มีพลังในการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ กระทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลจากการคิด พัฒนาต่อยอดนั้น จะสามารถตอบรับความต้องการของตลาด ลูกค้า ได้เป็นอย่างดี

          Creative Thinking ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1.    Expertise – ความชำนาญ

2.    Creative Thinking Skill – ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

3.    Motivation – แรงบันดาลใจ

องค์ประกอบ 3 ส่วนข้างต้นนี้คือคุณสมบัติที่ผู้ที่จะเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และ บุคลากรควรมีไว้ เพื่อการปรับตัวและตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ในเนื้อหาสาระของการบรรยายช่วงบ่ายนี้สามารถนำไปปรับใช้กับภารกิจของ กฟผ. ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงเรื่อง ธรุกิจซ้อขายไฟ ธุรกิจการบำรุงรักษา เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต การพัฒนาด้านระบบส่งและจ่ายไฟ การพัฒนาโรงไฟฟ้า หรือ ภารกิจทางด้านอื่นๆขององค์กร

การบรรยายช่วงเย็น (16.00น. - 18.00น.)หัวข้อ: การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล

          ประเด็นสำคัญในหัวข้อการบรรยายนี้ คือ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจของ กฟผ. โดยมีหัวข้อโครงการให้พิจารณาด้วยกัน 6 โครงการ โดยแต่ละกลุ่มได้พิจารณาเลือกหัวข้อกิจกรรมและชื่อโครงการ เพื่อเตรียมนำเสนอในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ต่อไป

 นายภูวดา ตฤษณานนท์

        30/01/2556

ผู้นำ (Leader) มีความแตกต่างจากผู้จัดการ (Manager) โดยผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วยและต้องมองภาพใหญ่ทั้งทางด้านโลกาภิวัฒน์และผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมของสถานะการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีนัยสำคัญต่อการบริหารงานในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ  คุณลักษณะของผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สิ่งสำคัญ คือการเรียนรู้ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ทั้งทางด้านทักษะ ความรู้ และ ทัศนะคติ โดยอาจจะศึกษาได้จาก ตัวอย่างแม่แบบ(Role Model)  หรือมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์  หรือการศึกษาและพัฒนาจากการอบรม และอ่านหนังสือตำราต่างๆ  ทั้งนี้ผู้นำจะเน้นศรัทธาแทนการสั่งการและเน้น Why มากกว่า How และที่สำคัญ ดังนั้น จะเป็นผู้นำที่ดีของ EGAT จะต้องมองภาพใหญ่ มี Vision มองอนาคตออก มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ และอีกสิ่งที่สำคัญมากก็คือ Trust หรือความศรัทธาในผู้นำนั้น  จึงจะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจและนำพา EGAT ไปสู่จุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จได้

Leading Peopleต้องถามตัวเองว่า Who am I? เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นใครแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Leader แบบไหน ให้เลือกจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง เช่น ซื่อสัตย์ โปร่งใส Creative Innovative Diversity และอันไหนที่เรา Develope ได้ ให้ Develope from Strange   เรามี Need และ Fear  Need คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้ง 6 อย่างพร้อม ๆ กัน ถ้าตัวไหนขาดเราจะมีพฤติกรรมที่เติมเต็ม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งถ้าเราเป็น Leader  ที่ดีจะต้องมีพฤติกรรมเติมเต็มทางด้านบวก


นายสาเรศ อินทุเศรษฐ

สรุปสาระของหนังสือ 8K's + 5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซึยน

หนังสือ “ 8K ‘s + 5K ‘s  ทุนมุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” เกิดจากความตื่นตัวของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในช่วงเวลาอีกไม่ถึง ๓ ปีข้างหน้า หนังสือเล่มดังกล่าวได้รวบรวมแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากประสบการณ์ชีวิตของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่นยืน

หนังสือดังกล่าวได้นำเสนอทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

สำหรับทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
  ๑. Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่เกิดมามีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน
  ๒. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
  ๓. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ ทุนภายในส่วนลึกหรือสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  ๔. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน
  ๕. Social Capital ทุนทางสังคม คือ ทุนที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือสังคมภายนอกในการหล่อหลอมตัวตนของแต่ละบุคคลให้เป็นไปในทางดีหรือทางเสื่อมขึ้นอยู่กับทุนทางจริยธรรมของแต่ละบุคคลที่จะมุ่งสร้างคุณงามความดี หรือจะกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้างและสังคม
  ๖. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ ทุนที่เกิดจากการกระทำของคนที่มุ่งหวังผลในระยะยาวโดยเริ่มต้นจากการกระทำความดีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
  ๗. Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยรวมได้
  ๘. Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ ทุนที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ทักษะความรู้ บ่มเพาะจนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในด้านต่างๆ ตามแต่ความถนัดและทัศนคติของแต่ละบุคคล
 

ทฤษฏีทุนใหม่  ๕  ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์  ประกอบด้วย
  ๑. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไปภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ
  ๒. Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนาโดยมุ่งให้เกิดความเจริญในทางบวก
  ๓. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น
  ๔. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ ทุนในการเรียนรู้ ค่านิยม แนวคิดหรือความเชื่อของคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงความคิดของบุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
  ๕. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การบริหารจัดการ EQ ซึ่งจะส่งผลถึงทุนในด้านต่างๆ ให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
 

สิ่งสำคัญในหนังสือซึ่งเป็นจุดประสงค์ ที่ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ฝากไว้ คือ การลงมือพัฒนาทุนทั้ง ๑๓ ประการ ให้แก่คนไทย เพื่อให้สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน ASEAN Citizen ได้อย่างง่ายดายและยั่งยืน


ผู้นำ (Leader) มีความแตกต่างจากผู้จัดการ (Manager) โดยผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วยและต้องมองภาพใหญ่ทั้งทางด้านโลกาภิวัฒน์และผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมของสถานะการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีนัยสำคัญต่อการบริหารงานในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ  คุณลักษณะของผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สิ่งสำคัญ คือการเรียนรู้ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ทั้งทางด้านทักษะ ความรู้ และ ทัศนะคติ โดยอาจจะศึกษาได้จาก ตัวอย่างแม่แบบ(Role Model)  หรือมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์  หรือการศึกษาและพัฒนาจากการอบรม และอ่านหนังสือตำราต่างๆ  ทั้งนี้ผู้นำจะเน้นศรัทธาแทนการสั่งการและเน้น Why มากกว่า How และที่สำคัญ ดังนั้น จะเป็นผู้นำที่ดีของ EGAT จะต้องมองภาพใหญ่ มี Vision มองอนาคตออก มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ และอีกสิ่งที่สำคัญมากก็คือ Trust หรือความศรัทธาในผู้นำนั้น  จึงจะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจและนำพา EGAT ไปสู่จุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จได้

Leading Peopleต้องถามตัวเองว่า Who am I? เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นใครแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Leader แบบไหน ให้เลือกจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง เช่น ซื่อสัตย์ โปร่งใส Creative Innovative Diversity และอันไหนที่เรา Develope ได้ ให้ Develope from Strange   เรามี Need และ Fear  Need คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้ง 6 อย่างพร้อม ๆ กัน ถ้าตัวไหนขาดเราจะมีพฤติกรรมที่เติมเต็ม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งถ้าเราเป็น Leader  ที่ดีจะต้องมีพฤติกรรมเติมเต็มทางด้านบวก 


ชวลิต อภิรักษ์วนาลี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  30 ม.ค. 56

ช่วงเช้า  เรื่อง  Mind Map - เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการช่วยจำ  ช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้น  ช่วยในการตัดสินใจ  วางแผน  เป็นต้น

ช่วงบ่าย  เรื่องแรก - เป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังความคิด  การคิดบวก  คิดสร้างสรรค์  คิดแตกต่าง

ช่วงบ่าย  เรื่องหลัง - เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำโครงการเชิงนวัตกรรม  โดยทางกลุ่ม 1  เลือกทำเกี่ยวกับเรื่องทุนมนุษย์


ชวลิต  31 / 1 / 56  เวลา  00.02 น.

วันที่ 29 มกราคม 2556

เริ่มเปิดการอบรมวันแรกของ EADP รุ่นที่ 9 ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้หลักการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้นำแต่ละแบบ อีกทั้งยังให้ข้อควรปฏิบัติของผู้นำในประเทศไทย (กฟผ.) ที่ควรมุ่งเน้นที่ Integrity Leadership style โดยเน้นที่ความซื่อสัตย์และมีหลักการที่ถูกต้อง โปร่งใสและตรวจสอบได้ การสร้างผู้นำรุ่ใหม่ในอนาคต ที่ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากคนรุ่นใหม่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากรุ่น Baby Broom เป็นอย่างมาก ผู้นำต้องมี Networking Balancing Style และต้องรู้จักบริหารแบบหลากหลายและเพิ่มความคิดแบบใหม่ๆ ท่านอาจารย์ยังให้หลักการสร้างผู้นำด้วย 5 E’s

  ในส่วนตัวของผม วิธีการเรียนรู้ของท่านอาจารย์ที่ให้ไว้ ที่จะนำมาปฏิบัติได้ คือ 4L’s, 2R’s, 2i’s, 4L’s และ 3 V’s ขอบคุณมากครับ จะนำไปประยุกต์ใช้ให้หมดเลยครับ

  สำหรับช่วงบ่ายท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิดได้นำสิ่งดีๆ มาให้พวกเรานำไปใช้งานในเรื่อง Leading People ทำให้พวกเรารุ้จักวิธีการ D-D-G ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ปล่อยให้เกิดสูญหายของข้อมูล และไม่รับข้อมูลที่ไม่จำเป็นเข้ามามากเกินไป โดยเฉพาะการทำให้มีความเข้าใจในตัวเราเองให้ถูกต้อง โดยการทำความเข้าใจกับ ศูนย์ทั้ง 5 ของร่างกายและการหา ธาตุแท้ ของตัวเราเองจะทำให้เกิดการควบคุม พัฒนาให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายคือ 6-Core Needs of Human Being ที่นำมาศึกษาทำความเข้าใจในธรรมชาติของความต้องการของมนุษย์

30 มกราคม 2556

  วันที่สองของการเรียนรู้จากท่านอาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์ ในเรื่องการใช้เครื่องมือ Mindmap เพื่อช่วยในการ จำ การเชื่อมโยง การจับประเด็นหลัก สำคัญๆ  การวางแผน ตัดสินใจ รวมทั้งเทคนิดการจำให้นานที่สุด คือวิธีการทบทวนอย่างน้อย 5 ครั้ง จะช่วยให้สามารถจดจำเหตุการณ์ได้อย่างยาวนาน โดยสรุปอาจารย์ได้มาสอนพวกเราให้รู้จักจัดระบบความคิดให้เป็นระบบ มากขึ้น

  ในช่วงบ่ายท่านอาจรย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ นัก Creative นำเรื่องของ Creative Thinking and Value Creation โดยหลักของอาจารย์คือ “Positive Thinking” พยายามคิดห้เป็นบวกจะทำให้เกิดจินตนาการ เกิดความคิดอย่างสร้างสรร และเกิดการสร้างคุณค่าขึ้นมาได้ จากประสบการณ์ของท่านอาจารย์ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่าทำให้เกิดจินตนาการตามเรื่องราวเหล่านั้น โดยท่านอาจารย์ให้หลักการ Creativity ประกอบด้วย  3 ส่วน Expertise (การมีผู้รู้), Motivation , และ Creative Thinking Skills รวมทั้งสิ่งที่พวกเราจะต้องนำไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ คือ Visual Culture, Post Modern, Corporate Communication, Experiential Marketing, Value Exploration และความคาดหวังของท่านอาจารย์ต่อ EADP 9 คือ “ต้น EGAT” และ “มหาวิทยาลัย กฟผ.” ทั้งหมดที่ท่านอาจารย์ที่มาสอนคือ อย่าหยุดคิดบวกๆ (++) และการใช้จินตนาการ ในการสร้างสรร

  ช่วงสุดท้ายของวันนี้เป็นการให้แนวทางการเลือกโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจากท่านอาจารย์ กิตติ ชยางคกุล โดยท่านอาจารย์มาช่วยพวกเราในเรื่องการเลือกโครงการของกลุ่มเพื่อจะไปนำเสนอในวันที่สุดท้ายของการอบรม ซึ่งวันนี้ได้แนวคิดการทำโครงการ โดยการใช้หลัก 3V’s ของท่านอาจารย์ จีระฯ รวมทั้งการประยุต์ใช้ Mindmap ในการระดมสมองด้วย


สรุปบทเรียน โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า : EGAT Assistant Director Development Program รุ่น ๙ ปี ๒๕๕๖

หัวข้อ : การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

วิทยากร : ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  มุมมองและคุณสมบัติของผู้นำ จากผู้นำต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จทั้งอดีตและปัจจุบัน

§  ผู้นำและผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไร  

§  ความแตกต่างของผู้นำแต่ละยุค

§  ผู้นำแยกตามประเภท

§  แนวทางการสร้างผู้นำ โดยใช้ทฤษฎี ๕ E’s

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง : พยายามหาแนวทางเพื่อให้มีลักษณะความเป็นผู้นำตามแนวทางดังกล่าว เพื่อสร้างศรัทธา (Trust) ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : สามารถเตรียมบุคลากรให้พร้อมที่จะเป็นผู้นำเพื่อทดแทนผู้นำที่จะเกษียณอายุตามวาระ

หัวข้อ : Leading People

วิทยากร : อ.พจนารถ ซีบังเกิด

วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๓.๓๐ – ๑๘.๐๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  วิธีการค้นหาตัวเองเพื่อจะได้ทราบถึงธาตุแท้ของตัวเอง

§  วิธีการรับข้อมูลและการจดจำของสมองของมนุษย์ 

§  ความกลัวของมนุษย์ (Fears) มีผลต่อองค์กรอย่างไร

§  ความต้องการของมนุษย์ (Needs)

§  วิธีการแก้ปัญหาที่เข้าใจถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง : ค้นหาตัวเองเพื่อคงธาตุแท้ที่ดีไว้ และพยายามปรับปรุงในสิ่งที่ยังบกพร่อง หรือไม่ทำในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : สามารถจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงานเมื่อคันพบหรือทราบธาตุแท้ของเขา และสามารถจัดการด้านสวัสดิการที่เหมาะสมเมื่อเข้าใจ Needs ของมนุษย์

หัวข้อ : Mind Map สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

วิทยากร : อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  การทำงานของสมองและความแตกต่างของสมองซีกซ้ายและขวา

§  การจดจำด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน อาทิ การดูข้อความ, การฟัง และการดูภาพ 

§  ประโยชน์และเทคนิคการเขียน Mind Map

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง : ช่วยในการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล และทำให้การวางแผนดำเนินการต่างๆ เป็นเรื่องง่าย

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : ช่วยในการระดมสมองโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำ Mind Map ของตนมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุด

หัวข้อ : Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

วิทยากร : อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  ประโยชน์ของการคิดบวก (Positive Thinking)

§  ตัวอย่างโครงการต่างๆ ตามหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ได้อาศัยงบประมาณจากรัฐ

§  โครงการที่ กฟผ. ควรส่งเสริมและดำเนินการ อาทิ สนับสนุนให้มีการใช้ Solar Cells โดยให้เงินกู้ยืม หรือโครงการต้น EGAT เป็นต้นไม้เทียมติดตั้งตามแหล่งท่องเที่ยวโดยติดตั้ง Solar Cells และให้บริการพลังงานไฟฟ้าสาธารณะ

§  กฟผ. หลายแห่งดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและดูแลสังคมได้ดี แต่ไม่มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิตนั้น

§  กฟผ. ควรมีโครงการ Green Energy สำหรับธุรกิจเฉพาะ อาทิ การท่องเที่ยว เป็นต้น

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง : ไปดูงานหมู่บ้านตัวอย่างที่ฟื้นฟูพื้นที่และอยู่ได้ด้วยตนเอง

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : ดำเนินการโครงการที่ลงทุนไม่มาก แต่ได้ผลค่อนข้างดีและตรงกับภารกิจ เช่น โครงการต้น EGAT ดังกล่าว

หัวข้อ : การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

วิทยากร : อ.กิตติ ชยางคกุล

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  การคิดเชิงนวัตกรรม

§  ปัจจัยต่อโครงการเชิงนวัตกรรม

§  โครงการที่มีการนำเสนอในปี ๒๕๕๕

§  กิจกรรมโครงการเชิงนวัตกรรมปี ๒๕๕๖ จำนวน ๖ เรื่องสำหรับ ๖ กลุ่ม

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง : มีโอกาสได้ค้นหาโครงการสำหรับ “กฟผ. ปี ๒๕๖๘”

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : สามารถคัดเลือกโครงการที่เป็นไปได้นำไป Implement เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างยั่งยืน


เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

  Mind Map

  วันนี้ได้เรียนรู้ความรู้เกี่ยวกับสมอง  สมองด้านซ้ายจะใช้ในด้านรูปธรรมเช่นการคำนวณ สมองด้านขวาใช้ด้านนามธรรมเช่น ศิลปะ ดนตรี และการจะใช้สมองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้ร่วมกันทั้งซ้ายและขวาร่วมกัน การได้เล่นเกมความจำในห้องเรียนทำให้เข้าเห็นจริงในเรื่องนี้ จึงเข้าใจว่าการทำ Mind Map จึงช่วยให้เราจำเรื่องราวได้ดีมากกว่าวิธีเดิมๆ

  Creative Thinking

  การจะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ ต้องเริ่มจากการคิดบวกปราศจากอคติก่อนแล้วค่อยๆคิดอย่างเป็นระบบโดยอาจใช้ Mind Map มาช่วยโดยหาข้อมูลและสิ่งที่จะมากระตุ้นไปสู่ความคิดดีๆและหาผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เราต้องการมาช่วย เพื่อให้โครงการที่เราทำมีข้อมูลสนับสนุนอย่างน่าเชื่อถือ

  การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

  จะต้องวิเคราะห์ในเรื่องความเสี่ยง วิเคราะห์สถานการณ์ เข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ความคุ้มทุนรวมทั้งยังต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการและความเข้าใจในงบประมาณ

อติชาติ โซวจินดา


นายภูวดา ตฤษณานนท์

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายประจำวันที่ 30 ม.ค. 2556

การบรรยายช่วงเช้า (09.00น. - 12.00น.)หัวข้อ: Mind Mapping โดย อาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์

          Mind Mapping คือ เทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากความรู้เรื่องสมองและความทรงจำของมนุษย์ การได้ศึกษาในวิชานี้ทำให้เราทราบถึงทักษะการฟังและการมองหรือสังเกต หากไม่มีเครื่องมือในการบันทึกจดจำ มนุษย์เรานั้นไม่สามารถจะจดจำอะไรได้ทุกอย่าง แต่ Mind Mapping นั้นสามารถช่วยท่านในระบบการคิดคิดและการจำอย่างเป็นระบบ เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาประยุกตืใช้กับงานใน กฟผ.ได้ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนโครงการต่างๆ, การควบคุมต้นทุนของงาน เป็นต้น

การบรรายยช่วงบ่าย (13.00น. - 16.00น.)หัวข้อ: Creative Thinking and Value Creation โดย อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

          Creative Thinking (การคิดเชิงสร้างสรรค์) นั้นมีหลักสำคัญ คือ ต้องคิดเชิงบวก เมื่อเราคิดเชิงบวกแล้วจะทำให้เรามีกำลังใจ มีพลังในการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ กระทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลจากการคิด พัฒนาต่อยอดนั้น จะสามารถตอบรับความต้องการของตลาด ลูกค้า ได้เป็นอย่างดี

          Creative Thinking ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1.    Expertise – ความชำนาญ

2.    Creative Thinking Skill – ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

3.    Motivation – แรงบันดาลใจ

องค์ประกอบ 3 ส่วนข้างต้นนี้คือคุณสมบัติที่ผู้ที่จะเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และ บุคลากรควรมีไว้ เพื่อการปรับตัวและตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ในเนื้อหาสาระของการบรรยายช่วงบ่ายนี้สามารถนำไปปรับใช้กับภารกิจของ กฟผ. ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงเรื่อง ธรุกิจซ้อขายไฟ ธุรกิจการบำรุงรักษา เชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต การพัฒนาด้านระบบส่งและจ่ายไฟ การพัฒนาโรงไฟฟ้า หรือ ภารกิจทางด้านอื่นๆขององค์กร

การบรรยายช่วงเย็น (16.00น. - 18.00น.)หัวข้อ: การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล

          ประเด็นสำคัญในหัวข้อการบรรยายนี้ คือ อาจารย์ได้อธิบายวิธีการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจของ กฟผ. โดยมีหัวข้อโครงการให้พิจารณาด้วยกัน 6 โครงการ โดยแต่ละกลุ่มได้พิจารณาเลือกหัวข้อกิจกรรมและชื่อโครงการ เพื่อเตรียมนำเสนอในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 ต่อไป

    นายภูวดา ตฤษณานนท์

         31/1/2556

 

 

สรุปจากการได้เรียน

วันที่ 29 มกราคม 2556

-  ได้เรียนรู้มุมมองของผู้นำต่างๆทั่งโลก รวมทั้งในประเทศไทย  การเป็นภาวะผู้นำอยู่ที่มีอิทธิพลที่มองไม่เห็น อาจจะอยู่ที่การศรัทธา การเป็นผู้นำต้องมองให้กว้าง มองในทุกๆด้านที่เกิดขึ้นทั้งรอบตัวเราและรอบโลก ผู้นำไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่ควรจะต้องเป็นนักวิเคราะห์และนักคิดที่เก่งการเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องการเป็นผู้นำต้องกล้าหาญ ซื่อสัตย์มีหลักการ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องมี Networking ต้องมีควาหลากหลายในหลายๆด้าน

-  ได้เรียนรู้และวิเคราะห์ตัวของตัวเองว่าเป็นอย่างไร การเป็นตัวตนมาจากสภาพแวดล้มทั้งด้านบุคคล และด้านวัตถุ การดึงธาตุแท้ของบุคคลให้แสดงออกมา

ความรู้ที่ได้รับสามารถนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และนำไปถ่ายทอดให้ผู้ร่วมงานทราบ

วันที่ 30 มกราคม 2556

-  จากที่ไม่ได้เคยเรียนรู้เรื่อง Mind Mapping เลย พอได้มาเรียนรู้ถึงได้รู้ว่าถ้าเราใช้ Mind Map มาเขียนได้ทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งการเขียน Mind Map จะทำให้เราสามารถมองขั้นตอนการทำงานต่างๆบนแผ่นงานได้อย่างครบถ้วนก่อนเริ่มทำงาน

-  อาจารย์ได้สอนให้เริ่มต้นด้วยการคิดทุกวัน คิดในทางบวก คิดในเรื่องสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ คิดนอกกรอบ

-  ได้รู้ว่ารูปแบบและแนวในการคิดที่จะใช้ในการเขียนโครงการ

ความรู้ที่ได้รับจะเป็นแนวคิดในการวางแผนงานต่างๆได้อย่างเป็นระบบ ถ้าได้นำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานมาก


ชัยรัตน์ เกตุเงิน

วันนี้ผมได้รับความรู้พอสรุปได้ดังนี้

Mind mapping โดย อาจารย์ขวัญฤดี  ผลอนันต์

- สมองคนเรามีทั้งซีกซ้ายและขวา ซึ่งปรกติเราใช้เพียงซีกเดียวในการจดจำ และยังใช้ศักยภาพของสมองได้ไม่เต็มที่

- Mind Mapping เป็นอีกวิธีในการจำโดยใช้ศักยภาพของสมองทั้งสองซีก อย่างไรก็ตามคงต้องฝึกฝนการทำบ่อยบ่อยจนชำนาญ

Creative Thinkingโดยอาจารย์ ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

ให้ปล่อยวางเรื่องการเมือง ศาสนา และความเชื่อในด้านต่างๆ เพราะสิ่งดังกล่าวจะไปปิดกัน ความคิดสร้างสรรค์ให้มีจินตนาการก่อน

 แล้วค่อยเอาความรู้ด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้กำหนดผลลัพธ์ ก่อน จากนั้นจึงหาวิธีการที่จะให้ได้ผลลัพธ์ ซึ่งอาจมีหลายวิธี

การคิดจะต้องมีการจำลองสถานการณ์อาจารย์ได้ย้ำว่า กฟผ. ควรเพิ่ม NETWORKING ให้มาก ๆ เพราะคนเหล่านี้จะช่วยอธิบายแทน กฟผ.

การเลือกโครงการต้นแบบเพื่อการพัฒนา กฟผในการพิจารณาโครงการควรจะต้องให้สอดคล้องกับ VisionและMissionขององค์กร

ชันรัตน์  เกตุเงิน

29มค56


ทศพร เนตยานุวัฒน์

สรุป  เรื่อง “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

1) K1  Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ได้มาจากวิธีคิดของ Prof. Gary  Becker คือ
มนุษย์เริ่มมาเท่ากันจะพัฒนาหรือลงทุนให้เขาเหล่านั้นมีคุณค่าหรือแตกต่างจากบุคคลอื่นๆอย่างไร? 
ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่เกิดมามีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน ต้องลงทุน
การลงทุนคือ การเสียสละทรัพยากรวันนี้เพื่อประโยชน์ในวันหน้า การลงทุนมีหลายชนิด
เช่น การศึกษา  โภชนาการ  การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว เป็นต้น
ในทุนมนุษย์นี้ก็ยังแตกต่างกันไปในเรื่องของคุณภาพของทุนมนุษย์อีกด้วย

2) K2  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา( การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต ) คือ
ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

ปัญหาที่น่าวิตกของสังคมไทย
คือ ระบบการศึกษา วิธีเรียนที่เน้นท่องจำมากเกินไป (การท่องจำควรมีแค่ 20 % ) ขาดการฝึกคิด  วิเคราะห์
การใช้เหตุและผล การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ ทำให้สังคมไทยมีทุนมนุษย์ที่คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร  ทุนทางปัญญาจะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขัน โดยเฉพาะการจะเข้าสู่อาเซียนเสรี ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น  การมีทุนทางปัญญาจะทำให้คนไทยหาทางออกได้เสมอ

3) K3  Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ
ทุนภายในส่วนลึกหรือสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

4) K4  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคนในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุข ความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น
เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน

5) K5  Social Capital ทุนทางสังคม คือ
ทุนที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือสังคมภายนอกในการหล่อหลอมตัวตนของแต่ละบุคคลให้เรามี เครือข่ายกว้างขวางแค่ไหน? เพราะทุนทางสังคมหรือเครือข่ายเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น

6) K6  Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ
ทุนที่เกิดจากการกระทำของคนที่มุ่งหวังผลในระยะยาว โดยมีแนวความคิดคล้ายๆทุนแห่งความสุข การที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่? 
เพราะคุณสมบัติของทุนแห่งความยั่งยืน คือ ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร
?
และที่สำคัญต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว เพื่อที่เราจะได้อยู่ได้ในระยะ

7) K7  Digital Capital ทุนทางไอที คือ
ทุนความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโดยรวมได้

8) K8  Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ
ทุนที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ บ่มเพาะจนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในด้านต่างๆ
ตามแต่ความถนัดและทัศนคติของแต่ละบุคคล

การเตรียมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่กำลังจะมาถึงนี้ หากนำแนวทางในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยทฤษฎีทุน 8 ประการของอาจารย์จีระมาปรับใช้จะเป็นเข็มทิศในการสร้างและพัฒนาศักยภาพหรือคุณภาพของทุนมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร  สังคม และประเทศชาติของเราได้เป็นอย่างดี

นอกจากแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ แล้ว
ยังมีทุนอีก 5 ประการที่มีความสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด
สามารถแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างามและยั่งยืน

ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ประกอบด้วย

1. Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ
ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนาโดยมุ่งให้เกิดความเจริญในทางบวก 
แนวคิดในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ สรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้

1.1 วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

1.2 ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

1.3 ต้องคิดเป็นระบบก่อน

1.4 ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ
ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไปภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ 
ควรเป็นคนที่มีข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น และสำคัญอย่างเพียงพอหรือรู้บางเรื่องที่สำคัญๆ น่าจะดีกว่าคนมีข้อมูลมากหรือรู้ทุกเรื่อง  แต่ไม่รู้ในเรื่องที่จะจำเป็นต้องรู้

ทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ

2.1 Reality  หมายถึง ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง

2.2 Relevance  หมายถึง ตรงประเด็นตรงความต้องการของผู้รับบริการ

3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า ทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น
ทุนทางนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ

3.1  มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

3.2  นำความคิดไปปฏิบัติจริง  เมื่อมีไอเดียใหม่ๆ ต้องนำมา

3.3  ทำให้สำเร็จ  การทำโครงการใหม่ๆ หรือบริหารโครงการต่างๆนั้น จะมีอุปสรรคมากมาย เราจะต้องทำให้สำเร็จ ( Execution & Get Thing Done )

4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นฐานรากของการดำรงชีวิตของมนุษย์  ประกอบด้วย ขนบธรรมเนียม  ศาสนา ประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต 
ภูมิปัญญา  แนวทางปฏิบัติและความเชื่อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศ สิ่งเหล่านี้สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มในสังคมยุกโลกาภิวัฒน์

5. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว  หดหู่  ตกใจ ตื่นกลัวกับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา  รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล  การมองโลกในแง่ดี ฯลฯ ทุนทางอารมณ์รวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย  มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
คุณสมบัติของผู้นำ ที่เป็นแนวทางที่ดี ในการสร้างทุนทางอารมณ์ได้ดังต่อไปนี้คือ ความกล้าหาญ  ความเอื้ออาทร
การมองโลกในแง่ดี  การควบคุมตนเอง  และการติดต่อสัมพันธ์

  การเป็นผู้มีทุนทางอารมณ์ทำให้เรามีแรงบันดาลใจ มีพลังขับเคลื่อนผลงานและความเป็นเลิศอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลไปถึงคนอื่นๆรอบตัวเราด้วยในโลกยุคไร้พรมแดน การมีทุนทางอารมณ์จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง
ช่วยให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินะุ์

สรุปการนำความรู้ที่ได้จากวันที่ 30 ม.ค. 2556  แบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงที่ 1 อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ บรรยายเรื่อง Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร ซึ่งทำให้ได้รับเครื่องมือในการจัดลำดับความคิด และให้เกิดจินตาการ คือ Mind Map มาใช้กับงาน คือ การบันทึกความรู้  การวางแผนงาน การติดตามงาน ตลอดจนใช้กับชีวิตประจำวัน  นอกจากนี้ยังจะได้ใช้สมองทั้ง 2 ซีก (ซีกซ้าย  ด้านตรรกะ และซีก ขวา ด้านจินตนาการ) ให้มากขึ้นกว่าเดิม

ช่วงที่ 2 อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ เรื่อง Creative Thinkink and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน  ได้รับอย่างแรกที่ประทับใจ คือ เรื่องที่อาจารย์เล่าการถวายงานให้ ในหลวง โดยประทับใจเรื่อง ดูวัตถุประสงค์ มากกว่า เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการมีชีวิตเพื่ออะไร  ซึ่งจะได้นำมาใช้ในงานและชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังได้แนวคิดไม่ว่าจะทำอะไร ให้คิดบวกไว้ก่อน อาจารย์ให้ Key words มาหลายคำ เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ดูความต้องการของผู้ใช้ไฟก่อน (sense and response) ไม่ใช้ Make and sell  และต้องคิดจินตนาการทำสิ่งที่นอกกรอบ (คิดอย่างเด็ก ทำอย่างผู้ใหญ่) ให้ทำขึ้นมาก่อน ไม่ใช่คิดว่าจะไม่สำเร็จ  การทำต้องหาผู้เชี่ยวขาญมาร่วมทำ เป็นการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ไปในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็น social network ที่เป็นการสื่อสารที่ไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างไกล นอกจากนี้การผลิตไฟฟ้าอย่าทำส่วนยอดปิรามิดมากไป ให้ดูส่วนฐานของปิรามิดต้องการอะไรบ้าง ทำเพื่อส่วนฐานบ้าง  มีการเล่าเรื่องราวสอดแทรกเกี่ยวกับไฟฟ้าสัมพันธ์กับธรรมชาติ ทำให้เกิดการปลูกฝังกับบุคคลโดยรอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีต่อ กฟผ.

ช่วงที่ 3 อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล เรื่อง การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ได้ KEY ในการทำจากวิสัยทัศน์ของ กฟผ. คือ กิจการไฟฟ้า กับสากล ซึ่งได้นำมาเลือกหัวข้อในการทำโครงการของ EADP ให้เป็นโครงการที่เป็น นวัตกรรม เป็นไปได้ สามารถทำได้ใน 1ปี โดยกลุ่มนีเป็นกลุ่ม 1 ได้เลือกเรื่อง วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม เพื่อการสร้างและบริหารทุนมนุษย์ของ กฟผ. กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน  อาจารย์ แนะนำโครงการต้องมี 3 V คือ Value Add , Value Creation และ Value Diversity ทางกลุ่มได้ร่วมปรึกษา หาปัญหา จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาศ และความเป็นไปได้ โดยในกรอบเคร่าๆ จะดำเนินการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากปัญหา Gap ช่วงอายุที่ห่างของผู้ปฏิบัติงานใหม่กับเก่า ทำให้การถ่ายทอดเป็นไปได้ยาก และความต้องการขององค์กรที่ต้องการให้บุคลการเข้ามาสามารถทำงานได้ทันที ดังนั้นในเบื้องต้นกลุ่มมีแนวทางวางโครงการการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษามหาวิทยาลัย มีการ MOU กับมหาวิทยาลัย โดยการเรียนการสอนในช่วง 1- 3 ปีตามหลักสูตรมหาวิทยาลัย ปี 4  ให้มีการสอนโดยวิทยากร อาจารย์จาก กฟผ. เข้าร่วมสอนเพื่อให้เมื่อจบสามารถทำงานได้ทันที รายละเอียดต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง 


ทศพร เนตยานุวัฒน์

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม  วันอังคารที่ 30 มค 2556

Mind Mapping โดย อ.ขวัญฤดี  ผลอนันต์

คือเทคนิคการจดบันทึกที่มีประโยชน์มากสามารถนำมากับการทำงานที่กฟผ.และชีวิตส่วนตัวได้อย่างดีมากเพราะดูง่ายเป็นระบบและจดจำได้ง่าย

Creative Thinking  and Valve Creation โดยอ.ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

คือการคิดบวกคิดอย่างสร้างสรรค์คิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้นวัตกรรมใหม่ๆ สามารถนำมาใช้กับการทำงานที่ กฟผ.และชีวิตส่วนตัวได้  เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรค  สนุกกับการทำงาน คิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้กฟผ.เติบโตอย่างยั่งยืน

การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโดยอ.กิตติ  ชยางคกุล

เพื่อให้แต่ละกลุ่มจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนา

 

นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินะุ์

สรุปประเด็นจาก หนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียง โดย ราพร ชูภักดี ร่วมกับ เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1  กุมภาพันธ์ 2555 สำนักพิมพ์ บริษัท มิสเตอร์ก็อปปี้(ประเทศไทย) จำกัด โทร . 66-2800-2290

  จากหนังสือเป็นการปรับเปลี่ยนตนเอง ให้เป็นคนคุณภาพ ทันและตอบกระแสโลกกาภิวัตน์ โดยอาศัยทุน 13 ทุน เป็นหลัก โดยใช้

1.  ทุน 8 K’s เป็นพื้นฐานคุณภาพทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

K1- Human Capital ทุนมนุษย์ มาจากแนวคิดของ Prof. Gary Becker ที่กล่าวถึงมนุษญ์เริ่มมาเท่ากันจะพัฒนาให้มีคุณค่า หรือต่างกัน สามารถลงทุนได้ โดยใช้ทรัพยากรที่ตัวบุคคล ทำได้ตั้งแต่เล็กจนโต ได้แก่ การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว

K2- Intellectual Capital ทุนปัญญา ที่ต้องใช้การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ สามารถฝึกฝน การเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมในการเรียรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎี 3 ทฤษฎี คือ

ทฤษฎี 4L’s

L1-Learning Methodology ต้องมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี เน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษา

L2- Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

L3- Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้ พบปะแลกเปลี่ยนกัน สร้างเครือข่ายและหุ้นส่วนทางปัญญา

L4- Learning Communities สร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น โดยใช้ Social Medias แบบต่างๆ

ทฤษฎี 2R’s

Reality เรียนจากเรื่องที่เกิดจริง

Relevance ต้องตรงประเด็น เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเรา

ทฤษฎี 2i’s

Inspiration การเรียนต้องจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน เกิดความใฝ่รู้ มีเป้าหมายในการเรียน

Imagination การเรียนรู้ต้องทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

K3-Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม  สร้างปลูกฝังได้ทางครอบครัว สถาบันการศึกษา และศาสนา ทางศาสนาพุทธ ยึด ศีล สมาธิ และปัญญา

K4- Happiness Capital ทุนแห่งความสุข เป็นพฤติกรรมของตนที่ต้องมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ โดยต้องค้นหาตนเอง ต้องรู้งานที่ทำเป็นงานที่มีความหมาย (Meaning) มีเป้าหมาย (Purpose)  จึงทำงานได้อย่างมีความสุข ส่งผลให้งานมีคุณภาพ

K5- Social Capital ทุนทางสังคม ต้องมีเครือข่าย (Network) ทางสังคม โดยยึดหลัก 3 ข้อ เพื่อให้เกิดเครือข่ายที่มั่นคง คือ

ก.  อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ระยะสั้น

ข.  เน้นความไว้เนื้อเชื่อใจ ยอมรับกัน

ค.  เน้าความแตกต่างกันทางความรู้ ทักษะ และศักยภาพ เพื่อสร้างการรวมพลัง

นอกจากนี้ยังต้องมีทุนที่สนับสนุน 2 ทุน คือ ทุนในการหาข้อมูลข่าวสารและต้นทุนในการเจรจาต่อรอง  ซึ่งต้องทำการศึกษาเทคนิคการเจรจา เพื่อให้ได้ประสบผลรับทั้ง 2 ฝ่าย

K6- Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืนะต้องมองอนาคตว่าจะอยู่รอดได้ ทั้งนี้ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ ความพอประมาณ มีเหตมีผล มีภูมิคุ้มกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

K7- Digital Capital ทุนทาง ITต้องมีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ

K8 – Talented Capital ทุนอัจฉริยะ ต้องมี คุณลักษณะ 3 ประการ คือ ทางความรู้ (Knowledge)  ทักษะ (Skills) และทัศนคติ (Attitude) ซึ่งสามารถพัฒนาได้ โดยใช้ ทฤษฎี 5E คือ

  Example การมีตัวอย่างที่เก่ง เป็นแบบอย่าง

  Experience เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์

  Education ได้จากการศึกษา พัฒนา ฝึกอบรม อ่านหนังสือ

  Evaluation ต้องมีการติดตามประเมินผล พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2.  ทุน 5 K’s ใหม่ เป็นทุนต่อจาก  8 ทุนเดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งอาเชียน และเวทีโลกประกอบด้วย

2.1 Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ต้องฝึกคิดนอกกรอบ คิดให้เป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

2.2 Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ความรู้ต้องที่ได้ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R’s คือ Reality ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance ความรู้ต้องตรงประเด็นกับความต้องการของผู้รับบริการ

2.3 Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม เป็นความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า การเกิดนวัตกรรมต้องมี ความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้ การพัฒนาทุนทางนวัตกรรม ใช้ทฤษฎี 3 C คือ

ก.  Customers วิเคระห์ความต้องการของลูกค้าทั้งภาในภายนอก

ข.  Change Management บริหารความเปลี่ยนแปลง

ค.  Command and Control ลดการควบคุม สั่งการ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทำงานเป็นทีม

2.4 Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งประกอบด้วย ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศาสนา ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อ  ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม

2.5  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือการรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  สามารถพัฒนาสร้างได้คือ มีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี

3. ขั้นตอน การนำทุน 13 ทุนมาใช้ เพื่อรับกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ มีวิธี คือ

3.1 ศึกษา เรียนรู้ สถานการณ์ เช่น เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน

3.2 สำรวจตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม  นำมาวิเคราะห์ เพื่อหาโอกาส และลดความเสี่ยงวางแผนปรับใช้

3.3 พัฒนาทุนมนุษย์ โดยทฤษฎี 8K’s + 5K’s

3.4 ติดตามวัดผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


สุรชัย เจริญศักดิ์


            จากความตื่นตัวของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในช่วงเวลาอีกไม่ถึง ๓ ปีข้างหน้า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ผู้คว่ำหวอดอยู่ในวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากว่า ๓๐ ปี อย่างศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากประสบการณ์ชีวิตของท่านมาไว้ในหนังสือ “8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ซึ่งเสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่นยืน

รายละเอียด

ทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
๑.  Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่เกิดมามีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน
๒.  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
๓.  Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ ทุนภายในส่วนลึกหรือสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
๔.  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน
๕.  Social Capital ทุนทางสังคม คือ ทุนที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือสังคมภายนอกในการหล่อหลอมตัวตนของแต่ละบุคคลให้เป็นไปในทางดีหรือทางเสื่อมขึ้นอยู่กับทุนทางจริยธรรมของแต่ละบุคคลที่จะมุ่งสร้างคุณงามความดี หรือจะกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้างและสังคม
๖.  Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ ทุนที่เกิดจากการกระทำของคนที่มุ่งหวังผลในระยะยาวโดยเริ่มต้นจากการกระทำความดีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
๗.  Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยรวมได้
๘.  Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ ทุนที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ทักษะความรู้ บ่มเพาะจนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในด้านต่างๆ ตามแต่ความถนัดและทัศนคติของแต่ละบุคคล


ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย
๑.  Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไปภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ
๒.  Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนาโดยมุ่งให้เกิดความเจริญในทางบวก
๓.  Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น
๔.  Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ ทุนในการเรียนรู้ ค่านิยม แนวคิดหรือความเชื่อของคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงความคิดของบุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
๕.  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การบริหารจัดการ EQ ซึ่งจะส่งผลถึงทุนในด้านต่างๆ ให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
 

ประโยชน์

สิ่งสำคัญที่ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ฝากไว้ คือ การลงมือพัฒนาทุนทั้ง ๑๓ ประการในข้างต้นให้แก่คนไทย เพื่อให้สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน ASEAN Citizen ได้อย่างง่ายดายและยั่งยืน...ก่อนที่จะสายเกินไป พอสรุปได้ดังนี้

๑.  สามารถจุดประกายทางความคิดและสามารถต่อยอดไปสู่การปฏิบัติอย่างมีแนวทางสำหรับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

๒.  ปรับไปใช้กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม หรือประเทศไทยของเรา เพนาะเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทุนมนุษย์ของสังคมไทยมีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน

๓.  AEC จะมีผลกระทบการเปลี่ยนโครงสร้างชีวิต การดำเนินการชีวิตและวิธีคิดต่างๆ ไปจากเดิม

๔.  ทฤษฎี 8K’s + 5K’s เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปปรับใช้พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพเป็นทั้งคนเก่ง คนดี และมีคุณธรรม


นายเอกรัฐ สมินทรปัญญา

การอบรม ในวันที่ 30 มกราคม 2556 ได้เรียนรู้ในเรื่อง


· Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม จาก อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์

· Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน จาก อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

· การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
จาก อ. กิตติ ชยางคกุล

     การทำงานทั้งของตัวเอง และขององค์กร ในยุคปัจจุบันและในอนาคต คงต้องมีการแนวทางการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ Mind Mapping การคิดเชิงบวก Creative Thinking and Value Creation และโครงการแบบนวัตกรรม ไปใช้ในการทำงานมากขึ้น ดังเช่น จะเห็นได้ว่าในกรณีของการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ในปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีต โดยปัจจุบันในองค์กรได้ให้โอกาสกับคนรุ่นใหม่ได้รับตำแหน่งมากขึ้น อาจด้วยบริบทที่เปลี่ยนไป หรือเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในเรื่องความต่อเนื่องของบุคลากร (รุ่นต่อรุ่น) ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสได้รับตำแหน่งมากขึ้น ซึ่งหมายถึงคนรุ่นเก่า มีโอกาสในการรับตำแหน่งน้อยลง ดังนั้นองค์กรน่าจะมีการพิจารณาในการใช้กระบวนการการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้ Mind Mapping การคิดในเชิงบวก Creative Thinking and Value Creation และการเลือกหัวข้อโครงการแบบวัตกรรม เพื่อนำมาคิดโครงการในการที่จะหาทางออกที่เหมาะสมที่สุดอย่างเป็นรูปธรรม ในการดำเนินการกับคนรุ่นเก่าซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และสังคมโดยรวม เพื่อเป็นการให้เกียรติ รวมถึงอาจเป็นการชดเชยกับโอกาสในการรับตำแหน่งที่ลดลง




บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.  (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์)

  ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ. ในความคิด(อุดมคติ)ของผมหลังจากได้รับฟังการบรรยายของอาจารย์ ควรมีคุณสมบัติมองการไกล  กล้าหาญ เสียสละ อุทิศตน  มีธรรมาภิบาล  เอื้ออาธรผู้ใต้บังคับบัญชา มี Self Trust, Relationship Trust  , Organization  trust  และSocial Trust หากมีคุณสมบัติตามนี้แล้วจะสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับคนในองค์กรและภายนอก สามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างยั่งยืน

  “The key to successful leadership is influence not authority’’  K.Blanchard

Leading People  (อ.พจนารถ ซีบังเกิด)

  ธาตุแท้  ความกลัว 3ประการ และความต้องการ 6ประการ มีผลต่อบุคลิกภาพและภาวะผู้นำ หากได้ศึกษาเข้าไปในตัวตนถึง ธาตุแท้ (Who am I) สามารถจัดการกับความกลัว และเติมเต็มความต้องการที่พร่องของผู้นำได้  อาจด้วยการค้นหาด้วยตนเอง หรือโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ  จะทำให้ผู้นำนั้นสามารถนำองค์กรให้ก้าวหน้าได้อย่างราบรื่น

  บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์


วุฒิไกร สร่างนิทร

วันที่ 29 มกราคม 2556  รู้สึกมีความดีใจที่ได้เข้ารับการอบรมรมในหลักสูตร EGAT Assistant Director Development Program (EADP) และทีภูมิใจที่สุดคือได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์  อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หลังโด้รับฟังประวัติอาจารย์ฯแล้ว สรุปได้เลยหนทางแห่งการเรียนรู้ของข้าพเจ้ายังเหลืออีกยาวไกล อย่างไรก็ตามจะพยายามเรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้ได้มากที่สุด

ความคาดหวังว่า หลังจากจบหลักสูตร โครงการ EGAT Assistant Director Development Program  ประการแรก ข้าพเจ้าจะมีเครือข่าย กับผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายฯในรุ่นนี้ ประการที่สอง ได้พัฒนาตามกรอบความจำเป็นขององค์กร และประการที่สาม คือได้เรียนรู้และแลกประสบการณ์กับผู้ร่วมโครงการทุกท่าน

ในการอบรม เริ่มวันนี้ หัวข้อแรกเรื่อง การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ. โดย  อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอาจารย์ได้แสดงออกถึงพลังและคลังแห่งความรู้ในตัวท่านให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ประจักษ์ เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่กว่าการเรียนรู้ สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ก็คือ คำว่า ผู้นำ หากต้องการก้าวต่อไป จะต้องรู้จักต่อความหมายคำว่า ผู้นำ และรู้วิธีการนำไปใช้อย่างเหมาะสมกับจริตตนเองต่อไป

สำหรับช่วงบ่ายเป็นการอบรม Leading People โดย อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ด้วยการสังเกตุ ตั้งแต่ท่านอาจารย์ได้รับการแนะนำ อาจารย์เป็นคนที่ดูเรียบง่าย การสอนดูเป็นธรรมชาติสบายๆไม่เหมือนกำลังทำงาน  แต่เด่นสดุดตา มีเอกลักษณ์ น่าสนใจ ทราบภายหลัง  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ได้ค้นพบตนเองและทำในสิ่งที่ตนเองชอบจึงดูทำอะไรก็ง่ายๆ อาจารย์ได้สอนวิธีที่ค้นหาตัวตนของตนเอง Who am I? และรู้ถึงวิธีการประยุกต์ด้วยการทำงานตาม Style ที่ตนเองถนัดซึ่งจะทำให้ตัวเราเพลิดเพลินมีความสุข นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้กระบวนการธรรมชาติการรับรู้ของคน การประมวลผลจากบางส่วนของข้อมูลรับรู้และประสบการณ์ ซึ่งแต่ละคนจะได้ผลลัพ์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่อาจารย์เปรียบเทียบ ได้แก่  เรื่องลูก 8 คน ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันแต่มีนิสัยที่แตกต่างกันเป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ยังให้แนวคิดทุกคนไม่ต้องการเป็นคนชั่วแต่การกระทำที่ออกมาเนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูล การกรองรับข้อมูลและสติปัญญา ซึ่งข้อคิดนี้สำคัญมากเพราะข้าพเจ้าจะนำไปใช้เป็นหนึ่งเครื่องมือในการบริหารต่อไป
วุฒิไกร สร่างนิทร

วันที่ 30 มกราคม 2556 วันนี้เป็นวันที่สองของการอบรม เริ่มปรับตัวเข้าสู่บรรยากาศของการอบรมแล้ว เริ่มคุ้นเคยกับ พี่ๆเพื่อนๆผู้บริหารที่เข้ารับการอบรม ซึ่งข้าพเจ้าให้ความสำคัญมากเพราะอนาคตในการทำงาน กฟผ.เราต้องพึ่งพากันและร่วมทางเดินไปด้วยกันอีกยาวไกล

ช่วงเช้าเป็นหัวข้อเรื่อง Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม โดย อาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์  ครั้งแรกนึกว่าเป็นการทำงาน QCC มีก้างปลา แต่ครั้งได้เรียนรู้กับอาจารย์เรื่อง Mind Mapping พบว่ามีความลึกซึ้งกว่านั้น เป็นเทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากความรู้เรื่องสมองและความทรงจำของสมองคนเราจริงๆรจดบันทึก คนเราเมื่อพบเจอสิ่งใดจะเกิดการเรียนรู้ แต่หากทำซ้ำกันเกิน 100 ครั้งจะเกิดเป็นนิสัย  สำหรับสิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานคือการทำ Mind Mapping บ่อยๆจะทำให้สมองถูกใช้งานไม่ห่อเหี่ยว-สมองไม่ผ่อ เป็นคนคิดได้เร็ว และที่สำคัญจะเป็นการพัฒนาจาก ความรู้ สู่ จิตนาการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสุดยอด ผู้นำ

ช่วงบ่าย ช่วงที่ 1 เป็นหัวข้อเรื่อง Creative Thing and Value Creation และการสอนการออกแบบเพื่อการพัฒนา กฟผ.ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดย อาจารย์ ฌรงค์ ผ้าเจริญ อาจารย์ท่านเป็นคนที่สอนในแนวศิลปิน มีความคิดเชิงจิตนาการสูง คิดนอกกรอบ มองจากภาพใหญ่ลงสู่ภาพเล็ก เล็งเห็นความสำคัญในรายละเอียด มีความคิดที่แตกต่าง ให้ความสำคัญแบบเสมอภาค ขายแนวความคิด เช่น แนะนำให้ สร้างต้นไม้ กฟผ. เปลี่ยนโรงไฟฟ้าเป็นแหล่งเรียนรู้ สิ่งที่ได้จาการเรียนรู้กับอาจารย์ เราควรเคารพแนวความคิดของคนที่มีความเห็นแตกต่าง มีความเห็นนอกกรอบ ซึ่งในบางเรื่องอาจจะเป็นเครื่องมือนำความความสำเร็จสู่ กฟผ.ก็เป็นไปได้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีทั่วไป

ช่วงบ่าย ช่วงที่ 2 เป็นหัวข้อเรื่อง การเลือกหัวข้อโครงการแบบวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ได้นำเสนอหัวข้อโครงการจำนวน 6 เรื่องสำหรับ 6 กลุ่ม ซึ่งกลุ่ม 4 ของข้าพเจ้าได้เลือกโครงการที่ 6 เรื่อง ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2525 และได้ข้อสรุปให้สมาชิกแต่ละท่านทำ Mind Mapping มาเสนอในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 56 นี้


บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร  (อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์)

  เนื่องจากสมอง 2 ซีกของมนุษย์จะมีทักษะต่างกัน ซีกซ้ายมีทักษะในการคำนวณ การใช้เหตุผล การแก้ปัญหา

ซีกขวามีทักษะด้านจินตนาการ ความสามารถทางศิลปะ ในการจดบันทึกทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้สมองซีกซ้ายทำให้ไม่สามารถนำความคิดหลากหลายมาเชื่อมโยงกันได้ Mind Map จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยการจดบันทึกโดยใช้สมอง 2ซีกได้อย่างเต็มที่

  จากการทดลองทำ Mind Map รู้สึกว่าสามารถเชื่อมโยงและแตกแขนงความคิดในการบันทึกข้อมูลได้ดีมาก จดจำง่ายด้วยถ้าเพิ่มรูปภาพหรือสัญลักษณ์เข้าไปอีก อาจารย์มอบหมายให้ทำ 100แผ่น ตามทฤษฎี ทำบ่อยๆ จะเกิดทักษะ ผมก็จะพยายามครับ

Creative thinking and value  creation  (อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ)

  หัวข้อนี้แม้จะอยู่ช่วงบ่ายแต่ไม่ง่วงเลย ฟังอาจารย์บรรยายเล่าเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์จริงๆของอาจารย์แล้วสนุก และมีสาระมาก รู้สึก get หลายอย่าง ความคิดบางอย่างเหมือนคิดเล่นๆ เป็นไปไม่ได้หรอกแต่กลับได้เต็มๆ

ดังนั้นอย่าหมิ่นความคิดใครแม้เด็กตัวเล็กๆ ส่วนใหญ่เรามักจะคิดแล้วติดทฤษฏี จึงทำให้ทฤษฏีตีกรอบความคิด ผมนึกถึงคำพูดไอสไตน์ที่ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ขึ้นมาทันที  อย่าเป็นหัวสี่เหลี่ยม คิดนอกกรอบบ้าง ฟังเด็กคิด หรือคนความรู้น้อยคิดบ้าง อาจจะได้ความคิดนอกกรอบดีๆขึ้นมา  อาจารย์บอกว่าโลกปัจจุบันเข้าสู่ยุค visual culture

อันนี้ผมเชื่อเลย สมัยก่อนอ.เชียงคานผมไปเที่ยวแค่แก่งคุดคู้ ในตัวเมืองเงียบมากไม่มีใครสนใจ มีใครไม่รู้ไปถ่ายรูป แล้วบรรยายภาพให้เห็นบรรยากาศบ้านไม้เก่าๆ การใช้ชีวิตที่ สงบ เนิบช้า แล้วpostให้เพื่อนๆดูในsocial media หลังจากนั้นก็กระตุ้นความอยากไปของหลายๆคนที่เข้ามาอ่าน  ไม่นานหลังจากนั้นผมไปเชียงคานอีกครั้ง โอ้โฮนี่มัน

Studio กลางแจ้งขนาดใหญ่นี่เอง มีมุมให้ถ่ายภาพสวยๆ เต็มไปหมด เดี่ยวนี้ชาวบ้านไม่ต้องไปทำนา หาปลาแล้ว เปิด เกสต์เฮ้าส์กันหมด แน่นตลอด ช่วงหนาวต้องจองก่อนหลายเดือนถึงจะได้  พออาจารย์พูดถึง  เพลินวาน ที่หัวหิน

แม้ไม่มีที่จอดรถ คนยังแน่นตลอด ผมเลยนึกภาพออก เพราะว่าโลกปัจจุบันเข้าสู่ยุค visual cultureแล้วจริงๆคงต้องไปคิดต่อเรื่องต้น EGATที่อาจารย์ฝากไว้

  อาจารย์พูดถึง  หมู่บ้านแม่กำปองที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านยั่งยืน หมู่บ้านแม่วาง-แม่วินที่ปลูกผักขายโครงการหลวง เป็นการจัดการความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดคุณค่าอย่างมาก ผมรูสึกว่าอยากไปดูงานมากครับ หลักสูตรนี้น่าจะพาไปบ้างนะครับ ไม่ได้ไปต่างประเทศ ไปที่นี่ยังดีครับ

การเลือกหัวข้อโครงการ (อ.กิตติ ชยางคกุล)

  กลุ่ม 2 เลือก  กลยุทธและแผนงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของ กฟผ.  ครับ

  บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

  30/1/56

 


เรียน อาจารย์ดร.จีระ

  ผมขอสรุปความรู้ที่ได้เรียนวันนี้ดังนี้

  จากเรื่องผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

1.ได้รู้วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ โดยใช้ 4L ,2R ,2I ,3L ,C&Eและ C-U-V

2.ผู้นำและผู้ตามต่างกันอย่างไร

  ผู้นำให้ความสำคัญเรื่องคนใช้วิธีสร้างศรัทธากับลูกน้อง มองอนาคตระยะยาวและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  ผู้จัดการให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นระบบใช้วิธีควบคุมลูกน้อง มองผลงานระยะสั้น และมักจะไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

3.ผู้นำมีหลายแบบดังนี้

  Trust/Authority

  Charisma

  Situation

  Quiet Leader

4.คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ ในประเทศไทย

  Integrity Leadership Style

  Grooming Future Leader

  Global Network Leadership

  Balancing Style Leadership

  Leadership of Diversity And Innovations

5.การสร้างผู้นำ ใช้ 5 ทฤษฎี 5E

  Example

  Experience

  Education

  Environment

  Evaluation

 

ความรู้จากอาจารย์พจนารถ เรื่อง Leading People

1.ได้เรียนรู้ ศูนย์ทั้ง 5 ของมนุษย์ซึ่งประกอบไปด้วย ธาตุแท้ สติปัญญาร่างกาย ความรู้สึก และมโนธรรมลึกซึ้ง และ ทำให้รู้วิธีค้นหาตัวเอง

2.รู้ 6 Core Needs Of Human Beings

  Certainty/Security

  Uncertainty/Variety

  Connection & Love

  Significance

  Growth

  Contribution

3.Fears Of Human Being

  Not Good Enough

  Not Being Loved

  Not Belong To

อติชาติ โซวจินดา

 

ผู้นำ (Leader) มีความแตกต่างจากผู้จัดการ (Manager) โดยผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วยและต้องมองภาพใหญ่ทั้งทางด้านโลกาภิวัฒน์และผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมของสถานะการณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีนัยสำคัญต่อการบริหารงานในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ  คุณลักษณะของผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สิ่งสำคัญ คือการเรียนรู้ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ทั้งทางด้านทักษะ ความรู้ และ ทัศนะคติ โดยอาจจะศึกษาได้จาก ตัวอย่างแม่แบบ(Role Model)  หรือมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์  หรือการศึกษาและพัฒนาจากการอบรม และอ่านหนังสือตำราต่างๆ  ทั้งนี้ผู้นำจะเน้นศรัทธาแทนการสั่งการและเน้น Why มากกว่า How และที่สำคัญ ดังนั้น จะเป็นผู้นำที่ดีของ EGAT จะต้องมองภาพใหญ่ มี Vision มองอนาคตออก มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ และอีกสิ่งที่สำคัญมากก็คือ Trust หรือความศรัทธาในผู้นำนั้น  จึงจะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจและนำพา EGAT ไปสู่จุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จได้

Leading Peopleต้องถามตัวเองว่า Who am I? เพื่อให้รู้ว่าเราเป็นใครแล้ว ให้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น Leader แบบไหน ให้เลือกจากสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง เช่น ซื่อสัตย์ โปร่งใส Creative Innovative Diversity และอันไหนที่เรา Develope ได้ ให้ Develope from Strange   เรามี Need และ Fear  Need คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้ง 6 อย่างพร้อม ๆ กัน ถ้าตัวไหนขาดเราจะมีพฤติกรรมที่เติมเต็ม ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งถ้าเราเป็น Leader  ที่ดีจะต้องมีพฤติกรรมเติมเต็มทางด้านบวก 


วันที่ 29 มกราคม 2556

หัวข้อ  การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

ได้เรียนรู้ผู้นำ สามารถเรียนรู้ และฝึกฝนได้  สำหรับผู้นำที่ดี ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องบริหารความหลากหลายให้ได้  รู้จักสร้างศรัทธา  รับฟังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชา มีเมตตา สร้างบรรยากาศให้เกิด Value Added Value Creation และ Value Diversity และข้อสำคัญ ผู้นำต้องอ่านหนังสือ (Leader/Reader)

หัวข้อ Leading People

ได้เรียนรู้ จะเป็นผู้นำที่ดี จะต้องค้นหาธาตุแท้ของตัวเอง มีข้อดีอะไรบ้าง ตั้งเป้าหมายว่า จะเป็นผู้นำแบบไหน (แบบมีสาระ) ติดอุปสรรคอะไร  จากนั้นเติมเต็ม Needs ในด้านบวก (เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอาชีพของเรา) หัดชมครอบครัว  ผู้ใต้บังคับบัญชา การเข้าใจชีวิตมากขึ้น ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เก่งขึ้น ถือว่าก้าวหน้า (มี Growth)


นายสาเรศ. อินทุเศรษฐ

           Mind-Mapping ถือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากสำหรับ การบริหาร การจัดการ หรือแม้กระทั่งการวางแผน เป็นเครื่องมือการแก้ปัญหา เพื่อสร้างแนวทางการแก้ไข และการปฏิบัติการได้อย่างชัดเจน

Mind-Mapping สามารถใช้ได้ทั้งเชิงลบ และเชิงบวก คุณอาจจะนำเอาปัญหามาตั้งเป็นหัวข้อ หรือจะนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาตั้งเป็นหัวข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการ

ข้อดีของการทำ Mind-Mapping

1.  ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง

2.  ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง

3.  สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน

4.  กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์

5.  สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

1. ใช้ระดมสมองในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน

2. ใช้นำเสนอข้อมูล นำไปใช้ในการนำเสนอต่อที่ประชุมต่างๆ รวมถึงงานเผยแพร่ข้อมูลของงานให้แก้หน่วยงานภายนอกหรือประชาชนทั่วไปได้รับทราบได้ เพราะจะสามารถมองภาพรวมได้ง่ายขึ้น

3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ ในกรณีที่งานมีปริมาณมากหรือมีขั้นตอนกระบวนการซ้ำซ้อน การใช้ Mind-Mapping จะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น มิให้สับสน

4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ

5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้ เพื่อนำไปถ่ายทอด หรือ ใช้สอนงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานใหม่ได้

   Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน อาจารย์ได้ให้มุมมองความคิดโครงการซึ่งเป็นลักษณะความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นมุมมองความคิดที่แตกต่างจากมุมมองปกติ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุค Post Model เป็นยุคแห่ง สหวิทยาการ โลกสมัยใหม่เป็นโลกแห่งจินตนาการ ใครคิดแปลก คิดสร้างสรรค์ จะสามารถอยู่รอด และเป็นผู้ชนะ เรื่องข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ที่สำคัญจะต้องมี Network ซึ่งจะต้องร่วมมือกันเป็นเครือข่ายระหว่างองค์กร หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา กฟผ.ไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการเองทั้งหมดสามารถใช้เครือข่ายดำเนินการก็จะสามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ สำหรับโครงการของ กฟผ.จำเป็นจะต้องได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อใจจากประชาชน การทำแผนให้มองภายในองค์กรก่อนโดยเอาคน กฟผ.เป็นตัวตั้งจะต้องมีการคิด Innovation ใหม่ๆ 

วันที่  29 มกราคม 2556

หัวข้อที่ 1  การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ที่ให้ความรู้ในเรื่องแนวทางและกุญแจสำคัญของภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำในอนาคตขององค์กร  การสร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน และแบ่งปันความรู้กัน การสร้างศรัทธา และคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความเจริญเติบโตให้ กฟผ. อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

หัวข้อที่ 2  Leading People

ได้รับความรู้ความเข้าใจในการรู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น เข้าใจกระบวนการการทำงานของศูนย์ทั้ง 5 ของมนุษย์  เข้าใจธาตุแท้ของตัวเองยิ่งขึ้น เป็น ประโยชน์ทั้งในด้านการบริหารจัดการงาน และชีวิตตนเอง มีแนวทางการตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อองค์กร  ขอขอบพระคุณอาจารย์นะค่ะ


วันที่  30 มกราคม 2556

หัวข้อที่ 1  Mind Mapping  สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

-  ได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของสมอง การฝึกคิด การเรียงลำดับความคิด การจับประเด็นสำคัญ การเชื่อมโยง

ข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการวางแผน บริหารจัดการงาน และชีวิตส่วนตัว และยังสามารถนำไปแนะนำลูกให้ใช้ประโยชน์ในเรื่องการเรียนได้ด้วยค่ะ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์มา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ

หัวข้อที่ 2  Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

-  ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการคิดที่เป็น Value คำนึงถึง Stakeholder เสมอ  ความรู้ในเรื่องของ Knowledge Base Society Creative Base Economy รวมทั้ง Competitive Advantage Experiental Marketing  และแนวโน้มวิถีชีวิตแบบใหม่ Visual Culture  ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการคิดและออกแบบโครงการของ กฟผ. ที่ช่วยเหลือสังคมได้ตรงกับความต้องการของประชาชน

หัวข้อที่ 3  การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

-  ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ Innovation Thinking Approach การโน้มน้าวและองค์ประกอบที่สำคัญของการนำเสนอโครงการที่มีความเหมาะสม สอดคล้อง  และตรง


เกรียงไกร ไชยช่วย

วันนี้ ช่วงเช้าได้เรียนรู้เรื่อง Mind map กับอาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์  ซึ่งเป็นเทคนิคการพัฒนาสมองทั้งสองซีกให้สมดุลย์กัน และดึงเอาศักยภาพของสมองที่มีอยู่เอามาใช้ให้ได้มากขึ้น  โดยการฝีกการเขียนหรือสรุปงานด้วยการใช้สัญญลักษณ์, เส้น, สีที่แตกต่างกัน  แทนการเขียนทั่วไปตามปกติ  เพราะสมองจะจดจำรูปภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือจากการฝึกหัดรู้สึกได้เลยว่าดีมาก  จะช่วยงานในเรื่องความจำได้เยอะ ถ้ามีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง   

ช่วงบ่าย อาจารย ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ  ได้บรรยาย Creative thinking and value creation ได้ความรู้และเปิดมุมมองใหม่ๆ ได้มากครับ โดยเฉพาะในปัจจุบัน  การตอบสนองทางสังคม ควรเป็นsense @ response  มากกว่าที่จะเป็นแบบMade and sale  หรือประเด็นCorporate communication ก็เป็นโจทย์ที่น่าคิดสำหรับ กฟผ. ว่า ในภาวะปัจจุบัน เราทำได้ดีเพียงไร

ช่วงท้าย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล ได้มอบความรู้ในเรื่องการเลือกโครงการที่ดีนั้น ต้องตอบโจทย์  2R ให้ได้ คื อ 1.Relevance  ต้องเกี่ยวข้องกับEGAT  2.Realistic ต้องเอาไปใช้ได้จริง  และเมื่อทำแล้วก็ต้องมี Value added,มีValue creation  และมีValue diversity   ต้องขอบคุณอาจารย์ทั้งสามท่าน มา ณ โอกาสนี้ อีกครั้ง ครับ

  เกรียงไกร ไชยช่วย  31 มกราคม 2556


วันที่ 30 มกราคม 2556

หัวข้อ Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

Mind Map (เป็นเครื่องมือฝึกสมองชนิดหนึ่ง) เป็นแผนที่ทางความคิดที่จะเชื่อมกับจินตนาการ  ความรู้ที่มีอยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มความรู้ได้จะต้องมีจินตนาการ (ฝึกคิด) ด้วย   อะไรที่ต้อง จด คิด วางแผน สามารถทำเป็น Mind Map ได้หมด (Mind Map เป็นเครื่องมือที่ช่วยสรุปความ  จับประเด็น)  Mind Map ผสมกับเครื่องมืออื่นได้ เช่น ผัง แผนภูมิ ก้างปลา Flow Chart   สมองมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้จำตัวเลข ตัวหนังสือ แต่สมองชอบจำ พวกภาพที่มีสีสรรมากกว่า (สัมพันธ์กับสมองซึกขวา)

การใช้งาน Mind Map

-  ทำให้การใช้เวลามีประสิทธิภาพมากขึ้น

-  ทำให้การสื่อสารในกลุ่ม  ในที่ประชุม เข้าใจง่ายขึ้น

-  ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากสมอง 2 ซีก ประสานกัน

  สมองซีกซ้าย -  จัดลำดับงาน  วิเคราะห์ (เกี่ยวกับรูปธรรม)

  สมองซึกขวา -  จินตนาการ มองอะไรที่เป็นภาพรวม (เกี่ยวกับนามธรรม)

  ความจำ (ของสมอง) ระหว่างเรียนรู้ จะเป็นรูปเรือหงส์ (เริ่มต้น และตอนท้าย จะจำได้แม่น

  ที่สุด)

-  การทำ Mind Map จะต้องหัดสร้างความสัมพันธ์ สร้างการเชื่อมโยงข้อมูล ทำบ่อย ๆ สมองจะจำได้มากขึ้น เช่น วางแว่นตาใกล้กับอะไร

-  การทบทวน สรุปความ จับประเด็น ตั้งแต่ต้น มันจะไปดึงความรู้เดิม (ที่มีอยู่แล้ว) มาได้มาก และจะเข้าไปสู่ ความทรงจำระยะยาว เช่น ประชุมเสร็จ ควรจะรีบสรุปความจับประเด็น

องค์ประกอบที่ช่วยในการจำของ Mind Map มีองค์ประกอบ 5 ส ดังนี้

1.  สัญญลักษณ์ (ภาพ, คำ)

2.  สั้น (keyword)

3.  เส้น  สาย

4.  สี

5.  สวย  สร้างสรรค์

หัวข้อ Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ.

  ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ความคิดสร้างสรรค์ มาจาก ของเดิม ทุนเดิม (ทุนมนุษย์  ทุนวัฒนธรรม ทุนสิ่งแวดล้อม ความรู้ชุมชน) ที่มีอยู่แล้ว + ความคิดใหม่ + จินตนาการ

การออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

- Demand Management  ค้นหาลูกค้า คือใคร อยู่ที่ไหน

  (โรงงาน อุตสาหกรรม เกษตร ท่องเที่ยว)

- Value Exploration  ค้นหาความต้องการของลูกค้า

- Core Competencies  ความสามารถหลักของเรา

- Network Management  การจัดการเครือข่าย หาแนวร่วม

หัวข้อ  การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

อาจารย์ มอบหมายให้ทำโครงการเรื่อง “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของ กฟผ. ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015” และนำเสนอผู้บริหาร กฟผ. ประมาณเดือน พฤษภาคม 2556 โดยโครงการจะต้องมี   3 V คือ Value Added, Value Creation, Value Diversity และ 2 R คือ Reality และ Relevance


วันที่ 31 มกราคม 2556

เรียน  ท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์

ได้เร่งรีบอ่านหนังสือ “8K’s + 5K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่งอาจารย์จีระฯ ได้ถ่ายทอดแนวคิดและทฤษฎีเพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ในปี 2558 แม้มีเวลาน้อยประกอบกับการอ่านของกระผมเป็นไปอย่างช้าๆ เพื่อจับประเด็นนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองและองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และต้องรายงานตามกำหนดเวลา แต่ด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจและน่าติดตามจึงอ่านจนจบ (จำเป็นต้องอ่านข้ามบางหน้า) 

ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ตามแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

K1Human Capitalทุนมนุษย์

K2Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

K3Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

K4Happiness Capitalทุนทางความสุข

K5Social Capitalทุนทางสังคม

K6Sustainable Capitalทุนทางความยั่งยืน

K7Digital Capitalทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

K8Talented Capitalทุนทางความรู้, ทักษะ และทัศนคติ

   นอกจากแนวคิด 8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ยังมีทุนอีก 5 ประการ ที่มีความสำคัญ ซึ่งช่วยให้ทุนของมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอสามารถแข่งขันในสังคมอาเซียน ได้อย่างสง่างามและยั่งยืน ทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ประกอบด้วย

Creativity Capitalทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

Cultural capitalทุนทางวัฒนธรรม

   ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน

การพัฒนาทุนมุนษย์ในกรอบของ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 10 ประเทศเกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงของการร่วมมือกัน 3 เรื่องใหญ่ ประกอบด้วย

-เศรษฐกิจและการค้า การลงทุน

-สังคมและวัฒนธรรม

-ความมั่นคงทางการเมือง 

นอกจาก 10 ประเทศแล้วยังมีอาเซียน+3 ที่มีจีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หรืออาเซียน+6 รวมถึง อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ซึ่ง AEC เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติและเกิดการแข่งขันทางด้านแรงงานอย่างรุนแรง

ดังนั้นทฤษฎี 8K’s + 5K’s ของท่านอาจารย์จีระฯ เป็นทฤษฎีที่สำคัญที่องค์กร กฟผ. ต้องตระหนักและทำความเข้าใจ AEC อย่างถ่องแท้ พร้อมต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเตรียมรับโอกาส/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ 

กฟผ. มีบริษัทในเครือ เช่น RATCH, EGCO, EGATi หรือแม้แต่ กฟผ. เอง AEC ก็เป็นโอกาสในการแข่งขันเพื่อพัฒนาองค์กรและภาพอนาคต กฟผ. ตามวิสัยทัศน์องค์กร “เป็นองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้า ระดับสากล” 

กระผมเคยได้ฟังเสวนาของท่านกอบศักดิ์ฯ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ มหาชน จำกัด ซึ่งพอจับใจความได้ว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น ซึ่งสามารถพิมพ์เงินได้ แต่ไม่สามารถสร้างคนไปทำงานได้ เนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจที่ถดถอย หรือแม้แต่ประเทศในยุโรป (EU) ที่จะเกิดในอนาคต

 ขอบคุณครับ

จากนายวีระ  วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน สายงานเชื้อเพลิง


ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น

31 มกราคม 2556

บรรยายโดย ดร.กมล  ตรรกบุตร

  ศ.ดร.ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์

ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ดร.กมล  ตรรกบุตร

-  เริ่มการบรรยายโดยปูพื้นฐานในด้านพลังงาน เรื่องแผนพัฒนาพลังงาน และสรุปสถานะของเรื่องแผ่นดินไหว

-  ในภาพรวมของประเทศไทยในเรื่องของพลังงานขั้นต้น พบว่า ในเรื่องพลังงานจากก๊าซธรรมชาติการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปีนี้ยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติอยู่

-  การใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 70% มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

-  ภาพรวมของโลกน้ำมันเหลืออีก 40 ปี

-  ก๊าซธรรมชาติเหลืออีก 70 ปี

-  ถ่านหินเหลืออีก 100 กว่าปี

-  แต่ถ้าเป็นยูเรเนียมเมื่อใช้แบบ Recycle สามารถใช้ได้หลายพันปี

-  การผลิตไฟฟ้า มี 5 generation  การพัฒนาจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพและการใช้งาน

แผน Long Term ระยะยาว จะทำการรื้อถอนทั้งหมด

โรงไฟฟ้าอื่น ๆ ทำอะไรบ้าง

·  กรณีของคาซิวาซากิที่เป็นของโตเกียว ได้เอาประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของฟูโกชิมามาแก้ไข ตัวอย่างเช่น เอาเครื่องดีเซลมาใช้ทันที

·  ประเทศไทยได้ดำเนินการในขั้นต้นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เรียบร้อยแล้ว และได้รับความเห็นชอบจาก IAEA  ว่าให้เหลือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แค่ 2 โรงและให้เสร็จในปี 2526  มีการให้รายงานในเรื่องความเหมาะสมที่ได้ราคาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในปี 2563 และพบว่าโรงไฟฟ้า 4,000 เมกะวัตต์ของเวียดนามเริ่มทำแล้วคาดว่าจะเสร็จก่อน

บทสรุป

1. แนวทางการพึ่งพาในหลาย ๆ ประเทศเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากภาวะโลกร้อนจากการเผาเชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก

2. ปัจจุบันมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติค่อนข้างมาก การซื้อไฟจากต่างประเทศ ทำให้ไม่มั่นคง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  ในการอบรมรุ่นที่ 3, 4, 5 ของ กฟผ.นั้นให้ความสำคัญกับเรื่องพลังงานจากนิวเคลียร์มาก แต่พอมาในสมัยของคุณอภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ เนื่องจากมีกรณีของสึนามิที่ญี่ปุ่น ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกติดลบกับนิวเคลียร์และไม่เอาพลังงานนิวเคลียร์เลย ประเด็นอยู่ที่เรื่องความไม่แน่นอน ดังนั้นในรุ่นนี้จึงจำเป็นต้องจัดการความไม่แน่นอนให้ได้ (Unpredicable + Uncertainty) แต่ปัญหาคือคนไทยไม่ค่อยมีการวางแผนระยะยาว แต่พอเจอปัญหาระยะสั้นจะตื่นเต้นกับสิ่งนี้

ดร.ปณิธาน 

·  เรื่อง Clean Energy ที่ดร.กมลเล่าให้ฟังเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่อยากถามเรื่องผู้ที่เกี่ยวข้องจะจัดการเรื่อง Nuclear Waste ได้อย่างไร

การใช้ประโยชน์ได้มากกว่าตอนเป็นแท่งเชื้อเพลิง มีหน่วยงานที่สามารถเอาเชื้อเพลิงมาให้เราแล้วพอครบอายุก็จะกลับมา

โรงไฟฟ้าจะมีที่เก็บเหมืองใต้ดิน และมีระบบจัดการต่าง ๆ ดังนั้นภายใน 50 ปี  20 กก.ต่อแท่งจะเก็บไว้ก่อน มีการทำสัญญาในเรื่องการบริหารอย่างดี

·  ดร.จีระ ถามว่า นโยบายรัฐบาลปี 2026 เป็นนโยบายชัดเจน หรือเลื่อนไปอีก ทรัพยากรมนุษย์ที่มาทำเรื่องนี้จะมาจากไหน การจัดการกับ NGOs ต่อรองได้  เอาจริงไหม

แผนนี้ยังทำเรื่อย ๆ  การดำเนินงานลักษณะนี้กรมพลังงานไม่กล้าทิ้งและไม่กล้าออกหน้ามาก ตอนเราแผนนั้นเริ่มทำจากความเหมาะสม ได้ทดลองทำประชาพิจารณ์และทำโพล ได้ถามว่าความเห็นเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เห็นด้วยกี่เปอร์เซ็นต์ ผลคือเห็นด้วย 60%  แต่ถ้าที่ใกล้ ๆ เห็นด้วย 30 % แต่ถ้าในหมู่บ้าน 20 % รัฐบาลไทยบอกว่าให้ลองไปทำแบบสำรวจใหม่ แล้วถ้าผลสำรวจเป็นในมุมกลับกัน เช่นในหมู่บ้านเห็นด้วย 60% น่าจะสามารถยินดีให้ทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้  บางครั้งถ้ายังไม่มีคู่แข่งที่ชัดเจนรัฐบาลจะยังไม่ตัดสินใจ

ดร.จีระ เสนอว่า ถ้ามีความสามารถชัดเจน และนโยบายชัดเจนจะสามารถทำได้ แต่จากเหตุการณ์วิกฤตทำให้แนวทางสร้างโรงไฟฟ้าเกิดชะงักลง  ถ้าไม่มีไฟฟ้าจะทดแทนด้วยอะไร

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1. ความจริงแล้วรัฐบาลเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย แต่รัฐบาลไม่เข้มแข็งเนื่องจากเป็นประชานิยม ดังนั้นนโยบายจึงเป็นเรื่องยาก ส่วนเวียดนามจะสร้างหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเรา อยากทราบว่าพลังงานทางเลือกที่เข้ามาใหม่คืออะไร เช่นฝรั่งเศส การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลดลง แต่เริ่มหันมาสนใจ Clean Coal มากขึ้น

ดร.กมล  เห็นด้วยในเรื่อง Clean Coal 100 % แต่ขึ้นอยู่กับว่าไปศึกษามากน้อยแค่ไหน ต้องมีระบบกำจัดที่มีต้นทุนมาก ตามแผนไม่ว่ามีโรงไฟฟ้ากี่โรงก็ตาม เน้นระบบเผาไหม้มีประสิทธิภาพสูง แต่การจัดการจะมีมากขึ้น  สิ่งสำคัญคือการยอมรับของประชาชนจะมาอันดับแรก

ดร.ปณิธานเรื่อง Clean Coal น่าจะมีการวิจัยในระดับประเทศ ให้มี R&D ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหลายสถาบัน ศึกษาปัญหาต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง จะได้มีคำตอบ และมีอะไรที่ต้องเตรียมไว้เพื่อดำเนินการ และเตรียมเพื่อความปลอดภัยอย่างไร

2. พลังงานไม่ว่าได้ด้วยวิธีใดมีผลกระทบแน่นอน ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะจัดการของเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  ทำไมไม่เน้นเรื่องการจัดการให้เยอะขึ้น ให้การศึกษาประชาชนมากขึ้น และตอบแทนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ  หมู่บ้านที่ได้รับการสร้างจะต้องได้รับผลประโยชน์คุ้มค่ากับผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้น ในเรื่องนี้ถ้ามีแนวโน้มในการจัดการ ผู้ได้รับผลกระทบคุ้มค่าจะดึงหลาย ๆ สิ่งเข้ามา อย่างเช่น Clean Coal ถ้าจัดการไม่ดี ก็เกิดผลกระทบเช่นกัน และก่อให้เกิดความสะสมเช่นกัน ประเด็นคือเราต้องยอมลงทุนในเรื่องนี้ ของถูกและดีไม่ค่อยมี ของดีก็ต้องแพงด้วย

ดร.จีระ  ในรุ่น 8 พูดถึงการถือหุ้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย เปลี่ยนผู้รับผลกระทบมาเป็น Owner ด้วยนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ พอมาถึงเรื่องอาเซียน น่าจะมีโครงการ 1-2 ที่รองรับอาเซียน  ดังนั้นในเรื่องอาเซียน อยากให้คิดทฤษฎีกระเด้ง ในรุ่น 9 อยากให้ซีเรียส เราร่วมมือกันคิดโปรเจคใหม่ ๆ และบริหารไปสู่ความเป็นเลิศ

ดร.กมล เรื่องกองทุนขณะนี้ กฟผ.มีอยู่แล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้บริหารในการจัดการบริหารกองทุนให้ดี

3. ที่ ดร.กมลอธิบาย กฟผ.มีการเตรียมพร้อมด้าน Infrastructure แล้วเนี่ย ในเรื่องหน่วยงานอื่นที่ต้องออกใบอนุญาตต่าง ๆ ความพร้อมในการให้ใบอนุญาตมีพร้อมหรือยังถ้า รัฐบาลมีนโยบายให้ออก  เราเตรียมความพร้อมเรื่องคนมากน้อยเพียงใด เช่นเวียดนามเมื่อเปิดแล้วอาจเอาคนของ กฟผ.ไปด้วยเช่นกัน

ดร.กมล ในแง่ของการพัฒนา ปลัดฯ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้ออกใบแจ้งแล้ว การออกใบอนุญาตอยู่ในเขตสีแดงเนื่องจากตั้งแต่ปี 2501 สิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นเพียงระดับเล็กต้องขยายให้ครอบคลุมในวงกว้างเข้ามา หน่วยงานที่ทำพ.ร.บ.ต้องเข้ามาทำมากขึ้น  ปรากฏว่าในปี 2507 ได้เริ่มมีการพัฒนาแล้ว ในเรื่องของ AEC การประชุมหลายฝ่ายไม่พร้อมจะเริ่มปลายปี 2558 สิ่งที่เกี่ยวข้องจะนำมาปฏิบัติเช่นเรื่องของวิศวกรรม ทำงานที่คุยกันมาคุยกันแล้วจูนอัพให้เข้ากันได้  ดังนั้นการเจรจาจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ผ่านไปได้

4. จากแนวทางด้านพลังงานไม่ว่าจะเป็นนิวเคลียร์หรือถ่านหินได้ถูกให้ลดสัดส่วน โรงไฟฟ้าถ่านหินมีขนาดเป้าหมายอยู่ที่กระบี่  ปัจจุบันมีแนวโน้มที่พอเป็นไปได้ไม่เหมือนจังหวัดอื่นที่ถูกประท้วงอย่างแรง ประเด็นกฟผ.เนี่ย ถ้าในอนาคตหา Size ไม่ได้ ปัจจุบันสัดส่วนอยู่ที่ 47 % ถ้าหา Size ไม่ได้น่าเป็นห่วง ในอนาคตความเป็นไปได้ในการผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรมจะทำอย่างไร

5.การไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นที่ประเทศไทย เพราะว่าเรากลัวว่าไม่ดีพอ ตัวอย่างญี่ปุ่นมีมาตรการที่ดีมากและมีวินัยที่ดียังเกิดปัญหา สำหรับประเทศไทยจะมีมาตรการและวิธีการอย่างไรที่ทำให้เกิดได้

6. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวลาบรรจุในแผน แต่ถึงเวลาแล้วสามารถเลื่อนได้ 3,5,6 ปี คำถามคือตอนเวลาบรรจุในแผนนั้นสำคัญที่สุดเราจึงบรรจุหรือไม่ การเปลี่ยนรัฐบาลยังเปลี่ยนแนวคิด และเปลี่ยนแผนได้ รัฐบาลเข้าใจในการสื่อสารที่ดีพอหรือไม่

ดร.กมล  การไฟฟ้าที่บรรจุสามารถเลื่อนได้เพราะความต้องการลดลง มีพลังงานทางเลือกเช่นการใช้ก๊าซ LNG แต่ปรากฏว่าราคาปัจจุบันต้องสร้างค่ากรอง สร้างที่เก็บ ดังนั้นการนำเสนอจึงกลายเป็นพลังงานทางเลือก ฝ่ายวางแผนของรัฐบาลบอกว่าถ้าบอกความจำเป็นที่จะเกิดขึ้น น่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจได้อย่างดี แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เรื่อง Size ถ้าทำความเข้าใจกับประชาชนได้ ก็ให้ทำต่อได้เลย ให้ผลักดันในเรื่องพื้นที่ไหนสร้างได้ และไม่ได้ แล้วสื่อสารให้เข้าใจเพื่อให้ผลักดันนโยบายได้ ในภาพรวมแผนจำเป็นต้องระบุไว้ แต่จะได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารนั้น ๆ ในการดูแลและตัดสินใจ

ศ.ดร.ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์

กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

·  บทเรียนที่ได้จากภัยธรรมชาติในต่างประเทศ  การเกิด Worst Case Scenario มีจุดอ่อนหรือไม่ จะแก้ไขปัญหาอย่างไร ตัวอย่างเช่นการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ Solar Storm แผ่นดินไหว  เราจะสร้างการรับมือได้อย่างไร 

·  อาคารบัญชาการ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจัด Power Grid สำรองในอาคารเหล่านั้น

·  Business Continuity Management กรณีตัวอย่าง SCG เช่นสมัยการเกิดจลาจลทางการเมือง SCG เกิด Interruption  Business  ดังนั้น เราควรมีการเตรียมแผนรองรับเหตุการณ์เหล่านั้น ลักษณะนี้หน่วยงานใหญ่ ๆ ในต่างประเทศจะมีการทำ BCM  ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถกู้สถานการณ์ได้รวดเร็วหรือไม่  มีระบบสำรองทางการผลิตไฟฟ้า และสำรองไฟฟ้าอย่างไร

·  ทุกครั้งที่คิดโครงการหรือเขียนแผน เราต้องนึกถึง Worst Case Scenario และ Unexpected

ตัวอย่างภัยธรรมชาติใหญ่  ๆ

1. Superstorm เกิดขึ้นแถวทะเลแคริบเบียน มุ่งหน้าไปทางเหนือก่อนขึ้นฝั่งตะวันออก 1 อาทิตย์ แต่ปรากฏทิศทางเปลี่ยนไปมาตลอด นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

2. วิกฤตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น บทเรียนที่ได้คือ โรงไฟฟ้าแม้จะอยู่แต่ถ้าระบบพังก็เกิดวิกฤติได้  นโยบายพลังงาน จะต้องให้ความรู้รอบด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ทำอย่างไรให้ปลอดภัย  ข้อเสนอแนะคือการวิจัย  Energy มีทั้งข้อดี ข้อเสีย ต้องดูข้อลบในสิ่งนั้น ๆ เพื่อเตรียมการบรรลุในสิ่งที่ต้องการ เราต้องสร้างศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติให้ได้ เราต้องเสริมสร้างศักยภาพทางด้านนี้ วัฒนธรรมความปลอดภัยของคนในชาติเริ่มตั้งแต่การขนส่งแท่งเชื้อเพลิง ทุกขั้นตอนขบวนการผลิตทำให้เกิดปัญหาได้ วิศวกรต้องมองภาพความปลอดภัยของคนในทุกระดับ ทั้งสังคม โรงเรียน ครอบครัว  ปัญหาคือกากนิวเคลียร์จะสลายไปเมื่อไหร่ แล้วของที่เก็บไว้ในใต้ดิน เรามั่นใจได้อย่างไรในกรณีเลวร้ายว่าไม่เกิดปัญหาการรั่วซึม  ตัวอย่างเช่นบังคลาเทศได้รับสารพิษจากสารหนูมาจากแหล่งน้ำใต้ดิน และ 10 ปีต่อมาชาวบ้านได้รับสารพิษจากสารหนูเป็นต้น  

3. น้ำท่วมก็สามารถก่อความเสียหายจำนวนมาก

4. แผ่นดินไหว นักธรณีวิทยาค้นพบรอยเลื่อน 14  รายที่ประเทศไทยสามารถเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ แต่ระยะเวลาที่จะเกิดยังอีกนานประมาณ 1,000 ปี  อย่างไรก็ตามก็ต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลา เพราะในไทยเคยเกิดแผ่นดินไหว 5.1 หน่วยริกเตอร์ที่ก่อให้เกิดรอยร้าวในอาคารได้ ต้องระวังให้ดี

สรุปคือความไม่แน่นอนธรรมชาติ ทำให้เราต้องระวังคือ Unpredictable แค่ไหนที่เราต้องระวังไม่ใช่มากเกินความจำเป็นเช่นอุกกาบาตชนโลก  ดังนั้นเราต้องหามาตรการรองรับความปลอดภัยที่เกิดขึ้น

Hyogo Framework for Action

สร้างและออกแบบอาคารให้รองรับความปลอดภัย มีมาตรฐานรองรับภัยพิบัติต่าง ๆ ได้อย่างดี

Resilience

การ Upgrade Infrastructure และโรงไฟฟ้า รวมถึง การอนุรักษ์ธรรมชาติ ฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสม

การ Upgrade ต้องเสริมสร้างบุคลากรให้มี Capacity Building

การสร้าง Capacity Building

ใน Capacity Building มีหลายเรื่องเข้ามาเช่นการคอรัปชั่น จะเป็นการฆ่าคนทางอ้อม ส่งผลหายนะต่อประเทศได้

สรุป การประเมินข้อมูลว่าอะไรจะเกิดหรือไม่ต้องใช้ข้อมูลในหลาย ๆ ด้านประกอบ และประเมินอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่

ดร.จีระ สรุป

Leadership อันหนึ่งที่น่าสนใจคือ Leadership of Uncertainty and Unexpected เพราะว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่แน่นอนถี่ขึ้นเรื่อย ๆ อยากให้ดูตัวอย่างที่ประเทศจีน ผู้นำของเขาจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก

ถ้ามีภัยธรรมชาติที่รุนแรงแล้วคาดไม่ถึง แล้วมากระทบเราต้องมีตัว P คือ Prepareness  

หัวข้อนี้จึงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ Human Resource ร่วมกัน และเรื่อง Safety Culture เป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อประเทศไทย 

อีกเรื่องคือเรื่อง Trend  ราคาขึ้นเรื่อย ๆ น่ากลัวมาก และในเรื่องเศรษฐศาสตร์พลังงาน

การแสดงความคิดเห็น

1. ตรงถนน Highway Engineering ถูกหรือไม่ การทำคอนกรีตกั้นเมื่อทำตอนกันน้ำท่วม ออกแบบถูกหรือไม่ เพราะเท่าที่เห็นรู้สึกไม่ค่อยมั่นคง ไม่มั่นใจในเรื่องโยธาว่าออกแบบถูกหรือไม่

ดร.ปณิธานตอบ เรื่องคอนกรีตขนาดใหญ่หนักและเกิดทรุดแน่นอน การแก้ปัญหาอย่างหนึ่งก่อให้เกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่งตามมา ต้องดูผลร้ายที่ตามมาด้วย แน่นอนว่าการป้องกันน้ำท่วมมาต้องทำ เขื่อนชั่วคราวหรือถาวรก็ต้องทำ แต่อย่างไรก็ตามน้ำท่วมต้องแก้ที่สาเหตุคือการเกิดปริมาณน้ำที่มาก

ดร.จีระ บอกว่าการตัดไม้ของประเทศเพื่อนบ้านก็มีผลกระทบกับน้ำท่วมเช่นกัน สิ่งแวดล้อมเวลากระทบเขาก็กระทบเราเช่นกัน

2. จากการที่อาจารย์ยกตัวอย่างเกี่ยวกับรอยเลื่อน ประเทศไทยกับอินโดนีเซีย หรือญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างไร แผ่นดินไหวมีผลกระทบ 2 อย่าง คือความกลัว และธุรกิจ บางทีข่าวออกไปไม่ชัดเจน อย่างคนที่จองท่องเที่ยวมายกเลิกการจอง ผู้บริหารที่อยู่เขื่อน พอมีข่าวแผ่นดินไหว สื่อมวลชนจะสัมภาษณ์ทันที แต่พอข่าวถึงนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก

ดร.ปณิธาน บอกว่าเมื่อปี 25-26 เกิดแผ่นดินไหวใกล้กับรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ แต่ในเรื่องการกักเก็บน้ำไม่ได้ทำให้เกิดรอยเลื่อน ตัวอย่างกรณีเกิดแผ่นดินไหว 6.3 หน่วยที่อิตาลี มีนักธรณีวิทยาจากอิตาลีถูกชาวบ้านไปฟ้องนักธรณีวิทยารู้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวที่จะมีความรุนแรง 6.3 ริกเตอร์แต่ทำไมไม่เตือนชาวบ้าน นักธรณีวิทยาถูกตัดสินจำคุก  ดังนั้นข้อมูลที่ถูกต้องต้องบอกในสิ่งที่รู้  แม้ว่าบางส่วนทำให้เกิดเศรษฐกิจเสีย แต่อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องความปลอดภัยชาวบ้าน แต่อย่างไรก็ตามอย่าสร้างข่าวลือ


ภัทรกฤช เตชะศิกานต์

สรุปการเรียนวันที่ 30 มกราคม 2556

  ช่วงเช้า อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ มาให้ความรู้เรื่อง Mind Map และสมองของคนเรา ทำให้เข้าใจในการเขียนและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และที่ทำงานได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้ใช้สีต่างๆ ในการเขียนเพื่อจะได้จำง่ายขึ้น

  ช่วงบ่ายเป็นเรื่อง Creative thinking and value creation อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ได้ให้แนวทางความคิดในการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

  ช่วงเย็น อ.กิตติ ชยางคกุล มาให้ความรู้เรื่องโครงการนวัตกรรม เพื่อการพัฒนารวมทั้งห่วงใยสังคม นอกจากนั้นมีการให้การบ้านแต่ละกลุ่มไปทำ


ภัทรกฤช เตชะศิกานต์

         ผมได้อ่านหนังสือ 8K’s + 5K’s ของอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้คิดได้ว่า มนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีทุน 8 ประการ คือ

1.  Human Capital   ทุนมนุษย์

2.  Intellectual Capital   ทุนทางปัญญา

3.  Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

4.  Happiness Capital   ทุนทางความสุข

5.  Social Capital   ทุนทางสังคม

6.  Sustainable Capital   ทุนทางความยั่งยืน

7.  Digital Capital  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

8.  Talented Capital   ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ส่วนอีก 5K’s เป็นทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ได้แก่

1.  Creativity Capital   ทุนแห่งการ สร้างสรรค์

2.  Knowledge Capital   ทุนทางความรู้

3.  Innovation Capital   ทุนทางนวัตกรรม

4.  Emotional Capital   ทุนทางอารมณ์

5.  Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม

อาจารย์จีระ ได้ย้ำว่า “ปัญหาที่น่าวิตกของสังคมไทยคือ ระบบการศึกษา วิธีเรียนที่เน้นท่องจำมากเกินไป (การท่องจำควรมีแค่ 20%) ขาดการฝึกคิด/วิเคราะห์ ขาดการใช้เหตุและผล การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ การศึกษาเช่นนี้จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้สังคมไทยมีทุนมนุษย์ที่คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ทุกวันนี้ทุกคนต่างเรียนเพื่อให้ได้ปริญญาทั้งๆที่มีการปัญญาอาจจะไม่ได้มาจากปริญญาก็ได้ บ่อยครั้งปริญญาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะขาดปัญญาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้คนไทยใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญญาโดยเฉพาะในยุคอาเซียนเสรีทุนทางปัญญาเป็นทุนที่ได้จากการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่ว่านี้รวมทั้งการเรียนรู้ในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา ผู้ที่เรียนรู้จากทุกสิ่งที่พบเห็น และจากการกระทำ เรียนรู้จากตัวเองและการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนรู้แบบท่องจำ”

สรุปก็คือ ท่ามกลางสภาพแวดล้อม (External Environment) หรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา ไม่ว่าเป็น ภัยธรรมชาติ ปัญหาการเงินระหว่างประเทศหรือแม้แต่ปัญหาการเปิดอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศที่อยู่ได้อย่างยั่งยืนจะต้องสามารถจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้แก่ Change – การเปลี่ยนแปลง, Uncertainty – ความไม่แน่นอน, Unpredictability - ไม่สามารถคาดเดาได้

การสร้างทุนมนุษย์และเก็บเกี่ยวให้เกิด Standard คือ การมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ,Best Practices คือ การมีวิธีการทำงานที่ดีที่สุดในเรื่องนั้น ๆ,Benchmarking คือ สามารถวัดและเปรียบเทียบกับคนอื่นได้,Quality คือ มีคุณภาพ และExcellent คือ มีความเป็นเลิศ

ดังนั้น ผมจะต้องเริ่มต้นเรียนรู้ดังนี้

-  เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน หรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” อย่างเข้าใจและรู้จริง

-  สำรวจ SWOT ขององค์กรว่าคืออะไร  

-  วิเคราะห์ขีดความสามารถขององค์กรเพื่อรองรับ AEC ว่าควรปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อพร้อมแข่งขันได้ในทุกสถานการณ์

-  ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร ให้ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในยุคอาเซียนที่มีการแข่งขันสูง หากทำได้ดังนี้ สังคมไทยจะเกิดพลังในการขับเคลื่อนในการพัฒนาสังคมไทยและประเทศไทยอย่างสมบรูณ์


ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า

31 มกราคม 2556

บรรยายโดย คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

บทเรียนที่ 1 เรื่องการเจรจาต่อรอง

-  การกล้าพูดกับเจ้านายตนเอง ได้เล่าถึงประสบการณ์การร่างหนังสือ แล้วโดนหัวหน้าแก้ที่ร่างจดหมาย แต่สามารถเจรจาจนทำความเข้าใจได้และผ่านมาด้วยดี

บทเรียนที่ 2 เรื่อง Visibility การปรากฏตัวให้เจ้านายเห็น

-  ประสบการณ์จากการทำตามแบบอย่างที่หัวหน้าแนะนำ เรื่องการไหว้และเคารพผู้ใหญ่  หรือปรากฏตัวให้เจ้านายเห็น โดย ไม่ต้องกลัวหรือหลบหน้า

-  ต่อหน้าที่ประชุมใหญ่ สามารถเป็นบุคคลที่มีความรู้ในงานและกล้าแสดงออกสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน

-  การมีมารยาท อธิบายอะไรด้วยเหตุด้วยผล เอางานเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง

บทเรียนที่ 3  เรื่อง  Gender  Sensitivity

-  การเข้าใจเรื่องความแตกต่างทางเพศ

-  การเรียนรู้ที่จะอยู่กับเพศตรงข้าม

หลักการของผู้นำ

1. เราต้องเรียนรู้ในการพึ่งตนเองให้ได้ และสุดท้ายคุณต้องเป็นเถ้าแก่ที่เปิดออฟฟิตทุกวัน สามารถจัดการได้ด้วยตนเองทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น

วิธีการ  1. เตรียมความพร้อมตลอด ตั้งแต่เรื่องการแต่งตัว  ข้อมูล

2. การคบคนที่มีความสำคัญ

2. เรื่องวินัย ฝึกตนให้มีวินัยอยู่เสมอ

3. ต้องรู้จักตนเอง จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองอยู่ตรงไหน ข้อควรระวังคืออย่าหลอกตนเอง จงซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต้องรู้ว่ามีฝีมือตรงไหน บางเรื่องต้องถนอม และถ่อมตัวไว้ก่อน เช่นนักรบ จะไม่ลงดาบกับคนธรรมดา

วิธีการ   1.ต้องไม่ให้คนอื่น Under Estimate คือไปแข่งกับคนกระจอก

  2. ต้องไม่ให้คนอื่น Over Estimate คือเอาไปแข่งกับคนเก่ง แล้วเราจะแพ้

  3. ต้องฝึกปรือตนเองเสมอให้เป็นเจ้ายุทธจักร แต่อย่าลืมว่า เหนือฟ้าต้องมีฟ้า

  4. หมั่นวิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบว่าฝีมือของเรานั้นอยู่ตรงไหน วิธีการคือ เติมจุดแข็งของเรา ฝึกปรือฝีมือให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ  และเมื่อเป็นเบอร์หนึ่งแล้วให้ Maintain ความรู้ในสิ่งต่าง ๆ ให้ดี  บางครั้งอย่าสนใจตรง Weakness มากนัก แต่เน้นไปที่ Strength จะดีกว่า  เรื่อง Weakness  เมื่อเรารู้ให้หาทางหลบมุมให้ได้ แล้วเอาเวลาทั้งหมดเน้นไปที่ Strength

  5. รู้ Limitation ของตนเอง รู้ว่าเพดานสูงสุดอยู่ตรงไหน ต้องรู้เท่าทันเกมส์ต่าง ๆ ของคนอื่น และต้องรู้ตนเองตลอดเวลา

4. ต้องรู้จัก Give & Take  ต้องรู้จัก Give มาก ๆ  เริ่มจากการให้คำแนะนำสิ่งดี ๆ ให้คนอื่น ๆ ตลอดเวลา

การให้ - ให้ให้น้ำใจ ความจริงใจ ความเกื้อหนุน คำแนะนำต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องให้เป็นสิ่งของ เป็นสิ่งที่เขาไม่เคยลืม ตัวอย่างเช่นเวลาป่วย หรือมีความทุกข์ คุณควรมีน้ำใจต่อเขา แล้วเขาจะไม่เคยลืม

ให้น้ำใจ ความช่วยเหลือไม่เกินขอบเขต

การรับ – บางครั้งรับไม่ได้ เช่นรับของต้องไม่ขัดกับ Integrity และ ความซื่อสัตย์สุจริต การรับให้พยายามรับแต่น้อย ตัวอย่างเช่นญี่ปุ่นให้ 3 ครั้งจะไม่รับ แต่ครั้งที่ 4 จะรับ

อย่างไรก็ตามการก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กร คุณมี Image มีภาพพจน์ที่สร้างเพื่อตนเอง แต่เมื่อไรก็ตามที่ภาพลักษณ์กระจายออกไปแล้วก็ควรอยู่กับภาพลักษณ์นั้น ให้แน่วแน่และรักษาเกียรติของคุณไว้ให้ดี รักษาศักดิ์ศรีความเป็นพนักงานกฟผ.ไม่รับในสิ่งที่ไม่เหมาะสม

เรื่องคนดูหมิ่น ทันทีที่นิ่งเฉย หมายถึงยอมรับที่ถูกด่า เราต้องไม่บ้าดีเดือด ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด ต้องฟังให้ชัด จะยอมปล่อยให้คนดูถูกองค์กรเราไม่ได้ เพราะดูถูกองค์กร หมายถึงดูถูกเรา

สอนลูกน้องให้มีศักดิ์ศรี รักองค์กร ภูมิใจในองค์กร แต่ในที่สาธารณะเมื่อมีการมาด่า ต้องแก้ตัว ชี้แจงจะยอมให้การด่าออกมาลอย ๆ ไม่ได้

5. รักษาเกียรติแห่งตนในการสมศักยภาพเกียรติแห่งการเป็นคนของเรา

การแสดงความคิดเห็น

1. คุณหญิงทิพาวดีทำงานกับการเมืองค่อนข้างเยอะ มีหลายสิ่งที่การเมืองต้องการแล้วเราไม่ตอบสนองคุณมีวิธีการอย่างไร

ตอบ  ต้องสร้าง Reputation ว่าคุณพร้อมที่จะไม่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เขาเข้าใจว่าเขาไม่สามารถสั่งได้ เมื่อจะไปสู่เบอร์หนึ่งต้องมีความพร้อม เพราะมีคนตามเยอะ

2. จากที่คุณหญิงทิพาวดี พูดเหมือนยอมหักไม่ยอมงอ แต่จิ้งจกปัจจุบันเริ่มเยอะขึ้นจากสถานการณ์ปัจจุบันจะเป็นอย่างไร

ตอบ  คุณหญิงทิพาวดี ไม่ได้ยอมหักไม่ยอมงอ ขอแนะนำว่าทุกคนสามารถเป็นต้นอ้อได้ คือไม่ได้เปลี่ยนหลักการเดิม แต่สามารถโอนไปโอนมา หมายถึงคนที่เป็นนายเราเขามีอำนาจเหนือเรา มี Authority เหนือเรา เราต้องยอมรับ Authority เขา การเป็นต้นอ้อหมายถึงความยืดหยุ่น เขาสามารถมั่นใจในตัวเราได้ จุดยืนต้นอ้อยังเคลียร์อยู่ ความซื่อสัตย์  เป็นต้นอ้อได้ ทำเท่าที่ทำได้ แล้วใช้ความสามารถอธิบายและหว่านล้อม

สรุปคือ ในการทำงานใด ๆ คุณต้องรู้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน  โรงไฟฟ้ามีสัญญาณ มีเหตุให้เราเห็น เราจะ Say Yes /No ต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ให้จริง ๆ ยึดปฏิบัติตามนโยบาย ไม่ขัดขืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการตามกฎหมาย ถ้าทำจะผิดระเบียบอย่างไร

กรณีการเลื่อยขาเก้าอี้

ไม่ว่าคุณอยู่ตรงไหนก็แล้วแต่คุณต้องระมัดระวังข้างหลังคุณไว้

วิธีการระมัดระวัง คือ จริงใจกับคนรอบข้าง และหาคนเก่ง ๆ ไว้รอบตัว ดังนั้นคนที่เป็นมือเป็นแขนของคุณไม่ใช่คู่แข่งของคุณ การมอบอำนาจให้คนอื่น ต้องมีอะไรบางอย่างเป็นของตัวเองไว้บ้าง ไม่เช่นนั้นถ้าเขารวมหัวกันกินหมู่ ก็จะเอาตัวไม่รอด ดังนั้น ต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะหาทางป้องกันคนที่ตามหลังเช่นรอได้ไหม กี่ปี ให้ Handle อย่างมีศักดิ์ศรี อย่าระแวง ถ้าเป็นเบอร์หนึ่งแสดงว่าเราแน่จริง แต่ถ้าเขาเลื่อยขาหรือแทงข้างหลังเราได้จริงแสดงว่าเขาเก่งกว่าเรา ดังนั้นเมื่อเราเป็นนาย เราอยู่ในสภาพที่เหนือกว่าเยอะ เช่นถ้าเขาอยากไปเมืองนอก ให้เลย ให้ตามที่เขาอยากได้ ให้เยอะ ๆ จน Busy จนไม่มีเวลามายุ่งกับเรา งานทำอย่างไรก็ไม่มีวันหมด ถ้าจะทำจริง ๆ แล้ว  เอาเขามา Involve เพราะลูกน้องอยากเห็นความกลมเกลียวไม่อยากเห็นคนทะเลาะกัน ฝึกตนเหมือนพระพุทธรูป ใช้วิธีไม่ต้องเคลื่อนหน้า แต่เรามองเห็น เราต้องล้อมรอบด้วยคนฉลาด เก่งและภักดีกับเรา เพราะทุกคนดูแลตัวเขา ตราบใดที่เราอยู่เขามีความสุข และได้ตำแหน่ง เมื่อเป็นเบอร์หนึ่งให้เป็นเบอร์หนึ่งที่สมศักดิ์ศรี ฉลาด สะอาด ยุติธรรม

สิ่งที่สำคัญ  คือความกล้าทางคุณธรรม ต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เชิงคุณธรรมให้กับสังคม ทำเป็นตัวอย่าง คือไม่ยอมคนกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

มุมมองของเจ้านาย

1. ชอบลูกน้องที่อ่อนน้อมถ่อมตน ดังนั้นลูกน้องถ้าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งต้องรักษามารยาทให้ดี เวลาพูดกับคนมีอำนาจให้ระมัดระวังคำพูดและวิธีการ ดังนั้นเวลาเราไปพบเจ้านายต้องเตรียมตัวให้ดี ใช้คำพูดเรียบร้อย แต่งตัวให้เหมาะเจาะ และรู้จริง  และต้องมีศิลปะการพูดโน้มน้าวใจต้องมีความสุภาพ ตัวอย่างเช่นคุณหญิงทิพาวดี จะพูดใช้ท่านตลอด มีความอ่อนน้อมกับเจ้านายตลอด ให้เกียรติเจ้านาย แสดงความรู้สึกว่าเป็นผู้น้อยตลอด ฟังเจ้านายพูดเยอะ ๆ แล้วฟังเยอะ ๆ  เวลาไม่เห็นด้วย ไม่ควรพูดว่าไม่เห็นด้วยทันที แต่อาจใช้วิธีการพูดอย่างไรไม่ให้น่าเกลียด เช่นสิ่งนี้เป็นนโยบายหลัก ขอกราบเรียนเสนอว่า หรือจะทำนโยบายนี้ให้สำเร็จมีขั้นตอนอย่างไร เช่น ทำได้แต่ต้องแก้กฎหมายเป็นต้น เขาจะรู้สึกดีว่าทำได้ ไม่มีอะไร Impossible ตัวอย่างเลขาธิการ ก.พ. ต้องรักษาความเป็นกลางให้ได้

2. พบเจ้านายต้องไปก่อนเวลาตลอดเวลาเพื่อไปสังเกตการณ์ล่วงหน้า ว่าจะต้องเคารพใครอย่างไรบ้าง

3. ต้องเตรียมตัวอย่างดี ต้องศึกษาความสำเร็จของท่าน ต้องพูดทุกคำที่มีความหมาย

4. การวางแผนล่วงหน้า

การปฏิรูประบบราชการ

1. ต้องผ่าโครงสร้าง ทำกระทรวงให้เล็กลง

2. ตีเหล็กเมื่อร้อน

3. ต้องมีแผนการ มีความคิด

การแสดงความคิดเห็น

1. อยากให้สอนแนวทางความคิดว่าเราควรจะเตรียมตัวอย่างไร  ถึงเรียกว่าปฏิรูปราชการด้วยความปรารถนาดี

ตอบ  ตำแหน่งผู้บริหาร อธิบดี รองอธิบดี รองปลัด ปลัด  สิ่งที่ต้องเตรียมคือเตรียม Skill สำหรับการบริหาร มีการแข่งขันกันแล้วขึ้นบัญชีนักบริหาร เมื่อตำแหน่งว่างจะนำ 3 คนในบัญชี Rule of Three ส่งไป กรรมการจะเลือกจาก 1 ใน 3 ถ้าไม่พอใจจะมีการเปิดสรรหาให้ได้คนเก่งสุด ดีสุดมาดำรงตำแหน่งเรียกว่า ระบบ SES แต่มีหลายคนไม่ Happy กับระบบ ข้อเท็จจริงทำตั้งแต่สมัยนายกฯชวน โครงการฯ นี้เสนอโดยสมัยท่านชวนเป็นนายกฯ คุณอภิสิทธิ์เสนอ จนกระทั่งเปลี่ยนนายกฯ เป็นทักษิณ สรุปคือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำมายาวมาก ที่เกิดปัญหาคือหลังจากที่คุณทักษิณเชื่อว่าระบบนี้ดี และเห็นด้วย มีมติ ครม. ให้วันที่ 1 ก.ค เกษียณขอให้คัดเลือกคนเข้าดำรงตำแหน่งแทนคนเกษียณภายใน 1 ต.ค. ทันที  ที่เป็นปัญหาคือกระทรวงการคลังคนที่ได้เป็นอธิบดีของกระทรวงเป็นรองอธิบดี ติดกรณีปัญหาอยู่

การเพิ่มเติมการประเมินผล

สรุป คืออะไรก็ตามสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นบทเรียนของคุณหญิงทิพาวดีที่ให้คือ เมื่อเหตุการณ์เกิดแล้ว ทุกท่านต้องสามารถ Handle ด้วยตัวเอง  คุณหญิงทิพาวดีจะไม่มีวันยอมในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และจะสู้ตามครรลอง  ทุกอย่างต้องมีความหวัง หลายคนล้วนเจอบทเรียนด้วยกันทั้งสิ้น ทุกอย่างเหมือนเกมส์ของชีวิตที่ต้องสู้ต่อไป 


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
วันที่
31 ม.ค. 56

หัวข้อ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

     ได้ทบทวนและเพิ่มความรู้กรณีแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค.54 ซึ่งมีผลต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์   ฟูกูชิมา ไดอิชิ  ซึ่งมีผลกระทบต่อนโยบายการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย  และวิทยากรได้กระตุ้นเตือนให้ตะหนักถึงพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นโดยคาดไม่ถึง เช่น ภัยจากแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม เพื่อให้เฝ้าระวัง และกำหนดแผนฉุกเฉินรองรับ

หัวข้อ ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

     ได้รับฟังประสบการณ์จริงจากชีวิตการทำงานของผู้บริหารภาคราชการที่มีความสามารถและมีชื่อเสียง  ซึ่งมีแนวคิดและมุมมองที่ดีและน่าสนใจ สามารถนำไปเป็นแบบอย่าง  อุทธาหรณ์ และปรับใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี 
ทั้งในส่วนของการดำรงตนอย่างมีเกียรติในเรื่องของความซื่อสัตย์ การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับชีวิตการทำงาน  การทำงานและนำเสนองานกับผู้บังคับบัญชา  การปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งทุกเรื่องที่ได้รับฟังล้วนน่าสนใจอย่างมาก




นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

บทเรียนที่ได้รับจาการอบรมในวันที่ 30 มกราคม 2556 ช่วงเช้าคือ การทำ Mind
Map ซึ่งมีประโยชน์มากในการหาภาพรวมของแต่ละกิจกรรมตั้งแต่
แกนหลัก กิ่งแก้ว กิ่งก้อย ทำให้เรามองเห็นภาพของแต่ละเรื่องเชื่อมโยงกันอย่างไร
ช่วงบ่าย คือ Creative Thinking and Value Creation อ.ณรงค์ศักดิ์ฯ
ได้พยายามสร้างบรรยาการขอการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในรูปแบบต่างๆ เช่น
ภาพสไลเดอร์เหมืองแม่เมาะ ต้นไม้พลังงานไฟฟ้าของ กฟผ.ตามอุทธยานต่างๆ
ซึ่งก็ทำให้คิดคล้อยตามอย่างน่ามหัศจรรย์ในแต่ละเรื่อง แต่ก็ทำให้เราคิดวิเคราะห์ว่าบางเรื่องที่เราไม่ทำไม่ใช่เราคิดไม่ออกแต่ยังมีอะไรให้
กฟผ.ทำก่อนอีกตั้งเยอะ บางเรื่อง พรบ.กฟผ.ก็ทำไม่ได้
ช่วงเย็นทราบว่ามีการบ้านกลุ่มเพิ่มเรื่อง นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของ
กฟผ.ให้ก้าวไกลในอาเซียน 2015 (ออกมาก่อนไปงานศพครับ)



 

HW. สรุปสาระการเรียนวันที่ 31/1/56

เรื่องผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของประเทศไทย

  - ทำให้รับทราบสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงสัดส่วนของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ

  - เรียนรู้พื้นฐานกว้างๆของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เช่นโรงนิวเคลียร์แบ่งเป็นกี่ประเภท การแตกตัวของยูเรเนียม การป้องกันรังสี

  - รับทราบสถานการณ์ของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาไดอิชิ และสถานการณ์ใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น

  - ในประเทศไทย มติ ครม. เลื่อน COD ของโรงนิวเคลียร์ โรงแรกใน ปี 2026

 

  เรื่อง กฟผ. พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

  - ให้ กฟผ. เตรียมตัวพร้อมรับกับการเกิดแผ่นดินไหว โดยให้เตรียมแผนสำหรับเรื่องไฟฟ้าดับ น้ำท่วมโรงไฟฟ้า แผนอพยพคน หรือแม้แต่การออกแบบ STRUCTURE ให้รองรับกับแผ่นดินไหว

  - สำหรับเรื่องผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยนั้น ให้พิจารณาว่าศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติของประเทศไทย เช่น ทีมงานและอุปกรณ์ในการกู้ภัย , เตือนภัย มีความพร้อมหรือยัง วัฒนธรรมของคนในชาติเรื่องความปลอดภัยดีพอหรือยัง รวมทั้งเรื่องกากนิวเคลียร์จะกำจัดอย่างไรยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ความเห็นของอาจารย์ คือ ให้มีการทำวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ ให้ครอบคลุม ทุกด้านก่อน แล้วค่อยสรุปว่าควรจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือยัง

  เรื่อง ภาวะผู้นำและประสบการณ์ของข้าพเจ้า

-  อาจารย์เล่าเรื่องที่เป็นกรณีศึกษาไว้หลายกรณีที่เป็นเรื่องของผู้นำที่ต้องมีความซื่อสัตย์และจริยธรรม

-  ผู้นำต้องมีลักษณะ 3 อย่าง คือ

1.  พึ่งตนเอง ยืนด้วยตัวเอง

2.  รู้จักตนเอง ข้อจำกัดของตัวเอง อย่าหลอกตัวเอง

3.  รู้จัก give และ take แต่ต้อง give มากๆ

อติชาติ  โซวจินดา


สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในวันที่ 31 มกราคม 2556

หัวข้อ  ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีคือ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เลื่อนออกไปอีก 3 ปี  มีกำหนดเดินเครื่องปี พศ.2568  และต่อมาแผน PDP2010 ได้ปรับลดจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จาก 3 โรง เป็น 2 โรง

ได้ข้อคิดว่า ในการออกแบบโครงการต่างๆของ กฟผ. ควรคำถึงภัยพิบัติที่คาดไม่ถึง และวัฒนธรรมความปลอดภัยของคนในชาติ

หัวข้อ  ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฒสวรรค์

อาจารย์ได้ให้บทเรียนในการเป็นผู้นำจากประสบการณ์ของอาจารย์ ดังนี้

ต้องพึ่งตนเอง (well prepare)

รู้จักตนเอง  (จุดแข็ง  จุดอ่อน และข้อจำกัด) และหมั่นวิเคราะห์ตวเองอยู่เสมอ

รู้จักให้และรับ อย่างมีเหตุผล

รักษาเกียรติแห่งตนและเกียรติขององค์กร

ต้องรู้จักที่จะโอนอ่อนผ่อนตาม โดยยังรักษาจุดยืนของตนเอง

ต้องยอมรับในอำนาจบังคับบัญชา

ต้องรู้จักขอบเขตในอำนาจหน้าที่ของตน

ต้องจริงใจและมีน้ำใจกับคนรอบข้าง


ความรู้ที่ได้เพื่อมาปรับใช้กับการทำงาน ของวันที่ 31 มค.

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นต่อนโยบาย รฟ.นิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

อ.ดร. กมล / อ.ดร. ปณิธาน

-  ใฝ่หาความรู้และเตรียมตัวรับมือกับภัยธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้

-  แบบอย่างความมีวินัยของคนญี่ปุ่นในการฟื้นฟูประเทศหลังเกิดซินามิ

-  น่าจะมีการส่งเสริม / ผลักดัน  Safety Culture ให้เป็นส่วนนึงของวัฒนธรรม กฟผ.

-  การทำแผน Business Continuity Management เป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตาม


ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ได้ประสบการณ์จากการทำงานของคุณหญิงมากมาย และประทับใจความมุ่งมั่นของคุณหญิงมากครับ

-  ให้มีความกล้าทำที่เป็นคุณธรรม และไม่ทนกับสิ่งไม่ถูกต้อง

-  Focus ที่เรื่องงานเป็นหลัก ไม่มีเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง

-  ต้องพึ่งตนเองให้ได้

-  หมั่นวิเคราะห์ตัวเองและให้เติม / พัฒนา จุดแข็งของตัวเองเสมอ อย่าไปเสียเวลาพัฒนาจุดด้อย

-  รักษาเกียรติ/ศักดิ์ศรี ของตัวเอง และองค์กร


วันที่ 31 มกราคม 2556 สิ่งที่ได้วันนี้

  ผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อ นโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. ต้องทำความเข้าใจอีกนานกว่าจะมั่นใจ เพราะตอนนี้ยังมีพลังงานทางเลือก เช่น นำเข้า LNG นำเข้าถ่านหินสะอาด  พลังงานจาก Green  ใช้พลังงานอย่างเหมาะสม แต่เมื่อไหร่ต้นทุนสูงขึ้นจนต้องนำพลังงานนิวเคลียร์มาพิจารณา

  ประสบการณ์การบริหารภาวะผู้นำของ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  แนะนำว่าตนต้องพึงตนเอง ใช้ปัญญาในการจัดการ ต้องเตรียมตัว ครบคนดีมีความรู้เพื่อเป็น Network วิเคราะห์ตนเองแล้วหาจุดเด่น รู้จักให้มีน้ำใจ  รักษามาตรฐาน สร้างความกลมเกลียว กล้าหาญทางคุณธรรม อ่อนน้อมถ่อมตนมีมารยาท ระวังคำพูด แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย แค่นี้ก็จะประสบความสำเร็จ  เยอะนะครับ ถ้าจะรุ่งต้องทำ  น่าสนใจมากถ้าเชิญคุณหญิงมาบรรยายให้ทั้งไฟฟ้าฟัง


สมเกียรติ พนัสชัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  30 มกราคม 2556

08.00-12.00 น.

“Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร”

ได้เข้าใจหลักการและเทคนิคในการจัดทำแผนที่ความคิดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Mind Mapping จาก อ.ขวัญฤดี  ผลอนันต์ ด้วยเทคนิค 5 ส.

-  สัญลักษณ์

-  สั้นๆ

-  เส้นสาย

-  สีสัน

-  สร้างสรรค์+สวยงาม

การนำ Mind Mapping ไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆเช่น 

-  การสร้างความคิด

-  การกำหนดระยะเวลาของงานต่างๆ

-  การช่วยจำ

-  การสื่อสาร

-  การสร้างสรรค์ความคิด

-  การทำงานเป็นทีม

-  การวางแผน

-  การตัดสินใจ

-  การจดรายงานการประชุม 

เทคนิคการทำให้จำได้ดี

-  ให้ทำซ้ำและทบทวน

-  สร้างความสัมพันธ์และเชื่อมโยงของข้อมูล

-  สร้างความเด่นความแปลงให้จดจำง่ายๆ

และสุดท้าย “จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้” ของไอสไตน์

13.00-16.00 น.

“Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน” โดย อ.ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ นับเป็นชั่วโมงที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ได้รับทราบแนวคิดที่ใหม่ๆในการคิดการมอง ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ

-  หลักการตลาดสมัยใหม่ต้อง Sense and Response คือสำรวจหาคุณค่าที่แท้จริงที่ผู้บริโภคต้องการ (Value Exploration) ก่อนการตัดสินใจผลิตสินค้า/บริการเพื่อตอบสนอง  ไม่ใช้การ Make and Sale แบบเดิมๆ

-  การคิดสร้างสรรค์ต้องคิดแบบเชิงบวก และความคิดสร้างสรรค์หากไม่มีการลงมือกระทำก็จะไม่ใช่ Creativity และให้คิดแบบเด็กและทำแบบผู้ใหญ่ อย่าคิดแบบผู้ใหญ่แต่ทำแบบเด็ก

-  Corporate Communication เป็นการสื่อสารภาพลักษณ์องค์การให้สังคมภายนอกได้รับรู้แต่ไม่ใช่งาน CSR หรืองาน PR อาจจะได้จากการบอกเล่าสิ่งที่ดีต่อๆกันไป หรือนำเสนอโดยบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือในสังคมก็ได้

-  การพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ต้องไม่ทำร้ายหรือทำลายธรรมชาติ พลังงานทางเลือก การตั้งกองทุนเพื่อพัฒนา การตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาโดยใช้องค์ความรู้ที่ กฟผ. มี ก็อาจจะเป็นแนวทางหนึ่ง

16.00-17.00 น.

“การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวตกรรมเพื่อการพัฒนา” โดย อ.กิตติ ชยางคกุล

ใช้หลัก 2R และ 3V คือ

-  Reality มองความจริง

-  Relevance ตรงประเด็น

-  Value Added

-  Value Creation

-  Value Diversity

สุดท้ายได้รับหัวข้อโครงการมาหนึ่งโครงการคือ “ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2025” ต้องทำการบ้านอยู่ 2 ประเด็นคือ

1.  ภาพ กฟผ. อีก 10 ปีหลังจากเปิดเสรี ASEAN

2.  ต้องทำอย่างไรจึงจะไปถึงจุดนั้นได้...เฮ้อ !


สมเกียรติ พนัสชัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  31 มกราคม 2556

08.00-12.00 น.

Panel discussion “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.”

ดร.กมล  ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์

1.  ทราบพลังงานและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย

2.  ทราบความรู้เรื่องเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงที่ใช้งานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำที่สุดแต่ก็จะมีค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสูงที่สุดและในภาพรวมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ก็ยังมีราคาต่อหน่วยที่ถูกที่สุด

3.  ได้รับทราบข้อมูลความเสียหายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ ของญี่ปุ่นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มี.ค.54 การฟื้นฟูระบบสาธารณูประโภคต่างๆของประเทศญี่ปุ่นที่ทำได้รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง

4.  จากเหตุการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิทำให้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทยออกไปอีก 3 ปีเป็นเดินเครื่องโรงแรกในปี 2026 ทำให้ความพยายามที่จะลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าต้องปรับเปลี่ยนโดยยอมนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าทดแทนถ่านหิน และพลังนิวเคลียร์ ที่ถูกชะลอออกไป

5.  จากเหตุการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติ แผ่นดินไหว Super Strom ต่างๆทำให้ต้องกลับมาทบทวนความพร้อมในการรับมือของประเทศไทย และของ กฟผ. ว่ามีการเตรียมความพร้อมหรือยังเป็นต้นว่า

-  ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างพื้นฐานสามารถรับไหวหรือไม่

-  มีแผนรับมืออย่างไรโดยการจัดเตรียมแผนต้องนึกถึง Worse Case และ Unexpected

-  มีระบบสำรองพิเศษไว้กรณีที่ระบบหลักเสียหายโดยเฉพาะการจ่ายไฟให้กับจุดสำคัญๆต่างๆ

-  มีการจัดทำ Business Continuity Management หรือไม่

13.00-16.00 น.

“ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า” โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

นับเป็นการรับฟังสิ่งที่มีคุณค่ามากๆเนื่องจากท่านเล่าประสบการณ์จากการทำงานจริงของท่านมาถ่ายทอดให้กับพวกเราในห้องได้รับฟังนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน

1.  ในการทำงานเราต้องพึงพาตนเองให้ได้ และมีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าให้ดีๆ(Well Prepare)

2.  ต้องรู้จัก จุดแข็ง(Strength) จุดอ่อน(Weakness) และ ข้อจำกัด(Limitation) ของตนเอง ขอให้มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง หมั่นวิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอเพื่อ เติมจุดแข็ง บริหารจุดอ่อน และทบทวนข้อจำกัดของเรา

3.  เราควรที่จะ Give มากกว่า Take และต้อง Give ก่อน Take และการ Take ต้องพิจารณาให้รอบครอบ

4.  เราต้องรักษาเกียรติแห่งความเป็นคนไว้

5.  เราควรที่จะสร้าง Image Representation ของตัวเราไว้

6.  ต้องยอมรับใน Authority

7.  เราต้องรู้ใน อำนาจ บทบาท และ หน้าที่ของเรา 


ชวลิต อภิรักษ์วนาลี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  31 ม.ค. 56

ช่วงเช้า  มี 2 เรื่อง  ได้แก่  เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์  ซึ่งให้ความรู้เพิ่มจากเดิมที่รู้บ้างเล็กน้อย  ที่สำคัญ คือ บรรยายโดยพี่กมล  ส่วนอีกเรื่อง กล่าวถึงเรื่องภัยพิบัติรุนแรง  มาตรการป้องกันและการบรรเทาปัญหา  อันนี้ เอามาปรับใช้ได้หลายส่วนสำหรับสำนักงานไทรน้อย  ซึ่งหน่วยงานเพิ่งทำการย้ายไปทั้งหมดในวันที่  16 ม.ค. 56  

ช่วงบ่าย  เรื่องประสบการณ์การบริหารงานของคุณหญิงทิพาวดี  อันนี้ต้องยอมรับว่า  ท่านแน่มาก  มีหลายเรื่องที่น่าจะนำมาทดลองใช้ได้  เช่น  การหาทีม  (  จะเป็นการสร้างอาณาจักรหรือไม่  น่าหมิ่นเหม่เหมือนกัน  )  เพื่อป้องกันการถูกแทง  เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตาม  ฟังดูบรรยากาศการทำงาน ที่ EGAT น่าจะเอื้อให้มีความสุขมากกว่าการทำราชการมาก  (  คิดถูกแล้วที่อยู่ที่ EGAT  )

ชวลิต  31 / 1 / 56  เวลา  21.19 น.

นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

ขอต่อท้ายเพิ่มเติมอีก คือ การนำการนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาใช้กับองค์กร
คือ  กฟผ. ในการพัฒนามนุษย์
ต้องนำมาใช้ทั้ง 13 ทุน โดยแบ่งการพัฒนา แต่ละทุนจะพัฒนาด้านใดบ้าง ให้มีการสำรวจ
วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของ กฟผ. ถ้าพบว่าไม่เต็มในข้อใด ให้จัดเสริมเติม ทั้งนี้
ครอบคลุมบุคลากรที่เข้าใหม่ ให้มีการพัฒนาทั้ง 8 ทุนซึ่งเป็นฐาน และใช้อีก 5
ทุนในการมุ่งสู่สากล

 

อีกประเด็นที่เห็นพนักงานของ กฟผ.
จะมีศักยภาพด้านวิชาการมาก ไม่สนใจศาสตร์อื่น ทำแต่งานอย่างเดียว
แต่ด้านศาสตร์อื่นยังไม่ทราบเช่น ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมศาสตร์
ควรจัดเติมในส่วนนี้ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นสหวิทยาแล้ว ต้องรู้ทุกเรื่อง
อีกเรื่องที่ควรดำเนินการคือ เรื่องทุนทางสังคม ต้องมี Network หรือเครือข่าย
ซึ่ง กฟผ. ต้องมีการส่งเสริมส่งบุคลากรเข้า อบรมร่วมกับราชการ เอกชน
เพื่อสร้างเครือข่ายที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน โดยควรทำในทุกระดับ ทั้งนี้ต้องใช้ทฤษฎี
2R กำกับในการดำเนินการมิฉะนั้นจะทำแบบหลงทาง



 

 


 

นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุป ความรู้ที่ได้จากวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค. 2556 แบ่งเป็น 2 ช่วง

โดยช่วงแรก เป็นการบรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของกฟผ.”โดย ดร. กมล ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ดำเนินรายการโดย
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากที่ได้รับฟังข้อมูล Fact เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียส์ เมื่อมองไปข้างหน้า
แล้วคงหลีกหนีไม่พ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโต จนพลังงานไม่พอกับความต้องการ
และราคาหน่วยจะถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยของตนในชาติ
ศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติขนาดใหญ่ของประเทศไทย การทำอย่างไรให้คนยอมรับ

    •   ประเด็นต่างๆข้างต้นเป็นสิ่งที่ กฟผ. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการยอมรับ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องทุนทางสังคม ในการสร้างเครือข่าย การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้น
      ในที่นี้จะขอเสนอวิธีการในการดำเนินการเรื่อง กฟผ. กับ การจัดการกับภัยพิบัติ  โดยรวม ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย แผ่นดินไหว วินาศกรรม เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ทราบ ทุกหน่วยงานใน กฟผ. มีการดำเนินการและแผนรองรับเป็นความมั่นคงด้านการจ่ายไฟ แต่การดำเนินการเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน มีวิชาเรื่องการจัดการภัยพิบัติ แล้วหลักการเบื้องต้นของการจัดการภัยพิบัติก็คือ การสร้างความสามารถในการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในช่วงก่อนเกิดเหตุในระหว่างเกิดเหตุ และสร้างความสามารถในการฟื้นคืนจากภัยให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
      แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมี พรบ.
      ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ .2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
      (หลังเกิดเหตุการณ์ซึนามิ)  แต่ กฟผ. จะต้องมีการดำเนินการเป็นแบบเชิงรุก
      ไม่ต้องรอรัฐบาล แต่ต้องเข้าไปดำเนินการ โดยอาศัยวิธี คือ

1. เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ มาเป็นที่ปรึกษา ดำเนินการตามหลักวิชาการ (ข้ามศาสตร์)

2. ให้ภาคท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนป้องกันแผนตอบโต้ แผนฟื้นฟู (Network)

3. ประสานงานดำเนินการทั้งภาครัฐ เอกขน ท้องถิ่นในการซ้อมตามแผน

4. ปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยแก่ประชาชนให้ตระหนัก และเป็นนิสัย โดยสอดแทรกไปตั้งแต่โรงเรียน ซึ่งทาง กฟผ.มีโครงการโรงเรียนสีขาว อยู่แล้ว

5. ประชาสัมพันธ์ถึงความเตรียมความพร้อม


ช่วงบ่าย บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า
โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ในช่วงนี้อาจารย์แนะนำประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมจะได้นำมาใช้ ซึ่งมีเรื่อง


1. การพึ่งตนเอง

2. ต้องรู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน วิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา จุดอ่อนให้หลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียเวลาไปพัฒนา
ให้ใช้เวลานั้นไปเสริมจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น ต้องรู้จักถ่อมตน อย่าหลงตนเอง

3. รู้จักให้ มากกว่ารับ การใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ เงินทอง ให้น้ำใจจะดีกว่า การรับ รับแต่น้อย
4. ต้องมีอัตลักษณ์ของตนเอง (ที่ดี) ถ้าไม่มีให้สร้าง ใช้ FIRM C ของ กฟผ. 
ถ้ามีแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแต่ให้รักษาไว้ ยึด
“รักเกียรติของตนไว้ เพื่อสถานภาพความเป็นคน”

5. ปฏิบัติตามนโยบายที่ถูกต้องตามกฎหมาย

6. มีความกล้าทางคุณธรรม Moral courage ไม่เพิกเฉยถ้าเห็นสิ่งผิด และทำตนเป็นแบบอย่าง

7. เทคนิคในการเป็นผู้นำ คือจริงใจกับคนรอบข้างหาคนดี คนเก่งไว้รอบตัว

8. การทำตนให้หัวหน้าชอบ อาจารย์ให้เทคนิค คือ
อ่อนน้อมมีมารยาท ระมัดระวังคำพูด ไม่พูดซ้ำซาก ไม่ใช้คำพูดว่า ไม่กับหัวหน้า ต้องมีศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจ

9. อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องต่อสู้ให้ตลอด




นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

ขอเพิ่มเติมเรื่อง การนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาใช้กับองค์กร คือ  กฟผ. ในการพัฒนามนุษย์ ต้องนำมาใช้ทั้ง 13 ทุน โดยแบ่งการพัฒนา แต่ละทุนจะพัฒนาด้านใดบ้าง ให้มีการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของ กฟผ. ถ้าพบว่าไม่เต็มในข้อใด ให้จัดเสริมเติม ทั้งนี้ ครอบคลุมบุคลากรที่เข้าใหม่ ให้มีการพัฒนาทั้ง 8 ทุนซึ่งเป็นฐาน และใช้อีก 5 ทุนในการมุ่งสู่สากล

อีกประเด็นที่เห็นพนักงานของ กฟผ. จะมีศักยภาพด้านวิชาการมาก ไม่สนใจศาสตร์อื่น ทำแต่งานอย่างเดียว แต่ด้านศาสตร์อื่นยังไม่ทราบเช่น ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมศาสตร์ ควรจัดเติมในส่วนนี้ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นสหวิทยาแล้ว ต้องรู้ทุกเรื่อง อีกเรื่องที่ควรดำเนินการคือ เรื่องทุนทางสังคม ต้องมี Network หรือเครือข่าย ซึ่ง กฟผ. ต้องมีการส่งเสริมส่งบุคลากรเข้า อบรมร่วมกับราชการ เอกชน เพื่อสร้างเครือข่ายที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน โดยควรทำในทุกระดับ ทั้งนี้ต้องใช้ทฤษฎี 2222222 2 2R กำกับในการดำเนินการมิฉะนั้นจะทำแบบหลงทาง  


นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุป ความรู้ที่ได้จากวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค. 2556 แบ่งเป็น 2 ช่วง

โดยช่วงแรก เป็นการบรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.โดย ดร. กมล ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากที่ได้รับฟังข้อมูล Fact  เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียส์ เมื่อมองไปข้างหน้า แล้วคงหลีกหนีไม่พ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโต จนพลังงานไม่พอกับความต้องการ และราคาหน่วยจะถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยของตนในชาติ ศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติขนาดใหญ่ของประเทศไทย การทำอย่างไรให้คนยอมรับ

  ประเด็นต่างๆข้างต้นเป็นสิ่งที่ กฟผ. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการยอมรับ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องทุนทางสังคม ในการสร้างเครือข่าย การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้น ในที่นี้จะขอเสนอวิธีการในการดำเนินการเรื่อง กฟผ. กับ การจัดการกับภัยพิบัติ  โดยรวม ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย แผ่นดินไหว วินาศกรรม เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ทราบ ทุกหน่วยงานใน กฟผ. มีการดำเนินการและแผนรองรับเป็นความมั่นคงด้านการจ่ายไฟ แต่การดำเนินการเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน มีวิชาเรื่อง การจัดการภัยพิบัติ แล้วหลักการเบื้องต้นของการจัดการภัยพิบัติก็คือ การสร้างความสามารถในการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในช่วงก่อนเกิดเหตุ ในระหว่างเกิดเหตุ และสร้างความสามารถในการฟื้นคืนจากภัยให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมี พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ .2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  (หลังเกิดเหตุการณ์ซึนามิ)  แต่ กฟผ. จะต้องมีการดำเนินการเป็นแบบเชิงรุก ไม่ต้องรอรัฐบาล แต่ต้องเข้าไปดำเนินการ โดยอาศัยวิธี คือ

1.  เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ มาเป็นที่ปรึกษา ดำเนินการตามหลักวิชาการ

2.  ให้ภาคท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนป้องกันแผนตอบโต้ แผนฟื้นฟู

3.  ประสานงานดำเนินการทั้งภาครัฐ เอกขน ท้องถิ่นในการซ้อมตามแผน

4.  ปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยแก่ประชาชนให้ตระหนัก และเป็นนิสัย โดยสอดแทรกไปตั้งแต่โรงเรียน ซึ่งทาง กฟผ.มีโครงการโรงเรียนสีขาว อยู่แล้ว

5.  ประชาสัมพันธ์ถึงความเตรียมความพร้อม

ช่วงบ่าย บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ในช่วงนี้อาจารย์แนะนำประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมจะได้นำมาใช้ ซึ่งมีเรื่อง

1.  การพึ่งตนเอง

2.   ต้องรู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน วิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา จุดอ่อนให้หลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียเวลาไปพัฒนา ให้ใช้เวลานั้นไปเสริมจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น ต้องรู้จักถ่อมตน อย่าหลงตนเอง

3.  รู้จักให้ มากกว่ารับ การใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ เงินทอง ให้น้ำใจจะดีกว่า

4.  ต้องมีอัตลักษณ์ของตนเอง (ที่ดี) ถ้าไม่มีให้สร้าง ใช้ FIRM C ของ กฟผ.  ถ้ามีแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแต่ให้รักษาไว้ ยึด “รักเกียรติของตนไว้ เพาอสถานภาพความเป็นคน”

5.  ปฏิบัติตามนโยบายที่ถูกต้องตามกฎหมาย

6.  มีความกล้าทางคุณธรรม Moral courage ไม่เพิกเฉย ถ้าเห็นสิ่งผิด และทำตนเป็นแบบอย่าง

7.  เทคนิคในการเป็นผู้นำ คือจริงใจกับคนรอบข้าง หาคนดี คนเก่งไว้รอบตัว

8.  การทำตนให้หัวหน้าชอบ อาจารย์ให้เทคนิค คือ อ่อนน้อมมีมารยาท ระมัดระวังคำพูด ไม่พูดซ้ำซาก ไม่ใช้คำพูดว่า ไม่กับหัวหน้า  ต้องมีศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจ

9.  อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องต่อสู้ให้ตลอด


นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

ขอเพิ่มเติม การนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาใช้กับองค์กร คือ  กฟผ. ในการพัฒนามนุษย์ ต้องนำมาใช้ทั้ง 13 ทุน โดยแบ่งการพัฒนา แต่ละทุนจะพัฒนาด้านใดบ้าง ให้มีการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของ กฟผ. ถ้าพบว่าไม่เต็มในข้อใด ให้จัดเสริมเติม ทั้งนี้ ครอบคลุมบุคลากรที่เข้าใหม่ ให้มีการพัฒนาทั้ง 8 ทุนซึ่งเป็นฐาน และใช้อีก 5 ทุนในการมุ่งสู่สากล

อีกประเด็นที่เห็นพนักงานของ กฟผ. จะมีศักยภาพด้านวิชาการมาก ไม่สนใจศาสตร์อื่น ทำแต่งานอย่างเดียว แต่ด้านศาสตร์อื่นยังไม่ทราบเช่น ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมศาสตร์ ควรจัดเติมในส่วนนี้ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นสหวิทยาแล้ว ต้องรู้ทุกเรื่อง อีกเรื่องที่ควรดำเนินการคือ เรื่องทุนทางสังคม ต้องมี Network หรือเครือข่าย ซึ่ง กฟผ. ต้องมีการส่งเสริมส่งบุคลากรเข้า อบรมร่วมกับราชการ เอกชน เพื่อสร้างเครือข่ายที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน โดยควรทำในทุกระดับ ทั้งนี้ต้องใช้ทฤษฎี   2R กำกับในการดำเนินการมิฉะนั้นจะทำแบบหลงทาง  


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 31 ม.ค. 56

·  หัวข้อ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของกฟผ.   โดย ดร.กมล ตรรกบุตร  ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

ทำให้ได้รับรู้ ถึงกลไกโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เข้าใจถึงสาเหตุแห่งภัยพิบัติที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมา ไดอิชิ ของประเทศญี่ปุ่น และการฟื้นฟู ที่เป็นข้อมูลที่เห็นว่า ควรต้องมีการทำความเข้าใจ และมั่นใจ ให้กับชุมชนให้ได้ทราบ เทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของประเทศไทยในขณะนี้  ไม่ได้น่ากลัว จนต้องต่อต้านไม่ให้สร้างในประเทศไทย  ซึ่งอาจต้องปรับปรุงกลไกดูแลชุมชนขนานกันไปด้วย หรือแม้ว่าจะยังไม่สามารถชี้ชวนให้เกิดแนวร่วมในประเทศไทยได้ในขณะนี้  หากเราได้ศึกษาและเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคคลกร และเทคโนโลยีไว้ก่อน ก็อาจเป็นประโยชน์ในกลุ่มอาเซียน ที่จะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจได้ นอกจากนั้น ยังทำให้ได้คิดว่า บนการบริหารความเสี่ยงต่างๆ บนความไม่แน่นอน และคาดเดาไม่ได้ ก็ย่อมมีต้นทุน ที่ต้องหาสมดุล (Balancing) ด้วยการสื่อสารความเข้าใจกันในทุกกลุ่มคนที่ร่วมกันเป็นเจ้าของประเทศ

  นอกจากนั้นวิทยากรยังชี้ให้เห็น ถึงการคิดป้องกันความเสี่ยง จากเหตุความไม่แน่นอนต่างๆ ที่คาดเดาไม่ได้ แต่คิดป้องกัน โดยได้ย้ำให้ต้องคิดถึง Safety Culture ที่ต้องมีแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ เหล่านั้นไว้ด้วย จากบทเรียนของภัยพิบัติของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสังคมได้ว่า ด้วยบทบาทหน้าที่ของ กฟผ. สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง ที่จะนำไปสู่นโยบายโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทยในอนาคต

·  หัวข้อ ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

วิทยากรได้ให้ข้อคิดและแนวทาง ที่กลั่นมาจากประสบการณ์ที่โชกโชนและฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในการบริหารงานในวงการราชการมาได้ ที่เป็นข้อคิดที่ดีสำหรับผู้นำ โดยท่านย้ำให้พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด เตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ (Well prepare) ด้วยจุดแข็งชองตนเองที่ต้องฝึกฝนให้เพิ่มพูน  โดยไม่จำเป็นต้องลบจุดอ่อน หรือปมด้อยของตนเอง ซึ่งต้องหมั่นวิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอให้รู้ขีดจำกัดของตนเอง (Limitation) กล้าแสดงออก (Visibility) มีมารยาท มีเหตุผล รู้จักถ่อมตน โดยให้ยืดเอางานเป็นที่ตั้งอย่างไม่มีอคติ  และยึดมั่นในคุณธรรม


ชัยรัตน์ เกตุเงิน

สรุปความรู้ทีได้ในวันที่31/1/56

  วันนี้ช่วงเช้าได้ฟังดร.กมล และศ ดร.ปณิธาน สอนเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการเตรียมคามพร้อมเรื่องของภัยพิบัติขนาดใหญ่แล้วมีคามรุ้สึกว่าถ้านโยบายของรัฐบาลยังเป็นเช่นนี้  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็หาอนาตคที่ชัดเจนค่อนข้างยากถึงกฟผ.จะเตรียมความพร้อมด้าน INFARSTRUTURE พร้อมแค่ไหนก็ตามก็ต้องคอยกระตุ้นหน่วยงานภาครัฐให้เตรียมความพร้อมด้วยเช่นกัน  ส่วนภาคบ่ายคุณหญิงทิพาวดี ได้มาสอนเรื่องประสบการณ์ในการทำงานที่เอาตัวรอดและเอาตัวไม่รอดก็ทำให้ผมได้เข้าใจคำว่า” ระบบ” “ชนิดของนาย” “ความรอบคอบในการทำงาน”มากขึ้น   ขอบคุณครับ

 ชัยรัตน์  เกตุเงิน


ชัยรัตน์ เกตุเงิน

สรุปหนังสือเรื่อง ทุนมนุษย์

         ในปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยทั้งในเรื่องของการค้า การบริการ การผลิต และอื่นๆ เมื่ออาเซียนได้มีแนวคิดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในปี 2558 ทำให้สมาชิกทั้ง10 ประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน จึงกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

  ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนจึงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนดังกล่าวด้วย โดยการเตรียมพร้อมควรจะเริ่มต้นจาก “ มนุษย์ ” นั้นคือ ประชาชนในประเทศนั้นเอง ซึ่งอนาคตของประเทศนั้นจะเป็นอย่างไรก็ย่อมขึ้นอยู่กับคนในประเทศว่ามีศักยภาพมากน้อยเพียงใด  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) โดยการนำแนวคิด/ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) และ ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ(5K’s New) มาเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ทุนมนุษย์ทั้ง 13 ทุน จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของคนไทยในการรองรับการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน โดยแนวความคิดดังกล่าวนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี และมีคุณธรรมไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างให้หน่วยงานและองค์กรมีภูมิต้านทานพร้อมรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นหากหน่วยงานหรือองค์กรใดได้นำแนวคิด “ 8K’s+5K’s” ไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็เชื่อได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนต่อไปในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานหรือองค์กร รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย

  จากความตื่นตัวของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในช่วงเวลาอีกไม่ถึง ๓ ปีข้างหน้า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ผู้คว่ำหวอดอยู่ในวงการบริหารทรัพยากร มนุษย์มากว่า ๓๐ ปี อย่างศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากประสบการณ์ชีวิตของท่านมา ไว้ในหนังสือ “8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ซึ่งเสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความ พร้อมให้แก่ คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่นยืน

ทุน 8+5 ประการประกอบด้วย

ทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
๑. Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่เกิดมามีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน
๒. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
๓. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ ทุนภายในส่วนลึกหรือสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
๔. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน
๕. Social Capital ทุนทางสังคม คือ ทุนที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือสังคมภายนอกในการหล่อหลอมตัวตนของแต่ละบุคคลให้เป็นไปในทางดีหรือทาง เสื่อมขึ้นอยู่กับทุนทางจริยธรรมของแต่ละบุคคลที่จะมุ่งสร้างคุณงามความดี หรือจะกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้างและสังคม
๖. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ ทุนที่เกิดจากการกระทำของคนที่มุ่งหวังผลในระยะยาวโดยเริ่มต้นจากการกระทำ ความดีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
๗. Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยรวมได้
๘. Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ ทุนที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ทักษะความรู้ บ่มเพาะจนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในด้านต่างๆ ตามแต่ความถนัดและทัศนคติของแต่ละบุคคล
ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย
๑. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไปภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ
๒. Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนาโดยมุ่งให้เกิดความเจริญในทางบวก
๓. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น
๔. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ ทุนในการเรียนรู้ ค่านิยม แนวคิดหรือความเชื่อของคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึง ความคิดของบุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
๕. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การบริหารจัดการ EQ ซึ่งจะส่งผลถึงทุนในด้านต่างๆ ให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน


ชัยรัตน์  เกตุเงิน

วุฒิไกร สร่างนิทร

วันที่ 31 มกราคม 2556

ในการอบรมวันนี้ หัวข้อแรก เรื่อง ผลกระทบแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของประเทศไทย โดย  อาจารย์ ดร.กมล ตรรกสูตร  ต้องยอมรับว่า อาจารย์ได้นำเสนอข้อมูล เหตุการณ์โรงไฟฟ้าฟูกูชิมา ไออิชิ ญี่ปุ่น ได้อย่างละเอียด มีข้อมูลแบบเชิงลึกและ Updated เป็นที่น่าสนใจมาก ใคร่ขอขอบคุณอาจารย์ มา ณ โอกาสนี้ด้วย จากการเรียนรู้วันนี้ พอที่จะคาดหมายได้ว่า หากไม่มีพลังงานใหม่เกิดขึ้นอีก  10-20  ปีข้างหน้า เกือบทุกประเทศทั่วโลกคงจะหนีไม่พ้นที่จะเลือกเชื้อเพลิงนิวเคลียร์มาผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เรื่องการยอมรับฯยังเป็นประเด็นปัญหาหลักที่ทุกประเทศจะต้องให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับเรื่องความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่จะต้องดูแลและพัฒนาให้ปลอดภัยยิ่งๆขึ้นไป

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย ข้าพเจ้าใคร่ขอร่วมแสดงความคิดเห็น คือประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอีกหลายมิติ ปัญหาการไม่ยอมรับ การประชาสัมพันธ์ที่เกายังไม่ถูกที่คัน การให้ความรู้ความเข้าใจที่ไม่กว้างและไม่ลึกพอ การเมืองแบบปัดแข้งปัดขา ผลประโยชน์อยู่เหนือหลักการ กฎหมายที่ให้อิสระเสรีมากเกินขอบเขตและปัญหาอื่นๆ ดังนั้น หากต้องการเห็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยจริงๆ ปัญหาเหล่านื่ รัฐจะต้องจัดเจ้ามือเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยด่วน  แต่หากภาครัฐละเลยไม่จริงจัง ประเทศไทยอาจจะเสียตำแหน่งผู้นำด้านพลังงานใน AEC ได้ เมื่อถึงเวลานั้นคงจะไม่ใช่เฉพาะประเทศเวียตนามที่จะมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก่อนประเทศไทย แม้แต่ สปป.ลาว ก็อาจจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก่อนประเทศไทยก็เป็นไปได้ ขอให้หันมองย้อนในอดีต เช่น ประเทศไทยเคยมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าเขื่อนผามองที่กั้นแม่น้ำโขง มานานนับกว่า 30 ปี จนถึงปัจจุบันยังสร้างไม่ได้ แต่ สปป.ลาว.เริ่มสร้างโรงไฟฟ้าไชยบุรีกั้นแม่น้ำโขงแล้วและจะมีอีกหลายโรงไฟฟ้าตลอดลุ่มแม่น้ำโขง ระบบ 3 G ประเทศไทยพึ่งจะเริ่มต้น  ส่วน สปป.ลาว ระบบ 3 G ได้ใช้งานมาหลายปีแล้ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเทศไทยตั้งเป้าปี 2026 ขณะที่ วันนี้ สปป.ลาว ยังไม่มีแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และเมื่อถึงปี 2026  ข้าพเจ้าไม่แน่ใจประเทศไหนจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก่อนกัน ?

ในการอบรมหัวข้อที่ 2 เรื่อง กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง โดย  อาจารย์ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ อาจารย์ได้บรรยาย ให้เห็นถึง ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในยุคปัจจุบันเริ่มมีทั้งความหลากหลายและความรุนแรงมากขึ้น จนเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง สิ่งที่ได้จากการอบรมหัวข้อเรื่องนี้คือ เราทุกคนจะต้องตั้งมั่นอยู่ด้วยความไม่ประมาท ทั้งทางด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติและภัยพิบัติจากความผิดพลาดทางเทคนิค

ในการอบรม ช่วง หัวข้อที่ 3 เรื่อง ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดย  อาจารย์ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ หลังจบชั่วโมงของอาจารย์ ข้าพเจ้า ขอกล่าว ชื่นชม และยอมรับนักบริหาร คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ผูนำที่เป็นผู้หญิงท่านนี้ อาจารย์ได้ถ่ายทอดเล่าประสบการณ์ในชีวิตการทำงานตั้งแต่สมัยเริ่มเข้าทำงาน การบริหารงานภายใต้แรงกดดัน ในระหว่างที่อาจารย์ถ่ายทอดประสบการณ์ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึง ความกล้าหาญ ความมีจิตวิญญาณของผู้นำที่เป็นบริหาร(ไม่ใช่นักวิชาการ) รับรู้ถึง อาจารย์เป็นคนเก่ง คนฉลาด มีการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตโดยรวบรวมเหคุปัจจัยและสิ่งแวดล้อมจากปัจจุบัน เมื่อถึง สภาวะวิกฤติ อาจารย์จะมีกระบวนคิดอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผลและเด็ดขาด สิ่งที่ได้จากการอบรมเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะต้องกลับมาทบทวนตนเอง ในเรื่องกระบวนการคิด การตัดสินใจ การทำงานให้เป็นระบบและลอกเลียนแบบในงานบริหารบางเรื่องเพื่อการทำงานของข้าพเจ้าต่อไป

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 30 ม.ค. 56

Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม โดย    อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

รับทราบกระบวนการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับการจำและได้เรียนรู้วิธีการสร้างแผนที่ความคิด(Mind map) ซึ่งหากจัดเรียงลำดับข้อมูลโดยทำในรูปความสัมพันธ์เชื่อมโยงจะทำให้จดจำได้มากขึ้นรวมทั้งการใช้สีสันยิ่งทำให้จำได้ดียิ่งขึ้น โดยเห็นว่าหากฝึกทำบ่อยๆจะช่วยเพิ่มพูนกระบวนการคิด การทำงาน การบรรยาย การวางแผน หรือการตัดสินใจโดยจะเห็นประเด็นหลัก และประเด็นรองๆได้ครบถ้วนจากการดูที่กิ่งแก้วและกิ่งก้อย

Creative Thinking and Value Creationและการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนากฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โดย  อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

การทำโครงการบางครั้งไม่ต้องอาศัยเงินโฆษณา แต่อาศัยการบอกต่อ หรือ Networking จะมีประสิทธิภาพกว่า ได้ความรู้ว่าในเมืองไทยมีหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลที่ 1 ของโลกอยุ่ด้วย สำหรับการที่จะเกิดสังคมความคิดสร้างสรรค์ได้นั้นต้องมีพื้นฐานมาจากสังคมความรู้ก่อน ทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์ต้องเริ่มมาจาก

การคิดบวก และคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงไม่ต้องยึดติดกับทฤษฎีหรือกรอบ โดยอาจารย์ได้เสนอแนวคิดให้กฟผ.ทำโครงการหลายอย่าง อาทิเช่น เปลี่ยนโรงไฟฟ้าให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกฟผ.

แนวคิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ตลอดจนการท่องเที่ยว อีกทั้งยังระบุว่ากฟผ.ยังขาดในด้านCorporate Communicationทำให้ขาดการรับรู้ในเรื่ององค์กรกฟผ.เองจากบุคคลภายนอกควรหาผู้รู้ที่มีประสบการณ์มาช่วย

การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย  อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

การเลือกทำโครงการต้องตอบโจทย์  2R คือต้องเอาไปใช้ได้จริงและตรงประเด็นซึ่งควรเป็นเรื่องใหม่ รวมทั้งต้องประกอบด้วย 3 V (value added value creation และ value diversity)

โดยอาจารย์กำหนดหัวข้อโครงการมาให้ทำเป็นการบ้านโดยกลุ่มที่ 5 ได้หัวข้อนวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของกฟผ.ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015 ทั้งนี้มีความเห็นว่าถ้ามีการกำหนดหัวข้อในการจัดทำหรือรูปแบบเนื้อหาควรมีอะไรบ้างเรียงลำดับให้เป็นมาตรฐานในการจัดทำสไลด์บรรยาย เพื่อเวลาบรรยายทั้ง 6 กลุ่มจะได้มีทิศทางเดียวกัน


สมคิด พงษ์ชวนะกุล

หัวข้อ : ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

  จากเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหว และเกิดสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้แสดงความเสียหายกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ซึ่งทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด ทำให้ไฟฟ้าไม่พอกับความต้องการ แต่ชาวญี่ปุ่นก็สามารถผ่านเหตุการณ์ไปได้ และสามารถฟื้นฟูความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว เพราะชาวญี่ปุ่นมีวินัยมาก ในขณะเดียวกันก็กระทบถึง กฟผ. คือ โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องชะลอออกไป

  สามารถนำไปใช้กับ กฟผ. คือ ต้องมองความเสี่ยงให้กว้าง แม้บางสิ่งที่เราคาดไม่ถึง เหตุการณ์หลาย ๆ อย่างภายนอกสามารถสร้างผลกระทบต่อองค์กรได้ ต้องมีการเตรียมแผนรองรับ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ขาดช่วง หรือล้มละลาย

หัวข้อ : ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

  จากการรับฟังประสบการณ์การบริหารงานของท่าน ได้หลักคิดและแนวปฏิบัติหลาย ๆ อย่าง เช่น ไม่กลัวซะอย่าง คุณก็จะสามารถสู้อะไรได้อีกเยอะ  ต้องรู้จักตัวเอง  หมั่นวิเคราะห์ตัวเองอยู่เสมอ  ต้องพร้อมเสมอ  มีจุดยืนที่ชัดเจนในความถูกต้องและยืนหยัด  การทำงานใดต้องรู้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน  ต้องรู้จักให้และรับ  ต้องมีความกล้าทางคุณธรรม ไม่ยอมกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดี

               


พลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 31 มกราคม 2556

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น
ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. (ดร.กมล)

ปัจจุบันไทยใช้ Natural Gas เป็นสัดส่วนมากถึง 67% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ซึ่งสูงเกินไป

เชื้อเพลิงในโลก Oil, NG, Coal จะหมดภายใน 40, 60 และ180 ปี ตามลำดับ

Uranium235 จะใช้ได้ 100 ปี แต่ เมื่อใช้แล้ว จะกลายเป็น Uranium238 และ
Plutonium239 ซึ่งสามารถใช้ได้เหมือน Uranium235 ดังนั้นจะมีให้ใช้อีก 6000 ปี

1 kg Coal ผลิตไฟฟ้าได้
1 kWh แต่ Uranium 1 kg จะผลิตไฟฟ้าได้ถึง
300,000 kWh => จึงมีต้นทุนต่ำกว่า

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ไม่ได้มีอันตรายมากมายอย่างที่คิดเนื่องจาก Technique ก้าวหน้าไปมากปัจจุบันรุ่น 3+

ในไทยก็มีมานานกว่า 20 ปี จากขนาด 1 MW และขยายเป็น 2 MW ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ บางเขน มีแผนจะขยายเป็น 40 MW ที่นครนายก แต่ถูกต่อต้านมาก

ที่ญี่ปุ่นเกิดจากภัยธรรมชาติแต่ไม่ได้ร้ายแรงมากอย่างที่บางคนเข้าใจ
สามารถกู้สถานการณ์ได้ในเวลาไม่กี่เดือนก็ปกติ แต่ยังต้องทำการรื้อถอนซึ่งคงต้องใช้เวลานาน 10-20 ปี

ส่วนของไทย ครม.ให้เลื่อนออกไป 3 ปี และเมื่อ มิ.ย. 55 ได้ปรับแผนลดลงเหลือเพียง
2 Unit ในปี 2026, 2027 โดยมีแผนนำเข้า LNG แทน และซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน

ศ.ดร. ปณิธาน

ภัยพิบัติทุกครั้งแม้จะเกิดความสูญเสียมาก แต่ก็ให้บทเรียนที่สำคัญ

ศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติขนาดใหญ่

ความแข็งแรงของโครงสร้างไหวหรือไม่

ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ ทั้งเรื่อง นโยบาย งบประมาณ การปรับปรุง มองการณ์ไกล
และที่สำคัญต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง

ผู้นำต้องไม่ประมาท ต้องมองและคาดการณ์อนาคตให้ดี และเตรียมการในการรองรับ

ภาวะผู้นำและประสบการณ์บริหารงานของข้าพเจ้า (คุณหญิงทิพาวดี)

หัวหน้าต้องพร้อมที่จะทำงานด้วยตนเอง

คบคนที่มีความสำคัญ (Networking)

รู้จักตนเอง Strange Weakness Limited ให้เน้นการนำ Strange มาใช้

ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ

Give & Take คำปรึกษา, ความช่วยเหลือ, น้ำใจ, จริงใจ อย่ารับสินบน รักษาเกียรติแห่งตน

นายภูวดา ตฤษณานนท์


สรุปหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

                ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคลล้วนไม่ใช่ความบังเอิญ หากแต่ว่ามีรากฐานสำคัญมาจากการพัฒนาและเรียนรู้ในสิ่งต่างๆมาใช้กับตนเองหรือผู้นำในอนาคตที่เราคาดหวังไว้ โดยคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 8 ข้อ

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

                เป็นรากฐานที่สำคัญประการแรก โดยมีแนวคิดดังนี้

  • มนุษย์เกิดมาเท่ากัน จะพัฒนาให้ความรู้เราอย่างไร
  • ต้องลงทุนในด้าน ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประโยชน์ในอนาคต
  • การลงทุนต้องต่อเนื่องตั้งแต่เยาวืวัยจนถึงผู้ใหญ่ เพราะการแสวงหาความรู้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

                ทุนมนุษย์นั้นมีคุณภาพซึ่งไม่ได้วัดหรือประเมินจากการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่จสำเร็จได้จากการใช้ความคิด การใช้ปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหา มองอนาคตเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ ทุนทางปัญญษนี้จะนำพาให้หน่วยงานจนถึงระดับประเทศอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้

K3 Ethical Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

                ทุนทางคุณธรรมนี้จะแสดงออกมาในรูปของการเป็นคนดี คิดดี ทำดี เสียสละเพื่อส่วนรวม ทุนนี้ส่วนใหญ่จะได้รับการถ่ายทอด และสั่งสอนจากบรรพบุรุษ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงาน การประกอบธุรกิจ เป็นต้น

K4 Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

                ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ทำงานโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ตอบแทน แต่ทำเพื่อให้เกิดความสุขในการทำงานและได้แบ่งปันผู้อื่น

K5 Social Capital – Networking

                เป็นคุณสมบัติสำคัญที่มนุษย์พึงมี เมื่อมีสังคมก็จะเกิด Network ตามมา ยิ่งทำมาก Network ฏ้ยิ่งมากและสามารถเกื้อหนุนและสนับสนุนงานภายในองค์กร

K6 Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

                เป้นทุนที่มองไกลในอนาคตเพื่อความยั่งยืนในภารกิจขององค์กร

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT

                ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนภารกิจต่างๆ เพื่อให้ได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว

K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ

                การพัฒนาทุนอัจฉริยะมาจาก ทฤษฎี 5 E ได้แก่  Example, Experience, Education, Environment and Evaluation.

                เมื่อเราพัฒนาทุนมนุษย์ทั้ง 8 ประการได้แล้ว ในปัจจุบัน เมื่อโลกมีความเจริญก้าวหน้ามีการเปลี่ยนแปลง มีการแข่งขันโดยเฉพาะในยุคอาเซียนเสรี เราต้องต่อยอดสร้างคุณภาพมนุษย์อีก 5 ประการ คือ ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

ทุนทางความรู้   ทุนทางนวัตกรรม   ทุนทางอารมณ์   และทุนทางวัฒนธรรม

เมื่อท่านผู้บริหารของ กฟผ. ที่รับการพัฒนาจากท่าน ศ.ดร. จีระ ตามแนวความคิด 8K’s + 5K’s แล้วจะทำให้ กฟผ. มีผู้นำองค์กรที่มีแนวคิด สามารถนำ กฟผ.ให้เป็นองค์กรชั้นแนวหน้าอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

นายภูวดา ตฤษณานนท์

       31/1/2556

 

 

 

 

31/1/56 (09.00 น. – 12.00 น.)

สรุปการบรรยายหัวข้อ: ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

โดย ดร. กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

                วิทยากรได้อธิบายถึงเหตุการณืแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นที่มีผลกระทบต่อรฟ. นิวเคลียร์ในประเทศไทยอย่างมาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาก้ตาม โดยสรุปแล้วหาก กฟผ. ไม่สามารถทำให้ชุมชนและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยอมรับในการสร้าง รฟ. แล้ว ก็คงจะเป็นเรื่องที่ลำบากและเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานที่มีคุณภาพและมั่นคงขอ     ประเทศ

ภาคบ่าย (13.00 น – 16.00 น.)

หัวข้อวิชาภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ วิทยากรได้บรรยายถึงหลักในการทำงานจากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาสาระได้ดังนี้

1.    การทำงานต้องคำนึงถึงงานเป็นตัวตั้ง

2.    อย่ากลัวผุ้บังคับบัญชาจนงานเสียหาย เพราะไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

3.    การทำงานต้องพึ่งตัวเองเป็นหลัก ต้องเริ่มต้นฝึกฝนตั้งแต่เริ่มทำงาน

4.    ต้องมี Networking หรือ เครือข่ายที่เป็นบุคคลสำคัญเพื่อสร้างความเกรงใจ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน

5.    งานจะประสบความสำเร็จได้ต้องมี Give and Take (ให้และรับ)

6.    ต้องมีความกล้าหาญในการมีคุณธรรม

7.    ต้องมีความภาคภูมิใจในหน่วยงาน อย่าปล่อยให้ผู้ใดมาหมิ่นศักดิ์ศรีของหน่วยงานได้

 

นายภูวดา ตฤษณานนท์

      31/01/56

วันที่ 31 ม.ค. 56

ช่วงเช้า บรรยายโดย ดร.กมล ตรรกบุตร ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น”

จะเห็นว่าความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่ากำลังสำรองจะมีอยู่จริง แต่ก็จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใกล้จะปลดระวางและหรือต้องมีการซ่อมแซมดังนั้นถ้าความต้องการมีมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ก็จะไม่เพียงพอในอนาคตได้รับทราบจากอาจารย์ว่าขณะนี้ประเทศเวียดนามกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตามแผนจะเสร็จในปี 2020 อีก 7 ปีข้างหน้าเวียดนามจะเป็นคู่แข่งสำคัญ ที่มีต้นทุนไฟฟ้าราคาถูก สำหรับ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมาเป็นโรงแบบ BWR ซึ่งเป็นโรงที่อาจมีความเสี่ยงหากเกิดภัยพิบัติถ้าเป็นแบบ PWR จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า จริงๆในประเทศไทยถ้าจะมีความพร้อมคงจะต้องมองทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล กฟผ. ชุมชนผู้ออกใบอนุญาต ในแต่ละส่วนต้องเตรียมความพร้อมสำหรับความรู้และบุคลากร ดังนั้นคงเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องให้มีความชัดเจนที่จะก้าวไปข้างหน้าว่าพร้อมหรือไม่ ถ้าจะมีโรงไฟฟ้านิงเคลียร์

  ศ.ดร.ปณิธานลักคุณะประสิทธิ์ กฟผ. พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง ”

อาจารย์ ได้ยกตัวอย่างของกรณีหากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดินไหวการก่อการร้าย หรือกรณี หากเกิดเหตุการณ์ที่ไฟฟ้าดับและหน่วยงานความมั่นคงมีแผนเตรียมไฟฟ้าสำรองบ้างหรือไม่สิ่งที่อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้นำ ควรมองการไกลเพื่อประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงในสิ่งที่จะเกิดขึ้นแต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ก็จะต้องมีการลงทุนต้นทุนที่ลงไปจะทำให้ราคาสูงขึ้น ซึ่งก็ต้อง Balance ให้พอเหมาะพอควรที่จะมีผลกระทยในด้านอื่นๆตามมา


วันที่ 31 ม.ค. 56

ช่วงบ่าย บรรยายโดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า ”

อาจารย์ ได้พูดถึงคุณลักษณะผู้นำโดยมีทฤษฏี 8H’s ต้องมีอัตลักษณ์ของตน มีความเชื่อมั่นสามารถสื่อสารได้ดี ต้องมีการตัดสินใจในทันเหตุการณ์ ต้องเสียสละ รับผิดชอบรู้จักใช้คน ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง มีความพอดี อาจมีอารมณ์ขันบ้าง มีมารยาทรวมทั้ง ผู้นำควรมีความคิด คิดอย่างไร เช่น คิดถึงผลลัพธ์ คิดแก้ปัญหาคิดระยะยาวมองการณ์ไกล คิดสร้างสิ่งหใม่ๆ คิดเพื่คนรุ่นหลัง  อาจารย์ ได้ยกตัวอย่างที่อาจารย์ถูกกล่าวหาในการประพฤติมิชอบ สมัยอยู่ กพ. ซึ่งต้องต่อสู้จนพ้นผิดแต่ก็ได้บทเรียนของชีวิตหลายๆด้าน และนำมาสอนให้พวกเรารู้จักการระวังตนเองให้มีความละเอียดถี่ถ้วน รอบคอบ และโปร่งใส ขอบคุณครับ

สรุป วันที่30 ม.ค. 2556

Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร
และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

โดย อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 

สรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม

  อ.ขวัญฤดี ได้อธิบายถึง ข้อจำกัดในการจำจากการอ่านตามปกติเพราะสมองไม่ชอบจำตัวหนังสือ  แต่หากจำจากการดูเป็นภาพจะทำให้สามารถจำได้ง่ายและจำได้มากกว่า

  การทำ Mind Map มีประโยชน์หลายอย่างทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน

· ทำให้มองภาพรวมได้ชัดเจนและสรุปเรื่องได้ดี
- คิดแตกแขนงได้มากมาย

· สามารถเรียนรู้ได้ทุกวัย

· ไอน์สไตน์ บอกว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้เพราะความรู้มีอยู่แล้วแต่จะเพิ่มพูนเรื่อยๆถ้าฝึกใช้จินตนาการสร้างความรู้  ……Mind Map เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อาจช่วยสร้างจินตนาการได้

· คนประสบความสำเร็จใช้สมอง 2 ซีกพร้อมๆกันเหมือนหยิน-หยาง

· สมองซีกซ้าย เกี่ยวกับเรื่องวิชาการ ภาษา วิทยาศาสตร์
เหตุผล คิดเลข จัดลำดับ มองแยกส่วน

· สมองซีกขวา เกี่ยวกับเรื่องผ่อนคลาย จินตนาการ อารมณ์
ดนตรี ศิลปะ มองภาพรวม

· การใช้สมองบ่อยๆเป็นการบำรุงสมอง

· สามารถฝึกสมองได้ โดยคิดเลขในใจ เล่นเกมโซโดกุ อักษรไขว้ หมากฮอส เป็นต้น

· ในการประชุมนานๆ ถ้ามีการพักเบรกจะทำให้กลับมาจำได้ดีขึ้น

· การทบทวนเป็นระยะ ทำให้จำได้ดีขึ้น

- การทำ Mind Map เป็นรูปสีจะทำให้จำได้ดีขึ้น

การนำไปใช้ประโยชน์ ....สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเช่น สรุปประเด็นในการประชุมแต่ละครั้ง 
ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและจำได้มากขึ้น......รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาต่างๆได้
 
...สำหรับประโยชน์ที่บ้านก็มีมากเช่น
นำไปสอนลูกให้เป็นเครื่องมือในการทบทวนการเรียนก่อนสอบ  หรือสามารถนำไปวางแผนไปเที่ยวหรือจัดงานต่างๆโดยจะทำให้ไม่ลืมกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำเป็นต้น




วันที่ 30 มกราคม 2556

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

1. 9.00 -12.00 น. Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

  โดย  อ.ขวัญฤดี  ผลอนันต์

-  Mind Mapping เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการจดจำ,การจัดหมวดหมู่ ,การวางแผนโครงการ ซึ่งจะทำให้มีการมองในภาพรวมทั้งโครงการก่อน ถึงจะลงรายละเอียดในแต่ละส่วนประกอบของโครงการ สำหรับประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในการทำงานนั้น ก็คือการเขียนแผนงาน/โครงการ ซึ่งจะทำให้เกิดภาพรวมและรายละเอียดครบถ้วน

2. 13.00 -16.00 น. Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อ

  การพัฒนา กฟผ,ให้เติบโตอย่างยั่งยืน  โดย อ.ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

-  ความรู้ที่ได้รับเป็นเรื่อง การคิดบวก และทำแบบสร้างสรรค์ กฟผ.ควรทำอย่างไรกับ NGO กฟผ.ควรสร้าง Brand/โครงการอะไร เพื่อให้ประชาชน/ชุมชน เห็นสิ่งที่กฟผ.ทำต่อสังคม กฟผ.เป็นแหล่งความรู้ พนักงานควรนำความรู้ที่มีไปทำประโยชน์อะไรให้กับสังคม

3. 16.00 -18.00 น. การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดย อ.กิตติ  ชยางกุล

-  ความรู้ที่ได้รับเป็นการคิดโครงการที่คนสนใจนำไปใช้ได้จริง ต้องทำโครงการที่เกี่ยวกับกฟผ.ปัญหาของกฟผ.ในอนาคตคือ หาที่สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ เพราะสร้างที่ไหนก็จะถูกต่อต้าน จะทำอย่างไร ทำโครงการอะไรเพื่อให้ชุมชน/ประชาชน สนับสนุน เห็นดีเห็นงาม กับกฟผ. ในการสร้างโรงไฟฟ้า 


Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร(.ขวัญฤดี ผลอนันต์)

Mind Map เป็นเครื่องมือที่จะช่วยการจดบันทึกโดยใช้สมองทั้ง 2 ซีก อย่างเต็มที่ เป็นการยกระดับ การรู้จำ-การรู้คิด การเชื่อมโยงและการจัดกลุ่ม เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่วิธีเชื่อมโยงคิดไปได้ทุกเรื่อง  เราสามารถใช้เครื่องมือตัวนี้ช่วยในการจดจำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบได้ง่ายขึ้น ในทุกเรื่อง

Creative Thinking  and Valve Creation (อ.ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ)

Creative Thinking (การคิดเชิงสร้างสรรค์)  ต้องคิดเชิงบวก เมื่อเราคิดเชิงบวกแล้วจะทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์มีกำลังใจ มีพลังใน คิดค้น หรือ กระทำสิ่งใหม่ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และคุณสมบัติสิ่งหนึ่งที่ผู้ที่จะเป็นผู้นำ ควรมีไว้ เพื่อการปรับตัวและตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาก็คือ Creative Thinking ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

1. Expertise – ความชำนาญ

2. Creative Thinking Skill – ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

3. Creativity – ความสามารถในการสร้างสรรค์


วันที่ 31 มกราคม 2556

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

1. 9.00 -12.00 น. ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ดร.กมล  ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาณ  ลักคุณะประสิทธิ

-  ความรู้ที่ได้รับ จะเกี่ยวกับ ลักษณะของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเภทต่างๆ การเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสี การมีหน่วยงานเข้าฟื้นฟูความเสียหายอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในรุ่นที่ 4 ที่ทำให้สามารถยืดการใช้เชื่อเพลิงนิวเคลียร์ของโลกออกไปอีก  6000 ปี  นโยบายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศไทยต้องเลื่อนออกไปแล้วประมาณ 6 ปี และยังไม่แน่ว่าจะเลื่อนอีกหรือไม่

-  กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง มีหน่วยงานเข้าช่วยเหลือหรือยัง ถ้าเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ประเทศมีรอยเลื่อนที่ยังไม่ตายอยู่ สามารถเกิดแผ่นดินไหวได้ โรงไฟฟ้ามีแผนรองรับการเกิดภัยภิบัติหรือไม่/อย่างไร

2. 13.00 -16.00 น. ภาวะผู้นำและประสพการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า  โดย คุณหญิง ทิพาวดี  เมฆสวรรค์

-  ความรู้ที่ได้รับ จะเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนอย่างไรในการทำงาน ต้องมีข้อมูลอะไรในตัวของเรา ต้องคาดการณ์ล่วงหน้า มีการเตรียมการ/แนวทาง/โครงการงานในหน้าที่ไว้ เมื่อจำเป็นก็หยิบขึ้นมาใช้ได้ มีเทคนิคในการทำงานกับเจ้านาย/ลูกน้อง ต้องรู้จักการให้และรับ ต้องยึดมั่นในหลักการ ทำงานตามระเบียบ/กฏหมาย ต้องสร้างภาพพจน์ของตัวเรา ต้องยืนบนจุดยืนที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอ


ผลกระทบของแผ่นดืนไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

  แผนพัฒนาพลังงานPDP2010 : REVISION 3  ในภาพรวมของประเทศไทยในเรื่องของพลังงานขั้นต้น พบว่า ในเรื่องพลังงานจากก๊าซธรรมชาติการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปีนี้ยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 70% และมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในภาพรวมของโลก น้ำมันมีเหลือใช้อีก 44ปี  ก๊าซธรรมชาติเหลืออีก 64ปี ถ่านหินเหลืออีก 185ปี แต่ถ้าเป็นยูเรเนียมเมื่อใช้แบบ Recycleสามารถใช้ได้อีกมากกว่าพันปีขึ้นไป

ประเทศไทยได้ดำเนินการในขั้นต้นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เรียบร้อยแล้ว และได้รับความเห็นชอบจาก IAEA  ว่ามีความพร้อมในขั้นต้นแล้วตามแนวทางที่ IAEA กำหนดไว้โดยมติ ครม. ของไทยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกของไทยจะ COD ปี 2026 จะนำเข้า LNG มาทดแทนแผนการสร้างโรงไฟฟ้าทั้ง Coal&NPP  จากแนวทางด้านพลังงานไม่ว่าจะเป็นนิวเคลียร์หรือถ่านหินได้ถูกให้ลดสัดส่วนลง 

  วิกฤตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟูโกชิมา ไดอิชิ เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเนื่องจากมีกรณีของสึนามิที่ญี่ปุ่น ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกติดลบกับนิวเคลียร์และไม่เอาพลังงานนิวเคลียร์เลย  จะเห็นว่าเป็นความไม่แน่นอนในการสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์

  ดังนั้นในการที่จะดำเนินนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.  จำเป็นต้องมีการเตรียมการในการจัดการความไม่แน่นอนให้ได้

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า

ประสบการณ์จริงในการทำงานของผู้บริหารในหน่วยงานราชการที่มีความสามารถและเป็นผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งผ่านประสบการณ์และสถานะการณ์ต่างๆ มามากทำให้ได้แนวคิดและมุมมองที่ดี สามารถนำไปเป็นแบบอย่าง  และปรับใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการรักษาอัตลักษณ์ของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง  มีการสื่อสารที่ดี  การยอมรับข้อผิดพลาดและความเสียสละ ในบทบาทของผู้บริหาร  รวมทั้งการทำงานที่ยึดมั่นในความถูกต้องมีจรรยาบรรณในอาชีพของตน การรักษาระยะห่างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานเพื่อยึดมั่นในคุณธรรม 


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 31 ม.ค. 56

-  โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด แต่ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ทำให้คนไทยเกิดความวิตกกังวล รัฐบาลจึงชะลอโครงการออกไป การจะสร้างได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล

-  กฟผ. จะต้องมีแผนปฏิบัติการรับมือภัยพิบัติต่างๆที่คาดไม่ถึง เช่น แผนการอพยพชาวบ้าบ เตรียมระบบสำรองการผลิตไฟฟ้า ฯลฯ

-  ประสบการณ์ในการทำงานของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เรื่องการกล้าเจรจาต่อรอง การมีมารยาท กล้าแสดงออก เอางานเป็นที่ตั้ง เป็นตัวอย่างของการบริหารงานที่ดี จึงทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน

-  การเป็นผู้นำ ต้องพึ่งตนเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็ง อย่าหลอกตัวเอง รู้ Limitation ของตนเอง รู้จัก Give & Take


Creative
Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนากฟผ.ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

30 มกราคม 2556

โดย
อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ


  อ.ณรงค์ศักดิ์ได้ยกตัวอย่างในช่วงการถวายงานในหลวง ...ทำให้ต้องย้อนกลับมาพิจารณาว่าเป้าหมายต่างๆที่ตั้งไว้นั้นจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงหรือไม่?
ต้องยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักในการทำงาน

  กระบวนการคิดสร้างสรร

-  จะต้องเริ่มจากการคิดบวกก่อนเสมอ 

-  การคิดต้องเป็นการคิดที่มีคุณค่า(value)ด้วย  ไม่ฟุ้งฃ่าน(thinking without value)

-  การคิดต้องคิดอย่างเป็นระบบ(ให้ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือหมวก 6 ใบของ ดร.เดอโบโน)

-  การคิดต้องคิดถึงคุณค่าแท้ (Value Exploration) ที่ผู้มีส่วนได้เสียต้องการ

-  ตัวอย่างของสังคมที่เป็น knowledge based society และมีการคิดบวก  คิดเป็นระบบ 
จนกลายเป้นความคิดสร้างสรรค์ .....คือหมู่บ้านแม่กำปอ
โดยเริ่มจากการได้เครื่องปั่นไฟเพียงตัวเดียวไปสูบน้ำขึ้นไปบนเขา(หัวโล้น)เพื่อปลูกพืชที่ตลาดต้องการ
จนขยายตัวเป็นป่าชุมชน ทำให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดี
ไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่นอีกต่อไป...เป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่ได้รางวัลที่
1 ของโลกในด้านหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมีคนไปชม  ท่องเที่ยว จำนวนมาก  ....สื่อมวลชนได้ไปทำข่าวหลายครั้ง 

  ข้อแนะนำจาก อ.ณรงค์ศักดิ์ ที่เกี่ยวกับ กฟผ.

-  แบ่งเงินไปสนับสนุนเกี่ยวกับไฟฟ้าชุมชนบ้าง
นอกเหนือจากการที่ทำการสนับสนุนเรื่องอื่นๆเป็นเงินจำนวนมากเช่นกีฬายกน้ำหนัก เป็นต้น
...โดยนำไปสนับสนุนหมู่บ้านต่างๆให้ทำเช่นเดียวกับหมู่บ้านแม่กำปอ  น่าจะได้ประโยชน์และสามารถโฆษณา(ปากต่อปาก)
ได้เป็นอย่างดีโดยที่ กฟผ.ลงทุนให้แต่ละหมู่บ้านไม่มากเมื่อเทียบกับการสนับสนุนรายการอื่นๆที่ผ่านมา

-  กฟผ.ควรให้ความรู้แก่ NGOs แทนที่จะปฏิเสธไปก่อนเมื่อคิดว่าไม่ถูกต้อง  เพราะ NGOs มีความคิดแบบตะวันตก  ควรชี้แจงว่าทำไมจึงสร้างโรงไฟฟ้า จะมีเครือข่ายมหาศาล (Green Networking)

-  กฟผ.ควรผลิตพลังงานไฟฟ้าให้นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
ควรสร้าง EGAT Tree  สำหรับให้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ โดยมีโซล่าร์เซลอยู่บนต้น
ให้คนนำความคิดเห็นมาหยอด เพื่อนำความคิดมาทำต่อ
ควรให้เด็กในชุมชนเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเล่าเรื่องเกี่ยวกับต้น EGAT ทำให้เด็กมีรายได้ทุนการศึกษาหลายปี

-  กฟผ.ควรตั้งโรงเรียนและ/หรือ มหาวิทยาลัยเพราะมีองค์ความรู้เฉพาะอยู่แล้วอย่าให้ความรู้หายไปพร้อมกับการเกษียณ




สรุปบทเรียน โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า : EGAT Assistant Director Development Program รุ่น ๙ ปี ๒๕๕๖

หัวข้อ : ผบกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

วิทยากร : ดร.กมล ตรรกบุตร

  ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว

  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย

§  หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

§  เหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลทางทิศตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างรุนแรงถึง ๘.๙ ริกเตอร์สเกล ทำให้เกิดสึนามิที่มีความสูงถึง ๑๐ เมตร ที่ส่งผลต่อกิจการหลายอย่างโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิชิ และการจัดการของญี่ปุ่นหลังเหตุการณ์

§  แผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๙

§  การเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ของประเทศไทยโดยเฉพาะ กฟผ.

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง : มีความรู้ความเข้าในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่พอจะอธิบายและช่วยประชาสัมพันธ์ในข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณะได้

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : การเตรียมการในเรื่องของความพร้อมทั้งทางด้านการก่อสร้าง การเดินเครื่องและบำรุงรักษา การประชาสัมพันธ์ทั้งในระดับประเทศและพื้นที่ รวมทั้งการรับมือสภาวะวิกฤติหรือฉุกเฉิน


หัวข้อ : ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

วิทยากร : คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

สรุปประเด็นที่ได้จากบทเรียน : หัวข้อนี้ทำให้รับรู้และเข้าใจถึง

§  ประวัติการทำงานของวิทยากร

§  เทคนิคการบริหารงานในตำแหน่งผู้บริหาร โดยมีจุดยืนเป็นของตนเอง เปรียบกับต้นอ้อที่เอนไปตามแรงลมแต่ต้นยังอยู่ที่เดิม

§  การตัดสินใจในสถานการณ์ถูกกดดันจากฝ่ายการเมือง

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง : นำเอาเทคนิควิธีการต่างๆ ของวิทยากรไปปรับใช้

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร : กฟผ. อาจถูกกดดันจากฝ่ายการเมืองได้ในอนาคต สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของอดีตผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำมาหาแนวทางป้องกัน ไม่เฉพาะกรณีของวิทยากร ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ด้วยที่มีประวัติเข่นเดียวกัน


นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

ขอเพิ่มเติมการนำมาใช้ การนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาใช้กับองค์กร คือ  กฟผ. ในการพัฒนามนุษย์ ต้องนำมาใช้ทั้ง 13 ทุน โดยแบ่งการพัฒนา แต่ละทุนจะพัฒนาด้านใดบ้าง ให้มีการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของ กฟผ. ถ้าพบว่าไม่เต็มในข้อใด ให้จัดเสริมเติม ทั้งนี้ ครอบคลุมบุคลากรที่เข้าใหม่ ให้มีการพัฒนาทั้ง 8 ทุนซึ่งเป็นฐาน และใช้อีก 5 ทุนในการมุ่งสู่สากล

อีกประเด็นที่เห็นพนักงานของ กฟผ. จะมีศักยภาพด้านวิชาการมาก ไม่สนใจศาสตร์อื่น ทำแต่งานอย่างเดียว แต่ด้านศาสตร์อื่นยังไม่ทราบเช่น ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมศาสตร์ ควรจัดเติมในส่วนนี้ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นสหวิทยาแล้ว ต้องรู้ทุกเรื่อง อีกเรื่องที่ควรดำเนินการคือ เรื่องทุนทางสังคม ต้องมี Network หรือเครือข่าย ซึ่ง กฟผ. ต้องมีการส่งเสริมส่งบุคลากรเข้า อบรมร่วมกับราชการ เอกชน เพื่อสร้างเครือข่ายที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน โดยควรทำในทุกระดับ ทั้งนี้ต้องใช้ทฤษฎี  2R กำกับในการดำเนินการมิฉะนั้นจะทำแบบหลงทาง  


นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุป ความรู้ที่ได้จากวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค. 2556 แบ่งเป็น 2 ช่วง

โดยช่วงแรก เป็นการบรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.”โดย ดร. กมล ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากที่ได้รับฟังข้อมูล Fact  เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียส์ เมื่อมองไปข้างหน้า แล้วคงหลีกหนีไม่พ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโต จนพลังงานไม่พอกับความต้องการ และราคาหน่วยจะถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยของตนในชาติ ศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติขนาดใหญ่ของประเทศไทย การทำอย่างไรให้คนยอมรับ

  ประเด็นต่างๆข้างต้นเป็นสิ่งที่ กฟผ. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการยอมรับ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องทุนทางสังคม ในการสร้างเครือข่าย การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้น ในที่นี้จะขอเสนอวิธีการในการดำเนินการเรื่อง กฟผ. กับ การจัดการกับภัยพิบัติ  โดยรวม ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย แผ่นดินไหว วินาศกรรม เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ทราบ ทุกหน่วยงานใน กฟผ. มีการดำเนินการและแผนรองรับเป็นความมั่นคงด้านการจ่ายไฟ แต่การดำเนินการเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน มีวิชาเรื่อง การจัดการภัยพิบัติ แล้วหลักการเบื้องต้นของการจัดการภัยพิบัติก็คือ การสร้างความสามารถในการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในช่วงก่อนเกิดเหตุ ในระหว่างเกิดเหตุ และสร้างความสามารถในการฟื้นคืนจากภัยให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมี พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ .2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  (หลังเกิดเหตุการณ์ซึนามิ)  แต่ กฟผ. จะต้องมีการดำเนินการเป็นแบบเชิงรุก ไม่ต้องรอรัฐบาล แต่ต้องเข้าไปดำเนินการ โดยอาศัยวิธี คือ

1.  เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ มาเป็นที่ปรึกษา ดำเนินการตามหลักวิชาการ

2.  ให้ภาคท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนป้องกันแผนตอบโต้ แผนฟื้นฟู

3.  ประสานงานดำเนินการทั้งภาครัฐ เอกขน ท้องถิ่นในการซ้อมตามแผน

4.  ปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยแก่ประชาชนให้ตระหนัก และเป็นนิสัย โดยสอดแทรกไปตั้งแต่โรงเรียน ซึ่งทาง กฟผ.มีโครงการโรงเรียนสีขาว อยู่แล้ว

5.  ประชาสัมพันธ์ถึงความเตรียมความพร้อมในหลายช่องทาง ออก social medias ในเชิงท่องเที่ยว

ช่วงบ่าย

 บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ในช่วงนี้อาจารย์แนะนำประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมจะได้นำมาใช้ ซึ่งมีเรื่อง

1.  การพึ่งตนเอง

2.   ต้องรู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน วิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา จุดอ่อนให้หลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียเวลาไปพัฒนา ให้ใช้เวลานั้นไปเสริมจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น ต้องรู้จักถ่อมตน อย่าหลงตนเอง

3.  รู้จักให้ มากกว่ารับ การใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ เงินทอง ให้น้ำใจจะดีกว่า

4.  ต้องมีอัตลักษณ์ของตนเอง (ที่ดี) ถ้าไม่มีให้สร้าง ใช้ FIRM C ของ กฟผ.  ถ้ามีแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแต่ให้รักษาไว้ ยึด “รักเกียรติของตนไว้ เพาอสถานภาพความเป็นคน”

5.  ปฏิบัติตามนโยบายที่ถูกต้องตามกฎหมาย

6.  มีความกล้าทางคุณธรรม Moral courage ไม่เพิกเฉย ถ้าเห็นสิ่งผิด และทำตนเป็นแบบอย่าง

7.  เทคนิคในการเป็นผู้นำ คือจริงใจกับคนรอบข้าง หาคนดี คนเก่งไว้รอบตัว

8.  การทำตนให้หัวหน้าชอบ อาจารย์ให้เทคนิค คือ อ่อนน้อมมีมารยาท ระมัดระวังคำพูด ไม่พูดซ้ำซาก ไม่ใช้คำพูดว่า ไม่กับหัวหน้า  ต้องมีศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจ

9.  อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องต่อสู้ให้ตลอด


นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

สรุปบทเรียนวันที่
31 มกราคม 2556

ช่วงเช้า
ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ
กฟผ.ซึ่ง ดร.กมล ตรรกบุตร ได้นำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย,พลังงานนิวเคลียร์และสถานภาพโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาไดอิชิ ญี่ปุ่น มาเล่าให้เราฟังทำให้หลายท่านคิดว่าญี่ปุ่นยังแย่เลยแต่การบริหารจัดการสถานการณ์ที่เลวร้ายให้กลับมารวดเร็วมาก
และสำหรับบ้านเราจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ ผมว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยพลังใดๆ
กฟผ.ก็เหนื่อยเหมือนกันเพราะความเข้าใจถึงความสำคัญยังมีน้อย จากนั้น ศงดร.ปณิธาน 
ลักคุณะประสิทธิ์ ได้กรุณามากระตุ้นให้
กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง? ก็ทำให้เราคิดตามว่าเขื่อนโรงไฟฟ้า ของเราปลอดภัยจากผลกระทบของภัญธรรมชาติจริงหรือเปล่า

ช่วงบ่าย คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ ได้กรุณามาเล่าประสบการณ์จริง
ตั้งแต่เริ่มรับราชการจนกระทั่งมีตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการ ได้เล่าตั้งแต่วิธีทำให้นายรู้จัก
การป้องกันถูกเลื่อยขาเก้าอี้พวกเรารู้สึกสนใจมาก และหลักการในการทำงานที่ดี
การบริหารตนเองให้ผ่านพ้นจากอำนาจทางการเมือง อยากจะเป็นใหญ่เป็นโต
ต้องพึ่งตนเองได้ ต้องหมั่นวิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอ ต้องรู้จัก GIVE&TAKE อย่างมีเหตุผล รักษาเกียรติแห่งความเป็นคนของเราไว้




นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

ขอเพิ่มเติมการนำมาใช้ 

การนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาใช้กับองค์กร คือ  กฟผ. ในการพัฒนามนุษย์ ต้องนำมาใช้ทั้ง 13 ทุน โดยแบ่งการพัฒนา แต่ละทุนจะพัฒนาด้านใดบ้าง ให้มีการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของ กฟผ. ถ้าพบว่าไม่เต็มในข้อใด ให้จัดเสริมเติม ทั้งนี้ ครอบคลุมบุคลากรที่เข้าใหม่ ให้มีการพัฒนาทั้ง 8 ทุนซึ่งเป็นฐาน และใช้อีก 5 ทุนในการมุ่งสู่สากล

อีกประเด็นที่เห็นพนักงานของ กฟผ. จะมีศักยภาพด้านวิชาการมาก ไม่สนใจศาสตร์อื่น ทำแต่งานอย่างเดียว แต่ด้านศาสตร์อื่นยังไม่ทราบเช่น ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมศาสตร์ ควรจัดเติมในส่วนนี้ขึ้นมา เพราะปัจจุบันเป็นสหวิทยาแล้ว ต้องรู้ทุกเรื่อง อีกเรื่องที่ควรดำเนินการคือ เรื่องทุนทางสังคม ต้องมี Network หรือเครือข่าย ซึ่ง กฟผ. ต้องมีการส่งเสริมส่งบุคลากรเข้า อบรมร่วมกับราชการ เอกชน เพื่อสร้างเครือข่ายที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน โดยควรทำในทุกระดับ ทั้งนี้ต้องใช้ทฤษฎี  2R กำกับในการดำเนินการมิฉะนั้นจะทำแบบหลงทาง  

นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุป ความรู้ที่ได้จากวันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค. 2556 แบ่งเป็น 2 ช่วง

โดยช่วงแรก เป็นการบรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.”โดย ดร. กมล ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากที่ได้รับฟังข้อมูล Fact  เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียส์ เมื่อมองไปข้างหน้า แล้วคงหลีกหนีไม่พ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโต จนพลังงานไม่พอกับความต้องการ และราคาหน่วยจะถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยของตนในชาติ ศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติขนาดใหญ่ของประเทศไทย การทำอย่างไรให้คนยอมรับ

  ประเด็นต่างๆข้างต้นเป็นสิ่งที่ กฟผ. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการยอมรับ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องทุนทางสังคม ในการสร้างเครือข่าย การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้น ในที่นี้จะขอเสนอวิธีการในการดำเนินการเรื่อง กฟผ. กับ การจัดการกับภัยพิบัติ  โดยรวม ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย แผ่นดินไหว วินาศกรรม เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ทราบ ทุกหน่วยงานใน กฟผ. มีการดำเนินการและแผนรองรับเป็นความมั่นคงด้านการจ่ายไฟ แต่การดำเนินการเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน มีวิชาเรื่อง การจัดการภัยพิบัติ แล้วหลักการเบื้องต้นของการจัดการภัยพิบัติก็คือ การสร้างความสามารถในการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในช่วงก่อนเกิดเหตุ ในระหว่างเกิดเหตุ และสร้างความสามารถในการฟื้นคืนจากภัยให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมี พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ .2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  (หลังเกิดเหตุการณ์ซึนามิ)  แต่ กฟผ. จะต้องมีการดำเนินการเป็นแบบเชิงรุก ไม่ต้องรอรัฐบาล แต่ต้องเข้าไปดำเนินการ โดยอาศัยวิธี คือ

1.  เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ มาเป็นที่ปรึกษา ดำเนินการตามหลักวิชาการ

2.  ให้ภาคท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนป้องกันแผนตอบโต้ แผนฟื้นฟู

3.  ประสานงานดำเนินการทั้งภาครัฐ เอกขน ท้องถิ่นในการซ้อมตามแผน

4.  ปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยแก่ประชาชนให้ตระหนัก และเป็นนิสัย โดยสอดแทรกไปตั้งแต่โรงเรียน ซึ่งทาง กฟผ.มีโครงการโรงเรียนสีขาว อยู่แล้ว

5.  ประชาสัมพันธ์ถึงความเตรียมความพร้อม

ช่วงบ่าย

 บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ในช่วงนี้อาจารย์แนะนำประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมจะได้นำมาใช้ ซึ่งมีเรื่อง

1.  การพึ่งตนเอง

2.   ต้องรู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน วิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา จุดอ่อนให้หลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียเวลาไปพัฒนา ให้ใช้เวลานั้นไปเสริมจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น ต้องรู้จักถ่อมตน อย่าหลงตนเอง

3.  รู้จักให้ มากกว่ารับ การใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ เงินทอง ให้น้ำใจจะดีกว่า

4.  ต้องมีอัตลักษณ์ของตนเอง (ที่ดี) ถ้าไม่มีให้สร้าง ใช้ FIRM C ของ กฟผ.  ถ้ามีแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแต่ให้รักษาไว้ ยึด “รักเกียรติของตนไว้ เพาอสถานภาพความเป็นคน”

5.  ปฏิบัติตามนโยบายที่ถูกต้องตามกฎหมาย

6.  มีความกล้าทางคุณธรรม Moral courage ไม่เพิกเฉย ถ้าเห็นสิ่งผิด และทำตนเป็นแบบอย่าง

7.  เทคนิคในการเป็นผู้นำ คือจริงใจกับคนรอบข้าง หาคนดี คนเก่งไว้รอบตัว

8.  การทำตนให้หัวหน้าชอบ อาจารย์ให้เทคนิค คือ อ่อนน้อมมีมารยาท ระมัดระวังคำพูด ไม่พูดซ้ำซาก ไม่ใช้คำพูดว่า ไม่กับหัวหน้า  ต้องมีศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจ

9.  อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องต่อสู้ให้ตลอด


ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประขาคมอาเซียน

  อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

  พัฒนามนุษย์ไม่ใช่เรื่องงาน ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่องทำทุกฝ่าย ตั้งแต่บุคคล คลอบครัว องค์กร ชุมชน ถ้าทุนมนุษย์มีคุณภาพสังคมไทยก็จะพัฒนาไปบนพื้นฐานความยั่งยืน ความสุข ความสมดุล ของสังคม คนไทยต้องพัฒนาให้ทันโลก ยกระดับในการแข่งขันพร้อมรับ AEC จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับสังคมไทยที่ต้องเริ่มพัฒนาทันที  อาจารย์จีระได้ผลักดันให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์จนเกิดกระแสเปลี่ยนแปลงวิธีคิดระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเรียกว่า แรงงานสัมพันธ์  จนทำให้เกิดแนวคิดไตรภาคี เพื่อประโยชน์ในการหาข้อยุติของข้อปัญหาพิพาท

  พื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ตามแนวคิดทฤาฏี 8K’s หรือทุน 8 ประการ ประกอบด้วย

K1 Human Capital : ทุนมนุษย์ ได้จากการศึกษาอบรม

K2 Intellectual Capital : ทุนปัญญา คือการมองยุทธศาสตรหรือการมองอนาคต ต้องสอนให้คิดเป็น ต้องมีปัญญาในการแก้ไข เน้นคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา โดยใช้วัฒนธรรมการเรียนรู้ 4L คือ Learning Methodology : เรียนรู้ที่น่าสนใจ Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunities : สร้างโอกาศในการเรียนรู้ และ Learning Communities : สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งตอนนี้ กฟผ.ก็นำมาใช้ในขบวนการ KM.

K3 Ethical Capital : ทุนทางจริยธรรม คือต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา และต้องอยู่บนความถูกต้อง  มีจินตนาการนวัตกรรม สรุป ความดีคู่ความเก่ง

K4 Happiness Capital : ทุนแห่งความสุข ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและ คิดบวก

K5 Social Capital : ทุนสังคม ต้องมีเครือข่ายแนวร่วมความสัมพันธ์ที่ดี ต้องยอมรับเชื่อใจ เข้าใจในหลากหลายวัฒนธรรมความแตกต่างซึ่งต้องบริหารให้ได้

K6 Sustainable Capital : ทุนแห่งความยั่งยืน ทำงานงานใช้เวลาสั้นแต่อยู่ยั่งยืน ไม่ทำลาย คิดเป็นระบบ มีศีลธรรม การจายความเจริญและพึ่งพาตนเอง

K7 Digital Capital : ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง พัฒนางานงาน แบ่งปัน สื่อสารข่าวและข้อมูล

K8 Talented Capital : ทุนความรู้ ทักษะและทัศนคติ เป็นทุนอัจฉริยะแต่ต้องทั้งดีหมดขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

ต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพในการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี ด้วยทฤษฏี 5K’s

ประกอบด้วย

  1.Creative Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ มาจากการใช้จนตนาการแล้วค่อยใช้ควารู้เข้าช่วยสร้างสรรค์งาน ต้องคิดบวก คิดเป็นระบบ

  2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

  3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม ต้องคิดใหม่ สร้างสรรค์ นำไปปฏิบัติ ทำให้สำเร็จ

  4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม ต้องสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

  5. Emotion Capital ทุนทางอารมณ์ คิดบวก จินตนาการ

  เมื่อพอมีความรู้จากหนังสือเล่มนี้ สำรวจตัวเองว่าเรามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้าง จัดลำดับความสำคํญ หาแนวทางการพัฒนา ลงมือทำ ตั้งใจทำเอาชนะอุปสรรค ทำสำเร็จ ทดสอบวัดผล พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สรุปง่ายๆ

1.  ศึกษา เข้าใจ

2.  สำรวจตัวเอง วางแผนสู่การปรับใช้

3.  ลงมือทำ

4.  เอาชนะอุปสรรค-ทำสำเร็จ

5.  วัดผล

6.  ทำต่อเนื่อง


หัวข้อ
1การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ที่ กฟผ.  โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

1ผู้นำจะต้องมีQutationซึ่งจะเป็นวาทะหรือมุมมองใจการจุดประกายในการที่นำองค์กรเป็นการสร้างพลังหรือMotivationคนในองค์กร

 

2 จะกำหนดObjective ขององค์กรที่จะเด็นให้ชัดเจน

 

3ผู้นำต้องมองภาพกว้าง
และติดตามสถานการณ์ทั้งภายและภายนอกให้ทัน
ซึ่งยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยบแปลงที่รวดเร็วและมีความสลับซับซ้อน เป็นยุค
IT สิ่งที่จะต้งเน้นคือ

  - ทำอย่างไรไห้เกิด Sustainable development

  - มีความคิที่ฉลาดรอบรู้

  -ต้องมี Ethic and Moral

  -ต้องสร้างCreative Thanking and Value และคิดนอกกรอบ

  -สร้างInnovative และรักษาสินทรัพย์ทางปัญญา และบุคคล

และมีการเรียนรู้ผู้นำประเภทต่าง
จากการทำ
Workshop โดยSharingมุมมอง ที่เป็นการนำBalancing, ,activity, Transparency ,Integrity leader มีอุปสรรคและจะคำเนินการอย่างไร
ซึ่งจะนำไปปรับใช้ในการจัดการ

 

หัวข้อที่2 
Leading People
โดย อ.พจนารถ  ซีบังเกิด

Who am I ? ทำให้เรารู้ว่าในการดำรงชีวิต
เราจะรับรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย แต่ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาจากสภาพแวดล้อมนั้น
จะมากกว่าการรับรู้หลายแสนเท่า แต่ถูกกรองผ่านศูนย์ต่างภายในร่างกายมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นศูนย์สติปัญญา ศูนย์ความรู้สึก ศูนย์ภาษากาย และธาตุแท้ที่เชื่อมโยงกัน
และถูกกลั่นกรองความรับรู้ออกมาตามความต้องการของมนุษย์
6 ประการ  1ความแน่นอน Certainly  2 ความหลากหลาย uncertainly 3ความรักและการเชื่อมโยงผูกพัน 4ความสำคัญ Significant ซึ่งความรับรู้ทั้ง 4 จะนำไปสู่ความรับรู้ตัวตน
ที่นำไปสู่วุฒิภาวะที่สูงขึ้นนั้นคือ ความต้องการที่
5 การก้าวไป Growth และ 6
การอุทิศตน
แบ่งปัน
contribution

 

หัวข้อ
3 Mind mapสำหรับผู้บริหาร 
อ.ขวัญฤดี ผลอนันท์
  บรรยาย 30 มค 2556

Mind Map เป็นเครื่องมือหนึ่ง
ที่จะสามารถช่วยในการจดบันทึกรายละเอียดที่มีความหลากหลาย และเชื่อมโยงความสัมพันธ์
กับ
Theme หรือ ศูนย์กลาง ซึ่งนำไปใช้งาน จัดวางแผนงาน
วิเคราะห์ ได้อย่างที่มีข้อมูลที่ต้องการครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

 

หัวข้อ 4 Creative Thankink and Value
creative 
อ.ณรงศักด์ ผ้าเจริญ

สรุปในการบรรยาย
ในการที่จะดำเนินธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ
จะต้องมีความได้เปรียบของการแข่งขันทางธุรกิจ(
Competitiveness advantage)ดังนั้นจะต้องปรับความดิดของผู้นำในองค์กรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์จะต้อง
มีความยึดหยุ่น รู้เท่าทันเทคโนโลยี 
มีการจัดการเชิงกลยุทธ มี
Team work ที่คี  มีความเป็นNetwork มีความรู้ และนำไปสู่ความคิดสร้างสรร  สร้างนวัตกรรมใหม่ และ มีDifferentiation

 

หัวข้อ 5โครงการแบบ นวัตกรรม เพื่อการพัฒนา  โดย อ. กิตติ ชยางคกุล

การบรรยายในการขับเคลื่อน
นวัตกรรมนั้นจะต้องมีการสร้าง

-การสร้างแรงจูงใจ-กำหนดบริบทในการดำเนินการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

การสื่อสาร 
  รวมทั้งผู้มีส่วนใช้ประโยชน์

โดยการดำเนินโครงการต้องมี
Policy Vision
Mission  Objective 
การกำหนดstrategic ทำFramework และงบประมาณ

อย่างแท้จริงจากปวงชน  ทางกลุ่ม3 ได้รับมอบหมาย โครงการ เรื่อง
นวัตกรรมทางสังคม ของ กฟผ.ที่สร้างศรัทธา

 

หัวข้อ 6ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น
ต่อนโยบายโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในอนาคตของ กฟผ.  โดย ดร.กมล ตรรกบุตร

ได้เรียนรู้พลังงานไฟฟ้าปัจจุบันเราพื่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก
และในอนาคตก็จะหมดไป และจำเป็นต้องหาพลังงานอื่นเข้ามาทดแทน ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์
เป็นพลังงานทางเลือกที่สำคัญ

และในแผนPDP2010 มี่การเลื่อนการก่อสร้างถึง3ครั้งที่จะมีการสร้างในปี2026 จากเหตุการณ์สินามิที่ญี่ปุ่นย่อมส่งผลกระทบต่อแผนงานแน่นอน
อันเนื่องจากความไม่มั่งใจของประชาชน และรัฐบาลในยุคนโยบายนี้เป็นประชานิยมย่อมไม่กล้าตัดสินใจ
ดังนั้น กฟผ.ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอ
จำเป็นต้องหาแผนสำรอง เช่นพลังงานทางเลือกอื่น เช่น ถ่านหินสะอาดคุณภาพสูง  และ
Asean Grid เป็นการเชื่อมโยง ระบบกำลังไฟฟ้าทั้งอาเซียน
เช่นเดียวกับยุโรป

 

  การบรรยาย โดย ศ.ดร.ปณิธาน

  อาจารย์ได้ให้ข้อคิดถึง Crisis ที่เกิดขึ้นไม่จะเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้นั้น

จะต้องมีการจัดแผนรองรับอย่างเป็นระบบ
ที่ผ่านมาจะมีภัยธรรมชาติ หรืออุบัติภัยรุนแรง เกิดขึ้นหลายประเทศ
และเราจะพบว่าในบางประเทศที่ประสบภัยบ่อยเช่น
ญี่ปุ่นจะมีแผนเตรียมรับสถานการณ์ที่ดี ทั้งแผ่นดินไหว ตึกถล่ม สินามิ น้ำท่วม
ภูเขาไฟระเบิด แผนสามารถป้องกัน ลดความสูญเสียชีวิต และฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นในฐานะผู้นำจะต้องเตรียมความพร้อม

 

หัวข้อ7ภาวะผู้นำ และประสบการณ์การบริหารงาน  โดย อ.คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ท่านได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานของท่านที่เริ่มจากตำแหน่งงานเล็กระดับซี6 ที่ กพ.

จนขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงานซึ่งต้องผ่านอุปสรรคมากมายเพราะสัมผัสกับบุคคลหลายกลุ่มทั้งในวงราชการเอง
การเมือง และสื่อมวลชน ท่านมีความเป็นตัวเองสูง มีความมุ่งมั่น

มีมารยาทที่กับผู้พบปะ
นับว่าท่านเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นผู้นำประเภท
Integrity /Transparency leader ได้เป็นอย่างดี

  ท่านได้ได้แนะนำคุณสมบัติผู้นำที่ท่านนำมาใช้ในการทำงาน

1 ต้องเป็นที่พึ่งของตังเองให้ได้เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ

2 ฝึกสมอง รู้ทันสถานการณ์ และมีความหลากหลาย

3 ต้องฝึกลูกน้อง

4สร้างNetwork กับคนสำคัญๆ ทั้งนักวิชาการ และผู้บริหารทีหลากหลาย

5 ต้องรู้จักตังเองในเรื่องจุดแข็ง และจุดอ่อนและต้องรักษาเกียรติตัวเอง มีImageที่ดี

6 ต้องรู้จักGive ในที่นี้คือความจริงใจ












ความรู้ที่ได้ในการเรียนของวันที่ ๓๐ ม.ค.๒๕๕๖

Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

โดย    อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

·  โทนี่ ฟูซาน เจ้าของผู้คิดค้น

หลักการ แนวคิด Mind Map

ใช้สมองสองซีก สีสันและรูปภาพ ทำให้จดจำได้ดีขึ้น เส้น เส้นแขนง ทำให้สรุปเรื่องและเข้าใจการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบได้ดี ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้ทุกวัย สามารถพัฒนาต่อเนื่องให้ดีขึ้นได้ดี

ได้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อ่านตัวเลข-อักษร จำนวน 16 คำ ให้จำให้ได้ภายใน 16 วินาที

จำรูปภาพ จำนวน 16 ภาพ ให้จำให้ได้ภายใน 16 วินาที ซึ่งภาพทั้ง 16 ภาพ เป็นภาพของ 16 คำ จะเห็นว่าสามารถจำภาพได้มากกว่า

ให้ฟังแล้วจำ จะเห็นว่าช่วงแรกและช่วงท้ายจะจำได้มากกว่าช่วงกลาง

ได้แนวคิด ความรู้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าฝึกใช้จินตนาการสร้างความรู้ การใช้สมองคิดเป็นการบำรุงสมอง

·  สมองซีกซ้าย เกี่ยวกับเรื่องวิชาการ  วิทยาศาสตร์ เหตุผล คิดเลข

·  สมองซีกขวา เกี่ยวกับเรื่องผ่อนคลาย จินตนาการ อารมณ์ ศิลปะ 

ทดลองเขียน Mind Map โดย กำหนดให้

  เริ่มจากตรงกลาง (แก่นแกน) ก่อน

· ต่อมาดูที่กิ่งแก้ว (ประเด็นหลัก)

· ต่อมาดูที่กิ่งก้อย(ประเด็นรอง)


Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

30 มกราคม 2556

โดย  อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

·  นักวิจัย อาจารย์ นักธุรกิจ ได้รับรางวัลสุดยอดซีอีโอ เพราะความคิดที่แตกต่าง

เป็นการนำเสนอผลงานและแนวคิดการคิดเชิงบวก และข้อเสนอแนะ ที่มีต่อ กฟผ.

ประทับใจในการ ถวายงานในหลวง ถวายสิทธิบัตร 3 ใบคือ·  ในหลวง  ตรัสว่า เราทำหลายอย่างเกี่ยวกับหญ้าแฝก แต่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือรักษาหน้าดิน ถ้าชาวบ้านไม่ทราบว่าหญ้าแฝกชนิดไหนใช้ทำอะไร ก็จะถอนกันหมด จะเห็นว่าพระองค์ท่านมองถึงผลกระทบที่จะตามมาไปอีกหลายชั้นมาก

มีการยกตัวอย่าง ให้คิดอย่างเป็นระบบ แต่ต้องเริ่มต้นจากการคิดบวกก่อน

บ้านแม่กำปองได้รางวัลที่ 1 ของโลกในด้านหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ก่อนคิดต้องมี Value Exploration คุณค่าแท้ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการ

แนะนำให้ กฟผ.

ควรส่งเสริมให้พนักงานมีข้อเสนอแนะ ข้อคิดดีๆ

ควรอ่านหนังสือ International Marketing เพราะกฟผ.ต้องคิดถึงไซต์งานใหม่เมื่อมี AEC

ต้องมีการหาเครือข่ายคือคนเก่งๆมาร่วมมือ

ควรทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองไฟฟ้าสีเขียว มีหลังคาโซล่าร์เซลทุกบ้าน

ควรตั้งโรงเรียน กฟผ. มหาวิทยาลัย กฟผ. เพราะมีองค์ความรู้มาก 


นายเอกรัฐ สมินทรปัญญา

การอบรม ในวันที่ 31 มกราคม 2556 ได้เรียนรู้ในเรื่อง

· ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. จาก ดร.กมล ตรรกบุตร

· ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. จาก                                ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

 

       แม้ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะมีเหตุผลในความจำเป็นที่ควรจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ซึ่งหน่วยงาน กฟผ. คงจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานโรงไฟฟ้าฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อสังเกตุในหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าฯ ในประเทศ โดยในปัจจุบันแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงถูกเลื่อนกำหนดการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป


     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นสิ่งใหม่ของประเทศ ซึ่งผมมีแนวคิดว่าแนวทางการปฏิบัติ หรือบทเรียนต่างๆ ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างฯ แห่งแรกของประเทศเหล่านั้น
เป็นสิ่งที่น่าศึกษา และนำมาผสมผสานกับบทเรียนการสร้างการยอมรับโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ของ
กฟผ. เอง ในประเด็นต่างๆ ที่ครอบคลุมในทุกด้าน นอกเหนือจากกระบวนการการดำเนินงานตามขั้นตอนปกติ
เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น น่าจะเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยให้เกิดการยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้าฯ ของประชาชน และชุมชนได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้น




ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมวันพฤหัสที่ 31 มค.56


จาก ดร.กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

หัวข้อ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ

สิ่งที่ได้รับสามารถนำไปใช้กับ กฟผ.

-ปรับปรุงแผนฉุกเฉินเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว .น้ำท่วม ฯลฯ

-จะเห็นได้ว่า รฟ.นิวเคลียร์รุ่นใหม่จะมีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆปลอดภัยขึ้น  ปัญหาคือการไม่ยอมรับจากประชาชน  นโยบายหนึ่งที่จะช่วยได้คือต้องผลักดันเงินผลตอบแทนให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก รฟ.ให้ได้รับสมน้ำสมเนื้อ


จากคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

หัวข้อ ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

สิ่งที่ได้รับสามารถนำไปใช้กับ กฟผ.ได้  ได้เห็นถึงภาวะผู้นำ ความเก่ง ความกล้า ของคุณหญิง

การต่อสู้เพื่อความถูกต้อง  ซึ่งผมจะจำไว้เป็นแบบอย่าง


ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม  วันอังคารที่ 29 มค. 56 


จาก ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์

การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ 

การเรียนรู้เพื่อ HRเป็นเลิศ มี 4L , 2R , 2I , 3L ,C&E และ C-U-V

สิ่งที่ผู้นำควรมีควรทำ  -  อ่านเยอะๆ เรียนรู้ตลอดเวลา

                                  -  มี Network


จาก อ.พจนารถ  ซีบังเกิด

การค้นหาตัวตนของเราว่าจะเป็น Leader แบบไหน

Need มี 6 แบบ  Fear มี 3 แบบ อยู่ที่ว่าจะใช้เป็นเพื่อนหรือจะใช้บั่นทอน


การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

30 มกราคม 2556

โดย  อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

· ข้อกำหนด  ควรทำโครงการใหม่ แล้วเป็นที่สนใจสามารถนำไปใช้ได้จริง

  ควรทำโครงการเชิงนวัตกรรม

   ต้องทำโครงการเกี่ยวกับ กฟผ. เป็นกิจการไฟฟ้า และระดับสากล

   โครงการต้องชัดเจนไม่ต้องความคิดบรรเจิดมาก แต่ต้องนำไปใช้ได้จริง แต่ต้องทำภายใต้ Theme ต่อไปนี้

แนะนำสิ่งที่ต้อคำนึงถึง

-  จะทำให้เพื่อนในกลุ่มมาร่วมกันทำโครงการอย่างไร

-  มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

-  เกี่ยวข้องกับใคร

-  สื่อสารภายในกลุ่มอย่างไร

-  ให้มีส่วนร่วมกันอย่างไร

-  ใครเป็นหุ้นส่วนในแต่ละโครงการ

โครงการภายใต้ Theme

·  นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของ กฟผ.ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015

·  วิสัยทัศน์และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างและบริหารทุนมนุษย์ของ กฟผ. กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน

·  กลยุทธและแผนงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของ กฟผ. (SEPA)

·  นวัตกรรมทางสังคมของกฟผ. สร้างศรัทธาที่แท้จริงจากปวงชน

·  นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ ของ กฟผ.

· ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2025


31/มกราคม/2556

  วันนี้ อาจารย์ ดร.กมล ตรรกบุตร มาเล่าถึงผลกระทบต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย อันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหวและเกิดซึนามิที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมา ที่ญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ทำให้รัฐบาลต้องเลื่อนโครงการออกไปจาก ปี 2566 เป็น 2569 เนื่องจากความกังวลใจและการต่อต้านของชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมายที่จะทำการสร้างโรงไฟฟ้า จากกรณีดังกล่าวทำให้ ผู้บริหาร กฟผ. จะต้องหันมาพิจารณายุทธศาสตร์การทำความเข้าใจกับมวลชน รวมทั้งแผนการเตรียมความพร้อมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการที่จะดำเนินการก่อสร้าง ติดตั้งระบบ ทดสอบ และ Operation โรงไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อคนในประเทศ และนักลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการด้านโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ประเทศในอาเซียน อาทิ เวียตนาม ที่เริ่มมีการขยับโครงการแล้วและมีแนวโน้มจะล้ำหน้าประเทศไทย ด้วย

  ในความเห็นของผมในระหว่างรอโครงการใหญ่ กฟผ.น่าจะทำ โรงไฟฟ้าต้นแบบขนาดเล็ก ด้วยพลังงานทางเลือกอื่นๆ เพื่อนำมาทดแทน โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กรณีไม่ได้รับการอนุมัติให้สร้าง

  ในส่วนของท่านอาจารย์ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ นำเรื่องภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ซึนามิ เล่าให้พวกเราฟัง รวมทั้งภัยธรรมชาติอื่นที่อาจมีผลต่อโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่ง กฟผ.จำเป็นต้องมีแผนฉุกเฉินในการรองรับเหตุการณ์ Unexpected and Unthinkable เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบัน กฟผ.เองก็มีแผนเฝ้าระวังเขื่อนชื่อว่า  DAM Safety Management รวมทั้งแผนรองรับกรณีฉุกเฉินสำหรับเขื่อน คือ แผนการแจ้งเตือน และแผนการเคลื่อนย้าย

  ในช่วงบ่ายได้วิทยากรมากประสบการณ์ด้านการทำงานในวงราชการ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มาเล่าประสบการณ์และหลักในการทำงานในหัวข้อ “ภาวะผู้นำและประสบการณ์บริหารงานของข้าพเจ้า” ซึ่งได้ข้อคิดจากคุณหญิงฯ มาประยุกต์ใช้ได้หลายเรื่องเลยทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องการคงไว้ซึ่งหลักการที่ถูกต้องในการทำงาน ไม่ต้องเกรงกลัวอำนาจที่ไม่ถูกต้อง แต่ต้องไม่เป็นบุคคลประเภท “ยอมหักไม่ยอมงอ” แต่ต้องรู้จักทำตัวเป็น “ต้นอ้อ” แม้จะอ่อนโอนแต่ยังอยู่ในหลักการที่ถูกต้อง การที่จะเป็นผู้นำที่ดี คุณหญิงฯ ให้หลักดังนี้

1.  Well Prepare เตรียมความพร้อมด้านต่าง สามารถพึงตนเองได้

2.  Give & Take ต้องรู้จักให้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของหรือเงินทอง เป้นความช่วยเหลือจากเล็กไปหาใหญ่ตามความเหมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งต้องรู้จักรับพิจารณาให้ดี รับให้น้อยที่สุด

3.  ต้องรู้จักตนเอง การจุดแข็งให้เจอแล้วพัฒนารักษาไว้ให้เป็นจุดเด่นจนเป็นสัญญลักษณ์ เช่น เป็นคนที่ซื่อตรง ยึดความถูกต้อง หลีกเลี่ยงทีนำจุดอ่อนไปปะทะกับคนอื่น

4.  การรู้เท่าทันคนอื่น

5.  มีผู้ใต้บังคับบัญชาที่สามารถทำงาน ช่วยเหลือเราได้ ไม่ระแวง แต่ระวัง

เหล่านี้เป็นประเด็นที่เก็บรวบรวมมได้จากการฟังเรื่องเล่า ซึ่งคุณหญิงฯ ได้นำมาให้พวกเราเรียนรู้และนำไปปรับใช้ตามสถานะของตัวเอง ขอบคุณมากครับ

ชนฏ ศรีพรวัฒนา


บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น  ( ดร.กมล  ตรรกบุตร  และ ศ.ดร.ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์)

  ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติและพึ่งพาการซื้อไฟจากต่างประเทศ ค่อนข้างมาก ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่มั่นคงเนื่องจากไม่กระจายสัดส่วนประเภทของโรงไฟฟ้า  และในPDPมีแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์แค่ 2 โรงเสร็จในปี 2026 ซึ่งอาจต้องเลื่อนไปอีกจนอาจไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นที่ประเทศไทยได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้เนื่องจากรัฐบาลที่แล้วไม่เห็นด้วยและจากทำโพล ได้ถามความเห็นประชาชนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผลคือเห็นด้วย 60%  แต่ถ้ามาสร้างใกล้ ๆบ้าน เห็นด้วยเพียง 30 % นอกจากนี้กรณีผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รั่วไหลประชาชนยิ่งเกิดความกลัว  ซึ่งอาจถูกประท้วงอย่างรุนแรงหากยังเดินหน้าที่จะก่อสร้างต่อไป  อาจต้องปรับPDPเป็น Clean Coalมากขึ้น

  ผมเห็นด้วยว่าน่าจะมีการวิจัยในระดับประเทศ เกี่ยวกับทางเลือกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ไฟฟ้าในประเทศ ร่วมกับสถาบันการศึกษาอย่างจริงจังก่อนที่จะเกิดปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ

   บทเรียนที่ได้จากภัยธรรมชาติในต่างประเทศ  เช่นแผ่นดินไหว  เราจะรับมือได้อย่างไร

  เราควรมีการเตรียมแผนรองรับเหตุการณ์เหล่านั้น โดยจัดทำBusiness Continuity Management โดยเฉพาะหน่วยงานใหญ่ ๆ อย่างกฟผ. เช่นเดียวกับในต่างประเทศ  นักธรณีวิทยาค้นพบรอยเลื่อน 14  รอยที่ประเทศไทยที่อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้(แต่ระยะเวลาที่จะเกิดอาจยังอีกนานประมาณ 1,000 ปี) แต่เมื่อมีข่าวลือก็จะเกิดความกลัว โดยเฉพาะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ กฟผ.ต้องมีข้อมูลชี้แจงว่าเขื่อนศรีนครินทร์ปลอดภัยแน่นอน

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า  (คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์)

ต้องพึ่งตนเอง  สามารถจัดการได้ด้วยตนเองทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น เตรียมความพร้อมตลอด  ต้องรู้จักตนเอง รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง อย่าหลอกตนเอง จงซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต้องรู้ว่ามีฝีมืออยู่ตรงไหน หมั่นวิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอ เติมStrength จะดีกว่าแก้ เรื่อง Weakness รู้ Limitation ของตนเอง รู้ว่าเพดานสูงสุดอยู่ตรงไหน

รู้จัก Give & Take  ต้องรู้จัก Give ให้มาก  ให้คำแนะนำสิ่งดี ๆ ให้คนอื่นไม่จำเป็นต้องให้เป็นสิ่งของควรมีน้ำใจต่อเขา แล้วเขาจะไม่เคยลืม  การรับ บางครั้งรับไม่ได้ เช่นรับของต้องไม่ขัดกับ Integrity และ ความซื่อสัตย์สุจริต

ต้องมี ความกล้าหาญทางคุณธรรม ต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เชิงคุณธรรมให้กับสังคม

เจ้านายชอบลูกน้องที่อ่อนน้อมถ่อมตน ลูกน้องจะประสบความสำเร็จต้องรักษามารยาท แต่งตัวให้เรียบร้อย  เวลาพูด กับคนมีอำนาจให้ระมัดระวังคำพูดและวิธีการ ต้องเตรียมตัวให้ดี ใช้คำพูดสุภาพ มีศิลปะการพูดโน้มน้าวจูงใจ

บทเรียนของคุณหญิงทิพาวดีที่ให้คือ เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติในชีวิต ต้องเข้มแข็ง ไม่ท้อ ต้องต่อสู้ ด้วยตัวเอง  สู้ตามครรลองที่ถูกต้อง อย่างมีความหวัง ทุกอย่างเหมือนเกมส์ของชีวิตที่ต้องสู้

  บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์  31/1/56


สุทธิชัย จูประเสริฐพร

สรุปความรู้จากการหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

·ผู้เขียนมีเจตนารมณ์ คือ การสร้างทุนมนุษย์ในประเทศไทยให้มีคุณภาพเพราะ  ทุนมนุษย์”
 หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของสังคม

· แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพประกอบด้วย

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

 ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ คือการมีปัญญา คิด วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา และสร้างความก้าวหน้า ความสำเร็จในชีวิตได้
นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณชน สร้างทุนแห่งความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม หรือเครือข่าย

ยึดแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่าย คือ อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
สร้างการรวมพลังให้ได้จริงๆ

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

มีปัจจัยในการสร้าง 6 ปัจจัย คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(1) ต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จ และสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด

(2) ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกทำลาย

(3) ต้องมีคุณธรรม และจริยธรรม

(4) ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์

(5) ต้องให้ความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย

(6) ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง


K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ
ได้

K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ

คนที่ประสบความสำเร็จต้องมีทักษะ ความรู้ ทัศนคติ การพัฒนาภาวะผู้นำด้วย “ทฤษฎี 5 E” คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation

 

·  แนวคิดทฤษฎี 5K’sเป็นแนวคิดทุนใหม่ ประกอบด้วย

K1 (ใหม่) Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

(1) วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

(2) ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

(3) ต้องคิดเป็นระบบ

(4) ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ


K2 (ใหม่) Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality
ความเป็นจริง Relevance ตรงประเด็น

K3 (ใหม่) Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ

(1) มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมความรู้

(2) นำความคิดไปปฏิบัติจริง

(3) ทำให้สำเร็จ


K4 (ใหม่) Cultural Capital  ทุนของวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วย

- ขนบธรรมเนียมประเพณี

- ศาสนา

- ประวัติศาสตร์

- ประเพณี

- วิถีชีวิต

- ภูมิปัญญา

- แนวทางปฏิบัติ

- ความเชื่อ

 

K5 (ใหม่) Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้

·เครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเป็นเสรีอาเซียน ประกอบด้วย

(1) ต้องรู้จริงว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร?”

(2) ข้อตกลงทางการร่วมมือกัน (เศรษฐกิจ การค้าง การลงทุน สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงทางการเมือง)

(3) เสรีในการขายสินค้าและบริการ

(4) ค้นหาตัวเอง ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้นเตรียมพร้อมฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี้ยงการถูกควบคุมอย่างไร?

(5) การปรับตัว ต้องเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้ว่าโอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และเราจะฉกฉวยอย่างไร

(6) การรักษาภูมิปัญญา และรากเหง้าของความเป็นไทย

(7) ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ + ภาษาอาเซียนได้

(8) สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้


ทฤษฎี 2 R’s   ทฤษฎี 4 L’s

- Reality  

- Learning Methodology  

- Relevance  -  Learning Environment

ทฤษฎี 2 I’s    

- LearningOpportunities 

- Inspiration  - Learning Communities

- Imaginaton

(9)  การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(10) การบริหารความเสี่ยงโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

·  รู้ให้จริงเรื่อง AEC กับผลกระทบต่อตัวเรา ตามความรู้และประสบการณ์จากนักคิด นักปฏิบัติ
กับแนวคิดทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s และ 5K’s (ใหม่) จะช่วยให้การนำแนวทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ


บทเรียนที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้สามารถนำหลักการและแนวคิดที่กล่าวมาของบุคคลสำคัญหลายๆ
ท่าน ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาบุคลากรของ กฟผ. เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ขององค์กรคือ”เป็นองค์กรสมรรถนะสูง”
HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION

*********************************




ความรู้และแนวทางการไปประยุกต์ใช้ วันที่ 29 มกราคม 2556

1.  ทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     1.1.  ได้ทราบถึงวัตถุประสงค์การพัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิตในการเป็นผู้นำ

     1.2.  ได้ทราบถึงวิธีการเรียนรู้เพื่อความเป็น HR ที่เป็นเลิศ เช่น 4L’s 2R’s 2i’s เป็นต้น

     1.3.  ได้ทราบถึงวิธีการเรียนสำหรับหลักสูตรสร้างผู้นำ

2.  การนำไปประยุกต์ใช้

     2.1.  ทราบถึงแนวทางการบูรณาการ ความรู้ ความคิดไปสู่การปฏิบัติจริง

     2.2.  ได้ทราบถึงผู้นำได้เรียนรู้อย่างไรจากหลักสูตรนี้และไปประยุกต์ใช้อย่างไร เช่น ความคิดบางส่วนของผู้ว่าการ                  สมัยที่เรียน EADP

3.  การสร้างผู้นำแห่งศตวรรษใหม่ ที่ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

3.1.  การเรียนรู้ที่ได้รับทราบถึงแนวคิดของผู้นำในยุคต่างๆ ก่อนที่จะเป็นผู้นำในต่างๆ ตามสายอาชีพนั้นๆ

     3.2.  โลกของการเปลี่ยนแปลงในยุคต่างๆ จนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะ ยุคที่ 4 (Fourth Wave)

     3.3.  ความหมายของผู้นำและผู้จัดการ (รวมถึงสิ่งที่เป็นความต่าง)

4.  การนำไปประยุกต์ใช้

     4.1.  สามารถนำ leadership of Balancing มาแก้ไขหรือปรับปรุงการบริหารการจัดการในชีวิตประจำวัน

     4.2.  วิธีการพัฒนาผู้นำแบบใหม่ (Apprenticeship Model) ในหลายๆ หัวข้อ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น เน้นการฝึกปฏิบัติจริง และฝึกจากการจำรองตามสถานการณ์

นั่งเรียนหัวข้อวิชานี้แล้วก็ได้เรียนรู้ว่าผู้นำในยุคต่างๆ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ความรู้และแนวทางการไปประยุกต์ใช้ วันที่ 29 มกราคม 2556

1.  Leading People ของ อ.พจนารถ ซีบังเกิด

     1.1.  ความรู้ที่ได้รับได้ทราบถึงกระบวนการทางความคิดและการรับรู้ รวมถึงการตัดสินใจในเรื่องที่มีเหตุการณ์ต่างๆ (My Stories … My World)

     1.2.  ความหมายและรายละเอีดของ 6 Core Needs of Human Begins

     1.3.  ความหมายของ Universal Fears 3 ประการ

     1.4.  ความหมายของ Who Am I?

     1.5.  ธาตุแท้ของฉันและการค้นหา


ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า

31 มกราคม 2556

โดย คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

1เรื่องการเจรจาต่อรอง

การกล้าพูดกับเจ้านาย ได้เล่าถึงประสบการณ์การร่างหนังสือ สมัยนั้นเข้าทำงานใหม่ๆ

2 เรื่อง Visibility การปรากฏตัวให้เจ้านายเห็น-รู้จัก

การไหว้และเคารพผู้ใหญ่ ปรากฏตัวให้เจ้านายเห็น

มีความรู้ในงานและสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน

เอางานเป็นตัวตั้ง มีความรู้ในงาน

เรื่อง  Gender Sensitivity

การเข้าใจเรื่องความแตกต่างทางเพศ

การเรียนรู้ที่จะอยู่กับเพศตรงข้าม

หลักการของผู้นำ

1.  การพึ่งตนเองให้ได้

2.  เตรียมความพร้อมตลอด ตั้งแต่เรื่องการแต่งตัว  ข้อมูล

3.  การคบคนที่มีความสำคัญ

4.  เรื่องวินัย ฝึกตนให้มีวินัยอยู่เสมอ

5.  ต้องรู้จักตนเอง จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองอยู่ตรงไหน อย่าหลอก

ต้องรู้จัก Give & Take

การให้ - ให้ให้น้ำใจ ความจริงใจ ความเกื้อหนุน คำแนะนำต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องให้เป็นสิ่งของ

การรับของ – บางครั้งรับไม่ได้ เช่นรับของต้องไม่ขัดกับความซื่อสัตย์สุจริต การรับให้พยายามรับแต่น้อย

เรื่องคนดูหมิ่น ทันทีที่นิ่งเฉย หมายถึงยอมรับที่ถูกด่า เราต้องไม่บ้าดีเดือดา

สอนลูกน้องให้มีศักดิ์ศรี รักองค์กร ภูมิใจในองค์กร

สิ่งที่สำคัญ  คือความกล้าทางคุณธรรม ต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เชิงคุณธรรมให้กับสังคม ทำเป็นตัวอย่าง คือไม่ยอมคนกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

มุมมองของเจ้านาย

1.ชอบลูกน้องที่อ่อนน้อมถ่อมตน

2. พบเจ้านายต้องไปก่อนเวลา

 3. ต้องเตรียมตัวอย่างดี ต้องศึกษาความสำเร็จของท่าน ต้องพูดทุกคำที่มีความหมาย

4.การวางแผนล่วงหน้า


Mind Mapping สำหรับผู้บริหาร และการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม (30 มกราคม 2556)

(อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์)

       Mind Mapping เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกโดยการใช้สมองทั้ง 2 ซีกอย่างเต็มที่ ซึ่งเมื่อได้ฟังแล้วก็ยังเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งว่า แค่การเขียนภาพโยงใยคล้ายกิ่งก้านสาขาของรากไม้จะทำให้ใช้สมองได้ทั้ ง 2 ซีก (ตามทฤษฎี) แต่ที่พบสิ่งหนึ่งแน่ๆ ก็คือได้เขียน ลำดับเหตุการณ์ความคิด ได้มองในภาพรวม แบ่งแยกลำดับความสำคัญ กิจกรรมไหนควรทำก่อนทำหลัง งานใดควรอยู่ในกลุ่มใด และยังได้ทักษะการวาดรูปและการลงสี ซึ่งอาจารย์บอกว่าถ้าทำถึง 100 แผ่นจะทำให้ฝึกสมองและความจำจะดีขึ้น ซึ่งจะลองทำบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน

Creative Thinking and Value Creation และการออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

(อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ)

      Creative Thinking and Value Creation เป็นเรื่องที่เคยได้รับการอบรมและมีความคิดมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อมาเจอชื่อหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับการออกแบบโครงการก็รู้สึกน่าสนใจ แต่เมื่อได้รับการแจกเอกสารการสอน แปลกใจมากมีแต่รูปภาพที่เป็นเรื่องราวเชิงความคิดและภาพของอาจารย์ในกิจกรรมต่างๆ แต่เมื่อนั่งฟังไปเรื่อยๆ เมื่อถึง Holistic Framework ก็ทำให้เข้าใจในเนื้อหาขึ้นในระดับหนึ่ง

       แต่ที่ได้ความคิดความอ่านที่เห็นว่ามีประโยชน์จริงๆ คือในเรื่องที่อาจารย์เล่าว่า ในหลวงท่านมีพระราชดำรัสว่า ท่านทั้งหลาย (ผู้นำเสนอโครงการ SME หญ้าแฝก) ท่านลืมวัตถุประสงค์ ท่านมุ่งแต่เป้าหมาย และอาจารย์ได้อธิบายว่า วัตถุประสงค์ในความหมายของพระองค์ท่านคืออะไร ทำให้ผมได้คิดและตระหนักถึงว่า วัตถุประสงค์การเป็นผู้บริหารหรือผู้นำมีค่าและยั่งยืนกว่าเป้าหมาย


วันที่ 31 มกราคม 2556

หัวข้อ  ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 8.9 ริกเตอร์ และเกิด Tsunami ที่มีระดับน้ำสูงกว่า 10 เมตร ที่ชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิชิ อยู่ใกล้กับศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากที่สุด จึงเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ขณะนั้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 4 – 6 หยุดซ่อมบำรุงตามตารางกำหนดเวลา  ส่วนหน่วยที่ 1 – 3 ที่เดินเครื่องอยู่ตามปกติ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวทั้ง 3 หน่วย ก็ดับเครื่องโดยอัตโนมัติ เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับระบบปั้มน้ำฉุกเฉินเพื่อระบายความร้อนให้แก่ปฏิกรณ์ก็เดินเครื่องโดยอัตโนมัติ ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็เกิดแผ่นดินไหวซ้ำ (After Shock) และ Tsunami ที่กระแทกเข้ามา ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลจมน้ำและดับลงอย่างกะทันหัน แบตเตอรี่สำรองก็ทำงานได้เพียง 8 ชั่วโมง ก็หมดลง ทำให้ปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 1 – 3 เกิดความร้อนสูงมาก จนเกิดการระเบิดขึ้น ส่งผลต่ออาคารคลุมปฏิกรณ์เสียหาย

จากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา ไดอิชิ ทำให้ประเทศไทยต้องทำการปรับแผน PDP ใหม่ โดย กพช. และ ครม. มีมติให้เลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ออกไป 3 ปี และให้นำเข้า LNG มาทดแทน รวมทั้งกำหนดนโยบายซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของระบบ  ภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ ภัยพิบัติทุกครั้งนำความสูญเสียสู่มนุษย์ชาติ ความเสียหายจะมากถ้าไม่เตรียมรับมือให้ดี การรับมือกับภัยธรรมชาติจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของคนในทุกระดับ  การลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานให้มีมาตรฐาน มีกำลังคน  เครื่องจักรกล ระบบสำรอง การผลิตไฟฟ้า/การจ่ายไฟฟ้า  มีระบบ IT อย่างเพียงพอเมื่อเกิดภัยพิบัติจะทำให้กู้สถานการณ์ได้รวดเร็ว

หัวข้อ  ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

  - ทำต้วให้เจ้านายรู้จัก  สร้างภาพลักษณ์ที่ดี เช่น การไหว้  ทักทาย

  - ไม่ต้องกลัวนาย  แต่ต้องมีมารยาท อธิบายอย่างมีเหตุมีผล เอางานเป็นที่ตั้งอย่าเอา

  ตัวเองเป็นที่ตั้ง

คุณลักษณะผู้นำ

1.  พึ่งตนเองได้  ต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ (well prepare) เมื่อเกิดภาวะจำเป็น   หยิบอะไร ไม่ทัน หรือ เวลาเร่งรีบ หาอะไรไม่ได้ มีแต่สมองที่อยู่กับตัวเรา จึงต้องฝึกคิด (ถึงเวลาจะคิดได้เร็ว) ฝึกวางแผนรับสถานการณ์อยู่เสมอ

2.  รู้จักคบกับคนสำคัญ (Networking)

3.  ต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเอง อย่าหลอกตัวเอง ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง พวกเราอายุเยอะแล้ว อย่าไปเสียเวลากับการปรับปรุงจุดอ่อน ให้เอาเวลาไปเสริมจุดแข็งดีกว่า

4.  วิเคราะห์ตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้รู้ฝึมือว่าอยู่ระดับไหน

5.  ให้มากกว่ารับ

  การให้ น้ำใจ เกื้อหนุน คำแนะนำ ความช่วยเหลือที่ไม่เกินขอบเขต

  การรับ ให้รับแต่น้อย หรือรับไม่ได้ เนื่องจากไม่เหมาะสม

6.  รักษาเกียรติของตัวเองและองค์กรไว้

7.  สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อทำให้ตนเองเกิดความมั่นใจ และไม่มีใครมาสั่งให้เราทำสิ่งที่ไม่ดีเปรียบเสมือนต้นอ้อ จุดยืนเหมือนเดิม แต่เอนเอียงได้ ตามกระแสลม

8.  นายชอบลูกน้อง ที่อ่อนน้อมถ่อมตน มีมารยาท แต่งตัวให้เรียบร้อยเวลาพบเจ้านาย ต้องเตรียมตัว อย่าประมาท หลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่”

9.  ไปพบเจ้านายต้องไปก่อนเวลา นั่งรอ จะได้เห็นสภาพแวดล้อม


วันที่  31  มกราคม  2556

หัวข้อ  ผลกระทบของแผ่นดินไหวญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

  โดย  ดร.กมล  ตรรกบุตร

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้รับความรู้อย่างมากจากการเสวนา (Panel Discussion) ในเรื่อง

-  พลังงานและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย สัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของโลก แนวทางที่ปลอดภัยในการออกแบบ และการก่อสร้างไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และแนวทางการป้องกันหากเกิดปัญหาการทำงานของระบบ รวมทั้งแนวทางการให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการยอมรับ

-  การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟูกูชิยา ไดอิช เพื่อนำมาวางแผน  Road Map การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ.

หัวข้อ  ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

  โดย  ศ.ดร.ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้รับความรู้อย่างดียิ่งด้านสถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น

-  การวางแผนเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย หรือ  เหนือความคาดหมาย (The unexpected หรือ unthinkable) ซึ่งต้องครอบคลุมทุกด้านที่  เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึงความไม่ประมาทนั่นเอง

-  วิสัยทัศน์ใน The Hyogo Framework for Action 2005-2015 ที่สามารถนำมาปรับใช้กับ กฟผ. ได้โดยเป็นการเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ใช่เพียงแค่วางแผน แต่ไม่ค่อยสนใจการปฏิบัติเท่าใดนัก

-  การวางแผน Upgrade โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะให้มีความสามารถต้านทาน (Reselliance)   ต่อภัยพิบัติธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการฟื้นตัวได้อย่างมีวินัยและรวดเร็ว หลังจากการเกิด  ภัยพิบัติธรรมชาติ

-  ตัวอย่างการมีภาวะผู้นำ Leadership ที่ต้องรู้จักการประเมินสถานะการณ์ได้อย่างถูกต้องและมีความมุ่งมั่น ทำการปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ได้

-  การดำเนินการด้าน Business Continuity Plan and Management ซึ่งต้องมีการวางแผนและ  ซ้อมการจัดการอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 

หัวข้อ  ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

  โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ขอขอบพระคุณอาจารย์อย่างยิ่งที่ได้รับความรู้อย่างเต็มที่จากการถ่ายทอดประสบการณ์จริงที่เข้มช้นในการบริหารงานโดยอาศัยคุณลักษณะผู้นำตามทฤษฎี 8H's คือ Heritage Head Hand Heart Health Harmony Happiness Home ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นผู้บริหารที่ดี มีความประทับใจในตัวอย่างความเป็นผู้มีหลักการที่แน่วแน่ การพึ่งตนเอง การตัดสินใจในทันการณ์ ความกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และการเป็นนักสู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง สามารถเผชิญ และรับมือกับปัญหาได้อย่างมีสติ ซึ่งเป็นที่มาของบทสรุปที่กล่าวว่า ผู้นำที่แท้จริงคือ "ผู้บุกเบิก"


8 K’ s + 5K’s  โดย  ศิริภา  ชูจันทร์

  ทุนมนุษย์ของคนไทย

  รองรับประชาคมอาเซียน

  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  นักทรัพยากรมนุษย์

พันธุ์แท้ หรือ HR CHAMPION  ได้ให้นิยามคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นแนวคิดทฤษฏี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

K1  Human Capital  ทุนมนุษย์

K2  Intellectual Capital   ทุนทางปัญญา

K3  Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

K4  Happiness Capital   ทุนทางความสุข

K6  Sustainable Capital  ทุนทางความยั่งยืน

K7  Digital Capital   ทุนทางเทคโนโลยสารสนเทศหรือ IT

K8  Talented Capital   ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับสังคมไทย ในการนำแนวคิดทฤษฎี  8K’s มาเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ระดับชุมชน ระดับองค์กร ครอบครัว และตัวเราเอง เพื่อเตรียมพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย รองรับการเปิดเสรีอาเซียน

-  รากฐานของ Human Capital คือแนวคิดที่ริเริ่มโดย Prof.Gary Becker นักเศษฐศาสตร์เขียนทฤษีทุนมนุษย์จาก University of Chicago ซึ่งได้รับรางวัล Nobel สาขาเศษฐศาสตร์ เมื่อปี 1992

K1  ทุนมนุษย์  (Human Capital) เป็นการสร้างทุนมนุษย์ข้อแรกที่ได้จากการศึกษา หรือโภชนาการ  ซึ่งเป็นที่มาของคุณภาพของทุนมนุษย์แบบถาวร Quality of Human Capital หรือสมรรถนะ (Competencies) หรือ ทักษะ (Skill)

K2  ทุนทางปัญญา  (Intellectural Capital)  คือการมองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต  ซึ่งมีแนวคิดมาจากการวิเคราะห์ว่าทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้วัดจากระดับของการศึกษาเท่านั้น แต่เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคิด/วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และหาทางออก


เรียน  อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

โดย ดร.กมล ตรรกบุตร

วันที่ 31 มกราคม 2556

1.  ตามแผน PDD 2010 Rev.3 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกเลื่อนออกไปที่ปี 2026 และ 2027 จำนวน 2 หน่วย รวม 2000 MW. และ กฟผ. ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ประมาณ 70%

2.  ประมาณการแหล่งเชื้อเพลิงของโลก

-  น้ำมันเหลืออีก 40 ปี

-  ก๊าซธรรมชาติอีก 70 ปี

-  ถ่านหิน 100 กว่าปี

-  นิวเคลียร์แบบ Recycle ใช้ได้อีกหลายพันปี

3.  ปฏิกรณ์นิวเคลียร์รูปแบบต่าง ๆ

-  ปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด

-  ปฏิกรณ์แบบน้ำภายใต้ความดัน

4.  ประมาณการต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงกว่าโรงไฟฟ้าอื่น ๆ แต่ต้นทุนทางด้านเชื้อเพลิงต่ำกว่า โดยเทียบเชื้อเพลิงจากถ่านหิน 1 Kg ผลิตได้ 3 Kw.h ยูเรเนียมเข้มข้น 3-4% 1 Kg ผลิตได้ 300,000Kw.h

5.  บทสรุป

-  หลายประเทศกำหนดแนวทางการลดการพึ่งพานิวเคลียร์

-  มติ ครม.ของไทยเลื่อนการ COD โรงแรกเป็นปี 2026 ทั้งที่ IAEA ให้ความเห็นชอบแล้ว

-  แผน PDP ใหม่ ให้นำเข้า LNG

-  คงนโยบายซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านมากขึ้น ส่งผลกระทบความมั่นคงระบบ

กฟผ. พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

1. จากบทเรียนภัยธรรมชาติที่ผ่านมาของโลก เช่น

- Sandy Super Storm 2012 ในแถบทะเลแคริบเบียน

- วิกฤตนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น

- น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยปี 2554 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก

- แม้แต่แผ่นดินไหว 5.9 ริกเตอร์ อ.ศรีสวัสดิ์ และ 7.2 ริกเตอร์ ในประเทศพม่า สามารถก่อให้เกิดรอยร้าวในอาคารได้

2. เนื่องจากความไม่แน่นอนของภัยพิบัติ (Uncertainty) และไม่สามารถคาดเดาได้ (Unpredictable) ต้องมีมาตรการรองรับความปลอดภัยที่เกิดขึ้น

3. ผู้นำต้องให้ความสนใจในการ Managing of Uncertainty/Unpredictable และ Safety Culture

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหาร

โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

1.  การเจรจาต่อรอง

-  ต้องมีความกล้าพูดกับหัวหน้า

-  เจรจาอย่างมีเหตุผล สุภาพ/มีมารยาท และต้องมีการเตรียมตัวเองให้พร้อมเสมอ (Well Prepare)

2.  ต้องรู้จักตัวเอง

-  รู้จุดอ่อน จุดแข็ง

-  หมั่นวิเคราะห์ตนเอง

-  ควรหลีกเลี่ยงจุดอ่อน เน้นจุดแข็ง

-  ต้องรู้ขอบเขต/หน้าที่ของตนเอง

3.  Give & Take

-  การให้ ให้ด้วยน้ำใจ ให้คำแนะนำ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ

-  การรับ ต้องรับไม่ขัด Integrity/ความซื่อสัตย์ สุจริต

-  มีศักดิ์ศรี และเกียรติแห่งความเป็นคน

4.  ต้องมีความกล้าทางคุณธรรม (Moral Courage)

ต้องสู้เชิงคุณธรรมให้กับสังคม ทำเป็นตัวอย่าง และไม่ยอมกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

 

ขอบคุณครับ

นายวีระ  วิสุทธิ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

สายงานเชื้อเพลิง


จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

1 กุมภาพันธ์ 2556

บรรยายโดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

การตลาดมีความสำคัญอย่างไร

จะใช้ประโยชน์เพื่อตัวเรา เพื่อนเรา ครอบครัวเรา และประเทศได้อย่างไร

ตัวอย่างของการตลาดที่เราเห็นประจำวันช่วงนี้ คือ การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ  การคุยมากไปก็เหมือนกับการสร้างภาพ

สิ่งแรกที่ท่านสนใจคือ ลูกค้า (Public)ที่กำหนดเรา มีดังนี้

1.  คนทั่วไป general public

2.  Government  ต่างประเทศมองว่า รัฐบาลเป็นตัวจัดสรรอำนาจ แต่ไทยมองว่ารัฐบาลเป็นเจ้าของ  จากวาระจร ทำให้EGAT ได้ประโยชน์เยอะมากจากการทำ Government relation

3.  Media คือการใช้สื่อช่วยประชาสัมพันธ์ หรือโปรโมท นับว่ามีอิทธิพลมากในปัจจุบัน แต่กลุ่มที่มีอำนาจมากกว่าคือกลุ่มโฆษณาที่มาออกสื่อ วิธีการสำคัญคือใช้คำพูดกับสื่ออย่างถูกต้องส่วนใหญ่จะเน้นตอบประเด็นสำคัญในช่วงแรก ๆ

4.  Finance แหล่งเงินของรัฐบาล และแหล่งเงินนอกระบบ (Still the show like EGAT ตัวอย่างที่ EGAT กลายเป็นพระเอกที่ให้ญี่ปุ่นยืมไฟฟ้า)

สิ่งที่อยากฝากสำหรับ EGAT คือ เงินนอกงบประมาณอยู่ที่ไหน เราต้องเรียนรู้การมีวินัยทางการเงิน

การจัดการเรื่องเงินเล็กใหญ่อย่างไร ให้ปรึกษาผู้จัดการ Bank

-   เริ่มต้นด้วยการรู้จักผู้จัดการสาขา Bank ที่บ้านก่อน  แล้วสอบถามแนวทางการตัดสินใจเรื่องเงินว่าตัดสินใจผิดหรือถูก

5. NGO เป็นกลุ่มหนึ่งที่ฉลาด ในอนาคต EGAT ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ใหญ่มากคือ NGO ประเด็นคือจะเอาเงินมาจากไหน  ถ้าสามารถเชื่อมสัมพันธ์ได้จะเป็นมหามิตรที่ดี แต่ถ้าไม่สามารถเชื่อมสัมพันธ์ได้จะกลายเป็นมหาศัตรู

6. PEER คือ เพื่อนฝูงที่เป็นนักธุรกิจด้วยกัน  เพื่อนรัฐวิสาหกิจของท่านเอง อย่างเช่น  ท่านมีเสา Power Line ที่ใหญ่ที่สุดเลย มี Communication System ที่ดีที่สุดแล้วในเมืองไทย  อย่างที่ 2 คือ like of way ของ EGAT ต้องใช้ Power Line ของ EGAT ในการทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง สิ่งที่ท่านควรทำ คือควรทำความสนิทกับ รฟท. และ CATs เพราะรางไฟฟ้าส่วนใหญ่จะตรงกับรางรถไฟ วิธีการ คือการไป Re-union บ่อย ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

7. INTERNAL เป็นส่วนสำคัญที่สุด เช่น สหภาพของกฟผ.เอง ควรเป็นกลุ่มแรกที่เรานึกถึง

สิ่งดี ๆ ใน EGAT นั้นดีอย่างไร และท่านเผยแพร่อย่างไร

·  อย่างไรก็ตาม องค์กรไม่ใช่แค่ Marketing อย่างเดียว

·  ผู้จัดการที่ดีที่สุดจะรู้ 5 อย่าง แต่จะจัดการที่ดีที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่ง

(เปรียบเหมือนรถมี 4 ล้อและยางอะไรอีก 1 ล้อ)

1. ยางหน้าขวา คือ ขายเป็นหรือไม่ คือการตลาด

2. ยางหน้าซ้าย ผลิต คือ โรงงาน ตัวอย่างเช่น Starbuck ขาย  The Third Place จุดประสงค์คือเป็นที่ ๆ นั่งแล้วคุยกันแต่บังเอิญ Serve กาแฟ เพราะฉะนั้น EGAT คือสถานที่ทำอะไร ไม่ใช่แค่ผลิตไฟฟ้า ที่ทำให้เรายืนยืด ณ ปัจจุบันนี้ ตัวอย่าง โรงไฟฟ้าที่ลาว และพม่า ล้วนได้รับเงินจาก EGAT  

สรุปคือ โรงงานเป็นรูปธรรมของ EGAT แต่ Power ไม่ได้อยู่ตรงนั้น

3. ยางหลังซ้าย คือ บัญชี คือการเงิน ให้ดู 1. ฐานะ  2.ความมีฝีมือ 3. ความมีชีวิตชีวา (C/F) Cash Flow Statement  สิ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือความมีชีวิตชีวา ต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารการเงินให้ดี

4. ยางหลังขวา คนทำงานเป็นทีมได้ คือ HR ให้ดูตัวอย่าง Manager เมืองนอกจะเป็นลักษณะ Invisible  ลูกน้องสามารถทำงานได้แม้ไม่มีหัวหน้าอยู่ สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพด้วย แต่ในเมืองไทย Manager ส่วนใหญ่ต้องเข้ามาดูงานอย่างใกล้ชิด

สรุป HR คือหัวหน้าหน่วย มันเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงไม่เหมือนก่อน

5. ยางอะไหล่ 3 เรื่อง

- KM คือประสบการณ์ที่จะต้องใช้การจัดการความรู้ หรือการจัดการประสบการณ์ที่ทันกับมือสามารถจัดการคนอื่นมาให้ความรู้ได้

- Information คือข้อเท็จจริงอะไร 3 เรื่องที่ต้องรู้ ให้วัดว่าวันที่สำคัญที่สุดคือเรียกไปทำ Project นั่นเป็นวันที่แจ้งเกิดแล้ว

  การรู้จัก Hero ว่าเป็นอย่างไรจะรู้วัฒนธรรมองค์กรของที่นั่นเนื่องจากเป็น Power  ให้ตั้งสติว่าเมื่อทำโครงการฯ ต้องรู้ Informationอะไร 3 เรื่องถึงทำงานให้สำเร็จ

-  Knowhow คือเครื่องมืออะไรที่ต้องเอาไป

สรุปคือท่านเก่งอะไรให้ทำสิ่งนั้น

·  ล้อ 1 คือขายของเป็น คือการตลาด เป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์

·  Supply  (อุปทาน คือ สินค้า + บริการที่คนต้องการ)

·  Demand  (อุปสงค์ คือความต้องการของคน)

·  การเป็นสังคมเกษตรคือสิ่งที่จับต้องได้หมด

-  Price จะอยู่ที่ Supply เป็นคนสั่ง ไม่ใช่อยู่ที่ Demand เป็นคนพูด

-  นา สวน ไร่ เป็น  Factory

-  Solution คือหลักค้ำประกันอนาคต คือการทำตลาดเป็น หรือการทำ Physibility Study คือใช้หลักการตลาดเป็น

·  หัวใจคือ การตลาดเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ ประสบการณ์ที่ใช้ไฟได้เรียก Brand Experience การสร้าง Brand คือการสร้างความไว้วางใจคือ Trust  เช่น เรื่องบางเรื่องจากคนธรรมดาคือค่าน้ำมันลงดังนั้นเวลา Deal กับผู้บริโภค 7 กลุ่มต้องนึกถึงคน 67 ล้านคน

EGAT คุณค่าคือ Better  Leaving Standard

ถ้าองค์กรนี้จะเปลี่ยนเป็นองค์กรทางการตลาด

·  ต้องมองจาก Outside in หรือเรียกว่า Demand Focus นั้นทำอย่างไร

Demand Focus

1. Mass Communication สื่อสารมวลชน เป็น 1 ใน 3 เท่านั้น ส่วนที่เสียมากคือ High Cost แพงมาก ต้องจ่ายก่อน แต่ไม่รู้ว่าได้กลับมาคุ้มหรือเปล่า

2. SCM – Supply Chain Management เรา Manage Natural  Resource อย่างไร  EGAT มีปัญหาคือคนผลิตไม่ได้เห็นการตลาด และการตลาดไม่ได้เห็นคนผลิต สรุปคือต้องทำการบ้านก่อนว่าผู้บริโภคต้องการอะไร  โฆษณาเป็นสัญญา แต่ Delivery เป็นกรอบให้ทำตามสัญญา  

3. Retail – EGAT ต้องทำเป็น One stop shop แล้วตอบข้อมูลได้หมด  อยากให้ดูตัวอย่างสิงคโปร์ เป็นลักษณะ No wrong door ไม่มีการเข้าผิดที่

  Retailing คือ Contact Point ซึ่งแปลว่า Marketing  

สรุปคือ

1. EGAT หรือองค์กรใดที่ท่านจะไปทำในอนาคตต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีก 6 คน คือ Demand Focus คนใช้ประโยชน์เป็นใคร

2. เราต้องรู้จักลูกค้าคือใคร มีใครบ้าง

3. ความเป็นความตายขององค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ให้อโหสิ

4. หน้าร้านของ EGAT ต้อง Look Good อย่าเบื่อ อยากให้ดูตัวอย่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ลำปางเป็นตัวอย่างของ Winner ให้ทำแม่เมาะมี Demand Focus

สรุปการตลาดต้องศึกษาถึง

1.  Demand Focus ใน 3 เรื่อง

2.  ทำตามสัญญา

3.  เสนอหน้า

4.  รู้สิ่งที่มาก่อนหลัง


วันที่ 31 มกราคม 2556

-  ได้เรียนรู้โรงไฟฟ้านิวเครียร์แบบต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็น Generation III+ และพัฒนาเป็น Generation IV ซึ่งโรงไฟฟ้านิวเครียร์จะมีความปลอดภัยมากขึ้น มีระบบป้องกันรังสีรั่วไหล 5 ชั้น และมีการทดสอบผนังอาคารปฏิกรณ์โดยใช้เครี่งบินวิ่งชนโรงไฟฟ้านิวเครียร์มีต้นทุนต่อหน่วยถูกมาก ประเทศรอบๆเราเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเครียร์แล้ว แต่ในประเทศไทยยังมีปัญหารนโยบายรัฐและความยอมรับของประชาชน

-  ส่วนอาจารย์ ศ.ดร.ปณิธาน ได้เตือนแผนรับภาวะฉุกเฉินกรณีมีภัยพิบัติจากธรรมชาติ ซึ่งบัจจุบันนี้เกิดภาวะโลกร้อน อาจจะทะให้เกิดภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงเกิดขึ้นได้ ต้องต้องมีการวางแผนการจัดการกับความไม่แน่นอนที่อสจจะเกิดขึ้น

-  ส่วนประสบการณ์ของคุณหญิงทิพาวดี ก็จะเป็นข้อคิดในการนำไปใช้ในการทำงาน เช่น ต้องรู้จักตัวเอง วิเคราะห์ตัวเองว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไร ต้องรู้จักการ Give & Take ฯลฯ


เรียน  อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เรื่อง  8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

  การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่กำลังจะมาถึงในปี 2015 นี้ ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับตัว โดยเร่งพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ อย่างรีบด่วนและเป็นระบบโดยใช้ทฤษฎี 8K’s และ 5K”s ของอาจารย์ ดร.จีระ เป็นแนวทาง มิเช่นนั้นเราอาจจะอยู่ในสถานะของผู้เสียเปรียบ

 

8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

จากประสบการณ์การทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนานด้านทรัพย์พยากรมนุษย์ ศาสตรจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ได้ให้นิยาม คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการซึ่งเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่คุณภาพ ดังนี้

  K1-ทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึง การลงุนในเรื่องการศึกษารวมทั้งในเรื่องโภชนาการ, การฝึกอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ตั้งแต่เยาว์วัย เป็นการสร้างทุนขั้นแรก

  K2-ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) หมายถึง ความสามารถในการคิด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากระบบการศึกษาที่ต้องสอนให้คน คิเดป็นมากกว่าการท่องจำ

  K3- ทุนทางธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) หมายถึง ความเป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปซึ่งส่วนใหญ่มาจากการปลูกฝั่งตั่งแต่เล็กๆ

  K4- ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) หมายถึง พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ซึ่งทุนนี้จะเกิดขึ้นได้จากความตระหนักในชีวิตของบุคคลนั้นๆที่ได้ผ่านประสบการณ์ของชีวิตมาพอสมควร ทำให้ค้นพบตัวเองว่า ความสุขการใช้ชีวิตอย่างสมดุลคืออะไร

  K-5 ทุนทางสังคม (Social Capital) หมายถึง ความสามารถในการมีเครือข่าย ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการหาข้อมูลข่าวสารและความสามารถในการต่อรองสูง ความสามารถเหล่านี้จะได้มาจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่าย โดยมีหลักการว่าความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุขจะต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ

  K6- ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) หมายถึง ความสามารถในการมองอนาคต ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นและต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว

  K7- ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Digital Capital) หมายถึง ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ

  K-8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) หมายถึง จะต้องมีทักษะความรู้และทัศนคติที่ดี

  5K’s แนวคิดทุนใหม่ 5 ประการทฤษฎี 5K’s (ใหม่)

  การที่เราจะมีความสามารถในการแข่งขันในโลกไร้พรหมแดน นอกจากจะมีทุนจากทฤษฎี 8K’s แล้ว ยังต้องมีทุนจาก 5K’s (ใหม่) ด้วย คือ

  1.ทุนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) วิธีจะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ คือ ต้องฝึกให้รู้จักคิด วิเคราะห์ ต้องมีสมาธิ ต้องคิดเป็นระบบ และต้องอยากทำในสิ่งใหม่ๆเสมอ

  2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และข้ามศาสตร์ การมีทุนความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และ มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)

  3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) คือความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า นวัตกรรม มีหลายรูปแบบ เช่น สินค้าใหม่ การบริการใหม่ การจัดการแบบใหม่ หรือ นวัตกรรมทางสังคม เช่น กิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน การจะสร้างหรือพัฒนาทุนทางสังคมนั้นจะใช้ “ทฤษฎี 3G” ประกอบไปด้วย

  - Customer ความต้องการของลูกค้า

  - Change Management บริหารการเปลี่ยนแปลง

  - Comment and Control ลดการควบคุม สั่งการ แต่เน้นการมีส่วนร่วม

  4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) คือการมีความรู้ ความเข้าใจ ในวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศตัวเอง รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆด้วย สิ่งเหล่านี้จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้

5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) คือการรู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่ตกใจ ตื่นกลัว รู้จักใช้สติ เหตุผล สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข

  สรุปถึงแม้หน่วยงานจะมีความตื่นตัว เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้น การให้ความรู้และเตรียมความพร้อม ลดความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเริ่มจาก การเรียนรู้ว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” คืออะไร แล้วสำรวจตัวเองว่ามีโอกาสอย่างไร แล้วลดการเสี่ยง สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประชาชาติ โดยนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาเป็นแนวทาง

อติชาติ  โซวจินดา  Home Work  EADP 9  เรื่อง 8k+5k


นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

วันที่ 31 มกราคม 2556

  ช่วงเช้า อ.กมล ตรรกบุตร
ได้มาให้ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ทำให้ผมได้รู้ว่าทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนเท่าไร
ประเทศใดมากที่สุดและประเภทของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด (
BWR)
กับปฏิกรณ์แบบน้ำภายใต้ความดัน (PWR) แตกต่างอย่างไร
รวมทั้งกล่าวถึงโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ ที่เกิดความเสียหายจากผลของแผ่นดินไหว
และกู้วิกฤติได้อย่างไร ประเทศไทยเราพึ่งพาก๊าชธรรมชาติมากซึ่งซื้อจากต่างประเทศ
ความมั่นคงก็ไม่เสถียรภาพถ้าต่างประเทศไม่ส่งก๊าซให้เรา

  ดังนั้น พวกเราควรจะมาช่วยกันคิดว่าจะเดินอย่างไรเพื่อให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นภายใต้ความปลอดภัยทุกอย่างที่ทำให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อใจกฟผ.

  อ.ปณิธานได้มาให้ความรู้เรื่องผลกระทบของภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ
และกฟผ. มีแผนปฏิบัติการรับมือเหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านั้นอย่างไร
หน่วยงานที่รับผิดชอบมีแผนการจัดการเพื่อการดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องหรือไม่
ถ้ามีการผลิตและการจ่ายไฟฟ้าจะกู้กลับคืนมาภายหลังประสบภัยพิบัติได้รวดเร็วเพียงไร

  ตอนบ่าย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
ให้เกียรติมาบรรยาย
ภาวะผู้นำและประสบการณ์บริหารของข้าพเจ้า” สอนให้เรารู้ว่า ต้องเตรียมพร้อมทุกๆ ด้าน เช่น

-พึ่งตนเอง

-รู้จักตนเองอย่าหลอกตัวเองและซื่อสัตย์ต่อตนเอง

-หมั่นวิเคราะห์ตนเองอย่างสม่ำเสมอ

-GIVE ANDTAKE อย่างมีเหตุผล

- รักษาเกียรติของตนเอง




ภัทรกฤช เตชะศิกานต์

วันที่ 31 มกราคม 2556

  ช่วงเช้า อ.กมล ตรรกบุตร ได้มาให้ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ผมได้รู้ว่าทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนเท่าไร ประเทศใดมากที่สุดและประเภทของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด (BWR) กับปฏิกรณ์แบบน้ำภายใต้ความดัน (PWR) แตกต่างอย่างไร รวมทั้งกล่าวถึงโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ ที่เกิดความเสียหายจากผลของแผ่นดินไหว และกู้วิกฤติได้อย่างไร ประเทศไทยเราพึ่งพาก๊าชธรรมชาติมากซึ่งซื้อจากต่างประเทศ ความมั่นคงก็ไม่เสถียรภาพถ้าต่างประเทศไม่ส่งก๊าซให้เรา

  ดังนั้น พวกเราควรจะมาช่วยกันคิดว่าจะเดินอย่างไรเพื่อให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นภายใต้ความปลอดภัยทุกอย่างที่ทำให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อใจ กฟผ.

  อ.ปณิธาน ได้มาให้ความรู้เรื่องผลกระทบของภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ และกฟผ. มีแผนปฏิบัติการรับมือเหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านั้นอย่างไร หน่วยงานที่รับผิดชอบมีแผนการจัดการเพื่อการดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ถ้ามีการผลิตและการจ่ายไฟฟ้าจะกู้กลับคืนมาภายหลังประสบภัยพิบัติได้รวดเร็วเพียงไร

  ตอนบ่าย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ให้เกียรติมาบรรยาย “ภาวะผู้นำและประสบการณ์บริหารของข้าพเจ้า” สอนให้เรารู้ว่า ต้องเตรียมพร้อมทุกๆ ด้าน เช่น

-  พึ่งตนเอง

-  รู้จักตนเอง อย่าหลอกตัวเองและซื่อสัตย์ต่อตนเอง

-  หมั่นวิเคราะห์ตนเองอย่างสม่ำเสมอ

-  GIVE ANDTAKE อย่างมีเหตุผล

-  รักษาเกียรติของตนเอง


อ่านหนังสือ 8K's + 5K's

 จากการได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง8K’s+5k’s  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ของศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมรมภ์ และประกอบกับได้อ่านคำนิยมของบุคคลสำคัญต่างๆ พอสรุปประเด็นสำคัญของหนังสือเรื่องดังกล่าวได้ดังนี้

  ในปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยทั้งในเรื่องของการค้า การบริการ การผลิต และอื่นๆ เมื่ออาเซียนได้มีแนวคิดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในปี 2558 ทำให้สมาชิกทั้ง10 ประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน จึงกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

  ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนจึงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนดังกล่าวด้วย โดยการเตรียมพร้อมควรจะเริ่มต้นจาก “ มนุษย์ ” นั้นคือ ประชาชนในประเทศนั้นเอง ซึ่งอนาคตของประเทศนั้นจะเป็นอย่างไรก็ย่อมขึ้นอยู่กับคนในประเทศว่ามีศักยภาพมากน้อยเพียงใด  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) โดยการนำแนวคิด/ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) และ ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ(5K’s New) มาเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ทุนมนุษย์ทั้ง 13 ทุน จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของคนไทยในการรองรับการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน โดยแนวความคิดดังกล่าวนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี และมีคุณธรรมไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างให้หน่วยงานและองค์กรมีภูมิต้านทานพร้อมรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นหากหน่วยงานหรือองค์กรใดได้นำแนวคิด “ 8K’s+5K’s” ไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็เชื่อได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนต่อไปในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานหรือองค์กร รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย

  จากความตื่นตัวของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในช่วงเวลาอีกไม่ถึง ๓ ปีข้างหน้า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ผู้คว่ำหวอดอยู่ในวงการบริหารทรัพยากร มนุษย์มากว่า ๓๐ ปี อย่างศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากประสบการณ์ชีวิตของท่านมา ไว้ในหนังสือ “8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ซึ่งเสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความ พร้อมให้แก่ คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่นยืน

ทุน 8+5 ประการประกอบด้วย

ทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
๑. Human Capital ทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่เกิดมามีร่างกาย รูปร่างหน้าตา สติปัญญาที่แตกต่างกัน
๒. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
๓. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ ทุนภายในส่วนลึกหรือสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
๔. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน
๕. Social Capital ทุนทางสังคม คือ ทุนที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือสังคมภายนอกในการหล่อหลอมตัวตนของแต่ละบุคคลให้เป็นไปในทางดีหรือทาง เสื่อมขึ้นอยู่กับทุนทางจริยธรรมของแต่ละบุคคลที่จะมุ่งสร้างคุณงามความดี หรือจะกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้างและสังคม
๖. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ ทุนที่เกิดจากการกระทำของคนที่มุ่งหวังผลในระยะยาวโดยเริ่มต้นจากการกระทำ ความดีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
๗. Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยรวมได้
๘. Talented Capital ทุนทางความสามารถพิเศษ คือ ทุนที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ทักษะความรู้ บ่มเพาะจนเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในด้านต่างๆ ตามแต่ความถนัดและทัศนคติของแต่ละบุคคล
ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย
๑. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เจาะลึกความรู้ทั่วไปภายใต้มิติเดียว ไปสู่การรอบรู้อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ
๒. Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนในการคิดดัดแปลง คิดประยุกต์ใช้ คิดขึ้นใหม่ และคิดพัฒนาโดยมุ่งให้เกิดความเจริญในทางบวก
๓. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น
๔. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ ทุนในการเรียนรู้ ค่านิยม แนวคิดหรือความเชื่อของคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึง ความคิดของบุคคลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง
๕. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การบริหารจัดการ EQ ซึ่งจะส่งผลถึงทุนในด้านต่างๆ ให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

ชัยรัตน์  เกตุเงิน
 


ช่วงเช้าได้รับความรู้เรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จากดอกเตอร์ กมล ตรรกบุตร  ทำให้ทราบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีมากกว่า 430โรง  ใน 31 ประเทศ  โดยสหรัฐอเมริกามีมากสุดถึง 104 โรง  ตามด้วย ฝรั่งเศส 58 โรง  ญี่ปุ่นที่ประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่จากการระเบิดที่ฟูกูชิมา เมื่อ สองสามปีที่ผ่านมา ตามมาเป็นลำดับที่3  คือ 55โรง  กำลังเริ่มทะยอยเดินเครื่อง หลังจากหยุดตรวจสอบและปรับปรุงครั้งใหญ่ทั่วประเทศ 

จากนั้น ศ. ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์  ได้บรรยายถึงภัยพิบัติของธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยในระยะหลังนี้  และได้ตั้งประเด็นถึงความพร้อม ของ กฟผ.ในการเตรียมรับมือ  เพราะในอนาคตอันใกล้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากปัญหา Global warming   ผู้นำจึงต้องตระหนัก  และมีการเตรียมพร้อมที่ดีในการรับมือในกรณีเกิด Worst case scenario 

ช่วงบ่ายได้รับความรู้เรื่อง ภาวะผู้นำ จากประสบการณ์โดยตรง ของคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ ได้แง่คิดหลายอย่าง สรุปได้ ดังนี้

  1.ต้องวางตัวให้สมกับ position 

  2.ต้องให้ มากกว่ารับ  (โดยเฉพาะความจริงใจ  แลงะน้ำใจ)

  3.เมื่อเป็นหัวหน้าต้องรักลูกน้องทุกคน ระวังได้แต่อย่าระแวง

  4.มีMoral  courage ต้องกล้าหาญในคุณธรรม ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง

  5. ต้องรู้จัก Flexible  ต้องเป็นเหมือนต้นอ้อ  คือ ลู่ลม  แต่ยึดมั่นที่จุดเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

  6.Always well-prepared 

  7.อ่อนน้อม  แต่ไม่อ่อนแอ  

8.  มีart of persuasion  เช่น ทำไม่ได้ครับท่านถ้าไม่แก้กฏหมาย  กับ  ทำได้ครับท่านถ้าแก้กฎหมาย  ความหมายเดียวกัน  แต่คนละอารมณ์  

จะพยายามนำไปปรับใช้ครับ  ท่านอาจารย์ 

คุณเกรียงไกร  ไชยช่วย



การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง

1 กุมภาพันธ์ 2556

บรรยายโดย รศ.สุขุม นวลสกุล

การบริหารความขัดแย้ง

·  แต่ก่อนเมื่อพูดถึงความขัดแย้งมักมองในด้านไม่ดี เช่น กรณีการเลือกตั้งมีทั้งฝ่ายเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย เป็นรัฐบาลแล้วจะรอดหรือไม่รอด แต่จริง ๆ แล้วความขัดแย้งมีในด้านดีด้วย เช่น เรื่องความแตกต่างทางความคิด ทำให้เกิดความหลากหลาย การเป็นนักบริหารที่ดีต้องมองให้กว้าง คือมีทั้งเหมือนกันและไม่เหมือนกัน อย่างหนึ่งเป็นอุปสรรคขัดแย้ง อีกอย่างหนึ่งนำสู่การพัฒนาที่ดีกว่า

·  ความขัดแย้งสามารถทำให้อีกฝ่ายยอมรับในผลที่เกิดขึ้นได้ ในด้านการบริหารนั้น ความขัดแย้งมี 2 แบบคือเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนา และเป็นปัญหาอุปสรรค การบริหารคือการสนับสนุนสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นการระวังไม่ให้ความไม่ดีเกิดขึ้น ในแง่การบริหารคนเป็นนักบริหารต้องสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในทางที่ดี และป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งในทางที่ไม่ดี

ความขัดแย้ง

1. ส่วนรวม      2. ส่วนตัว

·  ความขัดแย้งในส่วนรวมเป็นเรื่องดี คนเป็นนักบริหารต้องทำให้เกิดขึ้น เพราะทำให้มีทางเลือกขึ้น อย่าไปพอใจในความเงียบ และความไม่สงบ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความขัดแย้งส่วนตัว  และต้องระวังมากคือ คนไทยชอบทำให้ความขัดแย้งส่วนตัวเป็นความขัดแย้งส่วนรวมได้

·  ก่อนออกความเห็นอย่าไประรานความเห็นคนอื่นด้วย เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งส่วนตัวซึ่งอาจรามไปเป็นความขัดแย้งส่วนรวมได้ หรือความขัดแย้งสามารถขยายจากเรื่องส่วนรวมเป็นส่วนตัวได้ เช่นเรื่องการเมือง คนพูดการเมืองไม่นิ่ง  กรณีความหวังใหม่เป็นรัฐบาลต้องกู้ IMF เป็นเจ้าแรก  ฝ่ายค้านตีว่าจดหมายขอกู้ไม่ได้ผ่านสภา แต่รัฐบาลความหวังใหม่ทำไม่ได้ตาม IMF จากการกู้ 3 งวด ทำให้ความหวังใหม่ลาออก  ต่อมาประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลกู้ IMF รอบ 2 สามารถกู้ได้ครบ 6 งวด ทำตามที่สัญญากับ IMF ได้ กลายเป็นลูกรัก IMF  เกิดการโจมตีเรื่องกฎหมายขายชาติ 33 ฉบับจากไทยรักไทย  แต่เมื่อไทยรักไทยเป็นรัฐบาลไม่ได้แก้กฎหมายเอากฎหมายออกมาใช้ พอประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน ก็มาว่าไทยรักไทยขายชาติ  แสดงให้เห็นว่า เมื่อไม่ชอบแล้วหรืออะไรก็ตามจะไม่เห็นด้วยอยู่ดี ระวังอย่าเอาความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องส่วนตัว

ถ้าบรรยากาศกำลังเครียด ๆ ไม่ควรให้คนกำลังโมโหพูด ถ้าจะชี้ให้พูดให้ชี้คนใจเย็น ๆ พูด

·  แม้ว่าตัวเราเองไม่ได้มีอารมณ์ขันมากมาย ขอให้ดูสมาชิกให้ดี แต่สิ่งสำคัญคือระวังอย่าให้ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องส่วนตัว  สิ่งที่พึงระวังคือ เวลาประชุมนั่งเงียบแต่ไปพูดลับหลังเยอะเลย  พยายามให้เขาพูดในที่ประชุมเยอะขึ้น ตั้งคำถามมากขึ้น จะทำให้พูดลับหลังน้อยลง ดังนั้นเวลาระดมความคิดอะไรต่าง ๆ ชี้เอาให้พูดตรงนี้ แล้วฟัง กับแสดงความเคารพในตัวเขา

·  การบริหารความขัดแย้งต้องสนับสนุนความขัดแย้งเรื่องส่วนรวม ระวังความขัดแย้งส่วนตัว ไม่ดึงเอาความขัดแย้งส่วนรวมเป็นส่วนตัว

ความขัดแย้ง 3 ประเภท

1. ระหว่างบุคคล & บุคคล ต้องยืนยันการบริหารไม่ให้เกิดความขัดแย้งใช้แนวกันดีกว่าแก้ หมายถึงโกรธกันแล้วดีกันยาก ใครเป็นนักบริหารอย่าให้มาเป็นหัวหน้า บางครั้งแตกกันเกินสามัคคีแล้ว ถ้าเราเป็นหัวหน้าที่เขาแตกสามัคคีกันมากแล้วแต่เราไม่สามารถแก้ได้ไม่ใช่ความผิด ดังนั้นเมื่อเราต้องใช้การบริหารแบบกันดีกว่าแก้

หัวหน้าต้องระวัง วางตัวให้ดีอย่าให้ลูกน้องเกิดการอิจฉาริษยา เปิดช่องว่างเอารัดเอาเปรียบกัน เพราะลูกน้องหวังความเมตตา หวังความรักอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นนอกเวลาหรือในเวลางาน  ลูกน้องมีกี่คนต้องจำให้ได้ อย่าให้ใครรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ต้องแผ่เมตตาให้ความเสมอภาคกัน อย่าให้รู้สึกว่าตัดหางปล่อยวัด  แต่เมื่อไรก็ตามที่ลูกน้องรู้สึกไม่ถนัดในงานนั้น ๆ ลองหางานอื่นให้ลูกน้องทำ แต่อย่าตัดหางปล่อยวัด ลูกน้องคนไหนทำดี ทำเด่นต้อง Record ไว้ด้วย อย่าทำให้รู้สึกอิจฉาริษยา อย่าให้เอารัดเอาเปรียบกัน เพราะฉะนั้นหัวหน้าต้องทันเกมส์ หมายความว่า หัวหน้าต้องสอดส่ายสายตาดูไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน

2. ระหว่างบุคคล & องค์การ เช่น โรงงาน Sanyo ปลายปี 40  เช่นมีกฎระเบียบออกมาแต่ลูกน้องไม่เข้าใจ ข้างบนไม่ชอบอธิบายว่าข้างบนต้องการอะไร ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างมากที่ข้างบนต้องบอกกฎเกณฑ์ นโยบายใหม่ ๆ ให้ข้างล่างขานรับ หัวหน้าต้องเป็นตัวกลางในการเป็นโฆษก อย่าวางตัวเป็นผู้ประกาศข่าว ทำหน้าที่ลดความขัดแย้ง สามารถอธิปรายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลอะไร  โฆษกเป็นพรแสวงไม่ใช่พรสวรรค์ ต้องให้ความสำคัญกับการหาคำตอบ ดังนั้นสิ่งที่หัวหน้าพึงเป็นอย่างยิ่งคือต้องให้ความสำคัญกับการประชุม เอาเหตุผลไปถ่ายทอดต่อ วิธีง่าย ๆ คือ อย่าหลับในที่ประชุม  คนเป็นหัวหน้าจะลดความขัดแย้งระหว่างลูกน้องกับองค์กรได้เพราะเป็นโฆษก

3. ระหว่างหน่วยงาน & หน่วยงาน ปัญหาเกิดจากความไม่เข้าใจบทบาท และหลงหน่วยงาน คนที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานของแต่ละหน่วยงานต้องเข้าใจบทบาทของหัวหน้าคือประสานงานไม่ใช่ประสานงา ดังนั้นเวลาประสานงานเมื่อลูกน้องมีปัญหากับหน่วยงานอื่นมาปรึกษาเราต้องติดเบรค อย่าเหยียบคันเร่ง การขึ้นมาเป็นหัวหน้าต้องไปทำความรู้ ความเข้าใจกับหน่วยงานอื่นบ้างอย่ายึดติดกับหน่วยงานเดียว คนเป็นหัวหน้าต้องมีสมาคมกับหน่วยงาน และรับฟังปัญหากับหน่วยงานอื่น อย่าคิดว่าหน่วยงานเราวิเศษกว่าหน่วยงานอื่น เวลาทำงานกับหน่วยงานอื่น ถ้าพอทำได้พอเปลี่ยนแปลงได้ทำเลย อย่าถืออย่างนั้น แล้ววันหนึ่งเวลาเราขอเขาบ้าง เขาก็จะมีน้ำใจกับเราเช่นกัน  

การตัดสินใจ

  1. แม่นกฎระเบียบ

  2. ลดความเกรงใจ

  3. ไม่โอ้อวด

นักบริหารอย่าตัดสินใจช้า ต้องตัดสินใจเร็ว

-  การตัดสินใจจะเร็วขึ้น ถ้าเป็นคนแม่นกฎระเบียบ ดังนั้นกุนซือทางกฎหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ

-  บางครั้งการรีรอ คือการเกรงใจไม่อยากปฏิเสธ เพราะว่าการปฏิเสธเหมือนไม่ใช่คนสำคัญหรือมีอำนาจต่าง ๆ

องค์ประกอบการตัดสินใจ

-  ข้อมูล ต้องเป็นคนเปิดรับข้อมูล ทนฟังการวิพากษ์วิจารณ์ได้ คนเป็นนักบริหารต้องเปิดรับข้อมูล อย่าคิดแค่เราได้ยินสิ่งที่เราอยากฟัง

-  ประสบการณ์ ไม่ต้องรอเวลา ประสบการณ์แสวงหาได้  แต่ก่อนเน้นอาวุโส ปัจจุบันนี้เน้นความสามารถ  ตัวอย่างที่แสวงหาประสบการณ์ได้เช่น ตอนไปจีนสมัยอาจารย์สุขุมเป็นคณบดีรัฐศาสตร์ได้รับมอบหมายเป็นเลขาฯ นำคณะเดินทางไปจีน วิธีการหาประสบการณ์คือ การหาหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาอ่าน เสมือนหนึ่งเคยไปจีนมาแล้ว สามารถทราบถึงของฝากที่ถูกใจ มี 2 อย่างคือ 1. หัวโขน  2. ทุเรียน  และทุกเช้าจะ Brief ให้ฟังว่าเจออะไร อะไรบ้าง

เพราะฉะนั้นการเป็นผู้บริหารต้องอ่านและทำความเข้าใจเพื่อการตัดสินใจได้ดีมากขึ้น

-  การคาดการณ์ การตัดสินใจนี้มีผลกระทบอะไร  เราจะดูหมอไม่ว่าแต่อย่าให้หมอดูตัดสินใจแทน  สมัยก่อนเวลาได้ข่าวปฏิวัติรัฐประหาร เขาจะเงี่ยหูฟังว่าใครปฏิวัติ ตัวอย่างเช่นฉลาดจะปฏิวัติ เขาก็จะมาดูว่าพลเอกฉลาดขึ้นกับพระองค์ไหน

-  ผลกระทบ

-  สถานการณ์

การวิเคราะห์การตัดสินใจ

-  ถูกต้อง – เวลามีปัญหา แก้ปัญหาการตัดสินใจ ต้องวางพื้นฐานบนความถูกต้อง ต้องรู้ว่าควรจะปรึกษาใคร  คนจะปรึกษาเบื้องต้นในหน่วยงานเราคือใคร นอกหน่วยงานเราคือใคร 

-  ถูกใจ - เมื่อไรเราพบสิ่งที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่เราทำต่อไปคือวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เราทำนั้นถูกใจคนไหม

-  ถูกจังหวะ – ทำที่ไหนก็ได้ต้องรอจังหวะ  จังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจ

1.มาตามธรรมชาติ มาตามบรรยากาศ มาตามกระแส

2. มาตามที่เราบุก สร้างความเข้าใจให้ได้ เช่นการบริหารแบบนายกฯ พบประชาชน

ตัวอย่างปัญหา EGAT คือเพราะ คนกลัวเรื่องพลังงาน  อย่างเหตุผลที่ม.เกษตรฯ อ้างการมีโทรเวย์บนมหาวิทยาลัย วิธีการคือเราต้องทำงานเชิงรุก สร้างความเข้าใจให้กับคนมากขึ้น  ให้คนได้ข้อมูลจากเราก่อนแทนที่จะได้ข้อมูลที่หลัง

การเจรจาต่อรอง

-  เป็นการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงจากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน

-  คนที่มาเจรจาต่อรองเพราะมีความคิดไม่ตรงกัน ผลประโยชน์ไม่ตรงกัน การเมืองที่แตกกันเราเห็นมามากหลายครั้ง ที่ปัจจุบันรุนแรงเพราะมันมีวิธีที่เร้าอารมณ์ในการล้างสมอง ล้างความคิด ยังเป็นวิธีการอยู่

การเตรียมการ

-  เราต้องรู้ว่าคนที่เราเจรจาคือใคร –  อะไร

-  เป้าหมาย – อ่านใจล่วงหน้า

หลักการเจรจา สิ่งที่เขากลัวมากที่สุดคือความเสียเปรียบ

ดังนั้นหลักคือ ความเชื่อมั่น กลัวเสียเปรียบ (ทำให้เข้าใจ  ใช้ปิยวาจา หาสิ่งจูงใจ ให้ข้อสรุป)

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1. อาจารย์คิดว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่ นานแค่ไหน

ตอบ อาจารย์สุขุมเป็นคนใต้ ความจริงมีความขัดแย้งมาโดยตลอดแต่ไม่มีครั้งไหนหนักใจเท่าครั้งนี้ซึ่งรุนแรงที่สุด แต่ก่อนมีความขัดแย้งแต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัย เพิ่งมีปัญหามาตอนหลังที่เดือดร้อน มันค่อย ๆ สืบเนื่องมาจากการเลิก สอบต.ช่วงนั้น ทำให้อิทธิพลของทหารหายไป ตำรวจกลายเป็นคนรักษารายได้ จึงได้มีการเลิก สอบต.  การเลิก สอบต.มีข้อดีคือ

แต่ก่อนใครจบโรงเรียนปอเนาะ หรืออิสลาม ไม่ค่อยมีคนดูแล มีรายได้ 3,000 – 4,000 บาทก็อยู่ได้ พอเลิก สอบต. คนที่เคยจบปอเนาะไม่มีงานทำ ต่อมามีอิสลามสากลจ้างคนพวกนั้นเป็นนักรบศาสนา สอนวิธีการรบต่าง ๆ และสร้างความวุ่นวาย 

ตราบใดที่มีมุสลิมตะวันออก ตะวันตก ตราบนั้นมีสงครามศาสนา

2. สื่อมวลชนปัจจุบันกับปัญหาความขัดแย้งมีความคิดเห็นอย่างไร

ตอบ ปัจจุบันมีสื่อเลือกค่ายขึ้นมา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง บางคนอ่านเฉพาะสื่อในข้างของตัวเองเท่านั้น แต่ในแง่ดีแม้ว่ายังไม่เรื่องความขัดแย้งอยู่ปีที่แล้ว 2555 ไม่มีเลือดตกยางออก หมายถึงคนเริ่มเข็ดขยาด เพราะได้ไม่คุ้มเสีย 


นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

บทเรียนที่ได้รับจากการอบรมวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

ภาคเช้า  HR FROM THE OUTSIDE IN โดย...ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ ได้กรุณาสอนถึงเรื่อง "PUBLIC" 7 ประการที่ควรคำนึงถึงได้แก่ General,Media,Finance,NGO,PEER,International ได้เปรียบเทียบ EGAT เป็นรถ ล้อที่ 1 ขายเป็นหรือเปล่า ล้อที่ 2 ผลิต ล้อที่ 3 เรื่องเงินๆทองๆ ล้อที่ 4 คนทำงานเป็นทีม ล้อที่ 5 ยางอะไหล่ เรื่อง KM ,Information,Infrastructure ก่อนจะดำเนินการต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ และสอนเรื่อง DEMAND,SUPPLY,PRICE ทำให้เราสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์จัดทำโครงการต่างๆ ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ END USER คำนึงคนก่อนหน้านี้และคนถัดไป

ภาคบ่าย การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย..อ.สุขุม นวลสกุล สรุปได้ว่าการเป็นนักบริหารต้องบริหารความขัดแย้งในเรื่องส่วนรวมให้เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาและบริหารความขัดแย้งส่วนตัวไม่ให้เกิดเพราะจะทำให้ขาดความร่วมมือ การเป็นนักบริหารที่ดีต้องมีการตัดสินใจซึ่งต้องมีปัจจัยประกอบการตัดสินใจ(แม่นกฎระเบียบ,ลดความเกรงใจ,ไม่โอ้อวด) การเจรจาต่อรอง ไม่ใช่เพื่อเอาชนะเพราะจะทำให้กลายเป็นความขัดแย้ง ต้องคำนึงถึงคนที่เราเจราคือใคร ต้องการอะไร

วันที่ 31 มกราคม 2556

หัวข้อ  ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

กฟผ.ควรเตรียมแผนงานเพื่อลดผลกระทบและป้องกันความเสี่ยงหากต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต รวมทั้งต้องมีแผนด้านมวลชนสัมพันธ์และการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยดำเนินการลงพื้นที่ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี  รวมทั้งควรศึกษาหาแหล่งพลังงานทดแทนควบคู่กันไปโดยด่วนหากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

หัวข้อ  ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

คุณสมบัติผู้บริหารที่ดีในความเห็นของผู้สอนคือ ต้องสู้งาน ไม่กลัวที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีมารยาท พึ่งพาตัวเอง เตรียมพร้อมตลอดเวลา มีทีมงานที่ดี รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเอง และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

หัวข้อ  จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้ในการทำงานของ กฟผ.

การทำธุรกิจต้องคำนึงถึงผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มองตลาดอย่าง Outside looking in ต้องมีความเข้าใจเรื่อง Supply Chain management ,  Demand Supply focus, Stakeholder, Information และปัจจัยจากภายนอกเช่น การเมือง,NGO ซึ่งเป็นผลกระทบที่สำคัญ รวมทั้งต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสื่อและกลุ่มคนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อ  การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

ความขัดแย้งมีทั้งความขัดแย้งกับบุคคบ กับองค์กร และกับหน่วยงานต่างๆ  หากมองความขัดแย้งในเชิงพัฒนา ก็จะทำให้เกิดการยอมรับความคิดที่หลากหลายและมุมมองใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ การขัดแย้งส่วนบุคคลทำให้เกิดผลเสียต่องาน

  การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทุกคนต้องเข้าใจบทบาทของตัวเอง  แม่นกฎระเบียบ พูดกันด้วยหลักการ ใช้ข้อมูล ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว  และต้องมีเทคนิคในการเจรจาต่อรองที่ดี

  การตัดสินใจต้องใช้ Fact  ไม่ใช่ Opinion 


สรุปวันที่   1 กพ 56

วันนี้1/2/56ผมได้ฟังเรื่องการตลาดจากศาสตราภิธานไกรฤทธิ์ในช่วงเช้าแล้วมีความคิดว่าผู้บริหารของกฟผ.หรือนายของเราในขณะนี้น่าจะเข้าไปดูแลเรื่องการตลาดของกฟผ.(ไม่ใช่ขายไฟฟ้านะครับ)  แต่เข้าไปมีบทบาทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น  ส่วนเรื่องผลิตไฟฟ้าก็คงยังดำเนินการตามเดิม  ผมว่าน่าจะเป็นผลดีกับEGATมากขึ้น

  ส่วนตอนบ่ายอาจารย์สุขุม เรื่องการบริหารความขัดแย้งผมว่าต้องใช้หลายอย่างประกอบกันเช่น  ความรู้จริงและมีกลยุทธ์/ศิลปตลอดจนประสบการณ์ที่ผ่านมาก็เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

-  ได้เรียนรู้ 7 ชนิดของลูกค้า และ 5 เสาหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้น กฟผ. จะต้องรู้ว่าใครคือ Stake Holder, ใครคือ Customer และต้องมี Networking

-  ส่วนประสบการณ์ของอาจารย์สุขุม ให้ความคิดเรื่องบริหารความขัดแย้ง 3 ประการ และทฤษฎี 3 ถูกของการตัดสินใจ รวมทั้งการเจรจาต่อรองได้ ดีทีเดียว จึงเป็นประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานได้


ทรัพยากรมนุษย์ คือ บุคคลที่ทุ่มเททำงานด้วยความมุ่งมั่น อุตสาหะเพียรพยายามเพื่อความสำเร็จซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของสังคม โดยเน้นการบริหารจัดการด้วยปรัชญา 3 ข้อ คือ

(1.) ความเสมอภาค  (2.) การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน  (3.) การสร้างศรัทธาและไว้เนื้อเชื่อใจกัน

นักทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ได้นิยาม “คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์” ดังแนวคิดทฤษฏี 8K’S หรือ  ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

·  K1Human  Capital ทุนมนุษย์  เป็นทุนมนุษย์ในขั้นพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก เช่น การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว

·  K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต ทุนทางปัญญาจะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง เพราะการมีทุนทางปัญญาจะทำให้คนไทยหาทางออกได้เสมอ

แนวการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้กับคนในองค์กรประกอบด้วย (ทฤษฎี 4L’S)

1.  Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

2.  Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

3.  Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้

4.  Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

·  K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม แนวทางการสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในทุกระดับ มี 2 แนวทางคือ แนวทางแรก การสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยยึดมั่นในศีล สมาธิและปัญญา แนวทางที่สอง ได้มาจาก Peter Drucker กูรูชาวอเมริกันกล่าวถึง คนกับคุณสมบัติสำคัญ 3 เรื่องคือ ความถูกต้อง, จินตนาการและนวัตกรรม

·  K4 Happiness  ทุนทางความสุข ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ

·  K5 Social Capital Networking ทุนทางสังคม วิธีที่จะช่วยให้เรามีทุนทางสังคมมากขึ้น  คือ คบหาสมาคมหลายๆ กลุ่ม เปิดโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้ มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย

·  K6 Sustainable Capital  ทุนทางความยั่งยืน คือ การที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ ทุนแห่งความยั่งยืนจะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัวฯ มาใช้ คือ ความพอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน

·  K7 Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ”  จะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การพัฒนาในด้านต่างๆ  ได้ เช่น การเรียนรู้  การค้นคว้า  การแสวงหาข้อมูล  เป็นต้น

·  K8 TalentedCapital  ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ  คนที่ประสบความสำเร็จต้อง  มี 3 อย่าง  1.ทักษะ  2.ความรู้  3.ทัศนคติ  ในยุคอาเซียนเสรี  คนที่มีศักยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยะภาพอยู่ในตัว  หมายถึง มีการพัฒนาทักษะความรู้ของตนเองตลอดเวลา 

ทุน 5 ประการที่สำคัญ หรือ (5K’S) ประกอบด้วย

1. Creativity Capital  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  ต้องพยายามฝึกคิดนอกกรอบฝึกตอบโจทย์ โดยหาทางออกหลายๆ ทาง

2.  Knowledge Capital ทุนความรู้ ทุนความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฏี 2 R’S คือ

  1. Reality ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง

  2. Relevance ตรงประเด็นตรงความต้องการ

3. Innovation Capital ทุนนวัตกรรม เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ

  1. มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

  2. นำความคิดไปปฏิบัติจริง

  3. ทำให้เสร็จ

4.  Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม  หมายถึงการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย

5. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ หมายถึง การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ รู้จักการใช้สติ ใช้เหตุผล รวมไปถึงภาวะผู้นำด้วยซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

ทฤษฏี 3 วงกลมเป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

  วงกลมที่ 1 เรื่อง Context ให้มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการทำงาน

  วงกลมที่ 2 Competencies พัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ให้พร้อมในการทำงาน สามารถมองการใหญ่ของการทำงานในอนาคตได้

  วงกลมที่ 3 Motivation การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานกับองค์กรไปนานๆ ได้แก่ การให้เงินเดือน การให้โบนัส การชมเชย การยกย่อง เป็นต้น

สรุป

-  กฟผ. ต้องทำการศึกษา ตามทฤษฎี 8K’s, 5K’s, 4L’s, 2R’s, ทฤษฏี 3 วงกลม และนำมาใช้

-  ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ โดยนำหลักการบริหารจัดการมาปรับใช้ในองค์กร และยังมีให้มีการดำเนินการด้านคุณธรรมและจริยธรรมรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในการทำงาน เป็นการกระตุ้นและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสังคมอาเซียนได้

-  ผู้บริหารจึงต้องมีวิสัยทัศน์ในการมองทุกอย่างเป็นองค์รวมเป็น Global

-  การที่จะไปทำธุรกิจในต่างประเทศ ต้องมีการพัฒนาเรื่องภาษา ความเข้าใจทางวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ เพื่อสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้


นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

  ภาคเช้า ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ มาบรรยายเรื่อง “จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. โดยต้องคำนึงถึงเรื่อง Public ต่อไปนี้

-  General

-  Government

-  MEDIA

-  Finance

-  NGO

-  PEER (เพื่อนฝูง)

-  Internal (พวกสหภาพ)

ภาคบ่าย อ.สุขุม นวลสกุล มาบรรยายเรื่อง “การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ” อาจารย์ยกตัวอย่างเช่น

-  บรรยากาศกำลังเครียดๆ เราต้องหาทางให้คนที่กำลังขัดแย้งเย็นลง และได้เน้นให้ระวังอย่าให้ความขัดแย้งเรื่องส่วนตัวมาเป็นเรื่องส่วนรวม เช่น ประชุม ครม. ก็มีการพูดให้หัวเราะ ทำให้บรรยากาศเย็นลง

-  ความขัดแย้งบุคคลระหว่างลูกน้องกับหัวหน้า คนเป็นหัวหน้าอย่าให้เกิดการอิจฉาริษยา  เอารัดเอาเปรียบ ตัวอย่างเช่น มีลูกน้อง 10 คน และชวนคนหนึ่งไปทานข้าว อีก 9 คนก็อิจฉา ดังนั้นต้องชวนทานทั้ง 10 คน ต้องแผ่เมตตาเค้า ให้ความเสมอภาค

-  ท่านยกตัวอย่าง ประชุม ครม. ท่านทักษิณ ท่านก็พูดคนเดียวและเหมือนไปเห็นท่านปลัดท่านหนึ่งส่ายหน้าไปมา ท่านก็ถามว่าท่านไม่เห็นด้วยหรือ ปลัดตอบว่าผมพึ่งกลับจากไปเข้าค่ายอินเดียมา ท่านทักษิณก็หัวเราะเนื่องจากอินเดียเห็นด้วยก็จะส่ายหน้า

-  ต้องเข้าใจบทบาทเล่นให้ถูกทาง และการตัดสินใจต้องมีองค์ประกอบ แม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ ไม่โอ้อวด

อาจารย์ตั้งทฤษฎี 3 ถูก คือ

1.  ถูกต้อง คือ ต้องวางพื้นฐานอยู่บนความถูกต้องเสมอ บางเรื่องต้องมีกุนซือปรึกษาให้ถูกเรื่อง

2.  ถูกใจ บางครั้งอาจจะไม่ถูกใจคนอื่น ก็ต้องมีการใช้จังหวะในการนำเสนอ

3.  ถูกจังหวะ  - มาตามธรรมชาติ กระแส

  - มาตามที่เราบุก


พลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. (ศ.ไกรฤทธ์)

แนวคิดทางการตลาดไม่ได้มีคำตอบเดียว ต้องปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์

ผู้เกี่ยวข้อง Public จำแนกได้ดังนี้

1.  General หรือประชาชนผู้ที่ตัดสินใจในการซื้อสินค้า

2.  Government เป็นทั้งเจ้าของ, ลูกค้า, ผู้จัดสรรทรัพยากรณ์

3.  Media หรือสื่อมีผลในการชี้นำ

4.  Finance ต้องบริหารการเงิน ทั้งเงินที่ได้มาประจำและไม่ประจำ

5.  NGO ถ้าสามารถทำความเข้าใจได้ก็เป็นมหามิตร แต่ถ้าตรงข้ามก็อาจกลายเป็นมหาศัตรู

6.  Peer หมายถึงเพื่อนฝูงต่างๆ ต้องมี Network

7.  Internal หมายถึงภายในองค์กร เช่นสหภาพ ต้องใช้ให้เป็น

กลยุทธทางการตลาดประกอบด้วย

1.  ขายเป็น หรือ Marketing

2.  โรงงาน หรือการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ต้องสร้าง Brand นำมาสู่ Trust

3.  การเงิน แบ่งเป็นบัญชีหมายถึงอดีต และอนาคตคือ ฐานะทางการเงิน ฝีมือ และ Cash Flow

4.  HR ต้องมีทีมงาน

5.  Knowledge คือ KM, INFO, Infra

Demand Focus ต้องทำ Mass Communication, Supply chain management, Retail

 

การบริหารความความขัดแย้ง (รศ.สุขุม)

ต้องสนับสนุนความขัดแย้งส่วนรวม หลีกเลี่ยงความขัดแย้งส่วนตัว
และอย่าให้ความขัดแย้งส่วนรวมกลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

ในการประชุมคนกำลังโกรธหรือโมโห ไม่ควรให้พูด ให้รอสักระยะหนึ่งก่อน

ความขัดแย้งมี 3 แบบ

1.  บุคคล กับ บุคคล ต้องแก้ไขโดยระวังไม่ให้เกิดความอิจฉาริษยา การเอารัดเอาเปรียบกัน

2.  บุคคล กับ องค์กร เกิดจากความไม่เข้าใจ ต้องอธิบาย ทำความเข้าใจ

3.  ระหว่างหน่วยงาน เกิดจากความไม่เข้าใจ ต้องอธิบาย ทำความเข้าใจ รู้เขารู้เรา

การตัดสินใจ ต้องแม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ และไม่โอ้อวด โดยมีองค์ประกอบคือ ข้อมูล ประสบการณ์ (ต้องแสวงหา) การคาดการณ์ ผลกระทบ สถานการณ์ ต้องใช้หลัก 3 ถูก คือ ถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ

Home Work  ของวันที่ 1/2/56

  เรื่อง แนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

  การบริหารต้องรู้ 5 อย่าง คือ การตลาด  โรงงานผลิต  การเงิน  ทรัพยากรมนุษย์  และความรู้  แต่วันนี้อาจารย์จะสอนเฉพาะเรื่องการตลาดซึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากคือความต้องการของลูกค้า Demand Focus  ซึ่งจะต้องทำ 3 เรื่องด้วยกัน

  1.Mass Communication การสื่อสารกับมวลชน  เป็นการให้สัญญากับลูกค้า

  2.Supply Chain Management คือการบริหารจัดการตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงส่งมอบให้ลูกค้า เป็นการทำตามสัญญา

  3.Retail จะต้องมีคนที่ทำหน้าที่ขายหรือตอบปัญหาให้ลูกค้า

  สรุป ถ้า กฟผ. จะไปลงทุน จะต้องคำนึงถึง  ผู้บริโภคคือใคร  คนที่จะนำประโยชน์ไปถึงลูกค้าคือใคร และจะต้องรู้ใจลูกค้า

  เรื่อง การบริหารความขัดแย้ง  การตัดสินใจ  การเจรจาต่อรอง

  ความขัดแย้งทำให้เกิด 2 อย่าง คือถ้าผู้ขัดแย้งถือประโยชน์ส่วนตัว ก็จะทำให้เกิดอุปสรรคในการพัฒนา  และถ้าผู้ขัดแย้งทำเพื่อส่วนรวมจะทำให้เกิดการพัฒนา

  การตัดสินใจที่ดีมีหลักอยู่ 3 อย่าง

  1.วางอยู่บนความถูกต้อง โดยหาที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

  2.วิเคราะห์ว่าตัดสินใจไปแล้วคนจะยอมรับไหม ถ้ายังไม่ถูกใจให้รอจังหวะ

  3. เมื่อคนเข้าใจแล้วจึงดำเนินการตามที่ตัดสินใจ

  การเจรจาต่อรอง จะต้องเตรียมการดังนี้  หาข้อมูลของคู่เจรจาเพื่อสร้างความเชื่อมั่น  อย่าวางแผนเพื่อเอาเปรียบ  มีเป้าหมายอย่าคิดจะเอาทั้งหมด  ใช้ปิยะวาจาและการชักจูง

อติชาติ  โซวจินดา


เรียน  อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เรื่อง  8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

  การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่กำลังจะมาถึงในปี 2015 นี้ ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับตัว โดยเร่งพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ อย่างรีบด่วนและเป็นระบบโดยใช้ทฤษฎี 8K’s และ 5K”s ของอาจารย์ ดร.จีระ เป็นแนวทาง มิเช่นนั้นเราอาจจะอยู่ในสถานะของผู้เสียเปรียบ

 

8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

จากประสบการณ์การทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนานด้านทรัพย์พยากรมนุษย์ ศาสตรจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ได้ให้นิยาม คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการซึ่งเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่คุณภาพ ดังนี้

  K1-ทุนมนุษย์ (Human Capital)  หมายถึง การลงุนในเรื่องการศึกษารวมทั้งในเรื่องโภชนาการ, การฝึกอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ตั้งแต่เยาว์วัย เป็นการสร้างทุนขั้นแรก

  K2-ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) หมายถึง ความสามารถในการคิด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากระบบการศึกษาที่ต้องสอนให้คน คิเดป็นมากกว่าการท่องจำ

  K3- ทุนทางธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) หมายถึง ความเป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปซึ่งส่วนใหญ่มาจากการปลูกฝั่งตั่งแต่เล็กๆ

  K4- ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) หมายถึง พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ซึ่งทุนนี้จะเกิดขึ้นได้จากความตระหนักในชีวิตของบุคคลนั้นๆที่ได้ผ่านประสบการณ์ของชีวิตมาพอสมควร ทำให้ค้นพบตัวเองว่า ความสุขการใช้ชีวิตอย่างสมดุลคืออะไร

  K-5 ทุนทางสังคม (Social Capital) หมายถึง ความสามารถในการมีเครือข่าย ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการหาข้อมูลข่าวสารและความสามารถในการต่อรองสูง ความสามารถเหล่านี้จะได้มาจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่าย โดยมีหลักการว่าความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุขจะต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ

  K6- ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) หมายถึง ความสามารถในการมองอนาคต ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นและต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว

  K7- ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Digital Capital) หมายถึง ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ

  K-8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) หมายถึง จะต้องมีทักษะความรู้และทัศนคติที่ดี

  5K’s แนวคิดทุนใหม่ 5 ประการทฤษฎี 5K’s (ใหม่)

  การที่เราจะมีความสามารถในการแข่งขันในโลกไร้พรหมแดน นอกจากจะมีทุนจากทฤษฎี 8K’s แล้ว ยังต้องมีทุนจาก 5K’s (ใหม่) ด้วย คือ

  1.ทุนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) วิธีจะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ คือ ต้องฝึกให้รู้จักคิด วิเคราะห์ ต้องมีสมาธิ ต้องคิดเป็นระบบ และต้องอยากทำในสิ่งใหม่ๆเสมอ

  2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และข้ามศาสตร์ การมีทุนความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และ มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)

  3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) คือความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า นวัตกรรม มีหลายรูปแบบ เช่น สินค้าใหม่ การบริการใหม่ การจัดการแบบใหม่ หรือ นวัตกรรมทางสังคม เช่น กิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน การจะสร้างหรือพัฒนาทุนทางสังคมนั้นจะใช้ “ทฤษฎี 3G” ประกอบไปด้วย

  - Customer ความต้องการของลูกค้า

  - Change Management บริหารการเปลี่ยนแปลง

  - Comment and Control ลดการควบคุม สั่งการ แต่เน้นการมีส่วนร่วม

  4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) คือการมีความรู้ ความเข้าใจ ในวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศตัวเอง รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆด้วย สิ่งเหล่านี้จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้

5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) คือการรู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่ตกใจ ตื่นกลัว รู้จักใช้สติ เหตุผล สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข

  สรุปถึงแม้หน่วยงานจะมีความตื่นตัว เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้น การให้ความรู้และเตรียมความพร้อม ลดความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเริ่มจาก การเรียนรู้ว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” คืออะไร แล้วสำรวจตัวเองว่ามีโอกาสอย่างไร แล้วลดการเสี่ยง สร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประชาชาติ โดยนำ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาเป็นแนวทาง


พลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

8K’s + 5K’s

ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2015

การที่ประเทศไทย จะได้ประโยชน์อย่างไรมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่สำคัญคือทรัพยากรณ์ที่เรามีอยู่โดยเฉพาะคุณภาพ
และความสามารถของคนไทยจะสำคัญที่สุด หรือที่เรียกว่า ทุนมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์พันแท้ HR Champion) ให้นิยามคุณภาพของทรัพยากรณ์มนุษย์ตามทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์มีคุณภาพดังนี้

K1 Human Capital    ทุนมนุษย์  การศึกษา , โภชนาการ , การฝึกอบรม , การเลี้ยงดูของครอบครัว

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา  การฝึกคิด, วิเคราะห์, การใช้เหตุและผล, การคิดนอกกรอบ, การคิดสร้างสรรค์

K3 Ethical Capital  ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม  เป็นคนดี, คิดดี, ทำดี, คิดเพื่อส่วนรวม, มีจิตสาธารณะ

K4 Happiness Capital  ทุนแห่งความสุข  พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่า และสอดคล้องกับงานที่ทำ

K5 Social Capital  ทุนทางสังคม  การสร้างเครือข่าย หรือ Networking

K6 Sustainable Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน

K7 Digital Capital  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT  มีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนา

K8 Talented Capital  ทุนอัจฉริยะ  Skills, Knowledge, Attitude พัฒนาได้โดย ทฤษฎี 5 E คือ Example, Experience, Education และ Evaluation

ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี 5K’s

  5K’s (1) Creativity Capital  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  ต้องมีจินตนาการ ต้องมีการสอนการสร้าง

       1. วิธีการเรียนรู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น เรียนรู้ข้ามศาสตร์

       2. เวลา และสมาธิ

       3. คิดให้เป็นระบบ ใช้สมองข้างซ้าย และใช้สมองข้างขวา

       4. ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ

  5K’s (2) Knowledge Capital  ทุนทางความรู้  ข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งจะนำไปสู่ Value Creation, Value Added และ Value Diversity

  5K’s (3) Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม

       1. มีความคิดใหม่, ความคิดสร้างสรร ผสมผสานความรู้

       2. นำไปปฏิบัติจริง

       3. ทำให้สำเร็จ

  5K’s (4) Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์  รู้จักควบคุมอารมณ์ มีภาวะผู้นำ ประกอบด้วย ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง การติดต่อสัมพันธ์

  5K’s (5) Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม อยู่ในสังคมโลกอย่างสง่างาม

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

เรื่อง จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงาน กฟผ. โดย  ศาตราภิชาน ไกรฤทธ์ บุณเกียรติ หัวข้อนี้เป็นการเน้นย้ำถึงความเข้าใจโครงสร้างธุรกิจ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ การตลาด(สำคัญที่สุด) ด้านผลิต(วิศวกรรม) ด้านการบัญชี/เงิน ด้านบุคคล และการบริหารองค์ความรู้  ข้อคิดเห็น ปัจจุบัน กฟผ.ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดอย่างหยั่งยืนในธุรกิจผลิตไฟฟ้า  กฟผ.เริ่มปรับตัว  ดังจะเห็นได้จาก กฟผ.มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานมีระบบการประเมินผล กฟผ.มีการลงทุนในรูปแบบบริษัทเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าแข่งขันกับบริษัทเอกชน และ กฟผ.มีการลงทุนในบริษัทเพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเนื่องจาก กฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงมีกฎระเบียบต่างๆมากมายที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจที่ทาง กฟผ.จะต้องหาวิธีแก้ไขต่อไป

 เรื่อง การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย อาจารย์ สุขุม นวลสกุล สำหรับการอบรมในหัวข้อนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดหลักสูตรเป็นอย่างสูงที่ได้นำวิทยากรนักพูดและนักบริหารระดับสุดยอดของประเทศไทยมาสอน บรรยากาศการอบรมดีมาก อาจารย์สามารถทำให้ลูกศิษย์ตั้งใจเรียนได้ตลอดทั้ง 3 ชั่วโมง ข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ประโยขน์ได้ คือ ผู้บริหารจะต้องประเมินให้ได้ว่า การเสนอเรื่องใด การพูดแบบใหน กติกาอะไร ความไม่เสมอภาคส่วนใหน ประเด็นใดหรือการกระทำใด เป็นเรื่องสุ่มเสียงต่อความขัดแย้ง ขอให้พยายามหลีกเลี่ยง แต่หากเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้วผูบริหารจะต้องกล้าที่รีบเข้ามาแก้ไขให้ ถูกต้อง ถูกจังหวะ ให้ได้

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 1 ก.พ. 56

·  หัวข้อ จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

วิทยากร ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ โดยชี้ให้เห็นว่า การดำเนินงานต่างๆ ต้องคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้เสีย(Stake Holder) รอบๆตัว ทั้งที่เป็นบุคคลทั่วๆไป(General Public), ผู้จัดสรรทรัพยากรได้ดีขึ้น เช่นภาครัฐ(Government),  สื่อสารมวลชน(Media), แหล่งทุน(Finance), องค์กรอิสระ(NGO.), เพื่อน(Peer) และหน่วยงานอิสระภายใน(Internal Public) เช่น สหภาพแรงงาน อีกทั้งผู้บริหารต้องคิดอย่างนักการตลาดด้วย เพื่อนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยต้องดูแลให้ครบเสาหลัก ที่สำคัญทั้ง 5ประการ ที่เปรียบเสมือนล้อรถ ที่ขับเคลื่อนไปได้ ได้แก่ Marketing, Production, Finance&Account, Teamwork และ Knowledge Management  ซึ่งต้องเน้นผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย และลูกค้าที่เกี่ยวข้องด้วยอย่างนักการตลาด

·  หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

ทำให้เข้าใจได้ว่า การคิดขัดแย้ง เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นอุปสรรค ขัดขวาง หรือเป็นข้อคัดแย้งเพื่อหาทางเลือกในการพัฒนา ซึ่งผ้บริหาร ควรต้องป้องกันไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งแบบอุปสรรค และสนับสนุนให้เกิด ข้อขัดแย้งในเชิงพัฒนา ทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล  หรือระหว่างบุคคลกับหน่วยงาน  หรือ หน่วยงานกับหน่วยงาน ซึ่งผู้ริหารต้องหมั่นฝึกฝนและอ่านสถานการณ์ให้ออก  และ กล้าตัดสินใจ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ถูกใจคน และถูกจังหวะ  นอกจากนั้นยังต้องฝึกการเจราจาต่อรอง โดยสร้างไม่ให้เกิดการขัดแย้ง แพ้-ชนะ  แต่ต้องหาผลประโยชน์ ร่วมกัน ได้ทั้ง 2 ฝ่าย


ความรู้ที่จะนำมาปรับใช้งานได้จากการอบรมวันที่  1 ก.พ. 2556

แนวทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงาน กฟผ.– ศ.ภิทาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ได้แง่คิดในมุมมองของของนักการตลาดจากอาจารย์อย่างมากมาก มีหลายอย่างที่มองเห็นว่า กฟผ. ยังต้องปรับให้เกิดความสมดุล เช่น

-  การประชาสัมพันธ์มากเกินไป (โดยไม่มี planning future step) จะเป็นการสร้างภาพ

-  ทำน้อยเกินไป ก็จะเสียโอกาส / เสียเปรียบ เนื่องจากมีคู่แข่งมาก

-  การตลาดไม่ได้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว / ไม่มีคำว่า นอนมา หรือ ของตาย สำหรับ กฟผ. อีกต่อไป

การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การต่อรอง – รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้ประสบการณ์และความรู้ที่สะสมมาทั้งชีวิตของ อาจารย์อย่างมากมาย ดูเสมือนหัวข้อนี้จะเป็นนามธรรม เพื่อที่จะต้องเข้าใจที่มาที่ไป รวมถึงการป้องกันและการแก้ไข แต่มีหลายประเด็นที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา ซึ่งเราสามารถที่จะฝึกตนเองได้เมื่อเจอสถานะการณ์ต่างๆตามหัวข้อวิชา ประเด็นที่น่าสนใจที่น่าจะนำมาใช้ได้เลย เช่น

-  ผู้บริหารต้องทำตัวเป็นโฆษกไม่ใช่ผู้ประกาศข่าว //-_ ต้องอธิบายว่าทำไมถึงเกิดเหตุนั้น ไม่ใช่แค่กำลังเกิดเหตุอะไรอยู่

-  การตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องเสมอ_ถ้าไม่รู้ต้องหา “ผู้รู้” ให้คำปรึกษา

อรรถพร ชูโต


สรุปหนังสือ 8K’s + 5K’s

หนังสือ “ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้แต่งได้เน้นเสนอความรู้ความคิด และประสบการณ์ในการวางแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการรวมประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน โดยนำเสนอแนวคิดทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ผนวกกับแนวคิดทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s) ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญสำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ให้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถยืนหยัดแข่งขันได้ทุกเวที ไม่ว่าจะเป็นเวทีอาเซียนเสรี หรือเวทีโลก

ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s)เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

1.ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นทุนพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก มนุษย์ทุกคนเริ่มมาเท่ากัน แต่จะพัฒนาหรือลงทุนให้มีค่าหรือแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ ด้วยการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัวและอื่นๆ
2.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้สามารถคิดและวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา ((((((((((และหาทางออก

3.ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) เป็นทุนของความเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ซึ่งควรจะปลูกฝังตั้งแต่เด็ก โดยครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา และศาสนา

4.ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นพฤติกรรมที่พึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่า โดยการมีความรักในงานที่ทำ และทำอย่างมีความสุข

5.ทุนทางสังคม (Social Capital) คือ การที่มีเครือข่าย (Network) ที่กว้างขวาง โดยรู้จักบุคคลหลายๆวงการ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างศักยภาพในการแข่งขัน

6.ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) เป็นทุนที่เกิดจากการมีศักยภาพในการมองอนาคตว่า สิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว

7.ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (Digital Capital) เป็นทุนที่จะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ

8.ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) เป็นทุนของการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลา และมีทัศนคติเชิงบวก พร้อมต่อการทำงานในเชิงรุก

  นอกจากแนวคิดทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยังมีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s) ที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอดและสามารถแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างาม
  ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s)เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย

1.ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) เป็นทุนในการคิด วิเคราะห์ คิดนอกกรอบ อยากทำสิ่งใหม่ๆ ต่างจากที่ทำมานาน

2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) เป็นทุนที่จะต้องใฝ่รู้ ทันสมัย และข้ามศาสตร์ การมีทุนความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และ มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)

3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) เป็นทุนในการพัฒนาต่อยอดจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น
4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) เป็นทุนของการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) คือการรู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์ รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล  การมองโลกในแง่ดี ฯลฯ

สรุป การเปิดเสรีอาเซียน โดยการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สามารถยืนหยัดแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 1 ก.พ. 56

-  การทำงานของ กฟผ. มีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป รัฐบาล สื่อ การเงิน กลุ่มอนุรักษ์นิยม (NGO) หน่วยงานอื่นที่เกีย่วข้อง และภายในองค์กร (สหภาพแรงงาน) การบริหารงานของ กฟผ.ในอนาคต จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ และความต้องการของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ โดยนำแนวคิดทางการตลาดมาปรับใช้

-  การบริหารความความขัดแย้ง ต้องสนับสนุนความขัดแย้งส่วนรวม ระวังความขัดแย้งส่วนตัว ซึ่งจะเป็นอุปสรรค

-  ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล เกิดจากความบกพร่องของหัวหน้า เรื่องการวางตัว การดูแล การปล่อยให้เอารัดเอาเปรียบกัน ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

-  ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ เกิดจากความไม่เข้าใจระเบียบ หรือนโยบายขององค์การ ต้องอธิบายให้มีคำตอบที่ชัดเจน

-  ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน เกิดจากความไม่เข้าใจ ต้องอธิบายให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานให้ชัดเจน

-  การตัดสินใจ อย่าตัดสินใจช้า การตัดสินใจเร็วได้ ต้องแม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ และไม่โอ้อวด

การเจรจาต่อรอง จะต้องมีการเตรียมการ (ใคร อะไร เป้าหมาย และอ่านใจ) สร้างความเชื่อมั่น  อย่าเอาเปรียบใช้ปิยะวาจา และหาสิ่งจูงใจ

HW  EADP 9  อ่านและสรุปบทความ

เรื่อง The new office social contract;Loyalty is out,Performance is in

By Steve Lohr

  ในสมัยก่อนบรริษัทิจะให้ความสำคัญต่อความซื่อสัตย์ ถ้าลูกจ้างมีความซื่อสัตย์ก็จะได้รับความเจริญก้าวหน้าต่อไป  ต่อมาความคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไป บรษัทิ ให้ความสำคัญต่อผลงานและผลกำไรมากกว่า  ดังเช่น กรณี  ของ IBM

  ในปี 1963 Vincent Papke เข้ามาบริหาร  ได้ใช้นโยบายเน้นความซื่อสัตย์และอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว  แต่สุดท้ายไม่สามารถสู้กับการแข่งขันได้จึงลาออกไปเมื่อต้นปี 1990 ทั้งๆที่บริหารงานมาตั้งเกือบ 30 ปี และ Steven Cohn ได้เข้ามาบริหารงานต่อ  โดยใช้กลยุทธที่ว่าถ้าใครทุมเทและเพี่มขีดความสามารถก็จะเจริญก้าวหน้าโดยไม่คำนึงถึงสังคมการอยู่ด้วยกัน ยิ่งไปกว่านั้นยังลดค่าใช้จ่ายโดยลดจำนวนคนงาน  งดจ่ายค่าชดเชยสำหรับให้กับผู้ออกจากงานสำหรับการจ้างใหม่ แต่ศาลใด้ตัดสินให้ IBM เปลี่ยนข้อตกลงดังกล่าว

  แนวความคิดของทั้งสองแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงมีแนวคิดเรื่อง New social contract หมายถึงให้มีข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยคำนึงถึงสิทธิและความรับผิดชอบของกันและกัน

  David Ulrich,Professer at the University of Michigan business school พูดว่า งานเป็นมากกว่าผลผลิต คนยังต้องการความสุขกับการทำงานโดยคำนึงสถานการณ์จ้างด้วย

  ดังนั้นถ้าบริษัทิ คิดแต่ผลกำไรไม่นึกถีงลูกจ้าง และชุมชน บริษัทิก็อยู่ไม่ได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ตามแนวทาง New social contract จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องในวันนี้

Lesson  From  A Student  Of  Life

By  Jim  Collins

  ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นนิสัยของ  Peter  F  Drucker  ว่าเป็นคนที่ไม่ชอบออกสังคมและจะไม่ช่วยเหลือใครในสิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เช่น ไม่ยอมให้สัมภาษณ์ ไม่ยอมออกทีวีหรือวิทยุ แต่กลับไม่ปิเสธชายหนุ่มซึ่งกำลังค้นหาวิถีทางในการดำเนินชีวิตทีเข้าไปหาเพื่อขอคำแนะนำ

  ความช่วยเหลือของ  Drucker คือคำสอนที่เขียนอยู่ในหนังสือหลายเล่มของท่าน  มีอยู่เรื่องหนึ่งท่านได้เขียนไว้เกี่ยวกับสังคมที่อสระปราศจากการบังคับจากใครคนใดคนหนึ่ง ว่าจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในสังคมนั้นจะต้องมีระเบียบที่ดีปฏิบัติกันอยู่จนเป็นธรรมเนียมตลอดทั้งสังคมนั้น โดยปราศจาก เผด็จการ

  Drucker เคยกล่าวไว้ว่า” อย่าถามว่าคุณจะได้อะไรแต่ให้ถามว่าคุณจะให้อะไร”

  เมื่ออ่านบทความนี้แล้วทำให้รู้ว่า Drucker เป็นนักคิดนักเขียนที่ยิ่งใหญ่มาก  จึงมีความคิดดีๆและมีคนนับถือมากและเป้นแรงบันดาลใจให้กับคนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

อติชาติ  โซวจินดา

             


Leading People  (อ.พจนารถ ซีบังเกิด)

1.Human Being เป็นธาตุแท้ของมนุษย์ ที่แต่ละคนจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน แต่จะเป็นสิ่งที่ดีในแต่ละบุคคล

2.การแสดงออกในบุคคลิกหรือลักษณะนิสัยของแต่ละคน บางครั้งไม่ได้มาจากธาตุแท้ แต่มีการดัดแปลงมาจาก ความคิดที่มีรากมาจากสติปัญญา สภาพแวดล้อม ทั้งด้านบุคคลและวัตถุ

3. เราควรทำความรู้จักกับตัวเอง เป็นคนเช่นไร  วัตถุประสงค์เพื่ออะไร และควรจะทำสิ่งใดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์

4.การทำความเข้าใจในตัวเองบางครั้งมีบางสิ่งที่เป็นสิ่งกำหนดหรือแต่งเสริมความรู้สึกในตัวเรา คือ Delete Distort Generalize

5. ความต้องการพื้นฐานและความกลัวในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน แต่มนุษย์เราควรกำจัดความกลัว เพื่อสร้างพื้นฐานความเจริญเติบโตของคน

Mind Mapping  สำหรับผู้บริหารและการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม (อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์)

1.เป็นการเรียนรู้ลักษณะสมองของมนุษย์ แบ่งเป็น สองซีกอย่างชัดเจน โดยสมองซีกซ้ายจะทำงานที่เป็นเชิงรูปธรรม ส่วนสมองซีกขวา จะทำงานเป็นเชิง นามธรรม โดยในห้วงเวลาเดียวกัน ควรใช้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานไปพร้อมกัน

2. เซลล์สมองมีสายใยเชื่อมโยง และมีการพัฒนาการเรียนรู้ หลายๆครั้ง จนเป็นประสบการณ์ ซึ่งควรมีการพัฒนาความรู้ใหม่ๆเสมอ

3. การพัฒนาการเขียนงานโดยใช้ Mind Mapping เป็นการพัฒนาการใช้สมองทั้งสองซีกในเวลาเดียวกัน สร้างทั้งภาพ เส้นสี การสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน ทำให้มีการคิดเป็นระบบ

Creative Thinking and Value Creation ( อ. ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ)

1. การคิดบวก (Positive Thinking) เป็นการคิดแบบสร้างสรรค์ ให้ความสุขและสำเร็จ ในชีวิต

2. นอกจากการคิดบวกแล้ว  ความคิดต้องเป็นระบบ (Systematic Thinking)

3. อ,ยกตัวอย่างหมู่บ้านแม่กำปอ เป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่คิดบวกและเป็นระบบ สามารถพัฒนาหมู่บ้านได้โดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณแผ่นดิน การพัฒนาหมู่บ้านอย่างยั่งยืน

4. แนวความคิดของ อ.ณรงศักดิ์ สอนให้มีการสื่อสารองค์กรแก่สาธารณะ ใช้วิธีการพัฒนา ทุนเดิม เพิ่มความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ เพื่อสู่การเจริญเติบโต

ผลกระทบของแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ ในอนาคตของ กฟผ. (ดร,กมลตรรกบุตร  ศ,ดร, ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

1. โครงสร้างพลังงานของโลกและประเทศไทย ปริมาณสำรองเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด โดย น้ำมันมีอยู่ประมาณ 40 ปี ก๊าซธรรมชาติ เหลืออยู่ประมาณ 60 ปี ถ่านหิน มีปริมาณสำรองประมาณ 200 กว่าปี ในขณะที่ Uranium มีปริมาณสำรองอยู่อีกมากว่า 6000 ปี

2. การพัฒนาการของนิวเคลียร์ มีความปลอดภัยมากขึ้น ปัจจุบัน อยู่ที่ Generation ที่ 4 ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ ฟูกูชิมา เป็นโรงไฟฟ้าใน generation ที่ 1

3.การพัฒนาความพร้อมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังคงมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทย ที่พึ่งพิงเชื้อเพลิงก๊าซฯ ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง(ประมาณ 70% ของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในภาคไฟฟ้า ส่งผลให้ราคาค่ากระแสไฟฟ้าของประเทศไทย มาราคาสูง

4. การพัฒนานิวเคลียร์ในประเทศไทย นั้นต้องมีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ทั้งทางความรู้ ความมีระเบียบวินัย พื้นฐานทางโครงสร้าง

5. ปัจจุบัน การรับมือภัยพิบัติของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน ในขณะที่ภัยพิบัติ เริ่มมีสถิติที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น หรือเราเรียกว่าเป็น unexpected จึงทำให้การจัดการกับภัยพิบัติ มีความยากมากขึ้น


สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

หัวข้อ  แนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

ศ.ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การใช้แนวทางการตลาด จะช่วยทำให้ภารกิจต่างๆ ของ กฟผ.ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นขึ้น โดนเฉพาะอย่างยิ่งโครงการใหม่ๆ ที่มีผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากๆ

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

อ. สุขุม นวลสกุล

เพลิดเพลินกับการบรรยายจนเกือบลืมไปว่าอาจารย์ได้ให้สาระไว้มากมายที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารคนได้เป็นอย่างดี

ความขัดแย้ง  มีทั้งที่เป็นประโยชน์และที่เป็นปัญหา  ผู้บริหารต้องสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งที่เป็นประโยชน์และป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่จะเป็นปัญหา

การเจรจาต่อรอง คือการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงจาความคิดหรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน  ข้อสำคัญในการเจรจาต่อรองคือต้องจริงใจและอย่าทำให้คู่เจรจารู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ

การตัดสินใจ จะต้องตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง และถูกใจผู้ที่เกี่ยวข้อง หากผลของการตัดสินใจจำเป็นที่จะไม่ถูกใจ ก็จะต้องมาในเวลาที่ถูกจังหวะ 


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 31 ม.ค. 56

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของกฟผ.

โดย ดร.กมล ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

ได้ทราบถึงวิวัฒนาการของรฟ.นิวเคลียร์ โลกปัจจุบันและอนาคตกับรฟ.นิวเคลียร์ ความสามารถในการบริหารจัดการและฟื้นฟูหลังเกิดเหตุการณ์ความเสียหายของรฟ.ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก โดยหากเกิดในไทยไม่ทราบว่าจะจัดการได้ดีเท่ากันได้ไหม แผนสร้างรฟ.นิวเคลียร์ของไทยกำหนด COD ปี 2026 ล่าช้ากว่าเวียดนามถึง 6 ปี

ทั้งนี้ไทยยังต้องคำนึงถึง Uncertainty & Unpredictability และจัดการให้ได้ด้วย สำหรับด้านการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ต้องคำนึงถึงการลงทุนให้ระบบมี Redundancy ด้วย และจัดเตรียมแผน BCM รวมทั้งต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของคนในชาติในทุกระดับให้เกิดจิตสำนึก อย่างไรก็ตามเห็นว่ารฟ.นิวเคลียร์จะเกิดได้ในไทยต้องมาจากการสร้างความเชื่อมั่น ให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ไม่เกิดความรู้สึกกลัวว่ารฟ.ที่จะสร้างมีอันตรายเนื่องจากหากเทียบกับประเทศญี่ปุ่นเองซึ่งมีวินัย มีมาตรฐานในการตรวจสอบสูงเป็นไปอย่างมีมาตรฐานยังเกิดภัยขึ้นได้

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า โดย คุณหญิง ทิพาดี เมฆสวรรค์

ผู้นำต้อง 1.ทำตัวให้นายรู้จัก มีจุดยืน 2.มีความรู้ในงาน กล้าแสดงออก รวมทั้งมีความกล้าทางคุณธรรม

3.ยึดงานเป็นที่ตั้ง รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง ไม่หลอกตัวเอง อีกทั้งรู้จักใช้คน ต้องมี Give&Take อาจารย์ยังให้ข้อพึงปฏิบัติไม่ให้ถูกเลื่อยขาเก้าอี้(ไม่งั้นไม่รู้ว่าต้องยืนทำงานได้นานแค่ไหน...) แนวทางในการที่จะสื่อสารกับผู้เป็นนาย สุดท้ายการทำงานต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างดีจัดแผนความคิดและทำโดยไม่ต้องรอนโยบาย


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 1 ก.พ. 56

จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของกฟผ. โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

การตลาดไม่จำเป็นต้องขายเฉพาะสิ่งที่จับต้องได้ อย่างกฟผ.นอกจากขายไฟแล้วเห็นว่า Better living standard ควรคำนึงด้วย นอกจากนั้นการตลาดต้องคำนึงถึง Public  7 ตัวด้วยกัน และทราบแนวคิดทฤษฎี 5 ล้อที่ต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้อง เดิมการตลาดจะมองด้าน Supply side แต่หลังวิกฤติฟองสบู่จะเข้าสู่ Demand side โดยต้องทำ Demand forecast ให้ได้ว่า Public โดยเฉพาะ General Public มองกฟผ.อย่างไร ซึ่งอาจารย์ได้เปิดมุมมองและร้อยเรียงให้เกิดเป็นรูปธรรมให้เห็นถึงความสอดคล้องและเกี่ยวพันธ์กันได้อย่างดี อันเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางดำเนินงานของกฟผ.ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

 โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

จุดที่ต้องคำนึงคือ อย่าให้ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมกลายมาเป็นส่วนตัว

การบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้ โดยต้องไม่เปิดช่องให้ลูกน้องเกิดอิจฉาริษยากันหรือเอาเปรียบกัน โดยต้องทันเกม

การบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลต่อองค์กร ต้องเป็นโฆษกไม่ใช่แค่ผู้ประกาศข่าว

การบริหารความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ต้องรู้กว้างไปถึงวิธีหรือกระบวนการทำงานของหน่วยงานข้างเคียงอื่นด้วย ไม่ยึดติดว่าหน่วยงานเราวิเศษกว่าหน่วยงานอื่น ต้องรู้จักเบรคเมื่อลูกน้องมาฟ้อง

ด้านการเจรจาต่อรอง ต้องยึดหลักว่าเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันไม่ใช่เอาชนะกัน โดยต้องมีการเตรียมการและอย่าวางแผนเพื่อเอาเปรียบ

สุดท้ายการตัดสินใจต้อง แม่นกฏระเบียบ ลดความเกรงใจ และ ไม่โอ้อวด โดยมีองค์ประกอบต่างๆในการตัดสินใจ

ทั้งนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของท่าน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง


นายสาเรศ อินทุเศรษฐ

วันที่ 31 มกราคม 2556

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเป็นเหตุให้เกิดปัญหาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยหันมาทบทวนแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และแผนการจัดการความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดการชะลอการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์เพื่อใช้ประโยชน์ แต่ในสภาวะแหล่งพลังงานและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มโครงการพลังงานจากนิวเคลียร์ขึ้นใหม่แล้ว สำหรับประเทศไทยการหวังพึ่งพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและแหล่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านอาจก่อให้เกิดวิกฤตพลังงานได้ในอนาคต ฉะนั้นการวางนโยบายพลังงานโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานทางเลือกอืนๆจึงเป็นความจำเป็นที่ กฟผ.จะต้องเร่งดำเนินการวางแผนเชิงรุกเพื่อให้เกิดโครงการที่จำเป็นในอนาคตให้ได้

กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

  กฟผ.เป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศมีสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในการดูแลที่สำคัญเป็นประโยชน์อย่างมากและอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้หากเกิดความเสียหาย เช่นเขื่อนต่างๆ  โรงไฟฟ้า  ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า เป็นต้น หากได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายจะก่อให้เกิดภัยพิบัติเป็นอย่างมาก กฟผ.จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันอย่างเข้มงวด ดังนั้น กฟผ.ควรจะคำนึงถึง Leadership of Uncertainty and Unexpected เพราะว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่แน่นอนถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหน่วยงานสำคัญในต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างมาก

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ ได้บรรยายประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาตลอดการรับราชการของท่าน ทั้งการเรียนงานการสอนงาน การทำให้ตนเป็นที่ประจักษ์ต่อบุคคลอื่น การวางตัวเป็นผู้นำอย่างไรให้ผู้อื่นศรัทธา การเป็นผู้รู้จริงในงานที่ทำ และสิ่งที่สำคัญคือการปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัด การรู้ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน เป็นแบบอย่างของการทำงานอย่างสุจริต ซึ่งผู้นำควรวางรากฐานดังกล่าวให้กับตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา


นายสาเรศ อินทุเศรษฐ

วันที่ 31 มกราคม 2556

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเป็นเหตุให้เกิดปัญหาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยหันมาทบทวนแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และแผนการจัดการความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดการชะลอการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์เพื่อใช้ประโยชน์ แต่ในสภาวะแหล่งพลังงานและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มโครงการพลังงานจากนิวเคลียร์ขึ้นใหม่แล้ว สำหรับประเทศไทยการหวังพึ่งพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและแหล่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านอาจก่อให้เกิดวิกฤตพลังงานได้ในอนาคต ฉะนั้นการวางนโยบายพลังงานโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานทางเลือกอืนๆจึงเป็นความจำเป็นที่ กฟผ.จะต้องเร่งดำเนินการวางแผนเชิงรุกเพื่อให้เกิดโครงการที่จำเป็นในอนาคตให้ได้

กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

  กฟผ.เป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศมีสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในการดูแลที่สำคัญเป็นประโยชน์อย่างมากและอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้หากเกิดความเสียหาย เช่นเขื่อนต่างๆ  โรงไฟฟ้า  ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า เป็นต้น หากได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายจะก่อให้เกิดภัยพิบัติเป็นอย่างมาก กฟผ.จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันอย่างเข้มงวด ดังนั้น กฟผ.ควรจะคำนึงถึง Leadership of Uncertainty and Unexpected เพราะว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่แน่นอนถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหน่วยงานสำคัญในต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างมาก

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ ได้บรรยายประสบการณืในการทำงานที่ผ่านมาตลอดการรับราชการของท่าน ทั้งการเรียนงานการสอนงาน การทำให้ตนเป็นที่ประจักษ์ต่อบุคคลอื่น การวางตัวเป็นผู้นำอย่างไรให้ผู้อื่นศรัทธา การเป็นผู้รู้จริงในงานที่ทำ และสิ่งที่สำคัญคือการปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัด การรู้ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน เป็นแบบอย่างของการทำงานอย่างสุจริต ซึ่งผู้นำควรวางรากฐานดังกล่าวให้กับตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา

1 กุมภาพันธ์ 2556

แนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. ในสภาวะสังคมปัจจุบันการดำเนินงานของ กฟผ. ไม่อาจยึดถือแนวความคิดแบบเดิมได้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนคติในการดำเนินการโดยนำแนวทางการบริหารงานแบบเอกชนมาปรับใช้ แต่จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่หรืความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศด้วย หากมองว่าสังคมคือลูกค้าที่ กฟผ.จะต้องดูแลปัจจัยที่สำคัญเช่น รู้จักความต้องการของลูกค้า รู้จักหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีแหล่งทุนที่สะดวกเพียงพอ เข้าใจความขัดแย้งของสังคมต่อหน่วยงาน

การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง   การบริหารงานยุคใหม่จะต้องประสบต่ออุปสรรคข้อขัดข้องในการดำเนินงานผู้นำของหน่วยงานจะต้องแก้ไขหรือบรรเทาอุปสรรคดังกล่าวมิให้เป็นผลเสียต่อหน่วยงาน รศ.สุขุม ได้นำทฤษฎีการบริหารมานำเสนอโดยใช้วิธียกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายแต่ใช้ได้จริง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน กฟผ.ได้จริงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำไปประยุกต์ใช้อย่างมาก


ย่อยหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซีย

ทฤษฎีทุน 8ประการ (8K’s)เป็นทุนพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

1.Human Capital ทุนมนุษย์ มนุษย์ทุกคนเริ่มมาเท่ากัน แต่จะพัฒนาหรือลงทุนให้มีค่าหรือแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ ด้วยการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม แต่ปัญญาอาจไม่ใช่ปริญญา จึงต้องมี K2 คือ
2.Intellectual Capital ทุนทางปัญญา ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้สามารถคิดและวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา โดยสรุปคือ การทำให้เกิดการคิด

3.Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ทุนของความเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ซึ่งควรจะปลูกฝังตั้งแต่เด็ก

4.Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ทุนแห่งความสุข พฤติกรรมที่ทุกคนพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่า โดยจะทำให้ทำงานอย่างมีความสุข

5.Social Capital ทุนทางสังคม  คือ การที่มีเครือข่าย (Network) ที่กว้างขวาง หมายถึงรู้จักบุคคลหลายๆวงการ

6.Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน สร้างให้ระยะสั้นสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอดด้วย ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7.Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที ทุนที่จะต้องมีความรู้ และติดตามเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทัน เพื่อมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ

8.Talented Capital ทุนอัจฉริยะ ทุนของการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง

เพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่สังคมอาเซียนเสรีด้วยความพร้อม ยังมีทฤษฎีทุนใหม่อีก 5 ประการ

1.Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ทุนในการคิด วิเคราะห์ จินตนาการ คิดนอกกรอบแต่คิดให้เป็นระบบ เรียนรู้ข้ามศาสตร์

2.Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ทุนที่จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร ใฝ่รู้ ทันสมัย การมีทุนความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation)

มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และ

มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)

3.Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม ทุนในการพัฒนาความคิดใหม่ที่ ปรับจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างมูลค่าและทำให้ให้เกิดขึ้น
4.Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม มีความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ เพื่อสามารถติดต่อคบหาได้อย่างราบรื่น

5.Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์ การมองโลกในแง่ดี การติดต่อสัมพันธ์

สรุป เราพูดกันถึง AEC ถึงการเตรียมรับมือ แต่ผมไม่เห็นใครพูดได้ชัดเจนเท่าหนังสือเล่มนี้ของอาจารย์เลยครับ โดยเฉพาะในส่วนของ 5K นี่ชัดเจนมาก และความหมายไม่ใช่แค่รับมือ แต่น่าจะเป็นการเตรียมพร้อมความพร้อมเพื่อรุก AEC ด้วย

อรรถพร ชูโต

การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

30 มกราคม 2556

โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

สรุปเนื้อหาจากการอบรม

  อ.กิตติ อธิบายว่าจาก Vision ของ กฟผ. มี Keyword คือ เป็นกิจการไฟฟ้า
และระดับสากล ดังนั้นโครงการที่เกี่ยวกับกฟผ. ต่อไปต้องเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้า
และระดับสากลด้วย

       - ปีที่แล้ว EADP 2012 ได้เสนอโครงการไว้ 5 โครงการ

1. โครงการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
2. Eco Energy

3. โรงไฟฟ้าชุมชนกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4. CSR กับจิตอาสาพัฒนาชุมชน
5. CSR กับโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ของ EGAT

- บางโครงการไก้กำเนินการไปบ้างแต่บางโครงการยังไม่ได้ดำเนินการ 

- โครงการด้านCSR ของ กฟผ.ทำหลายหน่วยงานแต่ไม่เป็นunique เดียวกันทั้ง กฟผ. ทำให้มองไม่เห็น CSR ที่แท้จริงของ กฟผ.เป็นอย่างไร ควรสรร้างเอกลักษณ์ให้ชัด

 - โครงการปีนี้ต้องชัดเจนกว่าเดิม ต้องนำไปใช้ได้จริง โดยสรุปแบ่งเป็น6 โครงการ ให้ผู้เข้าอบรมเลือกทำกลุ่มละ 1 โครงการคือ

  1. นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของกฟผ.ให้ก้าวไกลในเวทีอาเฃียน2015

  2.วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรมเพื่อการสร้าง และบริหารทุนมนุษย์ของกฟผ.กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน

  3.กลยุทธ์และแผนงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของ กฟผ.(SEPA)

  4. นวัตกรรมทางสังคมของกฟผ. สร้างศรัทธาที่แท้จริงจากปวงชน

  5. นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา รฟ.ใหม่ของกฟผ.

  6. ภาพอนาคต กฟผ.ในปี 2025

 
ทั้ง 6 โครงการนี้หากประเมินได้แม่นยำและทำโครงการประสบผลสำเร็จจริงก็น่าจะสามารถทำให้ กฟผ.สามารถรับมือกับ
AEC2015ได้อย่างมั่นใจ และยังการันตีได้ว่ากฟผ.จะเจิญเติบโตได้อย่างยั่งยืน 




ชวลิต อภิรักษ์วนาลี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  1 ก.พ. 56

ช่วงเช้า  อ.ไกรฤทธิ์  เน้นให้รู้จักกลุ่มบุคคลที่เราควรต้องรู้จัก  เรียนรู้  และพยายามให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ซึ่งพอแบ่งได้เป็น  7  กลุ่ม ,  รวมทั้ง  5  เสาหลักในการขับเคลื่อนองค์กร  โดย  1  ใน  5  เสาหลักที่ควรต้องมีเป็นอย่างยิ่ง คือ  เรื่องการขาย / การตลาด

ช่วงบ่าย  อ.สุขุม รับหน้าที่เขย่าต่อมฮาของลูกศิษย์  พร้อมแนะแนวทางการบริหารความขัดแย้ง  การเจรจา  และการตัดสินใจ  โดยสอดแทรกตัวอย่างมันส์ๆ ตลอดเวลา  

ชวลิต  3 / 2 / 56  เวลา  18.03 น.

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ มาสอนเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. โดยให้หลักคิด 7 เรื่องที่ กฟผ. จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน คือ

1.  Generalภาพลักษณ์องค์ที่ต้องรักษาให้ดี

2.  Government – รัฐบาลที่เป็นทั้งผู้สนับสนุน และอุปสรรค

3.  Media – สื่อมวลชน

4.  Finance – การเงินที่ต้องดูแล

5.  NGO –  ผุ้คอยตรวจสอบเรา เพื่อน หรือ ศรัสตรู

6.  PEER – เพื่อนร่วมธุรกิจ

7.  Internal – สหภาพในองค์กร และพนักงานในองค์กร

  - ทั้ง 7 เรื่องต้องจัดการให้ถูกต้อง เหมาะสมในสถานะการณ์ต่างเพื่อให้องค์กรดำเนินกิจการได้อย่างไม่มีปัญหา นอกจากนั้นท่านอาจารย์ยังให้แนวทางการขายให้เป็นที่ผู้บริหารต้องรู้ 5 ประการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ

1. โรงงาน หรือ หน่วยผลิต

2. การเงิน (ระบบบัญชี- อดีตและอนาคต)

3. HR – ทีมงาน ดูแลเรื่องการสรรหา การดูแลรักษา

4. KM – การจัดการความรู้ (การนำเอาประสบการณ์จากอีกคนมาให้คนอื่นๆ สามารถนำไปใช้ต่อให้เกิดประโยชน์ได้) รวมถึง ระบบสารสนเทศด้วย

5. การขายให้เป็น – ต้องรู้ว่าใครคือคนที่จะใช้สินค้าหรือบริการ อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ต้องมีข้อมูล ต้องสร้าง Brand และ ทำให้เกิด Brand Experience เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

  สรุปในการตลาดต้อง Outside-In โดยคำนึง 3 เรื่อง

1.  Mass Communication

2.  Supply Chain management

3.  Retail

  ในช่วงบ่าย รศ.สุขุม นวลสกุล มาเล่าเรื่อง การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง

-  ความขัดแย้ง ข้อดีเป็นความเห็นต่าง ช่วยในการสร้างสรรค์ พัฒนาเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม

-  ความขัดแย้ง มีทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งส่วนรวมกลายมาเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

-  ข้อขัดแย้ง บุคคลกับบุคคล / บุคคลกับหน่วยงาน / หน่วยงานกับหน่วยงาน

-  การตัดสินใจ  ผู้บริหารต้อง แม่นกฎระเบียบ/ ลดความเกรงใจ/ ไม่โอ้อวด ต้องมีองค์ประกอบช่วยตัดสินใจ เช่น ข้อมูล,ประสบการณ์, การคาดการณ์, ผลกระทบ, สถานะการณ์

-  การเจรจาต่อรองเป็นการหาข้อตกลงที่แตกต่างกัน

-  การเจรจาต่อรอง ต้องรู้ว่าจะเจรจากับใคร เรื่องอะไร เป้าหมายคืออะไร หลักการเจรจา ความเชื่อมั่น, ใช้ปิยวาจา, หาสิ่งจูงใจ, ให้ข้อสรุป

ชนฏ  ศรีพรวัฒนา


สรุปความรู้จากการหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียนโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ผู้เขียนมีเจตนารมณ์ คือ การสร้างทุนมนุษย์ของคนไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน เป็นการเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีทฤษฎีรองรับ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

สรุปความรู้จากการหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

·ทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพประกอบด้วย

K1 Human Capital ทุนมนุษย์ มาจากระบบการศึกษา การฝึกอบรม

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญาคือการมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต ระบบการศึกษาต้องสอนให้คนไทยคิดเป็น

K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ความดีต้องคู่กับความเก่ง

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุขคือพฤติกรรมที่ทุกคนพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่า

 K5 Social Capital ทุนทางสังคม หรือเครือข่าย ยึดแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่าย คือ อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจสร้างการรวมพลังให้ได้จริงๆ

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

มีปัจจัยในการสร้าง 6 ปัจจัย คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(1) ต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จ และสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด

(2) ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกทำลาย

(3) ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนา

(4) ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์

(5) ต้องกระจายความเจริญ

(6) ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง
K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาตัวเองและงาน

K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ

คนที่ประสบความสำเร็จต้องมีทักษะ ความรู้ ทัศนคติ การพัฒนาภาวะผู้นำด้วย “ทฤษฎี 5 E” คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation

·  แนวคิดทฤษฎี 5K’sเป็นแนวคิดต่อยอดเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขัน

K1 (ใหม่) Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

(1) วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

(2) ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

(3) ต้องคิดเป็นระบบ

(4) ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ


K2 (ใหม่) Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality
ความเป็นจริง Relevance ตรงประเด็น

K3 (ใหม่) Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ

(1) มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมความรู้

(2) นำความคิดไปปฏิบัติจริง

(3) ทำให้สำเร็จ
K4 (ใหม่) Cultural Capital  ทุนของวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์

K5 (ใหม่) Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้

การเปิดเสรีอาเซียน (AEC) กระทบต่อคนไทยทุกคน การเตรียมรองรับ ต้องปรับ Mindset และมีการเตรียมแผนงานและการพัฒนาอย่างเร่งด่วน


หนังสือ 8Ks + 5Kทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดย ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นแนวคิดของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้รองรับการเปิดเสรีเอเซียน  ประกอบด้วย

K1 Human Capital   ทุนมนุษย์  คือ ความรู้ที่พึงมี  สร้างจากการศึกษาหรือการฝึกอบรมแบบทางการ

K2 Intellectual  ทุนทางปัญญา คือ การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต  สร้างได้จากการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบทฤษฏี 4L’s และ 2R’s

  ทฤษฏี 4L’s

      Learning Methodology   คือ  มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

      Learning Environment  คือ  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

      LearningOpportunities  คือ  สร้างโอกาสการเรียนรู้

      Learning Communities  คือ  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

  ทฤษฏี 2R’s

      Reality   มองความจริง

      Relevance  มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ

K3 Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  คือ การเป็นคนดี  คิดดี  ทำดี  คิดเพื่อส่วนรวม  มีจิตสาธารณะ  แนวทางในการสร้างทุนทางจริยธรรมที่ อ.จิระแนะนำมี 2 แนวทาง คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้าใจและยึดมั่นใน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  และแนวคิดของ Peter Drucker  ซึ่งกล่าวว่าคุณสมบัติที่สำคัญของคน ประกอบด้วย Integrity  Imagination  และ Innovation

K4 Happiness Capital  ทุนทางความสุข  คือ พฤติกรรมที่พึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ  เมื่อมีความสุขในการทำงาน ผลงานก็จะมีคุณภาพ  แนวทางในการสร้างทุนทางความสุขที่ อ.จิระแนะนำมี 2 แนวทางคือ แนวคิดของ อ.จิระ และแนวคิดของ Dr. Timothy Sharp

K5 Social Capital  ทุนทางสังคม  คือ การมีเครือข่าย (Networking) ซึ่งคือการรู้จักบุคคลจากหลายๆวงการและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  วิธีการช่วยให้มีทุนทางสังคม คือ คบหาคนหลายกลุ่ม  เปิดโลกทัศน์  เข้ากับคนง่าย  ศึกษาบุคคลที่เราอยากรู้จัก  มีการติดตาม  ทำงานเป็นทีม  มีทัศนคติเป็นบวก  และเข้าใจความหลากหลายในความคิดและวิถีชีวิต  แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายคือ Comfort Level  Trus&Respect และ Synergy

K6 Sustainable Capital  ทุนทางความยั่งยืน คือ ศักยภาพในการมองถึงความอยู่รอดในอนาคต  สร้างได้จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้น  ความพอประมาณ  มีเหตุมีผลและมีภูมิคุ้มกัน  บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม 

K7 Digital Capital  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  คือ ความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆได้

K8 Talented Capital  ทุนอัจฉริยะ คือ มีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ในตัว หมายถึง มีการพัฒนาทักษะและความรู้ของตนเองตลอดเวลา  มีทัศนคติเป็นบวกและพร้อมต่อการทำงานในเชิงรุก  ทุนอัจฉริยะพัฒนาได้ด้วย ทฤษฎี 5E

   ทฤษฎี 5E

      1. Example  การมีแม่แบบที่เก่ง

      2. Experience  การมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์

      3. Education  การศึกษา ค้นคว้า

      4. Environmental  การสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้และการทำงาน

      5. Evaluation  การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


ทฤษฎี 5K’s (ใหม่) คือทฤษฎีในการสร้างความสามารถเพื่อการแข่งขันในโลกไร้พรมแดนของทุนมนุษย์

5K’s (1)  Creativity Capital   ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

   วิธีการสร้างความคิดสร้างสรรค์

      1. วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

      2. ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

      3. ต้องคิดเป็นระบบ 

      4. ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ

5K’s (2)  Knowledge Capital ทุนทางความรู้ 

คือ ความรู้ที่มีต้องสด ทันสมัย แม่นยำ  ข้ามศาสตร์  ทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality หมายถึง ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance หมายถึง ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ  และทุนทางความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation)  มูลค่าเพิ่ม (Value Added)  และมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลายและความเฉลียวฉลาด (value Diversity)

5K’s (3)  Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า  นวัตกรรมมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง

1.มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมความรู้

2.นำความคิดไปปฏิบัติจริง

3.ทำให้สำเร็จ

5K’s (4)  Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ประกอบด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณีศาสนาประวัติศาสตร์ประเพณีวิถีชีวิตภูมิปัญญาแนวทางปฏิบัติและความเชื่อ

5K’s (5)  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  การสร้างทุนทางอารมณ์ที่เหมาะกับคนไทย คือ ยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต


การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นการเปิดเสรีทางการค้าและการบริการ จะเกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศในอาเซียนจากข้อตกลงของการร่วมมือกันใน 3 เรื่องใหญ่ คือ เศรษฐกิจและการค้า การลงทุน  สังคมและวัฒนธรรม  และความมั่นคงทางการเมือง  ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง เป็นได้ทั้งผลดีหรือผลเสียขึ้นอยู่กับการเตรียมตัว  สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปกับสังคมอาเซียนอย่างมั่นคงและสง่างาม สามารถแข่งขันได้ คือการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์  ทฤษฎี 8K’s+5K’s สามารถตอบโจทย์ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ได้

สิ่งสำคัญในการที่จะทำให้การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ได้ผลคือการมีวัฒนธรรมการเรียนรู้  วัฒนธรรมการเรียนรู้ จะเกิดขึ้น ถ้าการเรียนรู้มีองค์ประกอบตามทฤษฏี 4L’s  ทฤษฏี 2R’s  และทฤษฏี 2i’s

ทฤษฏี 4L’s

Learning Methodology   คือ  มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

Learning Environment  คือ  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

LearningOpportunities  คือ  สร้างโอกาสการเรียนรู้

Learning Communities  คือ  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฏี 2R’s

Reality   เรียนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น

Relevance  เรียนเรื่องที่ตรงประเด็นหรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเรา

ทฤษฏี 2i’s

Inspiration  ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดพลัง เกิดความกระหายความรู้ เข้าใจความหมาย และมีเป้าหมายในการเรียนทุกๆครั้ง

Imaginaton  ต้องทำให้ผู้เรียนมีจินตนาการ นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม


นโยบายของ กฟผ. ให้ความสำคัญกับพัฒนาบุคลากร และยุทธศาสตร์หนึ่งของ กฟผ. คือ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้   ถ้าใช้ทฤษฎี 8K’s+5K’s เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร และแนวทางทฤษฏี 4L’s  ทฤษฏี 2R’s  และทฤษฏี 2i’s สำหรับยุทธศาสตร์องค์กรแห่งการเรียนรู้  น่าจะทำให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น  ซึ่งจะส่งผลให้ กฟผ. พร้อมในการแข่งขันเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ AEC 

ที่มา 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัฒน์ และการก้าวสู่สังคมประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งคว่ำหวอดอยู่ในวงการมากว่า ๓๐ ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากประสบการณ์ชีวิตของท่านมาไว้ในหนังสือ “8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ซึ่งเสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ คนไทย เพื่อรองรับและยกระดับให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่งยืน

รายละเอียด

ทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8K’s) เป็นทุนพื้นฐานในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย
๑. Human Capital ทุนมนุษย์ เป็นทุนชั้นพื้นฐานเริ่มต้น โดยได้จากการพัฒนาหรือลงทุนในด้าน โภชนาการและการศึกษา

๒. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
๓. Ethical Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม คือ ทุนที่ต้องปลูกฝังให้ยึดมั่นในเรื่องความดีงาม ถูกต้อง ซึ่งประกอบร่วมกับทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์และกระทำด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
๔. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ โดยจะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการทำงานเหล่านั้น ซึ่งผลงานที่ได้ออกมาก็จะมีคุณภาพที่ดี
๕. Social Capital ทุนทางสังคมหรือเครือข่าย คือ ต้องทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลจากหลายๆวงการ นอกจากเครือญาติหรือเพื่อนฝูง

๖. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน คือ ต้องมีศักยภาพมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไรและต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว โดยมี 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ประกอบด้วย –ระยะสั้นต้องสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด –คำนึงสภาพแวดล้อมและทรัพยากร –มีคุณธรรมและจริยธรรม –เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ –ต้องกระจายความเจริญ -เป็นการพัฒนาที่พึ่งตนเอง
๗. Digital Capital ทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆได้
๘. Talented Capital ทุนอัจฉริยะ คือ ทุนที่ได้จากการพัฒนาทักษะ ความรู้ตลอดเวลาและมีทัศนคติเป็นบวกพร้อมต่อการทำงานเชิงรุก อันจะทำให้เป็นคนที่มีอัจฉริยภาพ

  ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญในการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี ประกอบด้วย
๑. Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนที่สร้างจาก การฝึกคิดนอกกรอบ การเรียนรู้ มีสมาธิมีเวลาคิด สร้างความคิดให้เป็นระบบ และต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ

๒. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม โดยต้องสดใหม่ ทันสมัย และแม่นยำ และทุนความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R (Reality & Relevance) ซึ่งนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและความเฉลียวฉลาด

๓. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า โดยมาจาก

  ---ความคิดใหม่ -ความคิดสร้างสรรค์บวกความรู้  -----นำความคิดไปปฏิบัติ  -ทำให้สำเร็จ

การสร้าง Innovation Capital ใช้ทฤษฎี 3C (Customers Change Management Command&Control)

๔. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลัษณ์สำคัญของประเทศ รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆและสามาถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย

๕. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมและบริหารอารมณ์ และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ ทำให้ทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นในทุกๆระดับได้ 

สรุป

การสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ถ้าเริ่มต้นจาก ครอบครัวและโรงเรียน 2 สถาบันหลัก โดย พ่อ แม่และครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เมื่อทำงานก็ต้องเลือกทำในงานที่รัก ทุ่มเท ใฝ่รู้และพัฒนาอยู่ตลอด รวมทั้งแบ่งปันสิ่งดีงามให้กับสังคม นอกจากทฤษฎี 8K’s+ 5K’s ยังมีทฤษฎี 3L’s

ที่ช่วยในการเรียนรู้ คือ Learning from pain  Learning from experiences  Learning from listening

และวิธีการทำงานด้านทุนมนุษย์ให้สำเร็จได้โดยใช้ทฤษฎี 3ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และหากเผยแพร่ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์นี้ได้ขยายวงออกไปสู่สังคมในทุกภาคส่วนได้อย่างทั่วถึง

การที่ไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา โดยต้องมีการพัฒนาและเตรียมพร้อมรองรับเนื่องจากทุนมนุษย์คนไทยจะมีคุณภาพเพียงพอ มีการพัฒนาบนพื้นฐานความยั่งยืน ความสุขและความสมดุล ของคนในสังคม และพร้อมที่จะยืนหยัดแข่งขันได้ในทุกเวทีโลก


ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

31 มกราคม 2556

บรรยายโดย ดร.กมล  ตรรกบุตร

สรุปเนื้อหาจากการอบรม

- ดร.กมลได้อธิบายพื้นฐานในด้านพลังงานเรื่องแผนพัฒนาพลังงาน และสรุปสถานะของเรื่องแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น  กระบวนการเกิดสึนามิ  ผลที่เกิดกับรฟ.นิวเคลียร์ฟูกูชิมะ  รวมถึงวิธีการแก้ไขที่ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จในการควบคุมความเสียหาย 

- ในภาพรวมของประเทศไทยในเรื่องของพลังงานขั้นต้นพบว่าในเรื่องพลังงานจากก๊าซธรรมชาติการผลิตพลังงานไฟฟ้ายังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติอยู่มาก

- การใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่70% มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

- ภาพรวมของโลกน้ำมันเหลืออีก40 ปี

- ก๊าซธรรมชาติเหลืออีก70 ปี

- ถ่านหินเหลืออีก100กว่าปี

- แต่ถ้าเป็นยูเรเนียมเมื่อใช้แบบRecycle สามารถใช้ได้หลายพันปี

- การผลิตไฟฟ้าด้วยนิวเคลียร์มี 5 generation การพัฒนาแต่ละรุ่นจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพและการใช้งาน

- ปัจจุบันมีการซื้อไฟจากต่างประเทศจำนวนมาก  ทำให้การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยไม่มั่นคง

-จากภาวะโลกร้อนและเชื้อเพลิง fossilเหลือน้อยลงทุกขณะ แต่ปริมาณยูเรเนียมที่ยังมีใช้งานได้อีกนาน  ทำให้การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็น  แต่เพราะความไม่มั่นใจในความปลอดภัยในปัจจุบันทำให้อีกนานกว่าประชาชนจะยอมรับและได้ใช้นิวเคลียร์ในประเทศไทย

- สำหรับกำหนดการที่จะเริ่มโครงการนิวเคลียร์ในประเทศไทยขึ้นกับรัฐบาลที่ยังไม่ชัดเจนนักว่าจะเริ่มโครงการนี้ได้เมื่อใด  ซึ่ง กฟผ.ได้เคยริเริ่มและเตรียมการในเรื่องนี้นานมาแล้วแต่ก็ยังไม่สำเร็จจากปัญหาการยอมรับของประชาชนดังกล่าว

-ได้มีการสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพิ่มเติมในหลายประเด็น เช่น

  1. การกำจัด nuclear waste

  2. นโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับนิวเคลียร์ปี2026 เป็นนโยบายชัดเจนหรือเลื่อนไปอีก ทรัพยากรมนุษย์ที่มาทำเรื่องนี้จะมาจากไหน การจัดการกับNGOs ต่อรองได้เอาจริงไหม

  3. พลังงานทางเลือกที่เข้ามาใหม่คืออะไรเช่น Clean Coal ก็คงต้องศึกษาหรือทำวิจัยมากขึ้นเพราะต้องเพิ่มการจัดการขึ้นอีกมาก  ฃึ่งต้นทุนก็จะสูงขึ้นด้วยเป็นต้น




31 มกราคม 2556

กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

ศ.ดร.ปณิธานลักคุณะประสิทธิ์ศ.ดร.ปณิธานลักคุณะประสิทธิ์

สรุปเนื้อหาจากการอบรม

  อ.ได้บรรยายให้เห็นถึงภัยพิบัติอขนาดใหญ่ในหลายรูปแบบ
ฃึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 
ภัยพิบัติเหล่านี้มักจะเป็นเรื่องที่ทำนายไม่ได้(
unpredictable) และคาดหวังไม่ได้(unexpectable)
แต่อย่างไรก็ตามผู้นำที่เก่งจะต้องเป็นผู้มองการณ์ไกลและประเมินสภาพการณ์ให้ได้อย่างถูกต้อง

 
แม้เราจะมีแผนรองรับภัยพิบัติกันอยู่บ้างแล้วแต่ก็ต้องมีการทบทวนและประเมินสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปด้วย

  อ.ยังได้ให้ความเห็นว่า

· อาคารบัญชาการต่างๆ น่าจะมี Power
Grid Security สำรองไว้ด้วย

· ทุกครั้งที่คิดโครงการหรือเขียนแผน
เราต้องนึกถึง Worst Case Scenario และ Unexpected

- การดำเนินโครงการต่างๆให้คำนึงถึงความสามารถในการคืนสู่สภาพเดิม(resilience)ด้วย

1/2/56 (09.00 น. – 12.00 น.)

สรุปการบรรยายหัวข้อ: จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้ กับการทำงานของ กฟผ.

            โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

อาจารย์ ได้ กล่าวถึงประสบการณ์ ที่ผ่านมาในด้านการตลาด และการสื่อสารองค์กร ซึ่งงานดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์ กับ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งมี องค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวข้องอยู่ 7 ข้อดังนี้

1 General = Public

2 Governor

3 Media

4 Finance

5 Ngo. ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญอย่างมากกับ กฟผ.

6 Peer

7 Internal

 โดยสรุปแล้วทั้ง 7 หัวข้อมีความสำคัญ ต่อการดำเนินการ ของ กฟผ. ทั้งสิ้น เราต้องรู้จักให้ได้ว่า ใครคือผู้รับประโยชน์คนสุดท้ายของ ผลิตภัณฑ์ เมื่อหาได้แล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดทิศทาง และ เวลาในการดำเนินภาระกิจ ของ กฟผ. ต่อไป

(13.00 น. – 16.00 น.)

สรุปการบรรยายหัวข้อ: การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และ เทคนิคการตัดสินใจ ของ

  ผู้บริหารมืออาชีพ โดย รศ. สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้ง ในการทำงานไม่ไช่เป็นเรื่องแปลกในสังคมการทำงาน แต่ในบทบาทของผู้นำ เราต้อง อย่างทำความขัดแย้งส่วนรวมให้เป็นความขัดแย้งส่วนตัว เพราะ ความขัดแย้งส่วนตัว จะแก้ไขและหาข้อยุติยาก และจะทำให้หน่วยงานขาด ความร่วมมือ

เทคนิคการตัดสินใจ จะต้องประกอบด้วย

1 ข้อมูล 2 ประสบการณ์ 3 การคาดการณ์ 4 ผลกระทบจากการตัดสินใจ

เมื่อเรานำข้อมูลทั้ง 4 มาวิเคราะห์แล้ว จึงตัดสินใจ ผลลัพธ์ จะออกมา 3 ถูก

1 ถูกต้อง 2 ถูกใจ 3 ถูกจังหวะเวลา

การเจรจาต่อรอง  จะต้องทำความเข้าใจ ,ใช้ปิยะวาจา , หาสิ่งจูงใจ , ให้ข้อสรุป

 โดยสรุปการเจรจาต่อรอง ไม่มีใคร แพ้- ชนะ แต่จะต้องถูกหลักการ และ สมประโยชน์ ร่วมกัน

  นายภูวดา ตฤษณานนท์

      2/02/56

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารของข้าพเจ้า

31 มกราคม 2556

บรรยายโดยคุณหญิงทิพาวดีเมฆสวรรค์

 

 สรุปเนื้อหาจากการอบรม

อ.ได้เล่าประสบการณ์ในการทำงานกับผู้บังคับบัญชาให้ได้ดีสรุปได้ดังนี้

  -ไม่ต้องกลัวนาย

  -มีมารยาท  พูดจาสุภาพ

  - แสดงออกอย่างมีเหตุและผล

  -เอางานเป็นตัวตั้ง

หลักการของผู้นำ

1. พึ่งตนเองให้ได้  แก้ปัญหาด้วยตนเอง....โดยมีวิธีการคือการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ(well  prepare)

2. ต้องรู้จักตนเองและอย่าหลอกตัวเอง ....ต้องวิเคราะห์จุดแข็ง(stress) จุดอ่อน(weakness) รวมทั้ง ข้อจำกัด(limit)ของตนเองอยู่เสมอ....จะต้องรู้ตนเองดีว่าฝีมือตัวเราเองมีอยู่ที่ไหน? เพียงใด?  ...ต้องไม่ให้คนอื่นประเมินเรา สูงหรือต่ำเกินกว่าที่เป็นจริง

3. ต้องรู้จัก give & take.....คือ ไม่รับเรื่อยเปื่อย  หากจำเป็นต้องรับให้รับแต่น้อย  พยายามให้มากกว่ารับ การให้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน/สิ่งของ การให้ด้วยน้ำใจเป็นสิ่งสำคัญกว่าโดยเฉพาะในช่วงที่ผู้รับป่วย/กำลังทุกข์

4. รักษาเกียรติของหน่วยงาน .....อย่าปล่อยให้คนอื่นดูถูกหน่วยงานเราเองเพราะหมายถึงดูถูกตัวเราด้วย  ต้องมีความรักองค์กร  หากมีปัญหาก็ให้อยู่ภายในหน่วยงานไม่ให้หลุดออกสู่สาธารณะ





สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  1 กุมภาพันธ์ 2556

08.00-12.00 น.

“แนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.”

ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

ได้รับทราบกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กฟผ. แต่ละกลุ่มที่จะต้องใช้แนวทางการตลาดแบบต่างเข้าจัดการอันได้แก่

1.  General Public

2.  Government

3.  Media

4.  Finance

5.  NGO

6.  Peer

7.  Internal Public

ได้รับทราบทักษะความรู้ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมี 5 ด้านอันได้แก่

1.  การตลาด เพื่อให้ขายให้เป็น

2.  การผลิต เพื่อให้สามารถผลิต หรือสร้างเป็น

3.  การเงิน ต้องเข้าใจบริหารเจ้าหนี้ได้

a.  Balance Sheet จะแสดงฐานะของบริษัท

b.  Profit and Loss จะแสดงฝีมือการบริหาร

c.  Cash Flow จะแสดงถึงความมีชีวิตชีวาของบริษัท

4.  คน ต้องทำงานเป็นทีมได้

5.  -  Knowledge Management นำประสบการณ์และองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์

-  Information ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ควรรู้

-  Infrastructure รู้เครื่องมือที่จำเป็นที่สำคัญต้องใช้อะไรบ้าง

Definition of Marketing

1.  Mass Communication เพื่อสร้าง Commitment ให้สังคม ลูกค้ารับรู้

2.  Supply Chain Management (SCM) เพื่อสร้าง Supply ผู้ส่งมอบสินค้า/บริการ ให้กับเรา

3.  Retailing เพื่อสร้าง Contact Point ให้กับลูกค้า

13.00-16.00 น.

“การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ”

รศ.สุขุม  นวลสกุล

นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่านอกจากความเพลิดเพลิดที่ได้รับจากลีลาการพูดของท่าน อ.สุขุม แล้วยังได้เนื้อหาสาระนำไปใช้งานในการบริหารอีกเป็นต้นว่าความขัดแย้งมีกี่ประเภทมีสาเหตุมาจากอะไร และจะแก้ไขป้องกันได้อย่างไร รวมถึงเทคนิคในการประชุมข้อควรระวังอย่าทำให้ความขัดแย้งส่วนรวมไปเป็นความขัดแย้งส่วนตัว และการสร้างบรรยากาศในที่ประชุมเพื่อลดความขัดแย้ง เป็นต้น

ได้ข้อคิดดีๆในเรื่องการเจรจาต่อรอง เช่น

1.  การเจรจาต่อรองเป็นการพูดคุยหาทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การแพ้ชนะ

2.  ต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดีพอ รู้ว่าใครเป็นใคร อะไรคือเป้าหมาย และให้อ่านใจคนที่เราเจรจาด้วยบ้าง

3.  และที่สำคัญคืออย่าวางแผนเพื่อเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่งเพราะทุกคนย่อมจะกลัวเสียเปรียบ

การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเสมอ และถูกใจคน โดยอาจต้องดูจังหวะให้เหมาะสมด้วย องค์ประกอบของการตัดสินใจประกบด้วย

1.  ข้อมูล

2.  ประสบการณ์

3.  การคาดการณ์

4.  ผลกระทบ

5.  สถานการณ์


จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของกฟผ.

1 กุมภาพันธ์ 2556

บรรยายโดย
ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์
บุณยเกียรติ

 

อ.ได้สรุปลูกค้า 7 คนที่ กฟผ.ต้องสนใจเอามาเป็นเพื่อนหรือพวกเดียวกันให้ได้มีดังนี้

1. general public.....ต้องทำให้คนทั่วไปรู้สึกดีกับ กฟผ.

2. Government ต้องมีGovernment relation ที่ดี

3. Media คือการใช้สื่อช่วยประชาสัมพันธ์มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน

4. Finance แหล่งเงินของรัฐบาลและแหล่งเงินนอกระบบ

5. NGO ถ้าสามารถเชื่อมสัมพันธ์ได้จะเป็นมหามิตรที่ดีแต่ถ้าไม่สามารถเชื่อมสัมพันธ์ได้จะกลายเป็นมหาศัตรู

6. PEER ...เช่นเพื่อนฝูงที่เป็นนักธุรกิจด้วยกันเพื่อนรัฐวิสาหกิจของท่านเอง

 7.INTERNALเป็นส่วนสำคัญที่สุดเช่น สหภาพแรงงาน

สิ่งที่ผู้จะเป็นใหย่ต้องรู้5 ด้าน(เปรียบเหมือนรถมี4ล้อและยางอะไรอีก 1ล้อ)

1. รู้เรื่องกรขาย การตลาด

2. รู้เรื่องการผลิต

3. รู้เรื่อง บัญชี การเงิน

4. รู้เรื่องการทำงานเป็นทีมได้( HR )

5. รู้เรื่องสนับสนุน 3เรื่อง

- การจัดการความรู้(KM )

 - ข้อมูลที่จำเป็น (Information) 

- เครื่องมืออะไรที่ต้องใช้




การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2556

โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

  สรุปเนื้อหาจากการอบรม

  อ.อธิบายถึงเกี่ยวกับความขัดแย้งว่าความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไปโดยความขัดแย้งส่วนรวม ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้มีทางเลือกที่เหมาะสมได้แต่ความขัดแย้งส่วนตัวทำให้เกิดอุปสรรคขาดความร่วมมือในการทำงาน 
หลักสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคือต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งส่วนรวมกลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

  ความขัดแย้งมี 3 รูปแบบคือ

-  ระหว่างบุคคล – บุคคล

-  ระหว่างบุคคล – องค์กร

-  ระหว่างหน่วยงาน-หน่วยงาน

ความขัดแย้งระหว่างบุคคล.....เกิดจากความอิจฉาริษยา  การเอารัดเอาเปรียบ
                                       ....การป้องกันคือหัวหน้าต้องแสดงออกอย่าง
เสมอภาคทั้งในและนอกเวลางาน

ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ.....เกิดจากการไม่เข้าใจ ไม่อธิบาย
                                                      .....การป้องกันคือหัวหน้าต้องทำตัวเป็นโฆษกคือต้องอธิบายเหตุผลด้วย 

                                                           ไม่ใช่เป็นแต่ผู้อ่านข่าวอย่างเดียวเท่านั้น

ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน........เกิดจากไม่เข้าใจบทบาท หรือหลงหน่วยงาน

                                              .....การป้องกันคือหัวหน้าต้องเป็นผู้ประสานงาน

การตัดสินใจ......ต้องแม่นกฏระเบียบ  ลดความเกรงใจ และ ไม่โอ้อวด

การเจรจาต่อรอง........ต้องรู้ว่าจะเจรจากับใคร เรื่องอะไร เป้าหมายคืออะไร

การเตรียมการเจรจาต่อรอง.....เจรจากับใครด้วยเรื่องอะไร   

                                      ......มีเป้าหมาย(อาจไม่ได้ทั้งหมด)และอ่านใจ(คิดล่วงหน้า)




ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมวันที่ 1 กพ. 56

แนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้ในการทำงานของ กฟผ.
โดย ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

กฟผ.ขายไฟฟ้าไม่มีคู่แข่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องใช้อยู่แล้ว
แต่ กฟผ. จะขาย Brand ขาย Trust

Demand Focus ออกเป็น
1. Mass Communication สื่อสารให้กับ Stakeholderประชาชนคนใช้ไฟถึงสิ่งดีๆที่กฟผ.ทำ
2. SCM (Supply Chain Management)บริหารคนที่ต่อจากเราคือ กฟน.และ กฟภ.
3. Retail  คนรับเรื่อง Contact point ก็ต้องดูแลให้ดี  เป็นภาพพจน์ของ กฟผ

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ
โดย รศ.สุขุม  นวลสกุล
 

สามารถนำไปใช้กับ กฟผ. และชีวิตประจำวันได้ดังนี้

ความขัดแย้งถ้าเป็นเรื่องส่วนรวมขององค์กรถือเป็นเริ่องดีเพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุด 
แต่ถ้า
เป็นรื่องส่วนตัวไม่ดี

องค์ประกอบการตัดสินใจ ประกอบด้วย ข้อมูล,  ประสบการณ์,  การคาดการณ์, ผลกระทบ และ สถานการณ์

หลักการเจรจาต่อรอง  ประกอบด้วย ทำให้เข้าใจ,  ใช้ปิยวาจา,  หาสิ่งจูงใจ  และ ให้ข้อสรุป

8k's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับในประชาคมอาเซียน

           นับว่าเป็นโอกาสอันดีของข้าพเจ้าที่ได้เข้าร่วมอบรม โครงการอบรมหลักสูตร EGAT Assistant Director Development Program (EADP)ประจำปี 2556  และขอขอบคุณ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดหลักสูตรที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะทีมวิทยากร อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ดูแลหลักสูตรนี้ ข้าพเจ้าหวังอย่างยิ่งว่ารุ่นต่อๆไปจะมีโอกาส ได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ อีกเช่นกัน ท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้มีองค์ความรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งจนรู้ถือเป็นสัญลักษณ์ขององค์ความรู้ในเรื่องของการพัฒนาของคนกับศักยภาพในการพัฒนาประเทศและพัฒนาองค์กร”

           ทรัพยากรมนุษย์ได้มีการพัฒนา แนวคิดมาโดยตลอดจาก มีการใช้สรรพนามแทนกลุ่มและมีการเปลี่ยนแปลงชื่อตามบริบทที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่คำว่า กลุ่มทาส กลุ่มแรงงาน กลุ่มลูกจ้าง และกำลังก้าวเข้าสู่ยุคกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มทรัพยากรมนุษย์นี้เริ่มมีบทบาท เป็นฟันเฟืองหลักและมีความสำคัญมากขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและมีการแข่งขันสูง มนุษย์ทุกคนเริ่มได้รับผลกรับกระทบ เช่นเดียวกันกับคนไทยที่จะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นใน ปี 2558 นี้  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกลุ่ม 10 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia)  ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจเดียวกัน ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูใน ลาว กัมพูชา เวียตนามและเมียมาร์ จะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community(AEC) จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลกรทบต่อเศรษฐิจ สังคม  ท่ามกลางกระแสการแข่งขันในโลกนี้ ผู้ที่จะอยู่รอดอย่างมั่นคงและยั่งยืน จะต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้น จะต้องเตรียมตัวเพื่อแข่งขันกับทุกๆ ประเทศในโลกให้ได้อย่างแก่กล้า

            ประเทศไทยเราโชคดีที่มีท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านอาจารย์มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เล็งเห็นความจำเป็นในด้านการพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ ท่านอาจารย์ได้เริ่มศึกษาและเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์มากว่า  30 ปี ปัจจุบันกระทรวงพานิชน์ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการจัดทำแผนธุรกิจแห่งชาติได้บรรจุเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  11

           การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชีย  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสนอ 10 ประเด็นสำคัญที่คนไทยควรจะต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซีอเสรำด้อย่างมั่นคงและสง่างาม ในประเด็นที่ 9 การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์เพื่อความอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ ซึ่งท่านอาจารย์ได้แสดงความเชื่อมั่นว่าทฤษฎี 8K’s +5K’s สามารรถตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างชัดเจและสมบูรณ์ 

      ทฤษฎีทุน 8 ประการ(8 K’s)เป็นพื้นฐานการพัฒนาทัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยทุนพื้นฐาน ดังนี้ 

1.  Human Capital     ทุนมนุษย์

2.  Intellectual Capital    ทุนทางปัญญา

3.  Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

4.  Happiness Capital  ทุนแห่งความสุข

5.  Social   Capital  ทุนแห่งสังคม

6.  Sustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืน

7.  Digital Capital  ทุนแห่ง IT

8.  Talented Capital  ทุนแห่งการเรียนรู้ ทักษะและทัศนคติ 

ทฤษฎีทุน 5 ประการ(5 K’s new)ทัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัฒน์ต้องตระหนักถึงทุนสำคัญเพิ่มอีก 5 เรื่องประกอบด้วยทุน ดังนี้

1.  Knowledge Capital  ทุนการเรียนรู้

2.  Creativity Capital  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

3.  Innovation Capital  ทุนทางวัตกรรม

4.  Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม

5.  Emotion Capital  ทุนทางอารมณ์

ทฤษฎีแนวคิด  8K's +ทฤษฎีแนวคิด  5 K’s(new) จะช่วยให่ประเทศไทยมีทุนมนุษย์ ทีมีคุณภาพ ที่เพียงพอ ที่จะอยู่รอดสามารถแข่งขันในในสังคมอาเซียเสรีได้อย่างสง่างาน

          สรุป สาระองค์ความรู้ในหนังสือ เรื่อง 8k's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับในประชาคมอาเซียน โดยอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เล่มนี้ จะไม่เกิดประโยชน์ หากทุกท่านโดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยนวข้องไม่นำแนวคิดและความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ ไปปรับพฤติกรรมและช่วยกันสร้างจิตวิญาณของการเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคมไทย 


เรียน ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

หัวข้อ จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใฃ้การทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  การตลาดจะสำเร็จได้ต้องคำนึงถึง Public 7 ข้อ ดังนี้

1. General Public  อธิบายมวลชนได้ ไม่ให้เฃ้าใจผิด

2. Government Public พร้อมชี้แจงและเข้าถึง เพราะรัฐ กำหนดนโยบายและจัดสรรทรัพยากร

3. Media ใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ แต่ควรระวังในการตอบสื่อในประโยคแรกๆ

4. Finance เป็นเงินในระบบ หรือ เงินนอกระบบ/เงินความช่วยเหลืออื่นๆ

5. NGO ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องดึงเป็นแนวร่วม

6. PEER เพื่อน/แนวร่วม เพื่อนรัฐวิสาหกิจ

7. Internal/สหภาพแรงงาน ต้องทำความเข้าใจและเป็นแนวร่วม

  กาเปรียบ กฟผ. เป็นรถยนต์ มี 5 ล้อ ในการขับเคลื่อน

ล้อที่ 1 ต้องขายเป็น คือมีการตลาด

ล้อที่ 2 มีโรงงาน/ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ/มีความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

ล้อที่ 3 บัญชี/การเงิน เพื่อนเก็บข้อมูล และบริหารการเงิน

ล้อที่ 4 ต้องทำงานเป็นทีม HR

ล้อสำรอง ล้อที่ 5 ต้องมี KM ในการจัดองค์ความรู้/ดึงประสบการณ์ ออกมาใช้

   ต้องมี Information รู้ข้อมูล/ข้อเท็จจริง

   ต้องมี Infrastructure มีเครื่องมือ มีknow how

  การตลาดต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าDemand Focus ซึ่งมี Definition Marketing 3 ประการ คือ

1. Mass Communication สื่อสารกับมวลชน คือการให้สัญญา

2. Supply Chain Management (SCM)  Delivery หรือ ทำตามสัญญา

3. Retail เป็น contact point

การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง

โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้ง

   ความขัดแย้ง คือ ความไม่เหมือน ไม่ตรงกัน

  ความขัดแย้ง คือ อุปสรรค ขัดขวาง พินาศ

  ความขัดแย้ง คือ ทางเลือก พัฒนา

ความขัดแย้ง มี 3 ประเภท

1. ระหว่างบุคคล-บุคคล หัวหน้าต้องทันเกม, ไม่เปิดโอกาสให้เอาเปรียบกัน

2. บุคคล-หน่วยงาน คือ ความไม่เข้าใจในบทบาทของหน่วยงาน และหลงในหน่วยงานตัวเอง

การตัดสินใจ

  การตัดสินใจผู้บริหารต้องตัดสินใจเร็วและอยู่บนพื้นฐาน

1. แม่นในกฏระเบียบ

2. ลดการเกรงใจ

3. ไม่โอ้อวด

องค์ประกอบการตัดสินใจต้อง

1. เปิดรับข้อมูล

2.  แสวงหาประสบการณ์

3.  การคาดการณ์

  4.  ผลกระทบจากการตัดสินใจ

  5. สถานการณ์

การวิเคราะห์การตัดสินใจ

1. ถูกต้อง

2. ถูกใจ

3. ถูกจังหวะ

การเจรจาต่อรอง

  การเจรจาต่อรองคือการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลง จากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน

  การเจรจาต้องเตรียมการว่าต้องเจรจากับใคร ในเรื่องอะไร มีเป้าหมาย อ่านใจ และคิดล่วงหน้า

หลักการเจรจา

  ด้องมีความเชื่อมั่น ทำความเข้าใจ ใช้ปิยวาจา หาสิ่งจูงใจ และให้ข้อสรุป

  นายวีระ วิสุทธิ์

  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

  สายงานเชื้อเพลิง


การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง

1 กุมภาพันธ์ 2556 โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

อาจารย์บรรยายได้อย่างดี ดึงดูดความสนใจตลอดเวลา พอสรุปได้

การบริหารความขัดแย้ง

· ความขัดแย้งมักมองในด้านไม่ดี แต่การเป็นนักบริหารที่ดีต้องมองว่าเป็นทั้งสองด้าน คือ เป็นอุปสรรคขัดแย้ง กับ นำสู่การพัฒนาที่ดีกว่า ซึ่งนักบริหารต้องสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในทางที่ดี และป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งในทางที่ไม่ดี

อาจารย์นำเสนอการบริหารความขัดแย้งได้ดีมาก เช่น

·  ความขัดแย้งในส่วนรวมเป็นเรื่องดี คนเป็นนักบริหารต้องทำให้เกิดขึ้น เพราะทำให้มีทางเลือกมากขึ้น ·  ก่อนออกความเห็นอย่าไประรานความเห็นคนอื่น เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งส่วนตัว ระวังอย่าเอาความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องส่วนตัว

-ถ้าบรรยากาศกำลังเครียด ๆ ไม่ควรให้คนกำลังโมโหพูด ถ้าจะชี้ให้พูดให้ชี้คนใจเย็น ๆ พูด

-พยายามให้เขาพูดในที่ประชุมเยอะขึ้น ตั้งคำถามมากขึ้น เพื่อไม่ต้องไปพูดลับหลัง

·  การบริหารความขัดแย้งต้องสนับสนุนความขัดแย้งเรื่องส่วนรวม ระวังความขัดแย้งส่วนตัว ไม่ดึงเอาความขัดแย้งส่วนรวมเป็นส่วนตัว

ความขัดแย้งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.  ระหว่างบุคคล & บุคคล ต้องบริหารไม่ให้เกิดความขัดแย้งประเภทนี้ขึ้น

2. ระหว่างบุคคล & องค์การ เช่น มีกฎระเบียบออกมาแต่ลูกน้องไม่เข้าใจ หัวหน้าต้องเป็นตัวกลางในการเป็นโฆษก อย่าวางตัวเป็นผู้ประกาศข่าว ทำหน้าที่ลดความขัดแย้ง

3. ระหว่างหน่วยงาน & หน่วยงาน ปัญหาเกิดจากความไม่เข้าใจบทบาท และหลงหน่วยงาน คนที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานของแต่ละหน่วยงานต้องเป็นผู้ประสานงาน

 การตัดสินใจ จะทำได้ดีต้อง

  1. แม่นกฎระเบียบ

  2. ลดความเกรงใจ

  3. ไม่โอ้อวด

องค์ประกอบการตัดสินใจ

-  ข้อมูล ต้องเป็นคนเปิดรับข้อมูลฟังการวิพากษ์วิจารณ์

-  ประสบการณ์ สามารถแสวงหาได้ ปัจจุบันนี้เน้นความสามารถ  

-  การคาดการณ์ การตัดสินใจนี้มีผลกระทบอะไร  -  ผลกระทบ-  สถานการณ์

การเจรจาต่อรอง

-  เป็นการหาข้อตกลงจากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน

-  คนที่มาเจรจาต่อรองเพราะมีความคิดไม่ตรงกัน ผลประโยชน์ไม่ตรงกัน

การเตรียมการ

-  เราต้องรู้ว่าคนที่เราเจรจาคือใคร – ต้องการอะไร

-  เป้าหมาย – อ่านใจล่วงหน้า

หลักการเจรจา สิ่งที่เขากลัวมากที่สุดคือความเสียเปรียบ

ดังนั้นหลักคือ ความเชื่อมั่น กลัวเสียเปรียบ (ทำให้เข้าใจ  ใช้ปิยวาจา หาสิ่งจูงใจ ให้ข้อสรุป)


จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

1 กุมภาพันธ์ 2556 โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

การตลาดมีความสำคัญอย่างไร

จะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร? การคุยมากไปก็เหมือนกับการสร้างภาพ

สิ่งแรกน่าสนใจคือ Public มีดังนี้

1.  คนทั่วไป general public

2.  Government  รัฐบาลในต่างประเทศ จะเป็นผู้จัดสรร  แต่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของ  

 3.  Media คือการใช้สื่อช่วยประชาสัมพันธ์ มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน

4.  Finance แหล่งเงินของรัฐบาล และแหล่งเงินนอกระบบ สิ่งที่อยากฝากสำหรับ EGAT คือ เงินนอกงบประมาณอยู่ที่ไหน เราต้องเรียนรู้การมีวินัยทางการเงิน

5. NGO เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ใหญ่มาก  ถ้าสามารถเชื่อมสัมพันธ์ได้จะเป็นมหามิตรที่ดี แต่ถ้าไม่สามารถเชื่อมสัมพันธ์ได้จะกลายเป็นมหาศัตรู

6. PEER คือ เพื่อนฝูงที่เป็นนักธุรกิจด้วยกัน  เพื่อนรัฐวิสาหกิจ

7. INTERNAL เป็นส่วนสำคัญที่สุด เช่น สหภาพ พนักงาน

ผู้จัดการที่ดีจะต้องรู้ 5 อย่าง

เหมือนต้องรู้สภาพของล้อรถทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่อีก 1 ล้อ

1. ยางหน้าขวา คือ ขายเป็นหรือไม่ รู้การตลาด

2. ยางหน้าซ้าย ผลิต คือ โรงงาน EGAT คือสถานที่ทำอะไร ไม่ใช่แค่ผลิตไฟฟ้า แต่ Power ไม่ได้อยู่ตรงนั้น

3. ยางหลังซ้าย คือ บัญชี - การเงิน ต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารการเงินให้ดี

4. ยางหลังขวา คนทำงาน ตัวอย่าง Manager ต้องสร้างให้ลูกน้องสามารถทำงานได้แม้ไม่มีหัวหน้าอยู่

5. ยางอะไหล่ 3 เรื่อง

- KM คือ ประสบการณ์ที่จะต้องใช้การจัดการ หรือการจัดการประสบการณ์

 - Information คือข้อเท็จจริง 3 เรื่องที่ต้องรู้ การรู้จัก Hero

-  Knowhow คือเครื่องมืออะไรที่ต้องเอาไป

ถ้าองค์กรนี้จะเปลี่ยนเป็นองค์กรทางการตลาด

·  ต้องมองจาก Outside in หรือเรียกว่า Demand Focus นั้นทำอย่างไร

Demand Focus

1. Mass Communication สื่อสารมวลชน เป็น 1 ใน 3 ส่วนที่เสียมากคือ High Cost แพงมาก ต้องจ่ายก่อน แต่ไม่รู้ว่าได้กลับมาคุ้มหรือเปล่า

2. SCM – Supply Chain Management เราต้องทำการบ้านก่อนว่าผู้บริโภคต้องการอะไร

3. Retail – EGAT ต้องทำเป็น One stop shop แล้วตอบข้อมูลได้หมด 


เรียน   ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่  30 มกราคม 2556

หัวข้อ  Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

โดย  อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์

Mind Mad แผนที่ทาวความคิดมีประโยชน์มากในการวางแผนการบริหารจัดการ เป็นการฝึกสมองซีกซ้ายและซีกขวา    สมองซีกซ้าย  - รูปธรรม, การวิเคราะห์

  สมองซีกขวา  - นามธรรม, จินตนาการ, อารมภ์, ดนตรี, การผ่อนคลาย

ความจำของสมอง จะมีลักษณะการจำเป็นรูปเรือหงส์ จะจำบริเวณหัวและหางเรือได้ดีกว่า ส่วนกลางลำเรือจะใช้วิธีการจินตนาการ 

การจดบันทึก แบบ 5 ส

1.  จดเป็นภาพ

2.  สั้น

3.  เส้น

4.  สี

5.  สวย

  การทำ Mind Map เป็นการฝึกสมองทั้งซีกซ้ายและขวาเชื่อมโยงข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการคิดแผนงาน/โครงการ สามารถมองในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อ  Creative Thinking and Value Creations และการออกแบบโครงการ เพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โดย  อ.ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

อาจารย์ให้แง่คิดจากประสบการณ์ในการทำงานโดย

1.  ได้ยกตัวอย่างหมู่บ้านแม่กำปอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านยั่งยืนเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นหมู่บ้านที่ไม่ต้องใช้งบประมาณจากรัฐ

2.  ในการขึ้นโครงการต้องรู้ความต้องการลูกค้า Sense and Respond ไม่ใช่ Make and Sale ซึ่งเป็นวิธีการเดิมอาจจะไม่เหมาะสม ต้องมีการสำรวจความต้องการ Value Exploroth..

3.  Creative Thinking

-  Creative Thinking skill คิดอย่างเป็นระบบ

-  Expertise โดยความช่วยเหลือจากผู้รู้

-  Motivation เช่น นอเงือกที่แก่งกระจาน ที่ช่วยแพร่พันธุ์ไม้

4. การคิดบวก พลังแห่งคว่ามคิด ความคิดสร้างสรรค์คิดต่างได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้

หัวข้อ  การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

โดย  อ.กิตติ ชยางคกุล

อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำโครงการ โดยกลุ่ม 4  เรื่อง  ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี 2025 โดยสนองวิสัยทัศน์ กฟผ. และต้องตอบ 2R คือ Relevance และ Reality และโครงการจะต้องมี 3V คือ Value Added} Value Creation, Value Diversity

ขอบคุณครับ

นายวีระ วิสุทธิ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน สายงานเชื้อเพลิง


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 1 ก.พ. 56

หัวข้อ จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้ในการทำงานของ กฟผ.

     ให้ความรู้และแนวคิดที่ดีในเรื่องการตลาด เพราะถึงแม้ กฟผ. จะเป็นหน่วยงานผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการ  มีลูกค้าเพียง กฟน. กฟภ. และลูกขายขายตรงอีกไม่กี่แห่ง  ซึ่งเรื่องการตลาดน่าจะไม่มีความสำคัญมากนัก แต่วิทยาการได้ชี้ให้เห็นว่า ยังมีกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของ กฟผ. และควรทำการตลาดกับกลุ่มบุคคลเหล่านี้ เช่น รัฐบาล สื่อ NGO เพื่อนรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงาน รวมถึงประชาชนทั่วไป

หัวข้อการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

     ได้รับทราบถึงลักษณะของความขัดแย้ง ซึ่งบางส่วนมีข้อดี เพราะความเห็นที่แตกต่าง ทำให้มีความหลากหลายทางความคิด สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ สำหรับความขัอแย้งที่ทำให้แตกแยก ได้ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข

     ในเรื่องการตัดสินใจ ได้ชี้ให้ทราบถึงองค์ความรู้ และองค์ประกอบที่ช่วยในตัดสินใจ

     ในเรื่องการเจรจาต่อรอง ได้ให้ข้อคิดที่ดีว่าไม่ใช่เพื่อมุ่งเอาเปรียบหรือเอาชนะ

     ทั้ง 2 หัวข้อ วิทยากรเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ สามารถเล่าเรื่องจากประสบการณ์จริงได้อย่างสนุกสนาน
น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อเหมือนการเรียนจากตำรา

 

นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุป ความรู้ที่ได้จากวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 แบ่งเป็น 2 ช่วง

โดยช่วงแรก เป็นการบรรยาย เรื่อง “จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.”โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

ท่านอาจารย์ได้แนะนำผู้เกี่ยวข้องมี 7 ผู้เกี่ยวข้อง คือ

1. General Public ประชาชนทั่วไปดูความต้องการของผู้ใช้ให้ออกว่าต้องการอะไร

2. Government รัฐบาล กระทรวงพลังงาน Regulator

3. MEDIA สื่อสารมวลชน

4. Finance แหล่งเงินนอกระบบ

5. NGO ในส่วนนี้ จะมีความขัดแย้งกับ กฟผ. มากที่สุด

6. PEER เพื่อฝูง รัฐวิสาหกิจอื่นๆ เช่น กสท. TOT รฟท. เป็นต้น ซึ่งต่อไป การใช้ทรัพยากรร่วมกันตามที่รัฐบาล และสคร. ให้รัฐวิสาหกิจร่วมกันมีบทบาทขึ้น กฟผ.มีสายส่งที่มี OPTIC FIBER เดินสายไปกับไฟฟ้าแรงสูงก็จะมีร่วมใช้ กับ กฟภ. กฟน. กสท. TOT หรือบริษัทเอกชน ส่วนแนวทาง right of way อาจมีบทบาทใช้เป็นทาง รถไฟฟ้า ได้

7. Internal Public ได้แก่สหภาพ กฟผ. ซึ่งมีบทบาททั้งช่วย และ ขัอขว้างได้

ดังนั้นในเรื่องการตลาดจึงต้องใส่ใจกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง 7

และการที่ องค์กร จะไปรอดได้ หรืองาน โครงการต่างๆจะไปได้ ต้องอาศัย คนขับรถที่มีล้อทั้ง 5  ล้อขับเคลื่อน โดยถ้าขาดอะไรให้เสริมเติมล้อนั้นขึ้นมา ล้อต่างๆ มี

1. ขายเป็นหรือไม่ (การตลาด)

2.โรงงานผลิต ของ กฟผ.มีอยู่แล้ว ผลิตไฟฟ้า ส่งจ่ายไฟฟ้าขาย กฟน. กฟภ. อาจทำธุรกิจอื่นที่ขาย ไม่ใช่ไฟฟ้าอย่างเดียว

3. เงิน ด้านบัญชีต้องถูกต้อง การใช้เงินต้องดูเรื่อง

  3.1. Balance/Sheet

  3.2 Profit / Loss

3.3 Cash / Flow

  4. คน การทำงานเป็นทีม มี strategic HR

  5.ประสบการณ์  ประกอบด้ว 3 เรื่อง

  5.1 KM ต้องเก็บความรู้ของคนในองค์กร

  5.2 Information ข้อเท็จจริง

  5.3 Infrastructure เครื่องมือที่ต้องนำไปใช้

ท้ายสุด Demand Focus ที่มี 3 เรื่อง คือ

1. Mass Communication สิ่อสารมวลชน ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูง ต่ได้ผลครอบคลุมเกือบทุกคน

2. Supply Chain Management ต้องทุกขั้นตอนในการผลิต ส่งต่อ จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย สำรวจ ความต้องการในแต่ละขั้นตอน

3. Retail หรือ contact point ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความประทับใจ แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง

ช่วงบ่าย บรรยายเรื่อง การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โย รศ.สุขุม นวลสกุล

1. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ดี และไม่ดี ดังนั้นต้องสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งไปในทางที่ดี

2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ให้เกิดเป็นส่วนรวมในการแสดงคงามคิดที่ดี และต้องระวังไม่ไห้เกิดไปเป็นความขัดแย้งส่วนตัว ต้องระงับ ก่อนเกิดขึ้น เช่น ถ้าบรรยากาศเคร่งเครียด มีการโต้กันที่จะก่อความรุนแรง ให้สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย หรือหันเหเรื่องออกไป เป็นต้น ส่วนที่ผู้ที่ไม่ชอบพูดในที่ประชุม ชอบพูดหลังเลิก ก็ให้เสนอในที่ประชุม ข้อสำคัญ อย่าไปเสียดสี หรือหัวเราะความคิดเห็นของคนอื่น และไม่ก้าวก่ายความเห็นของคนอื่น

3. ประเภทคความขัดแย้ง มี 3 ประเภท คือ

3.1 บุคคล กับ บุคคล ประเภทนี้ต้องไม่ให้เกิดขึ้น ต้องกันดีกว่าแก้ ผู้บริหารต้องวางตัวให้ดี มีเมตตาอย่างเสมอภาค ต่อทุกคน และอย่าให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ต้องทันเกมส์ และจดความดีของลูกน้องบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้เมื่อมีการให้รางวัล

3.2 บุคคล กับ องค์กร การเกิดมักเป็นเรื่อง กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ ข้อบังคับ การดำเนินการ คือ ในที่ประชุม หัวหน้าต้องทำความเข้าใจ ก่อนไปในทางวเดียวกัน แล้วจึง อธิบาย ชี้แจงให้พนักงานรับทราบ เข้าใจ ผู้บริหารต้องเป็นโฆษก คือต้องบอกได้ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้น อธิบายที่มาได้

3.2 หน่วยงาน กับ หน่วยงาน มักเกิดจากการไม่เข้าใจบทบาท และหลงหน่วยงานตนเอง ดังนั้นผู้บริหารต้องเข้าใจบทบาทตนเอง ว่าเป็นผู้ประสานงาน อย่าไปคิดว่าหน่วยงานใดเป็นหลัก หรือดีกว่าที่อื่น ต้องสอดสายตาดูแลลูกน้อง และทำความเข้าใจทุกหน่วยงาน

4. สิ่งสำคัญของนักบริหาร คือ การตัดสินใจ ผู้บริหารต้องอย่าตัดสินใจช้า ต้องเร็ว โดยยึดหลัก  3 ประการ คือ

4.1 แน่นยำกฎระเบียบ

4.2 ลดความเกรงใจ

4.3 ไม่โอ้อวด

องค์ประกอบในการตัดสินใจ มี

-  ข้อมูล ที่ถูกต้อง ตรงประเด็น และรับฟังคำผู้อื่นได้

-  ประสบการณ์

-  การคาดการณ์ ว่าจัเกิดอไรขึ้น ถ้าตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง

-  ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินใจไปแล้ว

-  สถานการณ์รอบด้าน เหมาะสมกับทางเลือกใด

และการตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐาน 3 ถูก คือ

ถูกต้อง

ถูกใจ ถ้าไม่ถูกใจ ต้องรอจังหวะ

ถูกจังหวะ คือ เมื่อคนเข้าใจ ตามธรรมชาตื กระแส หรือตามที่เราเข้าไปสร้างความเข้าใจ

นอกจากนี้ยังต้องมีที่ปรึกษาที่ตรงเฉพาะด้าน เพราะบางครั้งเป็นการตัดสินใจในเรื่องที่เราไม่ถนัด

5. การเจรจาต่อรอง เป็นเรื่องของการพูดคุย เพื่อหาข้อตกลง จากความคิด หรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน ต้องรู้ว่าผู้ที่เราเจรจาด้วย คือใคร เป้าหมายของเขาเป็นอย่างไร ต้องอ่านใจเขาให้ออก

  หลักการเจรจา ต้องมีความเชื่อมั่น และอย่าไปเอาเปรียบเขา ต้องทำความเข้าใจ ใช้ปิยวาจา หาสิ่งจูงใจว่าเขาได้อะไร และให้ข้อสรุปที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย


เรียน   ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอแก้ไขเนื่องจากพิมพ์ผิดมากมาย

วันที่  30 มกราคม 2556

หัวข้อ  Mind Mapping สำหรับผู้บริหารและการวางแผนโครงการเชิงนวัตกรรม

โดย  อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์

Mind Map แผนที่ทางความคิดมีประโยชน์มากในการวางแผนการบริหารจัดการ เป็นการฝึกสมองซีกซ้ายและซีกขวา    สมองซีกซ้าย  - รูปธรรม, การวิเคราะห์

  สมองซีกขวา  - นามธรรม, จินตนาการ, อารมณ์, ดนตรี, การผ่อนคลาย

ความจำของสมอง จะมีลักษณะการจำเป็นรูปเรือหงส์ จะจำบริเวณหัวและหางเรือได้ดีกว่า ส่วนกลางลำเรือจะใช้วิธีการจินตนาการ 

การจดบันทึก แบบ 5 ส

1.  จดเป็นภาพ

2.  สั้น

3.  เส้น

4.  สี

5.  สวย

  การทำ Mind Map เป็นการฝึกสมองทั้งซีกซ้ายและขวาเชื่อมโยงข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการคิดแผนงาน/โครงการ สามารถมองในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อ  Creative Thinking and Value Creations และการออกแบบโครงการ เพื่อการพัฒนา กฟผ. ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โดย  อ.ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

อาจารย์ให้แง่คิดจากประสบการณ์ในการทำงานโดย

1.  ได้ยกตัวอย่างหมู่บ้านแม่กำปอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านยั่งยืนเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นหมู่บ้านที่ไม่ต้องใช้งบประมาณจากรัฐ

2.  ในการขึ้นโครงการต้องรู้ความต้องการลูกค้า Sense and Respond ไม่ใช่ Make and Sale ซึ่งเป็นวิธีการเดิมอาจจะไม่เหมาะสม ต้องมีการสำรวจความต้องการ Value Exploration

3.  Creative Thinking

-  Creative Thinking skill คิดอย่างเป็นระบบ

-  Expertise โดยความช่วยเหลือจากผู้รู้

-  Motivation เช่น นกเงือกที่แก่งกระจาน ที่ช่วยแพร่พันธุ์ไม้

4.  การคิดบวก พลังแห่งคว่ามคิด ความคิดสร้างสรรค์คิดต่างได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้

หัวข้อ  การเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

โดย  อ.กิตติ ชยางคกุล

อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำโครงการ โดยกลุ่ม 4  เรื่อง  ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี 2025 โดยสนองวิสัยทัศน์ กฟผ. และต้องตอบ 2R คือ Relevance และ Reality และโครงการจะต้องมี 3V คือ Value Added Value Creation, Value Diversity

ขอบคุณครับ

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน สายงานเชื้อเพลิง


ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

31 มกราคม 2556 โดย ดร.กมล  ตรรกบุตร ,ศ.ดร.ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์

ดำเนินการโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

- เริ่มการบรรยายโดย ดร.กมล ตรรกบุตร ปูพื้นฐานในด้านพลังงานและสรุปเรื่องแผ่นดินไหว

- ภาพรวมพลังงานโลก น้ำมันเหลืออีก 40ปี ก๊าซธรรมชาติ 70ปี ถ่านหิน 100กว่าปี

- แต่ถ้าเป็นยูเรเนียมเมื่อใช้แบบ Recycleสามารถใช้ได้หลายพันปี

- การผลิตไฟฟ้า มี 5 generation การพัฒนาจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพและการใช้งาน

· กรณีของคาซิวาซากิที่เป็นของโตเกียว ได้เอาประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของฟูโกชิมามาแก้ไข ตัวอย่างเช่น เอาเครื่องดีเซลมาใช้ทันที

· ประเทศไทยได้ดำเนินการในขั้นต้นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เรียบร้อยแล้ว และได้รับความเห็นชอบจาก IAEA 

บทสรุป

ดร.กมล  ตรรกบุตร

ปัจจุบันมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติค่อนข้างมาก การซื้อไฟจากต่างประเทศ ทำให้ไม่มั่นคง

เห็นด้วยในเรื่อง CleanCoal 100 % แต่ขึ้นอยู่กับว่าไปศึกษามากน้อยแค่ไหน ต้องมีระบบกำจัดที่มีต้นทุนมาก

เราเตรียมความพร้อมเรื่องคนมากน้อยเพียงใด เช่นเวียดนามเมื่อเปิดแล้วอาจเอาคนของ กฟผ.ไปด้วยเช่นกัน

กฟผ.มีการเตรียมพร้อมด้าน Infrastructure แล้ว เรื่องของวิศวกรรม คุยกันแล้วจูนอัพให้เข้ากันได้  ดังนั้นการเจรจาจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ผ่านไปได้

ในอนาคตความเป็นไปได้ในการผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรมจะทำอย่างไร

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวลาบรรจุในแผนเพราะสำคัญ แต่ถึงเวลาแล้วสามารถเลื่อนได้ การเปลี่ยนรัฐบาลยังเปลี่ยนแนวคิด และเปลี่ยนแผนได้ รัฐบาลเข้าใจในการสื่อสารที่ดีพอหรือไม่

ดร.ปณิธาน

เรื่องClean Energyเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่อยากถามเรื่องผู้ที่เกี่ยวข้องจะจัดการเรื่อง Nuclear Waste ได้อย่างไร

ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะจัดการของเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  ทำไมไม่เน้นเรื่องการจัดการให้เยอะขึ้น ให้การศึกษาประชาชนมากขึ้น และตอบแทนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ 

กฟผ.พร้อมรับภัยพิบัติขนาดใหญ่หรือยัง

บทเรียนที่ได้จากภัยธรรมชาติในต่างประเทศ  การเกิด Worst Case Scenario มีจุดอ่อนหรือไม่

Business Continuity Management เราควรมีการเตรียมแผนรองรับเหตุการณ์ ลักษณะนี้หน่วยงานใหญ่ ๆ ในต่างประเทศจะมีการทำ BCM  ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถกู้สถานการณ์ได้รวดเร็วหรือไม่  มีระบบสำรองทางการผลิตไฟฟ้า และสำรองไฟฟ้าอย่างไร

แผ่นดินไหว พบรอยเลื่อน 14  รอย ที่ประเทศไทยสามารถเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ แต่อีกนานประมาณ 1,000 ปี  แต่ต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลา

เมื่อปี 25-26 เกิดแผ่นดินไหวใกล้กับรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ แต่เรื่องการกักเก็บน้ำไม่ได้ทำให้เกิดรอยเลื่อน

กรณีเกิดแผ่นดินไหว 6.3 หน่วยที่อิตาลี มีนักธรณีวิทยาถูกชาวบ้านฟ้องว่ามีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวที่จะมีความรุนแรง 6.3 ริกเตอร์แต่ไม่เตือนชาวบ้าน นักธรณีวิทยาถูกตัดสินจำคุก  ดังนั้นข้อมูลที่ถูกต้องต้องบอกในสิ่งที่รู้ และเป็นเรื่องความปลอดภัยชาวบ้าน แต่อย่างไรก็ตามอย่าสร้างข่าวลือ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีกรณีของสึนามิที่ญี่ปุ่น ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกติดลบรุ่นนี้จึงจำเป็นต้องจัดการความไม่แน่นอนให้ได้

นโยบายรัฐบาลปี 2026 เป็นนโยบายชัดเจน หรือเลื่อนไปอีก ทรัพยากรมนุษย์ที่มาทำเรื่องนี้จะมาจากไหน การจัดการกับNGOsต่อรองได้  เอาจริงไหม

ถ้ามีความสามารถชัดเจน และนโยบายชัดเจนจะสามารถทำได้

ในรุ่น 9 อยากให้ซีเรียส เราร่วมมือกันคิดโปรเจคใหม่ ๆ และบริหารไปสู่ความเป็นเลิศ

Leadership อันหนึ่งที่น่าสนใจคือ Leadership of Uncertainty and Unexpected เพราะว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่แน่นอนถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างที่ประเทศจีน ผู้นำจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

หัวข้อ  จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้การทำงานของ กฟผ.

แนวคิดทางการตลาด สำหรับผู้เกี่ยวข้อง 7 กลุ่ม

1.  GENERAL คือ คนทั่วไป 64 ล้านคน พวกนี้ไม่กลัวใคร

2.  GOVERNMENT คือ ผู้จัดสรรทรัพยากร มีหน่วยงานประชาสัมพันธ์

3.  MEDIA ทำงานเกี่ยวกับสื่อ ต้องเตรียมข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อม

4.  FINANCE ระวังเงินนอกระบบ เงินนอกงบ (โดยเฉพาะคนฟุ่มเฟือย เพื่อนเยอะ)

  ต้องมีวินัยทางการเงิน

5.  NGO คือ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นได้ทั้งมหามิตร และมหาศัตรู

6.  PEER คือ เพื่อนรัฐวิสาหกิจ 32 แห่ง จะถามนายให้สื่อสารกับเพื่อนก่อน

7.  INTERNAL ได้แก่ สหภาพแรงงาน

เป็น CEO โครงการใหม่ (ไม่เคยทำมาก่อน) ควรต้องรู้

1.  การตลาด  ขายเป็นหรือไม่ (ความสำคัญอยู่ข้อนี้)

2.  โรงงาน ผลิตอะไร (เป็นรูปธรรม)

3.  การเงิน (นักบัญชีดูเงินในอดีต  นักการเงินดูเงินในอนาคต)

-  ดูฐานะของโครงการ

-  ดูศักยภาพของโครงการ

-  ดูความมีชีวิตชีวา เช่น ซื้อง่ายขายคล่อง

  ถ้าจะเปรียบเงินเสมือนเรือ ยกตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา

  เอาเรือมาจอดหลบพายุที่ตลาดหลักทรัพย์เมืองไทย (หุ้นขึ้น) จากนั้นเอาเรือกลับไป

  (หุ้นตกวูบ)

4.  ลูกน้อง ทำงานเป็นทีมได้หรือไม่ พยายามหาคนที่ทำ Multi Task ได้ (ทำได้หลายอย่าง)

5.  ประสบการณ์

-  ทำ KM (Knowledge Management) นำ Experience ของทุกคนมาใช้ประโยชน์

-  ข้อมูลที่ควรต้องรู้ เช่น Hero ประจำเขื่อน  ประจำแผนก ที่คนส่วนใหญ่เคารพคือ ใคร

-  ทรัพยากรที่ต้องการ เช่น เครื่องมืออะไรบ้าง  เงิน

 นอกจากนี้ CEO ควรจะรู้ Demand Focus ของโครงการใหม่ ๆ ด้วย

1.  ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย  ผู้บริโภค มีรสนิยม มีพฤติกรรมอย่างไร

2.  พยายามสื่อสารกับลูกค้า  ทำตามที่สัญญา และพยายามพบปะลูกค้าบ่อย ๆ แม้ลูกค้าจะไม่ชอบหน้า 

     เช่น ไปร่วมงานศพ  งานบวช  งานแต่งงาน

3.  พยายามหาแนวร่วม

หัวข้อ  การบริหารความขัดแย้ง  การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

ความขัดแย้ง มีทั้งดีและไม่ดี

1.  ความขัดแย้งส่วนรวม เป็นความขัดแย้งที่ดีซึ่งทำให้เกิดทางเลือก และมีการพัฒนามากขึ้น

2.  ความขัดแย้งส่วนตัว ต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้น เพราะจะเป็นปัญหาอุปสรรค 

  ความเห็นต่างไม่เป็นไร แต่อย่าไปเสียดสี  ดูถูกความเห็นของผู้อื่น ซึ่งอาจจะขยายผลจากความขัดแย้งส่วนรวมไปสู่ความขัดแย้งส่วนตัวได้  ในที่ประชุมควรสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งส่วนรวม แต่จงระวังอย่าให้เกิดเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

บทบาทของผู้บริหาร เมื่อเกิดความขัดแย้ง

1.  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล  แนวทางการบริหาร คือ กันไว้ดีกว่าแก้  วางตัวให้ดี  อย่าให้ลูกน้องเกิดอิจฉาริษยากัน  อย่าเปิดช่องว่างให้ใครเอาเปรียบ  หัวหน้าต้องทันเกมส์

  ลูกน้อง  - หวังความเมตตาจากหัวหน้า  อย่าให้เขารู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง

  ผู้บริหาร - ต้องดูแลและแผ่เมตตา ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ให้เขาเปลี่ยนงานไปทำอย่างอื่นดีกว่า

                 แต่อย่าตัดหางปล่อยวัด  การให้รางวัลลูกน้องคนไหน ก็ต้องมีเหตุผลและชี้แจงได้

2.  ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ

เกิดจากกฎระเบียบขององค์กรที่ออกมาแล้วไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจ ไม่อธิบาย หัวหน้าต้องทำตัวเป็นโฆษก สามารถ   อธิบายได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น หัวหน้าต้องให้ความสำคัญต่อการประชุม นำเหตุผลจากที่ประชุมมาตอบเพื่อลดความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ

3.  ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน

  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาท หลงหน่วยงาน (ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบางครั้งมีจุดหมายเดียวกัน)หัวหน้าต้องทำความเข้าใจกับวิธีทำงานของหน่วยงานอื่นบ้าง อย่าถือศักดิ์ศรี ว่าเราเป็นหน่วยงานหลัก

การตัดสินใจ   ต้องแม่นกฎระเบียบ (หาที่ปรึกษาทางกฎหมาย)  ลดความเกรงใจ (ตัดสินตาม  กฎระเบียบ) ไม่โอ้อวด

องค์ประกอบการตัดสินใจ

-  ข้อมูล            ต้องเพียงพอ

-  ประสบการณ์  แสวงหาได้ ไม่ต้องรอเวลา

-  การคาดการณ์ คิดล่วงหน้า ปรึกษาหมอดูได้ แต่อย่าให้หมอดูตัดสินใจแทน  หมอดูอาจทำความลับรั่วไหลได้

-  ผลกระทบ      ถ้าผลกระทบมาก ก็ไม่ควรตัดสินใจ

-  สถานการณ์    วิเคราะห์ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

การวิเคราะห์การตัดสินใจ  ยิ่งระดับสูงขึ้น  การตัดสินใจก็จะเจอแต่เรื่องที่ไม่ถนัดยิ่งขึ้น

  - ถูกต้อง    ความถูกต้องที่เรายังไม่รู้ จะต้องพยายามหาข้อมูลมาให้ได้มากที่สุด

                   ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ  ไม่ใช่คนสนิท

  - ถูกใจ       เมื่อพบว่าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็ต้องมาวิเคราะห์ว่าถูกใจคนไหม

  - ถูกจังหวะ  ถ้าถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ ก็ต้องรอให้จังหวะเปิด เช่น เมื่อคนเข้าใจ (ความเข้าใจ  อาจมาจากกระแส  

                     บรรยากาศ  จากการบริหารเชิงรุก โดยสร้างความเข้าใจ  กับคน) จึงทำได้

การเจรจาต่อรอง ไม่ใช่โต้วาที ไม่มีแพ้ชนะ เป็นการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงจากความคิด หรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน

การเตรียมการ  ต้องรู้ก่อนว่าจะเจรจากับใคร พยายามอ่านใจเขาล่วงหน้า

หลักการเจรจา   ต้องมีความเชื่อมั่น อย่าวางแผนเพื่อเอาเปรียบ

                           ทำให้เข้าใจ  ใช้ปิยวาจา  หาสิ่งจูงใจ  ให้ข้อสรุป


หัวข้อ : แนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. 

 (โดย ศาตราจารย์ ภิชาน  ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ)

  อาจารย์ได้กล่าวถึงลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 กลุ่ม คือ  1.  GENERAL หมายถึง ประชาชนทั่วไป  2.  GOVERNMENT    3.  MEDIA    4.  FINANCE    5.  NGO  6.  PEER หมายถึง หน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องมีไว้เป็นเพื่อน  7.  INTERNAL ได้แก่ สหภาพแรงงาน

  ซึ่งลูกค้าแต่ละกลุ่มก็ใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะกับบริษัทนั้น ๆ

  การทำธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องรู้ 5 เรื่องใหญ่ คือ การขาย (การตลาด) การผลิต (โรงงาน) การเงิน คน และ KM / Information / Infrastructure โดยต้องเก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหลือพอรู้และหาคนเก่งมาเติม

  สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ลูกค้า กฟผ. และใช้เครื่องมือการตลาดที่เหมาะสม

หัวข้อ : การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ   

 (โดย รศ. สุขุม  นวลสกุล)

  ความขัดแจ้งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่มคือ

1.  ความขัดแย้งระหว่าง บุคคล กับ บุคคล

2.  ความขัดแย้งระหว่าง บุคคล กับ องค์กร

3.  ความขัดแย้งระหว่าง หน่วยงาน กับ หน่วยงาน

ความขัดแย้งระหว่าง บุคคล กับ บุคคล  ผู้นำควรสอดส่องและแก้ไข หากทำได้ควรป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล กับ องค์กร  มักเกิดจากความไม่เข้าใจหรือไม่ได้รับคำอธิบาย  ส่วนความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน กับ หน่วยงาน ก็มีได้หลายสาเหตุ สิ่งสำคัญคือ หาสาเหตุให้เจอ  และต้องป้องกันดีกว่าแก้ภายหลัง

  การตัดสินใจต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ที่เคยเจอ หรือการคาดการณ์พิจารณาผลกระทบ และสถานการณ์ หากสิ่งนั้นถูกต้องและถูกใจผู้เกี่ยวข้องก็ทำได้ทันที แต่ถ้าไม่ถูกใจต้องดูจังหวะที่เหมาะสม

  การเจรจาต่อรองต้องอย่าให้คู่เจรจารู้สึกว่าเสียเปรียบ ซึ่งต้องเตรียมการว่าจะเจรจากับใคร มีพื้นฐานอย่างไร มีเป้าหมายอย่างไร และบางครั้งต้องอาศัยการอ่านใจ

  สามารถนำประสบการณ์ของอาจารย์ที่ยกตัวอย่างไปปรับใช้ตามหลักการข้างต้น       


เรียน   ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่  29 มกราคม 2556

หัวข้อ  การสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ที่ กฟผ.

โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้

1.  4L’s

2.  2R’s

3.  2I’s

4.  3L’s

5.  CLU-V

ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่ ภาพกว้าง มองการณ์ไกล นำคนอื่นได้

-  เน้นที่คน

-  สร้าง Trust จากลูกน้องและผู้มีส่วนได้เสีย

-  ทำอะไร (What) และทำไมต้องทำ (Why) มากกว่าทำอย่างไร (How)

-  มองอนาคต

-  เน้นนวัตกรรม

-  บริหารการเปลี่ยนแปลง

หลักการเป็นผู้นำที่สามารถนำไปปฏิบัติ

1.  Integrity Leadership Style เน้นเรื่องความซื่อสัตย์ มีหลักการ

2.  Transparency Leadership Style โปร่งใส ตรวจสอบได้

3.  Grooming Future Leaders

-  สร้างผู้นำรุ่นใหม่

-  ปกป้องลูกน้องให้กล้าทำงานยาก/งานเสี่ยง

-  รับได้หากลูกน้องเก่งกว่า

4.  Global Network Leadership

5.  Balancing Style Leadership

-  บทบาทสตรี

-  เดินสายกลาง แบบเศรษฐกิจพอเพียง

-  เน้นปรัชญาของศาสนาพุทธ พรมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา

6.  Leadership of Diversity and Innovations

-  ต้องบริหารความหลากหลาย เช่น ในประเทศ/ต่างประเทศ คนรุ่นใหม่/คนรุ่นเก่า, แนวคิดที่แตกต่าง

-  มูลค่าเพิ่มได้จากความคิดใหม่ ๆ

อีก 4 คุณลักษณะที่ผู้นำต้องมี

1.  Character/คุณลักษณะที่พึงปรารถนา

-  ชอบเรียนรู้

-  มีทัศนคติเป็นบวก

-  มีคุณธรรม จริยธรรม

2.  Leadership Skill

-  การตัดสินใจ

-  การเจรจาต่อรอง

-  การทำงานเป็นทีม

-  Get Things Done

3.  Leadership Process

มี Vision และมองอนาคตให้ออก

4.  Leadership Value

Trust – ความศรัทธาในผู้นำ

หัวข้อ   Leading People

โดย  อ.พจนารถ  ซีบังเกิด

การวิเคราะห์ธาตุแท้ Who am I ?  ซึ่งมนุษย์มีศูนย์ที่สำคัญอยู่ 5 ศูนย์ คือ

  ศูนย์ธาตุแท้  - ฐานรากแห่งความถนัดและความสามารถ ตั้งแต่กำเนิด จะเติบโตอย่างไรขึ้นอยู่กับ

    สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู

  ศูนย์สติปัญญา    - เรียนรู้ จดจำ

  ศูนย์ร่างกาย    - สัมผัสสิ่งแวดล้อม, การแสดงออกจากธาตุแท้

  ศูนย์ความรู้สึก    - อารมณ์

  ศูนย์มโนธรรมลึกซึ้ง    - การตระหนัก รู้ผิดชอบชั่วดีด้วยกฎเกณฑ์ และหลักการ จากภายในส่วนลึก

ความต้องการของมนุษย์เพื่อความเติมเต็ม

1.  Certainty/Security/Comfort   มีงานทำ มีรายได้มั่นคง

2.  Uncertainty/Variety ความหลากหลาย   ไม่ซ้ำซากจำเจ

3.  Connection & Love   รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

4.  Significance   รู้สึกสำคัญและมีค่า ตัวเองมีโอกาสสร้างผลงานชิ้นสำคัญ

5.  Growth   มีโอกาสเติบโต มีโอกาสเรียนรู้และก้าวหน้า

6.  contribution    มีโอกาสเป็นผู้ให้ ส่งผลที่ดีต่อสังคมโดยรวม

ความกลัว 3 ประการ

  Not Good Enough  กลัวไม่ดีพอ

  Not Being Loved  กลัวไม่เป็นที่รัก

  Not Belong To   กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง

ขอบคุณครับ

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน สายงานเชื้อเพลิง


สรุปเนื้อหาจากหนังสือ 8K’s + 5K’s

  เนื้อหาหลักของหนังสือมี 2 ส่วนคือ

- ทฤษฎี 8K’s.....เป็นทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

- ทฤษฎี 5K’s.....เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี


  โดยสรุปเนื้อหาโดยย่อได้ดังนี้

ทฤษฎี 8K’s.....เป็นทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์มีเนื้อหาแบ่งเป็นทุน8 ประการของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพที่พร้อมจะยืนหยัดในเวทีอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีโลก  ประกอบด้วย

1.ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นทุนพื้นฐานลำดับแรกมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนเริ่มมามีทุนเท่ากันแต่จะพัฒนาได้ต้องลงทุนเพิ่มด้วยการศึกษาโภชนาการการฝึกอบรมการเลี้ยงดูของครอบครัวและอื่นๆ 
2.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เกิดได้จากการศึกษาเรียนรู้  ให้สามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็น  เป็นการมองอนาคตโดยจะเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน

3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) เป็นทุนเกี่ยวกับความเป็นคนดีคิดดีทำดีคิดเพื่อส่วนรวมมีจิตสาธารณะแนวทางการสร้างทุนนี้สามารถใช้หลักพุทธศาสนาคือศีล  สมาธิ ปัญญา มาสร้างได้ 

4.ทุนทางความสุข (Happiness Capital) เป็นพฤติกรรมที่พึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าโดยการมีความรักในงานที่ทำและทำอย่างมีความสุข

5.ทุนทางสังคม (Social Capital) คือการที่มีเครือข่าย(Network) ที่มีคุณค่าต่อการทำงาน
เป็นการสร้างเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ลงทุทางตรงน้อย ในยุคอาเซียนเสรีนี้สังคมไทยต้องมีความรู้
มีความเข้าใจและบริหารความแตกต่างในวัฒนธรรมของประเทศในอาเซียนได้

6.ทุนแหความยั่งยืน (Sustainable Capital) เป็นทุนที่เกิดจากการที่ตัวเรามีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่? วิธีการสร้างทุนนี้ที่เหมาะสมที่สุดคือนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาปรับใช้คือ
ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน

7.ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (Digital Capital) เป็นทุนที่จะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆได้เช่นการนำ social media ประเภทต่างๆมาใช้งานเป็นต้น

8.ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) เป็นทุนของการพัฒนาทักษะความรู้ของตนเองตลอดเวลาและมีทัศนคติเชิงบวกมองโอกาส  ความเสี่ยง เตรียมพร้อมต่อการทำงานในเชิงรุก

ทฤษฎี 5K’s.....เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี
มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้

1.ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) สามารถสร้างได้ด้วยการคิดนอกกรอบ  เป็นทุนที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อทำสิ่งใหม่ๆต่างจากเดิม 

2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) เป็นทุนที่จะต้องสร้างความรู้ขึ้นมา  โดยความรู้ทีมีต้องสด ทันสมัยแม่นยำและข้ามศาสตร์การมีทุนทางความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity) และความเฉลียวฉลาดได้

3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) เป็นทุนในการสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่องคือ

  - เป็นความคิดใหม่ สร้างสรรค์

  - นำไปปฏิบัติจริง

  -  ทำให้สำเร็จ ผ่านอุปสรรคที่พบไปให้ได้

4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) เป็นทุนของการมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมแต่ละประเทศและสามารถปฏิบัติงานท่ามกลางความแตกต่างหลากทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) คือการรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ได้เป็นอย่างดี 
ซึ่งสามารถสร้างได้โดยการคิดบวกในทุกๆเรื่องที่ประสบ

สรุป ....จากเนื้อหาของหนังสือ 8K’s+ 5K’s ที่สรุปโดยย่อข้างต้น  หากผู้เกี่ยวข้องในแต่ละระดับเช่นระดับบุคคล  ระดับหน่วยงาน ระดับองค์การในประเทศไทย ได้นำไปปฏิบัติกันอย่างจริงจังและแพร่หลายแล้ว
ก็เป็นที่มั่นใจได้ว่า
ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยจะมีคุณภาพสูง พร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้ในเวทีอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีโลกได้เป็นอย่างดี 




วันที่  1 กุมภาพันธ์  2556

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ที่ได้ให้ความรู้และข้อคิดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับลูกค้า  7ประเภท
ที่ต้องใช้การตลาดในการประสานงาน เพื่อให้การทำงานของ กฟผ. บรรลุผลสำเร็จ

1. Oeneral  -  การสื่อสารกับประชาชนทั่วไป

2. Government  - การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ

3. Media  -  อำนาจสื่อ และวิธีการที่จะรับมือกับสื่อ

4. Finance  -  แหล่งเงินที่จะต้องพิจารณาแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มา
เพื่อสามารถดำเนินธุรกิจได้   โดยต้องมีวินัยทางการเงิน

5. NGO  -  แนวทางการรับมือกับ NGO ซึ่ง กฟผ. จะต้องคำนึงว่าเป็น Stakeholder (ลูกค้า) ที่สำคัญกลุ่ม
  หนึ่งของ กฟผ.

6. PEER  -  ต้องมีการประสานงานติดต่อเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนรัฐวิสาหกิจด้วยกันหรือกลุ่ม   เพื่อนที่เกี่ยวข้องเพื่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน

7. INTERNAL  -  การสื่อสารภายในองค์กร

  -  การใช้ Marbeling เพื่อประโยชน์กับองค์กรกฟผ. และชีวิตส่วนตัว

  -  การตลาด ต้องเน้นการสร้าง Brand และการสร้างความไว้ใจเชื่อมั่น (Tenst)

ตัวอย่าง 
ประสบการณ์ในการสร้างความไว้ใจและเชื่อมั่นว่าไฟจะไม่ดับ เป็นการสร้าง
Brand ของ กฟผ.

  -  การ Deal กับกลุ่มลูกค้าทั้ง 7 กลุ่ม กฟผ. ต้องเน้นการตลาด โดยเฉพาะการสร้าง Brand
และการสร้างความ    ไว้ใจ และเชื่อมั่น (Trnst) และต้องมองจากภายนอก คือ Outside In โดยใช้ Demand Fouce ซึ่งประกอบด้วย

1. MASS Communication สื่อสารมวลชน (มีค่าใช้จ่ายสูง)

2. Supply Chain Management (SCM)

3. Retailing คือ Contact Point

  -  สรุป  แนวทางในการทำตลาดของ กฟผ. ให้ประสพความสำเร็จจะต้อง Focus 3 เรื่อง ดังนี้

1. การจัดทำโครงการในอนาคตของ กฟผ. ให้ตั้งคำถามว่า ผู้บริโภคคือใคร คนที่ใช้ประโยชน์คือใคร ?
(Demand Focus)

2. ต้องมีการพบปะสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนที่เกี่ยวข้อง

3. ต้องทำให้ครบทั้ง 3 ด้านในเรื่องของ MASS Commication, Supply Chain Management และ Retailing

  โดย กฟผ. ควรจะหาแนวร่วมเพื่อให้การดำเนินการสำเร็จ

หัวข้อที่ 2

  การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

  โดย อาจารย์สุขุม  นวลสกุล

  ขอขอบพระคุณอาจารย์ ที่ให้ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารงานของ กฟผ. ในเรื่อง

  -  การบริหารความขัดแย้ง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความคิดเห็นทีไม่ตรงกันในเรื่องต่างๆ

  -  การเป็น Leadership ต้องใช้จิตวิทยาในการบริหารจัดการความขัดแย้ง และการดูจังหวะที่เหมาะสม    และต้องระวังการนำความขัดแย้ง และการดูจังหวะที่เหมาะสม และต้องระวังการนำความขัดแย้ง    ส่วนรวมไปเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

  -  ความขัดแย้งที่ท้าทายความสามารถของนักบริหาร ประกอบด้วย

  -  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล กับ บุคคล ต้องทำการป้องกันดีกว่าแก้

  -  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล กับ องค์การ

  -  ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน กับ หน่วยงาน

  -  ผู้บริหารต้องระมัดระวังในเรื่องการวางตัวกับลูกน้องเพราะการขัดแย้งระหว่างบุคคล สามารถเกิด    ได้เนื่องจากความอิจฉาริษยา

  -  ผู้บริหารต้องให้ความเสมอภาคแก่ลูกน้องทุกคน เพื่อความสามัคคีในองค์กร

  -  ผู้บริหารต้องเป็นคนทันเกมส์ ต้องเอาใจใส่สอดส่องลูกน้องไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน

  -  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล กับ องค์การ เนื่องจากความไม่เข้าใจในระเบียบ คำสั่งขององค์การ   และองค์กรไม่มีการอธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ

  -  หัวหน้างานจึงต้องเป็นตัวกลาง ลดความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ ทำหน้าที่เป็น    โฆษก
อธิบายที่มาและเหตุผลของระเบียบคำสั่งที่ออกมา

 -  หัวหน้างานต้องให้ความสำคัญกับการประชุม และมีส่วนร่วมในการประชุมทุกครั้ง

 -  ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากไม่เข้าใจบทบาทของหน่วยงานตนเอง หรือหลงหน่วยงานตนเอง

  -  การตัดสินใจ  ผู้บริหารต้องแม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ ไม่โอ้อวด

  -  องค์ประกอบการตัดสินใจ ประกอบด้วย ข้อมูล ประสบการณ์ การคาดการณ์ ผลกระทบ และสถานการณ์

  -  การวิเคราะห์การตัดสินใจ ใช้ทฤษฎี 3 ถูก คือ ถูกต้อง ถูกใจ ถูกจังหวะ ซึ่งการตัดสินใจ ต้องวางพื้น    ฐานอยู่บนความถูกต้อง และปรึกษาบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ สิ่งที่ตัดสินใจ   แล้วว่าถูกต้องนั้น ต้องพิจารณาว่า ถูกใจ ผู้คนที่เกี่ยวข้องหรือไม่และต้องทำให้ถูกจังหวะ ซึ่ง    จังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจซึ่งอาจจะเป็นไปตามธรรมชาติหรือมาตามกระแส และใช้การบริหาร    เชิงรุก เพื่อทำความเข้าใจ

  -  การเจรจาต่อรอง ต้องใช้การพูดคุย เพื่อหาข้อตกลงจากความคิด หรือ ผลประโยชน์ต่างกัน

  -  การเตรียมการ เพื่อการเจรจาต่อรอง ต้องรู้ว่า คนที่เราจะเจรจาคือใคร เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรเป็น    หมายที่ต้องการต้องอ่านใจ

  -  หลักการเจรจา  ต้องมีความเชื่อมั่น กลัวเสียเปรียบ โดยใช้วิธีการ ทำให้เข้าใจ ใช้ปิยวาจา หาสิ่ง    จูงใจ และให้ข้อสรุป

วันที่  1 กุมภาพันธ์  2556

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ที่ได้ให้ความรู้และข้อคิดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับลูกค้า  7 ประเภท ที่ต้องใช้การตลาดในการประสานงาน เพื่อให้การทำงานของ กฟผ. บรรลุผลสำเร็จ

1. Jeneral  -  การสื่อสารกับประชาชนทั่วไป

2. Government  - การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ

3. Media  -  อำนาจสื่อ และวิธีการที่จะรับมือกับสื่อ

4. Finance  -  แหล่งเงินที่จะต้องพิจารณาแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มา เพื่อสามารถดำเนินธุรกิจได้   โดยต้องมีวินัยทางการเงิน

5. NGO  -  แนวทางการรับมือกับ NGO ซึ่ง กฟผ. จะต้องคำนึงว่าเป็น Stakeholder (ลูกค้า) ที่สำคัญกลุ่ม
  หนึ่งของ กฟผ.

6. PEER  -  ต้องมีการประสานงานติดต่อเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนรัฐวิสาหกิจด้วยกัน
หรือกลุ่ม   เพื่อนที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน

7. INTERNAL  -  การสื่อสารภายในองค์กร

  -  การใช้ Marbeling เพื่อประโยชน์กับองค์กร กฟผ. และชีวิตส่วนตัว

  -  การตลาด ต้องเน้นการสร้าง Brand และการสร้างความไว้ใจเชื่อมั่น (Tenst)

ตัวอย่าง 
ประสบการณ์ในการสร้างความไว้ใจและเชื่อมั่นว่าไฟจะไม่ดับ เป็นการสร้าง
Brand ของ กฟผ.

  -  การ Deal กับกลุ่มลูกค้าทั้ง 7 กลุ่ม กฟผ. ต้องเน้นการตลาด โดยเฉพาะการสร้าง Brand และการสร้างความ    ไว้ใจ และเชื่อมั่น (Trnst) และต้องมองจากภายนอก คือ Outside In โดยใช้ Demand Fouce ซึ่งประกอบด้วย

1. MASS Communication สื่อสารมวลชน (มีค่าใช้จ่ายสูง)

2. Supply Chain Management (SCM)

3. Retailing คือ Contact Point

  -  สรุป  แนวทางในการทำตลาดของ กฟผ. ให้ประสพความสำเร็จจะต้อง Focus 3 เรื่อง ดังนี้

1. การจัดทำโครงการในอนาคตของ กฟผ. ให้ตั้งคำถามว่า ผู้บริโภคคือใคร คนที่ใช้ประโยชน์คือใคร ?
(Demand Focus)

2. ต้องมีการพบปะสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนที่เกี่ยวข้อง

3. ต้องทำให้ครบทั้ง 3 ด้านในเรื่องของ MASS Commication, Supply Chain Management และ Retailing

  โดย กฟผ. ควรจะหาแนวร่วมเพื่อให้การดำเนินการสำเร็จ

 

หัวข้อที่ 2

  การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

  โดย อาจารย์สุขุม  นวลสกุล

  ขอขอบพระคุณอาจารย์ ที่ให้ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารงานของ กฟผ. ในเรื่อง

  -  การบริหารความขัดแย้ง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความคิดเห็นทีไม่ตรงกันในเรื่องต่างๆ

  -  การเป็น Leadership ต้องใช้จิตวิทยาในการบริหารจัดการความขัดแย้ง และการดูจังหวะที่เหมาะสม    และต้องระวังการนำความขัดแย้ง และการดูจังหวะที่เหมาะสม และต้องระวังการนำความขัดแย้ง    ส่วนรวมไปเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

  -  ความขัดแย้งที่ท้าทายความสามารถของนักบริหาร ประกอบด้วย

  -  ความขัดแย้งระหว่าง บุคคล กับ บุคคล ต้องทำการป้องกันดีกว่าแก้

  -  ความขัดแย้งระหว่าง บุคคล กับ องค์การ

  -  ความขัดแย้งระหว่าง หน่วยงาน กับ หน่วยงาน

  -  ผู้บริหารต้องระมัดระวังในเรื่องการวางตัวกับลูกน้อง เพราะการขัดแย้งระหว่างบุคคล สามารถเกิด    ได้เนื่องจากความอิจฉาริษยา

  -  ผู้บริหารต้องให้ความเสมอภาคแก่ลูกน้องทุกคน เพื่อความสามัคคีในองค์กร

  -  ผู้บริหารต้องเป็นคนทันเกมส์ ต้องเอาใจใส่สอดส่องลูกน้องไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน

  -  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล กับ องค์การ เนื่องจากความไม่เข้าใจในระเบียบ คำสั่งขององค์การ   และองค์กรไม่มีการอธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ

  -  หัวหน้างานจึงต้องเป็นตัวกลาง ลดความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ ทำหน้าที่เป็น    โฆษก
อธิบายที่มาและเหตุผลของระเบียบคำสั่งที่ออกมา

      -  หัวหน้างานต้องให้ความสำคัญกับการประชุม และมีส่วนร่วมในการประชุมทุกครั้ง

  -  ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากไม่เข้าใจบทบาทของหน่วยงานตนเอง หรือหลงหน่วยงาน   
ตนเอง

  -  การตัดสินใจ  ผู้บริหารต้องแม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ ไม่โอ้อวด

  -  องค์ประกอบการตัดสินใจ ประกอบด้วย ข้อมูล ประสบการณ์ การคาดการณ์ ผลกระทบ และ   
สถานการณ์

  -  การวิเคราะห์การตัดสินใจ ใช้ทฤษฎี 3 ถูก คือ ถูกต้อง ถูกใจ ถูกจังหวะ ซึ่งการตัดสินใจ ต้องวางพื้น    ฐานอยู่บนความถูกต้อง และปรึกษาบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ สิ่งที่ตัดสินใจ   แล้วว่า ถูกต้องนั้น ต้องพิจารณาว่า ถูกใจ ผู้คนที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และต้องทำให้ถูกจังหวะ ซึ่ง    จังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจ
ซึ่งอาจจะเป็นไปตามธรรมชาติหรือมาตามกระแส และใช้การบริหาร    เชิงรุก เพื่อทำความเข้าใจ

  -  การเจรจาต่อรอง ต้องใช้การพูดคุย เพื่อหาข้อตกลงจากความคิด หรือ ผลประโยชน์ต่างกัน

  -  การเตรียมการ เพื่อการเจรจาต่อรอง ต้องรู้ว่า คนที่เราจะเจรจาคือใคร เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
เป็น    หมายที่ต้องการ ต้องอ่านใจ

  -  หลักการเจรจา  ต้องมีความเชื่อมั่น กลัวเสียเปรียบ โดยใช้วิธีการ ทำให้เข้าใจ ใช้ปิยวาจา หาสิ่ง    จูงใจ
และให้ข้อสรุป

เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปประเด็นจาก หนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

     หนังสือกล่าวถึงทฤษฎี8K’s หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
ซึ่งประกอบด้วย

     1. Human  Capital   ทุนมนุษย์

     2. Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญา

     3. Ethical  Capital   ทุนทางจริยธรรม

     4. Happiness  Capital   ทุนทางความสุข

     5. Social  Capital   ทุนทางสังคม

     6. Sustainability  Capital ทุนทางความยั่งยืน

     7. Digital  Capital   ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

     8. Talented  Capital   ทุนอัจฉริยะ

 

     และทฤษฎี5K’s ทุน 5 ประการ ที่ช่วยให้ทุนมนุษย์ของไทยมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน
ซึ่งประกอบด้วย

     1. Creativity  Capital   ทุนทางความคิดสร้างสรรค์
     2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

     3. Innovation  Capital   ทุนทางนวัตกรรม

     4. Cultural  Capital   ทุนทางวัฒนธรรม

     5. Emotional Capital   ทุนทางอารมณ์


ทฤษฎี8 K’s พื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

K1-Human Capital  ทุนมนุษย์

-ต้องลงทุนเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า

-การลงทุนมีหลายชนิด เช่น การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว

K2- Intellectual Capital ทุนปัญญา

-ควรเน้นการฝึกคิด/วิเคราะห์ การใช้เหตุผล การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์

K3-Ethical Capital   ทุนทางจริยธรรม
-เข้าใจและยึดมั่นตามคำสอนของศาสนาพุทธ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

K4-Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

-คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำห้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ

K5- Social Capital ทุนทางสังคม

-ต้องมีเครือข่าย(Network)ทางสังคม คือรู้จักและสร้างความสัมพันธืที่ดีกับบุคคลหลายๆวงการ

-หลัก 3 ข้อ ในการสร้างเครือข่าย คือ

  ก.อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ระยะสั้น

  ข. เน้นความไว้เนื้อเชื่อใจ ยอมรับกัน

  ค. เน้นความแตกต่างกันทางความรู้ ทักษะ และศักยภาพ เพื่อสร้างการรวมพลัง

K6-Sustainability Capitalทุนแห่งความยั่งยืน

-คือศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดได้
-มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้น ความพอประมาณ มีเหตมีผล     มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

-ปัจจัยแห่งความยั่งยืน 6 ข้อ

   1.ต้องให้ความสำเร็จระยะสั้นมีความสมดุลให้ระยะยาวอยู่ได้

   2.ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและพัฒนาไปด้วยกัน

   3.มีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กับความเจริญ

   4.เป็นสังคมการเรียนรู้

   5.เจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ

   6.เป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง

K7- Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT

-ความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชีวิตประจำวัน

-อุปสรรคในการเรียนรู้ของคนไทยคือทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

K8 – Talented Capital ทุนอัจฉริยะ

-ต้องมี ทางความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และทัศนคติ (Attitude)

-ทฤษฎี 5E สำหรับการพัฒนาทุนอัจฉริยะ คือ

  1.Example  มีแม่แบบ

  2.Experience  ได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์

  3.Education  การศึกษา พัฒนา ฝึกอบรม  อ่านหนังสือ

  4.Environment  สร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้

  5.Evaluation  มีการติดตามประเมินผล


ทฤษฎี5K’s ที่ช่วยให้ทุนมนุษย์ของไทยมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน

1.Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

-การสร้างความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย

   1.ฝึกให้คิดเป็น  วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

   2.มีเวลาคิด มีสมาธิ

   3.คิดอย่างเป็นระบบ

   4.อยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

-ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R’s คือReality ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance ความรู้ต้องตรงประเด็นกับความต้องการของผู้รับบริการ


3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

-คือความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า

-นวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ

   1.มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

   2.นำความคิดไปปฏิบัติจริง

   3.ทำให้สำเร็จ

-การสร้างหรือพัฒนาทุนทางนวัตกรรมใช้ทฤษฎี 3 C คือ

   1. Customersวิเคระห์ความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก

   2. Change Management บริหารความเปลี่ยนแปลง

   3. Command and  Control(-) ลดการควบคุม สั่งการ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทำงานเป็นทีม

4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

-คือมีความรู้ ความเข้าใจ และตะหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม 
-รวมถึงเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ  และสามารถจัดการกับความแตกต่างหลากหลายได้

2.5 Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

-คือการรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์
-ทุนทางอารมณ์ทีเป็นคุณสมบัติของผู้นำได้แก่ มีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี

 

     การจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นการเปิดเสรีทางการค้าและการบริการ ให้สามารถแข่งขันได้ จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s+5K’s  และยังมีสิ่งที่ควรรู้อีก 10 ประเด็น คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร มีผลกระทบต่อเราอย่างไร

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นจากข้อตกลงการร่วมมือกันใน 3 เรื่องใหญ่ คือ เศรษฐกิจการค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคงทางการเมือง และต้องเชื่อมโยง   ทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน

3.เป็นการเปิดเสรีทั้งด้านสินค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน

4.ค้นหาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อม

5.ปรับตัวและหาโอกาส

6.รักษาภูมปัญญาและความเป็นไทยซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรม

7.ต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนให้ได้

8.ต้องสร้างวัฒนะรรมแห่งการเรียนรู้ ตามทฤษฏี 4L’s ทฤษฏี 2R’s และทฤษฏี 2i’s


ทฤษฏี 4L’s

Learning  Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

Learning  Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

Learning  Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้

Learning  Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

ทฤษฏี2R’s

Reality เรียนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น

Relevance เรียนเรื่องที่ตรงประเด็นหรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเรา

ทฤษฏี2i’s

Inspiration ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดพลัง  เกิดความกระหายความรู้ เข้าใจความหมาย และมี 
เป้าหมายในการเรียนทุกๆครั้ง


Imaginaton ต้องทำให้ผู้เรียนมีจินตนาการ นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม


9.ต้องพัฒนาทุนมนุษย์

10.บริหารความเสี่ยงโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


สรุป

       ด้วยการนำทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม  จะทำให้มีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่สามารถแข่งขันได้ ในการที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถนำมาพัฒนา กฟผ. ให้ก้าวหน้าไปได้อย่างมาก




บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

1 ก.พ. 56 08.30 น. – 12.00 น.

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

(ศาสตราจารย์ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ)

  จากการบรรยายของอาจารย์ผมได้รับความรู้ แนวคิดที่ดีๆ จากอาจารย์มาก สรุปพอสังเขปดังนี้

การตลาดไม่ได้ขายสิ่งที่จับต้องได้อย่างเดียว แต่ขายสิ่งที่มองไม่เห็น”

  ลูกค้า 7 ตะกร้า

1. General

2. Government

3. Media

4. Finance

5. NGO

6. Peer

7. Internal Public

รถยนต์ 5 ล้อ

การขับเคลื่อนกิจการงาน, ธุรกิจเปรียบเสมือนการขับรถยนต์ที่มี 5 ล้อ

ล้อหน้าขวา – การตลาด (ขายเป็น)

ล้อหน้าซ้าย – โรงงาน (ผลิตได้คุณภาพ)

ล้อหลังขวา – คน (ทำเป็นทีม)

ล้อหลังซ้าย – เงิน (ทุน, การเงิน, การบัญชี)

ล้ออะไหล่ –KM. Information, Infrastructure

Demand Focus

1. Mass Communication (สื่อสาร)

2. Supply Chain Management (ทำตามสัญญา)

3. Retailing (เสนอหน้า)

ความเห็น –กิจการงานด้านต่างๆ ของ กฟผ. ควรขับเคลื่อนด้วยรถยนต์ 5 ล้อ โดยมี  Demand Focus ด้วย

 

1 ก.พ. 56 13.00 น. – 16.00 น.

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

(รศ. สุขุม นวลสกุล)

  สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์สุขุม เยอะมาก ขอสรุปเฉพาะประเด็นที่สำคัญๆ

-  ความขัดแย้ง ไม่ใช่เป็นสิ่งไม่ดีเสมอไป ความขัดแย้งที่ดีก็มี นั่นคือ การคิดต่าง ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นได้

-  มีความเห็นต่างจากคนอื่นไม่เป็นไร แต่อย่าไปเสียดสีคนคิดต่าง

-  อย่าดึงความขัดแย้งส่วนรวมเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

-  อย่าให้ความขัดแย้งส่วนบุคคลเกิดจากความบกพร่องของหัวหน้า

-  อย่าเปิดช่องว่างให้ลูกน้องเอารัดเอาเปรียบกัน

-  อย่าตัดหางปล่อยวัดคนที่ทำงานไม่ดี ควรเปลี่ยนงานให้เขา

-  การเจรจาต่อรองต้องเตรียมการ, อ่านใจ, ใช้ปิยวาจา, หาสิ่งจูงใจ

-  การตัดสินใจต้องแม่นกฎระเบียบ, ไม่โอ้อวด, คาดการณ์ถึงผลกระทบจากการตัดสินใจด้วย

ผมได้เทคนิคหลายๆอย่างจากอาจารย์ จะนำไปพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองให้ดีขึ้นครับ

                                                                    บุญส่ง  จีราระรื่นศักดิ์    4/2/2556


ที่มา 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

การก้าวสู่สังคมประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ มากว่า ๓๐ ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากประสบการณ์ชีวิตของท่านมาไว้ในหนังสือ “8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ซึ่งเสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ คนไทย เพื่อรองรับและยกระดับให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ได้อย่างยั่งยืน

ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอนำวาทะที่น่าสนใจจากหนังสือนี้ มาสรุปดังนี้

อนาคตของประเทศชาติจะเป็นเช่นไรย่อมขึ้นอยู่กับคนในชาติ หากการพัฒนาทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จ ประโยชน์สูงสุดย่อมเป็นของประเทศชาติแน่นอน

การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ของผมมีพลังที่จะนำความรู้เหล่านั้นไปต่อยอด สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าให้กับสังคมต่อไป

เราจะเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ หรือเราจะสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน อยู่รอด เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

เมื่อเกิดมาแล้วต้องทำให้ตัวเรามีคุณค่าต่อสังคมอย่าลืมคำว่า Re-Inventing เพราะมันจะช่วยให้เราไม่หยุดการเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา

ต่อไปจะขอเข้าเรื่องเลย

8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ประกอบด้วย
K1 ทุนมนุษย์ (Human Capital)  เป็นทุนพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก เช่น การเรียนในระบบการศึกษาแบบทางการ การฝึกอบรม การพัฒนาหรือลงทุนในด้าน โภชนาการและการศึกษา วลีเด็ด ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา

K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  คือ การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต เกิดจากการเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ วลีเด็ด การทำให้ระบบการศึกษาสอนให้คนไทยคิดเป็นจะเป็นการสร้าทุนทางปัญญาให้คนไทย
K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) คือ ทุนที่ต้องปลูกฝังให้ยึดมั่นในเรื่องความดีงาม ถูกต้อง ซึ่งประกอบร่วมกับทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์และกระทำด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก วลีเด็ด การเป็นคนดี การทำความดี การมีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปควรจะอยู่ใน DNA ของคนไทยทุกคน
K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ซึ่งผลงานที่ได้ออกมาก็จะมีคุณภาพที่ดี
K5 ทุนทางสังคมหรือเครือข่าย (Social Capital) คือ ต้องทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลจากหลายๆวงการ นอกจากเครือญาติหรือเพื่อนฝูง ซึ่งจะช่วยเรื่องการหาข้อมูลข่างสาร และการเจรจาต่อรอง

K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)  คือ ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไรและต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว โดยมี 6 ปัจจัยประกอบด้วย –ระยะสั้นต้องสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด –คำนึงสภาพแวดล้อมและทรัพยากร –มีคุณธรรมและจริยธรรม –เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ –ต้องกระจายความเจริญ -เป็นการพัฒนาที่พึ่งตนเอง
K7.ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศ (Digital Capital) คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำใช้ไอทีต่างๆ มาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆได้
K8.ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) คือ ทุนที่ได้จากการพัฒนาทักษะ ความรู้ตลอดเวลาและมีทัศนคติเป็นบวกพร้อมต่อการทำงานเชิงรุก อันจะทำให้เป็นคนที่มีอัจฉริยภาพ ซึ่งสังคมไทยยังขาดอยู่

 ทฤษฏีทุนใหม่ ๕ ประการ (5K’s New) เป็นทุนที่สำคัญในการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี ประกอบด้วย
5Ks(1) ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) คือ ทุนที่สร้างจาก การฝึกคิดนอกกรอบ การเรียนรู้ มีสมาธิ มีเวลาคิด สร้างความคิดให้เป็นระบบ และต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ พลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สามารถสร้างผลงานต่างๆได้มากมาย

5Ks(2) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) คือ ทุนในการแสวงหาความรู้ โดยต้องทันสมัย และแม่นยำ และทุนความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R (Reality & Relevance) ซึ่งนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและความเฉลียวฉลาด สำหรับความรู้ที่ได้สมัยเรียนล้าสมัยไปแล้วต้องหาความรู้ใหม่ๆทุกวัน

5Ks(3)  ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)  คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า จาก ความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์บวกความรู้ นำความคิดไปปฏิบัติ  ทำให้สำเร็จ โดยใช้ทฤษฎี 3C (Customers Change Management Command & Control)

5Ks(4)  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)  คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลัษณ์สำคัญของประเทศ รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆและสามาถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดี

5Ks(5)  ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)  คือ การรู้จักควบคุมและบริหารอารมณ์ และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ ทำให้ทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นในทุกๆระดับได้ ทั้งเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ สำหรับสังคมไทยให้ยึดคำสอนของศาสนาพุทธ เป็นเครื่องนำทาง

สรุป

การสร้างทุนมนุษย์จะได้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าเริ่มต้นจาก ครอบครัวและโรงเรียน 2 สถาบันหลัก รวมทั้งแบ่งปันสิ่งดีงามให้กับสังคม ที่ช่วยในการเรียนรู้ และ วิธีการทำงานด้านทุนมนุษย์ให้สำเร็จ และหากเผยแพร่ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์นี้ได้ขยายวงออกไปสู่สังคมในทุกภาคส่วนได้อย่างทั่วถึง การที่ไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา โดยต้องมีการพัฒนาและเตรียมพร้อมรองรับเนื่องจากทุนมนุษย์คนไทยจะมีคุณภาพเพียงพอ มีการพัฒนาบนพื้นฐานความยั่งยืน ความสุขและความสมดุล ของคนในสังคม


เช้าวันนี้ผมตื่นมาดูกีฬากอล์ฟซึ่งเป็นประเทศอเมริกาเช่นกัน ชื่อ Phil Mickelson ซึ่งผมเป็นแฟนของเขามาโดยตลอด แต่เนื่องจากอายุมากประมาณ 42-43 ปี ผลงานไม่ค่อยประทับใจ แต่ในการแข่งขันที่เมืองฟีนิกซ์ 
ปรากฏว่านักกอล์ฟวัยรุ่นประมาณ 30-40 ปี แพ้ Phil Mickelson อย่างราบคาบ ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชม เพราะเป็นช่วงขาลง 

จึงทำให้ผมนึกถึงปรากฏการณ์กฟผ. ที่ผมเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องภัยธรรมชาติ ซึ่งมีการพูดถึงสิ่งที่คาดไม่ถึง และทายไม่ได้ (Unexpected and Unpredictable) ซึ่งผมเองก็คาดไม่ถึงว่า Phil Mickelson จะชนะอย่างคาดไม่ถึงทางบวก แต่ผู้นำในอนาคตต่อไปต้องจัดการกับสิ่งที่คาดไม่ถึง และทายไม่ได้ในทางลบให้ได้ เช่น ไฟดับในกทม. 1 วัน หรือที่เกาะสมุยที่สายเคเบิลไม่ทำงาน ทำให้ไฟฟ้าหยุดทำงานไป 3 วัน อีกทั้งเรื่องน้ำท่วม และแผ่นดินไหว 

ผู้นำลูกศิษย์EADPรุ่น 9 ต้องจัดการ และปรับตัวอย่างไร จึงขอฝากไว้ให้พิจารณาครับ

สรุปประเด็นจากหนังสือ : 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

โดย ศจ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อได้อ่านบทความที่เรียบเรียงแนวความคิดจากหนังสือดังกล่าว ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การจะสร้างให้มนุษย์คนหนึ่งมีคุณภาพนั้น ต้องมีทั้งพรสวรรค์ ซึ่งเป็นทุนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดที่ต้องหมั่นฟูมฟัก และพัฒนาให้เกิดความแตกฉาน เชี่ยวชาญ ชำนาญ และเข้มแข็ง  และพรแสวง ซึ่งเป็นทุนที่ต้องหมั่นแสวงหาเพิ่มพูนขึ้น กับการใช้ชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยในสังคมรอบๆ ตัว  ซึ่งคือ ทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ (8K’s) ที่อาจารย์ได้ให้ความชัดเจนไว้

8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ประกอบด้วย

K1 ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นทุนพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก คือ การเรียนรู้ การศึกษา การฝึกอบรม หรือ การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ  หรือลงทุนในด้าน โภชนาการและการศึกษา

K2ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  คือ การมองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต เกิดจากการเรียนรู้ที่ทำให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) คือ ทุนที่ต้องปลูกฝังให้ยึดมั่นในเรื่องความดีงาม ความถูกต้อง ซึ่งประกอบร่วมกับทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์และกระทำด้วยความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ซึ่งผลงานที่ได้ออกมาก็จะมีคุณภาพที่ดี

K5 ทุนทางสังคมหรือเครือข่าย (Social Capital) คือ ต้องทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลจากหลายๆวงการ นอกจากเครือญาติหรือเพื่อนฝูง ซึ่งจะช่วยเรื่องการหาข้อมูลข่างสาร และการเจรจาต่อรอง

K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) คือ ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไรและต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว โดยมี 6 ปัจจัยประกอบด้วย

ระยะสั้นต้องสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด   – คำนึงสภาพแวดล้อมและทรัพยากร

มีคุณธรรมและจริยธรรม   – เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ต้องกระจายความเจริญ   –เป็นการพัฒนาที่พึ่งตนเอง

K7.ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) คือ ความสามารถ ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆได้

K8.ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) คือ ทุนที่ได้จากการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลาและมีทัศนคติเป็นบวกพร้อมต่อการทำงานเชิงรุก อันจะทำให้เป็นคนที่มีอัจฉริยภาพ

ในยุคของการก้าวสู่สังคมประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC. อาจารย์ยังให้แนวคิด และมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ คนไทย เพื่อรองรับและยกระดับให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) ที่มีการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ที่ต้องพัฒนาต่อยอดจากทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพที่กล่าวแล้ว อีก 5 ประการ ซึ่งอาจารย์เรียกว่า ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s New) ประกอบด้วย

5Ks(1) ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) คือ ทุนที่สร้างจาก การฝึกคิดนอกกรอบ การเรียนรู้ มีสมาธิ มีเวลาคิด สร้างความคิดให้เป็นระบบ และต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ พลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สามารถสร้างผลงานต่างๆ ได้มากมาย

5Ks(2)ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) คือ ทุนในการแสวงหาความรู้ โดยต้องทันสมัย และแม่นยำ และทุนความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R คือความเป็นจริง และตรงความต้อการ(Reality & Relevance) ซึ่งนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและความเฉลียวฉลาด

5Ks(3) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)  คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า จาก ความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์บวกความรู้ นำความคิดไปปฏิบัติ  ทำให้สำเร็จ โดยพัฒนาขึ้นได้ตามทฤษฎี 3C ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า(Customers) การบริหารความเปลี่ยนแปลง(Change Management) และลดการควบคุม สั่งการ(Command & Control(-)

5Ks(4) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)  คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของประเทศ รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆและสามาถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดี

5Ks(5) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)  คือ การรู้จักควบคุมและบริหารอารมณ์ และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ ทำให้ทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นในทุกๆระดับได้ ทั้งเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์

ดังนั้น คน กฟผ. ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีบทบาทหน้าที่ต่อการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจของประเทศ คงจะต้องมีตระหนักในการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร และ รองรับการแข่งขันในระดับประเทศ ทั้งในยุคที่จะเป็น อาเซียนเสรี หรือแม้ในระดับสากล ตามวิสัยทัศน์ขององค์การ


หัวข้อ 8  แนวความคิดทางการตลาด สู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

 โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

ถ้าจะพูดถึง Marketing : ในการทำธุรกิจจะต้องดูสินค้าหรือบริการที่ผลิตได้ต้องสะท้อนต้นทุนจริงและควรจะต้องควบคุมต้นทุนที่มีผลต่อราคา จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องดู SupplyChain ตั้งแต่เริ่มผลิต จนไปถึงผู้บริโภค ดังนั้น ในการควบคุมการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงกลุ่มที่เรียกว่า Public (สาธารณะ) คือ

1.  General  คือกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากต่อการดำเนินธุรกิจ

2.  Government 

3.  Media คือ กลุ่มสื่อสาร, การโฆษณา

4.  Finance คือ กลุ่มเงินทุน

กลุ่ม PEER คือ พวกกลุ่มเดียวกัน

5.  NGO

6.  Internal คือ สหภาพแรงงาน / พนักงาน

ดังนั้น ในการปรับใช้การตลาดมาใช้กับ EGAT ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐทีดูแลงานสาธารณูปโภค ที่จะต้องจัดเตรียมให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ และมีเพื่อความมั่นคงพลังงาน พอมีกำไรบ้างและต้อง นำรายได้ส่วนหนึ่งไปพัฒนาให้เกิดความมั่นคงกับประเทศ ซึ่ง อาจารย์ ไกรฤทธิ์ฯ  ให้มองง่ายๆ ว่า EGAT เปรียบเสมือนรถยนต์ พนักงานมีหน้าที่ขับไปให้ถึงเป้าหมาย ดังนั้น ในเชิงเศรษศาสตร์แล้วจะต้องทำ Demand Focus

1.  Supply Chain Management อย่างมีประสิทธิภาพ

2.  Mass Communicationเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องสื่อสารให้ทุกคนต้องรู้Positioning ของทุกเรื่องของพลังงาน

3.  Retailing ต้องมีคุณภาพไปถึงลูกค้า คือ ประชาชนโดยตรง

หัวข้อ 9  การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

 โดย อ.สุขุม  นวลสกุล

  ในการสรุปจะขอนำในส่วนที่ อ.สุขุมฯ นำเสนอในห้องและผนวกกับที่เคยได้รับการอบรมเรื่องของบริหารความขัดแย้ง ศ.นพ.วันชัย วัฒนศักดิ์

  ความขัดแจ้งจะมีทั้งเชิงบวก ทางความคิดที่แตกต่าง สรุปได้ว่าเชิงบวกจะนำไปสู่การพัฒนา กับความขัดแย้งเชิงลบที่มีอุปสรรค ขัดขวาง ซึ่งต้องใช้การเจรจาต่อรองรวมถึงการตัดสินใจซึ่งอาจจะใช้คนกลางมาให้ความเห็นเพื่อลดระดับความรุนแรงหรือแก้ไขความขัดแย้งจนนำไปข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งความขัดแย้งแบ่งได้ดังนี้

1.  ระหว่างบุคคล  กับ บุคคล

2.  ระหว่างบุคคล  กับ องค์กร

3.  ระหว่าง องค์กร กับ องค์กร

  ความขัดแย้งถ้าแบ่งตามประเด็นการจัดการข้อพิพาท

1.  ความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data Conflict) สาเหตุ ขาดข้อมูลหรือข้อมูลผิดพลาด,  การแตกต่างในการเก็บข้อมูล, มุมมองต่างในเรื่องข้อมูล

2.  ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Relation Conflict)

3.  ความขัดแย้งด้านค่านิยม (Value Conflict) มีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน

4.  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง (Structural Conflict) 

5.  ผลประโยชน์ (Internet Conflict)

  การตัดสินใจ (Decision Making) เป็นขบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น มีการตกลงร่วมกันว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจต้องอาศัย

ภาพประกอบการตัดสินใจ

 










The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

จากบทความกล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการทำงานของพนักงานที่เปลี่ยนไป โดยได้ยกตัวอย่างจากพนักงานบริษัท IBM สองคน คนแรก คือ Vincent Papke เป็นตัวอย่างของพนักงานรุ่นเก่าที่ให้ความสำคัญกับ Loyalty หรือความจงรักภัคดีต่อองค์กร ซึ่ง แตกต่างจากพนักงานรุ่นใหม่อย่างในกรณีที่สอง Steven Cohn ที่ให้ความสำคัญกับ Performance

ตัวอย่างทั้งสองกรณีนี้ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ corporate social contract ในอเมริกา โดยจากเดิมเป็นลักษณะ loyalty-for-security ที่ให้ความสำคัญกับความสุขของพนักงาน (happy worker) และได้เปลี่ยนแปลงไปสู่พนักงานที่ productive และ engaged ตัวอย่างเช่น การจ่ายโบนัสโดยวัดจาก performance แทนการจ่ายตาม seniority

นักวิชาการกล่าวว่า สำหรับพนักงานรุ่นใหม่ loyalty ได้เปลี่ยนเป็น market transaction หรือการแลกเปลี่ยนทางการตลาด โดยได้รับผลประโยชน์ ทั้งฝ่ายพนักงานและองค์กร

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กระแสglobalization ในด้านธุรกิจ และการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด

บริษัท IBM ได้กำหนด social contract สำหรับพนักงาน เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยได้เริ่มต้นจากการยกเลิกเงินบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ และสร้าง gap ในด้านสวัสดิการการรักษาพยาบาลของพนักงานเก่าและพนักงานใหม่

นักวิชาการกล่าวว่าสำหรับพนักงานรุ่นใหม่ vision และชื่อเสียงของบริษัท จะเป็นแรงกระตุ้นในการทำงาน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับ individualistic (ปัจเจก)และ การแข่งขันทางการตลาด โดยพนักงานรุ่นใหม่เหล่านี้ต้องการได้รับความเชื่อมั่นว่าพวกเขามีส่วนสำคัญต่อบริษัท 


Lesson from a student of life

  จากบาทความของ Jim Collins ได้กล่าวยกย่อง Peter F. Drucker ว่าเป็นอาจารย์ที่นอกจากจะมีเมตตาแล้วยังเป็นผู้ที่มีความสามารถอีกด้วยDrucker ยินดีที่จะชี้แนะและให้คำปรึกษาแก่บุคคลธรรมดาทั่วไปที่หาเส้นทางเดินในชีวิตมากกว่าการให้สัมภาษณ์หรือการปรากฏตัวตามสื่อโทรทัศน์วิทยุสิ่งที่สามารถเรียนรู้จากเขาคือการเป็นผู้ให้และเสียสละ มากกว่าที่จะถามว่าเราจะได้รับอะไร Drucker ไม่เพียงแค่สอนลูกศิษย์แต่เขาจะเรียนรู้จากลูกศิษย์ทุกคนด้วยซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ Drucker เป็นอาจารย์ที่มีอิทธพลต่อคนภายหลังมากที่สุดคนหนึ่ง


สรุปประเด็นจาก  หนังสือ 8K’s + 5K’s  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

    จากแนวคิด ทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยประกอบด้วย

    K1- Human Capital ทุนมนุษย์ มาจากแนวคิดของ Prof. Gary Becker ที่กล่าวถึงมนุษญ์เริ่มมาเท่ากันจะพัฒนาให้มีคุณค่า หรือต่างกัน สามารถลงทุนได้ โดยใช้ทรัพยากรที่ตัวบุคคล ทำได้ตั้งแต่เล็กจนโต ได้แก่ การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว

    K2- Intellectual Capital ทุนปัญญา คือ การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต โดยการใช้การสร้างวัฒนธรรมในการเรียรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ 3 ทฤษฎี คือ

  ทฤษฎี 4L’s เพื่อการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมการเรียนรู้

    L1- Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

    L2- Learning Environment สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

    L3- Learning Opportunities สร้างโอกาสการเรียนรู้

    L4- Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

  ทฤษฎี 2R’s มองความจริง มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ

    Reality มองความจริง

    Relevance มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ

  ทฤษฎี 2i’s มาจาก

    Inspiration การเรียนรู้ต้องมีแรงบันดาลใจ

  Imagination การเรียนรู้ต้องมีจินตนาการ

    K3-Ethical Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม  เป็นทุนทางคุณภาพ ที่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ 

  K4- Happiness Capital ทุนแห่งความสุข เป็นพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ

  K5- Social Capital-Networking  ทุนทางสังคมหรือเครือข่าย เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น  ซึ่งมีวิธีการเช่น คบหาสมาคมกับคนหลายๆกลุ่ม เปิดโลกทัศน์พร้อมจะเรียนรู้ เป็นต้น และมีหลักการที่ยึดเป็นแนวทางในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายคือ

1.  อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ระยะสั้น

2.  เน้นความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ นับถือกัน

3.  เน้าความแตกต่างกันทางความรู้ ทักษะ และศักยภาพ เพื่อสร้างการรวมพลัง (Synegy) ให้ได้จริงๆ

  ในการมี Networking จำเป็นต้องมีต้นทุน ดังนี้

1.  ต้นทุนในการหาข้อมูลข่าวสาร

2.  ต้นทุนในการเจรจาต่อรอง 

  K6- Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นแนวคิดใหม่มากคล้ายๆทุนแห่งความสุข คือ การที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ ซึ่งมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือมีความพอประมาณ มีเหตมีผล มีภูมิคุ้มกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

  K7- Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT  ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ

  K8 – Talented Capital ทุนอัจฉริยะ ต้องมี คุณลักษณะ 3 ประการ คือ

1.  ทักษะ (Skills)

2.  ความรู้ (Knowledge) 

3.  ทัศนคติ (Attitude)

ซึ่งสามารถพัฒนาภาวะผู้นำได้ โดยใช้ ทฤษฎี 5E คือ

1.  Example การมีตัวอย่างหรือแม่แบบที่เก่ง (Role Model)

2.  Experience การมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์

3.  Education  การศึกษา พัฒนา ฝึกอบรม อ่านหนังสือ/ค้นคว้า

4.  Environment การสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้และการทำงาน เปิดโอกาสให้คนแสดงความสามารถ สร้างบรรยากาศแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้

5.  Evaluation  การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  จากแนวคิด ทฤษฎี 5 K’s ใหม่  เป็นทุนใหม่ 5 ประการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งอาเชียน และเวทีโลกประกอบด้วย

  5K’s (1) Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างได้ ที่สำคัญต้องฝึกคิดนอกกรอบ ฝึกตอบโจทย์โดยมีหลายทางออก โดยสรุปได้ดังนี้

1.  วิธีการเรียนรู้ รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

2.  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

3.  ก่อนจะคิดสร้างสรรค์ได้ ต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน คือ มีสมองข้างซ้ายก่อนแล้วมาใช้ข้างขวา

4.  ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ

5K’s (2) Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ความรู้ต้องที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R’s คือ

1.  Reality ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง

2.  Relevance ตรงประเด็นตรงความต้องการของผู้รับบริการ

  5K’s (3) Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า นวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ คือ

1.  มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

2.  นำความคิดไปปฏิบัติจริง

3.  ทำให้สำเร็จ

  นวัตกรรม มีหลายรูปแบบ เช่น สินค้าใหม่ การให้บริการใหม่ การบริหารจัดการแบบใหม่นวัตกรรมทางสังคมเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งจะมีทฤษฏี 3C คือ

1.  Customers วิเคระห์ความต้องการของลูกค้า ทั้งลูกค้าภายในและภายนอก

2.  Change Management บริหารความเปลี่ยนแปลง

3.  Command and Control ลดการควบคุม สั่งการ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และทำงานเป็นทีม

  5K’s (4) Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือการมีความรู้ ความเข้าใจ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม

  5K’s (5) Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือการรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว หดหู่ ตกใจ ตื่นกลัวกับส่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา ซึ่งมีแนวทางในการสร้างทุนอารมณ์ได้ด้วย ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง การติดต่อสัมพันธ์




ก่อนก็ขอพระขอคุณบท่านอาจารย์จีระ ที่ให้อ่านหนังสือ 8K's +5K's ที่ทำให้นำความรู้ที่ได้ในเรื่องทุนมนุษย์ไปใช้ในการพัฒนาให้กับตนเองและลูกน้องต่อไป และขอบคุณอาจารร์ที่ชี้แนะในการมองโดยเฉพาะเรื่อง Unexpected and Unpredictable เป็นเรื่องสำคัญซึ่งเป็นมองของอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ ที่ควรส่วนใหญ่จะมองข้ามไป  ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ Bill Gatt เคยกล่าวว่า ถ้าเรารู้ว่าวันพรุ้งนี้อะไรจะเกิดขึ้น คงจะมีสิ่งมหัศจรรย์ที่เราจะทำขึ้นมาอีกมาก  ส่วนเรื่องที่อาจารย์ไว้คงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกัน

ประเมินความเสี่ยงและจัดเตรียมความพร้อม ในระดับ Crisis managementซึ่งบางเกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับคนจำนวนมาก รวมทั้งต้องมีแผน Restoration ซึ่งที่ผ่านมาขาดประสบการณ์และมองมองอย่างท่านอาจารย์จีระ และขาดการบริหารแบบองค์รวม จริงได้ยินแต่.......เอาอยู่ๆๆๆๆ 

   ขอบครับ.....มานิตย์

8 K’ s + 5K’ s

ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ หรือ HR CHAMPION ได้ให้นิยามคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นแนวคิดทฤษฏี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
ประกอบด้วย

K1 Human Capital  ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital  ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capitalทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital  ทุนทางเทคโนโลยสารสนเทศ หรือ IT

K8 Talented Capital  ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

 

ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับสังคมไทย ในการนำแนวคิดทฤษฎี 8K’s มาเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ระดับชุมชน ระดับองค์กร ครอบครัว และตัวเราเอง เพื่อเตรียมพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย รองรับการเปิดเสรีอาเซียน

- รากฐานของHuman Capital คือแนวคิดที่ริเริ่มโดย Prof.Gary Becker นักเศษฐศาสตร์เขียนทฤษีทุนมนุษย์จาก
University of Chicago ซึ่งได้รับรางวัล Nobel สาขาเศษฐศาสตร์ เมื่อปี 1992

K1 ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นการสร้างทุนมนุษย์ข้อแรกที่ได้จากการศึกษา หรือโภชนาการ
ซึ่งเป็นที่มาของคุณภาพของทุนมนุษย์แบบถาวร Quality of Human Capital หรือสมรรถนะ (Competencies) หรือ ทักษะ (Skill)

K2 ทุนทางปัญญา (Intellectural Capital)
คือการมองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต
ซึ่งมีแนวคิดมาจากการวิเคราะห์ว่าทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้วัดจากระดับของการศึกษาเท่านั้น
แต่เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคิด/วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และหาทางออก ทุนทางปัญญาจะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง และโลกแห่งการแข่งขัน และความไม่แน่นอน โดยเฉพาะการเข้าสู่อาเซียนเสรี อาจารย์จีระได้ชี้แนว ทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้บคนในองค์กรด้วยการนำทฤษฎี 4L’s มาปรับใช้ อาจารย์จีระใช้ทฤษฎี 2R’s คือมองความจริง (Reality) มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ (Relevance) ในวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดทุนทางปัญญา โดยการจุดประกายให้ลูกศิษย์เกิดแรงบันดาลใจ ผ่านวิธีการเรียนรู้ที่สนุก และได้มุมมองใหม่ๆ
ทำให้สามารถแสดงความคิดเห็นดีๆที่ได้รับการกระตุ้นให้นำไปทำจนสำเร็จ

K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)ซึ่งประกอบด้วยความเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวมมีจิตสาธารณะ อาจารย์จีระได้แนะนำนวทางการสร้างคุณธรรม จริยธรรม 2 แนวทางคือ

  แนวทางแรก การสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้ยึดหมั่นใน ศีล สมาธิ และปัญญา

  แนวทางที่สอง คือจาก Peter Drucker กูรูชาวอเมริกัน ประกอบด้วย Integrity
(ความถูกต้อง), Imagination (จินตนาการ) และ Innovation (นวัตกรรม) ทุกวันนี้ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมยังเป็น  เรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย จึงควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ

K4  ทุนแห่งความสุข  (Happiness Capital)

  “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุขที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น”
ทำอะไรต้องมีความสุขด้วย เพราะศึกครั้งนี้ยาวนาน ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุข เราจะชนะ เพียงแต่คนทำงานเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีความสุข สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว”

หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ  ข้อที่ 21 เรื่องทำงานอย่างมีความสุข

จากหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” ของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

  “ในโลกของการแข่งขัน การจะอยู่รอดในสังคมอาเชียนเสรีนั้น เรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด
แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า”

  อาจารย์จีระให้นิยามว่า.. “ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ”

 

กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข



 
 


 
 

 

Happiness  Capital

(Dr. Chira  Hongladarom's Model)

 

Happiness  Capital

(Sharp/Hongladarom's   Model)

 

1.   สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม    (Healthy) 

2.  ชอบงานที่ทำ (Passion) 

3.  รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) 

4.  รู้ความหมายของงาน (Meaning) 

5.  มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ
  (Capability)
 

6.  เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา
  (Learning)
 

7.  เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare) 

8.  ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว
  (Teamwork)
 

9.  ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม
  (Coaching)
 

10.  ทำงานที่ท้าทาย (Challenge) 

11.  ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)


 
 

1.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  (Exercise)

2.  อย่าแบกงานที่หนักเกินไป 

  (Put Down your burden) 

3.  ศักยภาพในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

  (Communicate Effectively) 

4.  ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง 

  (Recognize your strengths)

5.  มุ่งมั่นในงาน (Keep  Focus) 

6.  ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ 

  (Reduce the 'shoulds')

7.  ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงาน
คล้ายๆ
  กัน (Clarify your  values) 

8.  อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล 

  (Overcome worry and stress) 

9.  บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง 

  (Refine your workload) 

10.  ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน  (Choose your words)

11.  สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

  (Create good environment)


K5  ทุนทางสังคม (Social Capital คือ Networking

  - ต้องมีการวิเคราะห์ว่า วันนี้ ตัวเราองค์กรของเรามีเครือข่าย Networks กว้างขวาง แค่ไหน และมี      คุณค่าต่อการทำงานหรือไม่ ?

  - เครือข่ายหรือ Network คือการที่เรารู้จักบุคคลจากหลายๆ วงการ นอกจากเครือญาติหรือเพื่อนฝูง    แล้ว ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่เราจะต้องทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

  - ทุนแห่งเครือข่าย มีต้นทุนที่ต่ำมาก เป็นการหาข้อมูลรู้จักว่าคนเก่งอยู่ที่ไหน และหาทางเจรจาต่อรอง      มาเป็นแนวร่วมในการสร้างทุนทางเครือข่าย

  หลักการ 3 ข้อ ที่ อาจารย์จีระ ยึดเป็นแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายหรือแนวร่วม คือ

1. อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้นความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุข และความสบายใจที่คบหากัน (Comfort Level) และค่อยๆ ไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน

2. ต้องเน้น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ และนับถือในตัวบุคคลเหล่านั้น (Respect)
ไม่ได้มองแค่ภายนอกหรือวัตถุ

3. เน้นความแตกต่างกันทางความรู้ ทักษะและศักยภาพ เพื่อสร้างการรวมพลัง (Synergy) ให้ได้จริงๆ

  ในยุคอาเซียนเสรีสังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายของปัญญา   Networking of Intelligence หรือ
Intelledual Network คือต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่  หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้

K6  ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital)

 - มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเน้นความพอประมาณ มี    เหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

  - 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ของ อาจารย์จิระ (Chira's 6 factors) ประกอบด้วย

  ปัจจัยแรก คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาว  อยู่รอด
อย่างให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว

  ปัจจัยที่ 2 คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่    ถูกทำลาย
และพัฒนาไปด้วยกันกับการพัฒนา ซึ่งบางแห่งเรียกว่าเป็น Green Development

  ปัจจัยที่ 3 คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม ควบคู่กันกับความ เจริญ     คือ มีศีลธรรม
คุณธรรมคู่ไปกับการพัฒนา

  ปัจจัยที่ 4 คือ ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคม การเรียนรู้

  ปัจจัยที่ 5 คือ ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้น อย่างกระจาย
ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ

  และสุดท้ายปัจจัยที่ 6 คือ ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง (Self-reliance) ไม่ใช่รอความ ช่วย      เหลือจากคนอื่นอย่างเดียวซึ่งเป็นปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

K7  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Digital Capital)

  “ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ” จะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ได้ คือ มีทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งการเรียนรู้ การค้นคว้า วิจัยการแสวงหาข้อมูลที่สด ทันสมัย และสามารถแบ่งปันความรู้ไปสู่สาธารณชนได้ แบบ Real time

  ดังนั้น ผู้ที่มีทุนทาง IT และภาษาเป็นผู้ที่ได้เปรียบ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยจะต้องขวนขวายเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านภาษา และด้าน IT เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมอาเซียน

K8  ทุนอัจฉริยะ หรือ Talented Capital

  ในยุคอาเซียนเสรี หรือ AEC คนที่มีศักยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ในตัว
หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลามีทัศนคติพร้อมต่อการทำงานในเชิงรุก โดยเฉพาะมีทัศนคติเป็นบวกเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ยากกว่าทักษะ หรือความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของอาเซียนเสรีการเปิดประเทศครั้งนี้คนไทยต้องมีทัศนคติเชิงบวก มองโอกาส ความเสี่ยง เตรียมความพร้อมเชิงรุกและรับ และพร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง

  การพัฒนาทุนอัจฉริยะ หรือ Talented Capital  สามารถใช้แนวทางเดียวกับการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยทฤษฎี
5 E ซึ่งได้มาจากการวิจัยของ Center for Creative Leadership คือ

1. Example คือ การมีตัวอย่างหรือแม่แบบที่เก่ง (Role Model)

2. Experience  คือ การมีโอกาสได้เรียนรู้งานจากผู้ที่มีประสบการณ์

3. Education คือ การศึกษา พัฒนา ฝึกอบรม อ่านหนังสือ/ค้นคว้า ฯลฯ

4. Environment คือ การสร้างบรรยายกาศที่ดีในการเรียนรู้และการทำงาน เปิดโอกาสให้คนแสดงความสามารถ สร้างบรรยายกาศแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้

5. Evaluation คือ การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

  ซึ่งจากประสบการณ์ของอาจารย์จีระ พบว่า คนที่มีทักษะความรู้เฉพาะทางมาก จะมีจุดอ่อนมากในเรื่อง ทัศนคติ เช่น การยึดติดกับกรอบความคิดเดิมไม่ยอมเปลี่ยนมุมมอง ไม่ข้ามศาสตร์ ไม่คิดนอกกรอบ ไม่ทำงานเป็นทีม ไม่ทำงานเชิงรุก เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายๆ องค์กรจะต้องมีการพัฒนาบุคคลากรที่เหมาะสม

  สรุปได้ว่า ทฤษฎีทุน  8 ประการ สามารถนำมาปรับใช้เป็นเข็มทิศในการสร้างและพัฒนาศักยภาพ
หรือคุณภาพของทุนมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร สังคม และประเทศชาติ
เพื่อเตรียมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ได้เป็นอย่างดี

5 K's

นอกจากแนวคิด ทฤษฎี 8 k's  ยังมีทฤษฎี 5 k's(ใหม่)  ซึ่งเป็นแนวคิดทุนใหม่ต้องนำมาใช้พิจารณาเป็นทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน
5 ประการ

1. Creativity Capital  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

2. Knowledge Capital  ทุนทางความรู้

3. Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม

4. Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์

5. Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม

 

5 K's (1) ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)

- พลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่างๆ ได้มากมาย

- ในการสร้างทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ต้องพยายามคิดนอกกรอบ (thinking Outside the box)  โดยใช้แนวทาง 4 ข้อ  ดังนี้

1.  วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

2.  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

3.  ก่อนจะคิดสร้างสรรค์ได้ ต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน คือ ใช้สมองข้างซ้ายก่อน แล้วมาใช้ข้างขวา

4.  ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ คือ ต้อง Re-inventing ตัวเองให้มีคุณค่ามากขึ้นทุกๆ วัน  อย่าพึงพอใจเพียงแค่ความสำเร็จในวันนี้  แล้วหยุดการเรียนรู้  ถ้าหยุดการพัฒนา ชีวิตก็จะไร้ค่าทันที

 

5 K's (2) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)

- ความรู้ที่เรามีจะต้องสด ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์  นั่นคือเราต้องเป็นคนใฝ่รู้ เป็นคนมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture)

- ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R's คือ

Reality  =  ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง

Relevance  =  ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ

- การมีทุนทางความรู้ จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation)  มูลค่าเพิ่ม (Value Added)  และมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Siversity)  และความเฉลียวฉลาด (Wisdom)

 

5 K's (3) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)

- คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า ต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง

1.  มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้

2.  นำความคิดไปปฏิบัติจริง โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบ และเขียนโครงการ การผลักดันให้ได้รับการอนุมัติ
และการบริหารโครงการ

3.  ทำให้สำเร็จ แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมาย ผลตอบแทนความสำเร็จ เช่น ได้เงิน ได้หน้า ได้ความสุข
และสามารถทำให้องค์กรยั่งยืน บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ชุมชน และสังคมได้รับการพัฒนา

- การสร้างหรือพัฒนาทุนทางนวัตกรรม ใช้ทฤษฎี 3 C  ประกอบด้วย

1.  Customers  - วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก

2.  Change Management  - บริหารการเปลี่ยนแปลง

3.  Command and Control  - ลดการควบคุม สั่งการ  แต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Participation)  และทำงานเป็นทีม (Teamwork)

 

5 K's (4) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

- คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่ง ประกอบด้วย ขนบธรรมเนียม ศาสนา ประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญา แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศ

- และทุนทางวัฒนธรรมยังหมายถึงการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย

- จุดเด่นของวัฒนธรรมไทยคือ มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออารี เต็มเปี่ยมด้วยอัธยาศัยไมตรียากที่ชาติใดๆ ในโลกจะเลียนแบบได้ ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ

- วัฒนธรรมไทย จะเป็นจุดแข็งที่สามารถสร้างคุณค่าได้ ในยุคเสรีอาเซียนได้

 

5 K's (5) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

- คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว
หดหู่ ตกใจ ตื่นกลับกับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา  รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี ฯลฯ

- การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ให้มีทุนทางอารมณ์ตามแนวทางของ The Klann Leadership คือ มีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นจะช่วยให้เราสามารถทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ระดับได้  ทั้งเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ที่เกิดจากการใช้อารมณ์ 

- สำหรับสังคมไทย วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างทุนทางอารมณ์ คือ ยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต

- การเป็นผู้มีทุนทางอารมณ์ ทำให้เรามีแรงบันดาลใจ มีพลังขับเคลื่อนผลงาน และความเป็นเลิศอย่างเต็มที่  และยังช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง ก่อให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ขอปรับปรุงข้อมูลของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

8 K’ s + 5K’ s

ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ หรือ HR CHAMPION ได้ให้นิยามคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นแนวคิดทฤษฏี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
ประกอบด้วย

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capitalทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยสารสนเทศ หรือ IT

K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับสังคมไทย ในการนำแนวคิดทฤษฎี 8K’s มาเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ระดับชุมชน ระดับองค์กร ครอบครัว และตัวเราเอง เพื่อเตรียมพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย รองรับการเปิดเสรีอาเซียน

- รากฐานของHuman Capital คือแนวคิดที่ริเริ่มโดย Prof.Gary Becker นักเศษฐศาสตร์เขียนทฤษีทุนมนุษย์จาก
University of Chicago ซึ่งได้รับรางวัล Nobel สาขาเศษฐศาสตร์ เมื่อปี 1992

K1 ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นการสร้างทุนมนุษย์ข้อแรกที่ได้จากการศึกษา หรือโภชนาการ
ซึ่งเป็นที่มาของคุณภาพของทุนมนุษย์แบบถาวร Quality of Human Capital หรือสมรรถนะ (Competencies) หรือ ทักษะ (Skill)

K2 ทุนทางปัญญา (Intellectural Capital)
คือการมองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต ซึ่งมีแนวคิดมาจากการวิเคราะห์ว่าทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้วัดจากระดับของการศึกษาเท่านั้น แต่เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคิด/วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และหาทางออก ทุนทางปัญญาจะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง และโลกแห่งการแข่งขัน และความไม่แน่นอน โดยเฉพาะการเข้าสู่อาเซียนเสรี อาจารย์จีระได้ชี้แนว ทางสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้บคนในองค์กรด้วยการนำทฤษฎี 4L’s มาปรับใช้ อาจารย์จีระใช้ทฤษฎี 2R’s คือมองความจริง (Reality) มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ (Relevance) ในวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดทุนทางปัญญา โดยการจุดประกายให้ลูกศิษย์เกิดแรงบันดาลใจ ผ่านวิธีการเรียนรู้ที่สนุก และได้มุมมองใหม่ๆ ทำให้สามารถแสดงความคิดเห็นดีๆที่ได้รับการกระตุ้นให้นำไปทำจนสำเร็จ

K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)ซึ่งประกอบด้วยความเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวมมีจิตสาธารณะ อาจารย์จีระได้แนะนำนวทางการสร้างคุณธรรม จริยธรรม 2 แนวทางคือ

แนวทางแรก การสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้ยึดหมั่นใน ศีล สมาธิ และปัญญา

แนวทางที่สอง คือจาก Peter Drucker กูรูชาวอเมริกัน ประกอบด้วย Integrity (ความถูกต้อง), Imagination (จินตนาการ) และ Innovation (นวัตกรรม) ทุกวันนี้ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมยังเป็น เรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย จึงควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ

K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)

ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุขที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น”
ทำอะไรต้องมีความสุขด้วย เพราะศึกครั้งนี้ยาวนาน ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุข เราจะชนะ เพียงแต่คนทำงานเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีความสุข สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว”

หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้อที่ 21 เรื่องทำงานอย่างมีความสุข

จากหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” ของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ในโลกของการแข่งขัน การจะอยู่รอดในสังคมอาเชียนเสรีนั้น เรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด
แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า”

อาจารย์จีระให้นิยามว่า.. ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ”

กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom's Model)

Happiness Capital

(Sharp/Hongladarom's Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ
(Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา
(Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว
(Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)

2. อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

(Put Down your burden)

3. ศักยภาพในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

(Communicate Effectively)

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

(Recognize your strengths)

5. มุ่งมั่นในงาน (Keep Focus)

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

(Reduce the 'shoulds')

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงาน
คล้ายๆ กัน (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

(Overcome worry and stress)

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

(Refine your workload)

10. ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11. สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

(Create good environment)

K5 ทุนทางสังคม (Social Capital คือ Networking

- ต้องมีการวิเคราะห์ว่า วันนี้ ตัวเราองค์กรของเรามีเครือข่าย Networks กว้างขวาง แค่ไหน และมี คุณค่าต่อการทำงานหรือไม่ ?

- เครือข่ายหรือ Network คือการที่เรารู้จักบุคคลจากหลายๆ วงการ นอกจากเครือญาติหรือเพื่อนฝูง แล้ว ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่เราจะต้องทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

- ทุนแห่งเครือข่าย มีต้นทุนที่ต่ำมาก เป็นการหาข้อมูลรู้จักว่าคนเก่งอยู่ที่ไหน และหาทางเจรจาต่อรอง มาเป็นแนวร่วมในการสร้างทุนทางเครือข่าย

หลักการ 3 ข้อ ที่ อาจารย์จีระ ยึดเป็นแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายหรือแนวร่วม คือ

1. อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้นความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุข และความสบายใจที่คบหากัน (Comfort Level) และค่อยๆ ไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน

2. ต้องเน้น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ และนับถือในตัวบุคคลเหล่านั้น (Respect)
ไม่ได้มองแค่ภายนอกหรือวัตถุ

3. เน้นความแตกต่างกันทางความรู้ ทักษะและศักยภาพ เพื่อสร้างการรวมพลัง (Synergy) ให้ได้จริงๆ

ในยุคอาเซียนเสรีสังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายของปัญญา Networking of Intelligence หรือ
Intelledual Network คือต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่ หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้

K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital)

- มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเน้นความพอประมาณ มี เหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

- 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ของ อาจารย์จิระ (Chira's 6 factors) ประกอบด้วย

ปัจจัยแรก คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาว อยู่รอด
อย่างให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว

ปัจจัยที่ 2 คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ ถูกทำลาย
และพัฒนาไปด้วยกันกับการพัฒนา ซึ่งบางแห่งเรียกว่าเป็น Green Development

ปัจจัยที่ 3 คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม ควบคู่กันกับความ เจริญ คือ มีศีลธรรม
คุณธรรมคู่ไปกับการพัฒนา

ปัจจัยที่ 4 คือ ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคม การเรียนรู้

ปัจจัยที่ 5 คือ ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้น อย่างกระจาย
ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ

และสุดท้ายปัจจัยที่ 6 คือ ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง (Self-reliance) ไม่ใช่รอความ ช่วย เหลือจากคนอื่นอย่างเดียวซึ่งเป็นปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (Digital Capital)

ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ” จะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ได้ คือ มีทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งการเรียนรู้ การค้นคว้า วิจัยการแสวงหาข้อมูลที่สด ทันสมัย และสามารถแบ่งปันความรู้ไปสู่สาธารณชนได้ แบบ Real time

ดังนั้น ผู้ที่มีทุนทาง IT และภาษาเป็นผู้ที่ได้เปรียบ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยจะต้องขวนขวายเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านภาษา และด้าน IT เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมอาเซียน

K8 ทุนอัจฉริยะ หรือ Talented Capital

ในยุคอาเซียนเสรี หรือ AEC คนที่มีศักยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ในตัว
หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลามีทัศนคติพร้อมต่อการทำงานในเชิงรุก โดยเฉพาะมีทัศนคติเป็นบวกเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ยากกว่าทักษะ หรือความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของอาเซียนเสรีการเปิดประเทศครั้งนี้คนไทยต้องมีทัศนคติเชิงบวก มองโอกาส ความเสี่ยง เตรียมความพร้อมเชิงรุกและรับ และพร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง

การพัฒนาทุนอัจฉริยะ หรือ Talented Capital สามารถใช้แนวทางเดียวกับการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยทฤษฎี
5 E ซึ่งได้มาจากการวิจัยของ Center for Creative Leadership คือ

1. Example คือ การมีตัวอย่างหรือแม่แบบที่เก่ง (Role Model)

2. Experience คือ การมีโอกาสได้เรียนรู้งานจากผู้ที่มีประสบการณ์

3. Education คือ การศึกษา พัฒนา ฝึกอบรม อ่านหนังสือ/ค้นคว้า ฯลฯ

4. Environment คือ การสร้างบรรยายกาศที่ดีในการเรียนรู้และการทำงาน เปิดโอกาสให้คนแสดงความสามารถ สร้างบรรยายกาศแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้

5. Evaluation คือ การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจากประสบการณ์ของอาจารย์จีระ พบว่า คนที่มีทักษะความรู้เฉพาะทางมาก จะมีจุดอ่อนมากในเรื่อง ทัศนคติ เช่น การยึดติดกับกรอบความคิดเดิมไม่ยอมเปลี่ยนมุมมอง ไม่ข้ามศาสตร์ ไม่คิดนอกกรอบ ไม่ทำงานเป็นทีม ไม่ทำงานเชิงรุก เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายๆ องค์กรจะต้องมีการพัฒนาบุคคลากรที่เหมาะสม

สรุปได้ว่า ทฤษฎีทุน 8 ประการ สามารถนำมาปรับใช้เป็นเข็มทิศในการสร้างและพัฒนาศักยภาพ
หรือคุณภาพของทุนมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร สังคม และประเทศชาติ เพื่อเตรียมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ได้เป็นอย่างดี

5 K's นอกจากแนวคิด ทฤษฎี 8 k's ยังมีทฤษฎี 5 k's(ใหม่) ซึ่งเป็นแนวคิดทุนใหม่ต้องนำมาใช้พิจารณาเป็นทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 5 ประการ

1. Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

5 K's (1) ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)

- พลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่างๆ ได้มากมาย

- ในการสร้างทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ต้องพยายามคิดนอกกรอบ (thinking Outside the box) โดยใช้แนวทาง 4 ข้อ ดังนี้

1. วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

2. ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

3. ก่อนจะคิดสร้างสรรค์ได้ ต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน คือ ใช้สมองข้างซ้ายก่อน แล้วมาใช้ข้างขวา

4. ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ คือ ต้อง Re-inventing ตัวเองให้มีคุณค่ามากขึ้นทุกๆ วัน อย่าพึงพอใจเพียงแค่ความสำเร็จในวันนี้ แล้วหยุดการเรียนรู้ ถ้าหยุดการพัฒนา ชีวิตก็จะไร้ค่าทันที

5 K's (2) ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)

- ความรู้ที่เรามีจะต้องสด ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์ นั่นคือเราต้องเป็นคนใฝ่รู้ เป็นคนมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture)

- ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R's คือ

Reality = ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง

Relevance = ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ

- การมีทุนทางความรู้ จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Siversity) และความเฉลียวฉลาด (Wisdom)

5 K's (3) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)

- คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า ต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง

1. มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้

2. นำความคิดไปปฏิบัติจริง โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบ และเขียนโครงการ การผลักดันให้ได้รับการอนุมัติ
และการบริหารโครงการ

3. ทำให้สำเร็จ แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมาย ผลตอบแทนความสำเร็จ เช่น ได้เงิน ได้หน้า ได้ความสุข
และสามารถทำให้องค์กรยั่งยืน บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ชุมชน และสังคมได้รับการพัฒนา

- การสร้างหรือพัฒนาทุนทางนวัตกรรม ใช้ทฤษฎี 3 C ประกอบด้วย

1. Customers - วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก

2. Change Management - บริหารการเปลี่ยนแปลง

3. Command and Control - ลดการควบคุม สั่งการ แต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Participation) และทำงานเป็นทีม (Teamwork)

5 K's (4) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

- คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่ง ประกอบด้วย ขนบธรรมเนียม ศาสนา ประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญา แนวทางปฏิบัติ และความเชื่อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศ

- และทุนทางวัฒนธรรมยังหมายถึงการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย

- จุดเด่นของวัฒนธรรมไทยคือ มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออารี เต็มเปี่ยมด้วยอัธยาศัยไมตรียากที่ชาติใดๆ ในโลกจะเลียนแบบได้ ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ

- วัฒนธรรมไทย จะเป็นจุดแข็งที่สามารถสร้างคุณค่าได้ ในยุคเสรีอาเซียนได้

5 K's (5) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

- คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว
หดหู่ ตกใจ ตื่นกลับกับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี ฯลฯ

- การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ให้มีทุนทางอารมณ์ตามแนวทางของ The Klann Leadership คือ มีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นจะช่วยให้เราสามารถทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ระดับได้ ทั้งเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ที่เกิดจากการใช้อารมณ์

- สำหรับสังคมไทย วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างทุนทางอารมณ์ คือ ยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต

- การเป็นผู้มีทุนทางอารมณ์ ทำให้เรามีแรงบันดาลใจ มีพลังขับเคลื่อนผลงาน และความเป็นเลิศอย่างเต็มที่ และยังช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง ก่อให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน


บทสรุป  จากหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

  ตามที่ได้ศึกษาจากหนังสือ 8K’s + 5K’s ของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ พอสรุปประเด็นสำคัญในการพัฒนาของสังคมโลก ตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบัน จากพื้นฐานทางทรัพยากรธรรมชาติ นำไปสู่การประดิษฐ์ต่างๆ  ที่เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ล้วนแล้วแต่มาจากการพัฒนาของมนุษย์ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งวิวัฒนาการดังกล่าวประกอบด้วย

  K1  Human Capital ทุนมนุษย์ จะถูกหล่อหลอมให้มีศักยภาพจากการศึกษา โภชนาการที่สมบูรณ์ การเลี้ยงดูจากครอบครัวตลอดการได้รับรู้จากสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่จะสร้างสมประสบการณ์ให้กับมนุษย์

  K2  Intellectual Capital ซึ่งนอกจากมนุษย์จะได้รับการศึกษารับรู้จากสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่แล้ว การคิดวิเคราะห์ตลอดจนการรู้จักการแก้ปัญหา หรือพัฒนาทักษะที่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ได้คำตอบถือว่าเป็นทุนทางปัญญา

  K3  Ethic Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์ที่จะแยกแยะ สิ่งที่คิดทำจะเป็นประโยชน์ให้คุณให้โทษกับส่วนตัวและส่วนรวมของมนุษย์ ซึ่งในเรื่องทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมนั้น จะต้องเป็นคนดี คิดดีหรือส่วนรวมและจิตสาธารณะ

  K4  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนจะแสวงหาความสุขให้กับชีวิต ซึ่งท่านอาจารญ์จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้ให้นิยามของทุนความสุข คือ การแสดงออกหรือพฤติกรรมของตัวบุคคลที่พึงมีเพื่อให้ชีวิตมีคุณค่า

  K5  Social Capital-Networking ทุนทางสังคม นั้น หมายถึง เรามีเครือข่าย ยิ่งกว้างไกลแค่ไหน  ก็จะทำให้เรามีคุณภาพของทุนมนุษย์ที่สูงขึ้นนั้น หมายถึง เราได้เปิดโลกทัศน์พร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อใช้งานการพัฒนา

  K6  Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น และนำไปสู่ทุนของความสุขนั้น ต้องมีการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ

1.  ความพอประมาณ ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกิน

2.  ความมีเหตุผล

3.  มีภูมิคุ้มกัน

จะเห็นในโลกของการแข่งขันทุกวันนี้ จะไม่มีความสมดุลของความต้องการมนุษย์จพบว่ามนุษยชาติส่วนหนึ่งจะมีระดับความต้องการสูงจึงนำไปสู่ Over Supply Economy และส่วนที่ทุนมนุษยชาติที่ค่อนข้างต่ำน้อยมีโอกาสหรือทุนมนุษน้อยกว่าที่ควรจะได้รับโดยเฉพาะ  ในเรื่อของปัจจัย 4 เพราะฉนั้น ในสังคมโลกควรใช้ความร่วมมือพัฒนาทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Economy) ตามปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสและเน้นย้ำเสมอ

K7  Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีหรือ IT เป็นทุนที่เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพให้กับทุนมนุษย์ และเสริมความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลให้กับทุนทางสังคมให้มีการติดต่อได้อยู่รวดเร็ว

K8  Talented Capital ทุนอัจฉริยะ ซึ่งเป็นทุนในการเป็นคนเก่ง หรือ การเกิด Competency นั้น จะต้องประกอบที่สำคัญ 3  ประการ จึงมีความเป็นเลิศได้ ได้ความรู้ Knowledge มีทักษะ Skill และมีทัศนคติAttitudeที่ดีประสานกันเป็นหนึ่งเดียว

  และในยุคปัจจุบันจะถือ Global Communication ที่มีผลทำให้เกิดารเปลียนแปลงของโครงสร้าง เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเกือบทุกที่ในโลก จึงทำทุนมนุษย์ 8K’s ที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ จึงมีการปรับทฤษฎี 5k’s อีก 5 ทุนมนุษย์ที่ ใช้ในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันที่มีคุณภาพให้ประเทศชาติ ซึ่ง 5K’s ประกอบด้วย

1.  Creative Capital ทุนทางความคิดสนับสุน เป็นสิ่งที่จินตนาการโดยใช้หลักความรู้ เพื่อที่สร้างหรือเป็นแนวทางในการที่เดินหน้าพัฒนาต่อไป

2.  Knowledge Capital ซึ่งจะเป็น Resourcing เพื่อจะนำทุนความรู้นั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) เชื่อมโยงเป็น ValueDiversity มีความหลากหลายนำไปสู่ความชาญฉลาด (Wisdom)

3.  Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือ ความสามารถที่คิดหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ  ที่มีคุณค่าและนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันทางสังคมต่อไป

4.  Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์ในสังคม มึความเชื่อและให้ความสำคัญใช้เป็นรากฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งจะมีความแตกต่างตามพื้นที่ ชาติ ศาสนา และความเชื่อ และมีจุดเด่นเฉพาะ

5.  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งและส่งผลกระทบทางบวกและลบต่อการพัฒนา ดังนั้น ทุนอารมณ์จะเป็นเครื่องมือของภาวะผู้นำที่จะใช้ในการบริหาร  เป็นความกล้าหาญ, เอื้ออาทร,ควบคุมตัวเอง และการติดต่อสัมพันธ์

สรุปจะเห็นว่าทุน 8K’s + 5K’s เป็นต้นทุนมนุษย์ที่สำคัญที่จะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งขอยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง และสิงคโปร์ จะใช้ทุนมนุษย์เป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่กล่าวถึง ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอ จึงนำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอยู่ในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว และย้อนกลับไปดูทุนมนุษย์จะมีความครบถ้วนของ 8K’s + 5K’s

 

   สรุปโดย  มานิตย์


บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

สรุปความรู้และความคิดเห็น จากการอ่านหนังสือ

8k's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับในประชาคมอาเซียน

เขียนโดยอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  ทรัพยากรมนุษย์ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและมีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะช่วงที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community(AEC)  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับพัฒนา

  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้นำเสนอทฤษฎี การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์เพื่อความอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ ในชื่อทฤษฎี 8K’s +5K’s

  ทฤษฎี 8K’s

K1 Human Capital   ทุนมนุษย์  คือ  ความรู้  การศึกษา  การฝึกอบรม  การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ 

K2 Intellectual  ทุนทางปัญญา คือ การมองอนาคต  การปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตามทฤษฎีแห่งการเรียนรู้  4L’s  ( Learning Methodology ,  Learning  environment ,Learning Opportunities, Learning Communities ) และ 2R’s (  Reality, Relevance )

K3 Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม คือ การเป็นคนดี  คิดดี  ทำดี  คิดเพื่อส่วนรวม  มีจิตสาธารณะ คุณสมบัติที่สำคัญ ประกอบด้วย Integrity  Imagination  และ Innovation

K4 Happiness Capital  ทุนทางความสุข  คือพฤติกรรมที่ทำให้ชีวิตมีตนเองมีคุณค่า  มีความสุขในการทำงาน เพื่อให้ผลงานออกมามีคุณภาพดี

K5 Social Capital  ทุนทางสังคม  คือ การมีเครือข่าย (Networking) รู้จักและคบหาคนจากหลายๆวงการและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เข้ากับคนง่าย  มีทัศนคติเป็นบวก  และเข้าใจความหลากหลายในความคิดและวิถีชีวิต 

K6 Sustainable Capital  ทุนทางความยั่งยืน คือ การมองถึงความอยู่รอดในอนาคต  เช่นแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

K7 Digital Capital  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  คือ ความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆได้

K8 Talented Capital  ทุนอัจฉริยะ คือ มีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ในตัว หมายถึง พัฒนาทักษะและความรู้ของตนเองตลอดเวลา  ด้วย ทฤษฎี 5E (Example Experience Education Environmental Evaluation )

     ทฤษฎี 5K’s (ใหม่)

คือทฤษฎีในการสร้างความสามารถเพื่อการแข่งขันในโลกไร้พรมแดนของทุนมนุษย์

5K’s (1)  Creativity Capital   ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ คือ ทุนที่สร้างจาก การฝึกคิดนอกกรอบ มีสมาธิ มีเวลาคิด ความคิดเป็นระบบ มีจินตนาการ อยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ

5K’s (2)  Knowledge Capital ทุนทางความรู้  คือ ความรู้ต้อง ทันสมัย แม่นยำ  ข้ามศาสตร์  อยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality หมายถึง ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance หมายถึง ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ 

5K’s (3)  Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม  คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า  นวัตกรรมมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือมีความคิดใหม่  นำความคิดไปปฏิบัติจริงได้ และทำให้สำเร็จ

5K’s (4)  Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศาสนา  ความเชื่อ  ประวัติศาสตร์  วิถีชีวิต  ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

5K’s (5)  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  เช่นการนำหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต  สามารถสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ ทำให้ทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

  กฟผ. ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรตาม SEPA หมวด5โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8k's+5K's และสร้างกฟผ.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยการวางยุทธศาสตร์เพื่อให้ กฟผ. พร้อมในการแข่งขันเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน  สังคมและวัฒนธรรม เพื่อทำให้ประเทศไทยก้าวไปพร้อมกับอาเซียนอย่างมั่นคงและสง่างาม

  การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของกฟผ.ต้องเริ่มต้นจาก การสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรของ กฟผ ว่ายังพร่องอยู่ในด้านใดบ้าง และเติมเต็มสิ่งต่างๆให้ครอบคลุมตามทฤษฎี8k's+5K's ต้องมีการสร้าง เครือข่าย เช่นการส่งบุคลากรเข้า อบรมร่วมกับหน่วยราชการ เอกชนอื่นๆ หลากหลายอาชีพ ต้องส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาที่กฟผ.รู้เฉพาะด้านวิชาการอย่างเดียวแบบไซโลโดยไม่สนใจศาสตร์อื่น เป็นต้น

  บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์


ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

(ดร.กมล ตรรกบุตร , ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์)

วันที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 9.00-12.00 น.

            จากการฟังบรรยายได้ทราบผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ผมมองว่าแม้ญี่ปุ่นจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแต่เมื่อเจอภัยภิบัติซึ่งเกินกว่าขีดจำกัดที่ออกแบบไว้สำหรับการป้องกัน ญี่ปุ่นก็ยังมีกระบวนการในการรับเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินได้ดี ซึ่งมองได้จากความสูญเสียของประชาชนและมีการฟื้นฟูรวมถึงการเยียวยาให้คืนกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วและถ้ามองกลับมาที่ประเทศไทยแผนการรับมือกับเหตุวิกฤติหรือภาวะฉุกเฉินของประเทศไทยนับว่ายังล้าหลังและยังต้องพัฒนาอีกมากและแนวทางดังกล่าวนี้จะเป็นหลักฐานในการตอบโจทย์เรื่องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต ซึ่งจะต้องเจอคำถามว่า ประเทศไทยมีความพร้อมมากน้อยเท่าไหร่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของข้าพเจ้า

(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)

วันที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 13.00-16.00 น.

            ภาวะผู้นำในแนวทางของคุณหญิงทิพาวดี มีหลายข้อและหลายแนวทางที่โดนใจ ซึ่งจะนำมาใช้เป็นข้อๆ ในอย่างหนึ่งอย่างใดคงจะไม่ได้ น่าจะใช้ในภาพรวม ในหัวข้อใหญ่ๆ เช่นที่ท่านกล่าวว่า รักษายี่ห้อให้ได้ ในความเข้าใจหมายถึงภาพลักษณ์หรือภาพจริงของเราต้องมีความสม่ำเสมอไม่ซ้ายทีขวาทีหรือลักษณะผีเข้าผีออก และอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือท่านให้ประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอว่าเรามีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอย่างไรจากนั้นนำมาวิเคราะห์และมุ่งเพิ่มจุดแข็งของตัวเองก่อน ให้ดียิ่งขึ้นๆไป ส่วนการลดจุดอ่อนก็พยายามลดลงแต่เน้นที่จุดแข็งก่อน

            ส่วนที่ท่านแนะนำให้พึ่งตนเองในงานที่รับผิดชอบให้ได้ทั้งหมดก็เห็นด้วย รวมถึงรู้จักคบคนและสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะสนับสนุนงานต่างๆ เพื่อที่จะทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายหรือเรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็ก

            สุดท้ายก็ชื่นชมคุณหญิงวิพาวดี ท่านเป็นผู้หญิงเก่งในประเทศไทย ซึ่งท่านได้แสดงภาพลักษณ์และภาพจริงตามที่ท่านนำเสนอทุกประการ

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

(ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ)

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 9.00-12.00 น.

            แนวคิดเรื่องการประยุกต์ใช้การตลาดกับการทำงานของ กฟผ. สิ่งที่อาจารย์แนะนำคือแนวทางปฏิบัติกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายๆ กลุ่ม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาในการทำตลาดก็คือ Segment ตลาด (กลุ่มลูกค้า) ซึ่งเมื่อเราแบ่งกลุ่มลูกค้าแล้วการปฏิบัติหรือส่งมอบคุณค่า (Value) ในแต่ละกลุ่มจะต่างกันไป(มีความต้องการValueในหลายรูปแบบ)

            แนวคิดเรื่องล้อรถยนต์ 5 ล้อของอาจาร์ยทำให้เข้าใจ EGAT ต้องดำเนินการทั้ง 5 ล้อควบคู่กันไปและผู้บริหารที่เป็นวิศวกรเดิมมีความรู้ในล้อที่ 2 ก็ต้องเรียนรู้ล้ออื่นๆ อีก 4 ล้อ เพื่อเพิ่มคุณภาพในการเป็นผู้นำ

            การสร้างธุรกิจหรือโครงการตามที่อาจาร์ยชี้แนะคือต้องถามว่าใครใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียตอบ OK ก็ถือว่าควรดำเนินการต่อ และแนวคิดอื่นเช่นการสร้าง Relation  การนำเสนอและการสื่อสารและ การทำความเข้าใจเรื่องการตลาดรวมถึงเรื่องพฤติกรรมของผู้ที่ได้รับประโยชน์สุดท้ายมีความหมายที่ต้องพิจารณา

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาการต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

(รศ.สุขุม นวลสกุล)

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00-16.00 น.

            หัวข้อการบริหารความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่ผู้บริหารหรือผู้นำมีความปรารถนาที่จะบริหารให้เก่งหรือบริหารให้ดี เนื่องจากในทุกองค์กรที่มีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ย่อมที่จะมีความคิดที่ไม่ตรงกัน การบริหารความขัดแย้งจึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งผู้นำต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างที่ ดร.สุขุม พูดว่า หน่วยงานนี้ก่อนหน้าที่เราจะมาอยู่มีความขัดแย้งน้อย แต่เมื่อเรามาอยู่กลับมีความขัดแย้งมากขึ้นทั้งความขัดแย้งในภาพรวมและความขัดแย้งส่วนตัว นั่นก็แสดงว่าเราล้มเหลวในเรื่องการบริหารความขัดแย้ง ซึ่งอาจารย์อธิบายมูลเหตุของความขัดแย้งและแนวทางเพื่อลดการขัดแย้งก็ถือเป็นวิทยาทาน เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลว่าจะไปประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด


         หนังสือ “8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” กล่าวถึง ทุน 13 อย่างที่เป็นแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ของไทย เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015

  8K’s เป็นทุนพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

  K1  Human Capital ทุนมนุษย์ เป็นทุนที่สร้างได้จากการศึกษา (แบบทางการ, การฝึกอบรม) หรือโภชนาการ

  K2  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา เป็นทุนใช้การเรียนรู้ด้วย ทฤษฎี 4L’s   

  L ที่ 1 : Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

  L ที่ 2 : Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

  L ที่ 3 : Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสทางการเรียนรู้

  L ที่ 4 : Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

  ซึ่งทุนทางปัญญาจะทำให้รู้จักวิเคราะห์ และแก้ปัญหา

  K3  Ethical Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งมีแนวทางในการสร้าง 2 แนวทางที่น่าสนใจคือ  แนวทางแรก สร้างตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนให้ยึดมั่นใน ศีล สมาธิ และปัญญา  แนวทางที่สอง สร้างตามแนวทางของ Peter Drucker ที่กล่าวถึงคุณสมบัติสำคัญของคน คือ Integrity (ความถูกต้อง) Imagination (จินตนาการ) และ Innovation (นวัตกรรม) กล่าวคือคนเก่งต้องเป็นคนดีด้วย

  K4  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือมีความสุขในงานที่ทำ

  K5  Social Capital ทุนทางสังคม ซึ่งในที่นี้หมายถึงเครือข่าย คือการรู้จักบุคคลหลาย ๆ วงการ โดยในการหาเครือข่ายต้องยึดหลักอย่าเห็นประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้น  เน้นความไว้เนื้อเชื่อใจ และเน้นความแตกต่างเพื่อสร้างพลังร่วม

  K6  Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน  ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้น ต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว

  K7  Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ต้องรู้จักนำ IT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและการทำงาน

  K8  Talented Capital  ทุนอัจฉริยะ ควรสร้างคนให้มีทักษะ (Skills) มีความรู้ (Knowledge) และมีทัศนคติ (Attitude) ที่ดี โดยใช้ทฤษฎี 5E  Example, Experience, Education, Environment และ Evaluation

  นอกจากนี้ยังมีทุน 5K’s ที่จะทำให้ทุนมนุษย์ของคนไทยมีคุณภาพมากขึ้น คือ

  5K’s (1) ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) เป็นทุนที่คิดด้านบวก คิดนอกกรอบ ผลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

  5K’s (2)  ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ต้องเป็นคนใฝ่รู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้อยู่บนหลักทฤษฎี 2 R’s คือ Reality คือความรู้ที่มาจากความจริง  และ Relevance คือ ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ

  5K’s (3) ทุนทางนวัตกรรม (Innovation  Capital) มีความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า

  5K’s (4) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ต้องเรียนรู้เรื่องคน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อ ตลอดจนค่านิยมของผู้อื่น

  5K’s (5) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) รู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ มีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี มีภาวะผู้นำ

  การนำไปใช้ใน กฟผ. วิเคราะห์ให้รู้ว่าแต่ละที่ยังอ่อนทุนด้านไหน นำทุนทั้ง 13 ไปเติมเต็มให้กับพนักงาน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ กฟผ. เติบโตและมีความยั่งยืน


ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ (8 K’s)

  8 K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

K1- Human Capital หรือ ทุนมนุษย์เป็นแนวคิดทีเริ่มต้นโดย Prof.Gary Becker นัดเศษฐศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญอันดับแรก โดยมีแนวคิดดังนี้

-  มนุษย์เกิดมาเท่ากัน ต้องพัฒนาให้เหมือนๆกัน

-  ต้องลงทุนในด้าน ทรัพยากร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

-  การลงทุนต้องต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงผู้ใหญ่ เช่นการลงทุนใน การศึกษา, โภชนาการ, การฝึกอบรม, การเลี้ยงดูของครอบครัว

อย่างไรก็ตามคุณภาพของทุนมนุษย์ก็ต้องมีการพิจารณาด้วย

K2 - Intellectual Capital หรือทุนทางปัญญา

  ทุนทางปัญญา เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยเป็นการใช้ความสามารถของมนุษย์ในการคิดวิเคราะห์  ด้วยทุนทางปัญญานี้ จะช่วยคนไทยอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ โดยเฉพาะในยุคที่จะต้องเข้าร่วมประชาคมเศษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558  ทุนมนุษย์นั้นมีคุณภาพซึ่งไม่ได้วัดหรือประเมินจากการศึกษาเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้ ท่าน อ.จีระ ใช้หลัก 4 L’s คือ

1.  Learning Methodology

2.  Learning Environment

3.  Learning Opportunities

4.  Learning Communities

K3 - Ethical Capital หรือ ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

  เป็นทุนด้านคุณธรรม การเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ทุนนี้ส่วนใหญ่ต้องได้รับการปลูกฝัง ทั้งจากครอบครัว และจากสังคม หรือการสร้างทุนทางคุณธรรมจากง่ายๆ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การพัฒนาบุคลากรตามแนวทางนี้ จะทำให้เราได้ทั้งคดีแคนเก่ง

K4 - Happiness Capital หรือทุนแห่งความสุข

  ทุนแห่งความสุข เป็น พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ทุกคนต้องค้นหาว่าอะไร คือสิ่งที่ทำให้ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือ เบื่อหน่ายต่องานที่ตัวเองทำอยู่ ซึ่งจะทำให้ทำงานได้ผล และชีวิตเป็นสุข ทุนแห่งความสุข แนวทางการสร้างทุนแห่งความสุข คือ Healthy, Passion, Meaning, Cpability, Learning, Prepare, Teamwork, Coaching, Challenge, Enrichment

  K5 - Social Capital – ทุนทางสังคม (Networking)

  เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น  และต้องมี  ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและศักยภาพในการแข่งสูงขึ้นด้วย  การมี Networking ทให้เกิดไหลของข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์ ในอนาคตข้างหน้า เมื่อประชาคมเศษฐกิจอาเซียนเริ่มขึ้นจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการพึ่งพากันจะเพิ่มทวีมากขึ้น ใครมี Networking มากกว่าย่อมได้เปรียบ

K6 - Sustainable Capital - ทุนแห่งความยั่งยืน

  เป็นการมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่ต้องในระยะยาว เพื่อที่ว่าเราจะได้อยู่ได้ในระยะยาว เป็นศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่

K7 - Digital Capital - ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT

  เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย การแสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย ได้รับรู้ข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ปัจจุบันมีเครื่องมือต่างๆ ด้าน IT ที่สามารถสนับสนุนในเรื่องนี้

K8 - Talented Capital -  ทุนอัจฉริยะ

  เป็นการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรด้าน Skill, Knowledge, Attitude เพื่อเตรียมความพร้อมในเชิงรุกและรับ ทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องประสานกันเป็นอย่างดี จะได้คนเก่งที่มีทัศนคติในการทำงานที่ดี  ในการพัฒนาทุนอัจฉริยะจะใช้ ทฤษฎี 5 E ได้แก่ Example (Role Model), Experience, Education, Environment, และ Evaluation (การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง).

ทฤษฎี 5 K’s เป็นการต่อยอดจาก ทฤษฎี 8 K’s  เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรีประกอบด้วย 5 ประการ

1. Creativity Capital - ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

– เป็นการคิดแบบนอกกรอบ ไม่ยึดติด แต่คิดแบบเป็นระบบ ใช้หลักคิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ”จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์

2. Knowledge Capital – ทุนทางความรู้

- เป็นการลงทุนในการเรียนรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสาร ตลอดเวลา โดยใช้หลัก 2R’s  คือ Reality- ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance – ตรงประเด็นตรงความต้องการของผู้รับบริการ ทุนทางความรู้นี้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)

3. Innovation Capital - ทุนทางนวัตกรรม

- เป็นการพัฒนาความคิดใหม่ที่ ปรับจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างความแตกต่าง รวมทั้งสร้างมูลค่าและความสามารถในการแข่งขัน สิ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม 1) ความคิดใหม่ๆ  2) การนำไปปฏิบีติจริง 3) ทำให้สำเร็จ


4. Cultural Capital - ทุนทางวัฒนธรรม

- มีความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศเรา และประเทศอื่นๆ (ในอาเซียนอย่างชัดเจน) เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถติดต่อคบหาได้อย่างไม่มีปัญหา

5. Emotional Capital - ทุนทางอารมณ์

- รู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์ ไม่อ่อนไหวง่าย การมองโลกในแง่ดี รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล ทุนทางอารมณ์จะช่วยส่งเสริมด้าน ภาวะผู้นำด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ 1) ความกล้าหาญ 2) ความเอื้ออาทร 3) การมองโลกในแง่ดี 4) การควบคุมตนเอง  5) การติดต่อสัมพันธ์

ทั้งทฤษฎี 8 K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ และทฤษฎี 5 K’s การต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี เป็นเรื่องจริงที่ตรงประเด็นในการเตรียมการเพื่อการรองรับสู่ประชาคมเศษฐกิจอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง

   ชนฏ ศรีพรวัฒนา

ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ (8 K’s)

  8 K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

K1- Human Capital หรือ ทุนมนุษย์เป็นแนวคิดทีเริ่มต้นโดย Prof.Gary Becker นัดเศษฐศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญอันดับแรก โดยมีแนวคิดดังนี้

-  มนุษย์เกิดมาเท่ากัน ต้องพัฒนาให้เหมือนๆกัน

-  ต้องลงทุนในด้าน ทรัพยากร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

-  การลงทุนต้องต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงผู้ใหญ่ เช่นการลงทุนใน การศึกษา, โภชนาการ, การฝึกอบรม, การเลี้ยงดูของครอบครัว

อย่างไรก็ตามคุณภาพของทุนมนุษย์ก็ต้องมีการพิจารณาด้วย

K2 - Intellectual Capital หรือทุนทางปัญญา

  ทุนทางปัญญา เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยเป็นการใช้ความสามารถของมนุษย์ในการคิดวิเคราะห์  ด้วยทุนทางปัญญานี้ จะช่วยคนไทยอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ โดยเฉพาะในยุคที่จะต้องเข้าร่วมประชาคมเศษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558  ทุนมนุษย์นั้นมีคุณภาพซึ่งไม่ได้วัดหรือประเมินจากการศึกษาเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้ ท่าน อ.จีระ ใช้หลัก 4 L’s คือ

1.  Learning Methodology

2.  Learning Environment

3.  Learning Opportunities

4.  Learning Communities

K3 - Ethical Capital หรือ ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

  เป็นทุนด้านคุณธรรม การเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ทุนนี้ส่วนใหญ่ต้องได้รับการปลูกฝัง ทั้งจากครอบครัว และจากสังคม หรือการสร้างทุนทางคุณธรรมจากง่ายๆ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การพัฒนาบุคลากรตามแนวทางนี้ จะทำให้เราได้ทั้งคดีแคนเก่ง

K4 - Happiness Capital หรือทุนแห่งความสุข

  ทุนแห่งความสุข เป็น พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ ทุกคนต้องค้นหาว่าอะไร คือสิ่งที่ทำให้ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือ เบื่อหน่ายต่องานที่ตัวเองทำอยู่ ซึ่งจะทำให้ทำงานได้ผล และชีวิตเป็นสุข ทุนแห่งความสุข แนวทางการสร้างทุนแห่งความสุข คือ Healthy, Passion, Meaning, Cpability, Learning, Prepare, Teamwork, Coaching, Challenge, Enrichment

  K5 - Social Capital – ทุนทางสังคม (Networking)

  เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น  และต้องมี  ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและศักยภาพในการแข่งสูงขึ้นด้วย  การมี Networking ทให้เกิดไหลของข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์ ในอนาคตข้างหน้า เมื่อประชาคมเศษฐกิจอาเซียนเริ่มขึ้นจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการพึ่งพากันจะเพิ่มทวีมากขึ้น ใครมี Networking มากกว่าย่อมได้เปรียบ

K6 - Sustainable Capital - ทุนแห่งความยั่งยืน

  เป็นการมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่ต้องในระยะยาว เพื่อที่ว่าเราจะได้อยู่ได้ในระยะยาว เป็นศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่

K7 - Digital Capital - ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT

  เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย การแสวงหาข้อมูลที่ทันสมัย ได้รับรู้ข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ปัจจุบันมีเครื่องมือต่างๆ ด้าน IT ที่สามารถสนับสนุนในเรื่องนี้

K8 - Talented Capital -  ทุนอัจฉริยะ

  เป็นการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรด้าน Skill, Knowledge, Attitude เพื่อเตรียมความพร้อมในเชิงรุกและรับ ทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องประสานกันเป็นอย่างดี จะได้คนเก่งที่มีทัศนคติในการทำงานที่ดี  ในการพัฒนาทุนอัจฉริยะจะใช้ ทฤษฎี 5 E ได้แก่ Example (Role Model), Experience, Education, Environment, และ Evaluation (การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง).

ทฤษฎี 5 K’s เป็นการต่อยอดจาก ทฤษฎี 8 K’s  เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรีประกอบด้วย 5 ประการ

1. Creativity Capital - ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

– เป็นการคิดแบบนอกกรอบ ไม่ยึดติด แต่คิดแบบเป็นระบบ ใช้หลักคิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ”จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์

2. Knowledge Capital – ทุนทางความรู้

- เป็นการลงทุนในการเรียนรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสาร ตลอดเวลา โดยใช้หลัก 2R’s  คือ Reality- ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance – ตรงประเด็นตรงความต้องการของผู้รับบริการ ทุนทางความรู้นี้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และมูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)

3. Innovation Capital - ทุนทางนวัตกรรม

- เป็นการพัฒนาความคิดใหม่ที่ ปรับจากของเดิมไปสู่สิ่งใหม่ สร้างความแตกต่าง รวมทั้งสร้างมูลค่าและความสามารถในการแข่งขัน สิ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม 1) ความคิดใหม่ๆ  2) การนำไปปฏิบีติจริง 3) ทำให้สำเร็จ


4. Cultural Capital - ทุนทางวัฒนธรรม

- มีความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศเรา และประเทศอื่นๆ (ในอาเซียนอย่างชัดเจน) เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถติดต่อคบหาได้อย่างไม่มีปัญหา

5. Emotional Capital - ทุนทางอารมณ์

- รู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์ ไม่อ่อนไหวง่าย การมองโลกในแง่ดี รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล ทุนทางอารมณ์จะช่วยส่งเสริมด้าน ภาวะผู้นำด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ 1) ความกล้าหาญ 2) ความเอื้ออาทร 3) การมองโลกในแง่ดี 4) การควบคุมตนเอง  5) การติดต่อสัมพันธ์

ทั้งทฤษฎี 8 K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ และทฤษฎี 5 K’s การต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี เป็นเรื่องจริงที่ตรงประเด็นในการเตรียมการเพื่อการรองรับสู่ประชาคมเศษฐกิจอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง


ชัยศักดิ์ ยงบรรเจิด

สรุปข้อคิดเห็นประจำวัน

วันที่  29 ม.ค. 56 :

1. ศาสตรจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

ในหัวข้อการสร้างผู้นำแห่งทศวรรษใหม่  แห่ง กฟผ. เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายฯ / พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพร่างการให้มีความสุข / พัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร / สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ Learning Opportunities ในการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดซึ่งกันและกัน / ฝึกคิดโครงการเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางานของ กฟผ.  อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้เพื่อผลักดันการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน

2. การค้นหาตัวตนโดยอาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิด (Jimi The Coach)

การเรียนรู้ Who am I ? บุคคลจะมีศูนย์ที่สำคัญอยู่ 5 ศูนย์  ได้แก่ศูนย์ธาตุแท้  ศูนย์สติปัญญา  ศูนย์ร่างกาย  ศูนย์ความรู้สึก  และศูนย์มโนธรรมลึกซึ้ง  ซึ่งทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการภายใน อยู่ที่ว่าเรารู้ตัวและรู้จักมันอย่างไร  ได้มีการค้นหาธาตุแท้ของฉัน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร คนเราจะมีความกลัวอยู่ 3 ประเภท คือ กลัวไม่ดีพอ (มักจะเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น)  กลัวไม่เป็นที่รัก (ประเภทกลัวภรรยา กลัวสามี) และกลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (ประเภทพวกที่คล้อยตามคนอื่นเสมอ)

วันที่  30 ม.ค. 56 :

1. การออกแบบโครงการเพื่อการพัฒนา กฟผ. โดยอาจารย์ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ 

เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Creative Thinking and Value Creation ซึ่งการคิดเชิงบวกเสมอและความคิดอย่างมีคุณค่าจะนำไปสู่การประยุกต์  เพื่อคิดค้นโครงการที่เป็นนวัตกรรมในการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในเติบโตอย่างยั่งยืน 

2. อาจารย์กิตติ  ชยางคกุล

ได้มาแนะนำการเลือกหัวข้อโครงการแบบนวัตกรรมให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา  ซึ่งเป็น Innovative Thinking Approach ตลอดจน Key Concepts and Skills ซึ่งหัวข้อที่ได้รับ (ผู้ที่อยู่กลุ่มที่ 2) คือเรื่อง  “กลยุทธ์และแผนงานเชิงนวัตกรรม เพื่อพิสูจน์เส้นทางความเป็นเลิศของ กฟผ.” ( HPO/SEPA )

วันที่  31 ม.ค. 56 :

หัวข้อผลกระทบแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ต่อกฟผ.โดย ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์  และ ดร.กมล ตรรกบุตร ชี้ให้เห็นถึงการเป็น Leader Ship ภายใต้ภัยพิบัติ ซึ่งผู้นำจะต้องจัดการกับภาวการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เป็นผลกระทบกับการดำเนินงาน เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ Uncertainty / Unpredictable ใดๆ  องค์กรจะต้องมี Business Continuity Management (BCM)  เพื่อบริหารจัดการเชิงป้องกัน และ แก้ไขได้ทันท่วงทีต่อเหตุการณ์ ไม่ประมาท ต่อจากนั้นมีการแสดงข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการที่ กฟผ. จะมีการสร้าง รฟ.นิวเคลียร์ ในประเทศไทยได้หรือไม่ อย่างไร

จากนั้นจะเป็นการเรียนรู้ในหัวข้อภาวะผู้นำและประสบการณ์การบริหารงานของ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

ชี้ให้เห็นถึงภาวะผู้นำต้องรู้จักจุดแข็งและจุดอ่อน  มีคุณธรรม  รู้จักให้มากกว่ารับ

วันที่  1 ก.พ. 56 :

1. ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

ในหัวข้อแนวคิดทางการตลาด  เพื่อนำมาปรับใช้การทำงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร  โดยเปรียบว่ารถยนต์จะต้องประกอบไปด้วย 4 ล้อ บวกล้อspare ที่จะขับเคลื่อนไปได้ดี  องค์กรจะต้องประกอบไปด้วย ล้อที่ 1. การผลิต  ล้อที่ 2. Marketing  ล้อที่ 3. Strategic Human Resource  ล้อที่ 4. Finance (Balance sheet / Profit & Loss / Cash flow) และ ล้อที่ 5. Infrastructure / KM & Information  จุดที่อาจารย์ขอFocus ในที่นี้คือการตลาดความสำเร็จของธุรกิจส่วนหนึ่งจะต้องคำนึงถึงการตลาดที่เรียกว่าฝ่ายขายที่มี service mind ในการบริการในสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ  ต้องรู้ Demand Focus ได้แก่ MASS Communication เพื่อคำมั่นสัญญา / Supply Chain Management เพื่อการส่งมอบ และ/Retailing  เพื่อการบริการ ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ Brand Trust อย่างยั่งยืน

2. อาจารย์สุขุม  นวลสกุล  ได้บรรยายถึงเทคนิคการบริหารความขัดแย้ง  การเจรจาต่อรอง  และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ  มีการยกตัวอย่างของการบริหารความขัดแย้งในหลากหลายวิธีการ  ทั้งนี้อาศัยการลดบรรยากาศที่มีความตึงเครียด  โดยเบี่ยงเบนความสนใจของคู่กรณีที่ขัดแย้งไปยังมุมอื่น  เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าอย่างต่อเนื่อง  เป็นต้น  ความขัดแย้งมีทั้งแบบ  ความขัดแย้งแบบบุคคลกับบุคคล (เป็นเรื่องของความเอารัดเอาเปรียบ/ อิจฉาริษยา) ความขัดแย้งแบบบุคคลกับองค์การ (เป็นเรื่องของความไม่เข้าใจ /ไม่ได้อธิบาย)  และความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน (เป็นเรื่องของการไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่)  สำหรับในเรื่องเทคนิคในการตัดสินใจของผู้บริหารจะต้อง แม่นกฎระเบียบ  ลดความเกรงใจ  ไม่โอ้อวด เป็นต้น


10 กพ. 56

LESSON FROM A STUDENT OF LIFE โดย จิม คอลลินส์

ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ เป็นทั้งนักเขียน , อาจารณ์ผู้บรรยาย และ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ  เป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน และอุทิศตัวเพื่อสังคม

แนวคิดในการบริหารจัดการองค์กรที่มีการทำงานที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการกระจายอำนาจ

คนถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรและหน้าที่ของผู้จัดการก็คือการเตรียมการและให้ความเป็นเสรีต่อบุคคลากรในการดำเนินการ

แนวคิดในการบริหารจัดการองค์กรของปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ สามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารจัดการของ กฟผ.ได้  เพื่อจะทำให้ กฟผ. เป็นหน่วยงานที่พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข


LESSON FROM A STUDENT OF LIFE (บทเรียนจากนักเรียนรู้ชีวิต)

BY JIM COLLINS

สรุปโดย ศิริภา  ชูจันทร์

ครั้งหนึ่ง ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ได้บอกวิธี “การเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่” ความลับประการหนึ่งที่ช่วยให้เราเป็นหนุ่มสาวตลอดกาล ไม่ใช่การให้สัมภาษณ์แต่เป็นการจดจ่อกับงานที่ทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ ดรักเกอร์ในช่วงที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ เขามีไปรษณียบัตรพิมพ์ไว้ล่วงหน้าสำหรับส่งให้คนที่มาขอความอนุเคราะห์จากเขาว่า ขอบคุณที่กรุณาให้ความสนใจแต่ผมคงไม่สามารถที่จะรับงานสิ่งละอันพันละน้อยหรือประเภทออกสื่อออกสังคมให้ได้ครับ

เมื่อมีผู้ขอให้เขาใช้เวลาพูดคุยกับคนหนุ่มสาวที่กำลังค้นหาแนวทางชีวิตอยู่ เขาจะให้เวลาเต็มที่ในการชี้แนะแนวทาง ผมมีโอกาสได้เขียนชีวประวัติของดรักเกอร์ “The Daily Drucker”:ซึ่งเขากับผมได้พูดคุยกันโดยมีคำถามง่ายๆ เป็นกรอบการสนทนา “คุณต้องการจะให้อะไร” เราพบว่าเขามีความสามารถที่โดดเด่นไม่เพียงแต่จะตอบคำถามได้ถูกต้องแต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ถามได้ถูกคำถาม เป็นคำถามที่เปลี่ยนมุมมองของเราไปเลย แก่นเนื้องานของเขาทุกชิ้น จะพบว่าเป็นเรื่องการทำให้เรื่องไร้สาระทั้งหลายหมดไปชั่วลัดนิ้วมือ เหมือนเขาโบกมือปัดไล่แมลงที่มาตอมให้รำคาญ อีกนัยก็คือเขาไม่สนใจคำถามว่าคุณจะได้อะไรจากโลกใบนี้ แต่คำถามของเขาคือคุณจะให้อะไร นั่นเอง

สิ่งที่เขาได้มอบให้นั้นยิ่งใหญ่มาก เขาได้มอบสังคมเสรีชนที่อยู่เหนือเผด็จการ การที่จะเป็นสังคมเสรีชนที่ดีได้เราจะต้องมีสถาบันต่างๆ ที่มีสมรรถนะสูงและเป็นอิสระต่อกันกระจายอยู่ทั่วไป ถ้าไม่มีสถาบันอย่างที่กล่าวก็มีทางเลือกอีกทางหนึ่ง ก็คือ เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (ดรักเกอร์เขียนในงานด้านการบริหารจัดการของเขา ว่าถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก ต้องมีความรับผิดชอบ และการฝึกฝน) ทำให้สถาบันที่เข้มแข็งต้องพึ่งพาการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ และไม่เคยมีผู้ใดในรอบ50ปีที่ผ่านมา ที่สามารถทำให้เราได้เข้าใจถึงหลักการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพได้ดีเท่าดรักเกอร์ เชอร์ชิลช่วยทำให้โลกเสรีนิยมอยู่รอดปลอดภัย แต่ดรักเกอร์บอกวิธีทำอย่างไรให้โลกเสรีนิยมดำเนินไปได้ด้วยดี

ดรักเกอร์ไม่เคยลืมคำสอนของตนเองที่ว่า “อย่าถามว่าคุณสามารถที่จะพิชิตอะไรได้ แต่พึงถามว่าคุณสามารถที่จะให้อะไรได้” ดรักเกอร์เป็นผู้ชื่นชอบการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากนักศึกษาทุกคนที่เขาได้มีโอกาสพบปะพูดคุย เขาจึงเป็นครูที่มีอิทธิพลด้านความคิดต่อศิษย์มากที่สุดท่านหนึ่ง

สรุปในความเห็นของดิฉัน  มษุนย์เราควรจะเป็นผู้ให้มากกว่าที่จะเป็นผู้รับ

สรุป บทความ Lesson From A Student of Life By Jim Collins

จากบทความของ Jim Collins นั้น Peter F. Drucker เป็นอาจารย์ที่นอกจากจะมีเมตตาอย่างสูงแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความปราดเปรื่องมากอีกด้วย ท่านยินดีที่จะชี้แนะและให้คำปรึกษาแก่บุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีความสนใจใฝ่รู้ ที่หาเส้นทางในการดำเนินชีวิต มากกว่าการให้สัมภาษณ์หรือการปรากฏตัวตามสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งในความเห็นของท่านคิดว่ามันไม่มีประโยชน์อะไร  สิ่งหนึ่งที่เรียนรู้จากท่านคือ การเป็นผู้ให้และเสียสละ มากกว่าที่จะถามว่าเราจะได้รับอะไร  ท่านไม่ใช่เป็นอาจารย์ที่แค่ชอบสอนลูกศิษย์อย่างเดียวแต่เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้จากลูกศิษย์ทุกคนที่ได้พบ มีการตอบสนองซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดบรรยากาศที่อบอุ่นและสนุกสนาน นอกจากนี้ท่านยังอุทิศตนในการทำให้สังคมเสรีที่ดำรงอยู่สามารถ เอาชนะสังคมเผด็จการได้


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของไทย โดยมีทฤษฎีพื้นฐาน 8K’s และ5K’s เป็นเครื่องมือนั้น สรุปได้ดังนี้

1.Human capital มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สมองพัฒนาได้ไม่มีขีดจำกัด ถ้ามีการพัฒนาที่ถูกทางตั้งแต่เล็กจนโต ตั้งแต่ การเลี้ยงดูในครอบครัว การศึกษา การโภชนาการ การฝึกอบรม และมีวิธีการดึงเอาศักยภาพที่ได้รับการพัฒนานั้นมาใช้ จะเป็นการลงทุนที่คุมค่าที่สุด กายกรรมกวางเจา เป็นตัวอย่างหนึ่งของรัฐบาลจีนที่เห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ โดยลงทุนพัฒนาตั้งแต่เล็กๆ

2.Intellectual capital ให้ความสำคัญกับต้นทุนทางปัญญา เช่น ส่งเสริมให้บริษัทเอกชน,องค์กรรัฐบาลต่างๆวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น บริษัทใดสามารถผลิตคิดค้นจนถึงขั้นจดเป็นสิทธิบัตรได้ลดภาษีให้ ส่งเสริมรายการดีๆ มีสาระ ในช่วงเวลาprime time เช่น กระทรวงวิทย์คิดค้นเพื่อโลก เพื่อเรา หรือรายการที่กระตุ้นผู้ชมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้รู้จัก คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มากกว่ารายการส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3.Ethical capital ต้องปลูกฝังคุณธรรมและจริธรรมกันตั้งแต่ที่บ้าน พ่อ แม่ เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ผู้นำในทุกภาคส่วนก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตที่พอเพียง การเสียสละต่อส่วนรวม

4.Happiness capital ต้องรู้จักหาสมดุลย์ของชีวิต รู้จักพักผ่อน รักษาสุขภาพทั้งกายและใจ เป็นกัลยาณมิตรที่ดีของเพื่อนร่วมงาน แตกต่างทางความคิดได้ แต่ต้องไม่แตกแยก ที่สำคัญรู้จักหาแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยมุมมองที่เป็นบวก คิดเป็นก็เย็นสะบาย และมีความสุขในการทำงาน

5.Social capital รู้จักการสร้างเครือข่าย คบหาสมาคมกับคนหลายๆกลุ่ม บนพื้นฐานของการให้เกีรยติ และเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน มุมมองที่แตกต่าง (สรุปรายงานนี้เสร็จ ผมสัญญาว่า จะเริ่มศึกษาการใช้Face bookแล้วครับ)

6. Sustainability capital จะยั่งยืนได้ ก็ต้องยืนบนขาตัวเองให้ได้เสียก่อน รู้จักความพอพียง ไม่ทำอะไรเกินตัว ปัจจุบันรถยนต์,รถไถนา,เครื่องสูบน้ำ,สินค้าประเภททุน สายพันธ์ไทยแท้ๆ ก็ยังไม่มี การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่จึงยังอยู่อีกไกล

7.Digital capital พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุม และใช้ได้อย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรมและแข่งขันได้ เพื่อให้คนทุกระดับในสังคมไทยได้รับข้อมูล ข่าวสาร อย่างทั่วถึง ทันเหตุ ทันสถานการณ์ จะทำให้คนไทยฉลาดขึ้น

8.Talented capital คนเก่ง มีแวว มีพรสวรรค์ ต้องส่งเสริม และดูแล โครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งทุนการศึกษาสำหรับคนเก่ง ผมเห็นด้วย เพราะมีคนเก่งอีกเยอะที่ยังไม่มีโอกาส

ในส่วนของทฤษฎีทุนใหม่ 5K’s สรุปได้ดังนี้

1.Knowledge capital ถึงไอสไตน์จะกล่าวไว้ ” จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรู้ก็เป็นรากฐานสำคัญของจินตนาการ พูดแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีความรู้เลย ก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปจินตนาการ ความรู้ก่อให้เกิดปัญญา จินตนาการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

2.Creativity capital ส่งเสริมรายการทางทีวีแนวสร้างสรรค์ให้มาก เพื่อให้ประชาชนตื่นตัว เช่นเกมส์ซ่าท้ากึ๋น เป็นต้น โครงการมูลนิธิศิลปาชีพ สามารถเปลี่ยนวัสดุ้องถิ่นทั่วไปหลายอย่างให้มีมูลค่าสูง เป็นCreativiy capitalที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมไทย

3.Innovation capital ส่งเสริมรายการทางทีวีแนววัตกรรมให้มาก เพื่อให้ประชาชนตื่นตัว เช่น SMEตีแตก,

นักประดิษฐ์พันล้าน เป็นต้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนทั่วไปมีแรงบันดาลใจ ดีกว่าที่จะจัดแต่แข่งขันประกวดร้องเพลง แทบทุกช่อง

4.Cultural capital ไทยมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษ์เฉพาะตัวมายาวนาน โดยเฉพาะการต้อนรับขับสู้ ยิ้มสยามอย่างเดียวก็ประเมินเป็นมูลค่าไม่ได้ เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก เทศกาล สงกรานต์ ฝรั่งชอบมาก แทบไม่มีที่พัก บุญบั้งไฟพญานาคแต่ละปี ถนนมิตรภาพแทบจะเป็นอัมพาต อื่นๆอีกมากมาย ถ้ามีแผนบริหารจัดการที่ดี ประชาสัมพันธ์เก่งๆ การตลาดดีๆหน่อย จะทำรายได้ ให้กับประเทศอย่างมหาศาล

เกรียงไกร ไชยช่วย

3 กพ 56


การตลาด มีความสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างภาพลักษณ์ของทุกองค์กร กฟผ.เองก็ต้องรู้จักปรับใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมในแต่ละบริบท เพื่อให้Public ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกฟผ. ตั้งแต่ General,Government,Media,Finance,

NGO,Peer(รัฐวิสาหกิจอื่นๆ), internal (เช่น สหภาพ) ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา อย่างมีประสิทธิผล อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคำถามที่ดีมากคำถามหนึ่ง คือ ทำไมเวลาไฟดับในเขตนครหลวงชาวบ้านส่วนใหญ่ด่าแต่ กฟผ. เราจะใช้ช่องทางการตลาดสื่อสารให้สาธารณชนรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ไม่เช่นนั้น กฟผ.ก็ต้องรับบท Talk softly but carry mistakes อยู่เรื่อยไป

การบริหารความขัดแย้ง ก็ต้องรุ้จักควบคุม จัดการให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร เพราะในคนหมู่มากย่อมมีความเห็นที่แตกต่าง ที่สำคัญ เมื่อเป็นผู้บริหาร ไม่มีสิทธ์เลือกลูกน้องและเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการอิจฉาริษยา แล้วลุกลามบานปลายเป็นความขัดแย้งใหญ่โตได้

ในส่วนของการตัดสินใจ ก็ต้องรู้จักหาข้อมูล, ปรึกษาผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ และต้องรู้จักคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

การเจรจาต่อรอง ต้องรู้จักจังหวะ เวลา ท่าที ไม่พูดจาส่อเสียด ที่สำคัญต้องไม่ทำให้คู่เจรจามีความรู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะจะทำให้การเจรจาล้มเหลวได้

เกรียงไกร ไชยช่วย

3 กพ. 56


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 

1. 9.00 -12.00 น. จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

  ความรู้ที่ได้รับ จะเกี่ยวกับ ผู้เกี่ยวข้องกับการทำงานของ กฟผ. โดยมีผู้เกี่ยวข้องดังนี้

1.  general public กลุ่มคนทั่วไป

2.  Government  รัฐบาล

3.  Media สื่อประชาสัมพันธ์

4.  Finance แหล่งเงิน

5.  NGO เป็นกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่ใหญ่มาก ซึ่งกฟผ. จะต้องทำความเข้ากับกับกลุ่มนี้ให้ได้

6.  PEER  เพื่อนที่ทำธุรกิจด้วยในตลาด

7.  INTERNAL กลุ่มคนภายใน เช่น สหภาพของกฟผ.เอง

  ผู้จัดการที่ดีที่สุดจะรู้ 5 อย่าง เปรียบเหมือนรถมี 4 ล้อและยางอะไรอีก 1 ล้อ โดยเปรียบเทียบดังนี้

1.  ยางหน้าขวา ขายเป็น

2.  ยางหน้าซ้าย ผลิต คือ โรงไฟฟ้าที่มีอยู่

3.  ยางหลังซ้าย บัญชี คือการเงินในกฟผ. ต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารการเงินให้ดี

4.  ยางหลังขวา HR คือ คนทำงานเป็นทีม

5.  ยางอะไหล่ 3 เรื่อง

5.1  KM คือ เก็บประสบการณ์ ,ความรู้จากคนกฟผ.

5.2  Information คือ ข้อมูลและข้อเท็จจริง มีมากโอกาสสำเร็จเยอะ

5.3  Knowhow คือเครื่องมืออะไรที่ต้องเอาไป

  สรุปคือ

1.  ทำโครงการใหม่ ต้องรู้ก่อนว่า Stake Holder ที่สำคัญที่สุดเป็นใคร คนที่ได้ประโยชน์เป็นใคร

2.  ให้นึกว่าคนที่ต่อจากกฟผ.เป็นใคร ลูกค้าเราคือใคร มีใครบ้าง

3.  งานจะสำเร็จต้องเสนอหน้า

2. 13.00 -16.00 น. การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ  โดย รศ.สุขุม  นวลสกุล

    ความขัดแย้ง คือ ความคิดที่แตกต่างซึ่งมีประโยชน์ในการบริหาร ต้องมีการชี้แจงเหตุผลให้ทุกคน ยอมรับก่อนที่ความขัดแย้งนั้นๆ จะขยายใหญ่โต  ความขัดแย้งในเรื่องส่วนรวมต้องสนับสนุนให้เกิด แต่ต้องพยายามระงับความขัดแย้งส่วนตัวไว้ไม่ให้เกิด ความขัดแย้งในเรื่องส่วนรวมอาจจะกลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัวได้ ฉะนั้นต้องมีการขจัดหรือตัดบทก่อนที่จะเกิดขึ้น

    ความขัดแย้งมี  3 ประเภท

1.  ระหว่างบุคคล & บุคคล  ต้องให้เกิดความเสมอภาค อย่าให้เกิดการอิจฉาริษยา เอารัดเอาเปรียบกัน

2.  ระหว่างบุคคล & องค์การ เกิดจากองค์กรออกระเบียบคำสั่งออกมา แล้วไม่มีการอธิบาย หัวหน้าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการประชุม จะต้องแจ้งนโยบายต่างๆ ในที่ประชุม

3.  ระหว่างหน่วยงาน & หน่วยงาน เกิดจากความไม่เข้าใจบทบาท และหลงหน่วยงาน

  การตัดสินใจ

1.  แม่นกฎระเบียบ

2.  ลดความเกรงใจ

3.  ไม่โอ้อวด

  องค์ประกอบการตัดสินใจ

1.  ข้อมูล เป็นนักบริหารต้องเปิดรับข้อมูล

2.  ประสบการณ์ ไม่ต้องรอเวลา ประสบการณ์แสวงหา

3.  การคาดการณ์ ต้องประเมินล่วงหน้า

4.  ผลกระทบ

5.  สถานการณ์

  การวิเคราะห์การตัดสินใจ

1.  ถูกต้อง  

2.  ถูกใจ

3.  ถูกจังหวะ

  การเจรจาต่อรอง

1.  เป็นการพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงจากความคิดหรือผลประโยชน์ที่ต่างกัน

2.  ต้องมีการเตรียมการ ว่าใครบ้างมาคุย คุยเรื่องอะไร วางเป้าหมายหรือธงอย่างไร และเดาใจ อ่านใจ คาดการ์ณว่าคู่ต่อรองจะมาไม้ไหน

    หลักการเจรจา

  สิ่งที่เขากลัวมากที่สุดคือความเสียเปรียบดังนั้นหลักคือ ความเชื่อมั่น กลัวเสียเปรียบ (ทำให้เข้าใจ  ใช้ปิยวาจา หาสิ่งจูงใจ ให้ข้อสรุป)


Lesson from a student of life

By Jim Collins  .

บทความเรื่อง Lesson from a student of life  เป็นเรื่องที่ลูกศิษย์  Jim collins กล่าวชมเชยอาจารย์ Peter F. Drucker ซึ่งเป็นปัญญาชนคนสำคัญที่มีส่วน คิด รวบรวม และเผยแพร่ องค์ความรู้ทางด้าน การจัดการ” (Management)อย่างเป็นระบบ มีหลักยึดมั่นในตนเอง มุ่งมั่นเกาะติดอยู่กับงานที่ตนสนใจ โดยได้แสดงเจตนารมณ์ต่อสาธารณะชนอย่างชัดเจนที่จะไม่ตอบสนองต่อคำขอในงานต่างๆ  ไม่เขียนบทความ หรือเขียนคำนำให้หนังสือต่างๆ ไม่วิพากย์บทความ หรือวิพากย์หนังสือของผู้อื่น  ไม่ร่วมอภิปรายบนเวที หรือร่วมงานสัมมนาต่างๆ  ไม่ร่วมเป็นคณะทำงาน หรือคณะกรรมการบริหารชุดต่างๆ  ไม่ตอบแบบสอบถาม  ไม่ให้สัมภาษณ์ และไม่ไปปรากฏตัวในรายการวิทยุ หรือโทรทัศน์  แต่ Peter F. Drucker กลับเป็นคนที่ยอมอุทิศช่วงเวลาที่ดีของเขาในแต่ละวัน เพื่อให้การอบรมสั่งสอน ให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางที่พึงปฏิบัติแก่คนรุ่นหนุ่มสาวที่ยังอยู่ในระหว่างการแสวงหาสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตของเขาเหล่านั้น ในครั้งหนึ่ง เมื่อ Jim Collins ได้มีโอกาสเข้าพบเขา เพื่อหาข้อมูลมาเขียนบทความเพื่อจะส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือ The Daily Drucker, Drucker ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อวิถีชีวิตขึ้นในตัวของ Jim Collins เพียงการเริ่มกำหนดกรอบของการสนทนาขึ้นด้วยคำถามง่ายๆว่า " What do you want to contribute ?"  จากจุดนี้ Jim Collins จึงเห็นว่า ความสามารถที่โดดเด่นของ Peter F. Drucker  นั้น ไม่ได้มีเพียงความสามารถในการให้คำตอบที่ถูกต้องได้เท่านั้น แต่ยังมีความสามารถที่สำคัญยิ่งกว่านั้นซุกซ่อนอยู่อีกด้วย  คือ ความสามารถในการตั้งคำถามที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นคำถามที่สามารถเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของ Collins ไปได้โดยสิ้นเชิง

ข้าพเจ้าได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม Peter F. Drucker เกิดในกรุงเวียนนา ออสเตรีย ในปี 1909 และจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ในด้าน กฎหมายจาก Frankfurt University ที่เยอรมนี จากนั้นก็เข้าทำงาน เป็นนักข่าว เศรษฐกิจที่หนังสือพิมพ์ Frankfurter General-Anzeiger รับผิดชอบ ข่าวต่าง ประเทศ และข่าวธุรกิจ ต่อมาในปี 1933 เขาอพยพ หนีนาซีมาอยู่ในลอนดอน ประเทศ อังกฤษ The End of the Economic Man ผลงานเขียนชิ้นแรกในปี 1939 ได้รับคำนิยมจาก Winston Churchill อดีตนายก รัฐมนตรีประเทศอังกฤษอย่างมาก หลังจากนั้น เขามี ผลงานเขียนตามมาอีกรวม 35 เล่ม ซึ่งถูกแปลออกเป็นภาษา ต่างๆ กว่า 30 ภาษา และมียอดจำหน่ายรวมหลายสิบล้านเล่ม ยังไม่รวมถึงการเขียนบทความอีกนับพันชิ้น ที่ลง ตีพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารชั้นนำอย่าง Wall Street Journal, Economist และ Harvard Business Review  หนทางอันยาวไกลมาก นับแต่สมัยกษัตริย์ฟรังก์ โจเซฟ แห่งฮับสบวร์ก มาจนถึงยุคของ จอร์จ บุช จูเนียร์ แต่ Peter F. Drucker แล้ว ได้เดินทางบนเส้นนั้นมาตลอดชั่วอายุ ได้สังเกตการณ์และเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งดีและเลวของโลกมาแล้วมากมาย โลกสูญเสียกูรูผู้ยิ่งใหญ่ นาม Peter F. Drucker ไปเมื่อปี 19 พฤศจิกายน 2005 ในวัย 96 ปี

แนวคิดในการบริหารจัดการหลายประการมาจากงานเขียนของ Peter F. Drucker แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น: การกระจายอำนาจและการทำให้เข้าใจง่าย Peter F. Drucker ได้ลดคำสั่งกับรูปแบบการควบคุม และกล่าวว่าบริษัทที่มีการทำงานที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการกระจายอำนาจ ตามแนวคิดของ Peter F. Drucker คือ บริษัทมักจะมีแนวโน้มที่จะผลิตสินค้ามากเกินไป รวมทั้งมีการจ้างพนักงานที่ไม่จำเป็น และมักขยายสู่ภาคเศรษฐกิจที่ควรหลีกเลี่ยง, ความสงสัยลึกซึ้งของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคPeter F. Drucker ได้โต้แย้งว่าเศรษฐศาสตร์ที่จัดสอนภายในโรงเรียนทั้งหมดไม่สามารถอธิบายถึงลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้แต่อย่างใด, จากการแสดงความเคารพต่อคนงาน Peter F. Drucker เชื่อว่าพนักงานทั้งหลายต่างเป็นทรัพย์สิน และไม่ได้เป็นหนี้สิน เขาสอนให้รู้ว่าความรู้ของคนงานเป็นส่วนประกอบสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่ใจความสำคัญของแนวปรัชญานี้เป็นมุมมองว่าผู้คนต่างเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร และหน้าที่ของผู้จัดการก็คือการเตรียมการและให้ความเป็นเสรีต่อบุคลากรในการดำเนินการ Peter F. Drucker ยังให้แนวคิดด้านความจำเป็นในการบริหารธุรกิจ โดยให้ความสำคัญต่อหลายความต้องการและเป้าหมาย มากกว่าการอยู่ใต้คำบังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว แนวคิดนี้เป็นการบริหารจัดการที่มีรูปแบบวัตถุประสงค์จากประเด็นสำคัญของเขาในปี ค.ศ. 1954 ซึ่งปรากฏในหนังสือ The Practice of Management (การปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร) , ในด้านความรับผิดชอบหลักของบริษัท คือการให้บริการต่อลูกค้า โดยที่กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลัก หากแต่เป็นเงื่อนไขสำหรับการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของบริษัท, องค์กรควรมีวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการธุรกิจทุกกระบวนการ และมีความเชื่อในแนวคิดที่ว่าบริษัทยอดเยี่ยมควรจะมีอยู่ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดของมนุษย์และด้วยความฉลาดปราดเปรื่องและมุมมองที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ Peter F. Drucker ได้ถ่ายทอดผ่านออกมาทางบทความทางวิชาการและหนังสือตำราต่างๆมากมาย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ก็ยังถือได้ว่าผลงานของเขามีความเป็นอมตะและเป็นแก่นแท้แห่งศาสตร์การบริหารจัดการมาจนถึงทุกวันนี้ สมดังที่นักบริหารจัดการและนักวิชาการทั่วโลกพร้อมกันยกย่องให้เขาเป็น “บิดาแห่งวิชาการจัดการ”

สิ่งที่ได้จากบทเรียนนี้ Peter F. Drucker สอนให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึง แนวคิดนำสู่การเปลี่ยนแปลงได้ เช่น Jim Collins เมื่อถูกถามด้วยคำถามที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นคำถามที่สามารถเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของ Jim Collins ได้ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดจาก  Peter F. Drucker อีกมากมาย เช่น หลายๆคนยังยึดติดภาพของ”ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล”จะต้องเป็นคนเฉลียวฉลาด กระตือรือร้น ใจกว้างกับลูกน้อง หรือแบบไหนก็ตามที่ทำให้เขาดูแล้วมองเป็นที่ 1 แต่ Peter F. Drucker  ไม่ได้มองเช่นนั้น ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลได้ ตราบเท่าที่เขาปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ"ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล" เป็นต้น

วุฒิไกร สร่างนิทร

9 ก.พ. 56


นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

LESSON FROM A STUDENT OF LIFE BY JIM COLLINS

(Jim Collins เป็นนักเขียนที่ขายดีที่สุดของ Good to Great และ นักเขียนร่วมของ Built to Last)

สรุป บทความนี้เป็นการกล่าวถึง Peter F. Drucker เกี่ยวกับชีวิตการหลักการทำงาน ซึ่งไม่ได้จากการเรียนอย่างเดียว แต่มาจากประสบการณ์ของชีวิต ซึ่งท่านได้ทำงานจวบจนสุดท้ายของชีวิต (อายุ 95 ปี) และยกย่องท่านเป็นกูรู และมีผลต่อการบริหารงานสมัยใหม่ และการสอนโดยกูรูท่านนี้ได้ให้แนวคิด คือ

1. ให้มุ่งกับงานที่เราปฏิบัติทำ

2. เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

3. ตั้งหรือถามคำถามที่ถูกต้อง ตรงประเด็น มากกว่าตอบคำถามถูก แต่ถามให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์

4.ในสังคมยุคใหม่การบริหารอยู่ที่ตนเอง โดยต้องมุ่งที่ งานที่ทำ มีความรับผิดชอบ และการฝึกปฏิบัติ

5. ศึกษารับประสบการณ์จากคนรอบข้าง เหมือนอย่างที่ กูรูท่านนี้ได้จากนักศึกษา

จากข้อคิดของท่าน กูรูท่านนี้ ข้าพเจ้าจะนำมาใช้กับตัวข้าพเจ้าต่อไป


นายกิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุป ประเด็นจาก The new office social contract : Loyalty is out , performance is in

Monday , December 12 , 2003 By Steve Lohr ,The New York Times

จากบทความนี้เป็นการกล่าวถึงการเปลี่ยนในโลกโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี  การบริหารงาน และแนวคิดยุคใหม่ โดยได้อ้างถึงพนักงาน 2 รุ่นที่ทำงานในบริษัท IBM ที่เคยเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกา แต่ประสบกับปัญหาต้องปลดพนักงาน ต้ดเงินเดือน สิทธิต่างๆ มีการเกษียณก่อนกำหนด โดยพนักงานในรุ่นแรก Vincent Papke เข้าทำงานตั้งแต่เริม จนถูกให้ออก การจ้างงานในยุคนั้นเป็นแบบงานที่มั่นคงและจงรักษ์ต่อบริษัท แต่เมื่อบริษัทเจอวิกฤติ แนวคิดก็เปลี่ยนไป โดยคนรุ่นใหม่ Steven Cohn ที่เข้างานหลังมีการเปลี่ยนแปลงมีแนวคิด ไปอีกแบบที่เห็นว่า พนักงานเป็นผลิตผล และต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร

จากข้อสรุปจากพนักงานทั้ง 2 มีผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล David Ulrich  ศาสตราจารย์ จาก มหาวิทยาลัย Michigan business school ได้สรุปว่า ในปัจจุบัน การจ้างงานของบริษัทอยู่บนความสามารถ สมรรถนะของพนักงงาน มากกว่าที่จะดูเรื่องความจงรักษ์ต่อบริษัท และวิสัยทัศน์และการบริหารงานที่เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงศักยภาพ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พนักงานเป็นส่วนร่วมที่จะมีผลผลักดันให้บริษัทเจริญก้าวหน้าและอยู่รอด นอกจากนี้ Robert Reich ศาสตราจารย์ทางด้านนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่มหาวิทยาลัย Brandeirs และเป็นอดีตเลขาธิการแรงงานของคณะบริหาร Clinton ยังระบุว่า  ยุคนี้บริษัทไม่จำเป็นต้องรวมพนักงานทำงานในบริษัทแล้ว แต่ อาจรวมกลุ่มที่มีทักษะเหมือนกันทำงานที่ใดก็ได้ และมีการติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคม และบุคลากรต้องมีการพัฒนาทักษะตนเองอย่างต่อเนื่องและมีสังคมเครือข่ายติดต่อกัน

จากทั้งหมด พอรวมเป็นข้อในการพัฒนาบุคลากร และองค์กรให้อยู่รอดในยุคปัจจุบัน คือ

1. คนเป็นผลิตผลต้องมีการพัฒนาทักษะตนเองอย่างต่อเนื่อง เพิ่มสมรรถนะตนเอง (Performance)

2. ตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การกระทำทุกอย่างส่งผลกระทบต่อองค์กร

3. การทำงานต้องมีการติอต่อสัมพันธ์เป็นเครือข่าย


นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

Lesson from a student of life.

เป็นบทความที่ Jim Collins เขียนเล่าถึง Peter F. Drucker ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีอิทธิพลทางความคิด

คนหนึ่งในความเห็นของบรรดาลูกศิษย์ เป็นผู้ที่พร้อมที่จะทุ่มเทให้เวลาในการปรึกษาแก่ลูกศิษย์อย่างอบอุ่น

ข้อคิดดีๆจากบทความนี้คือ

- ความลับหนึ่งของการที่ทำให้คนเรารู้สึกยังหนุ่มยังสาว ไม่ใช่การให้สัมภาษณ์ แต่คือการใจจดใจจ่อมุ่งมั่นที่จะทำงานอันหนึ่งๆของเราให้สำเร็จ

- ต้องไม่เป็นเพียงแต่ผู้ให้คำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือการถามคำถามที่ถูกต้อง ที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดหรือเกิดทัศนคติใหม่ๆที่ดีขึ้นได้

- หยุดความคิดที่ว่าเราจะได้อะไรในโลกใบนี้ เป็นความคิดที่ว่าในช่วงชีวิตหนึ่งของเราที่เกิดมานี้ เราจะสามารถให้สิ่งดีๆอะไรแก่ผู้อื่นได้บ้าง

- อย่าถามว่าคุณทำอะไรสำเร็จมาบ้าง แต่ควรถามว่าคุณให้อะไรมาบ้าง

- ความภูมิใจของเราไม่ใช่ผลงานต่างๆเยอะแยะที่ผ่านมาในอดีต แต่ควรเป็นผลงานชิ้นต่อไปในอนาคตที่ต้องทำให้สำเร็จ

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

The new office social contract: Loyalty is out, performance is in.

Vincent Papke เข้าทำงานกับ IBM ในปี ค.ศ. 1963 ในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับบริษัท เป็นแบบความจงรักภักดี ความร่ำรวยอย่างรวดเร็วไม่ใช่สิ่งที่คาดหวังมากนัก แต่สิ่งที่พนักงานต้องการคือความมั่นคงในหน้าที่การงาน การได้รับการขึ้นเงินเดือนไปเรื่อยๆ บริษัทก็เปรียบเสมือนครอบครัว เหมือนสโมสรกีฬาต่างๆ เช่น บาสเก็ตบอล ซอล์ฟบอล เขาสอนเรา เราทำงานหนัก เราเล่นอย่างหนัก เราจึงมีประสบการณ์ 3 ทศวรรษ ผ่านมา Papke ก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามลำดับขึ้นเรื่อยๆ เขาเคยพูดว่า เธอจะไม่คิดจะจากไปไหน เธอจะได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แต่ในที่สุด Pakpe ก็ถูกจ้างออกในปี 1990s ตอนที่ IBM ประสบปัญหา และมีการปรับลดเงินเดือนพนักงาน

Steven Cohn อายุ 29 ปี เพิ่งจะเข้าทำงานเมื่อปีก่อน ด้วยความรู้สึกที่แตกต่างที่มีการเปลี่ยนแปลงมีแนวคิด ไปอีกแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนเดิมเช่น

ต้องเตรียมทุกๆอย่างให้พร้อมในการเป็นพนักงานเพื่อสนองตอบวิสัยทัศน์และกลยุทธของบริษัท

ซึ่งจะส่งผลให้มีความก้าวหน้า การสร้างโอกาสในการให้ การเพิ่มทักษะความชำนาญของตนเอง อันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในอาชีพการงาน ผลตอบแทนต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อดีและมูลค่าทางการตลาด

ความผูกพันธ์ในองค์กรขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างบริษัทกับพนักงาน

สำหรับบริษัทแล้ว ไม่ใช่แค่ให้พนักงานมีความสุข แต่ต้องการพนักงานที่มีความสามารถในการสร้างผลผลิต และมีส่วนร่วม

เงินเดือนและโบนัส ต้องขึ้นอยู่กับการวัดผลความสามารถในการทำงาน ไม่ใช่เรื่องอาวุโส ซึ่งเป็นไปตามแบบจำลองที่ว่า ถ้าคุณให้คุณก็จะได้รับ

นี่คือผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของ กระแสโลกาภิวัฒน์ ในเรื่องธุรกิจการตลาดที่ไม่หยุดนิ่ง ผลของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญไกลและยากเกินกว่าที่จะร่วมกันสร้างเกราะป้องกันทั้งบริษัทเอง หรือพนักงานเหล่านั้น จากการหยุดชะงักของตลาด

การทำงานที่บริษัทเดียวอาจจะหาได้ยาก ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงของตลาดในทุกวันนี้

สิ่งที่สำคัญในสังคม สำรับแต่ละบุคคลแล้ว อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นบริษัท แต่อาจเป็นแค่กลุ่มบุคคลที่มีความชำนาญคล้ายๆกัน และมีการเชื่อมโยงกันในสังคมนั้นๆ

การพัฒนาความชำนาญของแรงงานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง คืออาชีพในปัจจุบัน

10 ก.พ. 56

สรุปบทความ LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

Jim Collins ผู้เขียนได้กล่าวยกย่อง Peter F. Drucker ครูผู้ยิ่งใหญ่ ที่มีแนวคิดวิธีการปริหารจัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนี้

-  ต้องรู้จักปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยไม่เป็นฝ่ายที่ให้ข้อมูลฝ่ายเดียว ต้องรับข้อมูลโดยการเรียนรู้งานของคนอื่นๆ อย่างจริงจังด้วย

-  การทำการใดๆ ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับ มากกว่าการได้รับประโยชน์

-  การเรียนรู้ ไม่ได้มีอยู่ในหนังสือเท่านั้น สามารถเพิ่มพูนความรู้ได้จากการดูตัวอย่างการใช้ชีวิตของผู้ที่ประสบความสำเร็จ และการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน


ข้อคิดที่ได้จากบทความ LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

ความรู้เรียนได้ไม่มีวันหมด  และต้องนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติและฝึกฝน  ความรู้นั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผล

และการสอนที่ดีที่สุด คือ ปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์

บทความเรื่องLESSON FROM A STUDENT OF LIFE BY JIM COLLINS

  JIM COLLINS ได้กล่าวถึง PETER F. DRUCKER ว่าเป็นคนที่มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยมีบทบาทต่อสาธารณะ สื่อสารมวลชนตลอดจนไม่ชอบทำอะไรที่ตัวเขาคิดว่าไม่มีประโยชน์  จนมีชายหนุ่มคนหนึ่งได้มีโอกาศเข้าไปปรึกษาเขาในเรื่องของการค้นหาวิธีดำเนินชีวิต  จนได้นำข้อมูลมาเขียนเป็นหนังสือ  มีส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงสังคมว่า  ถ้าสังคมจะหลุดพ้นจากระบบเผด็จการได้สังคมนั้นจะต้องผ่านการพัฒนาในเรื่องของระเบียบ กฏ ของสังคมจนเป็นเรื่องที่ปฏิบัติเป็นปกติ  ตลอดจนเน้นในเรื่องของความดิดที่เริ่มต้นจากการที่จะเป็นผู้ให้ผุ้อื่นก่อน

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


Lesson From A Student Of Life by Jim Collins

          เรื่องบทเรียนจากชีวิตนักศึกษาของ จิม คอลลินส์ ที่ได้กล่าวถึง ปีเตอร์ เฟอร์ดินาน ดรักเกอร์ กูรู ผู้เชี่ยวชาญ และ อาจารย์ทางด้านการบริหารจัดการ โดยจิม คอลลินส์ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ปีเตอร์และได้ข้อคิดดีๆหลายอย่าง อาทิเช่น การที่จะบรรลุผลไม่จำเป็นว่าการบรรลุจะต้องได้คำตอบที่ดี หากแต่ขึ้นอยู่กับการถามที่ดีมากกว่า นอกจากนั้นปีเตอร์ยังเชื่อในเรื่องของการให้ การเสียสละ การลงแรง ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ เขาเชื่อว่าองค์กรหรือบริษัทนั้นอยู่ได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี เมื่อเราจะปฏิบัติภารกิจหรือโครงการอะไรนั้นจงถามตัวเองว่าคุได้ลงทุนลงแรงอะไร มิใช่ถามว่าจะได้อะไรหรือจะสำเร็จหรือไม่

          สุดท้าย จิม คอลลินส์ได้เขียนยกย่องเชิดชู ปีเตอร์ ดรักเกอร์ว่าเป็นอาจารย์ที่มีความเอื้ออาทรและต้อนรับลูกศิษย์ทุกเมื่อหากต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการจะสนทนา เขามิได้สั่งสอนนักเรียนเพียงทางเดียวแต่ก็เรียนรู้นักเรียนไปในเวลาเดียวกันอยู่เสมอ ปีเตอร์ เป็นแรงบันดาลใจและเป็นผู้ที่มีอิทธิพล ตัวอย่างที่ดีบุคคลหนึ่งที่ผมเคยรู้จักมา

นายภูวดา ตฤษณานนท์

   10/02/2556

บทความ LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

สรุปออกมาได้เป็นแนวคิดดังนี้

- เราต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

- ความรู้ไม่มีวันที่จะเรียนรู้ได้หมด  ต้องหมั่นใฝ่หาความรู้

- รู้จักการให้ มากกว่าที่จะร้องขอจากผู้อื่น

- เปิดรับความคิดใหม่ๆจากผู้คนรอบข้าง นำมาปรับใช้กับตัวเอง


Jim Collins นักเขียนชื่อดัง เปิดเผย เคล็ดลับ และปรัชญาแนวทางการใช้ชีวิตของ  Peter F. Drucker  หลังจากที่เขาเสียชิวิตในวัย 95 ปี  โดยบรรยายภาพให้เห็นว่า Drucker เป็นคนที่มีจิตใจโอบอ้อม อารี  เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  มีอุปนิสัยในการเป็นผู้ให้ มากกว่าเป็นผู้รับ  เขาปฏิเสธการออกงานสังคมทุกอย่าง ทั้งๆที่มันจะสามารถสร้างชื่อและทำเงินให้เขาได้เป็นอย่างดี  แต่เขาไม่เคยปฏิเสธิการช่วยเหลือผู้คน ที่แสวงหาแนวทางการใช้ชีวิต   เพื่อถ่ายทอดแนวคิดในการช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าที่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองให้กับบุคลเหล่านั้น

เคล็ดลับอีกประการที่ทำให้Drucker  ดูกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ คือ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในสิ่งที่รับผิดชอบ  ทำให้เขามีแรงบันดาลใจในการตีพิมพ์ผลงานออกมาได้อย่างต่อเนื่อง ถึง 26 เล่ม  ก่อนเสียชีวิต  นักข่าวถามว่า เขาชอบผลงานในเล่มไหนของเขามากที่สุด  คำตอบของDrucker คือ “เล่มต่อไป”  เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเขาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ และต้องดีกว่าอันเก่า

การจากไปของDrucker  จึงมิใช่การจากไปของบรมครูด้านการบริหารจัดการผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค  แต่เป็นการจากไปของบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งของผู้คนทั่วไป  ผลงานของเขาในช่วง 50ปีที่ผ่านมา  มีอิทธิพลต่อนักบริหารให้เข้าใจในเรื่องการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ความยิ่งใหญ่ของDruckerไม่น้อยไปกว่าความยิ่งใหญ่ของWinston Churchill   จนถึงกับมีคำกล่าวเปรียบเทียบว่า  Winston Churchill ปกป้องรักษาโลกเสรี  แต่Peter  Drucker เป็นผู้ที่แสดงให้เรารู้ว่าจะทำให้โลกเสรีประสบผลสำเร็จได้อย่างไร


สรุปบทความ Lesson From a Student of Life ของ Jim Collins

Jim Collins ที่มีผลงานการเขียน Good  to Great ได้เขียนบทความกล่าวถึง Peter F. Drucker ผู้ที่เป็นกูรูด้านบริหารว่าเป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างหรือบทเรียนที่ดีซึ่งเราไม่สามารถที่จะหาอ่านได้ในตำราใดๆหรือหาเรียนในห้องเรียนที่ไหนได้

Drucker เป็นผู้ที่เจียมเนื้อเจียมตัวไม่โอ้อวดไม่สร้างชื่อเสียงจากการให้สัมภาษณ์ ออกรายการวิทยุโทรทัศน์ อภิปรายบนเวที แต่กลับใช้เวลาไปในการอบรมสั่งสอน ให้คำปรึกษากับลูกศิษย์ อย่างเต็มที่

Drucker เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับคำถามที่ถูกต้องมากกว่าการตอบคำถามที่ถูกต้องเพราะบางคำถามจะเปลี่ยนกรอบความคิดของเราเช่นการเปลี่ยนจากถามว่าได้อะไรจากโลกใบนี้ เป็นจะให้อะไรแทน

Drucker เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ Winston Churchill เป็นผู้รักษาโลกเสรีไว้ในขณะเดียวกัน Peter F. Drucker ก็ได้ให้การจัดการที่เป็นเลิศทำให้สถาบันต่างๆกลับมามีความเข้มแข็งมากกว่าที่ใครๆให้ไว้ในรอบ 50 ปี

Drucker ไม่เคยลืมเรื่องการเรียนการสอนของตนเองมีผลงานการเขียน 26 เล่มในขณะที่เขาอายุ 85 ปี โดยมีเรื่อง “The next one” เป็นผลงานที่เขาภูมิใจที่สุด และยังมีอีก 8 ผลงานออกมาก่อนที่เขาจะเสียชีวิตที่อายุ 95 ปี

  Drucker เป็นนักคิดการจัดการที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนที่มีเมตตา มีน้ำใจ เรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการเรียนรู้จากนักเรียนทุกคนที่ได้พบ


บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

บทความเรื่อง Lesson from a student of life  โดย Jim Collins

  Peter F. Drucker นักคิด นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ด้านการจัดการ เป็นคนที่ไม่ชอบวิพากย์วิจารย์หนังสือของผู้อื่น ไม่เขียนคำนำหรือคำนิยมให้หนังสือต่างๆ ไม่ร่วมอภิปรายบนเวที หรือร่วมงานสัมมนาต่าง ไม่เข้าร่วมคณะกรรมการหรือบอร์ดใดๆ  ไม่ชอบให้สัมภาษณ์หรือปรากฏตัวในวิทยุหรือโทรทัศน์  แต่ชอบจะใช้เวลากับการให้คำปรึกษาหรือให้คำแนะนำ อยู่กับคนๆหนึ่งที่ไม่รู้จักเพื่อช่วยให้เขาค้นหาแนวทางชีวิตของตัวเอง  เขาชอบเป็นผู้ให้มากกว่าที่จะรับ  เขามีความสามารถที่น่าทึ่ง ไม่เพียงแต่จะให้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือการถามคำถามที่ถูกต้อง เหมาะสม  Winston Churchill ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นผู้นำโลกเสรี แต่ Peter Drucker คือผู้ที่ทำให้เราเห็นวิธีการทำงานที่ได้ผลในโลกเสรี  เขาไม่เคยลืมที่จะสอนของตัวเอง ให้เป็นผู้ให้มากกว่าที่จะรับ  ตอนเขาอายุ 85 เมื่อถามว่าจากหนังสือ26 เล่มของเขาเล่มไหนคือเล่มที่เขาภูมิใจมากที่สุด เขาตอบว่า "เล่มต่อไป"แสดงว่าเขาเป็นนักคิด นักเขียนที่ไม่หยุดที่จะคิดพัฒนาตนเองให้มีความคิดที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด ผลงานของเขายังคงมีความเป็นอมตะ ทันสมัยและเป็นศาสตร์แห่งการบริหารจัดการมาจนถึงทุกวันนี้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือใดๆ คือการเรียนรู้ตัวอย่างของชีวิตของ Peter Drucker“ครู”ที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งด้านการจัดการ 

บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

10 กพ.2556


บทความ LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

โดย Jim  Collins

สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

  Peter Drucker เป็นผู้ที่ไม่สนใจในการปรากฎตัวขึ้นเวทีในที่สาธารณะรวมถึงการออกรายการวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆแต่ให้เวลาและความสำคัญกับการให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางต่างๆให้กับคนหนุ่มสาวที่ได้พบกับเขา 

  Peter  Drucker ได้ถามคำถามง่ายๆกับ Jim  Collins ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า” What do you want to contribute? ”(คุณจะให้อะไรกับสังคมบ้าง?)  และนี่เองที่ทำให้ทราบถึงตัวตนของ Peter  Drucker  ว่าเขาไม่ได้มีเฉพาะความสามารถในการตอบคำถามที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือสามารถถามคำถามที่ถูกต้องเหมาะสมอีกด้วย 

  Bob Buford ผู้ก่อตั้ง The leadership Network of churches กล่าวถึง Drucker ว่าเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องการจัดการมากกว่าใครทั้งหมด  Winston Churchill ได้ช่วยให้โลกเป็นอิสระแต่ Peter  Drucker แสดงถึงวิธีการที่จะทำให้โลกอิสระนี้ดำเนินไปได้ด้วยดีได้อย่างไร?

  Peter  Drucker  เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 95 ปี  Jim  Collins ได้ถาม Peter  Drucker  ในขณะที่อายุของเขาเท่ากับ 85 ปีว่าในหนังสือ 26 เล่มของเขาที่เขามความภูมิใจมากที่สุดคือเล่มใด  Peter  Drucker  ตอบว่า” เล่มต่อไป”คือเล่มที่เขาภูมิใจมากที่สุด  หากเขามีอายุมากกว่านี้เขาก็คงผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องต่อไปอีก

  สำหรับ Jim  Collins แล้ว การสูญเสีย Peter  Drucker ไม่ได้เป็นเพียงการสูญเสียผู้รู้(guru)ที่ทุกคนยอมรับเท่านั้น แต่เป็นการสูญเสียอาจารย์อันเป็นที่รักผู้ฃึ่งต้อนรับลูกศิษ์อย่างอบอุ่นและให้ความคิดใหม่ๆอยู่เสมอ

สิ่งที่ได้จากบทความนี้   จงเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ  และจะพยายามนำแนวคิดนี้มาปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง และตอบแทนสังคมต่อไป 

     


สรุปบทความ  " LESSON FROM A STUDENT OF LIFE  " 

By : Jim Collins

      จากบทความได้กล่าวถึง Peter F. Drucker มีวิธีการทำงานและวิธีคิด การสอนคนที่ไม่เหมือนใคร เพียงแค่คำถามที่ทำให้เกิดการกระตุ้นและเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้วยการถามว่า "  What  you can contribute ? " 

       มุมมองที่ได้จากบทความ การเรียนรู้ที่ดีต้องกระตุ้นให้คิด  ถ้าทุกคนต่างคิดว่าเราจะสามารถให้อะไรได้บ้าง  ไม่ว่าจะเป็นสังคมเล็กๆไปจนถึงสังคมใหญ่ ตั้งแต่ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน องค์กร ประเทศชาติ และโลกนี้  หากมีแนวคิดนี้จะทำให้สังคมน่าอยู่เพียงไร


Lesson From a Student of Life By Jim Collins

Jim Collins เป็นเจ้าของบทประพันธ์หนังสือ Good  to Great ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Best-selling

Jim Collins เขียนบทความกล่าวถึง Peter F. Drucker ผู้รู้ด้านบริหารว่าเป็นแบบอย่างหรือบทเรียนที่ดีซึ่งไม่สามารถหาอ่านได้ในตำราหรือเรียนในห้องเรียนที่ไหนได้

Mr.Peter F. Drucker เป็นผู้ที่พอเพียง ไม่โอ้อวด ไม่ต้องการสร้างชื่อเสียงจากการปรากฎตัวขึ้นเวทีสาธารณะ จากการให้สัมภาษณ์ ออกรายการวิทยุโทรทัศน์ อภิปรายบนเวที แต่กลับใช้เวลาไปในการอบรมสั่งสอน ให้คำปรึกษา

เขากล่าวว่า Drucker ไม่ค่อยสนใจกับการตอบคำถามที่ถูกต้อง แต่ให้ความสำคัญกับคำถามที่ถูกต้องมากกว่าเพราะบางคำถามจะยกระดับกรอบความคิดของเราเช่นการเปลี่ยนจากถามว่าได้อะไรจากโลกใบนี้ เป็นจะให้อะไรแทน

เขาเปรียบเทียบ Drucker กับ Winston Churchill ว่า

Winston Churchill เป็นผู้รักษาโลกเสรีไว้ในขณะเดียวกัน Peter F. Drucker เป็นผู้ให้การจัดการที่เป็นเลิศทำให้สถาบันต่างๆกลับมามีความเข้มแข็ง มากกว่าที่ใครๆให้ไว้ในรอบ 50 ปี

Drucker ไม่เคยลืมอาชีพการสอนของตนเอง เขามีผลงานประพันธ์หนังสือ 26 เล่มในขณะที่เขาอายุ 85 ปี เมื่อถามว่าเขาภูมิใจผลงานใดมากที่สุด กลับได้คำตอบว่า “The next one” เป็นผลงานที่เขาภูมิใจที่สุด และยังมีอีก 8 ผลงานออกมาก่อนที่จะเสียชีวิตตอนอายุ 95 ปี

สำหรับ Jim Collins เขามีความเห็นว่า  Drucker เป็นนักคิดการจัดการที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนที่มีเมตตา มีน้ำใจ เรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการเรียนรู้จากทุกคนที่ได้พบ

       สิ่งที่ได้จากบทความ วิธีสอนคนที่ไม่เหมือนใคร เพียงใช้คำถามก็กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดได้ เปิดรับความคิดจากผู้คนรอบข้างนำมาปรับใช้กับตัวเอง การเรียนรู้ที่ดีต้องคิดตลอดเวลา  และจะให้เกิดประโยชน์ต่อเมื่อคิดและกระทำ ว่าจะสามารถให้อะไรกับสังคมได้บ้าง


Lesson from a student of life

  แนวคิดที่ได้จากบทความดังกล่าวพอสรุปโดยสังเขปได้ว่า การเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี นั้นควรเป็นผู้มีเมตตา รู้จักการให้  เข้าใจวิธีการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลรอบข้างเกิดความเข้าใจ สามารถเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมีมาได้ และจะต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆจากผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลรอบข้างเพื่อนำมาศึกษาเรียนรู้ป้องกันข้อผิดพลาด

  ในหน่วยงาน กฟผ. มีผู้บริหารที่มีลักษณะเช่นข้างต้นมากพอสมควร แต่เพราะสภาวะแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้แนวความคิดดังกล่าวเริ่มลดลง จึงจำเป็นต้องสร้างปลุกสำนึกแนวคิดเช่นนี้ในระดับกว้างต่อไป 


เรียน    ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อ  LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

BY   JIM COLLIN S. นักเขียนหนังสือขายดี Good to Great และนักเขียนร่วม Built to Last

  Peter F Drucker ครั้งหนึ่งได้สอนกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ หนึ่งในความลับที่ทำให้เราเป็นหนุ่มตลอด คือ ไม่ใช่การสัมภาษณ์ การสนทนาแต่เป็นการมุ่งมั่นเกาะติดการทำงาน

อ้างอิงจาก John J. Tarrant - ชีวประวัติของ Drucker 

Drucker  ปฏิเสธงานที่ถูกขอให้ทำ โดยใช้โปสการ์ดที่เตรียมไว้ ดังนี้

-  ไม่สนับสนุนการเขียนบทความ

-  ไม่วิจารณ์หนังสือ

-  ไม่ร่วมงานสัมมนา

-  ไม่ร่วเป็นกรรมการ, คณะกรรมใด ๆ

-  ไม่ตอบแบบสอบถาม

-  ไม่ให้สัมภาษณ์

-  ไม่ออกทีวี

Drucker ใช้เวลาในการเป็นที่ปรึกษาให้แนวทางที่ดีกับหนุ่มสาวที่กำลังเสาะหาการดำเนินชีวิต Drucker มีความน่าทึ่งไม่เพียงแต่ตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญสามารถถามคำถามได้อย่างถูกต้อง สามารถเปลี่ยนแนวคิดเราได้ Drucker  ได้ให้การสนับสนุนอย่างมาก เพื่อได้มาซึ่งชัยชนะแห่งสังคมที่เสรี เหนือสังคมแห่งการกดขี่

Drucker ไม่เคยลืมการสอนของตนเอง: ไม่ถามว่าคุณทำอะไรสำเร็จบ้างแต่ให้ถามว่าคุณสามารถให้อะไรได้ตอนอายุ 85 ปี เมื่อถูกถามว่า หนังสือ 26 เล่มของเขา เล่มไหนที่เขาภูมิใจมากที่สุด เขาจะตอบว่า “เล่มต่อไป”

สำหรับผู้เขียน (JIM COLLIN S) เห็นว่าบทเรียนที่สำคัญของ Drucker ไม่สามารถหาได้จากหนังสือ แต่เป็นบทเรียนตัวอย่างชีวิตของ Drucker เราไม่เพียงสูญเสียผู้รู้ แต่ยังสูญเสียศาสตราจารย์ผู้เป็นที่รักของลูกศิษย์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Mr.Peter F. Drucker

1.  มุ่งมั่นในงานที่ทำและรู้ว่าทำอะไร

2.  การเป็นที่ปรึกษาเป็นพี่เลี้ยงแก่คนรุ่นใหม่

3.  ควรปรับแนวคิดว่าเราจะได้อะไรจากสังคม เป็นเราจะให้อะไรแก่สังคม

4.  ช่วยเหลือการเปลี่ยนแปลงสังคม ในทางที่ดีขึ้น

5.  ทำงานชิ้นต่อไปให้ดีกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา

ขอบคุณครับ

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน สายงานเชื้อเพลิง


The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

สัญญาจ้างงานยุคใหม่ : ไม่เน้นความจงรักภักดี เน้นที่ความสามารถ

โดย สตีฟ ลอร์ (Steve Lohr)

จาก นิวยอร์ค ไทม์ ฉบับวันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2005

วินเซนต์ แพพค์ อายุ 63 ปี ร่วมงานกับบริษัทไอ บี เอ็ม ในปี 1963 ด้วยข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการ คือ พากเพียรทำงาน และความจงรักภักดี เป็นหลักประกันความมั่นคง เขาไม่ได้คาดหวังที่จะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ต้องการงานที่มั่นคงและเงินเดือนที่ขึ้นสม่ำเสมอ บริษัทเป็นเสมือนครอบครัวใหญ่ มีกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ สำหรับพนักงาน

“บริษัทจะฝึกฝนคุณ คุณเพียงแต่ทำงานหนัก และทำกิจกรรมให้หนัก คุณก็จะก้าวหน้า” ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ แพพค์เติบโตจากพนักงานบัญชีก้าวขึ้นสู่ระดับบริหารและงานด้านการตลาด ในช่วงต้นทศวรรษ 1990

แพพค์เลือกรับเงินก้อนใหญ่และลาออกจากบริษัท เมื่อบริษัทเริ่มประสบปัญหาต้องลดเงินเดือนพนักงาน

สตีเวน คอห์น อายุ 29 ปี ร่วมงานกับบริษัทไอ บี เอ็ม ในตำแหน่งพนักงานขายซอฟต์แวร์ เมื่อต้นปีนี้ ด้วยแนวความคิดที่แตกต่างกัน เขาจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ มีประสบการณ์การทำงานธนาคารการลงทุน บริษัทโฆษณาอินเตอร์เน็ตมาก่อน เขาศึกษาลักษณะการบริหารงาน วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ของบริษัท โอกาสต่าง ๆ ที่เขาจะสามารถสร้างขึ้นมาหรือประโยชน์ที่เขาจะทำให้กับบริษัท นอกเหนือไปจากเรื่องทักษะความรู้ความสามารถและเป้าหมายในการทำงานระยะยาว “ค่าตอบแทน ขึ้นกับความสามารถและยอดขาย”

พนักงานทั้งสองคนเป็นตัวแทนของพนักงานรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ข้อตกลงแบบเดิมที่เน้นความจงรักภักดีเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงานเริ่มจางหายไปในสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลกล่าวว่า ในส่วนของบริษัทก็จะไม่เน้นไปที่ “ความสุข”ของพนักงาน แต่จะเน้นให้บริษัทมี “พนักงานที่ทำประโยชน์และทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับบริษัท” ค่าจ้างและโบนัสใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานแทนการใช้ระบบอาวุโส

ศาสตราจารย์เดวิด อุลริช กล่าวว่า “เป็นโมเดลแบบ คุณให้เท่าใด คุณได้เท่านั้น” เป็นข้อตกลงแบบอิงผลผลิต และกล่าวเพิ่มเติมว่า ความสัมพันธ์พนักงานรุ่นใหม่กับบริษัทจะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การลาออกหรือการให้ออกจากงานสามารถทำเมื่อใดก็ได้

เรื่องดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านเทคโนโลยี โลกาภิวัฒน์ด้านธุรกิจ การปรับตัวรวดเร็วของตลาดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งทำให้บริษัทไม่สามารถที่จะปกป้องตนเองและพนักงานให้รอดพ้นจากสภาวะตลาดที่ผันผวนได้โดยง่าย

ในสถานที่ทำงานสมัยใหม่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยอมรับโมเดลที่เน้นการตลาดเชิงผลผลิต ศาสตราจารย์อุลริช กล่าวว่าพนักงานรุ่นใหม่นี้ต้องการแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์และชื่อเสียงของบริษัท พวกเขาเชื่อว่าจะสามารถสร้างผลงานให้กับบริษัทได้ และ“งานเป็นยิ่งกว่าผลผลิต นอกเหนือจากที่เราให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกบุคคลและการแข่งขันด้านการตลาดแล้ว คนสมัยนี้ยังต้องการค้นหาความหมายในงานและองค์กรที่จ้างเขาทำงานอีกด้วย”

การทำงานกับบริษัทแห่งเดียวสมัยนี้ไม่ค่อยจะมีแล้ว เนื่องจากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก

ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ไรช์ กล่าวว่า “สิ่งสำคัญที่สุดของการรวมกลุ่มคนทำงานเข้าด้วยกันไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเรื่องของการรวมตัวกันของคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถที่เหมือนกันและเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคม (Soical Connection) การพัฒนาเพิ่มพูนทักษะเหล่านั้นรวมทั้งเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างต่อเนื่องคืออาชีพของคนยุคนี้

สรุปในความคิดเห็นของดิฉัน กฟผ. ควรเร่งดำเนินการ

- ในเรื่องของการลดช่องว่าง และการปรับตัวระหว่างพนักงานสองวัย รุ่นเก่า กับรุ่นใหม่ (2 Generation)

- จัดทำกลยุทธ์ในการสร้างภาคภูมิใจ และความจงรักภักดี (Loyalty) ประสานกับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้
  ความสามารถ สอดคล้องกับสังคมการทำงานของคนรุ่นใหม่

- จัดทำกลยุทธ์ในการสร้างบรรยากาศให้เกิดความอบอุ่นใจ ความสุขในการทำงาน และสายสัมพันธ์

- จัดทำกลยุทธ์ในการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ (KM) จากพนักงานรุ่นเก่า สู่รุ่นใหม่

ศิริภา ชูจันทร์

11 กพ. 56

แนวความคิดทางการตลาด สู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ.

 โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

Marketing : ในการทำธุรกิจจะต้องดูทั้งหมด จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องดู Supply Chain ตั้งแต่เริ่มผลิต จนไปถึงผู้บริโภค ดังนั้น ในการควบคุมการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงกลุ่มที่เรียกว่า Public คือ

1.  General  คือกลุ่มผู้ใช้โดยตรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากต่อการดำเนินธุรกิจ

2.  Government 

3.  Media คือ กลุ่มสื่อสาร การโฆษณา ซึ่งมีอิทธิพลมาก

4.  Finance เงินทุน

5.  NGO

6.  กลุ่ม PEER คือ พวกกลุ่มเดียวกัน

7.  Internal คือ สหภาพแรงงาน / พนักงาน

EGAT จะต้องจัดเตรียมให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ และมีเพื่อความมั่นคงพลังงาน ทำให้เกิดความมั่นคงกับประเทศ ซึ่ง อาจารย์ ได้อธิบายง่ายๆ ว่า EGAT เปรียบเสมือนรถยนต์ พนักงานมีหน้าที่ขับไปให้ถึงเป้าหมายโดยมีองค์ประกอบ การขายการตลาด/การผลิต/การเงิน/HR /KM และจะต้องทำ Demand Focus

1.  Mass Communication เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจทุกเรื่องของพลังงาน

2.  Supply Chain Management อย่างมีประสิทธิภาพ

3.  Retailing ต้องมีคุณภาพไปถึงลูกค้า คือ ประชาชนโดยตรง

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

 โดย อ.สุขุม  นวลสกุล

  ความขัดแจ้งจะมีทั้งเชิงบวก ทางความคิดที่แตกต่าง สรุปได้ว่าเชิงบวกจะนำไปสู่การพัฒนา กับความขัดแย้งเชิงลบที่มีอุปสรรค ขัดขวาง ซึ่งต้องใช้การเจรจาต่อรองรวมถึงการตัดสินใจซึ่งอาจจะใช้คนกลางมาให้ความเห็นเพื่อลดระดับความรุนแรงหรือแก้ไขความขัดแย้ง หลักการอย่าเอาความขัดแย้งส่วนรวมมาเป็นความขัดแย้งส่วนตัว  ซึ่งความขัดแย้งแบ่งได้ดังนี้

1.  ระหว่างบุคคล  กับ บุคคล

2.  ระหว่างบุคคล  กับ องค์กร

3.  ระหว่าง องค์กร กับ องค์กร

  ความขัดแย้งถ้าแบ่งตามประเด็นการจัดการข้อพิพาท

1.  ความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data Conflict) สาเหตุ ขาดข้อมูลหรือข้อมูลผิดพลาด,  มุมมองต่างในเรื่องข้อมูล

2.  ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Relation Conflict)

3.  ความขัดแย้งด้านค่านิยม (Value Conflict) มีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน

4.  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง (Structural Conflict) 

5.  ผลประโยชน์ (Internet Conflict)

องค์ประกอบการตัดสินใจ ต้องมีข้อมูล/ประสบการณ์/การคาดการณ์/ผลกระทบ/สถานะการณ์

วิเคราะห์การตัดสินใจ ต้อง ถูกต้อง / ถูกใจ / ถูกจังหวะ


เรียน อาจารย์ จีระ  ครับ

  ผมได้อ่านบทความ Lessons from a student of life by Jim Collins บทความนี้กล่าวถึง Peter F Drucker  ที่เป็นยอด GURU มีประเด็นน่าสนใจคือ

1.  สนับสนุนแนวคิดของอาจารย์ที่ว่า ผู้บริหารที่ดีต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อมีความรู้ต้องเผื่อแผ่ เมตตา ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย

2.  Jim Collins ได้กล่าวยกย่อง Peter F Drucker ซึ่งถึงแก่กรรมว่า ไม่เพียงแต่เสียยอด GURU แต่สูญเสียครูผู้เป็นที่รักของลูกศิษย์ ผู้ซึ่งคอยกระตุ้นให้กำลังใจอยู่เสมอ เขาไม่เพียงแต่สอน แต่ยังเรียนรู้จากลูกศิษย์ทุกคนด้วยครับ นั่นหมายถึงว่า เขาเรียนรู้ตลอดชีวิตและทำประโยชน์ในการสอนและเขียนหนังสือ ทำให้คนศรัทธาและรักในตัวเขา ซึ่งผมเองได้คิดว่า อ. จีระ ได้ทำเหมือนกับ Peter F Drucker ซึ่งเป็นเส้นทางเช่นเดียวกัน

ภัทรกฤช


บทความเรื่อง  “The New office social contract : Loyalty is out ,performance is in” ซึ่งเขียนโดย Steve Lohr ประเด็นของบทความได้พูดถึง พนักงาน 2 คน คนแรกคือ Papke อายุ 63 ปี ทำงาน 3 ทศวรรษ จนต้องออกจากงาน จะมีความคิดมุ่งเน้นงานมั่นคง จงรักภักดีทั้งชีวิตส่วนตัวและครอบครัว รวมทั้งกิจกรรมของบริษัท

ส่วนอีกคนคือ Cohn อายุ 29 ปี จบ MBA มีความคิดต้องการการยอมรับในงาน มุ้นเน้นผลผลิตและมีส่วนร่วมในการสร้างชื่อเสียงให้บริษัท รวมทั้งเรื่องผลตอบแทน (เงินเดือนและโบนัส) โดยการประเมินความสามารถมากกว่าระบบอาวุโส  ในปัจจุบันกระแสสังคมใหม่ การจ้างงานจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องระบบการวัดผล โดยฝ่ายนายจ้างต้องการอะไรและฝ่ายลูกจ้างเมื่อปฏิบัติงานบรรลุควรได้อะไรบ้าง

ดังนั้น ผู้เขียนบทความต้องการให้เน้นความแตกต่างทางความคิดที่เกิดขึ้นใน USA. ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำเน้นนวัตกรรม มีพนักงานหลากหลายและผมคิดว่ากระแสความรู้สึกแบบ Cohn จะมีอยู่ทั่วโลก แต่ในฐานะผู้บริหารที่ดีควรจะมีการประยุคต์ให้ความคิดของทั้ง 2 กระแสอยู่ในจิตใจของพนักงาน มีความจงรักภักดีต่องานและนายจ้างต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่เน้นความสามารถในผลิตผล จะทำให้องค์กรอยู่ได้แบบยั่งยืน


สรุปจากบทความ  lesosn from a Student of life by  Jim Collin

Jim Collin ได้กล่าวยกย่อง Peter F. Drucker เขาเป็นอาจารย์ที่มีความสามารถที่โดเด่น  ไม่เพี่ยงแต่ที่จะสามารถตอบคำถาม ได้ตรงและถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ยังมีการถามกลับ ให้คุณได้นำไปคิด ซึ่งสิ่งนี้เองที่นอกจากจะสอนให้เราได้เรียนรู้ แล้วยังฝากให้เราได้คิด เพื่อเป็นการขยายกรอบของความคิดมากขึ้นไปอีก และการเรียนรู้-ของDrucker  ทั้งจากในหนังสือ หรือแม้แต่จะเป็นบันทึกส่วนตัวของเขา เทียบไม่ได้เลยกับ การได้สนทนากับเขาซึ่งจะให้ความรู้สึกที่อบอุ่น เหมือนคนในบ้าน  Drucker จึงกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพล หรือปรมจารย์ที่ให้ความรู้ด้านการจัดการต่อลูกศิษย์ หรือผูุ้คนที่รู้จักในวงกาธุรกิจเป็นอย่างดี

  สรุป การเรียนรู้จะมีอย่างต่อเนื่อง ถ้าเรารู้จักการตั้งคำถามและหาคำตอบไม่จากหนังสือหรือการสื่อสาร ตลอดจนการคิดนอกกรอบ ที่สามารถนำไปปฎิบัติได้อย่างเป็นผล ก็จะนำไปสู่การพัฒนา

         มานิตย์  กองรส


วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556

หัวข้อ  LESSON FROM  A STUDENT OF LIFE

JIM COLLINS ได้กล่าวชื่นชม Peter F. Drucker  ว่า

-  เป็นคนที่  Learning ตลอด ใฝ่รู้ การ Learning ทำกับคนรอบตัวแม้แต่กับคนที่ต่ำกว่า ให้แนวทางในการทำงานเสมอ

-  ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คน Open ที่จะพูดและคิด

-  สนใจการสร้าง Contribution โดยไม่ได้มอง Achievement อย่างเดียว

-  ผู้บริหารต้องมี Compassionate และ Generous

ความเห็นเพิ่มเติม : กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็น  Hierarchy structure การบริหารเป็นแบบ Line of command ดังนั้นการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อาจจะยังมีข้อจำกัดอยู่ 


11 กพ.2556

LESSON FROM A STUDENT OF LIFE BY JIM COLLINS:

Peter F. Drucker เป็นนักคิด นักเขียน กูรูด้านการจัดการ ที่เจียมเนื้อเจียมตัวคนหนึ่ง สำหรับ Jim Collins แล้ว Drucker เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ แม้แต่การที่จะต้องเสียเวลากับการให้คำแนะนำ และคำปรึกษาหนทางที่ถูกต้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนก็ตาม Drucker เป็นนักคิดที่พัฒนาตนเองอยู่ตลอด รวมทั้งการเป็นนักเขียนตัวยง แม้ว่าเมื่ออายุได้ 85 ปี เมื่อถามว่าหนังสือเล่มใดที่เขาภาคภูมิใจมากที่สุดคำตอบคือ “เล่มต่อไป” บทเรียนที่ได้จาก Peter Drucker เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาได้จากหนังสือเล่มใดได้ เขาจึงเป็นครูที่มีอิทธิพลต่อด้านความคิดมากที่สุดคนหนึ่งด้านการจัดการ

ชนฏ ศรีพรวัฒนา

Lesson From a Student of Life

By Jim Collins

Jim Collins ผู้เขียน กล่าวถึง Peter F. Drucker ผู้รู้ด้านบริหารว่า  เป็นผู้ไม่ต้องการสร้างชื่อเสียงจากการปรากฎตัวขึ้นเวทีสาธารณะ จึงไม่ร่วมประชุม สัมมนา ตอบคำถาม ให้สัมภาษณ์ หรือออกรายการวิทยุโทรทัศน์ แต่กลับใช้เวลาไปในการอบรมสั่งสอน ให้คำปรึกษา  ช่วยเหลือผู้คน ในแสวงหาแนวทางชีวิต เพื่อถ่ายทอดแนวคิดในการช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าที่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองให้กับบุคลเหล่านั้น

Drucker ไม่เพียงมีความสามารถในการให้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือการถามคำถามที่ถูกต้อง  ซึ่งบางคำถามอาจยกระดับกรอบความคิดของเราได้  และไม่เคยลืมคำสอนของตนเองที่ว่า อย่าถามว่าท่านจะได้อะไร  แต่ให้ถามว่าจะให้อะไร แสดงถึงการมุ่งเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ   เมื่อถูกถามขณะอายุ 85 ว่า ในจำนวนหนังสือ 26 เล่มของเขา เขาภูมิใจเล่มไหนมากที่สุด เขาตอบว่า "เล่มต่อไป"แสดงว่าเขาไม่หยุดที่จะคิดพัฒนาตนเองถึงแม้จะมีอายุมากแล้ว

มีผู้เปรียบเปรยว่า Druckerยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าWinston Churchill จนถึงกับมีคำกล่าวเปรียบเทียบว่า Winston Churchill ปกป้องโลกเสรี แต่ Drucker เป็นผู้ที่แสดงให้เราเห็นว่าจะทำให้โลกเสรีคงอยู่ได้อย่างไร  สำหรับ Jim Collins เขามีความเห็นว่า Drucker เป็นนักคิดการจัดการที่ยิ่งใหญ่ ชีวิตของเขาเป็นบทเรียนที่ดีซึ่งไม่สามารถหาอ่านได้ในตำราหรือในห้องเรียน


สรุปจากการอ่านหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” 

ที่มา

  การเปิดประเทศสู่ประชาคมอาเซียนเป็นความท้าทายที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทย หากโครงสร้างของประเทศได้รับผลกระทบมากมายขนาดนี้ ย่อมมีผลกระทบเรื่อง ทุนมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้ามาในทุกมิติพร้อม ๆ กัน  ศาสตราจารย์  ดร.จีระ  หงศ์ลดารมภ์ จึงได้รวบรวมแนวคิดการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์จากประสบการณ์ที่ทำงานอย่างต่อเนื่องด้านทรัพยากรมนุษย์มากว่า 30 ปีของท่าน มาไว้ในหนังสือ “8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทุนมนุษย์ของประเทศไทย

รายละเอียด

  แนวคิดทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) เป็นทฤษฎีพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

1.  Human Capitalทุนมนุษย์ คือ ทุนเริ่มต้นของคนแต่ละคนที่ได้จากการศึกษาและโภชนาการที่แตกต่างกัน

2.  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ทุนที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ที่เน้นการฝึกคิด/วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นการมีทุนทางปัญญาจะทำให้คนไทยหาทางออกได้เสมอ

3.  Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม คือ ทุนที่มีอยู่ในสามัญสำนึกของจิตใจคน ซึ่งจะต้องปลูกฝังเรื่องความดี ความถูกต้องตั้งแต่เด็ก ส่งผลต่อทุนทางปัญญาที่จะคิดวิเคราะห์ด้วย ความดี มีศีลธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

4.  Happiness Capitalทุนแห่งความสุข คือ ความสมดุลในชีวิตที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ

5.  Social Capitalทุนทางสังคม คือ ทุนแห่งเครือข่ายของปัญญา เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางและมีคุณค่า ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้

6.  Sustainability Capitalทุนแห่งความยั่งยืน มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้น ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันบนพื้นฐานการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง  ไม่ใช่รอความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว

7.  Digital Capitalทุนทางไอที คือ ทุนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำเครื่องมือเครื่องใช้ด้านไอทีต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเรียนรู้  พัฒนาตัวเอง  พัฒนางาน

8.  Talented Capitalทุนอัจฉริยะ คือ ทุนที่ได้จากการพัฒนาทักษะความรู้ของตนเองตลอดเวลา ที่สำคัญต้องมีทัศนคติเชิงบวก  มองโอกาส ความเสี่ยง เตรียมความพร้อมเชิงรุกและรับ และพร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s New) เป็นแนวคิดที่จะสร้างและพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีศักยภาพเพียงพอที่สามารถแข่งขันในสังคมยุคอาเซียนเสรีได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

1.  Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คือ ทุนในการแสวงหาความรู้ ข้อมูล  ข่าวสารที่สำคัญและจำเป็น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2.  Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากพลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่าง ๆ ได้มากมาย

3.  Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม คือ ทุนความสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า โดยนำความคิดใหม่  ความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับความรู้เดิม

4.  Cultural Capitalทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจขนบธรรมเนียน ศาสนา ประวัติศาสตร์ ประเพณี วีถีชีวิต ภูมิปัญญา แนวทางปฏิบัติ ความเชื่อ และความสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้

5.  Emotional Capitalทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย  ไม่เครียดง่าย  ไม่อ่อนไหว ตื่นกลัวกับสิ่งต่าง ๆ  รู้จักใช้สติ  ใช้เหตุผล  มองโลกในแง่ดี สำหรับสังคมไทย วิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างทุนทางอารมณ์ คือ ยึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต

ประโยชน์

  สิ่งสำคัญที่ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ฝากไว้ คือ การเปิดเสรีอาเซียน เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ทั้งเป็นโอกาสและเป็นความเสี่ยง  แนวคิดทฤษฎี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้




ทุนมนุษย์ ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ โดยแนวคิด 8K’s หรือ ทุน 8 ประการประกอบด้วย

K1 Human Capital

K2 Intellectual Capital

K3 Ethical Capital

K4 Happiness Capital

K5 Social Capital

K6 Sustainable Capital

K7 Digital Capital

K8 Talented Capital

K1 Human Capital  ตามทฤษฎี และแนวคิดของ Prof.Gary Becker คือ

มนุษย์เริ่มต้นของทักษะที่เท่ากันแต่การลงทุในการพัฒนา คุณค่าความรู้ความสามารถ ของแต่ละคนไม่เท่ากัน การลงทุนนั้น หมายถึง การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรมการเลี้ยงดูของครอบครัว  จึงทำให้ ผลตอบแทนในแต่ละบุคคลเมื่อเข้าสู่วัยทำงานไม่เท่ากัน

K2Intellectual Capital แนวคิดนี้ไม่มองเพียงแค่ระดับการศึกษา แต่มุ่งเน้นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา หรือคือการมองยุทธศาสตร์ ของอนาคตการศึกษาในปัจจุบัน อ.จีระ มุ่งเน้นให้มีการวิเคราะห์ มากกว่าการท่องจำ ให้รู้จักการแก้ปัญหา

K3  Ethical Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

นอกจากทุนตาม K1 และ K2ที่กล่าวมาแล้ว มนาย์ ที่มีคุณภาพ จะต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี เพื่อส่วนรวม โดย อ.จีระ เน้นเรื่องคุณธรรม ตามหลักคำสอนของศาสนาพุธ  Peter Drucker ชาวอเมริกา กล่าวถึงคุณสมบัติของ คน ในเรื่องที่สำคัญ มากกว่าคนที่เก่ง คือ Integrity  Imagination  Innovation ตัวอย่างองค์กรสำคัญของประเทศไทย คือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จะเน้นความดีคู่กับความเก่ง

K4 Happiness Capital อ. จีระ ให้คำนิยามไว้ว่า  ทุนแห่ความสุข คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ รู้เป้าหมายรู้คุณค่าของงาน จะทำให้การทำงาน นั้นมีความสุข

K5 Social Capital –Networking  การทำงาน ต้องมีเครือข่ายที่จะสร้างคุณค่าให้กับหน่วยงานของเรา สร้างทุนเครือข่าย การเจรจาต่อรอง win-win solution

กำหนดวิธีการหาเครือข่ายของหน่วยงาน เช่น คบหาสมาคมกับกลุ่มบุคคลหลายฝ่าย เปิดโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้ มีบุคคลิคที่เข้ากับคนได้ง่ายทำงานเป็นทีม เป็นต้น

โดยยึดหลักแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายคือ

1.  อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

2.  ต้องเน้นความไว้วางใจ

3.  เน้นความแตกต่างทางความรู้ ทักษะ และศักยภาพ

K6 Sustainable Capital อ.จีระ ยึดหลักของทุน K6 ตามหลักปรั๙ญาพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

K7 Digital Capital ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารและความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ได้

K8 Talented Capital การประสบความสำเร็จ ต้องมี 3 อย่างพร้อมๆกันคือ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ซึ่งการพัฒนาทุนดังกล่าว อ.จีระมีความเชื่อว่าหากพัฒนาตั้งแต่เด็กจะให้ผลดีมาก

ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี

ทฤษฎี 5 k’s (ใหม่) ประกอบด้วย

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ตามหลักคำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ “ Imagination is more important than knowledge หรือ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”  การพัฒนาทฤษฎี  mind mapping สามารถช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนในทุกระดับ

Knowledge Capital ทุนทางความรู้  โดยในยุคปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญ ความรู้ต้องทันสมัย แม่นยำข้ามศาสตร์

Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม  นวัตกรรม มีหลายรูปแบบ เช่น สินค้าใหม่  การให้บริการใหม่ การบริหารจัดการแบบใหม่  นวัตกรรมทางสังคม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  รวมถึงภาวะผู้นำ ที่มีความสำคัญในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง  ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง และการติดต่อสัมพันธ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรมการมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์


ผลกระทบของแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ ในอนาคตของ กฟผ. (ดร.กมล ตรรกบุตร ศ.ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

1. โครงสร้างพลังงานของโลกและประเทศไทย ปริมาณสำรองเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด โดย น้ำมันมีอยู่ประมาณ 40 ปี ก๊าซธรรมชาติ เหลืออยู่ประมาณ 60 ปี ถ่านหิน มีปริมาณสำรองประมาณ 200 กว่าปี ในขณะที่ Uranium มีปริมาณสำรองอยู่อีกมากว่า 6000 ปี

2. การพัฒนาการของนิวเคลียร์ มีความปลอดภัยมากขึ้น ปัจจุบัน อยู่ที่ Generation ที่ 4 ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ ฟูกูชิมา เป็นโรงไฟฟ้าใน generation ที่ 1

3.การพัฒนาความพร้อมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังคงมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทย ที่พึ่งพิงเชื้อเพลิงก๊าซฯ ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง(ประมาณ 70% ของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในภาคไฟฟ้า ส่งผลให้ราคาค่ากระแสไฟฟ้าของประเทศไทย มาราคาสูง

4. การพัฒนานิวเคลียร์ในประเทศไทย นั้นต้องมีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ทั้งทางความรู้ ความมีระเบียบวินัย พื้นฐานทางโครงสร้าง

5. ปัจจุบัน การรับมือภัยพิบัติของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน ในขณะที่ภัยพิบัติ เริ่มมีสถิติที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น หรือเราเรียกว่าเป็น unexpected จึงทำให้การจัดการกับภัยพิบัติ มีความยากมากขึ้น

ภาวะผู้นำ และประสบการณ์บริหารของข้าพเจ้า (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ )

คุณหญิงสอนให้รู้ว่า การเตรียมความพร้อม (well – prepane) เป็นสิ่งสำคัญกับการบริหารงาน และการพึ่งตนเอง ผู้บริหารจึงความจำเป็นต้องศึกษางานให้เข้าใจอย่างชัดเจน

การรู้จักตนเองถึงจุดแข็ง , จุดอ่อน จะทำให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ดีขึ้น ซึ่งผู้บริหารควรหมั่นวิเคราะห์ตนเอง อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้รู้ในฝีมือตนเองและควรเติมจุดแข็ง เพื่อการพัฒนาจุดอ่อน

ผู้บริหารต้องรู้จักแบ่งปัน รักษาเกรียรติแห่งตน และที่สำคัญ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คอรัปชั่น ควรกลัวในทางคุณธรรม

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงาน ของ กฟผ. โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ในกลุ่มPublic) ของ กฟผ.

1.General

2.Government

3.Media

4.Finance แหล่งเงินนอกรัฐบาล

5.NGO

6.PEER เพื่อนรัฐวิสาหกิจด้วยกัน

7.Internal Public สหภาพ

กฟผ. ต้องให้ความสำคัญกับ 7 กลุ่มหลักดังกล่าว

นอกจากนนี้ กฟผ. ควรพัฒนาตาม Function คือ

1.  การตลาด ต้องขายเป็น

2.  ผลิต (อย่างมีประสิทธิภาพ)

3.  เงิน ต้องมีความเหมาะสมทั้งในอดีตและอนาคต

4.  คน ต้องทำงานเป็นทีมได้

5.  KM การจัดการความรู้ + ประมบการณ์

การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง ( อ.สุขุม นวลสกุล )

ความขัดแย้งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต แต่ความขัดแย้งบางอย่างเป็นทางเลือก สู่การพัฒนาที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์

นักบริหารต้องสบับสนุนการบริหารเพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรค แต่ต้องสนับสนุนความขัดแย้งที่เป็นประโยชน์

ความขัดแย้งเป็น 3 ระดับ

บุคคล กับ บุคคล ส่วนใหญ่เกิดจากหัวหน้างาน (ความอิจฉาริษยา , การเอาเปรียบ)

บุคคล กับ องค์กร มักเกิดจากเรื่องระเบียบที่ขาดการอธิบาย

หน่วยงาน กับ หน่วยงาน หัวหน้าต้องเป็นตัวกลาง ในการลดความขัดแย้ง

นักบริหาร มีหน้าที่ กำจัดความขัดแย้ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดจาก ไม่เข้าใจในบทบาท โดยต้องมีการวางระเบียบให้ชัดเจน


สุทธิชัย จูประเสริฐพร

Lesson form a student of life  By…Jim Collins

Jim เป็นนักเขียนที่ขายดีที่สุดของ Good to Great และนักเขียนร่วมของ Built to last

สรุป  บทความนี้เป็นการกล่าวถึง Peter F. Drucker เกี่ยวกับแนวคิดของเขาสำหรับการพัฒนาตัวเอง การเปลี่ยนแนวความคิด หลักกการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ได้จากการเรียนอย่างเดียวแต่ได้มาจากประสบการณ์ทางชีวิต ซึ่งท่านได้เขียนไว้ในหนังสือถึง 34 เล่ม ก่อนจะจบชีวิตนักเขียนตอนอายุ 95 ปี และได้เขียนยกย่องท่านว่าเป็นศาสตราจารย์ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานสมัยใหม่และคำสอนท่านได้ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ กฟผ.ได้ดังนี้

1.  แนวคิดการพัฒนาตัวเองไม่ใช่พิจารณาแต่หลักทฤษฎีอย่างเดียวแต่จะต้องใส่ใจในเรื่องของการนำไปสู่การปฏิบัติ เปรียบเสมือนการกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติด้วยว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่

2.  การเปลี่ยนแนวความคิดหรือการเปลี่ยนเป้าหมายความคิด เปรียบเสมือนการปฏิบัติงานหากปิดกั้นด้านความคิดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาก็จะไม่เกิดเพราะคิดเองเสมอว่าที่ทำดีอยู่แล้ว

3.  การจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ เปรียบเสมือนการทำงาน กฟผ.ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการได้ดีบางครั้งผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้จัดการมีอิสระในการตัดสินใจบ้างตามสมควร

  --------------------------------------------------


ถึงลูกศิษย์ EADP9 ทุกท่านครับ

  • ไม่ได้พบกัน 2 อาทิตย์แล้ว ผมได้อ่าน Blog ของทุกคนอย่างรอบคอบ 
  • ขอบคุณที่ส่งการบ้านครบ ไม่ว่าจะเป็นการสรุปบทเรียนในแต่ละวัน การวิจารณ์บทความ และหนังสือ 8K 5K 
  • ถือว่าเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ได้ผล และมีคนเข้าไปอ่าน Blog 700-800 คนแล้ว
  • เวลาที่เหลือ ขอให้อ่านหนังสือ Mindset อ่านแล้วปรับปรุงวิธีการคิดและทัศนคติเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
  • อีกไม่กี่วันก็จะพบกันที่กาญจนบุรี  จะเจอผมทุกวัน ยกเว้นวันที่ 28 ก.พ. เนื่องจากผมต้องไปทำภารกิจของกระทรวงการคลัง และอาเซียน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  ขอให้ทุกคนโชคดีครับ แล้วพบกัน

สรุปบทความ

เรื่อง The new office social contract;Loyalty is out,Performance is in

By Steve Lohr

  ในปี 1963 Vincent Papke เข้ามาร่วมงานกับ IBM  โดยยุคนั้นไม่มุ่งเน้นความร่ำรวยขอให้ทำงานและมีความซื่อสัตย์ก็จะอยู่ได้อย่างมั่นคงโดยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว  เมื่อต้นปี 1990 เขาได้ลาออกเนื่องจากบริษัทฯประสบปัญหาและตัดรายจ่ายลง ทั้งๆที่ทำงานมามากกว่า 30 ปี และ Steven Cohn ได้เข้ามาบริหารงานต่อ  โดยเปลี่ยนแนวคิด ผู้ปฏิบัติงานต้องทุ่มเทและเพี่มขีดความสามารถก็จะเจริญก้าวหน้า ไม่ได้มุ่งเน้นความสุขของผู้ปฏิบัติงานโดยมองที่ ผลงานและการมีส่วนร่วม ผลตอบแทนที่ได้รับขึ้นอยู่กับ Performance แทนที่จะคำนึงถึงอาวุโส ซึ่งเป็นแนวคิด Productive contract  แนวความคิดของทั้งสองแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงมีแนวคิดเรื่อง New social contract หมายถึงคำนึงถึงความคาดหวังถึงสิทธิและความรับผิดชอบของบริษัทฯและผู้ปฏิบัติงาน

  David Ulrich,Professer at the University of Michigan business school กล่าวว่า การทำงานเป็นมากกว่าผลผลิต คนยังต้องการที่จะมีความหมายหรือความสำคัญในงานนั้นๆรวมถึงต่อบริษัทฯด้วย

Robert Reich,Professor at Brandeis Univerrsity กล่าวว่าชุมชนที่สำคัญที่สุดแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นรูปบริษัทฯแล้ว โดยชุมชนนั้นจะเหนียวแน่นเข้มแข็งเกิดจากการรวมกลุ่มที่มีทักษะเหมือนกัน และมีการติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคม ที่สำคัญบุคลากรต้องมีการพัฒนาทักษะตนเองอย่างต่อเนื่องและมีสังคมเครือข่ายติดต่อกัน

สรุป โลกปัจจุบันบริษัทฯจะอยู่รอดได้นอกจากจะมองที่ Performance ของผู้ปฏิบัติงานแล้ว ต้องคำนึงถึง social contract เพื่อให้ทั้งผู้ปฏิบัติงานและบริษัทฯเองอยู่ด้วยกัน อย่าง Win Win นั่นคือ การทำ CRM in process รวมทั้ง

ที่ทำงานต้องเป็น Happy work Place ด้วยมีการสร้างความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายด้วยความสมัครใจ

สราวุธ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงาน กฟผ.โดย  ศาตราภิชาน ไกรฤทธ์ บุณเกียรติ

  จากแนวคิดทางการตลาด ทาง กฟผ. จะต้องดูแลและบริหารลูกค้าทั้ง 7 ประเภทเพื่อให้องค์กรดำเนินกิจการหรือภาระกิจได้โดยไม่เกิดปัญหาและอุปสรรค คือ

1. General   ภาพลักษณ์องค์กร

2.Government  รัฐบาลที่เป็นทั้งผู้สนับสนุนและอุปสรรค

3. Media    สื่อมวลชน

4. Finance  สถาบันการเงินหรือแหล่งเงินทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ

5. NGO  ผู้คอยตรวจสอบ  เพื่อน หรือ ศัตรู

6. PEER  เพื่อนฝูง เช่น รัฐวิสาหกิจด้วยกัน

7. Internal   สหภาพแรงงาน และ พนักงาน

  องค์กรหรือ กฟผ. ก็เปรียบเสมือนรถนต์คันหนึ่งที่วิ่งไปบนถนนและจะไปถึงจุดมุ่งหมายได้รถยนต์จะต้องมีความพร้อมและมีสมรรถนะที่พร้อมเช่นเดียวกันกับ กฟผ. ก็จะต้องมีความพร้อมและมีการเสริมสร้างศักยภาพให้เพียงพอถึงจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายในอนาคตได้

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพโดยอาจารย์ สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้งมี 3 แบบ

1.  บุคคลกับบุคคล ส่วนมากเกิดจากความอิจฉาริษยา และการเอาเปรียบกัน

2.  บุคคลกับองค์กร เกิดจากความไม่เข้าใจ

3.  ระหว่างหน่วยงาน ส่วนมากเกิดจากความไม่เข้าใจ

การบริหารความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรองต้องมีการบริหารจัดการต้องสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งส่วนรวมอย่าใหเกิดความขัดแย้งส่วนตัว   และ  ความแตกต่างทางความคิดคือ ความขัดแย้งที่ดี ทำให้เกิดความหลากหลาย แต่ต้องระวังอย่าให้ความขัดแย้งส่วนรวมกลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

การตัดสินใจควรต้องอยู่บนหลัก 3 ถูก คือ

1.  ถูกต้อง  คือ วางพื้นฐานอยู่บนความถูกต้องเสมอเราไม่รู้ทุกเรือ่ง ดังนั้นความถูกต้องที่ไม่รู้นั้นเราจะหาได้ที่ไหน  ในหน่วยงานควรปรึกษาใคร และ นอกหน่วยงานควรปรึกษาใคร ควรหาที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

2.  ถูกใจ ตัดสินใจไปแล้วคนจะยอมรับได้ไหม

3.  ถูกจังหวะ โดยจังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจ (ตามกระแส ตามบรรยากาศ ตามที่เราบุก)


ถึงลูกศิษย์ EADP 9 ทุกคนครับ

ผมขอชมเชยทุกท่านที่วิจารณ์หนังสือ ให้เห็นการพัฒนา และ การรู้จุดแข็ง จุดอ่อน ทำให้ผมมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง 

และอยากให้ทุกท่านติดตามรายการโทรทัศน์เรื่องกรณีศึกษาผู้นำกฟผ. ในรายการคิดเป็นก้าวเป็น ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2666 ช่อง TGN เวลา 21.00 น. 

และ รายการสู่ประชาคม อาเซียน ในวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ช่อง 11 เวลา 12.00-12.30น. 

สุทธิชัย จูประเสริฐพร

The new office social contract:Loyalty is out,performance is in  By…Steve  Lohr

สรุป บทความนี้ได้กล่าวถึงพนักงานบริษัท IBM แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

ยุค 1963 (เก่า) Papkeกล่าวว่าหากเขาทุ่มเทและภักดีต่อองค์กร เขาจะมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน

ยุคหลัง 1990(ใหม่)Steven กล่าวว่าเขาคดหวังจากการทำงานคือ คงามตื่นเต้นท้าทายในงานจะสร้างโอกาสและมีส่วนร่วมในงาน ได้ฝึกฝนทักษะและขยายขอบเขตเป้าหมายในอาชีพของเขาต่อไป

สำหรับมุมมองผู้เชี่ยวชาญทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เห็นว่าสำหรับบริษัทแล้วไม่ได้เน้นเรื่องพนักงานทำงานอย่างมีความสุขและอยู่กับบริษัทไปจนเกษียณแต่บริษัทต้องการพนักงานที่ มีผลงานและมีความผูกพันต่อองค์กร

ส่วนศาสตราจารย์ Ulrichกล่าวว่าการทำงานไม่ใช่แค่เรื่องผลสำเร็จของงานแต่เราทุกคนเน้นที่ความเป็นปัจเจกบุคคลและการแข่งขันทางการตลาด โดยคนก็ยังคงต้องการหาคุณค่าความหมายจากงานที่ตนทำและจากองค์กรที่ตนอยู่ด้วย

ส่วนศาสตราจารย์ Robert Reich กล่าวว่าการทำงานในโลกปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านทักษะความสามารถและการสร้างความสัมพันธ์

จากบทความที่กล่าวข้างต้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของ กฟผ.ก็มีความแตกต่างเช่นกันคือยุคบุกเบิกการทำงานส่วนใหญ่ทุ่เทเสียสละทำงานให้บรรลุผลสำเร็จก่อนผลตอบแทนตามมาทีหลัง แต่ยุคปัจจุบันผู้บริหารหลายท่านมักพูดว่าเด็กสมัยนี้มักถามก่อนว่าจะได้อะไรบ้างเพื่อตัดสินใจทำงาน ส่วนการเปรียบเทียบด้านการดำเนินงานอดีตเราขยายงานง่ายกว่าปัจจุบันที่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอีกทั้งต้องพยายามสร้างความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

  --------------------------------------------------------------


The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

By steve Lohr

The New York Times

ในบทความนี้ผู้เขียนมีเจตนาที่จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงขององค์กรเพื่อความอยู่รอด IBM เป็นตัวอย่างหนึ่งในหลายๆบริษัทชั้นนำที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกา IBM เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของพนักงานในการบริหารจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่ โดยได้ยกตัวอย่างคน 2 ยุค ได้แก่ ยุคปี 1963  Papke ทำงานที่ IBM ได้รับการสนับสนุนในตำแหน่งงานเติบโตขึ้นตามลำดับ ในยุคนั้นพนักงานทุกคนจะมุ่งเน้นถึง การจงรักภัคดีต่อองค์กรเป็นสิ่งสูงสุด มีวัฒนธรรมในการสอนงาน การทำงานอย่างหนักและทุ่มเท แล้วจะได้รับการตอบแทน แนวคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันต่อเรื่อยมา โดยพนักงานทุกคนไม่ได้สนใจเรื่องผลกำไรของบริษัท ปี 1980 IBM เริ่มมีปัญหาด้านการเงิน จนกระทั้งต้นปี 1990 IBM เข้าสู่วิกฤติจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอด  Papke ได้ออกจากงาน และ Cohn วัย 29 ปี ก็เข้ามาบริหาร IBM Cohn เป็นคนรุ่นใหม่ จบ MBA ประสบการณ์ด้านธนาคารและงานโฆษนาทางอินเตอร์เน็ต  ในยุคปี 1990 IBM โดย Cohn มีแนวคิดและกลยุทธ์บริหารงานที่แตกต่างจากเดิม เป็นการบริหารงานแบบแสวงหาโอกาส ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างชื่อเสียงและกำไรของบริษัท  ค่าตอบแทนอันได้แก่ ตำแหน่ง เงินเดือนและโบนัส ควรจะขึ้นกับต้นทุนและค่าทางการตลาดของแต่ละบุคคล  คือผลตอบแทนใช้วิธีการประเมินจากความสามารถมากกว่าระบบอาวุโส

จากการบริหารตามแนวคิดยุคใหม่ทำให้ IBM สามารถอยู่รอดมาได้และได้เติบโตขยายกิจการจนปัจจุบัน(ปี 1994) มีพนักงานทั่วโลกกว่า 330,000 คน

สิ่งที่ได้จากบทเรียนนี้ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของ IBM จากการทำงานแบบจงรักภัคดี เป็นการทำงานแล้วให้ผลตอบแทนตามความสามารถ จนองค์กรอยู่รอดได้ ถือว่าเป็นบทเรียนที่น่าสนใจ แต่จุดอ่อนของบทความนี้คือไม่เขียนในมิติอื่น เช่น สิ่งที่บริษัทสูญเสีย ประเทศชาติได้ประโยชน์อะไร เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อมองอดีต-ปัจจุบันของ กฟผ. บทความนี้มีส่วนคล้ายรูปแบบ กฟผ.  คน กฟผ.รุ่นแรกจะมีแนวคิดที่จงรักภัคดีต่อ กฟผ.จนสามารถสร้าง กฟผ.ให้แข็งแกร่งได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งข้าพเจ้ายังมีความเชื่อมั่นกับแนวคิดดั่งเดิมของ กฟผ. อย่างไรก็ตามบทความนี้ควรเป็นประสบการณ์ที่มีนัยสำคัญให้แก่ กฟผ.และเป็นสิ่งที่ผู้นำ กฟผ.สามารถนำมาเป็นข้อมูลฐาน  เพื่อประกอบการพิจารณาในการวางกรอบนโยบาย กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมในระดับต่างๆ แล้วรวบยอดประสานระหว่างแนวคิดของคน กฟผ.เดิมที่มีสิ่งที่ดีงานผสมอยู่แล้วและประยุกต์ให้พนักงานทุกคนตื่นตัวทำงานเพื่อความอยู่รอดของ กฟผ.จะเป็นการนำบทเรียนนนี้ไปประยุกต์ใช้ลดความเสี่ยงและเกิดประโยชน์แก่ กฟผ.ในอนาคต

วุฒิไกร สร่างนิทร

14 กุมภาพันธ์ 2556


สรุปบทความ The New Office Social Contract : Loyalty is out, Performance is in

Steve Lohr ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการทำงานของพนักงานบริษัท IBM 2 คน ที่ทำงานคนละยุค คนแรกคือ Vincent Papke เข้าทำงานในปี 1963 ด้วยความจงรักภักดี ไม่คาดหวังความร่ำรวย แต่สิ่งที่ต้องการคือความมั่นคงในหน้าที่การงาน และคิดว่าบริษัทเปรียบเสมือนครอบครัว เขาทุ่มเททำงานหนัก สุดท้ายก็ต้องออกจากงานเมื่อบริษัทเริ่มมีปํญหาทางการเงินและต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอด ส่วนคนที่ 2 คือ  Steven Cohn เข้าทำงานในปี 2005 ด้วยความรู้สึกที่แตกต่าง ที่มีการเตรียมพร้อมในการทำงานเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และกลยุทธของบริษัท โดยการบริหารจัดการและสร้างโอกาสต่าง ๆ ที่เขาจะสามารถทำประโยชน์ให้กับบริษัท โดยถือคติว่าค่าตอบแทนขึ้นกับความสามารถและมูลค่าการตลาด

ผู้เขียนบทความต้องการเน้นให้เห็นความแตกต่างทางความคิดของพนักงานในแต่ละยุค ทั้งสองคนเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแทบทุกบริษัท เดิมพนักงานส่วนใหญ่ทำงานให้บริษัทด้วยความสุข และมีความพึงพอใจในความมั่นคงในการทำงาน และยิ่งอยู่นานก็ยิ่งมีความผูกพันกับบริษัทเหมือนครอบครัว แต่ปัจจุบันพนักงานทำงานให้บริษัทตามข้อตกลงที่เขียนไว้ในสัญญา และต่างฝ่ายต่างเน้นการวัดความพึงพอใจที่ประสิทธิภาพของผลงาน และผลตอบแทนที่แต่ละฝ่ายได้รับ มากกว่าความสุขจากการทำงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

สรุป ในยุคปัจจุบัน บริษัทจะต้องประยุกต์ ใช้ความคิดทั้งสอง คือให้มีความจงรักภักดีต่องานอยู่ในจิตใจของพนักงาน และบริษัทต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่เน้นความสามารถในการทำงาน ควบคู่กันไป


The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

  

สรุปประเด็นจากบทความได้ว่า บริษัทที่เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมสมัยใหม่ในแต่ละช่วงเวลาหรือในแต่ละยุค จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแนวความคิดในการบริหารพนักงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ในยุคเริ่มต้นของบริษัทการแข่งขันในตลาดไม่รุนแรง ผู้บริหารในยุคนั้นจึงเน้นด้านความภักดี ความผูกพัน และความมั่นคงทางอาชีพของพนักงานต่อบริษัท ซึ่งต่อมาเมื่อการแข่งขันรุนแรงขึ้นแนวความคิดข้างต้นทำให้บริษัทเริ่มล้าหลังคู่แข่ง จึงมีการปรับแนวความคิดในการบริหารใหม่โดยมุ่งเน้นผลผลิต และจะให้ผลตอบแทนแก่พนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง แต่แนวทางการบริหารดังกล่าวอาจจะมีปัญหาเพราะพนักงานมีความกดดันในการทำงานมาก

ทั้งนี้นักวิชาการมองว่า พนักงานรุ่นใหม่นี้ต้องการแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์และชื่อเสียงของบริษัท พวกเขาเชื่อว่าจะสามารถสร้างผลงานให้กับบริษัทได้ และ“งานเป็นยิ่งกว่าผลผลิต นอกเหนือจากที่เราให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกบุคคลและการแข่งขันด้านการตลาดแล้ว ยังต้องการค้นหาความหมายในงานและองค์กรที่จ้างเขาทำงานอีกด้วย” และ “สิ่งสำคัญที่สุดของการรวมกลุ่มคนทำงานเข้าด้วยกันไม่จำเป็นต้องเป็นรูปบริษัทอีกต่อไปแล้ว แต่อาจเป็นเรื่องของการรวมตัวกันของคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถที่เหมือนกันและเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคม (Soical Connection) การพัฒนาเพิ่มพูนทักษะเหล่านั้นรวมทั้งเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างต่อเนื่องคืออาชีพของคนยุคนี้

  ดังนั้นพอจะพิจารณาได้ว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรก็ต้องพัฒนาตามเพื่อความอยู่รอดขององค์กร แต่องค์กรจะต้องคำนึงถึงผู้ปฏิบัติงานด้วยว่าการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องผูกพันด้วยผลตอบแทนที่เหมาะสมและการดูแลเอาใจใส่ที่ถูกต้องด้วย


สรุปบทความ

 " The new  office  social  contract  : loyalty  is  out , performance  is  in "

โดย  Steve  Lohr

  จากบทความจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง  จากเดิมบริษัท  IBM จะเน้นความซื่อสัตย์

ความภักดีต่อบริษัท  อยู่กับบริษัทไปอย่างยาวนาน  โดยพนักงานก็หวังความมั่นคง

มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ  แต่หลังปี  1990  เป็นต้นมา  บริษัทเริ่มเปลี่ยนเป็นการ

เน้นผลิตภาพ  ความสามารถ  ไม่เน้นอาวุโส  จ่ายตามผลงาน  ซึ่งก็เป็นแนวโน้ม

ของบริษัททั่วไปสมัยใหม่  ซึ่งทำให้คนขาดความผูกพันกับบริษัท  ที่ไหนจ่ายมากกว่า

ก็พร้อมที่จะย้ายไป

  ในส่วนของ กฟผ.  ก็เช่นกัน  จำเป็นต้องมีการทำให้เกิดความสมดุลย์  ให้พนักงาน

เห็นคุณค่าของงานที่ตนเองทำ  แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้รายได้ของพนักงานอยู่ในระดับ

ที่ดี  เมื่อเทียบกับบริษัทชั้นนำทั่วไป

นายทศพร เนตยานุวัฒน์

ส่งการบ้าน 15 กพ. 56

The new office social contract : Loyalty is out ,  performance is in

By Steve Lohr

การทำงานในอดีตที่พนักงานจะจงรักภักดีกับองค์กรจะเริ่มทยอยหมดไป  การทำงานในอดีตการขึ้นเงินเดือน , โบนัส และ การเลื่อนตำแหน่ง จะพิจารณาที่อาวุโสและอยู่กับบริษัทมานาน

แต่การทำงานยุคใหม่ ต้องการ พนักงานที่มีความรู้ความสามารถ  สามารถทำประโยชน์ให้กับบริษัทได้

การขึ้นเงินเดือน , โบนัส และ การเลื่อนตำแหน่ง จะพิจารณาที่ความรู้ความสามารถ 

ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง  บริษัทที่จะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัวให้ทันกับโลกยุคใหม่

จากเนื้อหาสาระของบทความนี้ก็เป็นข้อคิดเตือนใจให้กับองค์กรของเราต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นในทันกับโลกสมัยใหม่

สำหรับ กฟผ. เราที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับก็เพราะเรามีพนักงานที่มีรู้ความสามารถ  และเราก็ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน  ซึ่งดูจากการคัดเลือกพนักงานใหม่ 


The new office social contract:Loyalty is out,performance is in.

Steve Lohr คอลัมนิสต์ The new york Times กล่าวถึงความแตกต่างในวัฒนธรรมการทำงานของ ทศวรรษที่ 60 กับยุคปัจจุบัน โดยในสมัยก่อนคนงาน จะมีความจงรักภักดี ทุ่มเท ทำงานและใช้ชีวิตเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ความก้าวหน้าก็เน้นอาวุโสเป็นหลัก บริษัทเองก็ดูแลพนักงานจนตาย เมื่อพนักงานมีอายุมากขึ้น เจ็บป่วยมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำให้บริษัทต้องแบกรับภาระมาก หลายบริษัทต้องปิดกิจการหรือไม่ก็ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยในยุคปัจจุบันเน้นย้ำในเรื่องสมรรถนะและความรับผิดชอบในการทำงานเป็นหลัก ไม่เน้นระบบอาวุโส ผลตอบแทนก็ตามความสามารถ สอดคล้องกับแนวคิดของผู้ปฎิบัติงานรุ่นใหม่ๆที่ก็ต้องการความชัดเจนในเรื่องผลตอบแทนเช่นกัน และพร้อมจะจากไปเมื่อมีที่อื่นเสนอผลตอบแทนที่ดีกว่า องค์กรเองก็จะไม่ดูแลคนงานเสมือนคนในครอบครัวเดียวกันอีกต่อไป เพื่อลดภาระรายจ่ายของบริษัท

IBM เป็นกรณีตัวอย่างในเรื่องดังกล่าวได้ดี ตั้งแต่ทศวรรษที่60 จนถึงปลายทศวรรษที่ 80 IBMต้องรับภาระในเรื่องดังกล่าวจนทำให้บริษัทเกือบล่มสลาย เพราะปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในด้าน นวัตกรรม เทคโนโลยี และการรุกคืบของคู่แข่ง จนกระทั่งต้นทศวรรษที่90 จึงได้เริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ด้วยการตัดค่าใช้จ่ายต่างๆลง เช่น ลด, ปลดคนงาน, ยกเลิกค่ารักษาพยาบาลผู้เกษียณ, ยกเลิกเงินบำนาญสำหรับพนักงานเข้าใหม่ , Outsource งานบางประเภท, จ้างแรงงานนอกประเทศ เป็นต้น และเน้นไปที่งานcore business ของตัวเอง ปรับลดการเป็นบริษัทผู้ผลิตลง เพิ่มงานบริการ ติดตั้ง ปรับปรุง แก้ไขระบบ และเป็นที่ปรึกษางานด้านเทคโนโลยีล้ำยุคมากขึ้น แต่ผลของ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ทำให้ศาลรัฐบาลกลางตัดสินว่า IMBเลือกปฎิบัติ และต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินมหาศาลในปี 2003

คงไม่มีคำตอบง่ายๆคำตอบใดที่จะมาตัดสินได้ว่าแนวทางใด ถูกต้อง และเหมาะสม ที่สุด ในทัศนของผู้เชี่ยวชาญบางคน กล่าวว่า “งาน เป็นมากกว่าการผลิตที่มุ่งแต่จะแสวงหากำไรสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงจิตใจความเป็นมนุษย์” ทั้งยังเชื่อว่าส่วนลึกของคนงานเองก็ยังต้องการทำงานในงานและในองค์กรที่เห็นว่ามีคุณค่าต่อการทำงานเช่นกัน

เกรียงไกร ไชยช่วย 15 กพ 56


l

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความ

The new office social contract : Loyalty is out, performance is in

แนวคิดในการทำงานของคนรุ่นใหม่รวมถึงแนวคิดในการจ้างงานของบริษัทต่างๆในยุคนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไป

เรื่องความจงรักภักดีต่อองค์กรของลูกจ้างและการเลี้ยงคนของนายจ้างไม่ใช่ประเด็นหลักอีกต่อไป

สิ่งที่จะผูกมัดลูกจ้างและนายจ้างได้คือผลประโยชน์ที่ต่างให้กัน 

นายจ้างจะจ้างคนที่คุณสมบัติที่ดี พร้อมที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลตามเป้า

ลูกจ้างจะมองหาองค์กรที่ตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆของตนเองได้

พนา สุภาวกุล

บทเรียนจากชีวิตในวัยเรียน (LESSON FROM A STUDENT OF LIFE)

มุมมองและแนวคิดจาก Peter F. Drucker เป็นดั่งแรงบันดาลใจให้คนหลายๆคน ในการปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิต และความคิด เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป สิ่งที่เขาแสดงให้เห็นคือ คำถามง่ายๆที่เราต้องตั้งคำถามต่อตัวเราเอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการฉุกคิด เป็นประเด็นปัญหาที่เราต้องหาคำตอบด้วยตัวเราเอง และไม่มองข้ามคำตอบภายในใจเรา ในหลายๆครั้ง การตอบคำถามให้ถูกต้องนั้น บางครั้งก็ไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์ต่อปัญหานั้นจริงๆ แต่การตั้งคำถามลงไปในคำถามนั้น อาจจะก็มุมมองใหม่ๆ ที่มาเติมเต็มคำตอบนั้นให้สมบูรณ์ก็ได้

นอกจากนี้ Peter F. Drucker ยังแสดงให้เราเห็นว่า ทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิต และการสร้างสรรค์แนวทางในการดำเนินชีวิตของเรานั้น บางที่ก็เกิดจากการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวเราเอง ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่เราละเลยไป เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราที่หมายรวมถึง บุคคลรอบข้างเราด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นบนเรียนที่ทรงคุณค่าต่อเรา แต่เราต้องรู้จักกลั่นกรองมันออกมา ด้วยคำถามง่ายๆในใจเรานั่นเอง

สังคมการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ (The new office social contract: Loyalty is out, performance is in)

จากความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ กระแสทุนนิยมเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตทุกคน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลไปสู่ สังคมการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไปด้วย เพื่อความต้องการจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์นั่นเอง  แตกต่างจากสังคมการทำงานในอดีต ที่ความสุขในการทำงานและความภาคภูมิใจในงานที่ทำ มีบทบาทหลักต่อความผูกพันในองค์กร  ความเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ การแข็งขันกันทั้งภายในและบอกองค์กร เพื่อมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของทั้งผู้ปฏิบัติงานและองค์กรนั้น 

หลายๆองค์กรต้องปรับไปตามกระแสของการตลาดเชิงอุตสาหกรรม ส่งผลไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและแผนด้านสวัสดิการ ที่ในอดีตเป็นเหมือนตัวแทนของหลักประกันความมั่นคงแก่บุคลากร  เมื่อทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเอง ต่างก็ให้ความสำคัญของตัวเลขและมูลค่าทางการตลาด มากกว่า ความสุขในการทำงานและรวมถึงความสุขมวลรวมภายในองค์กรนั้นด้วย 


สรุปบทความ

LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

BY JIM COLLINS

           Peter F. Drucker  ได้เผยเคล็ดลับในการทำให้เขาสามารถรักษาสถาพร่างกาย และจิตใจให้ดูกระชุ่มกระชวยอยู่เสมอ คือการไม่ยอมรับการสัมภาษณ์จากใครง่ายๆ และพยายามเกาะติดอยู่กับงานที่ตนสนใจเท่านั้น โดย ได้พิมพ์ไปรษณียบัตรประกาศว่า เขาจะไม่รับงานสับเพเหระ ที่สิ้นเปลืองเวลา และมีประโยชน์น้อยโดยเขาจะขอชื่นชมผู้ที่สนใจในงานของเขา แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอในงานต่อไปนี้ได้ คือ เขียนบทความหรือคำนำให้หนังสือต่างๆ วิพากย์บทความ หรือวิพากย์หนังสือของผู้อื่น ร่วมอภิปรายบนเวที หรือร่วมสัมมนาต่างๆ หรือปรากฎตัวในรายวิทยุ โทรทัศน์  แต่ Peter F. Drucker  กลับยอมอุทิศช่วงเวลาที่ดีของเขาในแต่ละวันให้กับการอบรมสั่งสอนให้คำปรึกษา และแนะแนวทางการปฏิบัติแก่ คนรุ่นหนุ่มสาวที่อยู่ระหว่างการแสวงหาสิ่งที่ดีสำหรับชีวิต

            Peter F. Drucker  ได้กล่าวว่า เธอต้องการที่จะทำอะไร ให้เกิดประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ซึ่งทำให้ผู้เขียน

            ( COLLINS ) ได้ประเด็นว่า “เราต้องการได้อะไรจากโลกใบนี้” ผลิกผันไปสู่ประเด็นคำถามที่ให้คิดได้ว่า”เราจะสามารถให้อะไรกับโลกใบนี้บ้าง ในตลอดช่วงชีวิตหนึ่งของเรา”

            Peter F. Drucker  ได้เผยแพร่ความรู้ด้านบริหารจัดการอย่างเยื่ยมยอด เพื่อให้ผู้คนสามารถนำไปใช้ได้  อีกทั้งยังได้กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย ซึ่งสะท้อนคำกล่าวที่ว่า “Winston Churchill ช่วยโลกให้ปลอดภัยจาก วิกฤตการณ์” แต่สำหรับปีเตอร์ ดรักเกอร์แล้ว ท่านได้แสดงให้เห็น “วิธีการสร้างความปลอดภัยให้แก่โลก”

            Peter F. Drucker  ย่ำเตือนเสมอว่า “ อย่าตั้งคำถามว่า ท่านสามารถที่จะได้อะไรบ้างจากสังคม แต่จงตั้งคำถามว่า ท่านสามารถจะให้อะไรแก่สังคมได้บ้าง

            บทเรียนที่สำคัญที่สุด ที่ได้เรียนรู้จาก Peter F. Drucker  ไม่ได้อยู่ในหนังสือ หรือคำสอนของเขา แต่อยู่ที่ตัวอย่างการใช้ชีวิตของเขาเอง  Peter F. Drucker  ไม่ได้มีลักษณะของครูผู้กระหายที่จะพูด เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ ศิษย์ แต่หากเป็นครูผู้พร้อม และกระหายที่จะฟัง และเรียนรู้จากศิษย์แต่ละคนที่เขาได้พบ นี้จึงเป็นเหตุให้ Peter F. Drucker  ได้รับการยอมรับว่า เป็นสุดยอดของครูผู้ยิ่งใหญ่ในยุคสมัยนี้ และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและวิถีชีวิตของผู้เลื่อมใสในปัจจุบัน


สรุปบทความเรื่องThe new office social contract : Loyalty is out, Performance is in

บทความนี้ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างทางความคิดของ พนักงานบริษัท IBM 2 คนที่เข้าทำงานกันคนละยุค Vincent Papke อายุ 63 ปี เข้าทำงานกับบริษัท IBM ในปี 1963 ด้วยความต้องการงานที่มั่นคงและมีความรู้สึกผูกพันกับบริษัท เขาทำงานกับ IBMเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี และลาออกเมื่อบริษัทเริ่มมีปัญหาทางการเงินและต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอด

ส่วน Steven Cohn อายุ 29 เป็นคนหนุ่มซึ่งมาเข้าทำงานกับบริษัท IBM หลังจากที่เคยทำงานธนาคาร และบริษัทโฆษณา จากนั้นไปเรียนต่อ MBAจนจบ ก่อนที่จะมาทำงานกับ IBM Steven โดยต่อรองเงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ ที่เขาจะควรจะได้รับซึ่งคิดว่าจะคุ้มค่ากับการทำงานและผลงานของเขา

ทั้งสองคนแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับหลายๆ องค์กร ในปัจจุบันกระแสวิธีปฏิบัติของบริษัทที่มีต่อพนักงานได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือจากการที่บริษัทให้ความสำคัญต่อความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์ของพนักงาน เปลี่ยนมาเป็นการให้ผลตอบแทนตามความสามารถและผลงานของพนักงานแทน ซึ่งปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่เห็นว่าความสามารถของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอด และพนักงานจะอยู่กับบริษัทเมื่อเห็นว่าได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่าเท่านั้น


บทความเรื่องTHE NEW OFFICE SOCIAL CONTRACT: LOYALTY IS OUT,PERFORMANCE IS IN MONDAY ,DECEMBER 12 ,2005 BY STEVE  LOHR

  PAPKE ได้เข้ามาบริหารบริษัท IBM ตั้งแต่ปี  1963  โดยใช้นโยบายเรื่องความซื่อสัตย์เป็นตัวนำองค์กร  และชี้ให้เห็นว่าถ้าใครทำงานหนัก ทุ่มเทก็จะเป็นผู้นำองค์กรได้  แต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จเขาทำงานที่IBMมา30ปีก็ต้องลาออกไป COHNได้เข้ามาบริหารต่อโดยมองในเรื่องของกำไร/ต้นทุน/รายได้ เป็นสำคัญ จนในที่สุดก็เกิดแนวความคิดเรื่อง NEW SOCIAL CONTRACT ขึ้นก็คือการมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องของสิทธิและตวามรับผิดชอบต่อกัน  จนในที่สุดDAVID ULRICH(UNIVERSITY OF MICHIGAN BUSINESS SCHOOL)ได้มาสุปเรื่องของการบริหารงานว่า  ระบบของNEW SOCIALCONTRACT น่าจะเป็นการบริหารงานที่มีการดูแบบบูรณาการคือดู ผลผลิต พนักงาน ชุมชน สังคม หรือจะพูดใหม่ก็คือต้องคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ครบทุกด้านถึงจะเป็นการบริหารแบบยังยืน

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


EGAT 9 will be strong leaders in the future


The New Office Social Contract: Loyalty is out, performance is in. 

By Steve Lohr.

                บทความในนิตยสารนิวยอร์ค ไทมส์ เรื่อง ค่านิยมในการทำงานยุคใหม่ที่ศักยภาพมาเหนือความจงรักภักดี นั้นเปรียบเทียบระหว่างพนักงานของ IBM ใน 2 ยุค คือ นาย วินเซนต์ พัพเค ยุคเก่า และ นาย สตีฟ โคห์น พนักงานในยุคใหม่ซึ่งมีค่านิยมในการทำงานต่อองค์กรและบริษัที่แตกต่างกัน โดย วินเซนต์ มีค่านิยมในหน้าที่การงานที่มั่นคง และ มีรายได้ค้ำจุนเขา โดยบริษัท IBM ได้ฝึกให้เขาพัฒนาตนเองและก้าวขึ้นไปสู่ในระดับบริหารของบริษัท จากที่เป็นแค่นักบัญชีเท่านั้น และ เขาต้องการที่จะทำงานให้ IBM ตราบเท่าที่เขาสามารถ แต่แล้วบริษัทก็ต้องลดจำนวนพนักงานเพื่อลดภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายของบริษัท วินเซนต์เป็นหนึ่งในโครงการลดจำนวนพนักงาน ค่านิยมในความจงรักภักดีต่อองค์กรไม่ได้ช่วยให้เขาอยู่ในบริษัทต่อไป

          ในทางกลับกัน สตีฟ โคห์น หนุ่มปริญญาโทด้านบริหารไฟแรง ที่เคยทำงานที่ธนาคารเพเอการลงทุน และ บริษัทโฆษณาทางอินเตอร์เนต นั้นมีความคิดแตกต่างจากวินเซนต์อย่างสิ้นเชิง โดยคิดว่าจะใช้การบริหารจัดการ และ โอกาสในการทำงานอย่างไร? ซึ่งค่าตอบแทนที่เขาควรจะได้รับนั้นควรขึ้นอยู่กับผลงาน ศักยภาพ และ ขีดความสามารถในการทำงาน

          จาก 2 ตัวอย่างของพนักงานออฟฟิศในแต่ละยุคจะเห็นได้ว่าระบบความคิดและค่านิยมในการทำงานในทวีปอเมริกานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความมั่นคงในการทำงานมิได้อยู่กับความสุข แต่ขึ้นอยู่กับผลผลิตและความยึดมั่นในงาน ค่าตอบแทนหรือผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับศักยภาพและขีดความสามารถมากกว่าความอาวุโส สิ่งที่ทำให้ค่านิยมเปลี่ยนแปลงไปนั้นคงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก โลกาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้โลกหมุนเร็วขึ้น เกิดนวัตกรรมใหม่ๆมากขึ้น และ ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะในกิจการหรือธุรกิจนั่นก็คือ กำไร ผลประกอบการ

          ในการที่บริษัทหรือองค์กรจะทำให้พนักงานยึดเหนี่ยว มีความรัก และ ยึดมั่นต่อภารกิจขององค์กรนั้นมิใช่ผลตอบแทนหรือสวัสดิการที่ได้รับ วิสัยทัศน์และความรู้สึกว่างานที่ตนทำมีผลต่อองค์กรนั้นจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวพนักงานที่สำคัญขององค์กร เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับความสำเร็จของภารกิจ กล่าวโดย ศาสตรจารย์ เดวิด อูลริช อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมิชิแกน ทางด้านธุรกิจ

    นายภูวดา ตฤษณานนท์

          16/02/2556

 


The new office social contract: Loyalty is out, performance is in.

By Steve Lohr

สรุปเนื้อหาโดยย่อ

   จากบทความเป็นการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงลักณะการจ้างงานในโลกจากในอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบัน โดยใช้ตัวอย่างพนักงาน IBM  2  รุ่นมาเปรียบเทียบกัน

  โดย Vincent Papke เป็นพนักงานรุ่นเก่าเข้าทำงานในยุคที่บริษัทให้งานมั่นคงกับพนักงานและพนักงานมีความภักดีต่อบริษัท   แต่ในช่วงท้ายของทศวรรษ 1980 และต้นๆทศวรรษ 1990บริษัทสู้กับคู่แข่งในด้านนวัตกรรมและความรวดเร็วไม่ได้  บริษัทได้จ้างVincent Papke ออกแม้เขายังคงภักดีต่อบริษัทอยู่ก็ตาม   แนวคิดการจ้างงานลักษณะนี้ค่อยๆลดลงไปในบริษัทของอเมริกา

  Steven Cohn เป็นพนักงานรุ่นใหม่เข้างานที่ IBM ต่อจากรุ่นของ Vincent Papke  ฃึ่งการจ้างงานในยุคนี้บริษัทต้องการพนักงานที่มีผลงานตลอดเวลา  การจ่ายเงินเดือนและโบนัสจะขึ้นอยู่กับสมรรถนะหรือผลงานของพนักงานไม่ใช่ขึ้นกับอาวุโสเหมือนแต่เดิม

  ความเห็นของผม  ..... ในกรณีของ กฟผ. เราคงไม่ถึงกับทิ้งผู้ที่อาวุโสโดยให้ออกเหมือนกับบริษัทในต่างประเทศ  แต่ต้องส่งเสริมและผลักดันคนรุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะหรือผลงานดีให้มีความก้าวหน้าที่เร็วขึ้นและรายได้ที่ดีกว่าผู้ที่สมรรถนะต่ำกว่าอย่างชัดเจน เพื่อดึงดุดให้อยู่สร้างผลงานที่ดีกับ กฟผ.ต่อไป



บทความ - The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

ข้อตกลงในการจ้างงานใหม่ที่เปลี่ยนจากความผูกพันกับองค์กรไปสู่ผลงาน

งานในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงกว่าสมัยก่อน ทำให้แนวคิดในการทำงานในอดีตกับปัจจุบันต่างกัน

สิ่งที่ได้เห็นได้ชัดเจนจาก เงื่อนไขและข้อตกลงแบบเดิมๆที่มุ่งเน้น“ความผูกพันกับองค์กรเพื่อความมั่นคงในการทำงาน”ได้ลดบทบาทลงไป

เมื่อเป็นเช่นนั้น...แล้วข้อตกลงเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างองค์กรกับพนักงานแบบใหม่เป็นอย่างไร สิทธิประโยชน์ของพนักงานและความรับผิดชอบขององค์กรจะเป็นไปในรูปไหน....ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดแต่มีความเห็นว่า สิทธิประโยชน์ของพนักงานและความรับผิดชอบของบริษัทหรือองค์กรน่าจะระบุไว้เป็นหลักฐานในการว่าจ้าง ในส่วนของบริษัทหรือองค์กร นโยบายหรือแนวคิดจะมุ่งเน้นให้พนักงานมีความสามารถ กระตือรือร้น มีวิสัยทัศน์ พร้อมที่นำความก้าวหน้ามาสู่บริษัทหรือองค์กร ค่าจ้าง และ ผลตอบแทน สำหรับพนักงานขึ้นอยู่กับผลงาน ไม่ใช่อายุงาน

สรุป แนวคิดนี้เป็นของบริษัทในอเมริกาซึ่งถ้ามาปรับใช้กับ กฟผ. คงต้องหาวิธีปรับให้เหมาะสมเพราะวัฒนธรรมการทำงานด้วยความผูกพันธ์กับองค์กรแบบครอบครัวใหญ่ มองเพื่อนร่วมงานแบบพี่น้อง ก็ยังเป็นสิ่งที่ดีของการทำงานในสังคมเมืองไทย แต่ความก้าวหน้าและการอยู่รอดขององค์กร รวมทั้งการแข่งขันในตลาดโลก ก็ต้องนำมาพิจารณากระตุ้นและหาวิธีจูงใจพนักงานในการทำงานต่อไป

อรรถพร ชูโต


17 กุมภาพันธ์ 2556

The New office Social contract : Loyalty is out ,Performance is in

จากบทความจะเห็นความแตกต่างแนวคิดในแต่ละช่วงเวลา โดยในช่วงแรกความจงรักภักดีต่อองค์กรในมุมมองของ Vincent Papke ซึ่งทำงานให้ IBM เกือบ 30  ปี ยังถูกให้ออกจากงานเมื่อบริษัทเกิดวิกฤติ จนมาช่วงSteven Cohn แนวทางการทำงานของบริษัทเปลี่ยนไปเป็นการวัดผลงานเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงความผูกพัน ใครมีผลงานดีก็ได้รับผลตอบแทนที่ดี

  จากตัวอย่างทั้ง 2 คน เป็นกรณีศึกษาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแนวทางการบริหารจัดการที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความเร็วในการแข่งขัน การวัดผลงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้บริษัทบรรลุเป้าประสงค์ในทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามการละเลยในเรื่องการสร้างความผูกพันธ์กับองค์กร และความผูกพันระหว่าง ผู้อาวุโสกับคนรุ่นใหม่ อาจทำให้สังคมไทยเกิดความห่างเหินกันมากขึ้น การแข่งขันก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

  

The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

By Steve Lohr

 

  บทความนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับพนักงานในอดีตกับปัจจุบัน โดยใช้ตัวอย่างจากพนักงานบริษัทไอ บี เอ็ม 2 คน จาก 2 ช่วงเวลา

   Vincent Papke อายุ 63ปี ร่วมงานกับบริษัทไอ บี เอ็ม ในปี 1963  และลาออก เมื่อบริษัทเริ่มประสบปัญหาต้องลดเงินเดือนพนักงานในอีก3ทศวรรษต่อมา  ในยุดนั้นคนทำงานเพื่อความมั่นคง โดยไม่ได้หวังร่ำรวย  บริษัทเป็นเสมือนครอบครัวใหญ่

   Steven Cohn อายุ 29ปี ร่วมงานกับบริษัทไอ บี เอ็ม เมื่อต้นปี 2005 ด้วยแนวความคิดว่าการทำงานควรให้โอกาสและผลประโยชน์ ค่าตอบแทน ควรขึ้นกับความสามารถและยอดขาย

  พนักงานทั้งสองคนเป็นตัวแทนของพนักงานรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน  ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ และการตลาด  ข้อตกลงแบบเดิมที่เน้นความจงรักภักดีเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงานเริ่มจางหายไป  บริษัทก็จะไม่เน้นที่ความสุขของพนักงาน แต่จะเน้นการมีพนักงานที่ทำประโยชน์และทุ่มเท  ค่าจ้างและโบนัสใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานแทนการใช้ระบบอาวุโส  เป็นการเน้นผลผลิต ในแบบ คุณให้เท่าใด คุณได้เท่านั้น ความสัมพันธ์ของพนักงานรุ่นใหม่กับบริษัทขึ้นกับการมีผลประโยชน์ร่วมกัน

  ในสมัยนี้การทำงานกับบริษัทแห่งเดียวไม่ค่อยจะมีแล้ว  การรวมกลุ่มคนทำงานเข้าด้วยกันไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทอีกต่อไป  แต่เป็นการรวมตัวของคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถที่เหมือนกัน

ความคิดเห็นจากบทความนี้

  ไอ บี เอ็ม เป็นตัวอย่างที่คล้ายกับบริษัททั่วไป ซึ่ง กฟผ.ก็เป็นหนึ่งในนั้น  คือ มีพนักงาน 2 รุ่น คือ รุ่นเก่าหรือรุ่นบุกเบิก ที่พนักงานมีความภ้กดีต่อองค์กร เสียสละ  ทำงานเพื่อความมั่นคง แต่ไม่หวังร่ำรวย กับคนรุ่นใหม่ ที่โดยเฉลี่ยมีความรู้ความสามารถดี แต่มุ่งทำงานเพื่อเงิน และมีความภ้กดีต่อองค์กรน้อยกว่าคนรุ่นก่อน ซี่งหากสามารถรวมส่วนดี ของคนทั้ง 2 รุ่นเข้าด้วยกัน และขจัดส่วนด้อย  ก็จะทำให้ กฟผ.เจริญก้าวหน้า ในโลกปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการเป็นสังคมของคนที่ทำงานอย่างมีความสุขเหมือนคนรุ่นก่อน



The new office social contract: Loyalty is out, performance is in.

        By Steve Lohr

สรุปบทความเปรียบ การทำงานของพนักงานรุ่นเก่า นายPapke ที่ทำงานกับ IBM มานานร่วม 30 ปี ที่มุ่งเน้นเรื่องความมั่นคงในการทำงาน จะมีความจงรักภักดีต่อบริษัท  กับอีกคนหนึ่ง นาย Cohn พนักงานรุ่นใหม่ เรียนจบ MBA โดยการทำงานจะมุ่งเน้นการยอมรับในงาน จึงใช้การทำงานตามผลชี้วัดเพื่อแสดงถึงสมรรถนะ และประสิทธิผลที่ของความสำเร็จ ให้กลับบริษัท ทั้งนี้เพื่อความก้าวสู่ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ตลอดจนเงินเดือนและผลตอบแทน

 ซึ่งจากบทความแสดงให้เห็นความแตกต่างทางความคิด ของคนแต่รุ่น แต่ยุค ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ ในUSAแม้แต่บริษัททั่วโลก หรือ EGAT เองก็จะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้นเรื่องHRM จึงเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างเช่นที่ท่าน ศ.ดร. จีระ ท่านเป็นนักเศรษฐสาสตร์ แต่จะให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์เป็นอันดับแรก ในยุคแห่งการแข่งขันสูง RED Ocean  ผู้บริหารยุคใหม่ต้องอาศัยความกล้าหาญ และวิสัยทัศน์ที่ชาญฉลาด ที่จะต้องธำรงค์ รักษาพนักงานทั้งสองกลุ่มทั้งนี้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ โดยการประสานประโยชน์เกิดกลุ่มพนักงานโดยการเพิ่มประสิทธิ์ งานโดยจัดให้มีการปรัปปรุงานงอย่างต่อเนื่อง KAIZENของทุกกล่มงาน  แลจัดะระบบFast Trace หรับกลุ่ม ที่มีPerformance.ในงานสูงแต่จะต้องตั้งบน พื้นฐานของ Ethic and Moral ดังคำว่าความรู้คู่คุณธรรม เพื่อนำองค์กร

     มานิตย์  กองรส

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

1.  จากบทความได้ยกตัวอย่างของบริษัท IBM ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทชั้นนำในอเมริกา 

ว่าปัจจุบัน สิ่งที่ Focus ไม่ใช่เรื่อง Loyalty หรือเรื่อง Happy workplace แต่สนใจในเรื่อง Productivity และ Engagement โดย ใช้ Performance ในการ Lead ซึ่งระบบ HR ต้องปรับเปลี่ยน

2.  ความก้าวหน้าในเชิง Ladder ไม่ใช่ประเด็นแต่เน้นเรื่องความสามารถ และศักยภาพที่ต้องเพิ่มขึ้น

3.  องค์กรต้องให้คนเข้ามามีส่วนร่วมใน Strategic Issues มากขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสีย

ของพนักงานในองค์กร

4.  EGAT เป็น Operation Organization และเป็นรัฐวิสาหกิจถึงแม้จะมีระบบ KPIs แต่ก็ยังไม่ได้สามารถ

แยกแยะความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่มีผลงาน โดดเด่น หรือปานกลาง รวมทั้งยังมีเรื่อง Seniority

ในการพิจารณาความก้าวหน้า หากองค์กรต้องการพัฒนาไปสู่บริษัทชั้นนำ ควรเน้นการใช้ระบบ Performance

Based Pay ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากได้มีการวางแนวทางบางอย่างไว้เป็นพื้นฐานบ้างแล้ว


วันที่ 15 กุมภทพันธ์ 2556

The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

1.  จากบทความได้ยกตัวอย่างของบริษัท IBM ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของบริษัทชั้นนำในอเมริกา 

ว่าปัจจุบัน สิ่งที่ Focus ไม่ใช่เรื่อง Loyalty หรือเรื่อง Happy workplace แต่สนใจในเรื่อง Productivity และ Engagement โดย ใช้ Performance ในการ Lead ซึ่งระบบ HR ต้องปรับเปลี่ยน

2.  ความก้าวหน้าในเชิง Ladder ไม่ใช่ประเด็นแต่เน้นเรื่องความสามารถ และศักยภาพที่ต้องเพิ่มขึ้น

3.  องค์กรต้องให้คนเข้ามามีส่วนร่วมใน Strategic Issues มากขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสีย

ของพนักงานในองค์กร

4.  EGAT เป็น Operation Organization และเป็นรัฐวิสาหกิจถึงแม้จะมีระบบ KPIs แต่ก็ยังไม่ได้สามารถ

แยกแยะความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่มีผลงาน โดดเด่น หรือปานกลาง รวมทั้งยังมีเรื่อง Seniority

ในการพิจารณาความก้าวหน้า หากองค์กรต้องการพัฒนาไปสู่บริษัทชั้นนำ ควรเน้นการใช้ระบบ Performance

Based Pay ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากได้มีการวางแนวทางบางอย่างไว้เป็นพื้นฐานบ้างแล้ว


สรุปบทความ The new office social contract: Loyalty is out, Performance is in

The new office social contract สามารถอธิบายด้วย วัฒนธรรมองค์การ และ ค่านิยมองค์การ ของ กฟผ. ได้อย่างครบถ้วน ทั้ง “รักองค์การ มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม”  และความสุขของคนทำงาน ผลงานที่ดีๆก็มาจากค่านิยม FIRM-C (F: Fairness ตั้งมั่นในความเป็นธรรม I: Integrity ยึดมั่นในคุณธรรม R: Responsibility & Accountability สำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่ M: Mutual Respect เคารพในคุณค่าของคน และ C: Commitment to continuous Improvement and Teamwork มุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานเป็นทีม)

สิ่งที่ กฟผ. ต้องปรับตัวต่อไปคือการเผชิญกับการแข่งขันในตลาดไม่เพียงแต่การจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ในประเทศเท่านั้น อาจต้องเผชิญกับการถูกดึงตัวบุคลากรที่มีความสามารถออกไปด้วย หากไม่มีการปลูกฝังวัฒนธรรมกับค่านิยมองค์การที่แข็งแรงพอ


ถึงลูกศิษย์ EADP9

เช้าวันนี้ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ มีข่าวเกี่ยวกับคำสัมภาษณ์ของรัฐมนตรีพลังงาน ตั้งแต่เมื่อวานนี้ และมีข่าวต่อเนื่องถึงวันนี้ คือ รัฐมนตรี้ตือนว่าไฟฟ้ากำลังขาดแคลน เพราะไม่สร้างโรงไฟฟ้าใหม่นานแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาของพวกเรารุ่นที่ 9 ที่สำคัญมาก

อีกไม่นานจะพบกันที่เมืองกาญ ขอให้ศึกษาชุมชนมากขึ้น และขอให้บริหารทุนมนุษย์อย่างได้ผล

อีกเรื่องคือ การอ่านหนังสือ Mindset ที่พอเหมาะกับเวลา ทุกคนต้องปรับตัว ซึ่งผมมองว่านโยบายรัฐบาล กับความจริงจะเป็นประโยชน์กับประชาชน

ไม่ใช่ออกข่าวเพื่อหวังว่าประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ที่นักการเมือง ประโยชน์ควรจะเป็นของประชาชน ซึ่งผู้ใหญ่ของการไฟฟ้าดูแลมาตลอด และทำได้ดี

ดังนั้นถ้าจะพัฒนาการไฟฟ้า ให้มีไฟ้าที่พอเพียง นักการเมืองกับกฟผ. ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ผมเกริ่นไว้ตั้งแต่วันแรกว่า เราต้องบริหารนโยบายของรัฐและนักการเมือง ให้ได้ประโยชน์กับประชาชน

สรุปบทความ The new office social contract : Loyalty is out,performance is in  By…Steve  Lohr

สรุป บทความนี้กล่าวถึงพนักงานบริษัท IBM แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

Vincent  Papke เข้า IBM เมื่อปี 1963 กล่าวว่าหากเขาทุ่มเทและภั กดีต่อองค์กร เขาจะมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน และ

ในปี 1990  Steven Cohn   กล่าวว่า เขาคาดหวังจากการทำงานที่ท้าทายจะสร้างโอกาสและมีส่วนร่วมในงาน ให้ก้าวหน้าต่อๆไป

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เห็นว่า สำหรับในมุมมองของบริษัทแล้วไม่ได้เน้นเรื่องพนักงานทำงานอย่างมีความสุขและอยู่กับบริษัทไปจนเกษียณแต่บริษัทต้องการพนักงานที่ “มีผลงาน”และ”มีความผูกพันที่ดีต่อบริษัท”

วัฒนธรรมในอดีตที่พนักงานจะจงรักภักดีกับองค์กร  การขึ้นเงินเดือน โบนัส และ การเลื่อนตำแหน่ง จะพิจารณาที่อาวุโสและอยู่กับบริษัทมานาน จะเริ่มทยอยหมดไป

แต่การทำงานยุคใหม่ บริษัทจะต้องการ พนักงานที่มีความรู้ความสามารถ ทำประโยชน์ให้กับบริษัทได้มากที่สุด การขึ้นเงินเดือน โบนัส และ การเลื่อนตำแหน่ง จะพิจารณาที่ความรู้ความสามารถ ไม่ใช่ ความอาวุโสของพนักงาน

ปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจสูง  บริษัทที่จะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัวให้ทันกับโลกยุคใหม่

ศาสตราจารย์  David Ulrich กล่าวว่า”การทำงานไม่ใช่เรื่องผลสำเร็จอย่างเดียว แต่ทุกคนเน้นที่การแข่งขันทางการตลาด โดยยังคงหาคุณค่าจากงานที่ตนทำและจากองค์กรที่ตนอยู่ด้วย

ศาสตราจารย์  Robert Reich กล่าวว่า”การทำงานในโลกปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านทักษะความสามารถและการสร้างความสัมพันธ์

เมื่อเปรียบเทียบกับ กฟผ. จะเห็นว่ามีความแตกต่างเช่นกันคือยุคแรก การทำงานส่วนใหญ่ทุ่มเทเสียสละการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จก่อนผลตอบแทนตามมาทีหลัง แต่ปัจจุบันหลายท่านมักพูดว่าเด็กสมัยนี้มักถามก่อนว่าจะได้อะไรบ้างเพื่อตัดสินใจทำงาน ส่วนการเปรียบเทียบด้านการดำเนินงานในยุคจะเห็นว่า กฟผ. ก็ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน  ซึ่งดูจากการคัดเลือกพนักงานใหม่ จะมีการกำหนดคุณสมบัติต่างๆอย่างเข้มงวด


เรียน อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556

The new office social contract : Loyalty is out, Performance is in

Monday, December 12, 2005

By Steve Lohr

The York Times

  Vincent Papke เข้าทำงานใน IBM ปี 1963 โดยมีข้อตกลงง่าย ๆ คือ การทำงานที่มั่นคงและจงรักภักดี ไม่ได้หวังความร่ำรวย แต่ต้องการความสม่ำเสมอมั่นคง เปรียบบริษัทเหมือนกับบ้าน เขากล่าวว่า บริษัทฝึกฝนคุณ คุณทำงานหนัก คุณมีความก้าวหน้า

  ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษ เขาเติบโตจากพนักงานบัญชีสู่การเป็นผู้บริหารและทำงานด้านการตลาด ซึ่งในต้นปี 1990 ด้วยวัย 63 ปีเขาต้องออกจากบริษัท เมื่อบริษัท IBM เผชิญกับปัญหาต้องลดเงินเดือนพนักงาน

  Steven Cohn อายุ 29 ปี เคยผ่านงานธนาคาร (การลงทุน) และบริษัทโฆษณาอินเทอร์เน็ต และจบ MBA ก่อนเข้าทำงาน IBM ในตำแหน่งฝ่ายขายซอฟแวร์ ซึ่งมีความคิดที่ต่างจากแนวคิดเดิมของบริษัท

  การทำงานของทั้งสอง เป็นที่ชัดเจนว่า การบริหารงานได้เปลี่ยนไป การบริหารงานของ Papke ซึ่งเน้นความจงรักภักดีต่อองค์กรและความมั่นคงในการทำงานได้เลือนหายไปจากบริษัทในอเมริกา

  ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า บริษัททั้งหลายได้เน้นบุคลากรที่ผลผลิต และการจ้างงานแทนการทำงานที่เป็นความสุขของพนักงาน เงินเดือนและโบนัส ขึ้นอยู่กับสมรรถนะแทนที่อาวุโส หรืออายุการทำงาน

  ศาสตราจารย์ David Ulrich แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า “โมเดลที่ว่าคุณให้แล้วคุณก็จะได้รับ” ซึ่งเป็นโมเดล/ข้อตกลงการทำงานที่เน้นผลผลิต

  Ulrich กล่าวว่า ยุคของ Cohn ความจงรักภักดี ได้เปลี่ยนไปเป็นพันธะผูกพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างบริษัทและพนักงาน การทำงานในยุคของ Cohn ดังกล่าวมีผลพลอยได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยี โลกาภิวัฒน์ด้านธุรกิจ และการเคลื่อนย้ายตลาดอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม คือเป็น Buffer ป้องกันทั้งบริษัทและพนักงานจากการยุ่งยากด้านการตลาด

  IBM หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ประสบกับการเปลี่ยนแปลงหลังจากประสบปัญหาในปลายปี 1980 และปี 1990 บริษัทไม่สามารถปรับเปลี่ยนในเชิงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะสมจนต้องนำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย และลดพนักงานจาก 405,000 คน ในปี 1985 เหลือ 330,000 คน ในปี 1994

  IBM ทำเหมือนกับบริษัทอื่น ๆ หลายบริษัทที่ต้องทำข้อตกลง Social Contract กับพนักงาน โดยจำกัดเงินสวัสดิการ เงินบำนาญ สำหรับการจ้างใหม่

  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า ในสถานที่ทำงานสมัยใหม่ ผู้บริหารแม้ยอมรับการตลาดเน้นผลผลิตแต่ยังคงอ้างอิงศาสตราจารย์ Ulrich ที่ว่าพนักงานยังต้องการแรงกระตุ้นจากวิสัยทัศน์ และชื่อเสียงของบริษัทและพวกเขายังมีความสำคัญต่อบริษัท ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการบริหารของ Cohn

  Robert Reich ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสังคมแห่ง Brandeis University กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการประกอบอาชีพในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัท หากเป็นการรวมกันในกลุ่มที่มีทักษะและการเชื่อมโยงทางสังคม ที่คล้ายกัน และผลักดันร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

ข้อสรุปที่ได้จากการอ่าน

1.   การทำงานในยุคของ Vincent Papke ของ IBM ในปี 1963 – ต้นปี 1990 บริษัทเน้นความจงรักภักดีและความมั่นคงในการทำงาน ส่วนในยุคของ Steven Cohn จากต้นปี 1990 ซึ่งเน้นความสามารถค่าตอบแทน โบนัสขึ้นอยู่กับความสามารถ ยอดขายและผลผลิต

2.  การทำงานอย่างทุ่มเทให้กับบริษัท จะได้รับผลตอบแทนที่ดีและเป็นเกราะกำบังในยามที่บริษัทประสบปัญหาได้

3.  การบริหารการเปลี่ยนแปลงเมื่อบริษัทประสบปัญหา หนีไม่พ้นในการลดค่าใช้จ่าย ลดคน ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการได้รับผลประโยชน์ของพนักงาน

4.   วิสัยทัศน์ ชื่อเสียงองค์กร ยังคงมีความสำคัญสำหรับพนักงาน


    นายวีระ วิสุทธิ์

    ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

    สายงานเชื้อเพลิง


หนังสือ  “8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือ ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ (8 K’s) ประกอบด้วย

1.  K1 Human Capital ทุนมนุษย์

2.  K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3.  K3 Ethic Capital ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม

4.  K4 Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

5.  K5 Social Capital-Networking ทุนทางสังคม

6.  K6 Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

7.  K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยี

8.  K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ

และทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์ (5 K’s) ประกอบด้วย

1.  Creative Capital ทุนทางความคิดสนับสนุน

2.  Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3.  Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

4.  Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

5.  Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

จากการอ่านหนังสือ“8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” โดยเป็นทฤษฎีจากท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource) ที่ได้รับการยอมรับจากทั้งใน และต่างประเทศ จากผู้ที่มีชื่อเสียง หน่วยงาน และ บริษัท ที่น่าเชื่อถือ และประสบความสำเร็จในการนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎีดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ดังนั้น กฟผ. เป็นหน่วยงานที่ต้องมีการเตรียมการ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีทั้งโอกาส และความเสี่ยง ที่จะมากระทบต่อหน่วยงาน

กฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะงานหลากหลาย ซึ่งครอบคลุม งานทางด้านพลังงานไฟฟ้า และมีความเชียวชาญในเทคนิคงานด้านพลังงานไฟฟ้า เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และประเทศต่างๆ ในอาเซียน  กฟผ. มีธุรกิจพลังงานทั้งใน และต่างประเทศ เช่น ธุรกิจเดินเครื่อง และบำรุงรักษา และ EGAT International Company Limited (EGATi) เป็นต้น และมีสายสัมพันธ์ (Networking) ที่ดีกับประเทศในแถบอาเซียน และเอเชีย เช่น กรณีตัวอย่างการช่วยเหลือด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศญี่ปุ่น และประเทศเมียนมาร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างข้อได้เปรียบในการแข่งขันบนเวที ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

จะเห็นได้ว่า กฟผ. มีความพร้อมของบุคลากรทางด้านความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ดังนั้นหาก กฟผ. มีการเตรียมพร้อมทางด้านบุคลากรด้านอื่นๆ เพิ่มเติม  จะช่วยให้ กฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในการรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (EC) ได้ดี แม้ว่า กฟผ. มีการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ดำเนินการอยู่แล้วหลายเรื่อง สอดคล้องกับวิธีการ 8 K’s + 5 K’s เช่น กิจกรรมพัฒนาจิต ชมรมพุทธศาสน์ กฟผ.  และโครงการจิตอาสาในงาน CSR (Corporate Social Responsibility เป็นต้น  ซึ่งผมมีความเห็นว่าควรนำเอาทฤษฎี 8 K’s + 5 K’s มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน จะเป็นการช่วยในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นสิ่งที่ ไม่น่าจะเป็นเรื่องซับซ้อน หรือทำได้ยาก เช่น

·  ผู้บริหารทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง มีส่วนร่วม

·  การตั้งเป้าหมาย และกลยุทธ์ ที่ชัดเจน  ปฏิบัติได้จริง

·  ให้มีการศึกษาลักษณะงานข้ามสายงาน จะทำให้บุคลากรในหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจข้ามสายงาน และรอบรู้ในงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการต่อยอดทางความคิดที่สร้างสรรค์ (Creative thinking) และเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) ที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น 

·  ให้มีการตั้งเป้าหมายทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ความสำเร็จ ซึ่งการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายสามารถทำได้ในระยะต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

·  จ้าง (Outsourcing) ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้ ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

·  ให้บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการพัฒนา

·  มีวิธีการในการคัดเลือกบุคลากรใหม่เข้าทำงานที่มีพื้นฐานที่เก่ง และเป็นคนดี

·  เรียนรู้วัฒนธรรม เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาของแต่ละประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน  

·  มอบหมายให้มีหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการดำเนินงานพัฒนาบุคลากร เช่น ฝ่ายพัฒนาบุคลากร

·  มีเป้าหมาย และดำเนินการเพื่อให้บุคลากร เป็นคนเก่ง และคนดี

ผมมีความเชื่อว่าท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  มีความยินดีในการให้ข้อแนะนำ สนับสนุน และช่วยเหลือในการนำเอาวิธีการ 8 K’s + 5 K’s สามารถนำประยุกต์ใช้ มาใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน  กฟผ. เพื่อรองรับ AEC  และสิ่งสำคัญอีกประการก็คือ หน่วยงาน กฟผ. ควรเริ่มต้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงาน ในแนวทางที่ถูกต้อง นับแต่บัดนี้


สรุปบทความ

The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

            ค่านิยมในการทำงานยุค 1963 เริ่มต้นที่ต้องการความมั่นคง มีความจงรักภักดี และอยู่ร่วมกันอย่างฉันท์พี่น้อง โดยมุ่งมั่นที่จะทำงานจนเกษียณอายุ และไม่คำนึงถึงเงินเดือนเริ่มต้นที่ไม่มากนัก ส่วนในยุค 2005 ค่านิยมในการทำงานเริ่มต้นด้วยเงินเดือนที่สูง ตามความสามารถและผลงาน งานที่ดำเนินการต้องตื่นเต้นท้าทาย ตามวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ของบริษัท รวมทั้งการบริหารจะต้องเปิดโอกาสให้ทำประโยชน์ต่อองค์กร จากทักษะ และความสามารถ จะต้องมี Career Path ในระยะยาว มีสิทธิประโยชน์บนระบบคุณธรรมสอดคล้องกับตลาดแรงงาน ร่วมถึงการจ่ายเงินเดือน และโบนัสจะขึ้นอยู่กับผลงานและมูลค่าตลาด

            ค่านิยมทั้งสองเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแทบทุกองค์กรในสหรัฐอเมริกา เดิมลูกจ้างส่วนใหญ่ทำงานให้องค์กรด้วยความสุข และมีความพึงพอใจในความมั่นคงขององค์กร และยิ่งอยู่นานยิ่งมีความผูกพัน แต่ในปัจจุบันลูกจ้างทำงานให้องค์กร ตามข้อตกลงที่เขียนไว้ในสัญญา และต่างฝ่ายต่างเน้นการวัดความพึงพอใจ ที่ประสิทธิภาพของผลงาน และผลตอบแทนที่แต่ละฝ่ายได้รับ มากกว่าความสุขจากการทำงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

            ปัจจุบันผู้ว่าจ้างไม่ได้เน้นให้ความสำคัญ ต่อสภาพการทำงานที่ผู้รับจ้างจะทำงานได้อย่างมีความสุข เพื่อให้เกิดพันธะทางใจต่อกัน แต่สภาพการจ้างกลับมุ่งเน้นถึงผลิตภาพ และพันธะสัญญาที่มีต่อกันซึ่งจะทำให้ความจงรักภักดีต่อองค์กรในรูปแบบนี้ยั่งยืนอยู่ได้นานเท่าที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ ในผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่ตนได้รับเท่านั้น

            การบริหารงานในองค์กรในยุคใหม่เราต้องส่งเสริมให้คนได้รับการพัฒนา เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการแข่งขันทางการตลาด และควรทำให้พนักงานรู้สึกว่างานของตนมีความสำคัญ เพราะการทำงานไม่ได้มีความหมายแค่ผลผลิต หรือผลงานเท่านั้น แต่รวมไปถึงการมองเห็นคุณค่าของตัวเองในงานนั้นๆอีกด้วย


ทุนมนุษย์ ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน  8K’s + 5k’s

  ทุนมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการพัฒนาประเทศให้เติบโตและยั่งยืน โดยเฉพาะการก้าวสู่ประชาคมอาเชี่ยนที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ หากเราสามารถพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพได้ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันในการทีจะต้องเผชิญกับการคุกคามต่างๆ ในอนาคตได้ดี  โดยปัจจัยความพร้อมของคน เริ่มตั้งแต่ วิธีคิด ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ รวมถึงวิถีชีวิตของแต่ละคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นประเทศไทยควรตระหนักและให้ความสำคัญในการสร้างทุนมนุษย์แนวคิดที่ท่านอาจารย์วีระได้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ ในการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์คือ ทฤษฎี  8K’s +5K’ ซึ่งอาจารย์วีระได้ไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อหน้าผู้แทนประเทศ  APEC  หลายครั้ง

 แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคูณภาพ

1. Human Capital    ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital     ทุนทางปัญญา

3. Ethical Capitaln   ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital   ทุนแห่งความสุข

5. Social   Capital    ทุนแห่งสังคม

6. Sustainability Capital   ทุนแห่งความยั่งยืน

7. Digital Capital   ทุนแห่ง IT

8. Talented Capital   ทุนแห่งการเรียนรู้ ทักษะและทัศนคติ 

ทฤษฎีทุน 5ประการ(5 K’s new) เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขัน

1.. Creativity Capital    ทุนทางความคิดสร้างสรรค์

2. Knowledge Capital   ทุนทางความรู้

3. Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม

4. Cultural Capital   ทุนทางวัฒนธรรม

5. Emotion Capital  ทุนทางอารมณ์

  ทั้งทฤษฎี 8 K’sหรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ และทฤษฎี 5 K’s คือการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียน  การลงทุนในทุนมนุษย์ จะต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน และความต่อเนื่อง เพราะคุณภาพของทุนมนุษย์เป็นเครื่องวัดความสามารถในการแข่งขัน   ดังนั้นการนำเอาทฤษฎี 8 K’s+ 5 K’sมาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน จะเป็นการช่วยในการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ  และมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


บทเรียนจากชีวิตในวัยเรียน (LESSON FROM A STUDENT OF LIFE)

มุมมองและแนวคิดจาก Peter F. Drucker เป็นดั่งแรงบันดาลใจให้คนหลายๆคน ในการปรับเปลี่ยนมุมมองชีวิต และความคิด เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป สิ่งที่เขาแสดงให้เห็นคือ คำถามง่ายๆที่เราต้องตั้งคำถามต่อตัวเราเอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการฉุกคิด เป็นประเด็นปัญหาที่เราต้องหาคำตอบด้วยตัวเราเอง และไม่มองข้ามคำตอบภายในใจเรา ในหลายๆครั้ง การตอบคำถามให้ถูกต้องนั้น บางครั้งก็ไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์ต่อปัญหานั้นจริงๆ แต่การตั้งคำถามลงไปในคำถามนั้น อาจจะก็มุมมองใหม่ๆ ที่มาเติมเต็มคำตอบนั้นให้สมบูรณ์ก็ได้

นอกจากนี้ Peter F. Drucker ยังแสดงให้เราเห็นว่า ทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิต และการสร้างสรรค์แนวทางในการดำเนินชีวิตของเรานั้น บางที่ก็เกิดจากการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวเราเอง ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่เราละเลยไป เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราที่หมายรวมถึง บุคคลรอบข้างเราด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นบนเรียนที่ทรงคุณค่าต่อเรา แต่เราต้องรู้จักกลั่นกรองมันออกมา ด้วยคำถามง่ายๆในใจเรานั่นเอง

สังคมการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์ (The new office social contract: Loyalty is out, performance is in)

จากความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ กระแสทุนนิยมเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตทุกคน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลไปสู่ สังคมการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไปด้วย เพื่อความต้องการจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์นั่นเอง  แตกต่างจากสังคมการทำงานในอดีต ที่ความสุขในการทำงานและความภาคภูมิใจในงานที่ทำ มีบทบาทหลักต่อความผูกพันในองค์กร  ความเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ การแข็งขันกันทั้งภายในและบอกองค์กร เพื่อมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของทั้งผู้ปฏิบัติงานและองค์กรนั้น 

หลายๆองค์กรต้องปรับไปตามกระแสของการตลาดเชิงอุตสาหกรรม ส่งผลไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและแผนด้านสวัสดิการ ที่ในอดีตเป็นเหมือนตัวแทนของหลักประกันความมั่นคงแก่บุคลากร  เมื่อทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเอง ต่างก็ให้ความสำคัญของตัวเลขและมูลค่าทางการตลาด มากกว่า ความสุขในการทำงานและรวมถึงความสุขมวลรวมภายในองค์กรนั้นด้วย 


The new office contract : Loyalty is out , performance is in

By Steve Lohr

The New York Times

Labor มักจะคาดหวัง ในหน้าที่การงานที่มั่นคงมากกว่า ความมั่งคั่ง มีความเข้าใจว่า ถ้าแรงงานมีการฝึกฝน ทำงานหนัก พวกเขาเหล่านั้น ก็จะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

มีแนวความคิดที่แตกต่างในสังคม สมัยก่อน กับสมัยใหม่  โดยในสมัยก่อนตามกรณีตัวอย่างของ  Papke ซึ่งมำงานมากับ บริษัท IBM มากว่า 30 ปี ขยับจากพนักงานบัญชี มาเป็นผู้จัดการทางด้านการตลาด ไม่เคยหยุดงาน จนความรู้สึกที่มีต่อ บริษัท IBM เปลี่ยนไป เมื่อ บริษัทเริ่มเติบโตอย่างช้า จนเขาต้องตัดสินใจ ลาออกจาก IBM  ในขณะที่ Cohn วัย 29 ปี เข้ามาทำงานกับ IBM ด้วยความคิดที่แตกต่างซึ่งก่อนหน้านี้เขาทำงานที่ธนาคารเพื่อการลงทุน และบริษัทโฆษณาทาง Internet  จบ MBA ก่อนที่จะเซ็นต์สัญญาทำงานกับ IBM เป็น เซลแมนขาย software เขาได้มองโอกาสของการเป็นพนักงานใน IBM ที่มีกลยุทธและ พันธกิจ ที่เขาสามารถหาโอกาสทั้งในส่วนของทักษะ และ โอกาสในทางเดินอาชีพเป้าหมาย ของเขา บนพื้นฐานของมูลค่า ทางการตลาด

ความคิดของทั้งสอง จะมองในเป้าหมาย ที่เหมือนกันตรงที่ พวกเขาจะมีโอกาสมากเพียงใดในทางสังคม ที่จะก้าวสู่ความเป็น แรงงานที่เป็นมืออาชีพในอเมริกา และแน่นอน ในสังคมยุคเก่า สิ่งที่ได้รับ จะต่ำกว่าที่คาดหมาย ในขณะที่ สังคมยุคใหม่ เขาจะคาดการณ์ว่า สิทธิ และ ความรับผิดชอบ ของบริษัทและของแรงงาน คืออะไร สำหรับบริษัท จะเน้น ความสุขในการทำงาน โดยมี การรับประกัน ในประสิทธิผล และการสนับสนุน

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี่ ที่รวดเร็ว ที่มีผลต่อประสิทธิผลของแรงงาน ม้กระทั้งบริษัท IBM ที่เป็นบริษัท ยักษ์ใหญ่ อันดับหนึ่งของอเมริกา มีการบริหารจัดการมืออาชีพ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และ วิศวกร ก็ยังได้รับผลกระทบในช่วงเปลี่ยถ่ายเทคโนโลยี่ จนมีความจำเป็นต้องปรับฐานของต้นทุนให้ต้ำลง

มีคำกล่าวว่า ความสำคัญที่สุดของสังคมสำหรับแต่ละคน จะไม่มีความจำเป็นต้องเป็น บริษัท แต่ความสูญเสียของสังคมของคนที่คลายคลึงกัน คือ ทักษะและ เครือข่ายของสังคม การสร้างทักษะ และ เครือข่ายเชื่อมโยง เป็นอาชีพ ที่ดำเนินในปัจจุบัน


Lesson From A Student Of Life

By JIM COLLINS

Peter Drucker ได้ตอบสนองกับ การ discuss ในเรื่องของกลยุทธของแต่ละบุคคล ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งบางกรณี ตัวอย่างก็จะไม่ให้ความร่วมมือ

การสอบถาม จะเกี่ยวเนื่องกับ การใช้เวลาในแต่ละวัน การทุ่มเทกับบางสิ่งบางอย่าง ซึ่ง Druckker ได้ให้ความสำคัญกับ ความสำเร็จของสังคมที่มีความเป็นอิสระ มากกว่า การมีอำนาจของกลุ่มคนบางกลุ่ม โดยสังคมที่มีความเป็นอิสระ จะมีประสิทธิภาพขององค์กรรัฐ มากกว่า โดยไม่มีการบิดเบือนจากระบบการเมือง สถาบันที่เข้มแข็ง จะขึ้นอยู่กับการจัดการระบบ ที่มีประสิทธิผล ซึ่ง Winston Churchill ได้รักษาโลกเสรีไว้ แต่ Drucker ได้แสดงให้เราเห็นถึงเราจะทำอย่างไรให้โลก มีเสรี


คืนนี้อย่าพลาดชมรายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”ในเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำ กรณีศึกษาขององค์กรขนาดใหญ่อย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. ซึ่งเป็นองค์กรที่เห็นความสำคัญเรื่องการปรับวิสัยทัศน์มุมมองของผู้นำ เพื่อศักยภาพให้องค์กรเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สำหรับแขกรับเชิญในวันนี้ คือคุณภาวนา อังคณานุวัฒน์  ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคคล

ติดตามได้คืนนี้ ตอน การพัฒนาภาวะผู้นำของ กฟผ. รุ่นที่ 9 

ทางช่อง TGN  21.00 น.ครับ 

The new office social contract Loyalty is out, performance is in

            Vincent Papke  เคยร่วมงานกับ IBM เมื่อปี 1963 และมีแนวคิดว่าการทำงานหนัก และความซื่อสัตย์ เพื่อแลกกับงานที่มั่นคง Vincent ไม่ได้คาดหวังความร่ำรวย แต่เขาคาดหวังการทำงานที่มั่นคง และการขึ้นเงินเดือนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการทำงานในบริษัทในสมัยนั้น เปรียบเหมือนกับครอบครัวอีกครอบครัวหนึ่ง บริษัทมีการจัดกิจกรรมกีฬา กิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น การจัด Christmas Party บริษัทอบรม ฝึกฝนเรา เราทำงานหนัก เราทำกิจกรรมมาก และเราก็เติบโตไปพร้อมๆ กับบริษัท

             แต่นั่นก็เป็นเหตุการณ์เมื่อเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ที่ Papke เติบโตจากพนักงานบัญชี ก้าวขึ้นสู่งานบริหาร และงานด้านการตลาด ภายใต้แนวคิดที่ว่า คุณไม่ต้องถูกให้ออก แต่คุณสามารถอยู่กับบริษัทได้จนเกษียณอายุ ปัจจุบัน Papke ในวัย 63 ปี ได้เข้าร่วมโครงการออกจากงานของ IBM แล้วตั้งแต่ปี 1990

            Steven Cohn วัย 29 ปี ได้เข้ามาทำงานที่ IBM เมื่อช่วงต้นปี ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานที่ธนาคารเพื่อการลงทุน และบริษัทสื่อโษราทาง Internet ต่อมาได้เข้าเรียนจนจบ MBA ก่อนจะเซ็นสัญญามาทำงานที่ IBM ในตำแหน่ง Software Salesman

Cohn  ต้องการทำงานกับบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ และมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดีอย่าง IBM  เขาคาดหวังความก้าวหน้า โอกาส และการสนับสนุนที่ดีจากบริษัท เขากล่าวว่าผลตอบแทนที่เขาจะได้รับ ควรมาจากความสามารถ และคุณสมบัติของเขาเอง

            ความแตกต่างของผู้ชายทั้ง 2 คนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับลักษณะการจ้างงาน ในโลกของธุรกิจที่สหรัฐอเมริกา ค่านิยมเก่าๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ เพื่องานที่มั่นคง ได้จางหายไปแล้วในสังคมอเมริกา ไม่มีแนวคิดการทำงาน “ happy worker” ที่จะทำงานจนวันเกษียณ แต่ในทางกลับกัน การทำงานที่มุ่งเน้นผลผลิต และความรับผิดชอบ จะเป็นที่ต้องการมากกว่า  การจ่ายเงินเดือน และโบนัส มาจากการประเมินผลงาน แทนที่จะเป็นความอาวุโส ดังเช่นโมเดลที่ Prof. David Ulrich กล่าวว่า “If you give, you’ll  get”

               ในยุคโลภาภิวัฒน์ที่ธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้กิจการต่างๆ ต้องหาทางป้องกันตนเอง และพนักงานให้รอดพ้นจากความล้มเหลวทางการตลาด ดังเช่น IBM หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีพนักงานวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ระดับมืออาชีพมากมาย โดยในช่วงปลายปี 1980 และช่วงต้นปี 1990 บริษัท IBM ล้มเหลวต่อการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมใหม่ๆ บริษัทต้องตัดค่าใช้จ่าย ลดกำลังการผลิต และผันตัวเองไปเป็นผู้ให้บริการแทน

ปัจจุบันบริษัทมีพนักงาน 330,000 คน ทั่วโลก โดยร้อยละ 40 อยู่ที่อเมริกา ซึ่งต่างจากปี 1994 ที่มีพนักงานทั่วโลก 220,000 คน และปี 1985 ที่มีพนักงาน 405,000 คน  IBM ก็เหมือนบริษัทอื่นๆ ที่ต้องตัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตัดค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนเกษียณ และตัดเงินบำนาญสำหรับพนักงานที่เข้าใหม่ และในปี 2003 IBM มีการเลิกจ้างพนักงานที่มีอายุมาก เพื่อรักษาสถานะของบริษัทเอาไว้

             ในสถานประกอบการสมัยใหม่ ผู้บริหารต้องการพนักงานที่สามารถสร้างผลผลิต ต้องการคนที่สามารถนำเอาวิสัยทัศน์ และชื่อเสียงของบริษัทมาสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน เพื่อที่ตนเองจะได้รับความก้าวหน้า

             Proff. Ulrich กล่าวว่า ปัจจุบันคนทำงานด้วยความรัก ความลุ่มหลง มากกว่าการมุ่งเน้นผลผลิต ซึ่งเป็นแนวคิดที่ย้ำถึงความเป็นปัจเจกชน  การแข่งขันทางการตลาด ผู้คนยังคงต้องการหาคุณค่าของการทำงาน และหน่วยงานที่จ้างตนเอง


            จากกรณีดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์   ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ความสำเร็จในอดีตและปัจจุบัน ไม่เป็นสิ่งยืนยันว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จในอนาคตได้ ดังเช่น บริษัท IBM ที่ประสบปัญหาเนื่องจากบริษัทปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ขาดภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า  วิธีการที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในอดีตไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบันได้ แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในวิสัยทัศน์ การคาดการณ์ และการปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตามช่วงเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม

            กฟผ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทีประสบความสำเร็จในอดีตแต่ในปัจจุบัน สถาวะแวดล้อมและปัจจัยต่างๆได้เปลี่ยนไปมาก  หน่วยงานอื่นๆหลายๆแห่งก็ได้มีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและก้าวทันกันแล้วดังนั้น สิ่งที่ กฟผ. ต้องทำคือการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ โดยพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์  และพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพพร้อมที่จะเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่หยุดนิ่ง

เรื่องทุนมนุษย์  8K s + 5K s  เป็นการชี้แนะว่า การจะอยู่รอดในระยะยาว ควรต้องมีอะไรในส่วนของทุนมนุษย์  หนังสือน่าจะบอกให้เราหาทางปิด Gap ที่มีอยู่โดยเร็ว  ความเห็นส่วนตัวผมเห็นว่า  ถ้าทำทั้งหมดตามหนังสือไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหน่วยงาน กฟผ.  ซึ่งค่อนข้างจะเน้นรูปแบบมากกว่าผลสำเร็จของการปฏิบัติ  ที่สำคัญ คือ กฟผ. มีนักคิด นักพูด นักวางแผนเก่งๆ มากมาย  แต่นักปฏิบัติ โดยเฉพาะนักปฏิบัติที่กล้าเสี่ยงในจุดที่ต้องตัดสินใจมีไม่มากพอ  ถ้าเราสร้างวัฒนธรรมความกล้าในการตัดสินใจ กล้ารับผิดชอบในผลการตัดสินใจของตัวเอง และการให้ความดีความชอบตามผลงาน ขึ้นได้  กฟผ. น่าจะโลดแล่นต่อไปในกระแสการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ได้อย่างสมศักดิ์ศรี

ชวลิต  25 / 2 / 56  เวลา  16.37 น.

Lessons from a student of life

จากบทความได้กล่าวถึง Peter F. Drucker มีวิธีการทำงานและวิธีคิด ที่ไม่เหมือนใคร Drucker เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับคำถามที่ถูกต้องมากกว่าการตอบคำถามที่ถูกต้องเพราะบางคำถามจะเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดของเรา  เช่น  การเปลี่ยนจากถามว่าเราจะได้อะไรจากสังคมนี้ เป็นเราจะให้อะไรแทน

พนักงานทั้งหลายเป็นทรัพย์สิน  ผู้คนต่างเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร ในด้านความรับผิดชอบหลักของบริษัท คือการให้บริการต่อลูกค้า โดยที่กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลัก หากแต่เป็นเงื่อนไขสำหรับการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของบริษัท


1. The new office social contract: Loyalty is out, performance is in

     เป็นบทความที่กล่าวถึงพฤติกรรมของพนักงานที่เปลี่ยนไป โดยยกตัวอย่างจากบริษัท IBM พนักงานคนแรกเป็นพนักงานรุ่นเก่าทำงานให้บริษัทด้วยความจงรักภักดี มีความต้องการด้านความมั่นคงในชีวิตการทำงาน ผลตอบแทนที่ต้องการก็ขอแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนพนักงานคนที่สองเป็นพนักงานรุ่นใหม่ทำงานแบบมีแบบแผน กระบวนการ การมีข้อมูลเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และกลยุทธของบริษัท มีความต้องการความก้าวหน้าสูง ต้องการผลตอบแทนที่เหมาะสมกับผลงานที่ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงว่าในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัฒน์ ได้มีผลกระทบต่อธุรกิจ ให้มีการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง โดยพนักงานก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบัน กฟผ.กำลังเผชิญปัญหานี้จากพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ ซึ่งมีแนวความคิดเหมือนตัวอย่างพนักงาน IBM คนที่สอง

2. Lesson from a student of life

    เป็นบทความที่กล่าวยกย่อง Peter F. Drucker ว่าเป็นอาจาร์ยที่มีความสามารถมาก มีความกรุณาต่อลูกศิษย์และคนทั่วไป  โดยยินดีที่จะชี้แนะแนวคิด ให้คำปรึกษากับลูกศิษย์หรือคนทั่วไป มากกว่าการให้สัมภาษณ์หรือปรากฏตัวตามสื่อโทรทัศน์วิทยุ ซึ่งพอจะสรุปข้อคิดดีๆได้เช่น ไม่ควรคิดว่าผู้อื่นหรือโลกใบนี้จะให้อะไรแก่เรา เราควรคิดว่าเราจะให้อะไรแก่ผู้อื่นหรือโลกใบนี้มากกว่า ในแนวความคิดนี้สามารถนำมาปรับใช้กับแนวคิดของคน กฟผ. ซึ่งปัจจุบันมีความคิดว่าจะทำอะไรต้องได้สิ่งตอบแทนที่คุ้มค่าทุกอย่าง โดยไม่มองถึงว่าเราควรให้อะไรแก่องค์กรมากกว่า


นายภูวดา ตฤษณานนท์

ประมวลผลสิ่งที่ได้เรียนรู้สู่การวางแผนงาน กฟผ. กับชุมชนในอนาคต

ระยะเวลา 27 กุมภาพันธ์ 2556 ถึง 01 มีนาคม 2556

การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ นวัตกรรมชุมชน

วิทยากรถ่ายถอดความรู้

-         ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านของชุมชนหนองทราย ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

-         คุณบุญอินทร์  ชื่นชวลิต  ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์

-         ท่านปลัดจังหวัดกาญจนบุรี

-         คุณวสันต์   สุนจิรัตน์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่5 บ้านช่องสะเดา

-         คุณทิวาพร  ศรีวรกุล  ปราชญ์ชาวบ้าน

-         คุณปณต  สังข์สมบูรณ์  พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

-         คณะวิทยากรของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

-         มล.ชาญโชติ  ชมพูนุช วิทยากรพี่เลี้ยง

สรุปผลการเข้ารับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น มีดังนี้

1.       การเข้าถึงชุมชนเราต้องเข้าถึงด้วยความจริงใจ และเข้าหาชุมชนก่อนคนอื่น อย่าให้ชุมชนคิดว่าเราต้องการอะไรจากชุมชนถึงเข้าไปหา

2.       ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับสิ่งที่เรามอบให้มิใช่เอาของไปแจกให้อย่างเดียวโดยไม่รู้ถึงความต้องการของชุมชนที่แท้จริง

3.       สิ่งที่ให้กับชุมชนต้องสะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดีของ กฟผ. และมีความยั่งยืนต่อไปในชุมชนนั้นๆ

4.       มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและไม่หวังผลประโยชน์ของกฟผ. อย่างเดียว

5.       ต้องเข้าถึงจิตใจของชุมชนให้ได้ทุกคน ไม่ใช่เข้าหาแต่หัวหน้าชุมชนเท่านั้น

6.       ต้องอธิบายถึงข้อดี ข้อเสีย อย่างชัดเจน โดยไม่มีสิ่งปิดบังซ่อนเร้นแอบแฝง เพราะจะทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

7.       การทุ่มเทงบประมาณไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับชุมชนแต่ต้องมีความจริงใจและได้รับผลลัพธ์ต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนในอนาคต

8.       จากการเข้าร่วมเสวนา ทำให้ทราบว่า วัฒนธรรมชุมชนมีส่วนอย่างมากต่อการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ

o          นายภูวดา ตฤษณานนท์

ประมวลสิ่งที่ได้เรียนรู้ สู่การวางแผนงาน กฟผ. กับชุมชนในอนาคตและ Net Work Capital

ช่วงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556 ณ.ชุมขนหนองทราย ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน  จ.  กาญจนบุรี และการเสวนา Net Work Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน
  กฟผ.ควรที่จะต้องมีการวางแผนขั้นตอนการดำเนินการกับชุมชนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
  1. กฟผ.ต้องเข้าใจถึงจิตใจ สังคม วัฒนธรรมของชุมชนโดยมีหลักคือ

  1.1 รู้จักคน หมายถึง รู้จักนิสัย ใจคอของคนในชุมชน
  1.2 รู้จักผู้นำ หมายถึง รู้ว่าในชุมชนนั้นๆมีใครเป็นผู้นำ ผู้ที่บุคคลทั่วไปนับถือ
  1.3 รู้จักชุมชน หมายถึง ต้องรู้ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม เช่นสภาพภูมิประเทศ  สิ่งแวดล้อม  ความเป็นมาของชุมชน หรือสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
   2.
ให้เข้าไปในชุมชนก่อนและ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง ทั้งผลดี ผลเสีย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยไม่มีอะไรซ่อนเร้น และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติ  

   3. ต้องให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเอง สร้างเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนสู่ความเข้มแข็งมีความรู้ งบประมาณที่เราให้ไม่ใช่ตัวหลัก เป็นเพียงเครื่องมือตัวหนึ่งในหลายๆปัจจัย  กฟผ. ควรเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นคลังสมองให้ชุมชน ชุมชนต้องมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ กฟผ. ไม่ใช่ผู้ให้ฝ่ายเดียวแต่ต้องเป็นผู้รับองค์ความรู้จากชุมชนมาประยุกต์ใช้งาน
  4. เราต้องทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่หวังผลเรื่องประชาสัมพันธ์อย่างเดียว ต้องแก้ไขในเรื่องที่เป็นปัญหาของชุมชนอย่างจริงจัง สิ่งใดนอกเหนือความรับผิดชอบ เราก็ต้องประสานงานและแจ้งให้ชุมชนทราบทุกๆระยะด้วย 

  5. ให้มีการติดตาม  ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ต้องสร้างเครือข่ายของชุมชน( Net Work Capital )ให้เข็มแข็ง ติดตามโครงการหรือแผนงานที่ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ หากมีปัญหาต้องร่วมกันแก้ไข แก้ให้ตรงจุด ตรงประเด็น เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

กิจกรรม CSR และ Networking Capital วันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556

สรุปประเด็นความรู้ที่ได้รับและการนำมาปรับใช้กับงานใน กฟผ.

-  สำรวจความต้องการของชุมชนจริงๆ โดยให้ชุมชน “คิดได้เอง” ไม่ใช่ไปคิดแทนว่าชุมชนควรจะทำอะไร

-  สนับสนุนใน ทุกๆด้านให้ชุมชนสามารถรวมตัวและวิเคราะห์ปัญหาของตัวเองได้ เพราะที่ผ่านมาจะถูกสั่งโดยตลอด อาจขาดความเชื่อมั่นในการแสดงความเห็นหรือวิเคราะห์ปัญหา

-  สนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายของชุมชนกันเอง เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ / ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ซึ่งจะทำชุมชนใหญ่ให้เกิดความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้

-  ต้องให้ความรู้และมีการสื่อสาร เรียนรู้ด้วยกันร่วมกับชุมชน และควรทำล่วงหน้า

-  อะไรที่ทำได้ – ไม่ได้ ควรพูดคุยด้วยความจริงไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ และจริงใจต่อชุมชน

-  ทั้งหมดต้องมีความต่อเนื่องและความจริงใจ ซึ่งสำคัญที่สุด 

** อรรถพร ชูโต **

การเสวนา Net Work Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

ต้องให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเอง สร้างเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนสู่ความเข้มแข็งมีความรู้ งบประมาณที่เราให้ไม่ใช่ตัวหลัก เป็นเพียงเครื่องมือตัวหนึ่งในหลายๆปัจจัย  กฟผ. ควรเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นคลังสมองให้ชุมชน ชุมชนต้องมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ กฟผ. ไม่ใช่ผู้ให้ฝ่ายเดียวแต่ต้องเป็นผู้รับองค์ความรู้จากชุมชนมาประยุกต์ใช้งาน  เราต้องทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่หวังผลเรื่องประชาสัมพันธ์อย่างเดียว ต้องแก้ไขในเรื่องที่เป็นปัญหาของชุมชนอย่างจริงจัง สิ่งใดนอกเหนือความรับผิดชอบ เราก็ต้องประสานงานและแจ้งให้ชุมชนทราบทุกๆระยะด้วย  ให้มีการติดตาม  ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ต้องสร้างเครือข่ายของชุมชน( Net Work Capital )ให้เข็มแข็ง ติดตามโครงการหรือแผนงานที่ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ หากมีปัญหาต้องร่วมกันแก้ไข แก้ให้ตรงจุด ตรงประเด็น เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

ยงยุทธ

HR For Non - HR

อนาคต กฟผ.  HR-function  ต้องเปลี่ยนมาเป็น  Smart HR
Line Manager และ Non – HR จะต้องมีบทบาทในการพัฒนาร่วมกันมากขึ้น
CEO  ต้องให้ความสำคัญใน HR 
HR ต้องแบ่งปันความรู้ รับฟังความต้องการและแชร์ความรู้จาก  Non HR
Non HR ต้องเพิ่มบทบาทในการพัฒนาไม่แฉพาะเรื่องงาน ต้องดูแลชุมชน ติดตามการเมืองเนื่องจากการเมืองจะเข้ามายุ่งกับเรา ต้องเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าและการประหยัดพลังงานและที่สำคัญต้องช่วย HRวิธีการดำเนินงานคือ ฟัง / คิดวิเคราะห์ / การสื่อสาร ง่ายตรงประเด็น / การปฏิบัติ / ติดตาม / ประเมินผล / ทบทวนใหม่


หัวข้อ "นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation) กับการทำงานของกฟผ.

เพื่ิอให้การทำงานกับชุมชนของกฟผ.สัมฤทธิ์ผล กฟผ.จะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน  ต้องทำงานให้เป็น Social Innovation  โดยมีประเด็นที่ต้องคำนึง คือ

- เข้าหาชุมชนก่อน ไม่ต้องรอให้เกิดโครงการก่อน

- เข้าหาชุมชนด้วยความจริงใจ เมื่อชุมชนรู้สึกว่าเราเป็นเพื่อน  เขาก็จะฟังเราพูด

-  ถามชุมชนว่าต้องการอะไร และทำหรือให้ในสิ่งที่ชุมชนต้องการ

- ทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องพิเศษ

- เน้นการให้ ที่จะทำให้ชุมชนเป็นชุมชนเรียนรู้

-สร้างภาคีโดยเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน


หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน

  • ต้องมี list of steakholder => ต้องบริหารความสัมพันธ์กับทุก steakholder
  • ต้องชัดเจนในเรื่องภาพลักษณ์ขององค์กร (Corporate Image & Business Image => Brand Image)
  • เทคนิคการสื่อสาร  : วิเคราะห์ผู้ฟัง / บริหารจัดการประเด็น
การให้สัมภาษณ์

1.เตรียมข้อมูลให้พร้อม

2. วิเคราะห์ผู้ฟัง

3.สอบทานความเข้าใจก่อนจบ จะให้ดีเตรียมบทคัดย่อไปมอบให้เลย

หากมีโอกาสเป็นผู้ให้ข้อมูลจะนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้

หัวข้อ Managing Self Performnce

ทุกคนสามารถพัฒนา competancy ได้  ได้เรียนรู้วิธีค้นหาเป้าหมายของชีวิตและวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น แต่ถ้าจะทำให้สำเร็จจริงๆควรจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมและทำ workshop ด้วย

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation )   26 มี.ค.2556

ต้องคิดทำใหม่ ( New )/ คิดสร้างสรรค์ ( Innovation ) / มีความรู้ ( Knowledge )

ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์

แนะนำให้เราต้องปรับปรุงการดำเนินงาน 

1.  กฟผ.ต้องดูแลสังคม

2.  เข้าชุมชนแบบไม่เป็นทางการ ลดขั้นตอน

3.  ติดต่อสื่อสารเข้าไปเรียนรู้ทั้งรับและถ่ายทอดให้ชุมชน

4.  สร้างชุมชนให้แข็ง พึงตนเอง

5.  สร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

ดร. เสรี พงศ์พิศ

  เชื่อว่าสังคมจะดีได้ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคือ

1.  ยุทธศาสตร์การเรียนรู้

2.  ยุทธศาสตร์พึ่งตนเอง

3.  ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากร

4.  ยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพและจิตใจ

5.  ยุทธศาสตร์พัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรในชุมชน

คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์

  การมองอะไรต้องมองหลายมุม และมองให้ไกลแล้วไปให้ถึง

  ต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  ให้เป็นวัฒนธรรม  องค์กรจะเจริญก้าวหน้า

  วัฒนธรรมองค์กร กฟผ. เป็นทางการเกินไป

คุณสานิต  นิยมคม

·  การพัฒนาต้องทำด้วยกันทั้งองค์กรไม่ใช่หน้าที่ใคร

·  ต้องสร้างความเชื่อใจความยอมรับจากประชาชน ปัจจุบันการเสียสละไม่มีอีกแล้ว ต้องอะไรแลกเปลี่ยน เพราะคนเสียสละไม่ได้อะไร  คนต่อต้านก็มีไฟฟ้าใช้เหมือนกัน 

·  ต้องรับฟังสิ่งที่ชุมชนคิด กังวลและกลัว นำปัญหาไปเสนอแนวทางแก้ไข ให้ครบคุม

·  ให้เกียรติชุมชนชุมชนก็จะให้เกียรติเรา


เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

ดร. พจน์  ใจชาญสุขกิจ

·  ต้องเข้าใจบทบาทสื่อ ความต้องการของสื่อ

·  ต้องวางตัวให้เหมาะสม ระยะพอดีไม่ใกล้ไปห่างไป

·  ต้องเข้าใจสื่อแต่ละสื่อมีทัศนคติ กับ กฟผ. อย่างไร

·  Change Communication การเจริญเติบโตด้านสื่อรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย

·   การให้ข่าวขององค์กรต้องมีระดับความสำคัญ มีระเบียบในการสื่อสาร แบ่งเป็นระดับ / ผู้รับผิดชอบโดยตรง

·  ข้อมูล – ต้องน่าเชื่อถือ /ข่าวสารรวดเร็วชัดเจน  / มีความเป็นกลาง /

·  ตอบ – ตรงประเด็น / ชัดเจนตรงประเด็นและตรวจสอบความเข้าใจจากสื่อ /หลีกเลียงตอบประเด็นที่ไม่เกี่ยวหรือไม่มีข้อมูล

·  มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อ / มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง / มีข้อมูลในแต่ละสื่อในการสร้างความสัมพันธ์


Managing Self Performance

คุณอิทธิภัทร์  ภัทรเมฆานนท์

คนเราต้องมี Coach เพื่อช่วยชี้แนะให้เรามีสติในการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ ในการพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ

1.  ตัววัดความสำเร็จ ศักยภาพและสมรรถนะการทำงาน  เป็นปัจจัยในการพัฒนา

2.  สำรวจตอนเองและมีเป้าหมาย ค้นหาความต้องการของตนเอง

3.  ต้องมีความเชื่อแล้วทำ

ความรู้/ ทักษะเป็นสิ่งจำเป็นและพบเห็นได้แต่ต้องมี พฤติกรรม ทัศนะคติ แรงบันดาลใจประกอบจะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย


ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.  27 มี.ค. 56

กฟผ. ต้องอยู่ในสังคม มีหน้าที่ดูแลสังคม ช่วยสังคมให้เจริญก้าวหน้า องค์กรต้องมีธรรมาภิบาล

กฟผ. ต้องสร้างผู้นำในการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การเรียนรู้

ธรรมาภิบาลที่ดีมีหลักในการปฏิบัติ 4 อย่าง

1.  Participate การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

2.  Account ความรับผิดชอบ ในสิ่งที่กระทำ

3.  Transparency ความโปร่งใส

4.  Efficiency ความมีประสิทธิภาพ

กฟผ. มีธรรมาภิบาลและประสบความสำเร็จในอคีต ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เราจะยึดติดกับความสำเร็จในอดีตไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก  ประชาธิปไตยเป็นสังคมตรวจสอบ การกระทำใดๆต้องคิดทุกมิติ และสิ่งสำคัญประชาชนมีความสุข

  เศรษฐศาสตร์พลังงาน  ดร. พลายพล  คุ้มทรัพย์

รัฐบาลต้องเป็นแกนนำในการลดสัดส่วนในการใช้พลังงานให้เหมาะสม ไม่ใช่ใช้ก๊าซธรรมชาติมากถึง 70%

กฟผ. ต้องเป็นผู้นำในการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ กังหันลม วัตถุเกษตร  พลังงานหมุนเวียน

รัฐบาล ใช้นโยบายพลังงานไม่เหมาะสม มีการอุดหนุนราคาน้ำมันบางประเภท ทำให้ไม่สะท้อนความจริง  ทำให้เกิดการใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ประหยัด ไม่ช่วยลดพลังงานนำเข้า สูญเสียเงินตราต่างประเทศ

  กฟผ. ต้องนำเข้าในการใช้ถ่านหนิสะอาด ทดแทนการใช้ก๊าซ พึงพาพลังงานน้ำจากต่างประเทศ  ต้องเพิ่มการใช้พลังงานชีวมวล พลังงานหมุนเวียน

  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร  อ. ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

White Ocean  การเปลี่ยนของโลกมีผลต่อธุรกิจ  ธุรกิจอยู่ได้โดยใช้จริยธรรม คุณธรรม ความไว้วางใจ ในการดำเนินการธุรกิจ

เราอยู่ในยุดการเปลี่ยนแปลง ใครปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้ก็จะอยู่ในสังคมได้

Rate of change on the outside is faster than inside. The end is in sight.

องค์กรสีขาว  เป็นองค์กรแห่งความสุข  ความคิดสร้างสรรค์  ความยั่งยืน


การบรรยายพิเศษ โดย ผวก. สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์  28 มี.ค.56

HR ที่สำคัญที่ท่านดำเนินการคือการเตรียมและพัฒนาคนให้ทัน เพื่อพัฒนาองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสูง ได้รับการยอมรับ เชื่อถือ และคนไทยมีความภูมิใจ มีความเป็นมืออาชีพในเชิงธุรกิจ

การสร้างผู้นำรุ่นใหม่

1.  ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.  การแสวงหาโอกาสในการพัฒนาและธุรกิจ

3.  ปรับปรุงพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพขบวนการทำงาน

4.  การสร้างทีมในการทำงาน

5.  การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร


เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.  28 มี.ค.56

EGAT  ต้องปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามา

EGAT ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงาน

EGAT ต้องเป็นผู้นำด้าน Green Energy

EGAT ต้องแสวงหาลู่ทางร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

EGAT ต้องใช้ความเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าในการบริการเทคโนโลยี่ Operation and Maintenance

EGAT ต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และการทำงานในระดับสากล


  TQM / SEPA  ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

  คน (People)  ระบบงาน ( System) สอดคล้องประสานจะทำให้ องค์กรสู่ความเป็นเลิศ ( Excellent Organization ) 

  ระบบ TQM จึงถูกนำเข้ามาบริหารจัดการในการบริหารองค์กรของหน่วยงาน

  คน EGAT ต้อง สร้างความเชื่อมั่น มอบคุณค่าให้ลูกค้า สังคม ประเทศ  / พัฒนาขีดความสามารถ / ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร

  EGAT ต้องมเป็นระบบสีเขียว และกำกับกิจการที่ดี ( ธรรมาภิบาล) / บริหารเชิงสมดุลระหว่างการบูรณาการระบบงานและความคล่องตัวโดยเน้นการมีส่วนร่วม / บริหารบนข้อมูลจริง

  EGAT เป็น Excellent Organization ได้ต้องเป็นหน่วยงาน พร้อมการเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน เป็นเลิศเทียบเคียงได้กับสากล ปรับปรุงต่อเนื่องพร้อมสร้างนวัตกรรม


แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.  รศ. ดร. สมชาย  ภคภาสวิวัฒน์  29 มี.ค.2556

การรักษาต้องแบ่งข้อมูลเป็น 3 ประเภท

1.  ข้อมูลทั่วไป  รับเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรา 

2.  ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ เป็นการรับข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเรา  จึงจะเป็นการปรับสมองของเราเข้าสู่ blue ocean

3.  ข้อมูลที่สำคัญ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  

Blue Ocean  คืออะไร

ต้องเริ่มต้นรู้จริง  และตระหนัก ถึงเห็นอะไรก็ใช้ได้ทุกเรื่อง

ต้องถามว่าทำไม และทำอย่างไร จนถึงทำแล้วเห็นความแตกต่าง

-   รู้ว่าข้อมูลบางอย่างดี หรือไม่ดี และสามารถบริหารข้อมูลได้เป็นอย่างดี

สามารถมองนอกกรอบได้  จนทำให้ลูกค้าพอใจ

กลยุทธ์ของ Blue Ocean

1.  Eliminate จะตัดหรือจะเพิ่มอะไรต้องดูว่าจะกระทบลูกค้าหรือไม่

2.  Reduce

3.  Raise

4.  Create  

High Performance Organization ( HPO ) ที่ กฟผ. 

  Leadership ต้องมี ทัศนคติเชิงบวก / มุ่งมั่นตั้งใจ / มีวินัย / มีจินตนาการ / มีความคิดริเริ่ม / ใช้ปัญญา / อดทน / มานะอุตสาหะ / มีจุดมุ่งหมาย / น่าเชื่อถือ

  Employee ต้องสื่อสารเก่ง / ริเริ่มดี / เข้าใจภารกิจ / รู้จักลูกค้า ชุมชน / ปรับปรุงเพื่อการเติบโต / สร้างมิตร / ทุ่มเท / รับ ตอบสนอง ทันที 

  คนเก่ง ต้องใช้คนให้เป็น บริหารคน 80%ของส่วนให้เกี่ยวกับคน

  คนไทยส่วนใหญ่มีกรอบมาก ทำให้คิดน้อยจึงเกิด HPO ได้อยาก

  ระบบ TQM จึงถูกนำเข้ามาบริหารจัดการเพื่อพัฒนาหน่วยงานรํฐวิสาหกิจไปสู่ความเป็นเลิศ 

  EGAT เป็น Excellent Organization ได้ต้องเป็นหน่วยงาน พร้อมการเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน เป็นเลิศเทียบเคียงได้กับสากล ปรับปรุงต่อเนื่องพร้อมสร้างนวัตกรรม  คน EGAT ต้อง สร้างความเชื่อมั่น มอบคุณค่าให้ลูกค้า สังคม ประเทศ  / พัฒนาขีดความสามารถ / ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร

  EGAT ต้องเป็นระบบสีเขียว และกำกับกิจการที่ดี ( ธรรมาภิบาล) / บริหารเชิงสมดุลระหว่างการบูรณาการระบบงานและความคล่องตัวโดยเน้นการมีส่วนร่วม / บริหารบนข้อมูลจริง


นายภูวดา ตฤษณานนท์

วันที่ 26  มีนาคม  2556 ( 09.00 – 12.30 .)

หัวข้อวิชา       :         นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation)กับการทำงานของ กฟผ.

โดย               :         ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

                    :         ดร.เสรี           พงศ์พิศ

                    :         คุณศานิต        นิยมาคม

                    :         คุณสุทธิเดช     สุทธิสมณ์

โดยวิทยากร 4 ท่านได้บรรยายประสบการณ์และยกตัวอย่างประกอบอย่างชัดเจนพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้ารับการอบรมรุ่น 9 โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

·       ทำไมกฟผ. ผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ แต่ประชาชนไม่ยอมรับกฟผ.

·       กฟผ. ต้องดูแลสังคมให้ครบถ้วน  มิใช่ให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า กฟผ. จะทำเพื่อต้องการสิ่งแลกเปลี่ยน

·       กฟผ. ต้องคิดทำเรื่องเล็กๆใกล้ตัวและต่อยอดให้เป็นนวัตกรรม ชาวบ้านได้ประโยชน์

·       เน้นทำนวัตกรรมจากสิ่งที่ชุมชนใช้ในชีวิตประจำวัน

·       พนักงานทุกๆคนต้องร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อน CSR ของกฟผ.ให้อยู่ในใจของประชาชน

เรียนในห้องได้ความรู้          เรียนนอกห้องได้ความจริง

 

 

 

 

 

 

วันที่ 26  มีนาคม  2556 ( 13.00 – 16.00 .)

หัวข้อวิชา       :         เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

โดย               :         ดร.พจน์                   ใจชาญสุขกิจ

การสื่อสารมี Stake-holders  มาเกี่ยวข้องหลายด้านเช่น  Employee , Public , Customer , Government โดยการสื่อสารมีช่องทางการสื่อสารได้หลายทาง ดังนี้

·      หนังสือพิมพ์              :         ประเด็นน่าสนใจ

·      วิทยุ                        :         เร็ว/สร้างอารมณ์

·      TV                          :         ข้อมูลและภาพต้องไปด้วยกัน

·      สำนักข่าวต่างประเทศ  :         ความรวดเร็ว/ชัดเจนแหล่งอ้างอิง

·      บุคคล                      :         โต้ตอบได้/ความสามารถในการจัดการ

โดยสรุป เทคนิคการสื่อสารต้องมีเทคนิคการบริการข่าว  ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมและมีที่อ้างอิงและเป็นจริง มีการซักซ้อมเพื่อสร้างความพร้อมและความเข้าใจข่าว

วันที่ 26  มีนาคม  2556 ( 16.30 – 18.45 .)

หัวข้อวิชา       :         Managing Self Performance

โดย               :         อาจารย์อิทธิภัทร                 ภัทรเมฆานนท์

กระบวนการสร้างกลยุทธ์เพื่อสร้างความสำเร็จ

เป้าหมาย               กำหนดกลยุทธ์                วางแผน                ถ่ายทอด             ปฏิบัติ

เมื่อปฏิบัติแล้วต้องติดตามทบทวนปรับปรุงตลอดเวลา(PDCA)

นายภูวดา ตฤษณานนท์

กิจกรรมรักษ์กาย – รักษ์ใจ ณ ศูนย์บำบัดบัลวี 14 พ.ค.56

ได้ความรู้แนวทางใหม่ในการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง  ที่สำคัญคงต้องบริโภคให้พอดี  ไม่มากไป น้องไป สมคำว่ากินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน  ได้ออกกำลังกาย ได้ผ่อนคลาย มีความสุขมาก


วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.  15 พ.ค. 56  

อ. ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ และ ผศ.ดร.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล 

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.จากมุมมองผู้ใช้ไฟ กฟผ.

·  ทำหน้าที่จัดหาพลังงาน

·  ใช้พลังงานจาก Green Energy น้อยไปใช้พลังงานต้นทุนสูง Gas/ Oil

·  ไม่ได้เพิ่มกำลังการผลิตแต่ต้องพึงพาพลังงานจากต่างประเทศ การเติบโตน้อย จะมีปัญหาในอนาคต

·  กฟผ. ต้องต่อสู้กับกระแสต่อต้านของชุมชน การเมือง ทัศนคติในการยอมรับ ปัจจัยต่างประเทศ

·  ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุน

·  ต้องร่วมกับสถาบันการศึกษา ต่างชาติ ในการวิจัยหาวัตถุดิบต้นน้ำ

·  องค์กรไม่มีความเป็นเจ้าของ ก็จะเริ่มเสี่อม  ต้องปรับตัว

·  วัฒนธรรมเก่าจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 

กฟผ. กับ AEC

·  กฟผ. มีจุดแข็ง คือ Power Grid / ทำเลที่ตั้ง / ความสามารถในการผลิต Biodiesel/ ลงทุนในการผลิตไฟฟ้าข้ามชาติ

·  กฟผ. มีข้อจำกัด คือ ข้อจำกัดเงินลงทุน / ภัยคุกคามจากข้ามชาติ ที่จะมาแย้งการผลิต การลงทุน


Egat Leader & Teamwork   ดร.เฉลิมพล  เกิดมณี  16 พ.ค. 56

ความสำเร็จจะเกิดได้ต้อง มี

1.  Value คุณค่าประโยชน์ที่จะได้

2.  แรงบันดาล Inspiration

3.  ความฝัน ความหวัง Imagination

4.  ต้องมีความสามารถในการขับเคลื่อน Capability

5.  ต้องมีความอึดความเพียร Endurance

การสร้างทีม ต้องใช้พลังกายและใจ มีผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นผู้ให้ที่ถูกที่ถูกเวลา ถูกคน มีกติกา โปร่งใสยุติธรรม เปิดใจ เห็นคุณค่าของคน และการสื่อสารให้เข้าใจ

Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking  อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

การแสดงออกที่จะมีประสิทธิผลต้อง มี การพูดแบบมีพลังเสียง และพลังท่าทาง  พูดทั่วไป มีผล 7% พลังเสียง Juicy 38 % พลังท่าทาง 55 % 

การทำกิจการต้องทำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม ต้องสร้าง Imaginary  / Feeling / Participation  ต้อง Make them move โดยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม  Participation 

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่   อ. นภัสวรรณ  จิลลานนท์ 

ภาพลักษณ์ภายนอกเป็น การแสดงถึงรสนิยม แบ่งได้ Look 55% Sound 38 % word 7 %

การแก้ไขปัญหาในการรักษามารยาทให้ใข้ 5 ข้อในการพิจารณา

1.  ให้เกียรติ

2.  ความปลอดภัย

3.  สะดวกสะบาย

4.  ระเบียบเรียบร้อย

5.  อธัยาศัยไมตรี


แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขทุจริต  อ. วิชา  มหาคุณ 17 พ.ค. 56

ปัญหาสังคมไทยไม่เจริญเนื่องจากปัญหาทุจริต ซึ่งมาจาดระบบอุปถัมถ์ ที่ต้องเร่งทำให้หลุดพ้น ต้องเปลี่ยนคุณค่าและพฤติกรรมของคน ต้องสร้างจิตสำนึกสาธารณะ  สร้าง Service Mind

วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง  อ. ประกาย ชลหาญ  17 พ.ค. 56

Human Performance ขึ้นอยู่กับ

1.  Competency ซึ่งประกอบด้วย Knowledge / Skill / Attitude

2.  Motivation ให้ถูกเวลา ถูกความต้องการ

Leader ต้องสร้างทีมให้เก่ง พร้อมรับภาระกิจ สร้างบรรยายกาศการทำงาน  


วีระศักดิ์ ศรีกาวี

หัวข้อ : แนวความคิดทางการตลาด สู่การปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. วิทยากร : ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. Marketing : ในการทำธุรกิจจะต้องดูสินค้าหรือบริการที่ผลิตได้ต้องสะท้อนต้นทุนจริงและควรจะต้องควบคุมต้นทุนที่มีผลต่อราคา จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องดู SupplyChain ตั้งแต่เริ่มผลิต จนไปถึงผู้บริโภค ดังนั้น ในการควบคุมการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงกลุ่มที่เรียกว่า Public (สาธารณะ) คือ 1. General คือกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากต่อการดำเนินธุรกิจ 2. Government 3. Media คือ กลุ่มสื่อสาร, การโฆษณา 4. Finance คือ กลุ่มเงินทุน 5 กลุ่ม PEER คือ พวกกลุ่มเดียวกัน 5. NGO 6. Internal คือ สหภาพแรงงาน / พนักงาน ในการปรับใช้การตลาดมาใช้กับ EGAT ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐทีดูแลงานสาธารณูปโภค ที่จะต้องจัดเตรียมให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ และมีเพื่อความมั่นคงพลังงาน พอมีกำไรบ้างและต้อง นำรายได้ส่วนหนึ่งไปพัฒนาให้เกิดความมั่นคงกับประเทศ มองง่ายๆ ว่า EGAT เปรียบเสมือนรถยนต์ พนักงานมีหน้าที่ขับไปให้ถึงเป้าหมาย ดังนั้น ในเชิงเศรษศาสตร์แล้วจะต้องทำ Demand Focus 1. Supply Chain Management อย่างมีประสิทธิภาพ 2. Mass Communicationเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องสื่อสารให้ทุกคนต้องรู้Positioning ของทุกเรื่องของพลังงาน 3. Retailing ต้องมีคุณภาพไปถึงลูกค้า คือ ประชาชนโดยตรง

วีระศักดิ์ ศรีกาวี

หัวข้อ : การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ วิทยากร : ดร. สุขุม นวลสกุล วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ความขัดแจ้งจะมีทั้งเชิงบวก ทางความคิดที่แตกต่าง สรุปได้ว่าเชิงบวกจะนำไปสู่การพัฒนา กับความขัดแย้งเชิงลบที่มีอุปสรรค ขัดขวาง ซึ่งต้องใช้การเจรจาต่อรองรวมถึงการตัดสินใจซึ่งอาจจะใช้คนกลางมาให้ความเห็นเพื่อลดระดับความรุนแรงหรือแก้ไขความขัดแย้งจนนำไปข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งความขัดแย้งแบ่งได้ดังนี้ 1. ระหว่างบุคคล กับ บุคคล 2. ระหว่างบุคคล กับ องค์กร 3. ระหว่าง องค์กร กับ องค์กร ความขัดแย้งถ้าแบ่งตามประเด็นการจัดการข้อพิพาท 1. ความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data Conflict) สาเหตุ ขาดข้อมูลหรือข้อมูลผิดพลาด, การแตกต่างในการเก็บข้อมูล, มุมมองต่างในเรื่องข้อมูล 2. ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Relation Conflict) 3. ความขัดแย้งด้านค่านิยม (Value Conflict) มีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน 4. ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง (Structural Conflict) 5. ผลประโยชน์ (Internet Conflict) การตัดสินใจ (Decision Making) เป็นขบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น มีการตกลงร่วมกันว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ เป็นต้น

วีระศักดิ์ ศรีกาวี
 หนังสือ “8K’s + 5K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่งอาจารย์จีระฯ ได้ถ่ายทอดแนวคิดและทฤษฎีเพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ในปี 2558
 ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ตามแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย
 K1 : Human Capital ทุนมนุษย์
 K2 : Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
 K3 : Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
 K4 : Happiness Capital ทุนทางความสุข
 K5 : Social Capital ทุนทางสังคม
 K6 : Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน
 K7 : Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
 K8 : Talented Capital ทุนทางความรู้, ทักษะ และทัศนคติ
 นอกจากแนวคิด 8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ยังมีทุนอีก 5 ประการ ที่มีความสำคัญ ซึ่งช่วยให้ทุนของมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอสามารถแข่งขันในสังคมอาเซียน ได้อย่างสง่างามและยั่งยืน ทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ประกอบด้วย
 - Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
 - Knowledge Capital ทุนทางความรู้
 - Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม
 - Emotional Capital ทุนทางอารมณ์
 - Cultural capital ทุนทางวัฒนธรรม
 ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน
 การพัฒนาทุนมุนษย์ในกรอบของ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 10 ประเทศเกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงของการร่วมมือกัน 3 เรื่องใหญ่ ประกอบด้วย
 - เศรษฐกิจและการค้า การลงทุน
 - สังคมและวัฒนธรรม
 - ความมั่นคงทางการเมือง 
 นอกจาก 10 ประเทศแล้วยังมีอาเซียน+3 ที่มีจีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หรืออาเซียน+6 รวมถึง อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ซึ่ง AEC เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติและเกิดการแข่งขันทางด้านแรงงานอย่างรุนแรง
 ดังนั้นทฤษฎี 8K’s + 5K’s ของท่านอาจารย์จีระฯ เป็นทฤษฎีที่สำคัญที่องค์กร กฟผ. ต้องตระหนักและทำความเข้าใจ AEC อย่างถ่องแท้ พร้อมต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเตรียมรับโอกาส/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ 
 กฟผ. มีบริษัทในเครือ เช่น RATCH, EGCO, EGATi หรือแม้แต่ กฟผ. เอง AEC ก็เป็นโอกาสในการแข่งขันเพื่อพัฒนาองค์กรและภาพอนาคต กฟผ. ตามวิสัยทัศน์องค์กร “เป็นองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้า ระดับสากล”
วีระศักดิ์ ศรีกาวี

Lesson from a student of life

 จากบาทความของ Jim Collins ได้กล่าวยกย่อง Peter F. Drucker ว่าเป็นอาจารย์ที่นอกจากจะมีเมตตาแล้วยังเป็นผู้ที่มีความสามารถอีกด้วย Drucker ยินดีที่จะชี้แนะและให้คำปรึกษาแก่บุคคลธรรมดาทั่วไปที่หาเส้นทางเดินในชีวิตมากกว่าการให้สัมภาษณ์หรือการปรากฏตัวตามสื่อโทรทัศน์วิทยุสิ่งที่สามารถเรียนรู้จากเขาคือการเป็นผู้ให้และเสียสละ มากกว่าที่จะถามว่าเราจะได้รับอะไร Drucker ไม่เพียงแค่สอนลูกศิษย์แต่เขาจะเรียนรู้จากลูกศิษย์ทุกคนด้วยซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ Drucker เป็นอาจารย์ที่มีอิทธพลต่อคนภายหลังมากที่สุดคนหนึ่ง

The new office social contract : Loyalty is out, performance is in แนวคิดในการทำงานของคนรุ่นใหม่รวมถึงแนวคิดในการจ้างงานของบริษัทต่างๆในยุคนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไป เรื่องความจงรักภักดีต่อองค์กรของลูกจ้างและการเลี้ยงคนของนายจ้างไม่ใช่ประเด็นหลักอีกต่อไป สิ่งที่จะผูกมัดลูกจ้างและนายจ้างได้คือผลประโยชน์ที่ต่างให้กัน นายจ้างจะจ้างคนที่คุณสมบัติที่ดี พร้อมที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลตามเป้า ลูกจ้างจะมองหาองค์กรที่ตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของตนเองได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท