ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

สรุปย่อเนื้อหาแนวการบริหารจัดการแบบดั้งเดิม


ข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมของนักศึกษา ได้นำมาเผยเพร่เพื่อเป็นธรรมทาน หาก น.ศ.ผู้รวบรวมนำข้อมูลมาจากแหล่งใด ๆ โดยไม่ได้อ้างอิง อาตมาภาพในฐานะเจ้าของบล๊อค ต้องขออภัยต่อเจ้าของข้อมมูลทุกท่าน และขอนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ด้วย

แนวการบริหารจัดการแบบดั้งเดิม  (Classical Theory)

สรุปย่อจากรายงานวิชาการบริหารกิจการพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ ๒ มีผู้จัดทำ ๔ ท่าน คือ

พระครูปริยัตยาภิรม  เลขที่ ๘

พระครูวิสุทธิวุฒิคุณ  เลขที่ ๙

พระครูวินัยธรอานนท์  อภิชาโต เลขที่ ๑๔

พระครูศรัทธาโสภิต  เลขที่ ๒๔    

เนื้อหาโดยสรุป 

ทฤษฎียุคนี้  ประกอบด้วยแนวคิดการบริหารองค์การ 2 รูปแบบ  ได้แก่  การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์และระบบการบริหารจัดการ ซึ่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์จะมุ่งเน้นงานและผลของงานเป็นสำคัญส่วนระบบการบริหารจัดการจะมุ่งเน้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการบริการทั้งหมดที่ส่งผล ต่องาน

เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกทางการบริหารในยุคดั้งเดิมสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำงานโดยหลักการพื้นฐานประกอบด้วยการค้นหา  วิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน  (One best way)  ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวิธีการและกระบวนการที่ดีที่สุดที่เรียกว่า

ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

การศึกษาการบริหารในแง่ของการจัดการ ได้เริ่มต้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 เช่นกัน โดยกลุ่มบุคคลซึ่งต่อมามีการเรียกว่า “กระบวนการจัดการแบบวิทยาศาสตร์”  หรือ “Scientific Management” โดยเริ่มจาก Frederick W. Taylor,1911 ได้เสนอทฤษฎีการจัดการทางวิทยาศาสตร์  ขึ้นมา ต่อมา Henry Fayol ได้เสนอทฤษฎีหลักการบริหาร ต่อมา Luther Gulick ได้เสนอหลักการบริหารแบบ POSDCORB ทฤษฎีเหล่านี้ล้วนเกิดจากการสังเกต ค้นคว้าทดลองและนำไปสู่การกำหนดผลสรุปที่เป็นหลักการบริหารเฉพาะขึ้นมา จึงทำให้นักวิชาการเหล่านี้อ้างว่า รัฐศาสตร์ มีความเป็นวิทยาศาสตร์และสามารถศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ได้

สาระสำคัญของหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

สาระสำคัญของหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์  Frederick W.Taylor ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและดีกว่าการจัดการแบบความเคยชิน หรือ Rule of Thumb ซึ่งเป็นการบริหารที่ไม่มีรูปแบบ อาศัยวิธีการบริหารแบบเก่าๆ ที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ Taylor จึงเสนอให้องค์กรมีการจัดตั้งระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาใช้ โดยอาศัยวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย นั่นคือ การสร้างหลักการบริหารต้องทำอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คือ กฎ ระเบียบ วิธีการในการทำงาน มาตรฐานการทำงานที่องค์กรจะนำมาใช้ ต้องผ่านการศึกษาวิเคราะห์เชิงประจักษ์เสียก่อน  โดยมีการสังเกตจับเวลาจดบันทึกวิเคราะห์วิจัยมาแล้วอย่างดีว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว สามารถนำมาใช้ในการทำงานนั้นๆ ได้อย่างดี

1.  การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์  Frederic W.Taylor  ซึ่งถือว่าเป็นบิดาแห่งการบริหาร    เชิงวิทยาศาสตร์แนวคิดนี้มีวัตถุประสงค์ เน้นประสิทธิภารพ คือ ถือว่าประสิทธิภาพนำไปสู่ผลกำไรที่เกิดขึ้นมีการค้นคิดวิธีการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  และเชื่อว่ามีวิธีที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียวที่ทำให้การบริหารองค์การเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แนวคิดของ Taylor สามารถสรุปได้ 4 หลักการ ดังต่อไปนี้

1.  หลักการวิเคราะห์งาน (Scientific Job Analysis)

2.  หลักการคัดเลือกบุคคล (Selection of Personel)

3.  หลักการบริหารคนให้เหมาะสมกับงาน (Management Coorperation)

4.  หลักการกำหนดหน้าที่ของหัวหน้างาน (Functional Supervising)

ข้อดีของหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

  1.ทำให้นายจ้างและลูกจ้างมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดีขึ้น

  2.ทำให้ฝ่ายคนงานและฝ่ายจัดการทราบถึงผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับเป็นอย่าง 

  3.ทำให้องค์กรได้รับผลผลิตสูง

ข้อเสียของหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

  1.ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการทางจิตใจ ความต้องการทางด้านสังคมของบุคคลที่ทำงาน

  2.ทำให้เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกันทำงาน

  3.ไม่มีการกำหนดถึงมาตรฐานทางด้านแรงงานไว้ เช่น สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ

  4.ให้ความสนใจกับเทคนิควิธีการทำงานมากเกินไป

จากหลัก 4 ประการ Taylor มีความคิดว่าการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์นั้นต้องคำนึงถึง เวลามาตรฐานของการทำงานแต่ละงาน การความสำคัญซึ่งเกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน นักวิชาการที่เสนอวิธีการจัดการตามหลักการบริหารนี้มีอยู่หลายท่าน แต่มีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  คือ Luther Gulick and Lyndull Urwick,Henri Fayol, Mary Parke Follet

  Henri  Fayol  เป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศส หนังสือการบริหารของเขา Industrielle et Generale ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1916 Fayol ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารจัดการได้เสนอหลักการบริหาร ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้คือ

  1.  การวางแผนงาน  (To Plan) 

2.  การจัดหน่วยงาน  (To Organize) 

3.  การบังคับบัญชา (To Command)

4.  การประสานงาน (To Coordinate) 

5.  การควบคุม (To Control)

  Fayol ได้เขียนหนังสือชื่อ “การบริหารงานธุรกิจอุตสาหกรรมและการบริหารงานทั่วไป (General and Industrial Management) ในปี ค.ศ. 1918  กำหนดกิจกรรมด้านการบริหารจัดการเป็น 5 ประการ และหลักการบริหาร 14 ประการ ดังนี้

1.แบ่งงานกันทำ (Division of work)

2.มีพลังอำนาจ (Authority)

3.มีระเบียบ (Discipline)

4.เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity of Command)

5.เอกภาพในการอำนวยการ (Unity of Direction)

6.ประโยชน์ส่วนตัวเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม

7.ผลประโยชน์ตอบแทน (Remueneration)

8.การรวมอำนาจไว้ส่วนกลางเพื่อการบริหารจัดการ

9.บังคับบัญชาตามลำดับขั้น (Scalar chain)

10.คำสั่ง (Order)

11.ความเสมอภาพ (Equity)

12.ความมั่นคง (Stability of Personel)

13.ความคิดริเริ่ม (Initative)

14.ความสามัคคี (Esprit decorps)

หลักการบริหารแบบ “POSDCORB”

  นักทฤษฎีคลาสสิกอีกท่านคือ Luther Gulick ได้เสนอหลักการบริหารเพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยมุ่งเน้นไปที่ การทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารมากกว่าที่จะสนใจการทำงานของฝ่ายพนักงานระดับล่าง POSDCORB เป็นเทคนิคการบริหารในองค์กร โดย Gulick ซึ่งหมายถึง กิจกรรมการบริหารงาน 7 ประการ ประกอบด้วย

P-Planningหมายถึง การวางแผน

O-Organizingหมายถึง การจัดองค์กร

S-Staffingหมายถึง การบริหารงานบุคคลทั้งหมด

D-Directingหมายถึง การอำนวยการ การตัดสินใจ การวินิจฉัยสั่งการ

Co-Coordinatingหมายถึง การประสานงานด้านต่างๆ ขององค์กร

R-Reportingหมายถึง การรายงานผลการปฏิบัติงานขององค์กร

B-Budgetingหมายถึง การงบประมาณ

  หนึ่งในเจ้าของทฤษฎีที่มีอิทธิพล อย่างมากต่อยุค Classical Organizational คือ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันแมกซ์ เวเบอร์Mex Weber (1947) เป็นคนแรกที่ให้คำจำกัดความของระบบราชการ (Bureaucracy)

ลักษณะสำคัญขององค์กรในระบบราชการ (Bureaucracy)

1. เป็นองค์กรที่มีลำดับขั้นของสายการบังคับที่ชัดเจน (A Well – Defined Hierarchy of Authority)

2. เป็นองค์การที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน (A Clear Division of Work)

3.เป็นองค์กรที่มีกฎระเบียบแบบแผนเพื่อควบคุมความประพฤติปฏิบัติของสมาชิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร(A System of Rules Covering the Rights and Duties of Position Incumbents)

4. เป็นองค์การที่มีการกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า (System of Procedures for Dealing with the Work Situation)

5.เป็นองค์กรที่ถือว่าสมาชิกทุกคนขององค์กรรวมทั้งบุคคลภายนอกมีสิทธิเท่าเทียมกัน (Impersonality of Interpersonal Relationships)

6. เป็นองค์กรที่ยึดหลักความสามารถและคุณภาพในการทำงานของสมาชิกในองค์กร เป็นเครื่องมือในการตัดสินเพื่อคัดเลือก เลื่อนชั้น เลื่อนขั้น หรืออกจากงาน (Selection for Employment and Promotion Based on Technical Competence)

ยุค Classical Organizational จะมุ่งเน้นงานเป็นหลัก และการจูงใจของงานจะใช้ค่าตอบแทน การจูงใจด้านจิตวิทยาและด้านสังคมมีน้อย ส่งผลให้นักบริหารการศึกษาในยุคต่อไป นำเอาจุดอ่อนนี้ไปพัฒนาเป็นแนวความคิดการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์

แนวความคิดนี้ให้ความสำคัญกับโครงสร้างของงานและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้บริหารในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน แต่ไม่ได้ให้ความสนใจทางด้านมนุษย์หรือบุคคลในองค์กรเป็นผู้มีความสำคัญมากในการทำงานซึ่งทำให้เกิดมีปัญหาวิกฤติระหว่างบุคคลในองค์กร   

บรรณานุกรม

พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ ; บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด, 2547. 

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น : สหรัฐอเมริกา อังกฤษ

องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ; บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2545.

สีลา สินานุเคราะห์. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา  กรมการศาสนา, 2530

สมคิด บางโม. หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ ; นำอักษรการพิมพ์, 2538.

แนวความคิดทฤษฎีแบบดั้งเดิม สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2556 จาก http://www.gspa-buu.net

แนวคิดทฤษฎีการบริหารในแต่ละยุกต์ สืบค้นเมื่อ 6 ม.ค. 2556 จาก http://www.gotoknow.org

วิวัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร สืบค้นเมื่อ 7 ม.ค. 2556 จาก http://www.agri.cmu.ac.th

แนวความคิดและทฤษฎีทางการบริการ สืบค้นเมื่อ 7 ม.ค. 2556 จาก http://www.slideshare.net


คำถามท้ายบท

๑.  แนวการบริหารจัดการแบบดั้งเดิม หมายถึงอะไร ?

ตอบ หมายถึง เป็นแนวคิดที่เกิดเป็นครั้งแรกทางการบริหารในยุคดั้งเดิมสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการทำงานโดยหลักการพื้นฐานประกอบด้วนการค้นหา วิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน (One best way) ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวิธีการและกระบวนการที่ดีที่สุด

๒.  สาระสำคัญของหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง ?

ตอบ มี ๔ หลักการ ๑.หลักการวิเคราะห์งาน ๒.หลักการคัดเลือกบุคคล ๓.หลักการบริหารคนให้เหมาะสมกับงาน ๔.หลักการกำหนดหน้าที่ของหัวหน้างาน

๓.  หลักการบริหารที่เป็นสากล หมายถึงอะไร ?

ตอบ หลักการบริหารที่เป็นสากล หมายถึง หลักการบริหารที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหาร ในองค์กรทุกชนิด

๔.  P-Planning หมายถึงอะไร ได้แก่อะไร ?

ตอบP-Planning หมายถึง การวางแผน ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนกงานต่าง ๆ ขึ้นมาไว้ล่วงหน้าเพื่อทราบว่าต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร ใครเป็นผู้ทำ ทำร่วมกับใคร และต้องการผลสำเร็จออกมาอย่างไร

๕.  ลักษณะสำคัญขององค์กรในระบบราชการ มีอะไรบ้าง ?

ตอบ ๑. เป็นองค์กรที่มีลำดับขั้นของสายการบังคับที่ชัดเจน

๒. เป็นองค์กรที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน

๓. เป็นองค์กรที่มีกฎระเบียบแบบแผนเพื่อควบคุมความประพฤติปฏิบัติของสมาชิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

๔. เป็นองค์กรที่มีการกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า

๕. เป็นองค์กรที่ถือว่าสมาชิกทุกคนขององค์กรรวมทั้งบุคคลภายนอกมีสิทธิเท่าเทียมกัน

๖. เป็นองค์กรที่ยึดหลักความสามารถและคุณภาพในการทำงานของสมาชิกในองค์กร

๖.  ผลจากการศึกษาทดลองของเมโยและคณะพอสรุปได้อย่างไร ?

ตอบ ๑. ปัจจัยด้านปทัสถานสังคม

๒. ความคิดที่ว่าคนงานเป็นคนเห็นแก้ได้

๓. ปริมาณการทำงานของคนงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพแต่เพียงอย่างเดียว

๔. ผู้นำกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการไม่เหมือนกัน

๕. สนับสนุนให้มีการทำวิจัยด้านรูปแบบผู้นำต่าง ๆ

๗.  อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นบุคลสำคัญที่เน้นและวางรากฐาน แนวคิดอย่างไร ?

ตอบ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นบุคลสำคัญที่เน้นและวางรากฐานแนวคิดการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ที่เรียกว่าทฤษฎีปิรามิดแห่งความปรารถนา ที่อธิบายพฤติกรรมมนุษย์ที่แสวงหาหรือพยายามที่จะสนองความต้องการของตนเอง

๘.  ลำดับชั้นความต้องการของมนุษย์มีกี่ชั้น อะไรบ้าง ?

ตอบ ๑. ความต้องการทางกายภาพ

๒. ความต้องการด้านความปลอดภัย

๓. ความต้องการที่จะผูกพันในสังคม

๔. ความต้องการที่มีฐานะโดนเด่นและได้รับการยกย่องในสังคม

๕. ความต้องการที่จะแระจักษ์ตน หรือตระหนักถึงความจริงในตนเอง

๙.  แนวคิดทางการบริหารเชิงระบบ คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ชนิด?

ตอบ คือ ความเป็นอิสระของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มารวมกันเป็นผลรวมทั้งหมดขององค์กรที่ทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ชนิดของระบบแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด     ๑. ระบบปิด (Close System)     ๒. ระบบเปิด (Open System)

๑๐.  วิชารัฐประศาสนศาสตร์นั้น มีแนวความคิดระบบเข้ามามีบทบาทสำคัญอะไรบ้าง  อธิบายมาพอสังเขป ?

ตอบ ในส่วนของวิชารัฐประศาสนศาสตร์นั้น แนวความคิดระบบเข้ามามีบทบาทสำคัญสองประการ คือ ประการแรก  ความคิดระบบได้กลายมาเป็นแนวการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์กรที่สำคัญ  

ประการที่สอง ความคิดเกี่ยวกับระบบช่วยวางพื้นฐานสำหรับเทคนิคการบริหารที่สำคัญหลาย  เทคนิคด้วยกัน


หมายเลขบันทึก: 516291เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท